ทำไม เศรษฐกิจถึงไม่พอเพียง


คนทำคือใคร ทำอยู่ที่ไหน ทำอย่างไร เกิดผลอย่างไร ได้ข้อสรุป ได้วิธีดำเนินชีวิตใหม่อย่างไร

           คนไทยได้ยินได้ฟังหลักการภาคทฤษฎีเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงบ่อยมาก จนแทบจะจำได้ขึ้นใจเรื่องความพอประมาณ การมีเหตุมีผล การมีภูมิคุ้มกัน  ผมเองก็พูดกับเรื่องนี้ในหลายเวที สิ้นปีก็ใช่ว่าจะรอดตัว วันที่ 31 มกราคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังมาชวนไปเสวนาในหัวข้อ พลวัตรชุมชนกับความยั่งยืนผมมีความเห็นอย่างนี้ครับ ตอนนี้คนไทยพอรู้บ้างแล้วละว่าเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักการอย่างไร แต่..คนที่จะมาแปลงความคิดให้เป็นความจริงนั้นตัวตนอยู่ที่ไหน ตรงนี้ต่างหากที่เป็นหัวใจของเรื่อง คนทำคือใคร ทำอยู่ที่ไหน ทำอย่างไร เกิดผลอย่างไร ได้ข้อสรุป ได้วิธีดำเนินชีวิตใหม่อย่างไร กลุ่มภาคีปราชญ์ชาวบ้านได้ร่วมกันสนองพระราชดำริในเรื่องนี้มานานพอสมควร เพียงแต่การทำงานที่ผ่านมา  เราทำกันตามมีตามเกิด มีเท่าไหร่ก็ทำเท่านั้น  ทั้งๆที่ความตั้งใจมองทะลุล่วงหน้าไปไกล แต่ข้อจำกัดต่างๆทำให้การขยายผลงานไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร           

                 นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นความสำคัญ ได้คัดเลือกสถานีเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน 40 แห่งทั่วประเทศ ทำการฝึกอบรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นี้มีคำตอบผมมีการบ้านมาเสนอดังนี้ครับ 

1.      ควรจะใช้ปราชญ์ชาวบ้านและสถานีเรียนรู้แต่ละแห่ง ช่วยเป็นกลไกสร้างความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเชิงประจักษ์ รัฐฯอุดหนุนให้แต่ละแห่งมีศักยภาพเช่น

·       พัฒนาความพร้อมด้านพื้นที่ทำกิน เช่นการปรับคันคูนาให้ใหญ่ขึ้น เพื่อปลูกต้นไม้ ผัก สมุนไพร หญ้าเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ

·       ปรับปรุงกิจกรรมให้หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยง และเสริมรายได้ เช่น การปลูกพืชอาหารสัตว์ ปลูกข้าวฟ่าง ทานตะวัน ข้าวโพด, ปลูกผักผลไม้ เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ สุกร และโคเพิ่มขึ้น

·       ส่งเสริมการผลิตปุ๋ย แนะนำให้มีโรงปุ๋ยครอบครัว ผ่านมูลสัตว์ผสมกับการใช้กิ่งไม้ใบไม้สับ วัสดุเหลือใช้ เช่นแกลบ เปลือกถั่ว วัชพืชต่างๆ มาใส่ลงในคอกสัตว์เลี้ยง

·       แนะนำวิธีใช้ประโยชน์ที่ดินให้คุ้มค่า เช่น  การหว่านงา ปลูกถั่ว ปลูกกระเจี๊ยบ ฯลฯ

·       แนะนำวิธีการสร้างกองทุนครัวเรือน

·       ส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การอัดอิฐดินซีเมนต์ กลั่นน้ำมันสมุนไพร แปรรูปอาหาร แปรรูปไม้ แปรรูปพืชผัก ผ่านกิจกรรมถนอมอาหาร

·       วิธีประเมินผล วัดจากความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่างๆ

·       ติดตามงาน ผ่านอินเตอร์เน็ท โปรแกรม http://gotoknow.org/ เน็ทในกลุ่มดังกล่าว มีเครือข่ายที่ทำงานด้านการศึกษาวิจัยของกลุ่มมหาชีวาลัยเคลื่อนไหวถ่ายทอดความรู้กันทุกวัน

·       พัฒนาครูพี่เลี้ยง นักจัดการความรู้ระดับชุมน เพื่อเป็นตัวต่อแต้มความรู้ลงสู่พื้นที่เป้าหมายในระยะยาวต่อไป

·       สร้างความรู้ ถอดความรู้ ระดมความรู้ อย่างเป็นระบบของแต่ละสถานี จุดเด่น จุดแข็ง จุดด้อย แต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ตรงที่นำมาสงเคราะห์บทเรียนจึงเป็นยาสมานแผลที่ถูกโรค ถูกอาการ และถูกเวลา      

กล่าวโดยรวม        

        ควรวางรากฐานให้สถานีปราชญ์ชาวบ้าน เป็นแหล่งสร้างชุดความรู้เหมาะสมที่ใน         แต่ละชุมชน เพื่อเคลื่อนไหววิธีการพัฒนาสังคมชนบท ให้เป็นสังคมแห่งการ         เรียนรู้และสมานฉันท์ ผ่านหลักสูตรการอบรมตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง

2.      ควรมีแผนงานปรับปรุงกิจการพื้นฐานของแต่ละสถานี ให้มีความพร้อมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ถาวรสำหรับขยายผลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน ความพร้อมที่กล่าวถึงนี้จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นตามสมควร เช่น

2.1  ที่พัก ที่ประชุม ที่รับประทานอาหาร ห้องน้ำ ห้องสุขา ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า ระบบเสียง

2.2  ส่วนเสริมกิจกรรมหลักของแต่ละสถานี  ยกระดับให้มีความพร้อมต่อการฝึกฝนทดลอง และเรียนรู้เชิงกระบวนการ จัดแปลงสาธิต กิจกรรมสาธิต

2.3  สนับสนุนอุปกรณ์การฝึกอบรม สร้างสื่อ สร้างระบบสารสนเทศชุมชน เช่น  

·       อุดหนุนการติดตั้งระบบสื่อสารICT.(แบบเดียวกับโครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบล) ให้ปราชญ์ชาวบ้านใช้ประโยชน์  รับรองจะไม่ปล่อยให้ร้างฝุ่นเกาะ ถ้าจะกรุณาประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ช่วยเหลือ 

·       ให้เครื่องมือ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องฉาย LCD. กล้องถ่ายรูป เครื่องถ่ายเอกสาร

·       รัฐบาลก่อนส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านในจังหวัดต่างๆ ผ่านโครงการ SME. หลายแผนงาน เช่นโครงการแปรรูปอาหารสัตว์  เนื่องจากกลุ่มแม่บ้านขาดการเตรียมความพร้อม และยังขาดประสบการณ์เรื่องการยกระดับความรู้ ทำให้โครงการนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆถูกปล่อยปะละเลย  กรมปศุสัตว์จึงเก็บมารวบรวมไว้  มหาชีวาลัยอีสานเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงขอความอนุเคราะห์ได้โปรดให้เจ้าหน้าที่ประสานงานกับกรมปศุสัตว์ให้ด้วย

3.  ด้านงบประมาณ  เพื่อนปราชญ์ชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมมาเล่าให้ฟังว่า ยังไม่ชัดเจน ในทางปฏิบัติขออนุญาตเสนอดังนี้ครับ

1        งบประมาณในส่วนเตรียมความพร้อมของแต่ละสถานี

 2        งบประมาณในส่วนการฝึกอบรมควรสนับสนุนให้พอเพียง

3        งบประมาณในส่วนขยายผล และติดตามงาน ในทางปฏิบัติแล้วเรื่องนี้ไม่ง่ายเลย คนไทยบางกลุ่มมองว่ามันเป็นเรื่องทวนกระแสด้วยซ้ำไป เพราะมุ่งคิดเรื่องรวยมากๆ รวยง่ายๆ รวยเร็วๆ  ทั้งๆที่เกิดวิกฤตฟองสบู่แตกมาแล้วครั้งหนึ่ง แม้แต่ตอนนี้ก็ใช่ว่าจะดี สภาพรวมทางเศรษฐกิจทั่วไปยังยักแย่ยักยัน ผันหนี้ ผันเครดิตกันตัวเป็นเกลียว  ส่วนใหญ่ตกอยู่ในประเภทไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตากันทั้งนั้น รัฐบาลต้องอุ้มเอื้ออาทรกันทุลักทุเล ภาพนี้ใช่ว่าจะลบเลือนได้ในเร็ววัน มันกลับจะสะท้องความเป็นจริงของสังคมที่ไม่พอเพียงมากขึ้นๆ ตราบใดที่สังคมไทยไม่เชื่อโดยสุจริตใจที่จะน้อมนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปเป็นแกนหลักในวิถีชีวิตไทย

หมายเลขบันทึก: 69951เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • มาสนับสนุนความคิดครูบาครับผม
  • ยังสอนหนังสืออยู่ชายแดนกาญจนบุรีอยู่เลยครับ หนาวมากครับ
  • เปิดgotoknow ก็พบครูบารูปใหม่ครับ
  • ขอบคุณมากครับ

           คนไทยเจ็บแล้วไม่ค่อยจำ  ประเภทเห็นโลงศพพร้อมหลังน้ำตายังทนอยู่ได้

           การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องกับคนทั่วไปว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจแบบสันโดษ หรือแปลกแยกปลีกวิเวกไปอยู่ตามท้องไร่ท้องนาเท่านั้น เพราะความพอเพียงไม่ใช่มักน้อยอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ  แต่พอเพียงคือการยืนหยัดอยู่ได้ภายใต้ศักยภาพของตนเอง มีกิน มีใช้ถึงแม้ไม่มากมาย แต่ไม่มีหนี้ และมีเหลือเผื่อแผ่แบ่งปัน  

ชุมชนไทยโดยภาพรวม   มีสภาพดังสำนวนไทยแบบอีสานว่า 

                    ข้าวสุก  ปลาตาย 

     ความเคลื่อนไหวในเชิงพัฒนาจึงค่อนข้างช้า

ความพอเพียงเป็นปรัชญาที่ล้ำลึกมากทั้งด้านนอก(ทรัพยากร) และด้านใน (จิตวิญญาณ)

  • ไม่ง่ายอย่างที่คิด
  • ต้องมั่นคง
  • ชัดเจน
  • เข้มแข็ง
  • จัดการความรู้ที่ตรงประเด็น
  • ใช้พลังกลุ่มและเครือข่าย เพื่อพลังเชิงจิตใจ และฐานทรัพยากร
  • ปรับตัวตามสถานการณ์ได้ดี
  • ฯลฯ

ผมคิดว่าการขยายผลจริงๆ ...อีกนาน

  • เห็นด้วยกับครูบาสุทธินันท์ทุกประการครับ แต่ทั้งหมดเหล่านี้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่มหาศาล และมีความเป็นไปได้ถ้าหากรัฐบาลเอาจริง
  • บทบาทของรัฐต้องชัดเจน ตั้งมั่น แน่วแน่ จึงจะสำเร็จได้ หากจะทำแบบเดิมเหมือนที่ผ่านมาคงหวังได้ในชาติหน้ากะมัง

ขอเป็นกำลังใจและพลังเสริมสู่ความฝันให้เป็นจริงครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย

 

สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้านะครับ...ด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท