กิ่วเคียน (1) : ก่อนการออกเดินทางของ "มหกรรมคนอาสา" และ "ข้าวเปลือก" สู่พี่น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วม โคลนถล่ม


การเคลื่อนตัวของนิสิตในครั้งนั้น ได้สร้างปรากฏการณ์แห่ง “จิตอาสา” หรือ “จิตสำนึกสาธารณะ” ของคนหนุ่มสาวในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างน่ายกย่อง

กิ่วเคียน....  ผมเพียรพยายามเหลือเกินในการที่จะเขียนบันทึกถึงเรื่องราวอันเป็นนาฏกรรมชีวิตของนิสิตกลุ่ม "มหกรรมคนอาสา : นิสิตบ้าหนีเรียนไปเกี่ยวข้าว  ที่เกิดขึ้น ณ  ที่นั่น  แต่จนแล้วจนรอดผมก็ทำไม่สำเร็จสักที  และเพียรพร่ำบ่น (จิก)  ถามตัวเองว่าทำไมถึงไม่ยอมลงมือเขียนบันทึกถึงเรื่องเหล่านี้ให้แล้วเสร็จ ?  ใยจึงปล่อยวันเวลาล่วงยาวผ่านมามากมายถึงเพียงนี้  ?  กระทั่งบัดนี้ก็ยังให้คำตอบกับตัวเองไม่ได้

ปลายเดือนพฤษภาคมของปีที่แล้ว  (23  พฤษภาคม  2549)  ผมเชื่อว่าบางท่านก็พอจดจำกันได้กับโศกนาฏกรรมของชาวอุตรดิตถ์ที่ประสบภัยธรรมชาติ น้ำท่วม โคลนถล่ม  สูญเสียทรัพย์สินและชีวิตไปอย่างเศร้าสลด  !

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อำเภอท่าปลา  จังหวัดอุตรดิตถ์  เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ประสบชะตากรรมเช่นนั้นและปรากฏภาพชะตาชีวิตอย่างชัดเจนในสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ  โดยเฉพาะหมู่บ้านที่อยู่ในเขตตำบลน้ำหมันที่ประกอบด้วย  บ้านน้ำต๊ะ   บ้านน้ำรี  และบ้านทรายงาม  รวมถึงบ้านกิ่วเคียน  ตำบลจริม ด้วยเช่นกัน  ซึ่งทั้ง 4  หมู่บ้านเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริม ลำนำรี  โดย 3 ชุมชนแรกเป็นหมู่บ้านต้นน้ำ  ส่วนบ้านกิ่วเคียนเป็นปลายสายของลำน้ำ ..</p><p>   </p><p>ผมติดตามสถานการณ์ความเป็นไปในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง  -  และทราบว่า สามชุมชนแรกในตำบลน้ำหมัน ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอย่างอุ่นใจ  นั่นอาจเป็นเพราะเป็นชุมชนต้นน้ำที่เข้าถึงได้ง่าย  ภาพข่าวต่าง ๆ จึงโหมกระแสพุ่งตรงไปยังพื้นที่ดังกล่าวอย่างเป็นเอกภาพ      </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ครั้งนั้น,  หนึ่งนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามเพียงไม่กี่คนมุ่งตรงลงสู่พื้นที่ผู้ประสบภัย  สัญจรเข้าสู่ชุมชนต้นน้ำอย่างบ้านน้ำรี  น้ำต๊ะและทรายงาม   แต่เมื่อพบเห็นความร่วมมือร่วมใจของมหาชนที่หลั่งไหลเข้าสู่หมู่บ้านอย่างไม่ขาดสาย  จึงได้ร่วมกับ มูลนิธิกองทุนไทย  แกะรอยตามเส้นทางของสายน้ำมาเยือน กิ่วเคียน  หมู่บ้านที่ประสบชะตากรรมไม่น้อยไปกว่ากัน  แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาให้การช่วยเหลือ !</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>    </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมได้รับการยืนยันจากทุกภาคฝ่ายว่านิสิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคามและทีมทำงานของมูลนิธิกองทุนไทย (รวมกันแล้วไม่เกิน 7 คน)  คือกลุ่มคนกลุ่มแรกที่เข้ามารับรู้  รับฟังและให้การช่วยเหลือชาวบ้านด้วย สองมือ  และ หัวใจ  ที่เต็มร้อย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลายคนฝังตัวช่วยเหลือชาวบ้านอยู่ที่นั่นนานเป็นสัปดาห์โดยไม่กลับมาเรียนหนังสือ  วัน ๆ  ก้มหน้าก้มตาขุดลอกดินโคลนออกจากบ้านแต่ละหลัง  พบปะพูดคุยให้กำลังใจชาวบ้าน  สำรวจข้อมูลความเดือดร้อนของแต่ละครัวเรือน  รวมถึงอื่น ๆ  อีกมากมายที่คิดว่า ทำได้  ก็ลงมือทำอย่างไม่อิดออด  ตลอดจนการส่งข่าวกลับมหาวิทยาลัยเพื่อชักชาวให้มิ่งมิตรทั้งหลายได้ระดมการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การฝังตัวร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวบ้าน  ทำให้นิสิตและทีมงานของกองทุนไทย   มองเห็นสภาพความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของชาวกิ่วเคียน  นั่นก็คือ  ที่นาบริเวณลำน้ำได้ถูกโคลนถมทับจนไม่เหลือสภาพให้พลิกฟื้นปลูกข้าวได้อย่างที่เคยเป็น   จนชาวบ้านต้องตกอยู่ในภาวะขาดแคลน ข้าว  อย่างแสนสาหัส    ขาดแคลนทั้งข้าวที่ต้องใช้บริโภคและข้าวเปลือกที่จะต้องใช้เป็นพันธุ์ข้าวในการเพาะหว่าน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">กองทุนข้าวเปลือก   คือแนวคิดที่แจ่มชัดขึ้นและเป็นแนวคิดที่คาดหวังว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและนำพาความยั่งยืนมาสู่ชุมชน  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นับจากวันนั้นมาวิธีคิดเช่นนั้นก็ก่อให้เกิดกลุ่ม มหกรรมคนอาสา  ขึ้นมา  โดยมีมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นศูนย์กลางของการขับเคลื่อนความช่วยเหลือดังกล่าวไปสู่พี่น้องชาวอุตรดิตถ์   โดยการระดมแรงกายและแรงใจจากทั่วสารทิศ (เท่าที่จะทำได้)  ในการร่วมเป็น คนอาสา  ลงแรงขอรับบริจาคข้าวเปลือกด้วยการ ลงแขกเกี่ยวข้าว  ตามไร่นาของชาวบ้านในเขตจังหวัดมหาสารคามและร้อยเอ็ด  เพื่อนำไปมอบให้ชาวกิ่วเคียนได้ใช้เป็นพันธุ์ข้าวเพาะปลูกในฤดูฝนที่กำลังจะมาเยือนในปี 2550</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>การเคลื่อนตัวของนิสิตในครั้งนั้น ได้สร้างปรากฏการณ์แห่ง จิตอาสา  หรือ จิตสำนึกสาธารณะ  ของคนหนุ่มสาวในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างน่ายกย่อง  สื่อมวลชนหลายภาคส่วนทั้งหนังสือพิมพ์และรายการโทรทัศน์ตอบแทนความดีของพวกเขาด้วยการนำเสนอข่าวสารเหล่านี้เป็นระยะ     </p><p>   </p><p> </p><p>21  มกราคมที่ผ่านมา (อันยาวนาน)   กองกิจการนิสิต  ร่วมกับชาวมหกรรมคนอาสาได้จัดพิธี สู่ขวัญข้าว  ขึ้นที่ชุมชนบ้านดอนนา  ต.ขามเรียง  อ.กันทรวิชัย  จ.มหาสารคาม  อันเป็นพื้นที่ละแวกมหาวิทยาลัย   ซึ่งครั้งนั้นพี่น้องชาวบ้านจากอุตรดิตถ์ก็เดินทางมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วยเช่นกัน  ขณะที่กองกิจการนิสิตก็ได้นำ วงแคน  ไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์บรรยากาศในค่ำคืนนั้นอย่างน่าประทับใจ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>  </p><p></p><p>(พี่น้องชาวกิ่วเคียน, น้ำต๊ะ, ทรายงามและน้ำรีเดินทางมาร่วมพิธีสู่ขวัญข้าว)    </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นั่นคือ พิธีกรรมอันสำคัญก่อนการนำข้าวเปลือกไปส่งมอบให้กับพี่น้องผู้ประสบภัยธรรมชาติ….นั่นคือครั้งสำคัญของการก่อเกิด  มหกรรมคนอาสา  ที่ควรค่าต่อการยกย่องและกล่าวถึง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p>ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมถึงไม่เขียนบันทึกเรื่องนี้ซะที !    และไม่เข้าใจว่าตัวเองมัวไปทำอะไรอยู่ที่ไหนกันแน่ถึงได้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานถึงเพียงนี้  ?  </p><p></p><p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 86677เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 05:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2018 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะคุณแผ่นดิน

อ่านแล้วน้ำตารื้น..และรู้สึกอิ่มเอมในใจตั้งแต่เช้าเลยค่ะ..เขียนเมื่อไหร่ไม่สำคัญเท่ากับตอนนี้ได้เขียนแล้วและเขียนได้อย่างดี..เพราะมี " ผล " การกระทำที่ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในเดือน มค.ที่ผ่านมา..ขอไปเตรียมตัวใส่บาตรก่อนนะคะ..

  • ไม่เสียใจที่ผมเกิดมาเป็นคนไทย
  • คนไทยช่วยเหลือกันดีมาก
  • ผมคงโชคดีที่ได้อ่านเรื่องดีๆๆจากคุณแผ่นดินอยู่เสมอ
  • อ่านแล้วขนแขนสแตนท์อัพเชียวค่ะ
  • นั่นสิคะ - -เรื่องดีๆแบบนี้ทำไมไม่เขียนตั้งนานแล้ว
  • แต่ว่าไม่ว่าจะเขียนตอนไหนก็ทำให้รู้สึกดีค่ะเมื่อได้อ่าน
  • เหมือนอาจารย์ขจิตค่ะ - -ภาคภูมิใจมากๆที่เกิดมาเป็นคนไทย
ขนลุกครับพี่พนัส ความตั้งใจ จริงจัง ของนิสิตกลุ่มนี้ คงจะลืมได้ยาก ลงทุนหนีเรียนมาช่วยเพื่อนชาวไทยผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย เติมโตคงเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ พัฒนสังคมให้ดูดีขึ้นกว่าเดิม โดยไม่คิดหวังผลตอบแทน เด็กเหล่านี้ต้องได้รับการเชิดชูอย่างยิ่งใหญ่ครับ พร้อมตีแผ่ความคิดความอ่านของพวกเขาครับ

สวัสดีครับ...คุณเบิร์ด

P

แวะมาอ่านบันทึกของตนเองในเช้าสาย ๆ ที่กำลังรอการออกเดินทางไปราชการ

ขอบคุณมากครับที่กรุณาแวะมา ลปรร. อย่างต่อเนื่อง

กิ่วเคียน...เป็นพื้นที่ที่อยู่ลึกมาก  ช่วงที่ประสบภัยก็ถูกตัดขาดจากภายนอก  แต่ยังโชคดีที่อยู่ปลายน้ำไม่มีใครเสียชีวิต  และการสูญเสียทรัพย์สินก็มีอย่างมหาศาล

ค่ำคืนที่น้ำและโคลนไหลบ่ามานั้น  ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าเสียงสัตว์ที่ลอยมากับกระน้ำและทะเลโคลนร้องระงมดังลั่น ...

ปัจจุบันนี้   ...มีศพที่หาไม่เจอไม่ต่ำกว่า 30  ราย...ผมไปพื้นที่มาแล้ว  ที่นั่น....น่าเห็นใจมากครับ

 

  • ถึงเวลาผ่านไปแต่คงามทรงจำไม่เคยลืมเลือน
  • เป็นภาพที่ฝังใจผู้ที่พบเห็น
  • อ่านแล้วน้ำตาซึมจริงๆค่ะ
  • เป็นน้ำใจที่ยิ่งใหญ่มาก
  • ไทยช่วยไทย......ซาบซึ้งเห็นความตั้งใจจริง

มาเยี่ยม...

เห็นมุมคิด...รถบรรทุก...ปลายทางแห่งฝัน...เห็นแสงตะวันอยู่ไกล ๆ นะครับ...

สวัสดีครับ อ.ขจิต

P
  • อากาศที่กิ่วเคียนหนาวเย็นมาก  ... ผมและนิสิตไปถึงที่นั่นราว ๆ  ตี 2 
  • เรามีข้าวเปลือกประมาณ 140  กระสอบ (ถุงปุ๋ย)  ไปมอบเป็นกองทุนข้าวเปลือกให้กับชาวบ้าน
  • ที่นั่น...โชคร้ายจริง ๆ ครับ
คุณพิชชา ครับ...
P

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจในการแวะมาทักทาย

อันที่จริงเรื่องที่กิ่วเคียนมีอีก 2 - 3  เรื่องที่สามารถเขียนถึงได้  แต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมผมถึงเขียนออกมาไม่ได้เลย...หรืออาจเป็นเพราะผม "อิน" กับภาพชีวิตมากจนเกินไป จนเขียน "ความจริง"  ไม่ได้

การได้นอนบนรถบัสสองคืนติดต่อกัน  คือ ความรู้สึกอันวิเศษ   หนาว ๆ  อุ่น ๆ  อย่างน่าจดจำเป็นที่สุด

สวัสดีครับ
P

... นิสิตเรามีพลังใจเต็มร้อยครับ  แต่ยังขาดประสบการณ์เรื่องการจัดการและบริหารระบบ  จึงลุ่ม ๆ ดอน ๆ  ไม่น้อย  แต่โชคดีที่เป็นงานภาคสนามจึงไม่เน้นพิธีการมากนัก  กระนั้นก็คุยกับพวกเขาว่าเราต้องเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการด้วยเช่นกัน

ภูมิใจกับนิสิตกลุ่มนี้มาก....

ขอบคุณครับ....

 

สวัสดีครับ พี่อัมพร

P

เดิมทีก็กะจะตั้งชื่อบันทึกนี้ว่า "กิ่วเคียน..ความทรงจำไม่รู้จบ"   แต่ดูเหมือนจะเป็นกวีเกินไป  เลยเปลี่ยนใหม่ซะยาวเลย

ผมยังอยากเขียนถึงกิ่วเคียนอีกสักสองตอน  แต่ขอให้มีพลังมากกว่านี้ก่อนนะครับ...

.....

 

สวัสดีครับ คุณหมูน้อย

P

..เกิดเป็นคนไทย  ไม่ช่วยคนไทย..จะเป็นคนไทยได้ไงจริงไหมครับ...

อยากให้เห็นภาพบรรยากาศที่นิสิตเกี่ยวข้าวอยู่กลางแดดร้อนจังเลย    รวมถึงการขุดลอกโคลนตมและการขนหินชะลอแรงน้ำในลำน้ำรีจังเลย...จะได้สัมผัสลึกว่า  ทุก ๆ อย่างที่ลงแรงมีความหวังของการ "มีชีวิต"  เสมอ 

ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณครับ
P
อ. umi

ภาพที่รถวิ่งนั้นเป็นช่วงที่อยู่บนเขาน้ำหนาว  เรา 6 ล้อบรรทุกข้าวเปลือกพร้อมนิสิตดูแลร่วม 10 คนออกเดินทางล่วงหน้ารถบัสร่วม  1  ชั่วโมงแต่รถบัสก็แซงตรงน้ำหนาวนี่แหละครับ...

ไปถึงกิ่วเคียนก็ตี  2  แล้งนะครับ....อากาศหนาวเย็นมาก ๆ

 

สัมพันธ์ เณรอด (โดม คนค้นฅน)
ผมดีใจที่ได้พบและรู้จักกับพี่พนัสครับ ถึงแม้ได้พูดคุยกันไม่กี่คำ (โรงเรียนบ้านกิ่วเคียน) แต่นั่นก็เพียงพอที่จะสะท้อนเจตนารมณ์ของเหล่าคนอาสาจากรั้ว ม.มหาสารคามที่มีต่อชาวบ้านผู้ประสบภัยจากหลายหมู่บ้านของ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ได้เป็นอย่างดีครับ ผมดีใจและขอบคุณแทนชาวบ้านด้วยครับที่ลูกหลานและชาวบ้านต่างถิ่นยังคงเป็นห่วงเป็นใยและช่วยเหลือพวกเราเสมอมา  ในฐานะลูกหลานชาวบ้านผู้ประสบภัยขณะเดียวกันก็ทำงานด้านสื่อผมและเพื่อนๆ กำลังช่วยกันถ่ายทำภาพยนต์สารคดีที่บอกเล่าวิถีชีวิตของชาวบ้านผู้ประสบภัย อ.ท่าปลา 1 ปีหลังเกิดเหตุการณ์โคลนถล่มว่าพวกเขาใช้ชีวิต กิน อยู่ หลับ นอนกันอย่างไรและต้องต่อสู้กับอะไรบ้างรวมถึงความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อบอกเล่าให้คนในสังคมได้เห็นถึงการต่อสู้หลังการสูญเสียและเพื่อระดมทุนสร้างอนุสรณ์สถานผู้ประสบภัยโคลนถล่ม จ.อุตรดิตถ์ ขณะเดียวกันเราก็เร่งเตรียมงาน "1 ปีสึนามิดอย" รำลึกและเรียนรู้วิถีฅน-วิถีโคลน ซึ่งจะจัดขึ้นที่บ้านน้ำต๊ะ ประมาณปลายเดือนพฤษภาคม2550 นี้ครับ / โดม 086-6110575

12ปีผ่านไป เด็กเสื้อสีชมพูที่กำลังเดินเข้าบ้านที่เต็มไปด้วยดินโคลนในภาพประกอบ พึ่งได้อ่านข้อความนี้ หน่วยงานต่างๆ เข้ามาสร้างภาพและจากไป แต่จำได้ดีว่ากลุ่มพี่ๆนักศึกษาจากม.ต่างๆเข้ามาช่วยอย่างจริงจัง บางกลุ่มอยู่คลุกคลี จนผูกพันธ์กับชาวบ้านที่นี่ ขอบคุณนะคะ ^ ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท