เปิดสถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


เป็นสถานที่จัดสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK) และเป็นสถานที่จัดสอบวัดความสามารถทางภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ

 
 
  • พิธีเปิดสถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2549 โดย ศ.นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล ราชบัณฑิต อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้แทนฝ่ายไทย  อธิการบดี ม.ชนชาติกว่างซี ผู้แทนฝ่ายจีน ณ อาคารที่ทำการสถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง (คณาสวัสดิ์)

<div style="text-align: center"></div>  <ul> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">สถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม </li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">ความเป็นมา </li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">         สถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยชนชาติกวางซี และฮั่นบั้น (HAN BAN) เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม และดำเนินกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวกับการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีน ตลอดจนการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ           การจัดตั้งสถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เริ่มขึ้นเมื่อ มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ลงนามความร่วมมือจัดตั้งสถาบันฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2549 และได้ดำเนินการเตรียมการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน ในปีเดียวกัน โดยได้รับอนุญาตและความช่วยเหลือจากสถานทูตจีน ประจำประเทศไทย และสถาบัน ฮั่นบั้น ของประเทศจีน</li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt"> วัตถุประสงค์  </li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">         สถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังนี้ </li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">         1.       ส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ภาษา และการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ</li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">       2.       ส่งเสริมการสร้างความเข้าใจที่ดีของประชาชนชาวไทยที่มีต่อภาษาและวัฒนธรรมจีน</li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">       3.       พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย</li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">       4.       กระตุ้นการแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศจีนกับประเทศไทย</li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">       5.       ดำเนินกิจกรรมอันหลากหลายที่เกี่ยกับการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีน โดยมิได้มุ่งแสวงผลกำไร</li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">จุดเด่นของสถาบันขงจื้อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม </li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">          สถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ที่อาคารสถาบันขงจื๊อฯ ณ เขตพื้นที่ในเมือง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศในระดับปริญญาตรี อย่างเต็มรูปแบบ ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีนิสิตวิชาเอกภาษาจีนกว่า 200 คน และมีนิสิตที่เลือกเรียนภาษาจีนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปมากกว่า 800 คนในแต่ละปีการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เน้นการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงภาษาจีน ผ่านสื่อการการเรียนการสอนสมัยใหม่ มีการวิจัยเพื่อ พัฒนารูปแบบการสอน แบบเรียน และสื่อการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับชนชาติกว่างซี          ทีมงานที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมทางวิชาการของสถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ และคณาจารย์ จากมหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยนำร่องในเขตปกครองตนเองชนชาติกว่างซี ร่วมกับคณะกรรมการกิจการสร้างสรรค์จรรโลงชนชาติแห่งประเทศจีน</li> <li class="MsoBodyTextIndent" style="margin: 0cm 0cm 0pt">            ในปี พ.. 2544 มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการแห่งประเทศจีนให้เป็นฐานจัดการศึกษาภาษากลุ่มชาติพันธุ์ ระดับปริญญาตรี พร้อมกับมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง และมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศเซี่ยงไฮ้  นอกจากนี้มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี ยังได้รับการสนับสนุนในฐานะมหาวิทยาลัยนำร่องส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการโครงการส่งเสริมผู้สอนภาษาจีนโพ้นทะเล เป็นสถานที่จัดสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK) และเป็นสถานที่จัดสอบวัดความสามารถทางภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ            ตลอดช่วงระยะเวลาดังกล่าว มหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี ได้ใช้ข้อได้เปรียบด้านภูมิประเทศ และความเข้มแข็งด้านภาษาจีนและภาษากลุ่มชาติพันธุ์ ดำเนินการแลกเปลี่ยนและแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม ดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในหลายรูปแบบ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์อย่างน่าพึงพอใจ สามารถสั่งสมประสบการณ์ และสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ซึ่งเป็นพื้นฐานอย่างดีในการดำเนินงานสถาบันขงจื้อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในปัจจุบัน</li> </ul>

หมายเลขบันทึก: 69291เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2006 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

 3D Santa เรียนท่านพี่ปานดา

 ขอนแก่นเปิดไปแล้วครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์อรรณพที่เก็บภาพมาฝาก และรายละเอียดของโครงการนี้ เมื่อเช้าติดภารกิจประชุมของศูนย์ฯ จึงไม่ได้ไปร่วมตามคำเชิญของท่านรองฯพิศมัย (น่าจะมีสาขาย่อยเพิ่มเติม ณ ที่ตั้งขามเรียง ม.ใหม่ด้วยนะครับ เพื่อการสื่อสารระหว่าง ม.เก่า ม.ใหม่ แต่ที่ตั้งที่นั้นร่มรื่นดีมากครับ คงมีโอกาสได้ไปดูสถานที่จริงในภายหลัง) สุขสันต์วันคริสมัสนะครับ ท่านอาจารย์อรรณพ......ปล.ผมได้ยินว่าช่วง 18.00 น. ก็จะมีการแสดงเกี่ยวกับประเทศจีน-ไทย ณ ม.ใหม่ด้วยนะครับ เป็นผลจากการเปิดสถาบันฯในวันนี้
  • ขอบคุณครับ สำหรับการประมวลภาพและสาระมาฝาก...โดยเฉพาะสำหรับผมที่ไม่ได้เข้าร่วม ก็ได้รับรู้ผ่านข้อความของท่านอาจารย์
  • ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบอ่านวรรณกรรมจีน หนึ่งในนั้น รวมความถึงคำสอนของ ขงจื้อ นะครับ

ขงจื้อ...เขาเปิดตัวมาหลายร้อยปีแล้ว ...เรากำลังเปิด ..แต่สิ่งสำคัญ ...ผมอยากเห็นการเปิดปรัชญาและองค์ความรู้ของขงจื้อให้มากยิ่งขึ้นครับ ส่วนจะทำอย่างไรนั้นคิดว่าคงมีคำตอบกันแล้วครับ

ด้วยความเคารพครับ
วิชิต

อยากเรียนภาษาจีนอ่ะค่ะ ใน ม. มีสอนมั๊ยคะ

 

คือ เรียนอยุที่สาธิต มมส. อ่ะค่ะ ตอนนี้

 

สวัสดีครับ ผมเป็นนิสิตจีน เรียนจบจาก มมส.อยากทราบว่าที่ไหนเปิดรับสมัครครูสอนภาษาจีน อยากทำงานแถวภาคอีสานครับ

สวัสดีค่ะ

อยากทราบว่าเมื่อไหร่จะทราบผลสอบ HSK ค่ะ

รอมานานแล้ว

อยากรู้ค่ะ

รีบส่งมาให้ดูด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท