ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ความพอเพียงอยู่ที่ใจ


ความพอเพียง เป็นคำที่มีความหมายที่กว้างมาก แต่ละคนมีความพอเพียงที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อไหร่จึงจะบอกว่าพอเพียง

ความพอเพียงอยู่ที่ใด คงยังไม่กล่าวถึงเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนะครับ เพราะนั่นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่จะต้องกล่าวถึงรายละเอียดกันเชิงลึก ซึ่งผมจะได้เล่าต่อไปในวันหน้า สำหรับวันนี้อยากคุยกันให้สบายๆ มากกว่านะครับ กล่าวคือมีเพื่อนผมหลายคนถามว่าเมื่อไหร่นายจะพอเพียงสักที ผมก็เลยย้อนถามเพื่อนว่าพอเพียงเรื่องอะไร เพื่อนก็บอกว่าทุกๆ เรื่องนั่นแหละ ผมจึงรู้สึกอึดอัดใจขึ้นมาทันที เพราะในชีวิตของเรานั้นมันมีความต้องการนานัปการ จะบอกว่าพอเพียงสิ่งนี้ ใจก็ยังอยากได้สิ่งนั้น เหมือนกับบางคนที่บอกว่าฉันไม่ซื้อหรอกมือถือเพราะว่ามันเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย พอระยะต่อมาก็เปลี่ยนใจไปซื้อมือถือ และซื้อมาแล้วก็บอกว่ามันตกรุ่นแล้วซื้อเครื่องใหม่ดีกว่า และก็ซื้อซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนมีตั้งหลายเครื่อง คนที่ชอบซื้อรถยนต์ก็เหมือนกันบางคนบอกว่าพอเพียงแล้ว พอสักระยะต่อมาก็ซื้อคันใหม่ไปเรื่อย หรือแม้กระทั่งพี่น้องเกษตรกรบางคนเช่นกัน มีที่ดินเป็นร้อยๆ ไร่ จนกระทั่งไม่มีแรงที่จะทำอยู่แล้วก็ยังซ้อเพิ่มเติมอยู่เรื่อย จึงทำให้ผมไม่แน่ใจว่าจริงๆ แล้วความพอมันอยู่ที่ใด

เมื่อไหร่จะพอเพียง เหมือนกับคำสอนของหลวงปู่ชา สุภัทโท อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง ที่ท่านสอนว่า "เราหยุดแล้ว แล้วท่านล่ะหยุดหรือยัง" ซึ่งก็เปรียบเสมือนการกระทำของคนเราเช่นกันครับว่าการละซึ่งกิเลสนั้นจะทำให้จิตใจเราสงบ การที่ไม่อยากได้สิ่งโน้นสิ่งนี้ก็น่าจะเพียงพอ การที่รู้จักคิดอย่างมีสติ ไม่ฟุ่มเฟือยก็น่าจะพอเพียง การที่ไม่เลียนแบบคนอื่นก็น่าจะพอเพียง หรือแม้กระทั่งการอยู่อย่างสันโดษก็น่าจะพอเพียง ผมจึงไม่แน่ใจว่าจะพอเพียงได้จริงหรือไม่ รบกวนผู้รู้ช่วยตอบทีครับ

ความพอเพียงอยู่ที่ใจ การมีเงินเป็นร้อยล้าน พันล้านก็ยังไม่พอเพียงสำหรับคนหลายคน ดังที่มีตัวอย่างให้เราได้เห็นอย่างชัดเจน คนที่หาเช้ากินเช้า หาเย็นกินเย็น ก็บอกว่าไม่พอเพียงต้องดิ้นรนขวนขวายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีคำว่าพอเพียงกันสักที สุดท้ายผมก็เลยตอบเพื่อนว่า "ความพอเพียงอยู่ที่ใจ" เพราะใจของเรามันเหนือสิ่งอื่นใด หากใจไม่ปล่อยวางก็จะถูกกิเลสครอบงำอยู่ตลอดไปไม่มีคำว่าพอเพียง

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

25 ธันวาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 69284เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2006 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แท้จริงแล้วคือการอยู่แบบปราศจากกิเลศ

การมีกิเลศมีเท่าไรก็ไม่พอ

การควบคุมกิเลศคือคำตอบ

แล้วอะไรที่จะทำให้เราคุมกิเลศได้ นี่คือประเด็นภายในที่ต้องศึกษา

แต่เราก็ยังต้องการขั้นต่ำ

อะไรที่ทำให้เรามีขั้นต่ำ ดิน น้ำ พืช แสง ทุน การจัดการ

อะไร เท่าไหร่ ทำไม อย่างไร  นี่คือคำที่ใช้ถาม

แตกประเด็นย่อยๆลงไป

จะเห็นแก่นของปัญหา คือ ทุกข์

ความเชื่อมโยงของแก่น ที่ทำให้เกิดแก่น คือ สมุทัย

กรอบการทำลายแก่น คือ นิโรธ

และวิธีการทำลายแก่นตัวนั้น คือ มรรค

ทั้งหมดต้องใช้ "สัมมา" แบบต่างๆ เป็นตัวคุมให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง

คุณเริ่มทำงานเมื่อไหร่ ผมก็พร้อมช่วย

แต่ตอนนี้รอ..................ครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

  • ตอนนี้กำลังเริ่มเข้าสู่ประเด็นที่จะดำเนินการตามแนวทางที่จะศึกษา อย่างไรก็ตามคงต้องรบกวนอาจารย์ช่วยให้คำปรึกษาด้วยครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย

ผมนะครับ

ให้คำปรึกษาได้ แต่คุณจะรับหรือเปล่าเท่านั้นแหละ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท