การกระหายความรู้ อยากรู้อยากเห็นในความรู้ เป็นกิเลสหรือไม่ครับ


หากเทียบการกระหายความรู้นี้ เหมือนการกระหายเงินทอง ทรัพย์สมบัติหล่ะครับ จะเป็นกิเลสหรือไม่ครับ หากต่างคำตอบกับความรู้นั้นเราจะอธิบายอย่างไรครับ

ท่านคิดว่า

    หากเราศึกษาอะไรซักอย่างแล้ว ทำให้สิ่งที่ศึกษามันแตกแขนงไปเรื่อยๆ ทำให้น่าติดตามไปเรื่อยๆ แล้วถ่ายทอดให้คนอื่นรับรู้เพื่อต่อยอดไปเรื่อยๆ สิ่งเหล่านี้เคยเกิดในตัวท่านบ้างไหมครับ ว่าสิ่งที่เราเป็นอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ เน้นตัวความรู้ หรือสิ่งที่ได้มานั้นไม่รู้ว่าเป็นความรู้หรือไม่ ท่านคิดว่ามันเป็นกิเลสไหมครับ

หากเป็นเราจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร เพื่อดับกิเลสตัวนี้

หากเทียบการกระหายความรู้นี้ เหมือนการกระหายเงินทอง ทรัพย์สมบัติหล่ะครับ จะเป็นกิเลสหรือไม่ครับ  หากต่างคำตอบกับความรู้นั้นเราจะอธิบายอย่างไรครับ

กราบขอบพระคุณมากครับ

สมพร ช่วยอารีย์

 

หมายเลขบันทึก: 83541เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สวัสดีค่ะคุณเม้ง  เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

  • งั้น...ครูอ้อยก็คงเป็นคนที่กิเลสหนามากเลยค่ะ.....เพราะมีความอยากรู้อยากเห็นมากทีเดียว
  • บางวันมีกิเลสถึง.4 ทุ่ม...ฟังพี่สอบสัมมนาที่มหาวิทยาลัย 
  • กลับมาบ้านก็มีกิเลส..มากอ่าน gotoknow  จนดึก

เพลงไพเราะมากค่ะ

  • สวัสดีครับ คุณครูอ้อย
  • ผมเองก็กำลังคิดว่าที่ทำอยู่นี่มันเป็นกิเลสหรือเปล่า กระทบอย่างไรบ้าง
  • แล้วท่านอื่นๆหล่ะครับ มีกิเลสหรือไม่กิเลสตัวนี้เข้าไปครอบครองหัวใจบ้างยังครับ ช่วยอธิบายให้ฟังกันหน่อยนะครับ
มีค่ะ กิเลสตัวนี้ถูกครอบงำเหมือนกัน อยากรู้อยากเห็น มากกว่าสิ่งที่ได้ทำมา หรือได้เรียนมา อยากเรียนรู้ไปหมด จนเกิดความรู้สึกว่า ตัวเราเล็กนิดเดียว มีอะไรต่อมิอะไรที่ยังไม่รู้ มากมายเหลือเกิน.....แต่ยังไม่ได้คิดว่าจะดับกิเลสตัวนี้ค่ะ

มาเยี่ยม...

มองได้หลายมุม...

การกระหายความรู้ อยากรู้อยากเห็นในความรู้ เป็นกิเลสหรือไม่ครับ ...
กิเลส  คำพระว่า  สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง
กิเลสกาม...........คือกิเลสที่ทำให้อยากได้
อิจฉา.................คืออยากได้เหมือนกัน
ตัณหา................คือความปรารถนา  ความทะยานอยาก
ความเห็นของผมว่าน่าจะเป็นตัณหามากกว่ากิเลส
ขอบคุณครับ
  • เห็นด้วยกะพี่แป๋ว   ถ้าเป็นเรื่องอื่นยังอยากจะดับกิเลส
  • แต่เรื่องการเรียนรู้  คิดว่าคงไม่มีที่สิ้นสุดค่ะ 
  • อาจารย์ umi ว่าหมายถึงตัณหาหรือคะ.....ถ้าเพื่อความรู้ก็ยินดีค่ะ
  • ความปรารถนา  ความทะยานอยากที่จะเรียนรู้

กราบขอบพระคุณท่าน

P
และ อ.ลูกหว้า
P
ครับ
  • ผมเองก็ยังกระหายความรู้อยู่เลยครับ
  • แต่ก็ต้องค้นและเติมเต็ม แต่ไม่มีวันเต็มครับ
  • สงสัยต้องเรียนรู้แบบพอเพียง
  • ขอบคุณทุกความเห็นและความเห็นต่อไปครับ
  • ไม่รู้สิครับ...ถ้ามันเป็นไปในเชิงกุศลกรรมก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรครับ

 

  • ขอบคุณครับคุณย่ามแดง
  • ศึกษาแล้วถ่ายทอด ศึกษาแล้วให้ต่อยอด หวังว่าคงโอเคนะครับ 

ไม่ทราบว่านี่พอจะเป็นคำตอบได้หรือเปล่าครับ

ผมเคยเห็นคำตอบในเรื่องนี้บางแห่งครับ ที่ตอบตรงๆ เลย ขอเก็บเป็นการบ้านนำมาฝากนะครับ

โดนใจคะ 

(ไม่คิดว่าจะมีคนคิดคล้ายๆกัน  อะนะเคอะ)

อืม  ฟังจากคุณอุทัยแล้ว  คิดว่าไม่เข้าใจ  แต่คิดว่าโดนถึงแก่นของหัวใจคะ

ขออนุญาตแวะมาทักทายคะ

อาจารย์เม้ง.....

คำถามทำนองนี้ รู้สึกว่าพระคุณเจ้าค่อนข้างตอบยาก...แต่จะลองตอบดู...

การกระหายความรู้ อยากรู้อยากเห็นในความรู้ เป็นกิเลสหรือไม่ครับ ...

พิจารณาคำถามแล้ว อาจเพ่งคำสำคัญได้ ๓ คำ คือ

  • การกระหาย อยาก ...
  • ความรู้ ...
  • กิเลส...

ทั้ง ๓ กลุ่มนี้ จัดเป็น เจตสิก ซึ่งเป็นคุณลักษณะ หรืออาการของจิต โดยที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป พร้อมกับจิต...

เจตสิก นี้ มีทั้งหมด ๕๒ ซึ่งอาจจำแนกโดยย่อได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ ฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว และฝ่ายกลางๆ...

ฝ่ายกลาง ๆ ก็เช่น วิริยะ ความเพียรพยายาม ถ้าสนับสนุนฝ่ายดีก็ไม่เป็นกิเลส ถ้าสนับสนุนฝ่ายชั่วก็จัดเป็นกิเลสได้...

ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ ความรู้ ความเข้าใจ ความไม่หลง จัดเป็นฝ่ายดีอย่างเดียว....

โลภะ ความอยากได้ในอารมณ์ จัดเป็นฝ่ายชั่ว ฝ่ายเดียว... 

เมื่อนำข้อความคำถามมาประมวลแล้ว อาจยังฟันธงไม่ได้ จะต้องศึกษาเฉพาะเรื่องเฉพาะกรณีว่าเป็นกิเลสหรือไม่...

อนึ่ง คำสอนทางพระพุทธศาสนาจัดเป็น วิภัชชวาท คือ วิเคราะห์เฉพาะเรื่องเฉพาะกรณี มักจะไม่เหมารวมทั้งหมด....

เจริญพร

P

ขอบคุณน้องธรรมาวุธ

  • ไปแสดงความเห็นไว้แล้วครับ ถามไว้อีกเยอะเลยครับ อิๆ แบบว่าเป็นคนขี้สงสัยครับ
  • ขอบคุณครับ
P

ขอบคุณพี่รุจิราพร มากๆนะครับ

  • โดนใจในเรื่องใดครับผม อิๆ
  • อ.อุทัยบอกว่าเป็นตัณหาครับ น่าสนใจผมว่ามันต้องเป็นอะไรซักอย่างครับ แต่น่าสนใจเลยทีเดียวครับ
  • ขอบคุณสำหรับความเห็นอื่นๆ ต่อไปนะครับ
P

กราบนมัสการพระคุณเจ้าครับ

  • พระคุณเจ้าให้พรกระผมอีกแล้วครับ
  • ผมคิดว่าค่อนข้างชัดเจนครับพอแบ่งออกเป็นฝ่ายดี กลาง และชั่ว แสดงว่าดูที่ผลและเจตนาด้วยใช่ไหมครับ
  • กราบขอบพระคุณ พระคุณเจ้าครับ และยินดีสำหรับข้อคิดเห็นอื่นๆ เพิ่มเติมครับ

กิเลส  คือ  สิ่งที่มนุษย์คิด  มนุษย์สร้าง  มนุษย์กระทำ 

คิดดี  สร้างดี  ทำดี

คิดไม่ดี  สร้างไม่ดี  ทำไม่ดี  =  ไม่เลว 

(คิดเสียงดัง)

อืม....  พี่สมพร  คะ  อย่าเรียกนุชคุณพี่เลยนะเคอะ  เขินอะนะคะ

ที่บอกว่าโดนใจ  ที่ว่าไม่คิดว่าจะมีคนคิดคล้ายๆกัน  คือ หมายถึง  มีกิเลสที่จะคิด  ที่เขียนเหมือนกัน  ว่าวะงั้นอะกะ  

 

  • ครับผม สงสัยผมเป็นพี่ครับ งั้นเรียกว่าคุณรุจิราพร แล้วกันนะครับ กลางที่สุดครับ
  • ขอบคุณนะครับผม พอดีตัวผมอยากรู้อยากเห็นครับ เลยคิดว่านี่โดนกิเลสครอบงำหรือเปล่าครับ

กิเลศ ด้านดี มีไหม

กิเลศ ด้านลบ เชื่อว่ามี

บางทีอาจจะอยู่ที่ขยับโจทย์ ออกพ้นจาก กิเลศ ไปอยู่ในหมวดอื่น จะดีไหม เดี๋ยวชาวบ้านตีความกันสมองแฉะ

กราบขอบพระคุณ
P

ท่านครูมากๆครับ

  • ให้ลองเสนอกันดูครับ เผื่อได้หลายๆ มุมมองครับ ได้หลายๆ ประเด็นครับ ผมจะได้ลับสมองด้วยครับ
  • กราบขอบพระคุณครับผม

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

ตอนแรกว่าจะแวะมาทักทายเฉยๆ แต่พอเข้ามาอ่าน กลับทำให้เกิดความคิดต่อก็เลย ฝากไว้นิดหนึ่งแล้วกัน..ปอ.ปยุตโต ได้ให้ความหมายไว้ว่า " ถ้าทะยานอยากในสิ่งที่ดีเรียกว่าขยันหมั่นเพียร " ค่ะ..

เพราะฉะนั้นถ้าอยากรู้อยากเห็นในเรื่องการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นการทะยานอยาก ( ถ้าดูในความหมายนี้ก็คือ ตัณหา ) แต่้เป็นการทะยานอยากในสิ่งที่ดีและไม่เกิดความเศร้าหมอง ( ก็คือไม่เกิดกิเลส ) จึงถือว่าเป็น " ความขยันหมั่นเพียร " เจ้าค่ะ..ฝากอิทธิบาท 4( ธรรมให้ถึงความสำเร็จ ) ไว้ให้คิดต่อแล้วกัน..

ฉันทะ = ความมีใจรัก พอใจที่จะทำสิ่งนั้นด้วยใจรักเพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างดี

 วิริยะ = ความพากเพียร ขยัน พยายาม เข้มแข็งอดทนไม่ท้อถอยจนกว่าจะสำเร็จ

 จิตตะ = ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำด้วยความคิด ไม่ฟุ้งซ่านทำงานนั้นอย่างอุทิศตัวอุทิศใจ

 วิมังสา = การใช้ปัญญาสอบสวน หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลเพื่อให้สิ่งนั้นได้ผลดีขึ้น

ขอบคุณที่ทำให้สมองได้ออกกำลังค่ะ..

  • สวัสดีครับคุณเบิร์ด
  • คุณนี่ไม่ธรรมดาจริงๆ นะครับ ทำให้ผมได้คิดต่อไปอีกครับ
  • จะยึดอิทธิบาทสี่ครับ จะได้สำเร็จไวๆ ครับ
  • ออกกำลังได้เพิ่มที่นี่ครับ บันทึกต้มยำรวมมิตร ของฉัน
  • ขอบคุณมากครับ

ยังไงผมก็เชื่อว่าเป็นกิเลสอยู่ดี....55555

เพราะผมคิดเอาง่าย ๆ ว่า...อยากได้ อยากมี อยากเป็น...อยากไม่ได้ อยากไม่มี อยากไม่เป็น...ล้วนเป็นกิเลสทั้งสิ้น...

 

เพียงแต่ว่ากิเลสนั้นหนามากหรือเบาบางแค่ไหน...เส้นทางแห่งความเป็นไปของกิเลสเป็นเช่นไร...เช่น ถ้ามีความโน้มเอียงไปทางนิพพาน(เหมือนกระดานหก หัวทิ่มลงมาทางนิพพานว่างั้น...อิอิ)...ก็แสดงว่ามีปัญญากำกับเส้นทางความอยากอยู่ด้วย...

 

หากใช้ปัญญาเป็นกรรไกรตัดกิเลสได้...จนไม่มีอะไรให้ตัดอีกต่อไป...ถึงจะเรียกว่าหมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลสอาสวะครับ...อิอิ

 

 

 

P

ขอบคุณคุณพี่มากๆครับ

  • อ่านประเด็นของพี่แล้วทำให้ผมยิ้มทุกทีเลยครับ อ่านไปยิ้มไป
  • อ่านไปก็อยากรู้ไปครับ สงสัยต้องอ่านไปตัดไป ตัดเลยตัดเลย ตัดเลยชั๊บๆ ชับ
  • ตัดกิเลสตายนี่ คงไม่บาป ใช่ไหมครับ ใจหนึ่งก็กระหายอยากรู้ ใจหนึ่งก็อยากตัด
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ คุณนายขำ
  • แล้วความเห็นท่านอื่นหล่ะครับ ว่าอย่างไรบ้างครับ
อ่านมามากจากหลากหลายความเห็น  ได้สัมผัสหลายความคิดดีมากครับ  แต่จะขอตอบแบบที่ตัวเองรู้สึกเพิ่มเข้ามาอีกสักรายว่า เรื่องเรียนรู้อะไรแล้วเกิดการ เมามัน เกาะติด  กัดไม่ยอมปล่อย หรือสืบสาวราวเรื่องออกไปเป็นกิ่งเป็นแขนงนี่ ผมเคยมามาก และพบว่าหลายครั้งมันมีความอยากรู้เป็นตัวนำ  หลายครั้งตอบไม่ได้ว่าอยากทำไมขนาดนั้น  ตอนหลังก็เลยเริ่มมองเห็นว่าการเรียนรู้แบบเร่าร้อนนั้นน่าจะทำให้เสียเวลาอันมีค่าของชีวิตไปได้มาก จึงเริ่มลดดีกรีลงมา เหลือเพียงว่า เมื่อจะทำสิ่งที่เป็นกุศลกรรม ก็จะหาความรู้ให้พอเหมาะที่จะทำ แล้วก็เริ่มทำ เอากุศลเจตนาเป็นตัวนำ  ทำไปเรียนรู้ไป  ขาดเหลืออะไรก็เรียนรู้เพิ่ม  เลิกคิดสำรองความรู้โดยไม่จำเป็น  ก็ดูจะดีขึ้นครับ  ตอนหลังนี่เพราะเราทำอะไรได้มาก  คนก็หาว่ารอบรู้ จึงต้องคอยปฏิเสธอยู่บ่อยๆว่าไม่จริง  หลายอย่างยังไม่รู้  และยังไม่อยากจะรู้  ฯลฯ
P

ขอบพระคุณท่านอาจารย์แฮนดี้มากครับ

  • ผมคิดว่าตัวเราคงรู้มากที่สุดในเรื่องต่างๆในสมองเราว่าอะไรเรารู้แค่ไหนครับ หากเราถามและวิจัยตัวเอง ก็คงได้คำตอบอย่างที่ อาจารย์ว่าครับ
  • กำลังคิดว่า เวลาเรากระหายอยากรู้แต่ละครั้งเราก็ขวนขวายจนได้คำตอบมาให้กับตัวเองอยู่ตลอดเวลา แล้วหากวันหนึ่งคำตอบไม่สามารถค้นพบได้ในตอนนั้น อาจจะต้องทำวิจัยต่อยอดเอง ความรู้นั้นจะถูกต่อยอดด้วยความกระหายด้วยหรือเปล่า หรือว่าเป็นวิริยะอย่างที่คุณเบิร์ดบอกครับ อันนี้กระหายในทางที่ดีเพื่อหาคำตอบนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

หวัดดีคะพี่เม้ง

  • กระหายความรู้นี้ เป็น...กิเลสหรือป่าวก้อ ไม่รู้เหมือนกันคะ แต่ที่เป็นแน่ๆ ก้อคือ เป็น....ประโยชน์ต่อส่วนรวมแน่นอน 555
  • กระหายความรู้ เทียบกับการกระหายเงินทอง ทรัพย์สมบัติบัติ ในความรู้สึกมันไม่น่าจะเทียบกันได้นะ
  • ความรู้ยิ่งนำมาใช้มันก้อยิ่งเพิ่ม ขณะที่เงินทองยิ่งใช้ก้อยิ่งลด
  • ความรู้มันแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสี่ ..... เอาไปถ่ายทอดให้คนอื่นเค้ามันก้อยังอยู่กับเราไม่ไปไหน เงินทองนี่ซิ ให้เค้าไปหมด เราก้อ...อดกินข้าว
  • ความรู้เก็บไว้ในสมองนานไม่เอามาใช้ นานๆไปมันก้อจะลดลงถึงขั้นหายไปหมด เพราะลืม เงินทองเก็บฝากไว้ในธนาคาร ยิ่งเก็บนานก้อยิ่งเพิ่ม
  • การได้มาของความรู้.......ต่อให้เรากระหายแค่ไหน ก้อไม่ทำให้ใครเดือดร้อนแน่ๆ เพราะมันขโมยกันไม่ได้ อยากรู้ก้อต้องขวนขวายเอาเอง
  • แต่ที่จะเดือดร้อนก้อคือตัวเราเองนั้นแหละ อย่ากระหายจนทำตัวเองเศร้าหมองก้อโอเคล่ะ
  • ว่าแต่ว่าที่กระหายที่จะศึกษาและจะถ่ายทอดให้คนอื่นหน่ะ อะไรคะ พวกไสยศาสตร์ มนดำพวกนี้ป่าว อิๆๆๆ ถ้าไม่ใช่ สิ่งที่ดีมีประโยชน์ ตราบใดที่เราสนุกและมีความสุขกับมันก้อทำไปเถอะคะ
  • สวัสดีครับน้องลีย์
  • ขอบคุณมากครับ มีแนวคิดเปรียบเทียบหลายอย่างดีนะครับ ชอบที่ยิ่งให้ยิ่งเพิ่มครับ คงไม่มีเอาความรู้ไปฝากธนาคารนะครับ
  • นี่ไงครับ ลองเขียนบทความ เอาความรู้มาฝากในธนาคาร GotoKnow ซิครับ พี่ว่าน้องคงเขียนได้ดีมากเลยทีเดียว จากที่เห็นการแสดงวาทะมาหลายๆ ประเด็นครับ หรือจะให้พี่ช่วยชงประเด็นให้ก่อนก็ได้ครับ
  • ศาสตร์ทุกศาสตร์คงประโยชน์ในตัวของมันหากเรารู้ว่าควรจะหาได้จากตรงไหนและใช้ไปตามคุณสมบัติของศาสตร์นั้นๆ นะครับ ทำประโยชน์ให้สังคมได้เช่นกันครับ หากเป้าหมายที่แท้จริงคือความสุขกาย สุขใจและเบิกบานครับ
  • ครับ ความรู้ที่ได้มาก็ต้องใช้ในทางที่ดีด้วย เพราะว่าสามารถประยุกต์ใช้ในทางอื่นก็ได้ มันจะมีเหลี่ยมของมันอยู่ ดังนั้น ต้องเป็นความรู้คู่คุณธรรม
  • ขอบคุณมากครับ เขียนไว้อีกนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท