APHN Diploma of Palliative Care ๗: ฉันต้องหาย..ต้องหาย แล้วไง


ฉันต้องหาย..ต้องหาย แล้วไง ถ้าโรคไม่หาย ก็ทุุกข์ไง
หัวข้อหลักการดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย เราศึกษาผ่านการมองย้อนกลับไปยังแนวคิดการแพทย์ปัจจุบัน ความคาดหวังแล้วความเป็นจริง

ข้อความข้างบนเป็นความรู้สึกของเราในปัจจุบันหรือไม่ ลองถามตัวเองดูนะครับ

ความคิดที่ว่า เมื่อเจ็บไข้ แล้วฉันต้องหาย ฉันต้องหาย มีผลกระทบไม่แต่เฉพาะคนไข้ที่คิดอย่างนี้เท่านั้น แต่มันเลยเถิดมากระทบบรรดาบุคลากรสุขภาพ โดยเฉพาะคุณหมอทั้งหลาย อย่างเต็มเปาเข้าไปด้วย

สมัยเรียนแพทย์ เคยได้ยินคำพูดคุ้นๆว่า คนเราเป็นโรคอยู่สามแบบ แบบที่หนึ่งถึงไม่รักษาก็หาย แบบที่สองถึงรักษาดียังไงก็ตาย ส่วนแบบสุดท้ายที่อยู่ระหว่างสองแบบแรก คือถ้ารักษาดีก็หาย รักษาไม่ดีก็ตาย เราถูกกรอกหูให้สนใจโรคแบบนี้ เพราะต้องอาศัยวิชาชีพอย่างเราเท่านั้นที่จะช่วยคนไข้ได้ เป็นโรคที่หมอจะได้แสดงฝีมือจริงๆ ไม่ใช้ลูกฟลุค

ใช่ครับ เราถูกปลูกฝังให้สนใจที่จะรักษา โรคที่รักษาหาย เท่านั้น จนความคิดนี้แทรกซึมไปอยู่ในจิตไร้สำนึก ถูกนำออกมาใช้อย่างไม่รู้ตัวดังนี้ 
  • โรคคือปริศนาที่ต้องขบคิดแก้ไข ฉันคิดออกแก้ได้รักษาได้ ฉันเก่ง ได้คะแนนข้อนี้ ถ้าฉันรักษาไม่ได้ คนไข้ตาย ฉันแพ้ ฉันไม่เก่ง
  • อาการต่างๆของคนไข้ คือ คำบอกใบ้ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัย..ชื่อโรค เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่ต้องสนใจนัก
  • ฉันเชื่อ  ของสูง อย่าง ผลเลือด ผลเอกซเรย์ มากกว่า คำบอกเล่าของคนไข้ ซึ่งมีคุณค่าน้อยเหลือเกิน
  • รู้สึกเบื่อหน่ายกับ อะไรที่วัดไม่ได้
  • หนูให้วิตามินคนไข้กินแล้วยังหายปวด แกล้งปวดชัวร์
  • จะให้ออกซิเจนคนไข้ วัด oxygen sat. (ระดับออกซิเจนในเลือด) ก่อนนะ
  • ก้อนยุบไปกี่เซนต์แล้ว ระยะรอดชีวิตกี่วัน
  • หัวใจของคุณโต เลือดคุณจาง ตับของคุณแข็ง สมองคุณฝ่อ ตาซ้ายคุณมัว ยีนคุณห่วย
  • เอกซเรย์รูปนี้สวยจังเลย แค่ผมหรี่ตาดูข้างเดียวก็บอกได้แล้วว่าคนไข้เป็นมะเร็ง
  • หมอคือ คนทำหน้าที่รักษาโรค ไม่ใช่รักษาคน
  • เรียกคนไข้ว่าป้าได้ไง คุณเป็นญาติกับเขาตั้งแต่เมื่อไหร่
  • ในบรรดาบุคลากรสุขภาพ หมอ ใหญ่สุด คนอื่นเป็นแค่ผู้ช่วยหมอให้รักษาโรคคนไข้ได้
  • ทุกโรคต้องวินิจฉัยให้ได้ แล้วตั้งหน้าตั้งตารักษาให้ถึงที่สุด
 ผมไม่ได้บอกว่าความคิดทำนองนี้ไม่ดี แต่ผมคิดว่าเราให้ความสำคัญกับมันมากเกินไป

เพราะพอรักษาคนไข้ไม่หาย ก็ทุกข์เหมือนกัน ทั้งคนไข้ ทั้งหมอ

 

<< APHN Diploma of Palliative Care ๖: ระบบบริการ

 

APHN Diploma of Palliative Care ๘: เราจำเป็นต้องรู้เวลาตายของคนไข้หรือเปล่า >>

หมายเลขบันทึก: 96718เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007 08:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดูท่าหนังสือเล่มใหม่ของเรา จะต้องรอตกตะกอนเสียก่อน

แต่หนังตัวอย่างที่ pre-release ออกมานี่ บอกได้คำเดียวว่า

อย่าพลาด!!

พอรักษาคนไข้ไม่หาย ก็ทุกข์เหมือนกัน ทั้งคนไข้ ทั้งหมอ......

     พอเข้าใจได้คะ
 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท