ชื่นชมนักวิจัยโรคหลอดเลือดหัวใจ : รศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา


          เป็นตัวอย่างของการวิจัยระยะยาวที่ฝรั่งงง   ว่าประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย   มีปัญญาทำวิจัยแบบ longitudinal  cohort  study  แบบนี้ด้วยหรือ

          ดังนั้น ตอนเขียนรายงานวิจัยเรื่องแรกๆ   ส่งไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ   จะโดน review  ตรวจสอบแบบไม่เชื่อว่าเป็นข้อมูลจริง   แต่เดี๋ยวนี้สบายมาก   เขาเชื่อฝีมือแล้ว   การสร้างตัวสร้างชื่อเสียงด้านการวิจัยต้องผ่านขั้นตอนของการฟันฝ่าหลากหลายด้าน

          ผมทำนายว่า   อ.หมอปิยะมิตร    จะเป็น  ศ. ในไม่ช้า   เพราะผลงานวิจัยคุณภาพสูง   และมีมากพอ

          คนที่เราต้องให้เกียรติเป็นผู้วางรากฐานให้เกิดการวิจัยระยะยาวที่เราเรียกกันว่า EGAT  Study  นี้ คือ

                    -ศ.นพ.สมชาติ   โลจายะ
                    -ศ.นพ.วิชัย   ตันไพจิตร
                    -ศ.นพ.ธาดา   ยิบอินซอย

          สองท่านแรกเป็นผู้ริเริ่มการศึกษา   ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจในพนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต   เมื่อปี ๒๕๒๘   โดยได้วางแผนเก็บข้อมูล   และทำระบบข้อมูลไว้อย่างรัดกุม

          ท่านหลังเป็นผู้ยุให้ อ.หมอปิยะมิตร เข้าไปขอรับมรดกข้อมูลเก่า และ cohort  มาศึกษาต่อ   และคอยช่วยกระตุ้นและช่วยเหลือ   จนเกิดโครงการต่อเนื่องและแตกแนวโครงการอื่นๆ ที่ศึกษาในคนกลุ่มเดียวกันมากมาย   และเกิดโครงการ EGAT ๒ ขึ้นด้วย

          อ่านบทคัดย่อของการนำเสนอได้ที่นี่

          และดู Powerpoint ประกอบการนำเสนอได้ที่นี่ และ


          ผลการวิจัยของโครงการนี้   ช่วยแก้ความเข้าใจผิดในสังคมไทยได้หลายอย่าง  เช่น

          (๑) เดิมเราคิดว่าคนฐานะดี   คงจะนั่งๆ นอนๆ ไม่ค่อยได้ออกกำลัง   น่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนจนที่ต้องทำงานออกกำลังมากกว่า   ความเข้าใจนี้ผิดครับ   คนที่ฐานะไม่ดีมีพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนฐานะดีมากมายหลายด้าน

          (๒) พนักงานของ กฟผ. มีทั้งที่อยู่ที่กรุงเทพฯ กับอยู่ที่โรงไฟฟ้าต่างจังหวัด   ที่ต่างจังหวัดอากาศดีกว่า    น่าจะสุขภาพดีกว่า   ความเข้าใจนี้ผิด   เข้าใจว่าพนักงานที่ต่างจังหวัดมีเวลาว่างมาก    จึงใช้เวลาว่างดื่มกินมากเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคเรื้อรังมากกว่าพนักงานที่อยู่ที่กรุงเทพฯ

วิจารณ์   พานิช
๒๐ ธ.ค. ๔๙

๑. รศ. นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา กำลังนำเสนอ ว่าข้อมูลเก่าจาก ศ. นพ. วิชัย ตันไพจิตร คือเทปข้อมูลในรูป

๒. ข้อมูลจากการวัด

๓. จากโครงการเดียว แตกลูกออกไปมากมาย

๔. บรรยากาศในห้องประชุม Lunch Talk
            

หมายเลขบันทึก: 69285เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2006 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท