การสอนแบบโครงการ


การสอนแบบโครงการ

การสอนแบบโครงการ

         การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงการเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายใต้บรรยากาศที่เป็นมิตร มีอิสระเสรี ให้เกียรติให้ความสำคัญแก่เด็กในฐานะคนๆหนึ่งที่มีสิทธิเท่าเทียมกันทุกคน สร้างความรู้สึกที่มั่นคง กล้าคิดกล้าแสดง กล้าลงมือทำ ครูเป็นผู้คอยให้การสนับสนุนคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ ครูจะไม่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้  แต่จะเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องราวที่เป็นความสนใจและท้าทายความสามารถของเด็ก  ให้โอกาสเด็กได้ค้นพบและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับสิ่งของ เรื่องราว สถานที่ บุคคลและเหตุการณ์ต่างๆภายในชุมชนของเด็ก ตามวิธีการของแต่ละบุคคล  เปิดโอกาสให้เด็กได้ประเมินผลการทำงานของตนเอง ได้เห็นพัฒนาการและความสำเร็จและล้มเหลวของตน ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับในทางบวกและคอยแนะนำช่วยเหลือให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม   ลักษณะสำคัญของการสอนแบบโครงการ           .  เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ร่วมกับระบบการสอนในหลักสูตรตามปกติ โดยโอกาสที่ครูจะใช้รูปแบบการเรียนการสอนนี้จะเกิดขึ้นภายใต้สภาพการเรียนการสอนตามปกติ เมื่อครูสังเกตเห็นว่าเด็กมีความสนใจในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นพิเศษ และต้องการจะศึกษาเรื่องนั้นต่อไป และครูพิจารณาว่าสามารถจัดกิจกรรมเพื่อศึกษาเรื่องนั้นได้และมีแหล่งทรัพยากรเพียงพอในการศึกษาเรื่องนั้น          .  จุดเน้นสำคัญของการจัดการเรียนการสอนนี้มุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นหลักเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้ศึกษาเรื่องที่ตนสนใจ ในวิธีการของเด็กเอง  ดังนั้นการสอนแบบโครงการไม่มีการวางแผนการสอนอย่างชัดเจนไว้ล่วงหน้า   ครูผู้สอนคอยจะสังเกตจนพบความความสนใจของเด็ก แล้วจึงจะสามารถร่วมกันวางแผนและกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันกับเด็กขึ้นและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการความสนใจของเด็ก        . แม้ว่าการสอนแบบโครงการจะมุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นรายบุคคล แต่ในการเลือกหัวข้อของโครงการที่จะทำการศึกษานั้น เด็กทั้งกลุ่มจะร่วมกันเลือกหัวข้อของโครงการร่วมกัน ภายใต้กรอบความสนใจของเด็กส่วนใหญ่ในห้องเรียนและภายใต้การพิจารณาของครูว่าหัวข้อดังกล่าวสามารถเลือกเป็นหัวข้อโครงการได้หรือไม่ โดยครูพิจารณาเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของโครงการดังนี้) เป็นหัวข้อที่เด็กทุกคนหรือเด็กส่วนใหญ่ของกลุ่มสนใจ) มีแหล่งทรัพยากรในท้องถิ่นเพียงพอที่จะจัดกิจกรรมในหัวข้อโครงการนี้ได้) เป็นหัวข้อที่เด็กพอจะมีประสบการณ์อยู่บ้างแล้ว) เป็นหัวข้อที่เด็กสามารถใช้ประสบการณ์ตรงในการค้นหาข้อมูลข้อเท็จจริงได้) เป็นเรื่องที่เป็นจริง สามารถให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับเรื่องนั้นได้) เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้มีการร่วมมือกันทำงาน) เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สร้างสิ่งของหรือเล่นสมมุติ) เป็นหัวข้อที่มีความสัมพันธ์กับจุดประสงค์ของการเรียนการสอน) เด็กมีโอกาสใช้ทักษะต่างๆในการเรียนรู้ ๑๐) ผู้ปกครองมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ .การสอนแบบโครงการต้องการครูที่มีคุณลักษณะสำคัญอย่างยิ่งคือต้องเป็นผู้ที่ยอมรับเด็กโดยแท้ เชื่อมั่นว่าเด็กสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเด็กเอง โดยครูจะต้องแสดงบทบาทผู้ฟังที่ดีให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความต้องการความสนใจของเด็กและจัดกิจกรรมตามความสนใจของเด็กอย่างแท้จริง ต้องไม่แสดงบทบาทของผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ไม่เป็นผู้กำหนดกิจกรรมให้เด็กทำตามความคิดของครู    

หลักการและแนวคิดสำคัญของการสอนแบบโครงการ         .เด็กศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกลงไปในรายละเอียดของเรื่องนั้น ด้วยกระบวนการคิดและแก้ปัญหาของเด็กเองจนพบคำตอบที่ต้องการ        .เรื่องที่ศึกษากำหนดโดยเด็กเอง        . ประเด็นที่ศึกษา เกิดจากข้อสงสัยหรือปัญหาของเด็กเอง        . เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษาโดยการสังเกตอย่างใกล้ชิดจากแหล่งความรู้เบื้องต้น        .ระยะเวลาการสอนยาวนานอย่างเพียงพอตามความสนใจของเด็ก        .เด็กได้ประสบทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จในการศึกษาตามกระบวนการแก้ปัญหา ของเด็ก        .  ความรู้ใหม่ที่ได้จากกระบวนการศึกษาและการแก้ปัญหาของเด็กเป็นสิ่งที่เด็กใช้กำหนดประเด็นศึกษาขึ้นใหม่ หรือใช้ปฏิบัติกิจกรรมที่เด็กต้องการ        . เด็กได้นำเสนอกระบวนการศึกษา และผลงานต่อคนอื่น        . ครูไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือกำหนดกิจกรรมให้เด็กทำ แต่เป็นผู้กระตุ้นให้เด็กใช้ภาษาหรือสัญญลักษณ์อื่นๆเพื่อจัดระบบความคิด และสนับสนุนให้เด็กใช้ความรู้ทักษะที่มีอยู่คิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

 วัตถุประสงค์ของการสอนแบบโครงการ

        รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนาขึ้นเพื่อ.พัฒนาทักษะการคิดของเด็ก        .พัฒนาทักษะการลงมือปฏิบัติของเด็ก.พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็ก
        .เสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กวัย
จากองค์ประกอบของการเห็นคุณค่าในตนเอง ๕ องค์ประกอบ ๑๖ พฤติกรรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้                .องค์ประกอบด้านคุณลักษณะเฉพาะตัวและการเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน                                 . ลงมือปฏิบัติกิจกรรมใหม่ๆหรือทำงานใหม่ๆได้                   . ตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองได้                  . ทำงานเองโดยลำพังไม่ต้องมีคนคอยควบคุมได้                 . เสนอความคิดใหม่ๆเกี่ยวกับกิจกรรมในห้องเรียนได้                  . ถามคำถามเพื่อทำความเข้าใจได้                 . ปรับตัวได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง         . องค์ประกอบด้านการประพฤติตัวได้เหมาะสมในห้องเรียน                  . พูดในจังหวะอันควรได้                 . พูดถึงสิ่งที่ได้กระทำที่โรงเรียนในทางที่ดี                . ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับคนอื่นๆได้         . องค์ประกอบด้านการสามารถเผชิญกับความผิดพลาดและการวิพากษ์วิจารณ์                ๑๐. เวลามีข้อผิดพลาดสามารถจัดการกับข้อผิดพลาดได้                ๑๑. เมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์ยอมรับฟังได้โดยไม่แสดงกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรง         . องค์ประกอบด้านความเป็นที่สนใจ                 ๑๒. เป็นผู้ที่เพื่อนเลือกให้อยู่ในกลุ่ม                ๑๓. แสดงความเป็นผู้นำในกลุ่มได้                 ๑๔. กล่าวถึงตนเองในทางที่ดี        . องค์ประกอบด้านความเชื่อมั่นในตนเอง                 ๑๕. พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกของตนได้                ๑๖. ชื่นชมการทำงานและผลงานของตน

 สาระสำคัญของการสอนแบบโครงการ

๑.     สาระหลักของรูปแบบ คือกระบวนการแก้ปัญหา จะเป็นสาระหลักที่ครูใช้กระตุ้นให้เด็กใช้ตลอดกระบวนการจัดการเรียนการสอน  กระบวนการแก้ปัญหา เป็นกระบวนการที่ต้องการให้เด็กคิด หาวิธีการแก้ปัญหา โดยครูมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดในการที่จะหาวิธีการแก้ปัญหาตามวิธีการของเด็ก มีขั้นตอนดังนี้                . กำหนดประเด็นปัญหา จากการที่เด็กสังเกต ศึกษาข้อมูล รับรู้และทำความเข้าใจปัญหา จนสามารถสรุปและกำหนดประเด็นปัญหาขึ้นได้                . เด็กวิเคราะห์โดยการอภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อแยกแยะประเด็นปัญหา สภาพ สาเหตุ และลำดับความสำคัญของปัญหา               .เด็กสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาด้วยการตั้งสมมุติฐาน                . เด็กตรวจสอบสมมุติฐานด้วยการลงมือปฏิบัติ                . สรุปผล สังเคราะห์ความรู้ด้วยตัวเอง        ในการที่เด็กจะคิดแก้ปัญหาได้นั้นครูต้องมีการกระตุ้นให้เด็กคิด โดยการกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ทักษะทางการคิด และลักษณะทางการคิด ซึ่งประกอบด้วยทักษะและลักษณะต่อไปนี้        ทักษะการคิด ประกอบด้วย                ).ทักษะการคิดพื้นฐาน ได้แก่                        .๑ ทักษะการสื่อสาร ได้แก่<font size=

"5">                               

ทักษะการฟัง                 - ทักษะการใช้ความรู้<font size=

"5">                               

ทักษะการจำ                 - ทักษะการอธิบาย<font size=

"5">                               

ทักษะการอ่าน               - ทักษะการทำความ                                                                   กระจ่าง<font size=

"5">                               

ทักษะการรับรู้               - ทักษะการบรรยาย<font size=

"5">                               

ทักษะการเก็บความรู้         - ทักษะการพูด<font size=

"5">                               

ทักษะการดึงความรู้          - ทักษะการเขียน<font size=

"5">                               

ทักษะการจำได้              - ทักษะการแสดงออก                        .

ทักษะที่เป็นแกนหรือทักษะขั้นพื้นฐานทั่วไปได้แก่                               

ทักษะการสังเกต             - ทักษะการระบุ<font size=

"5">                               

ทักษะการสำรวจ             - ทักษะการจำแนก                                                                   ความแตกต่าง<font size=

"5">                               

ทักษะการตั้งคำถาม          - ทักษะการจัดลำดับ<font size=

"5">                               

ทักษะการรวบรวมข้อมูล     - ทักษะการเปรียบเทียบ<font size=

"5">                               

ทักษะการจัดหมวดหมู่        - ทักษะการอ้างอิง<font size=

"5">                               

ทักษะการตีความ             - ทักษะการแปลความ<font size=

"5">                               

ทักษะการเชื่อมโยง           - ทักษะการขยายความ<font size=

"5">                               

ทักษะการใช้เหตุผล          - ทักษะการสรุปความ                )ทักษะการคิดขั้นสูง ที่สำคัญมีดังนี้<font size=

"5">                               

ทักษะการนิยาม              - ทักษะการวิเคราะห์<font size=

"5">                               

ทักษะการผสมผสาน         - ทักษะการจัดระบบ<font size=

"5">                               

ทักษะการสร้าง              - ทักษะการจัดโครง                                                                   สร้าง                                - ทักษะการปรับโครงสร้าง    - ทักษะการหาแบบแผน                                - ทักษะการหาความเชื่อพื้นฐาน- ทักษะการทำนาย                                - ทักษะการตั้งสมมุติฐาน       - ทักษะการทดสอบ                                                                   สมมุติฐาน<font size=

"5">                               

ทักษะการกำหนดเกณฑ์      - ทักษะการพิสูจน์                                - ทักษะการประยุกต์          ลักษณะการคิด        ครูจะกระตุ้นให้เด็กมีลักษณะการคิดหลายๆรูปแบบ หลายๆลักษณะ ลักษณะการคิดเป็นประเภทของการคิดที่แสดงลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน ลักษณะการคิดแต่ละลักษณะจะอาศัยทักษะพื้นฐานบางประการและมีกระบวนการหรือการคิดไม่มากนัก ลักษณะการคิดดังกล่าวประกอบด้วย การคิดคล่อง การคิดหลากหลาย การคิดละเอียด การคิดชัดเจน การคิดกว้าง การคิดไกล การคิดลึกซึ้ง และการคิดอย่างมีเหตุผล  ๒.    สาระที่เป็นเนื้อหาตามหัวข้อโครงการ เป็นเนื้อหาที่เกิดจากความสนใจ ความต้องการของเด็ก แล้วถูกกำหนดเป็นหัวข้อโครงการที่จะทำการศึกษา     กระบวนการจัดการเรียนการสอนขั้นตอนการสอน        การจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการขอการสอนแบบโครงการประกอบไปด้วยระยะของโครงการ ๓ ระยะใหญ่ๆ คือ                 ระยะที่ ๑ เริ่มต้นโครงการ                 ระยะที่ ๒ พัฒนาโครงการ                                     ระยะที่ ๓ รวบรวมสรุป  เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน        ตลอดการสอน ๑ โครงการ เวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับการได้ดำเนินการขั้นตอน ตามขั้นตอนการสอนของรูปแบบ คือ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ พัฒนาโครงการ และรวบรวมสรุป ดังนั้นเวลาในการสอน ๑ โครงการจึงไม่สามารถกำหนดให้แน่นอนตายตัวได้ เพราะขึ้นอยู่กับความสนใจในการทำกิจกรรมของเด็ก ส่วนในการสอน ๑ ครั้งใน ๑ วันใช้เวลาประมาณ ๕๐-๗๐ นาที ตามช่วงเวลาของกิจกรรมอิสระ หรือช่วงเวลาที่โรงเรียนกำหนดขึ้นเอง ซึ่งก็สามารถยืดหยุ่นให้มากหรือน้อยกว่านี้ได้ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็กเป็นสำคัญ  การจัดสภาพสิ่งแวดล้อม        การสอนแบบโครงการมุ่งให้เด็กได้มีโอกาสมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นบุคคล สิ่งของ หรือเหตุการณ์ เพื่อที่เด็กจะได้สร้างองค์ความรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านั้น ครูควรจัดเอกสาร หนังสือ หรือวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อโครงการไว้ในห้องเรียน รวมทั้งจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ตามโครงการของเด็ก ด้วยการติดผลงานของเด็ก ภาพถ่าย ติดป้ายแสดงเรื่องราว(Documentary Board)การทำโครงการของเด็ก ครูสามารถขอความร่วมมือจากผู้ปกครองที่จะส่งเอกสาร หรือสิ่งของต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อโครงการมาจัดแสดงในห้องเรียน เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้มีประสบการณ์กับสิ่งเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ในโครงการพญานาค ครูขอความร่วมมือจากผู้ปกครองโดยผ่านการทำหนังสือแจ้งข่าวการทำโครงการพญานาคและขอความร่วมมือขอให้นำสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับพญานาคมาร่วมแบ่งปันกันในห้องเรียน มีผู้ปกครองส่งกล่องไม้ขีดไฟตราพญานาคมาจัดแสดงในห้องเรียน และมีเอกสารเกี่ยวกับอาชีพการวาดรูปพญานาคบนหัวเรือประมงมาแบ่งปัน สิ่งเหล่านี้เด็กให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นการจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนจะเป็นเรื่องราวของการศึกษาค้นคว้า ผลงานการทำงานตามโครงการของเด็ก ห้องเรียนที่ใช้ในการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการเรียนการสอนนี้สามารถใช้ห้องเรียนห้องเดียวกับการเรียนการสอนปกติ แต่ถ้าหากโรงเรียนใดสามารถจัดห้องเรียนที่เป็นห้องโครงการโดยเฉพาะได้จะทำให้การจัดกิจกรรมเต็มไปด้วยความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะบางครั้งการเรียนการสอนนี้ต้องการพื้นที่ในการสร้างแบบจำลองที่มีขนาดใหญ่ และต้องใช้เวลาในการสร้างและปรับปรุงเป็นเวลานาน กิจกรรมการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนการสอนระยะที่ ๑ เริ่มต้นโครงการ        ก่อนที่จะเริ่มโครงการครูและเด็กทุกคนในกลุ่มร่วมกันกำหนดหัวข้อของโครงการ หัวข้อโครงการกำหนดขึ้นจากความสนใจของเด็กทั้งกลุ่มหรือเด็กส่วนใหญ่เป็นหลัก โดยครูเป็นผู้คอยสังเกตคำพูดและการกระทำต่างๆ ของเด็กในระบบการเรียนการสอนตามปกติ เมื่อครูสังเกตเห็นว่าเด็กมีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเมื่อครูพิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในเกณฑ์การเลือกหัวข้อโครงการแล้วเห็นว่าจะสามารถนำมาเป็นหัวข้อของโครงการได้ ครูนำเรื่องนั้นมาอภิปรายร่วมกับเด็กแล้วร่วมกันกำหนดเป็นหัวข้อโครงการ             โครงการเริ่มต้นหลังจากที่กำหนดหัวข้อโครงการแล้ว โดยครูจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อตรวจสอบว่าเด็กมีความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นหัวข้อโครงการมากน้อยเพียงใด กิจกรรมดังกล่าวได้แก่ การอภิปราย การวาดภาพระบายสี การเล่าเรื่องและประสบการณ์เกี่ยวกับหัวข้อโครงการ การเขียน แล้วนำความรู้เดิมของเด็กที่มีอยู่แล้วมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับเพื่อน ๆ โดยนำเสนอผ่านกิจกรรมหรือสื่อต่างๆ เช่น การอภิปราย การสนทนาพูดคุย การวาดภาพ ระบายสี การเขียน การทำแผนภูมิ หรือการทำงานศิลปะอื่นๆ ครูจัดแสดงผลงานต่างๆไว้ในชั้นเรียน   ครูคอยกระตุ้นให้เด็กตั้งคำถามและตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังศึกษา และครูเป็นผู้คอยสังเกต จดบันทึกคำพูด คำถามและสมมุติฐานของเด็กแล้วจัดแสดงไว้ในห้องเรียน เพื่อให้เด็กคอยตรวจสอบในการศึกษาอย่างลุ่มลึกต่อไป รายละเอียดวิธีการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นดังนี้. สังเกต/สร้างความสนใจของเด็ก·    ครูนำสิ่งของเข้ามาในห้องเรียนให้เด็กสังเกตอย่างใกล้ชิด ในรายละเอียดของสิ่งของนั้น        ) ครูถามคำถาม ถึงลักษณะของสิ่งของที่เด็กสังเกตได้ เมื่อเด็กตอบหรือแสดงความเห็น ครูยอมรับคำตอบของเด็ก โดยแสดงท่าทางการฟังอย่างตั้งใจ มองที่หน้าและสบตาเด็ก ทำท่าทางทางพยักหน้ายอมรับ และจดบันทึกคำพูดของเด็ก        ) ครูกระตุ้นให้เด็กสังเกตรายละเอียดของสิ่งของนั้น เช่น           ครู : หนูดูสิว่า กระดาษแผ่นนี้กับกระดาษแผ่นนั้นเหมือนกันไหม ทำไมถึงไม่เหมือนกัน ตรงไหนบ้างที่เหมือนกัน        ) ครูยอมรับฟังคำตอบของเด็กด้วยความสนใจ โดยการมองตาเด็ก แสดงท่าทางตั้งใจ ด้วยการพยักหน้า จดบันทึกคำพูดเด็ก·    หรือ จากสถานการณ์การการเรียนการสอนปกติ ครูกระตุ้นให้เด็กสังเกตสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ         ) ครูถามคำถาม ถึงลักษณะสิ่งของหรือเหตุการณ์นั้น และ กระตุ้นให้เด็ก ๆ สังเกตในรายละเอียด เช่น           ครู : เด็ก ๆ ว่าหลังเต่ากับท้องเต่า มันมีลายเหมือนกันไหม มันไม่เหมือนกันอย่างไร        ) ครูยอมรับคำตอบของเด็ก ด้วยการรับฟังอย่างสนใจ ไม่แก้ไขความคิดเห็นของเด็ก จดบันทึกคำพูดของเด็ก        ) ครูสังเกตว่าเด็กมีความสนใจในสิ่งของหรือสถานการณ์ที่เด็กสังเกตหรือไม่ หากเด็กสนใจ คือ แสดงการอยากรู้อยากเห็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งของนั้นๆ ต่อไปอีก ครูนำเด็กไปสู่การกำหนดหัวข้อโครงการ หากเห็นว่าเด็ก ๆ ไม่สนใจ คือไม่อยากรู้ต่อไป ครูยอมรับเด็กโดยการให้

หมายเลขบันทึก: 69385เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 06:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
พิมพรรณ เลิศพงษ์วรพันธ์

สวัสดีค่ะ คือ ดิฉันอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการสอบแบบโครงการแบบละเอียดค่ะ ตอนนี้ดิฉันกำลังผลงานส่งอยู่ค่ะ โดยเลือกการสอนแบบโครงการ หัวข้อ โครงการประกวดการเล่านิทานประกอบท่าทาง ระดับปฐมวัย  รบกวนขอคำแนะนำหน่อยนะค่ะ ส่งมาทางเมล์นี้ก็ได้นะค่ะ

                     ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

                        นางพิมพรรณ  เลิศพงษ์วรพันธ์  ครู คศ.2

ขอบคุนสำหรับข้อมูลนะคะ

ละเอียดมากเลยค่ะ

นางศรีสุภาพ ทองใส

ดิฉันกำลังทำโครงงานเรื่องการรำมโนราห์ก.ไก่ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับพญัชนไทยก-ฮ เพิ่อพัฒนาทักษะเด็กๆ อยากจะขอคำแนะนำจากท่านเกี่ยวกับโครงงาน

รบกวนตอบกลับด้วยนะคะ

ดิฉันจะนำความรู้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนกับนักเรียน

ขอบคุณค่ะ

น่าสนใจครับ

กิจกรรม+วิชาการ

ขอบคุณครับ

นางสาวดวงตา ศรีส้างคอม

ตอนนี้เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย (ศูนย์หนองบัวลำภู)จะจัดอบรมสัมนาเรื่องการสอนแบบโครงการอยากขอให้ท่านดร.วัฒนา มาเป็นวิทยากรบรรยายจังเลยค่ะจะทำอย่างไรดีค่ะ

ดิฉันรบกวนขอแบบหรือตัวอย่างการสอนแบบโครงการที่ถูกต้องเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ คือ ดิฉันอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการสอบแบบโครงการแบบละเอียดค่ะ ตอนนี้ดิฉันกำลังผลงานส่งอยู่ค่ะ โดยเลือกการสอนแบบโครงการ เพื่อพัฒนาทักาะกระบวนการวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย รบกวนขอคำแนะนำหน่อยนะค่ะ ส่งมาทางเมล์นี้ก็ได้นะค่ะ

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

คุณสุ

อยากสอนแบบโครงการ ในระดับชั้นอนุบาล โครงการต้นไม้รอบตัวหนู อยากได้รายละเอียดโครงการและวิธีการประเมิน

ขอคำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

เนื่องจากลูกสาวทำProject Approach เรื่องไก่ คะ

ขอรบกวนตัวอย่าง หรือคำแนะนำด้วยคะ

ขอบคุณมากคะ

แม่น้องน้ำตาล

การสอนแบบโครงงานกับโครงการเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้างช่วยอธิบายให้ชัดเจนด้วยค่ะ

ปนิตา สว่างพิทักษ์

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้เรื่อง การเรียนการสอนแบบโครงการค่ะ ดิฉันเคยเรียนกับอาจารย์ อาจารย์อธิบายในเรื่องการจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยบ้างแล้ว เรื่องนี้ก็น่าสนใจและน่าจะนำไปประยุกต์ใช้ค่ะ

นางจันทร์เพ็ญ แก้วปัญโญ

จะนำความรู้ท่ีได้อ่านมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี คนเก่ง คะ

การสอนแบบโครงการต่างกับการสอนแบบโครงงานอย่างไร

หลักศูตรปฐมวัยจำเป็นต้องสอนแบบโครงงานอย่างเดียวหรือไม่ ใช้การสอนแบบโครงงานได้หรือไม่

ขอให้อาจารย์ให้ความกระจ่างหน่อยค่ะ

ดีมากๆเลยครับ ต้องเอาไปประยุกต์ใช้สอนกับลูกๆบ้างแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท