การวัดและประเมินผลทางภาษา(2)


ครูอ้อยเขียนเรื่องการวัดและประเมินผลพร้อมกับการศึกษาและปฏิบัติตามไปด้วย จริงๆแล้วครูอ้อยเขียนบันทึกเรื่องนี้แล้ว แต่เวลาบันทึกเก็บ ไม่ทราบว่าทำไมต้องล็อกอินใหม่ ข้อความของครุอ้อยที่เขียนไว้จึงหายไปหมด บันทึกเรื่องนี้จึงเป็นการเขียนครั้งที่ 2 คงไม่เป็นไร เพราะมีความตั้งใจเขียนเหมือนๆกัน

ครูอ้อยเขียนในบันทึกเรื่อง การวัดและประเมินผลทางภาษา ว่า  หลักทฤษฎีการวัดและประเมินผลเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่  ครูผู้สอนทุกท่านต้องรู้และศึกษาอย่างถ้วนถี่  เพราะเป็นเรื่องที่จัดว่าสำคัญทีเดียว

ครูอ้อยเป็นครูโรงเรียนประถม นักเรียนประถมของครูอ้อยนั้น  ต้องได้รับการปลูกฝังคุณสมบัติต่างๆไปพร้อมๆกับการเรียนรู้ 

คุณสมบัติหนึ่ง  ในจำนวนหลายๆคุณสมบัติที่ครูอ้อยปลูกฝังให้กับนักเรียน  ได้แก่ การชื่นชมตนเอง  และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

สองคุณลักษณะที่พึงประสงค์นี้  จะอยู่และดำเนินการควบคู่กันไป

หากฝึกนักเรียนได้ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมแล้ว  เมื่อเธอเติบโตและเรียนในระดับที่สูงขึ้นไป  จะทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  มีความเป็นผู้นำที่ดี  ในทำนองเดียวกันก็เป็นผู้ตามที่ดีด้วย

การวัดและประเมินผลจึงเป็นส่วนที่สำคัญที่ระบุเรื่องที่ครูอ้อยกล่าวมาแล้วด้วย

การประเมินผลในชั้นเรียน...ซึ่งครอบคลุมการประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน  คือ  ด้านความรู้  ทักษะกระบวนการ  และเจตคติ  รวมทั้งการทดสอบการปฏิบัติจริง 

ครูอ้อยนิยมการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  ได้ศึกษาทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับการประเมินผล  ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก  ต้องระบุไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้  และต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมกับนักเรียน เนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนด้วย  ซึ่งครูอ้อยจะได้กล่าวบันทึกลำดับต่อไป

หลักการพื้นฐาน  3  ประการ  ในการดำเนินการเรื่องการวัดและประเมินผล  คือ

หลักการที่  1.....การเรียนการสอนมีความสัมพันธ์ควบคู่ไปกับการวัดและประเมินผล  การทดสอบเป็นเครื่องมือในการประเมินผล  ซึ่งช่วยให้ข้อมูลป้อนกลับ  ทำให้การเรียนการสอนครบวงจร  การทดสอบมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนในทุกขั้นตอน  ทั้ง  ก่อนเรียน ระหว่างเรียน  และหลังเรียน

หลักการที่  2.....การทดสอบ  การวัดและประเมินผล เป็นกระบวนการที่มีความสัมพันธ์และต่อเนื่องกัน  การทดสอบที่ให้ข้อมูล...เป็นคะแนน  ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลสัมฤทธิ์  หรือ  ระดับคะแนน  ความสามารถของนักเรียน  โดยการวัดผลและระดับคะแนนเหล่านี้  เป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับประเมินการเรียนรู้  เพื่อตัดสินผลการเรียนของนักเรียน

หลักการที่  3.....สมรรถภาพในการสื่อสาร  ประกอบด้วยเนื้อหาทางภาษา  และ  ทักษะทางภาษา  ซึ่งไม่สามารถแยกจากกันได้  การสื่อสารเนื้อหาทางภาษา  ต้องอาศัยทักษะทางภาษา  เป็นหลัก  การใช้ภาษาในการสื่อสาร  ต้องอาศัยองค์ประกอบทางภาษาทั้งด้านเสียง คำศัพท์ โครงสร้างประโยค  หน้าที่ทางภาษา  และทักษะทางภาษา  จึงเกิดผลในการสื่อความหมาย

เป็นเรื่องที่น่าสนใจ  และต้องรู้  และนำไปปฏิบัติทั้งสิ้น

เมื่อรู้และเข้าใจหลักการทั้ง 3 ของการวัดและประเมินผลดีแล้ว  ครูอ้อยจะนำหลักการทั้ง 3 นี้เข้าสู่การปฏิบัติ  แต่กลุ่มเป้าหมายของครูอ้อยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ซึ่งท่านผู้อ่านต้องมองภาพไปในแนวเดียวกัน  และนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละคน

หมายเลขบันทึก: 69387เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 06:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เขียนมาทำไมวะ555+ คนแรก555เขียนมาทำไมวะ

สวัสดีค่ะ ท่าน .... กกกกกกกกกกกกกกกก

  • ขอบคุณค่ะ ที่ท่านเข้ามาอ่าน
  • และถามว่า..เขียนมาทำไม ก็คือ  เขียนมาให้อ่านค่ะ
  • ท่านเป็นคนแรก ที่ตอบแสดงความคิดเห็นมาค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท