ทำงานด้านการเกษตรมาหลายปี เพิ่งมีโอกาสรู้จัก พกฉ.


ด้วยรักและศรัทธาในภาคเกษตรกรรม เพราะ เกษตรกรรมไม่ใช่แค่อาชีพ แต่เกษตรกรรมเป็นวิถีและวัฒนธรรม ปลื้มใจที่ได้เป็นเครือข่าย พกฉ.....

ผู้เขียนทำงานด้านเกษตรมาหลายสิบปี ทั้งเกษตรส่วนตัว เกษตรกลุ่ม เป็นคณะทำงานกลุ่มเกษตรกลางของ

จังหวัด และได้เข้าไปเป็นคณะทำงานในสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย แต่ยังไม่เคยรู้จัก "พิพิธภัณฑ์การเกษตร

เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" พกฉ. จนเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2559 พรรคพวกเครือข่ายคนตัดยาง

พัทลุง โทรมาชวนไปคุย โดยบอกว่าจะคุยเรื่องการอนุรักษ์เมล็ดพันธ์ ที่ วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ พนัง

ตุง พัทลุง เมื่อเข้าประชุมร่วมเวที ปรากฎว่าเป็นการประชุมโครงการขยายผลศูนย์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ก็อยู่

ประชุมร่วมจนจบกระบวนการ ซึ่งก็ได้รับรู้เรื่องพิพิธภัณฑ์การเกษตร และการทำงานของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่น่า

สนใจทำความรู้จักและเรียนรู้ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ว่า ดังนี้"


"กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ ๕๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙
โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๙ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๕
ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการจัดตั้งสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) เพื่อดำเนินการบริหารงานตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๒"
(ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์)
คุณพี่ ประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์แห่งไม้เรียง เมืองนครศรีธรรมราช ผู้ร่วมคิดก่อการพิพิธภัณฑ์ เล่าว่า" พิพิธภัณฑ์การเกษตร เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต แตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ทั่วๆไป เพราะที่นี้ มีเรื่องราวให้เรียนรู้ปฎิบัติการ มีวิชาแผ่นดิน 20 วิชา เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หาจากตำราไม่ได้ เราต้องเข้าไปปฎิสัมพันธ์เป็นเครือข่าย เป็นแหล่งเรียนรู้เล็กๆในพื้นที่ แล้วเอาคนในพื้นที่เข้าไปสัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสามารเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เอามาใช้ประโยชน์ได้ การที่จะทำเครือข่ายให้ยั่งยืนถาวร ต้องสร้างสังคมให้ส่วนร่วม โดยมี 3 ภาคส่วนผลักดันสนับสนุนพื้นที่ นั้น คือ ชุมชน ท้องถิ่น และสถาบันวิชาการ เช่นที่ไม้เรียงกำลังทำอยู่
" บังนัน เครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรอีกคน เล่าว่า" ภาคเกษตรในปี 2550 ปราชญ์ สปก ได้รวมกันจัดงานหมุนเวียนกันไปทุกภาค พบปะกันเรื่อยๆแต่ประจำ ทำให้เราได้รู้จักรักกันแน่นแฟ้น รู้จักลูกหลาน รู้จักชุมชน รู้จักกันเหม็ด(หมด)ในปี 2553 พิพิธภัณฑ์ จับมือกับ สปก และปราชญ์ สปก . นัดคุย เจรจาหาทางออกให้ชีวิต เอาความรู้และประสบกาณ์ไปแชร์กัน ในพิพิธภัณฑ์ใครเข้าไปแล้ว ต้องปรับทัศนคติ "แรกกอนเขาเรียนจากเรา แตหวางนี้เราเรียนจากเขา"(เมื่อก่อนพิพิธภัณฑ์เรียนรู้จากพวกเรา แต่ตอนนี้เราต้องไปเรียนกับพิพิธภัณฑ์) เรา พกฉ.เป็นของเกษตร โตจากเกษตร มาชวนกัน เดินทางไปด้วยกัน ถ่ายทอดความรู้กันอย่างมีศักดิ์ศรี " เกษตรไม่ใช่ทางเลือก แต่ต้องเป็นทางหลัก" อยากรวยกว่าธนาคารต้องเป็นเกษตรกร บังนัน ให้ข้อคิดไว้
ขณะนี้แหล่งเรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์มีอยู่ 38 จังหวัด แหล่งเรียนรู้คือที่ ที่เข้าไปแล้วได้รู้
รู้ข้อมูลของ พกฉ
รู้หลักการทรงงานของในหลวง
รู้เศรฐกิจพอเพียง
รู้นวัตกรรม องค์ความรู้และภูมิปัญญา
รู้พระบรมชาโชวาท
และรู้ข้อมูล ของเครือข่าย
จบเวที วันนี้ คุณ ทวีวัฒน์ เครือสาย นักกระบวนกร ให้การบ้าน เพื่อเป็นข้อมูลในการเป็นเครือข่าย กับ พกฉ.
ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร เฟส ไลน์ และอื่นๆ
จุดเปลี่ยนภาคเกษตร ต่อตัวเอง กลุ่ม ชุมชน
องค์ความรู้ที่สามารเผยแพร่ได้
กลุ่ม กิจกรรมและผู้รู้ด้านต่างๆในชุมชน
ปนิธาน การขับเคลื่อนเศรฐกิจพอเพียงที่เกิดจากตนเอง ชุมชนและเครือข่าย
การบ้านหลายข้อทำกันดึก
วันสุดท้าย คุณ กำราบ พานทอง ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายคณะทำงานโซน โดยมีโจทย์ร่วมให้แต่ละกลุ่มโซนดำเนินการ คือ
คณะทำงานเบื้องต้นของกลุ่มเครือข่าย
เครือข่ายจะขยับเรื่องอะไรขยายผลให้บรรลุเป้าหมายในปี 59 - 60
มีเรื่องราวอะไรที่จะแบ่งปันกับเครือข่าย
และจะมีความร่วมมือกับ พกฉ อย่างไร
ซึ่งพัทลุงอยู่ในกลุ่มโซนร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดตั้งคณคณะทำงานประสานงานเรียบร้อย ซึ่งเครือข่าย พิพิธภัณฑ์ ต้องไปร่วมงาน "มหกรรม70 ปี กษัตริย์เกษตร 7 ปีพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกรียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยพลังวัฒนธรรม วิถีเกษตรไทย" ซึ่งทุกภาคจะมีเครื่อข่ายเกษตรไปร่วมงานในครั้งนี้ สำหรับภาคใต้ มีกิจกรรมการแสดง ลิเกฮูลู มีการแห่ "หมรับ" มีนิทรรศการเกษตรมีการจำหน่ายสินค้าเแลผลิตภัณฑ์ และมีคำขวัญ ที่ส่งเข้ามาให้คณะงาน คัดเลือก
เช่น"อาหารรสเลิศ ก่อเกิดวัฒนธรรม ถิ่นใต้น้อมนำ กินอยู่ปลอดภัยพอเพียง"
เสียดายที่ผู้เขียนไม่สามารถไปร่วมงานมหกรรมในครั้งนี้ได้ แตก็ได้ร่วมกิจกรรมของคณะทำงานและส่งใจไปเชียร์ ด้วยรักและศรัทธาในภาคเกษตรกรรม เพราะ
เกษตรกรรมไม่ใช่แค่อาชีพ แต่เกษตรกรรมเป็นวิถีและวัฒนธรรม ปลื้มใจที่ได้เป็นเครือข่าย พกฉ....
.(คืนนี้นั่งนานอีกแล้ว)
หมายเลขบันทึก: 607519เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2016 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2016 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท