ว่าด้วย “ขงจื๊อ”


ขงจื๊อ ได้รับการยกย่องว่าเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่แห่งแผ่นดินจีน

อันเนื่องมาจากการเปิดสถาบันขงจื๊อของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่  ๒๕  ธันวาคม  ๒๕๔๙  ที่ผ่านมา ในฐานะชาวประชาของ มมส และความชื่นชอบโดยส่วนตัวต่อแนวคิดของปราชญ์ขงจื้อก็อดที่จะประมวลเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ มากำนัลผู้อ่าน ซึ่งอาจจะไม่แปลกใหม่  แต่ก็ยังยืนยันว่าควรค่าต่อการแลกเปลี่ยน เรียนรู้

๑.      ขงจื๊อ  ได้รับการยกย่องว่าเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่แห่งแผ่นดินจีน  เกิดในรัฐหลู่ (ปัจจุบัน คือ มณฑลชานตุง)  โดยชานตุงยังคงได้รับการเชื่อและศรัทธาว่าเป็น ดินแดนศักดิ์สิทธิ์

๒.     ปรัชญาคำสอนของขงจื๊อ  มุ่งเน้นแนวคิดที่สำคัญ  อาทิ

.  หลักมนุษยธรรม  เป็นต้นว่า

       เฉพาะผู้ซึ่งมีมนุษยธรรมเท่านั้นจึงจะรู้ว่าใครเป็นคนน่ารัก และใครเป็นคนน่าชัง

       ผู้นำที่ปกครองรัฐด้วยคุณธรรม  เปรียบเสมือนดาวเหนือซึ่งสถิตอยู่ ณ ที่เดิม ขณะที่ดาวดวงอื่น ๆ หมุนรอบ

        บัณฑิตและผู้ซึ่งกอปรด้วยมนุษยธรรม จะไม่เสี่ยงชีวิตเพื่อการสูญเสียมนุษยธรรม แต่เขาจะยอมเสียสละแม้กระทั่งชีวิตเพื่อรักษามนุษยธรรมไว้

๒.๒  หลักแห่งการศึกษา  เป็นต้นว่า

        การศึกษาเล่าเรียน  ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ

        เรียนโดยไม่คิดเป็นการสูญเปล่า คิดโดยไม่เรียนเป็นอันตราย

        ผู้ที่เกิดมาพร้อมกับความเฉลียวฉลาด  นับว่าประเสริฐสุดผู้ที่เกิดมาแล้วเฉลียวฉลาดโดยการศึกษา  นับว่าประเสริฐรองลงมา

        ผู้ที่เกิดมาแล้วศึกษาเพื่อให้หลุดพ้นจากความโง่  นับว่ารองลงมาอีก  สำหรับผู้ที่เกิดมาโง่แล้ว ยังไม่ปรารถนาจะศึกษานับว่าอยู่ต่ำสุด

๒.๓  หลักการดำรงตนตามกาละและฐานะ  เป็นต้นว่า

       พิธีรีตองแบบง่าย ๆ  ดีกว่าพิธีที่ฟุ่มเฟือย และในพิธีศพ ความเศร้าโศกเสียใจอย่างลึกซึ้ง สำคัญกว่าการไปร่วมพิธีเพียงชั่วครู่

       การตอบแทนกัน  จงอย่าปฏิบัติต่อผู้อื่นในสิ่งที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน

       ความซื่อตรงที่ปราศจากความประพฤติที่ดีงามนั้น กลายเป็นความน่ารำคาญ

       ความระมัดระวังที่ปราศจากความประพฤติที่ดีงามนั้น  กลายเป็นความขี้ขลาด

    ความกล้าหาญที่ปราศจากความประพฤติที่ดีงามนั้น  กลายเป็นความไม่อ่อนน้อม

     ความตรงไปตรงมาที่ปราศจากความประพฤติที่ดีงามนั้น  กลายเป็นความทะลึ่ง

                   จาก :  หนังสือ คัมภีร์จีน

                               แปลและเรียบเรียง :  วุฒิชัย  มูลศิลป์

        
คำสำคัญ (Tags): #ปราชญ์ขงจื้อ
หมายเลขบันทึก: 69388เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 06:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณค่ะ 

๒.๒  หลักแห่งการศึกษา  เป็นต้นว่า

        การศึกษาเล่าเรียน  ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ

โดนมากเลยค่ะ

  • ขอบคุณครับ
  • ก็คงต้องขอบคุณขงจื๊อโน่นแหละ

ชอบชื่อสถาบันครับ...

ทำให้ผมนึกถึง หนังสือที่ผมมี

พี่ชายที่ผมเคารพท่านหนึ่ง ท่านให้หนังสือผมเล่มหนึ่ง ชื่อหนังสือ "The art of strategy" ซึ่งเรื่องราวในหนังสือเป็น ยุทธศิลป์ในการจัดการ ของ "ซุนวู" น่าสนใจมากครับ

คิดว่าในโอกาสต่อไปจะได้แลกเปลี่ยนวิธีคิด "ยุทธศิลป์" ที่ประยุกต์ใช้กับการงานได้ รู้จักการจัดวางตำแหน่งและรวบรวมพลังปัญญา

น่าสนใจทีเดียวครับ

 

ทำอย่างไร คนมหาสารคาม จะได้รู้จักและได้สัมผ้ส กับสถาบันขงจื๊อ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท