ทำไมดินเขตร้อนจึงเสื่อมโทรมเร็วกว่าดินเขตอบอุ่น


ดินเขตร้อนส่วนใหญ่มีความเปราะบางด้านระบบและความอุดมสมบูรณ์ของดิน และต้องมีระบบพืชยืนต้นเป็นพี่เลี้ยง ตลอดเวลา จนไม่อาจจะใช้เทคโนโลยีการใช้ที่ดินที่รุนแรง เช่นเดียวกับดินในเขตอบอุ่นได้

 สาเหตุแห่งความผิดพลาดในการทำงานด้านดินและทรัพยากรที่ดินที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน ที่ดิน และสิ่งแวดล้อม ในเขตร้อนอย่างรวดเร็ว เพียงระยะไม่เกิน ๓๐ ปี ก็คือ  

ความไม่เข้าใจว่า

ดินเขตร้อนส่วนใหญ่มีความเปราะบางด้านระบบและความอุดมสมบูรณ์ของดิน และต้องมีระบบพืชยืนต้นเป็นพี่เลี้ยง ตลอดเวลา

จนไม่อาจจะใช้เทคโนโลยีการใช้ที่ดินที่รุนแรง เช่นเดียวกับดินในเขตอบอุ่นได้ โดยเฉพาะ

  • การถางต้นไม้ออกหมด
  • การไถพรวนที่รุนแรง ทำลายระบบพื้นฐานของดิน
  • การปลูกพืชเชิงเดี่ยว และ
  • เน้นการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในระบบการผลิต 

สาเหตุความแตกต่างที่สำคัญที่เป็นต้นเหตุก็คือ

  1. อุณหภูมิ
  2. ปริมาณและการกระจายตัวของฝน และ
  3. ในที่สุดก็คือพืชพรรณที่ขึ้นอยู่บนดิน

 เนื่องด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ที่ทำให้การกำเนิดดิน แร่ดินเหนียว ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน โครงสร้าง ช่องว่าง ความทนทานต่อการจัดการ และความอุดมสมบูรณ์ที่ดีกว่าดินเขตร้อน ในอย่างน้อย ๔ ประเด็นด้วยกัน คือ

 

  • การกำเนิดแร่ดินเหนียวคุณภาพสูง มีคุณสมบัติดูดซับธาตุอาหารไว้ได้มาก และการสลายตัวช้า
  • ปริมาณอินทรียวัตถุที่มีมาก คุณภาพดี และการสลายตัวช้า
  • ปริมาณการสำรองธาตุอาหารในดินมากกว่าในระบบนิเวศของพืชพรรณ
  • การชะล้างพังทลายที่ต่ำกว่า จากการดูดยึดของดิน ดินเหนียวมาก ความชื้นสม่ำเสมอ พืชปกคลุมมาก
 ดิน และที่ดินเขตร้อนที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้
  • มีเกิดแร่ดินเหนียวน้อย คุณภาพต่ำ สลายตัวเร็ว และ
  • อินทรียวัตถุที่คุณภาพต่ำ และปริมาณต่ำกว่า แต่สลายตัวเร็วด้วยอุณหภูมิสูง
  • ทำให้แร่ธาตุอาหารไม่มีที่เกาะยึดและถูกชะล้างไปได้อย่างรวดเร็ว
  • จากความรุนแรงของการตกของฝน ในสภาพที่ไม่มีพืชปกคลุม

 ดังนั้น การใช้ชุดความรู้ในการใช้ และอนุรักษ์ดินเขตร้อนและเขตอบอุ่นจึงต้องเป็นความรู้คนละชุดกัน  

โดยเฉพาะ การเก็บกักธาตุอาหารส่วนใหญ่ของที่ดินเขตร้อน จะอยู่ในระบบพืชพรรณและพืชยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ เพราะดินดูดยึดเอาไว้ได้น้อย จึงจำเป็นต้องมีพืชยืนต้นในระบบนิเวศ  

ที่แตกต่างจากเขตอบอุ่นที่ระบบการเก็บกัก อยู่ในดินกับดินเหนียวคุณภาพสูง และอินทรียวัตถุที่มีมาก และสะสมอินทรียวัตถุได้ง่าย

จากการที่อุณหภูมิต่ำสลายตัวช้า มีดินเหนียวคอยหุ้มห่อป้องกัน สามารถทำการเกษตรที่ไม่มีพืชยืนต้นได้เป็นเวลานานกว่า 

แต่การมีทั้งดินดี และพืชยืนต้นสำรองธาตุอาหารนั้นก็ดีกว่าแน่นอน 

ดังนั้นการลอกเลียนชุดความรู้จากการใช้ที่ดินในเขตอบอุ่น มาใช้ในเขตร้อนจึงทำให้มีปัญหาการเสื่อมโทรม และล่มสลายของระบบทรัพยากรที่ดินได้อย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากความเปราะบางของระบบนิเวศน์ดังกล่าว 

ฉะนั้น การพัฒนาระบบเกษตรในเขตร้อนจึงต้องใช้ระบบนิเวศเป็นตัวนำ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรผสมผสาน ไร่นาสวนผสม วนเกษตร หรือเกษตรอินทรีย์  

โดยอาจใช้อินทรียวัตถุเป็นปัจจัยนำร่อง และใช้ระบบสิ่งมีชีวิตในดินเป็นตัวชี้วัด 

เลิกใช้ชุดความรู้ไม่ถูกต้องเสียทีเถอะครับ

นึกว่าสงสารลูกหลานของท่านเองก็ได้ครับ



ความเห็น (14)
ได้ความรุ้เพิ่มเติมนอกจาตำราที่แปลมา
  • ตามเข้ามาเรียนรู้ครับ 
  • ขอบพระคุณมากครับ
ทุกสิ่งเป็นเช่นดังว่า ขอใหห้ทุกท่านจงช่วยกันนะ เพื่อตัวของท่านเอง (คิดซะว่า)
งานนี้อาจเข้าใจยากครับ แต่ก็ขอขอบคุณที่มาติดตาม
ชุดความรู้ ที่ถูกต้อง อยู่ที่ไหนครับ
กรุณาชี้แนะ

ผมงงมากเลยนะครับ

  • มาเรียนรู้กับท่านอีกแล้ว
  • คนที่มีความรู้กับอาชีพหลักของคนไทย
  • จะนำเอาบันทึกของท่านขยายให้ชุมชนเมื่อได้ออกทำงาน

ขอบคุณครับที่ช่วยกัน ก็เพื่อสังคมไทยแหละครับ

ศรัญรัตน์ สุตตะมณีวงศ์

พอจะทราบการอนุรักษ์ดินเขตร้อนบ้างไหมค่ะ

ใช้ระบบนิเวศธรรมชาติ ไม่พลาด รับรองได้ผลแน่นอน

สงสัยถามมาใหม่ครับ

ความรู้ใหม่สำหรับผมเลยครับคุณครูแสวง

สรุปว่าเหตุของผลที่เกิดขึ้นในเวลานี้ในประเทศแถบร้อนชื้นทั้งในประเทศไทยและอีกหลายๆประเทศในโลก ก็มาจากการศึกษาที่ไม่ได้นำมาประยุกต์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของตัวเอง เรียนมายังไงก็นำมาใช้ทั้งหมด โดยไม่มีการคิดวิเคราะห์ตัวเราเองเลยว่าสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศมีความแตกกต่างกันจากตำราเรียน

ตำราเรียนเวลานี้น่าจะเชื่อได้ว่า 100% มาจากชุดความรู้และงานวิจัยจากประเทศเมืองหนาวและเขตอบอุ่น (ฝรั่ง) อาจารย์ที่สอนส่วนใหญ่ก็จบมาจากเมืองฝรั่ง ข้าราชการระดับสูงก็จบมาจากเมืองฝรั่ง ดังนั้นก็เลยมีการสอนและแนะนำวิธีแบบฝรั่ง โดยไม่ประยุกต์ให้เข้ากับประเทศเขตร้อนแบบเราๆ

สุดท้ายก็เลยเพี้ยนไปหมด

ดีใจมากครับที่ยังมีคุณครูแบบคุณครูแสวงที่ช่วยกันวิเคราะห์และท้วงติงเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา หวังว่าจะมีคนรุ่นหลังโดยเฉพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ๆจะเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน อย่าไปหลงทางอีก

ศรัญรัตน์ สุตตะมณีวงศ์

นอกจากระบบนิเวศธรรมชาติแล้ว ยังมีข้อมูลอื่นอีกไหมค่ะอาจารย์

แล้วการอนุรักษ์ดินเขตร้อนสามารถหาได้จากแหล่ข้อมูลไหนบ้างค่ะ

ทางเวปไซตื ไม่ค่อยมีเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันความรู้ครับ

ข้อมูลที่ผมได้ ส่วนใหญ่มาจากงานวิจัยความเสื่อมโทรมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน

จึงไม่มีในงานวิจัยสายเดี่ยวครับ

และสังคมโลกปัจจุบันกำลังหลงทางกับงานวิจัยสายเดี่ยว และหลงทางสุดกู่กับระบบเคมี ที่นำไปสู่การทำลายระบบธรรมชาติ

และคนเหล่านี้ยังเชื่อว่าเขาสามารถเอาชนะธรรมชาติได้ซะอีกด้วยครับ

น่าสงสารจริงๆ

แต่ผลกระทบก็ตกแก่เราทุกคนนะครับ

นี่คือ สิ่งที่น่ากังวลที่สุดในปัจจุบันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท