คำที่คล้ายๆกัน


 

วันนี้เข้าไปอ่านกระทู้ที่เวบพันทิป เจอเรื่องนี้เข้า " คำว่า "นาวี" เป็นคำไทย หรือทับศัพท์ " ทำให้เกิดข้อสังเกต (ซึ่งหลายคนคงจะสังเกตเจอกันไปนานแล้ว แต่ตัวเราเพิ่งมาสนใจ ^^'' )  ว่ามีคำในภาษาไทยหลายคำ ที่คล้ายๆกับคำในภาษาอังกฤษ ที่แท้ก็มีรากศัพท์เดียวกันนี่เอง (มั้ง)

เท่าที่เห็น (มีคนบอกไว้ในกระทู้) ก็มี

NAVY = ทหารเรือ

trough = ทะลุ

keep, kept = เก็บ

fire = ไฟ

Auto = อัตตะ

Inter = อันตระ แปลว่า ระหว่าง

Seminer = สัมมนา

tele = โทร(ะ)

two = โท

three = ตรี

 

ไม่ทราบว่า นอกจากคำเหล่านี้แล้ว ยังมีคำอื่นอีกไหมคะ

ท่านใดพอนึกออก ลองช่วยบอกกันมาหน่อย ^___^

 

 

หมายเลขบันทึก: 82225เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • เขาใจสังเกตุนะครับ
  • เอาหนังสือไปแนะนำมีคนมาดูเต็มเลยครับที่
  • ที่นี่ครับ

สวัสดีครับ คุณ k-jira

        ประเด็นนี้ผมก็สนใจมานานแล้วครับ จนถึงบางอ้อเมื่อรู้ว่า แท้จริงแล้วคำตอบอยู่ในเรื่อง ภาษาอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European Language) ครับ

        ลองดูคำต่อไปนี้ก่อน 

        โค  = cow (อังกฤษ)

        บุรี (เมือง) = ปุระ = burgh (เช่น เมือง Edinburgh)

        ภราดร (พี่น้อง) =bhratar (สันสกฤต) = brother

(ผมพาดพิดถึงเรื่องนี้ไว้เล็กน้อยในเรื่อง มีอะไรในชื่อฝรั่งอั่งม้อ ครับ)

       ตัวอย่างที่โดนใจผมมากที่สุด ก็คือ ทำไมคำว่า linguistics จึงแปลว่า ภาษาศาสตร์ หรือ bilingual จึงหมายถึง พูดคล่องสองภาษา

       คำตอบคือ คำว่า 'lin' ที่ซ่อนอยู่ในคำว่า linguistics และ bilingual ก็คือ ลิ้น (ใช้พูด) นั่นเอง

       สำหรับเรื่อง Indo-European Language นี่ขออนุญาตเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนว่า มีต้นกำเนิดมาจากพวกอารยัน (Aryan) เมื่อหลายพันปีก่อนครับ

       เล่าแบบย่อที่สุด : พวกอารยันนี้แยกย้ายแตกลูกแตกหลานกันออกไปหลายสาย

  • สายหนึ่งมาทางตอนเหนือของอินเดีย กลายเป็นแขกขาว เป็นต้นกำเนิดของภาษาสันสกฤต (และบาลี)
  • สายหนึ่งไปทางเปอร์เซีย กลายเป็นพวกอิหร่านในปัจจุบัน (เรื่องนี้มีตำนานที่เทียบเคียงได้กับคัมภีร์พระเวทของอินเดียด้วย)
  • อีกสายหนึ่งขึ้นเหนือไปทางยุโรป กลายเป็นฝรั่งยุโรป ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของภาษาต่างๆ ของยุโรปจำนวนมาก

          นี่เองที่ทำให้คำศัพท์ในภาษาอังกฤษ (และภาษายุโรปจำนวนมาก เช่น ภาษาเยอรมัน) มีเค้าเหมือนภาษาไทยในส่วนที่รับมาจากภาษาสันสกฤตอีกที

         โลกทั้งผองล้วนพี่น้องกันครับ  ;-)

ขอบคุณคุณ k-jira ที่เปิดประเด็นนี้ครับ

 

 

สวัสดีค่ะน้อง  ขจิต ฝอยทอง

  • เพิ่งออกเวรมาค่ะ เลยเพิ่งได้เข้ามาตอบ
  • คลิกแวะไปแล้วตั้งแต่เมื่อคืนก่อนไปเข้าเวร
  • แต่เวรดึกเมื่อคืนยุ่งมาก  ไม่ได้มีเวลาแวะพักเบรคเลย จึงไม่ได้เข้า G2K มาอีกรอบ
  • ขอบคุณมากค่ะที่ช่วยโปรโมทให้ ^__^

 

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

โอ.. เป็นข้อมูลที่ยอดเยี่ยมมากเลยค่ะอาจารย์ เป็นความรู้ใหม่ที่เพิ่งทราบจริงๆ k-jira ไม่มีสวน มะพร้ามห้าวทะลายนี้จึงเป็นที่ต้องการมากๆ

ขอบพระคุณมากๆค่ะ ^__^

 

ภาษาจะว่าไปก็เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจมากๆเลยนะคะ  พอๆกับวิทยาศาสตร์เลย

เพราะมันคือารยธรรมอันยิ่งใหญ่อีกประการหนึ่งของมนุษยชาติ ที่มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์ของภาษา ทำให้เราได้รู้จักความเป็นมาของบรรพบุรุษของเรามายิ่งขึ้น

แม้แต่ละฝ่ายจะอยู่กันไกลคนละฟากโลก แบ่งแยกแตกออกไปหลายเชื้อชาติ หลายภาษา แต่ศึกษาไปศึกษามา..ที่แท้เหล่ามนุษยชาติทั้งหลายก็ถือกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน คำกล่าวที่ว่า.. ทุกคนหาใช่อื่นไกล ต่างก็พี่น้องร่วมโลกเดียวกัน.. นับว่าเป็นสัจธรรมจริงๆ.. แต่ทำไมทุกวันนี้ ต้องแบ่งเผ่าพันธุ์เชื้อชาติศาสนาแล้วมาเข่นฆ่ากันด้วย

เอ้อ... คิดแล้วก็น่าอเนจอนาถใจจริงๆ

 

อ้าว...บ่นไปซะไกลเลย แหะๆ

ขอบคุณอาจารย์มากๆอีกครั้งนะคะ ที่เอาข้อมูลมาให้เป็นความรู้สำหรับวันนี้ค่ะ

^___^

นิรุกติสาสตร์ หรือ Ethymology นี่น่าสนใจจริงๆครับ ภาษามีอดีต (ที่มา) มีปัจจุบัน (การใช้ประโยชน์) และมีอนาคต (วิวัฒนาการ) ไม่เคยนิ่งเฉย

และอย่าลืมว่า "ภาษา" ที่สื่อสารกันนั้น ส่วนใหญ่ เป็น อวจนภาษา เสียด้วยนะครับ เดี๋ยวจะเพลินนึกว่าภาษามีแต่พูด มีแต่อักษร อย่างเดียว

เมื่อก่อนเรามี "ตะแล้บแก๊บ" ที่มาจาก "telegram"

มี "กับปิตัน" จาก "captain"

ไอยเรศ ไอยรา Elephant

หรือที่ อ.บัญชา ยกตัวอย่างมา ทางการแพทย์เราก็ใช้ตรงๆ lingual nerve = เส้นประสาทของลิ้น

หทัย / heart 

มน, มโน mind

แม่ mama mum มารดา mother

เคยอ่านหนังสือเล่มนึง ชื่อ ภาษาไทยไฮเทค ของ อาจารย์ดอกเตอร์นิตยา กาญจนะวรรณ อาจารย์กล่าวไว้น่าสนใจ คือ คนมองภาษาแบบครูสอนภาษา กับ นักภาษาศาสตร์

บางทีเมื่อคำเปลี่ยน การใช้เปลี่ยน ครูภาษาก็มองเป็น ภาษาวิบัติ ด้วยความเป็นห่วง ด้วยความเสียใจ แต่นักภาษาศาสตร์อาจจะมองแบบนักประวัติศาสตร์ คือ บันทึกเรื่อวราวเป็น ภาษาที่วิวัฒน์ เปลี่ยนแปลง สำคัญคือมันสื่ออย่างไร

แต่เดิมคำดีๆ ก็เปลี่ยนความหมาย เช่น

"ลงแขก" หรือร่วมมือกันเกี่ยวข้าว ก็กลายเป็นโทรมหญิง

"ปลุกใจเสือป่า" ที่ในหลวงรัชกาลที่หกทรงตั้งขึ้น เดี๋ยวนี้ "อะไร" ที่ปลุกใจเสือป่าก็ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่

เอ๊ะ ออกมาตรงนี้ได้อย่างไร

ไปดีกว่า

 

 

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความเห็นและประเด็นที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่งของอาจารย์หมอ Phoenix

เห็นด้วยค่ะว่า ปัจจุบันนี้ ทั้งภาษาและสำนวนไทยหลายคำมีการเปลี่ยนไป จนบางคำกลายเป็นเพี้ยนไป (จนแทบจะเกินรับได้)

จริงอยู่..ความสำคัญของภาษา นั่นคือ การที่มันสามารถสื่อสารให้คนเข้าใจกัน แต่ภาษาก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงอารยธรรมของสังคมนั้นๆด้วย จึงย่อมสมควรที่เราจะอนุรักษ์สิ่งดีๆและสวยงามของมันไว้ และดูแลให้มันเติบโตไปในทางที่เหมาะสม และดียิ่งๆขึ้นไป

เพียงแต่อะไรกันเล่า คือคำนินามของคำว่า "เหมาะสม" หรือ "ดี" ตรงนั้น

 

ภาษาไทยมีวิวัฒนาการยาวนาน มานับแต่ก่อนสมเด็จพ่อขุนรามคำแหง ภาษาที่ถูกบันทึกไว้บนหลักศิลา เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ก็จะเห็นว่าวันเวลาได้ขัดเกลาให้มันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย

การเติบโต การเปลี่ยนแปลงของภาษา จึงเป็น "วิวัฒน์" ของภาษา

แต่ว่าก็ยังมีคำอีกคำหนึ่ง ที่ปัจจุบันก็ฮิตกันไม่น้อย นั่นคือ  ภาษา "วิบัติ"

หลายครั้งที่เราเจอคำหลายคำ แล้วเราก็บอกว่า นั่นคือ ภาษาวิบัติ  แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งแย้งว่า นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของภาษาต่างหาก

ดังนั้น จะว่าไปแล้วระหว่าง วิวัฒน์ กับ วิบัติ ความหมายและกระบวนการของมันตรงกันข้ามกันสุดขั้ว

จนอดคิดไม่ได้ว่า แล้วอะไรหนอ ที่เป็นข้อบ่งชี้ว่า คำๆนั้น สำนวนๆนั้น... มันคือภาษา "วิวัฒน์" หรือ "วิบัติ"  กันแน่

ระหว่างสองคำนี้ จะมีเส้นแบ่งคั่น แยกออกจากกันได้ตรงไหนหนอ ?

ขอบคุณค่ะ  ^___^

ผมคิดว่าอะไรที่ตรงกันข้ามกับ สัมมาวาจา นั้นแหละคือภาษาวิบัติ หรือภาษาที่นำความวิบัติมาสู่คนพูด คนฟัง

ไม่พูดโกหก ส่อเสียด ให้ร้ายอกุศล เป็นวิถีแห่งสัมมาวาจา ทำไมคนเราจึงไปติดกับ "นิยาม" ไยจึงไม่ดูที่ "เจตนา" ของการสื่อ?

ตัวภาษานั้นไม่วิบัติหรอกครับ เหมือนมีดเล่มนึง เราอาจจะนำมาใช้ปรุงอาหารรสเลิศ หรืออาจจะนำมาฆ่าฟัน ถ้าจะมีภาษาวิบัติ คนนั้นแลเป็นคนวิบัติภาษา

สวัสดีครับ อาจารย์หมอ Phoenix & คุณ k-jira

  • ประเด็นเรื่อง สัมมาวาจา ที่อาจารย์กล่าวถึงนั้นชัดเจน & ตรงประเด็นมากครับ
  • ส่วนหนังสือ ภาษาไทยไฮเทค ของอาจารย์นิตยา นั้น ผมกำลังอ่านอยู่เหมือนกัน สนุกดีครับ
  • ผมไปพบไฟล์พจนานุกรม Prefixes & Suffixes ของ Webster แจกฟรีในอินเทอร์เน็ต ชื่อ

A Dictionary of Prefixes, Suffixes, and Combining Form from Webster's Third New International Dictionary,  Unabridged 2002

หากสนใจเก็บไว้ใช้งาน ไป ที่นี่ ครับ

  • หากลองเปิดอ่านแล้ว จะพบที่มา (รากศัพท์) ที่น่าสนใจจำนวนมากทีเดียว ตัวหนังสือเล็กหน่อย แต่ขยายดูได้ครับ

           

           

 

ขอบคุณค่ะ อาจารย์หมอ Phoenix

  • จะว่าไป คำว่า "ภาษาวิบัติ" ก็ตีความได้สองประการ  คือ  "ตัวภาษาถูกกระทำให้วิบัติ"  กับ  "ภาษานั้นสร้างความวิบัติ"
  • คำว่า "สัมมาวาจา" คงจะใช้กับ  "ภาษานั้นไม่ไปสร้างความวิบัติ"  แต่อาจจะไม่สามารถใช้ในความหมาย "ตัวภาษาถูกกระทำให้วิบัติ" 
  • ไม่แน่ใจว่า k-jira เข้าใจถูกต้องรึเปล่าคะ
  • ^___^

 

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ

  • ลิ้งค์ที่มาของรากศัพท์น่าสนใจมากเลยค่ะ
  • k-jira ปริ้นต์มาเก็บไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  • ขอบคุณที่แนะนำขุมทรัพย์ล้ำค่า ส่งมาให้อยู่เสมอค่ะ
  • ^___^

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท