อนุทินล่าสุด


โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ช่วยยืนยันว่าการกินไข่ไม่ได้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด โดยเป็นการดูผลจากกลุ่มคนที่กินไข่ 12 ลูกต่อสัปดาห์กับกลุ่มที่กินน้อยกว่า 2 ลูกต่อสัปดาห์แล้ววัดตัวชี้วัดต่างๆพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน อ่านรายละเอียดได้จาก Effect of a high-egg diet on cardiometabolic risk factors in people with type 2 diabetes: the Diabetes and Egg (DIABEGG) Study—randomized weight-loss and follow-up phase. Am J Clin Nutr. Published online May 7, 2018.



ความเห็น (1)

เย้ ๆ ชอบกินไข่ต้มค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

อ่านงานนี้แล้วต้องรีบบอกต่อ เป็นรายงานที่วิเคราะห์ข้อมูลในคนอเมริกันอายุวัยกลางคน (50 กว่าขึ้นไป) แต่ก็เชื่อได้ว่าทุกชาติน่าจะออกมาแนวนี้ คือเขาพบว่า จากการติดตามเป็นระยะเวลา 34 ปีพบว่ามีปัจจัย 5 อย่างที่ทำให้คนที่ปฏิบัติได้มีอายุยืนยาวกว่ากลุ่มคนที่ทำไม่ได้ถึง 10 ปีทีเดียว นั่นคือ ไม่สูบบุหรี่ มีดัชนีมวลกายอยู่ในช่วงปกติคือไม่อ้วนไม่ผอมเกิน ออกกำลังปานกลางถึงหนักอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน กินอาหารที่มีคุณภาพ ดื่มแอลกอฮอล์พอประมาณ เรียกได้ว่าการปรับวิถีการใช้ชีวิตมีผลต่อความยืนยาวของอายุนั่นเอง อ่านรายละเอียดได้จาก Impact of Healthy Lifestyle Factors on Life Expectancies in the US Population. Circulation. Published April 30, 2018. DOI: https://doi.org/10.1161/CIRCULATIONAHA.117.032047




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

ขอแสดงความอาลัยอย่างสุดซึ้งต่อการจากไปของ พ่อครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ กัลยาณมิตรผู้ทรงคุณค่าท่านหนึ่งของพวกเราชาว GotoKnow ในช่วงต้นๆ บันทึกของท่านทรงคุณค่าและยังคงมีให้เราได้เข้าถึงอยู่เสมอ...ตลอดไป...

KM ในมหาชีวาลัยอีสาน

พันธมิตรblog



ความเห็น (3)

ขอร่วมแสดงความเสียใจด้วยครับ

ขอให้ท่านไปสู่สุขคติค่ะ ด้วยความอาลัยยิ่ง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

ของอเมริกาเขามีหน่วยงานที่ชื่อว่า The Environmental Working Group ที่จะตรวจสอบแล้วก็รายงานผู้บริโภคถึงยาฆ่าแมลงในผลไม้ สำหรับรายการของปีนี้ 2018 อันดับหนึ่งคือ สตรอเบอรี่ เป็นผลไม้ที่มียาฆ่าแมลงตกค้างสูงสุด สามปีซ้อนแล้ว ของบ้านเราก็น่าจะรายการแบบนี้เป็นประจำประกาศบ้างนะคะ ของเขาจะเรียก "Dirty Dozen" fruits and veggies เรียงตามลำดับคือ สตรอเบอรี่ ผักปวยเล้ง (Spinach) Nectarines แอ้ปเปิ้ล องุ่น พีช เชอรี่ แพร์ มะเขือเทศ เซเลอรี่ มันฝรั่ง พริกหวาน

ส่วนที่ถือว่าสะอาดปราศจากยาฆ่าแมลง มี อโวคาโด ข้าวโพดหวาน สัปปะรด กะหล่ำ หอมหัวใหญ่ ถั่วลันเตา (Sweet pea) มะละกอ แอสพารากัส มะม่วง มะเขือยาว เมลอน กีวี แคนตาลูป ดอกกะหล่ำ บร็อกโคลี  
ท่าทางบ้านเขากับบ้านเราน่าจะไปคนละทางกันคะ ถ้าดูจากรายชื่อ แต่ก็น่าสนใจดี อ่านรายละเอียดได้จาก EWG News Roundup (4/13): Pesticides in Fruits and Vegetables, Pruitt’s Scandal List and More.



ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

เป็นมาตรฐานการรักษาไปแล้ว สำหรับ สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) ที่แพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขต้องช่วยกันส่งเสริมให้การออกกำลังกายเป็นการป้องกันผลเสียจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ อัลไซเมอร์ เบาหวาน มะเร็ง โรคซึมเศร้า โรคข้อ รวมทั้งโรคกระดูกพรุน อ่านได้จาก Routine Assessment and Promotion of Physical Activity in Healthcare Settings: A Scientific Statement From the American Heart Association. Circulation. published April 4, 2018. DOI: https://doi.org/10.1161/CIR.0000000000000559



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้เป็นข่าวดีสำหรับผู้สูงอายุ เพราะมีหลักฐานแล้วว่า สมองของคนเรายังคงสร้างเซลล์ใหม่ๆเสมอ ไม่เหมือนความเชื่อแต่ก่อน แต่ปัญหาที่พบในผู้สูงอายุคือการที่เลือดไหลไปเลี้ยงสมองได้ไม่ดีนั่นเองที่น่าจะเป็นตัวปัญหาที่ทำให้สมองเสื่อมความสามารถ อ่านรายละเอียดได้จาก Human Hippocampal Neurogenesis Persists throughout AgingCell Stem Cell, 2018; 22 (4): 589 DOI: 10.1016/j.stem.2018.03.015



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ก็น่าสนใจเพราะเอามาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ เป็นรายงานว่าการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นหัวใจ (heart rate) แม้เพียงเล็กน้อยและอยู่ในช่วงปกติมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อผลเสียเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ นั่นคือทุก การเพิ่ม 5 ครั้งต่อนาทีของ heart rate เพิ่มอัตราเสียชีวิต 12% หัวใจล้มเหลว 13% กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI) 9% โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) 6% ดังนั้นการติดตามดูเพราะจะได้ดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดก็จะทำได้ง่าย อ่านรายงานนี้ได้จาก Association of Resting Heart Rate and Temporal Changes in Heart Rate With Outcomes in Participants of the Atherosclerosis Risk in Communities Study. JAMA Cardiol. Published online January 24, 2018. doi:10.1001/jamacardio.2017.4974



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ใช้ผลการตรวจทางห้องแล็บที่เดี๋ยวนี้ทำกันเป็นประจำในการติดตามโรคเบาหวาน นั่นคือ ฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) ซึ่งเมื่อดูผลจากคนห้าพันกว่าคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปที่มีผลประเมินเกี่ยวกับความจำทุกๆ 2 ปีในช่วง 10 ปีพบว่าผู้ที่มีอัตราค่า HbA1c เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับผลการลดลงของคะแนนความจำมากกว่าอัตราลดลงในคนปกติทั่วๆไปด้วย ก็คือภาวะเบาหวานมีส่วนสัมพันธ์กับภาวะความจำที่ลดลงด้วย เพราะฉะนั้นการควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติแต่เนิ่นๆน่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อร่างกายและสมอง อ่านรายงานนี้ได้จาก HbA1c, diabetes and cognitive decline: the English Longitudinal Study of Ageing. Diabetologia.  Published online January 25, 2018. https://doi.org/10.1007/s00125-017-4541-7.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

ผ่านไปหกปี เพิ่งได้รับเมลภาษาอังกฤษบอกว่าในบันทึกนี้ ลิ้งค์ที่ใส่ไว้เป็น broken link หมดแล้ว และเสนอให้ลิ้งค์ไปที่เขาแทน แต่พอตามไปดู ออกแนวการค้ามากไปหน่อย รู้สึกขอบคุณที่เขาอุตส่าห์ติดต่อมานะคะ แต่ก็ไม่สนับสนุนให้ตามไปเรียนที่เขา เพราะเว็บอื่นที่เราสามารถเรียนรู้ได้ไม่เสียเงินก็มีอยู่มากมาย เลือกสักอันที่เหมาะใจแล้วฝึกฝนจริงๆที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น เลยได้มาอัพเดตบันทึกนั้นเลย แสดงว่า GotoKnow เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคนสนใจเสมอจริงๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้เป็นเรื่องของอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน ที่เป็นหลักฐานว่าช่วยลดโอกาสการล้มของผู้สูงอายุได้ เป็นการรวบรวมจาก 4 การศึกษาในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีและติดตามไปประมาณเกือบสี่ปี ถือว่าชัดเจนพอสมควร อ่านได้จาก Adherence to Mediterranean Diet Reduces Incident Frailty Risk: Systematic Review and Meta-Analysis. J Am Geriatr Soc. Published online January 11, 2018.DOI: 10.1111/jgs.15251.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายสองปีที่เริ่มในช่วงวัยกลางคน สามารถฟื้นฟูความยืดหยุ่นของหัวใจในคนในกลุ่มเนือยนิ่ง (sedentary) และป้องกันการเกิดหัวใจล้มเหลวได้ เป็นการศึกษาที่ทำในกลุ่มคนอายุ 45-64 ปีออกกำลังระดับปานกลาง 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ น่าสนใจที่สามารถทำให้อาสาสมัครหกสิบกว่าคนยังคงอยู่ในการศึกษาได้จนจบสองปีถึง 88 % จนมีผลการศึกษานี้ออกมา อ่านได้จาก Reversing the Cardiac Effects of Sedentary Aging in Middle Age—A Randomized Controlled Trial: Implications For Heart Failure Prevention. Circulation. Published online January 8, 2018. DOI:  https://doi.org/10.1161/CIRCULATIONAHA.117.030617.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

การศึกษานี้ น่าจะทำให้เราอยากกินผักมากยิ่งขึ้น เขาพบว่าการกินผักใบเขียวช่วยทำให้สมองมีความจำเสื่อมช้าลง อย่างนี้จะรออะไรนะคะ อ่านได้จาก Nutrients and bioactives in green leafy vegetables and cognitive decline Prospective study. Neurology. Published online December 20, 2017. DOI: https://doi.org/10.1212/WNL.00...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานที่วิเคราะห์การศึกษาจากหลายประเทศทั่วโลกทั้งยุโรป อเมริกาเหนือ เอเชีย ออสเตรเลีย จาก 61 การศึกษารวมแล้วเป็นประชากรสามล้านกว่าคน มีผลที่น่าสนใจคือพบความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นกะกลางคืนเป็นระยะนานกับโอกาสเกิดมะเร็งเต้านม ทุก 5 ปีที่ผู้หญิงทำงานกะกลางคืนโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นประมาณ 3% ก็อาจจะมีประโยชน์ในแง่ว่าควรมีการตรวจร่างกายสม่ำเสมอ ตรวจคัดกรองมะเร็ง อ่านได้จาก Night Shift Work Increases the Risks of Multiple Primary Cancers in Women: A Systematic Review and Meta-analysis of 61 Articles. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev. Published online January 8, 2018.. DOI: 10.1158/1055-9965.EPI-17-0221. 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้เป็นของสหรัฐอเมริกาว่า จากข้อมูลที่ระบบดูแลคุณแม่ก่อน ระหว่างและหลังคลอดของเขาที่เอามาวิเคราะห์ในช่วงตั้งแต่ปี 2009 ถึง 2015 พบว่าแต่ละรัฐยังมีคุณแม่มือใหม่ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำสำหรับทารกจำนวนไม่น้อย ทำให้ยังมีสถิติการเสียชีวิตจากสาเหตุเกี่ยวกับการนอนไม่น้อย นั่นคือเขาแนะนำให้วางเด็กในท่านอนหงาย ไม่เอาเด็กมานอนร่วมกับผู้ใหญ่ ไม่เอาของนุ่มๆทั้งหลายใส่ไว้ในที่นอนเด็ก ไม่รู้บ้านเรามีการสำรวจบ้างหรือเปล่านะคะ อ่านรายละเอียดเรื่องนี้ได้จาก Vital Signs: Trends and Disparities in Infant Safe Sleep Practices — United States, 2009–2015. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2018;67:39-46. DOI: http://dx.doi.org/10.15585/mmw...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

โรคเบาหวานเป็นภัยแอบแฝงที่กว่าจะรู้ตัวอาจจะช้าไป และการดูแลป้องกันแต่เนิ่นๆด้วยวิธีง่ายๆแค่ปรับเปลี่ยนอาหารและวิถีชีวิตก็ช่วยได้ ดังนั้นการศึกษานี้ก็มีประโยชน์ในการทำให้ตระหนักแต่เนิ่นๆด้วย เป็นรายงานที่ใช้ข้อมูลจากการศึกษาขนาดใหญ่เรื่องของเบาหวาน พบว่าการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอนไม่ได้อดอาหารระหว่างวัน แล้วค่าที่ได้มากกว่าหรือเากับ 100 มก.ต่อเดซิลิตร สัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงต่อเบาหวานแบบที่ควรตรวจยืนยันต่อ อ่านได้จาก Doc, I Just Ate: Interpreting Random Blood Glucose Values in Patients with Unknown Glycemic Status. J Gen Intern Med. Published online November 13, 2017. https://doi.org/10.1007/s11606-017-4213-9.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้มีตัวช่วยการตัดสินใจสำหรับผู้ที่ตรวจตัวชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมากอย่าง PSA ซึ่งได้ค่าที่อาจจะน่าสงสัย คือในช่วง 4-10 ng/mL ซึ่งการต้องไปตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจยืนยันนั้นมีถึงสองในสามที่ไม่ใช่มะเร็ง ก็เหมือนเจ็บตัวโดยใช่เหตุ เมื่อเพิ่มดรรชนีอื่น เช่นในการศึกษานี้ใช้ phi score (the Beckman Coulter Prostate Health Index) จากวิธีการตรวจของเครื่องชนิดนั้น ซึ่งวิธีการตรวจนี้จะมีหลากหลาย โดยแต่ละบริษัทก็พยายามหาตัวช่วยเพื่อเพิ่มอัตราความแม่นยำในการประเมินความเสี่ยง และลดการตัดชิ้นเนื้อตรวจโดยไม่จำเป็นลง อ่านรายละเอียดของวิธีนี้ได้จาก Clinical utility of the Prostate Health Index (phi) for biopsy decision management in a large group urology practice setting. Prostate Cancer and Prostatic Diseases (2017) Published online: 20 November 2017. doi:10.1038/s41391-017-0008-7.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้แสดงข้อมูลว่าโรคเบาหวานและความอ้วนมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลายชนิดทีเดียว อ่านรายละเอียดได้จาก Worldwide burden of cancer attributable to diabetes and high body-mass index: a comparative risk assessment. Lancet Diabetes Endocrinol. Published online November 28, 2017. DOI: http://dx.doi.org/10.1016/S2213-8587



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้จากข้อมูลคนอเมริกัน แต่ก็น่าจะมีประโยชน์กับคนทั้งโลก เขาพบว่าในกลุ่มผู้ที่เป็นมะเร็งนั้นเกือบครึ่งของการเสียชีวิตสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ นั่นคือหากเราใส่ใจกับปัจจัยเหล่านี้ โอกาสที่อายุจะยืนยาวขึ้นก็มีมากขึ้น ปัจจัยสำคัญๆก็คือ การสูบบุหรี่ น้ำหนักเกิน การดื่มแอลกอฮอล์  อ่านได้จาก Proportion and number of cancer cases and deaths attributable to potentially modifiable risk factors in the United States. CA Cancer J Clin. Published online November 21, 2017. DOI: 10.3322/caac.21440.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

ยากลุ่ม bisphosphonates ยังมีผลหลากหลายว่าช่วยลดกระดูกหักได้หรือไม่ การศึกษานี้ดูในกลุ่มคนไข้ที่ต้องกินยา glucocorticoid ในการรักษาอยู่แล้ว พบว่ากลุ่มที่ได้ยากลุ่ม bisphosphonates ด้วยลดอัตราเสี่ยงต่อกระดูกหักได้ประมาณ 50% เป็นข้อมูลที่น่าสนใจ อ่านได้จาก Effectiveness of oral bisphosphonates in reducing fracture risk among oral glucocorticoid users: three matched cohort analyses. J Bone Miner Res. 25 October 2017. doi:10.1002/jbmr.3318.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ก็ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายอีกเรื่อง ที่เมื่อวิเคราะห์จากหลายๆการศึกษาในผู้สูงอายุ (อายุเฉลี่ยประมาณ 65 ปี) พบว่าการออกกำลังกายสัมพันธ์กับอัตราที่ลดลงของการบาดเจ็บจากการล้ม อ่านได้จาก Comparisons of Interventions for Preventing Falls in Older Adults: A Systematic Review and Meta-analysis.  JAMA. 2017;318(17):1687-1699. doi:10.1001/jama.2017.15006.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ยิ่งน่าสนใจตรงที่คนไข้โรคหัวใจล้มเหลว ที่อาจจะกลัวการออกกำลังกายจะได้มีหลักฐานว่า การออกกำลังกายในระดับที่แนะนำจะช่วยลดการกลับเป็นซ้ำที่ต้องมานอนโรงพยาบาล เพราะเขาพบว่าในกลุ่มคนไข้ที่เขาศึกษามีเพียงหนึ่งในห้าที่ออกกำลังกายตามที่ได้รับการแนะนำให้ทำ รวมทั้งพบว่าระดับการออกกำลังกายสัมพันธ์กับการลดโอกาสที่จะกลับเข้ารพ.ด้วยซ้ำคือยิ่งออกกำลังกายมากก็จะลดการต้องเข้ารพ.ใหม่อีก อ่านได้จาก Physical activity and prognosis in the TOPCAT Trial (Treatment of Preserved Cardiac Function Heart Failure With an Aldosterone Antagonist). Circulation. 2017;136:982–992. doi: 10.1161/CIRCULATIONAHA.117.028002.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

ส่วนการศึกษานี้วิเคราะห์จากหลายๆการศึกษาแล้วพบว่า ผู้ที่ออกกำลังกายจะมีอาการปวดหลังส่วนล่างหรือลดอาการลงได้มากกว่าในกลุ่มคนที่ไม่ออกกำลังกาย แสดงว่ายังไงๆการออกกำลังกายก็ดีกว่าไม่ทำ อ่านได้จาก Exercise for the Prevention of Low Back Pain: Systematic Review and Meta-Analysis of Controlled Trials. Am J Epidemiol 2017.  Published:19 October 2017. https://doi.org/10.1093/aje/kwx337.



ความเห็น (1)

ประสบการณ์ส่วนตัว วันไหนท่านั่งทำงานไม่ดี แค่เดิน 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ช่วยหายเจ็บเลยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้วิเคราะห์มาจากการศึกษาหลายๆการศึกษาพบว่าการปรับวิถีชีวิตและเพิ่มยาบางอย่างทำให้คนที่มีภาวะก่อนเบาหวานไม่กลายเป็นเบาหวานได้ในระยะยาว โดยเฉพาะการลดน้ำหนักลงจะช่วยลดการที่จะเกิดโรคเบาหวานได้ในอัตราที่สูงขึ้นประมาณหนึ่งในสามทีเดียว อ่านได้จาก Long-term Sustainability of Diabetes Prevention Approaches: A Systematic Review and Meta-analysis of Randomized Clinical Trials. JAMA Intern Med. Published online November 6, 2017. doi:10.1001/jamainternmed.2017.6040.



ความเห็น (1)

ต้องช่วยกันเผยแพร่ จูงใจให้คนอ้วนที่ Pre-DM อยากลดน้ำหนัก ก่อนเป็นเบาหวานนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

อันนี้เป็นประกาศเป็นทางการครั้งแรกจาก  the American Society of Clinical Oncology (ASCO) ว่าการดื่มแอลกอฮอล์ แม้จะเพียงระดับปานกลางก็เป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็ง ลงตีพิมพ์กันเป็นเรื่องเป็นราว เป็นทางการกันเลยค่ะ ที่ Alcohol and Cancer: A Statement of the American Society of Clinical Oncology. J Clin Oncol. Published online November 7, 2017.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

รายงานนี้ก็ยืนยันได้ว่าการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบยั่งยืนทำให้คนที่จะเป็นเบาหวานห่างไกลจากโรคนี้ได้จริงๆ เป็นเรื่องที่ควรเผยแพร่และสนับสนุนจริงๆ อ่านได้จาก Long-term Sustainability of Diabetes Prevention Approaches: A Systematic Review and Meta-analysis of Randomized Clinical Trials.  JAMA Intern Med. Published online November 6, 2017. doi:10.1001/jamainternmed.2017.6040.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท