​โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ

วันนี้เข้าสู่ช่วงที่ 8 ของการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ ผมขอเรียกว่า "TSU Leader Class" ซึ่งในช่วง 8 นี้ เราจะเน้นเรื่องจากแนวคิดทางการตลาด.. สู่การปรับใช้กับการทำงานของมหาวิทยาลัยทักษิณ Case Studies and Intensive Management Workshop TSU Positioning in Thailand and ASEAN+6 เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ และ Case Studies and Intensive Management Workshop (3) TSU and Change Management

ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเรียนรู้ร่วมกันในช่วงนี้ ลูกศิษย์ของผมจะได้รับมุมมองที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับการพัฒนาตนเอง องค์กร และสังคมของเรา

ผมขอใช้ Blog นี้ เป็นคลังความรู้สำหรับกิจกรรมในช่วงที่ 8 ของเราครับ


โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

สรุปการบรรยายวันที่ 3 พฤษภาคม 2559

วิชาที่ จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของมหาวิทยาลัยทักษิณ

บรรยายโดย คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน

ประธานสถาบันองค์ความรู้แห่งเอเชีย

การตลาดบางครั้งอาจเข้าใจว่าเกี่ยวกับสาขาการบริหารธุรกิจ แต่จริง ๆ แล้วเป็นการเข้าใจและตอบสนองความต้องการทั้งของผู้บริโภคและ Stakeholder

อย่างปัจจุบันมีทำด้านบริษัท V Corporation และ Dao Coffee

การตลาด ไม่ใช่แค่การซื้อของ แต่เป็นการเข้าใจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคหรือ Stakeholder รวมไปถึงผู้ถือหุ้น และ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องกับสังคม คือทำให้ชุมชนในพื้นที่หรือที่ทำธุรกิจได้รับประโยชน์ด้วย

มหาวิทยาลัยเป็นลักษณะการให้ความรู้กับนักเรียน นักศึกษาให้เป็นคนมีความรู้ ความสามารถ ตอบสนองต่อการพัฒนาอาชีพได้ แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีบทบาทมากกว่านั้น อาทิ บทบาทในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งในส่วนของภาคธุรกิจ สังคม การพัฒนาชุมชน และมหาวิทยาลัยชั้นสูงจะมีเอกลักษณ์ในแต่ละพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป

ภาพใหญ่ สิ่งที่คิดว่ามีความสำคัญที่ช่วยในการ Transform หรือเปลี่ยนสังคมไทยยุคใหม่ในตลาดโลกในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มี 5 เรื่อง

1. New Global Trend – เป็นการเปลี่ยนในปัจจุบันและ Life style คนรุ่นใหม่ ในอนาคตอันใกล้ คน Generation x หรือ Young PhD. หรือรุ่นปลาย ๆ

2. Creative Economy – เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม อาจเป็นรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์หรือภูมิปัญญาสมัยใหม่

3. 5C’s Model

4. New Society / New DNA เป็น Global Village สังคมยุคใหม่เป็นยุคทางอินเตอร์เน็ต มีทีมของตัวเอง เป็นเรื่องที่คนยุคใหม่ไม่จำกัดที่ต้องอยู่ในโลกแคบเหมือนสมัยก่อน เป็นลักษณะ DNA หรือที่เป็น Character ของคน สำหรับคนยุคใหม่ มีความท้าทายกับคนไทยยุคใหม่ การปรับเปลี่ยนทัศนคติเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเติบโตไปด้วยได้ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดี

5. New Organization Culture สามารถนำมาใช้ได้ในมหาวิทยาลัย

New Global Trend

แนวคิดเรื่องการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเริ่มต้นขึ้นในทศวรรษที่ 80 โดยประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะนำเอาแนวคิดดังกล่าวเข้ามาปรับเป็นยุทธวิธีรับมือการขยายตัวทางการค้าของประเทศญี่ปุ่น การเพิ่มศักยภาพในการผลิต การใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นตัวนำในการดำเนินการทางการค้ามากขึ้น และรวมไปถึงการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดน ความสามารถทางการแข่งขันจึงเป็นกระแสความตื่นตัวของโลกในทศวรรษใหม่อย่างแท้จริง ทั้งนี้ความสามารถในการแข่งขันนั้นมีความหมายในหลายมิติ ขึ้นอยู่กับกระแสของรูปแบบการแข่งขันในตลาดโลก

1. การพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย Thailand Competitiveness เป็นการสำรวจขีดความสามารถในการแข่งขันว่าประเทศไทยเทียบกับประเทศต่าง ๆ เป็นอย่างไร โดยดูจากภาครัฐ ดูเรื่องความโปร่งใส ความต่อเนื่อง เสถียรภาพ การเมือง เป็นจุดที่ต้องปรับปรุงให้มีเสถียรภาพ มีความโปร่งใส ธรรมาภิบาล และ

2. อีกมิติเป็นการดูภาคเอกชน ภาคแรงงานมีขีดความสามารถแค่ไหนในแง่ของการผลิต เช่นไทยอาจ Productivity ต่ำกว่าหรือสูงกว่า

3. Infrastructure ดูระบบโครงสร้างพื้นฐานเป็นอย่างไร ระบบการศึกษา สาธารณสุข งานวิจัยการต่อยอดไปสู่นวัตกรรมสมัยใหม่

ปัจจุบันรัฐบาลมอบหมายให้หอการค้ากับ TMA ทำ

2. World Economic Forum พูดถึง Trend ต่าง ๆ ดังนี้

1. Knowledge Society การสร้างโลกยุคใหม่เป็นโลกแห่งการเรียนรู้ คนสมัยใหม่เรียนรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่จำกัดสถานที่และเวลา ในแต่ละปีจะมีทิศทางที่สามารถปรับใช้เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยและ Public Policy ของรัฐบาล ตัวอย่างมหาวิทยาลัยจะไปในทิศทางไหน อันไหนเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน ดู SWOT เพื่อดูนโยบายในการทำงาน และถ้าเราสามารถถ่ายทอดให้นักศึกษาได้จะเป็นประโยชน์ ถือได้ว่าเป็น Challenge ของนักศึกษาในการ Search หาข้อมูลในมุมมองที่แตกต่าง ให้เด็กรุ่นใหม่มาแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน ได้ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเช่น Harvard Stanford จัดเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น จากการวัดในหลาย KPI สามารถคงความเป็นเลิศได้ อย่างหนึ่งคือตัวนักศึกษาจากทั่วโลกเก่ง ๆ ที่เข้ามหาวิทยาลัยทุกปี มีโอกาสนักศึกษาที่ดีหน่อย แต่ไม่ใช่ว่าเก่งอย่างเดียว แต่เป็นนักศึกษาที่มีความหลากหลายของประเทศของเชื้อชาติ ทำให้เกิดความหลากหลายของมุมมองในแต่ละ Class เช่นจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย รัสเซีย ฝรั่งเศส อุเบกีสถาน ฯลฯ เป็น Challenge อย่างหนึ่งที่ทำให้มหาวิทยาลัยต่อยอด และเมื่อคนเหล่านี้กลับไปก็กลับไปเป็น Leader ของประเทศที่เขามา

นักศึกษาของม.ทักษิณมาจากไหน อย่างหนึ่งคือ Location ที่สะดวก แต่สิ่งที่มากกว่านั้นคือจุดขายในมหาวิทยาลัยหรือคณะในมหาวิทยาลัย ถ้าจะเอานักศึกษาที่ดึงดูดมาจากต่างประเทศได้ เราอาจดูที่คณะ หรือ Content ที่น่าสนใจ แตกต่าง เพื่อดึงดูดและสร้างมูลค่าเพิ่ม

2. Innovation /Imagination

Innovation ไม่ได้จำกัดเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่อยากขอยกตัวอย่าง Innovation อันหนึ่งที่ยกมาคือ Instant Noodle หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในสมัยก่อนถือเป็น Innovation จากประเทศญี่ปุ่น หรือ ซาวเบาท์ เป็น Innovation ในยุคนั้นที่ถือว่าดังมาก เป็นต้น

จึงอยากให้ดูในมุมมองของ ม.ทักษิณว่า สิ่งที่เก่งและเป็นพื้นฐานที่ต่อยอดมาจากครู เพราะมาจาก มศว. คือเรื่อง ศิลปวัฒนธรรม อยากให้มองในเรื่อง AEC ที่มีด้านสังคม การเมือง และศิลปวัฒนธรรม จึงอยากให้ ม.ทักษิณ ต่อยอดในสิ่งที่มีอยู่โดยใช้จุดแข็งจากการอยู่ในพื้นที่เขตภาคใต้ ในเชิงยุทธศาสตร์ ประเทศไทยสามารถ Position เป็น Regional Center /Hub เรียกว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว นำมาต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้ในเชิงมูลค่า สามารถต่อยอดให้เป็นที่รู้จักให้ ม.ทักษิณ เชี่ยวชาญ มีความเข้มแข็ง

ในมุมมองวิธีดั้งเดิม เราจะ Look up จะมีการ Ranking ตัวเราเองว่าในอาเซียนประเทศไทยอยู่ตรงไหน แต่สมัยใหม่จะเป็นเรื่องของ New Experience เช่นบางคนอยู่ใน Ranking ที่มากกว่าเราแต่ปัจจุบันสนใจมาเรียนเรื่องความแตกต่าง เอกลักษณ์ ดังนั้น ม.ทักษิณ ต้องดูว่าตรงนี้มีอะไรที่จะ Offer ให้คนวงการศึกษา คนยุคใหม่ ต่อยอดสิ่งที่มีอยู่แล้ว

3. Urbanization เป็นนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่จังหวัด มีการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ต้องมีการ Empower หรือ Decentralize อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถฝืนกระแสโลกที่เป็น Global Trend ได้คือ Urbanization และ Trend ทั่วโลกคือ การเป็น Mega City คือเป็นศูนย์รวมของโอกาสการทำงาน การพัฒนาในด้านต่าง ๆ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ทีจะเกิด Urbanization ทั่วโลก ในชีวิตจริงเป็น Challenge ที่จะทำอย่างไรที่จะบริหารเมืองที่เป็น Mega City เหมือนโตเกียว นิวยอร์ค หรือโซลได้ ไม่สามารถบอนไซเนื่องจากเป็น Global Mega Trend ที่ดึงดูดโอกาสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ การพัฒนาคนเก่ง ๆ เข้ามา ดังนั้นประเทศไทยก็ควรพัฒนาตรงนี้เช่นกัน แต่อาจไม่ได้กระจุกในกรุงเทพฯอย่างเดียว แต่มีการกระจาย Urbanization ที่มีการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่ด้วย แต่อาจจะไม่ใช่เฉพาะแค่พื้นที่นั้นอย่างเดียว ต้องมองโดยรอบด้วย เช่น ในหาดใหญ่ อาจมีคนในจังหวัดใกล้เคียงที่ส่งคนมาทำงาน มาเรียนด้วย และถ้ากว้างกว่านั้นคือเป็น Global Citizen ที่ต้องรวมถึงนักท่องเที่ยว และคนที่มาจากต่างประเทศแต่ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ เป็นต้น

สรุปคือถ้ากระจายการพัฒนาให้เป็น Urbanization ก็จะดึงดูด (Attract) Talent ให้มาใช้ชีวิตที่นี่ จะพัฒนา Urban ให้เกิดประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สร้างโอกาสในการทำงาน การเรียนรู้ และให้คนไปต่อยอดได้อย่างไร อย่างม.ทักษิณ ต้องดูว่าเรามีจุดอย่างไรที่จะ Offer ที่จะดึงดูดได้ ดูจากพื้นที่ที่ทำในสิ่งที่ดี และ Attract คน จะมี Talent มีวิธีคิดมุมมองให้เกิดเรื่องใหม่ ๆ เป็นลักษณะ Urbanization

4. Climate Change ถือเป็น Global Trend ที่เกิดขึ้น เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เช่นโลกร้อน ในปีนี้มากขึ้นทั้งที่กรุงเทพฯ และสุโขทัยเป็นต้น หรือเรื่องสึนามิ ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียง หรือน้ำแข็งละลาย หลายสิ่งหลายอย่างเป็นลักษณะความรู้สึกร่วม และต้องช่วยเหลือร่วมกัน หรืออาสาสมัคร เป็นสิ่งที่เหมือนเป็น Value หรือค่านิยมยุคใหม่

จึงเป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้ในการอยู่ร่วมและป้องกันที่จะทำได้อย่างไร เช่น น้ำลงมากเป็นสัญญาณของ สึนามิ แต่ถ้าจะไปต่อยอดในลักษณะ New Value ของสังคม ในยุคใหม่จะเป็นลักษณะ Share Value เป็นเรื่องของคนยุคใหม่ เป็นสิ่งที่ร่วมสมัย ที่คนต้องทำร่วมกัน เป็นสิ่งที่มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม สามารถต่อยอดในมุมมอง Share Value ได้

5. Health and Safety Concerns

6. Aging Society

ข้อ 5 และข้อ 6 เชื่อมโยงกัน สังคมยุคใหม่ เป็นคนที่สนใจและใส่ใจเรื่องสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย วิ่ง ขี่จักรยาน มีการเรียกร้องให้มีพื้นที่สีเขียวเยอะ ๆ เป็นกระแสคนยุคใหม่ กินอาหารเพื่อสุขภาพเป็นต้น ก็ต่อเนื่องให้คนอายุยืนขึ้น เป็น Aging Society มากขึ้น คนสมัยใหม่สนใจเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น เช่นเราสามารถติดกล้อง CCTV แล้วสามารถดูได้จากแอพมือถือได้ แสดงถึงคนสมัยใหม่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัย เรื่องสุขภาพมากขึ้น เป็นมาตรการป้องกันอย่างหนึ่ง

ประเทศที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีจะมีคนอายุยืนมากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะเขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่มี Pressure มาก

Aging Society เป็นโอกาสของสินค้าและบริการที่เราต้องดูแลผู้สูงอายุที่จะมากขึ้นเรื่อย ๆ และ Trend นี้จะขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอนาคตคาดว่าจะมีกลุ่มนี้มากขึ้น ผู้สูงอายุมากขึ้น การที่ดูแลตัวเองได้ดี ผ่านประสบการณ์มาก ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม เราสามารถใช้ประโยชน์จากกลุ่มนี้ได้อย่างไร คนชรายุคใหม่เป็น New Age society แปลว่าสังคมของคนในยุคนี้มีสุขภาพดีกว่าแต่ก่อน มีกำลังซื้อ มีประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านร้อนผ่านหนาว เป็นประโยชน์ต่อสังคม ไม่ใช่เป็นแบบภาพผู้เฒ่าเหมือนเก่า จะเห็นว่าคนที่อายุเยอะ ๆ ในปัจจุบันสามารถเป็นคนในอีกยุคหนึ่งที่ร่วมสมัยได้ และถ้ามองในมุมโอกาสคือยังไม่มีสินค้าและบริการจริง ๆ ที่ทำเพื่อคนกลุ่มนี้ เป็นสินค้าหรือบริการที่ทำเพื่อ Health Conscious จริง ๆ มีการหาสินค้าใหม่ ๆ เรื่อย ๆ หรือมองในโอกาสทางการศึกษา มีการรวมกลุ่มเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารกับหลานยุค Gen Y หรือ Z ได้ มีศูนย์พักฟื้น Well Being Center เป็นต้น เป็นกลุ่มใหญ่ที่เป็น Aging Society ทำให้เกิดสังคมที่ดูแลผู้สูงอายุดีกว่าปัจจุบัน เป็นกระแสที่มาแน่นอน สถาบันการศึกษาต้องเตรียมตัว รัฐบาลต้องเตรียมพร้อมว่ามีนโยบายที่รองรับผู้สูงอายุเหล่านี้แล้วหรือยัง

7. International Mobility

8.Connectivity

ข้อ 7และข้อ 8 ใกล้เคียงกัน คนในยุคสมัยใหม่มีการ Movement ตลอดเวลา คนเดินทางมากขึ้น หรือไม่ได้เดินทางแต่มีการ Log in ไปในอินเตอร์เน็ตก็ไปรอบโลกได้แล้ว สมัยก่อนไปต่างประเทศยากมาก แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้วมี Low Cost Airline และ Trend จะเป็นอย่างนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ เปรียบเสมือนเป็นกระแสของการเดินทาง อย่างโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีคนไข้จากต่างประเทศจำนวนมาก และมีเศรษฐีจาก CLMV มาใช้บริการแบบนี้เยอะ ถ้ามองในมุมบวกจะเห็นโอกาส

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่ จะ Attract นักศึกษา ตัวอย่าง ม.แม่ฟ้าหลวง มีนักศึกษาจากหลายประเทศมาเรียน ส่วนหนึ่งมาจาก Location และ 2 มาจากชื่อเสียง ที่ Attract สำหรับประเทศไทยก็มีจุดขายที่จะสามารถต่อยอดได้ ให้ลองคิดดู มหาวิทยาลัยสามารถทำเป็น Pilot Project ได้ลองดูว่าหลักสูตรใดที่สามารถเป็นจุดขายได้ ให้ลองเชื่อมโยงกับชุมชนทำเป็นลักษณะ Pilot Project

ม.ทักษิณ มีข้อได้เปรียบอะไรที่สามารถใช้ต่อยอดและเป็นจุดขายให้กับนักเรียน นักศึกษาและพ่อแม่ผู้ปกครอง และการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม จะต่อยอดกันอย่างไร

ต้องเข้าใจว่าเด็กรุ่นใหม่มี Community แบบไหน ติดต่อกันอย่างไร จะทำให้พูดกับคนยุคใหม่ที่ใช้สังคมออนไลน์ได้อย่างดี เช่นการถ่ายรูปก่อนทานอาหารเป็นลักษณะของสังคมยุคใหม่ เป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ทำหลายอย่าง เป็นลักษณะ Multi Tasking เช่นห้องสมุดยุคใหม่ต้องสามารถคุยได้ ทำงาน กินขนมได้เป็นต้น

9. Cultural Heritage

ที่มองว่าประเทศไทยต้องทันสมัย สิ่งที่คนให้ Value มากคือ Cultural Heritage คือเป็นสิ่งที่มองในเรื่อง Activity มาก ตัวอย่างนักศึกษาใน สปป.ลาวยังนุ่งซิ่น หรือเวียดนามใส่ชุดอ๋าวหญ่าย จึงเป็นสิ่งที่เราควรจะ Balance อย่างไร อย่างภาคใต้มีวัฒนธรรมแตกต่างจากเหนือ อีสาน กลาง อย่างไร น่าจะนำมาต่อยอด ซึ่งเป็น Trend ที่คนรุ่นใหม่สนใจ

10. Good Governance เป็นเรื่องที่เรา Expect มากขึ้นทั้งในเรื่องความโปร่งใส คุณธรรม จริยธรรม

สรุปคือ เราจะนำทั้ง 10 เรื่องมาปรับใช้ตัวเราและสังคมเราอย่างไร


วิชาที่ Case Studies and Intensive Management Workshop TSU Positioning in Thailand and ASEAN+6

บรรยายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

TSU ควรทำอะไรที่เป็นขั้นตอนไปสู่ความสำเร็จที่อยู่ใน DNA เพื่อปรับ Mindset วิธีการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งจะพิสูจน์มาก ๆ ตอนที่จบหลักสูตรไปแล้ว หลังจากจบไปแล้วก็พยายามนึกถึงบรรยากาศตอนที่อยู่ด้วยกัน

ที่พูดเรื่อง Positioning ตอนอาจารย์ณรงค์ศักดิ์มาบรรยาย กล่าวว่าถ้าจะเอา Positioning หรือ Re-Positioning ที่ปรับใหม่เก่งอะไร เราต้องดูว่าคนอื่นเห็นคุณค่าของเราหรือไม่ กล่าวว่าที่การมาที่ TSU มาเพื่ออะไร

มหาวิทยาลัยของเราในอดีต ปัจจุบัน อนาคตต้องทำอะไรที่สร้างคุณค่าให้ Stakeholder ในห้องนี้ให้การยอมรับกับการของ ดร.จีระ เร็วมาก แต่การยอมรับอย่างเดียวไม่พอ เพราะต้องเจออุปสรรคมากมายที่จะต้องช่วยกันขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้

ถ้าไม่มีอุปสรรค และขีดจำกัด เชื่อว่าคนในห้องนี้จะทำได้ดีมาก

ด้านวิชาการน่าจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

1. Positioning in Marketing ได้เห็น Demand side ซึ่งมหาวิทยาลัยทักษิณค่อนข้างจะอ่อน ไม่ใช่มหาวิทยาลัยมีลูกค้า ทำอะไรก็ตามถ้าคนที่รับบริการไม่เห็นด้วยเราก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำคือเราต้องเข้าใจ Customer ต้องมีคนชื่นชมในบริการของมหาวิทยาลัย และอีกประเด็นที่สำคัญคือ ไม่ว่ามหาวิทยาลัยจะทำอะไรก็ตาม จะไม่มีความสำคัญเลยถ้าไม่ Keep improving ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงตามบริบทที่เปลี่ยนไป

TSU สำคัญอย่างไรบ้าง ลูกค้าไม่ได้จำกัดแค่ภาคใต้เท่านั้น ต้องมองในต่างประเทศมากขึ้น และน่าจะเป็นความพยายามที่ยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้า ต้องมอง Perspective ที่กว้างขึ้น ต้องปรับพฤติกรรมหรือ Mindset ที่จัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้

2. Strategic Positioning

ต้องดูว่า TSU มีจุดแข็งอะไร เก่งอะไร ต้องดูไปที่ Customer

ถ้าเราเข้มแข็ง เราจะไม่เหมือนคนอื่น ถ้ามีอันอื่นที่ทดแทนได้แสดงว่าเราไม่เก่งจริง อะไรคือความแตกต่าง ซึ่งถ้าบวก Demand side จะเป็น Keyword ในการเตรียมงานในอนาคต

นอกจากนี้เราต้องมี Uniqueness หรือความเป็นเฉพาะทาง

เอา 2 Concept มารวมกันต้องวิเคราะห์ที่มาของมหาวิทยาลัย การก่อตั้ง ผลงานปัจจุบันและอนาคต และบวกกับ Chira way เพื่อจะเป็นการขับเคลื่อนงานของมหาวิทยาลัย และเน้นการมอง Futuristic ให้ดี

Concept ต่าง ๆ ในโลกต้อง Deep Dive

ดร.จีระได้เสนอว่าน่าจะมีเขตเศรษฐกิจพิเศษในภาคใต้ การพึ่งพายางพารา ดังนั้นการมองไมใช่มองแค่ในอดีตอย่างเดียวต้องมอง Future Trend ด้วย หาช่องทางใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น และให้มหาวิทยาลัยเชื่อมกับ Chira way เพื่อไปสู่ความเป็นเลิศในการสร้างมูลค่า

3 V Value Creation กับ Value Diversity คือความสำเร็จแน่นอนแต่อย่างไรก็ตามต้องมี Customer เพราะ Customer หายาก มีคู่แข่งเยอะ

ทฤษฎี Blue Ocean น่าจะ Explore Diversity มากขึ้น

Social Capital คือ Happy at work คือพฤติกรรมของแต่ละคน

การทำ Workshop ในบ่ายวันนี้อยากให้ทุกคนในห้องสนใจเรือง 2R’s เลือกประเด็นที่ Relevance เพื่อไปสนองต่อ Customer ทำไม ม.ทักษิณทำที่ชุมชนตะโหมดสำเร็จ ถ้าเราจะดูแล Positioning ในบ่ายวันนี้อย่าลืม 2R’s ซึ่ง Positioning นำไปสู่การสร้าง Brand จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งแล้วจะพูดถึง TSU เลย

อุปสรรคที่เป็นห่วงคือ คนในห้องนี้สอบผ่านทุกคนแต่เวลาไปทำโปรเจคจริง ๆ

  • การบริหารที่ล้าสมัย
  • การปรับ Mindset ได้ช้า
  • การขาดการบริหารการเปลี่ยนแปลง
  • การใช้ Social Medias ไม่ทันกับคนรุ่นใหม่
  • การทำงานแบบ Top – Down หรือ Bureaucracy (Routine) มากไป
  • การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ล้าสมัย
  • ขาดการทำงานข้ามคณะ แบบทลาย Silo
  • ขาดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  • มี Committee มากเกินไป ประชุมบ่อยเกินไป
  • ขาดการทำงานที่รวดเร็ว (Agility)

การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า อย่าดาวกระจายเรื่อง Customer ต้องดูให้ดีว่ากลุ่มไหน
ดร.จีระ เสนอต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่อยากเสนอคือ อินโดนีเซีย และการวิจัยต้องมี Impact มากขึ้น ต้องแน่ใจว่างานเหล่านี้มีประโยชน์ และถ้าจะมองในอนาคตให้ดู Target Customer กับ Segmentationให้ดี คิดว่า Positioning อาจเป็นจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัย

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

TSU เดินมา 3 Step แล้ว

1. รู้จักตัวเอง

2. ทราบ Customer ของ TSU หลัก ๆ

- สร้างบัณฑิตที่ตรงตามความต้องการของประเทศ

- สร้างสังคมและวัฒนธรรม

- แตกต่าง โดดเด่นด้วยตัวเอง ดังนั้นการ Positioning คือการเลือกอย่า 2อย่าง

- เครื่องมือมี Pilot Project ,Happiness ,Passion

TSU กำลังเดินทางไปสู่ความสำเร็จ เรียนรู้การสร้างคุณค่า และอีกเรื่องคือ Execution คือทำอย่างไรให้สำเร็จได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิธีการของ ดร.จีระ คือเปิดโอกาสให้ปะทะกันทางปัญญา

Worshop

  • ใน 10 ปีข้างหน้า กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิด Positioning ใหม่ให้ TSU มีกลุ่มใดบ้าง ที่ควรจะพัฒนาโดยใช้แบบ Blue Ocean เป็นหลัก ทั้งการสอน งานวิจัย งานบริการทางวิชาการ
  • จุดแข็งของ TSU ในอนาคตคืออะไร เสนอโครงการเหล่านั้น เน้นความต้องการของผู้เรียน
  • New Positioning TSU สร้าง Brand Awareness ให้ผู้สนใจ เพื่อสร้าง brand Positioning อย่างไร
  • ในยุค Social media ที่มา จะใช้ Social media
  • พัฒนา Positioning ของ TSU อย่างไร
  • อุปสรรคที่ไม่สามารถไปสู่ Positioning ที่สูงขึ้น ของ TSU คืออะไร อธิบายและต้องแก้ปัญหาอย่างไรและทำ 3 ต. ได้อย่างไร

กลุ่มที่ 1 ใน 10 ปีข้างหน้า กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิด Positioning ใหม่ให้ TSU มีกลุ่มใดบ้าง ที่ควรจะพัฒนาโดยใช้แบบ Blue Ocean เป็นหลัก ทั้งการสอน งานวิจัย งานบริการทางวิชาการ

Positioning คือการทำให้แตกต่างจากทั่วไป TSU มีพร้อมทุกอย่างทั้ง Facility การศึกษา สังคม วัฒนธรรม เด่นหลายอย่าง แต่จะพัฒนาอย่างไร

Blue Ocean จะเลียนแบบ ม.อ. ก็ไม่ได้ ไม่เน้นคู่แข่งเป็นหลัก ไม่เน้นกำไรมหาศาล ไม่เน้นสิ่งที่คนโดยทั่วไปมอง

จึงกลับมาดูว่า TSU มีอะไร และพบว่ามีนักศึกษาที่มาเรียนมากจาก ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และพบว่าสอนเด็กมุสลิมมากขึ้น อีกทั้งใกล้กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย และ อินโดนีเซียซึ่งมีประชากรมุสลิม 203 ล้านคน กลุ่มบังคลาเทศ ปากีสถาน ไม่มีการทำหมัน จะทำให้ประชากรมุสลิมมากขึ้น จึงมองว่า TSU ใกล้กลุ่มมุสลิม ดังนั้นการจัดกิจกรรมจะเน้นกลุ่มมุสลิมมากขึ้น

เน้นการทำอาหารฮาลาล ที่ละหมาด ดังนั้น หลักสูตร การเรียน การสอนต่าง ๆ จึงขอให้เน้นที่มุสลิม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เห็นว่าสถาบันวิจัยที่เกี่ยวกับอิสลามน่าจะเป็นหนึ่งในอนาคตของที่ TSU คำว่า Positioning ไม่ใช่การเรียน การสอนอย่างเดียว แต่หมายถึงปริญญา เกรด การเรียนการสอน งานวิจัย ด้วย เป็นต้น

TSU น่าจะมีลูกค้าต่างประเทศมากขึ้น และคิดว่ากลุ่ม 1 แนวถูกแล้ว ตัวอย่างเช่นซาอุดิอารเบียถ้าน้ำมันไม่มี จะทำอย่างไร เขาต้องเน้นพัฒนา Human Resource ของเขา หรืออย่างท่องเที่ยวเชิงฮาลาล จะเป็นประโยชน์มากลย

กลุ่มที่ 2 จุดแข็งของ TSU ในอนาคตคืออะไร เสนอโครงการเหล่านั้น เน้นความต้องการของผู้เรียน

จุดแข็ง

1. สถานที่มีภูมิประเทศที่ดีคือพัทลุง และสงขลา และคิดว่าไม่มีใครกล้าทำการตลาดแน่นอนเพราะอยู่ในมือของ TSU แล้ว ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือเรื่องสถานที่ที่ต้องพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม

2. มีภูมิปัญญาที่จับต้องไม่ได้ต้องมุ่งสู่พัฒนา

3. คนในวัยหนุ่มสาวที่พร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อความก้าวหน้า

ประเด็นคือการเข้าสู่ Global Trend มีมรดก ทรัพย์สินที่จับต้องได้และไม่ได้จะทำอย่างไรให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ก้าวสู่ Global โดยไม่ละทิ้ง Local ทำให้เข้าสู่กระแสหลักที่มีในอนาคต

สิ่งที่เรามีอนาคตในเรื่องการมีจุดแข็ง ต้องมีการระดมความคิด และต้องเชื่อว่าการระดมความคิดของคนกลุ่มน้อย จะอาศัยกำลัง และถ้าทำโดยอาศัยความคิดและกล้าลงมือทำจะทำให้แก่กล้าและเกิดความสำเร็จได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แนะนำหนังสือเขียนโดยอัลกอร์ เขียนเรื่องอนาคตของโลก และอีกเรื่องคือ Global Mindset คือต้องเข้าใจที่อยู่ในโลก มองพัทลุงใน Context ของ Global ด้วย Project ของ Positioning ไม่ใช่ของใหม่เพียงแค่ต้องยกระดับ

หลักสูตรนี้ ถ้ามีการพบกันเป็นระยะ ๆ มีการ Debate กัน จะเป็นเลิศมาก เพียงแค่ความเป็นเลิศจะทำอะไร เจออุปสรรค ปัญหา หรือ Difficulty ต้องเอาชนะให้ได้ น่าจะมี Take home value เกี่ยวกับภาคใต้ และตะวันออกกลาง คิดว่าเงินน่าจะมหาศาล

มีโครงการหนึ่งในกระทรวงต่างประเทศ เรียกว่า ASEAN Cooperation Dialogue ประเทศไทยควรเข้าไปในตะวันออกกลาง อย่างเรื่องผู้หญิงมุสลิม พบว่า Woman rate of participation ประเทศไทยมากที่สุดในโลก แต่ตะวันออกกลางมีปัญหามากเรื่องการใช้ Human ที่เป็นสุภาพสตรี ประเทศไทยควรเป็นศูนย์ในการพัฒนา Woman labor force ในตะวันออกกลาง

สิ่งที่อยากฝากไว้ คือให้ทุกท่านในห้องนี้ ได้ Turn idea into action

กลุ่มที่ 3 New Positioning TSU สร้าง Brand Awareness ให้ผู้สนใจ เพื่อสร้าง brand Positioning อย่างไร

ก่อนอื่นต้องวิเคราะห์ตัวเองก่อน อาจจะดูจากคู่เทียบสถาบันการศึกษาในภาคใต้ก่อนว่า Positioning เป็นอย่างไร และดูว่ามีปัจจัยที่กระทบอย่างไร มีการดูเรื่องแนวโน้มของสังคม และเรื่อง Global ที่กระทบกับมหาวิทยาลัย ซึ่งดู Trend และมองคู่เทียบ อาจทำให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกเรื่องหนึ่งคือต้องสร้างความชัดเจนให้กับอัตลักษณ์ TSU อาทิ ม.กรุงเทพเน้นเรื่อง Creative

การสร้าง Brand Awareness ต้องสร้างจากสังคมภายในก่อนก้าวสู่สังคมภายนอก โดยเริ่มจากการมีส่วนร่วมในทุกระดับ แล้วเอา Brand Positioning ไปบูรณาการกับสิ่งทั้งหมด และโครงสร้างของมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างให้เกิดการขับเคลื่อนได้แท้จริง โดยใช้ระบบ IT ช่วยกระจายการสร้าง Brand Awareness ออกไป

การมีทุนทางวัฒนธรรม หรือทุนทางสถาบันที่มีอยู่เอง เราต้องวิเคราะห์ 5C ว่าก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของ TSU อย่างไร ต้องคิด Process ให้ชัด เช่นการพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาเป็นมนุษย์และสังคม ต้องพัฒนาให้ชัดเจน เป็นต้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้ยกตัวอย่าง ม.อ. เก่ง Science แต่กำลังพัฒนา Social Science แต่ที่ TSU เก่ง Social Sciece แต่ไม่สามารถละเลย Science ได้ สิ่งที่ทำคือต้องมีความชัดเจนไม่ว่าจะเอา Trend ของโลก Global มาจับ Local เป็นต้น ต้องมี Science of Entrepreneurship ให้มีความรู้สึกเป็น Self Employ และ move จาก Low hill ไปสู่ High hill และคณะศึกษาศาสตร์ในอนาคตต้องมองที่ Demand side มากขึ้น แล้วค่อยกระเด้งไปที่ Science และให้ Integrate ร่วมกัน ได้ยกตัวอย่างลีโอนาโด ดาร์วินซีกล่าวว่า Science กับ Social Science ต้องไปด้วยกัน

กลุ่มที่ 4 ในยุค Social media ที่มา จะใช้ Social mediaพัฒนา Positioning ของ TSU อย่างไร

ต้องยอมรับว่า Social media มีพลังมาก เราจะใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการสร้าง Positioning ของมหาวิทยาลัยอย่างไรบ้าง TSU มองว่าจะใช้เป็น Tool ในการบุกเบิกมหาวิทยาลัย 4 ส่วนด้วยกัน

1. โชว์ Profile หรือ Presentation มหาวิทยาลัย ดังนั้นการปรับรูปแบบจึงจำเป็น ข้อมูลไม่ได้ดึงดูดน่าสนใจมากนัก ดังนั้นทำอย่างไรให้ข้อมูลน่าดึงดูดให้คนเข้าถึง ได้เห็นและน่ารู้จัก

2. บุคลากรมีความสามารถจึงน่าจะมี Challenge ของการ Learning and Sharing จะทำให้เป็นที่เชื่อถือ หรือนำผลงานที่ชนะเลิศของเด็กมาทำ Story ว่าทำไมเด็กได้เหรียญทอง จึงคิดว่าน่าจะปรับบทบาทใหม่

3. เป็นตัว Survey ที่ดี ถามว่าต้องการอะไรเพิ่มเติม สิ่งที่ทำดีหรือไม่เพื่อตอบถามความต้องการของสังคมในการวางแผนล่วงหน้า

4. TSU Consulting ใครมีปัญหาอะไร ที่ช่วยให้แก้ไข ถ้าช่วย Manageตรงนี้ได้จะช่วยให้เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน และเป็นการเรียนรู้ของสังคม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Potential Supporter ที่มี TSU Social Media จะเป็นประโยชน์มากขึ้น การเขียนยาวขึ้น จะทำให้กลายเป็นกระแสและมีคนติดตามมากขึ้น We the media ต้องทำเป็น Regular แต่ส่วนใหญ่ Social Media เป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่า อยากให้รวมพลังกันและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

อาจมีการรวมตัวกันว่า TSU ได้อะไรจากหลักสูตรนี้ น่าจะทำให้มากขึ้น

กลุ่มที่ 5 อุปสรรคที่ไม่สามารถไปสู่ Positioning ที่สูงขึ้น ของ TSU คืออะไร อธิบายและต้องแก้ปัญหาอย่างไรและทำ 3 ต. ได้อย่างไร

3 ต. แตกต่าง ติดตาม ต่อเนื่อง

การเปลี่ยนอะไรต้องให้เขาคงพฤติกรรมใหม่ ถ้าจำได้ใน Slide สุดท้ายของ SCG คือ Change or Die เรายังคงมีความเชื่อแบบเดิมไม่ยอมเปลี่ยนหรือไม่

อุปสรรคที่ไม่สามารถไปสู่ Positionging ที่สูงขึ้นของ TSU

1. วิธีการยังอิงระบบราชการ ทำงานแบบ Top Down หรือไม่

วิธีการแก้ปัญหา เราต้องเปิดใจกว้าง เราไม่ได้มีข้อดีหมด มีข้อบกพร่องอะไรบ้าง ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เจ็บปวด และต้องเชื่อมั่นการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่มีอยู่แล้ว เปลี่ยนแล้วต้องดีกว่าเดิมหรือไม่ จะสร้างความเชื่อใหม่ได้อย่างไร

2. กฎระเบียบต่าง ๆ ขั้นตอนวิธีการทำงานราวมาก วิธีการคือเราต้องลดขั้นตอนหรือไม่ บอร์ดเยอะมาก บอร์ดซ้อนบอร์ด อยากให้คนเสนอกับบอร์ดเลย และบอร์ดต้องเก่ง

3. การเปลี่ยนแปลงต้องเสริมแรง ซึ่งอาจเป็นตัวเงิน หรืออะไรก็ตาม

4. การเปลี่ยนบางครั้งอาจผิดพลาด ต้องช่วยเหลือกัน สนับสนุนกัน ไม่ใช่ผิดแล้วซ้ำเติม

5. ขาดการมีส่วนร่วม ถ้าคนคิดร่วมกันจะร่วมรับผิดชอบ

6. ขาดการติดต่อประสานงานกันอย่างทั่วถึง จึงคิดว่าน่าจะมี Center อะไรหรือไม่ที่เข้าถึงทุกคน

7. ภาระงานไม่สอดคล้อง ทำให้ไม่อยากทำ

วิธีการแก้ปัญหา

1. เปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วมในการรับรู้ระบบสารสนเทศ อาจเป็นการตรวจสอบได้ และทำให้เขามีส่วนร่วม และมีบทบาทมากขึ้น มีแผนส่วนรวม อาจมีหน่วยงานที่เป็น Center ขึ้น และมีหลายช่องทาง หรือ Social Media

2. ภาระงานไม่สมดุล ต้องมีการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ต้องวิเคราะห์ความสมดุล ทำ Job Analysis คิดโปรเจคร่วมกัน

3. แผนแม่บทถ้าไม่ชัด แผนลูกจะไม่สามารถสนับสนุนได้เลย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิเคราะห์ตัวเอง วิเคราะห์ไปไหน และทำอย่างไร แต่อย่าตายตรง Execution ต้องเอาชนะอุปสรรคให้ได้ สะสมศักยภาพของตนเอง ติดตาม แตกต่าง ต่อเนื่อง แต่บางครั้งบรรยากาศการทำงานไม่เปิดโอกาสให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง อยู่กับ ดร.จีระ เข้าทฤษฎี 4L’s Lตัวที่ 3 Learning Opportunity คือโอกาสได้ปะทะกันทางปัญญา ยอมรับความแตกต่าง และไม่มีอะไรสำเร็จด้วยการไม่ทำอย่างต่อเนื่อง และตัวละครต้องเป็นตัวเดิม

ภายใต้การทำงานครั้งนี้จะสำเร็จได้ก็เกิดจากการมีส่วนร่วม แต่เนื่องจากมีการทำแล้วทำอีก มีคนมาช่วย แต่สถานการณ์แต่ก่อนไม่ยากเท่าสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะปัจจุบันยากกว่าเดิม ซึ่งถ้ามีการร่วมมือกันมีการ Share Value ร่วมกัน เกิดการถกเถียงกัน บรรยากาศแบบ Informal เป็นบรรยากาศที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เราใกล้ชิดกัน

ฝากทฤษฎี 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และ แตกต่าง ติดตาม ต่อเนื่อง

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

Workshop ที่ดีคือการตั้งโจทย์เก่ง ตัวการตั้งโจทย์ทำให้ได้คำตอบในระยะเวลาสั้น จะเห็นผลเลยว่าแต่ละข้อมากจากการตั้งโจทย์ เช่น

กลุ่มที่ 1 มุสลิม อาหาร ท่องเที่ยว ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถสนับสนุนความเป็นมุสลิมได้

กลุ่มที่ 2 ให้เรื่องยุทธภูมิคือมองในพื้นที่ และยุทธศาสตร์ คือของดีมีอยู่ และยุทธวิธีคือคนที่จะรับไม้ต่อ

กลุ่มที่ 3 เป็นการค้นหา TSU Brand ต้อง Positioning + Value และให้สร้าง TSU Capital มีทุนทาง Content มีทรัพยากรธรรมชาติที่น่าสนใจมาเป็นทุนในท้องถิ่น มีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือ และที่สำคัญคือ Human Capital

กลุ่มที่ 4 Social Media มีการขยายความจากกลุ่มต่าง ๆ มีพูดเรื่อง Economic ต้องมีการ Learing Sharing และ Consulting และต่อด้วยการ Follow

กลุ่มที่ 5 การก้าวข้ามอุปสรรค ให้ดูจากทฤษฎี 3 วงกลมที่ 1 องค์กรยังเป็น Top down ติดต่อประสานงานไม่โอเค อยู่ในภาระงาน วงกลมที่ 2 ศักยภาพคนเก่ง แต่ต้องการเสริม แรงคือต้องสร้าง Network วงกลมที่ 3 Motivation เปิดให้คนมีส่วนรับรู้และวางแผน และได้เสนอทางแก้ของแต่ละวงกลมต่าง ๆ มาด้วย

ซึ่งดร.จีระเสนอว่าให้คิด Pilot Project ค่อยทำแบบชนะเล็ก ๆ เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคให้ได้ ให้ทำแบบ Local Global

ดร.จีระ เสนอว่า Global ให้มองที่มุสลิมเยอะหน่อย ซึ่งให้มองที่ปัตตานีและสงขลา อยากฝากเรื่องสถาบันวิจัยเกี่ยวกับMuslim World และคิดว่าน่าจะ Rest fund ได้ คิดว่าสถาบันวิจัยฯ ที่เอาจริง ไป Link กับ Muslim world คิดว่า Connection แบบนี้ต้องรีบทำ

เรื่อง 3 วงกลม เมื่อบริหารคนที่เป็นสมอง ต้องให้เขาบริหารตัวเองอย่าไป control เขาเพราะคนเหล่านี้มีศักยภาพ

Motivation เป็นเรื่อง Inspiration ที่นอกเหนือจากค่าตอบแทน หรือให้มีการ Empowerment หรือ Empowering และพิสูจน์ว่าสำเร็จหรือไม่

สิ่งสำคัญคือต้องยิงใน DNA มีหนังสือเล่มล่าสุดบอกว่าถ้าไม่ยิงการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรไปในมนุษย์ มนุษย์ก็ไม่เปลี่ยน ถ้ารวมพลังกันจะสามารถเปลี่ยนได้ และเมื่อเจออุปสรรคจะยอมแพ้ หรือสู้กับมัน

3 ต.เกิดจากความแตกต่าง ติดตาม ต่อเนื่อง ต้องทำให้เกิดผล ต้องยกย่องชาวบ้านให้ออกความเห็นต้อง Anything go ไม่ใช่ Anything know

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

เน้นการเสริมแรงกัน หาช่อง ยอมรับความแตกต่าง และลงมือทำ การทำให้สำเร็จต้องมอบหมายคน วิธีการเป็นอย่างไร


วิชาที่ Group Assignment & Presentation Lesson Learned – Share and Care : บทเรียนจากหนังสือ (เล่มที่ 4) เรื่อง HBR’s 10 MUST READS on Management Yourself

บรรยายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่มที่ 1 Management time: Who’s got the monkey?

หนังสือเล่มนี้เขียนมายาวนานมาก มีการแบ่งเวลา เป็นเรื่องการจัดการ

1. เวลาที่ต้องให้กับหัวหน้า ไม่ให้ไม่ได้เพราะต้องรับคำสั่งจากหัวหน้า และเวลาในการพัฒนางาน ต้องให้มากขึ้น

2. เวลาที่อยู่ในระบบ เป็นเวลาที่ต้องคุยกับเพื่อนร่วมงานและปรึกษาหารือ และเวลาที่ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา บางครั้งอาจให้มากเกินไปในการช่วยแก้ปัญหาบางเรื่อง ดังนั้นสิ่งที่ทำต้องลดเวลากับผู้บังคับบัญชา ต้องให้เขาคิดให้เอง ให้เวลากับตัวเองมากขึ้น

ยกตัวอย่างของลิง

กรณีที่หนึ่ง คือการรับปากว่าจะช่วยเหลือเขา แล้วกลายเป็นเอาลิงมาไว้ที่ตัวเอง

กรณีที่สอง การมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา และเมื่อไหร่ที่เขียนเสร็จแล้วกลับมาให้อีกจะเจอลูกน้องถามว่าอ่านหรือยังค่ะ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น หน้าที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นตัวลิงอาจหมายถึงงานหรือโอกาสที่รอให้เกิดการดำเนินการ

ลิงเสมือนเป็นปัญหาที่ย้ายไปอยู่รอบข้างได้ และเมื่อหัวหน้ารับลิงก็จะเกิดการเปลี่ยนหน้าที่ระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง และพบว่าแต่ละคนมีลิงหลายตัว และยิ่งเรามีลิงเยอะมากเท่าไหร่ปัญหาที่ตามมาคือ

1. ทำงานไม่ทัน

2. ไม่มีเวลาเที่ยวกับครอบครัว

กฎ 5 ข้อ

1. เลี้ยงลิง หรือฆ่าลิงให้ตาย

2. รับลิงมีจำกัดจำนวน อย่ามีจำนวนมากเกินไปแทนที่จะใช้เวลาอยู่กับครอบครัว

3. นัด ให้มีเวลาชัดเจนไม่ใช่รับไปเรื่อย เพราะมีประเด็นในการซักถาม

4. มอบหมายต่อหน้า หรือ e-mail เพราะมีประเด็นในการซักถาม

5. การให้อาหารลิงมีจำกัด

วิธีการคือ

1. ให้ผู้ช่วยบังคับบัญชาทำด้วยตนเอง

2. ทำตามคำสั่ง

3. บอกให้ทำ

4. ต้องวางใจลูกน้องและบอกให้เขาทำ และต้องยอมรับว่าการทำงานบางครั้งต้องผิดพลาดบ้าง ให้กำลังใจเขา

การนำมาใช้

1. .ให้ลิงอยู่ต่อหน้าคือจดไว้

2. ลิงมีตัวเล็กตัวใหญ่ ให้จัดการลิงตัวใหญ่ก่อนคือเรื่องสำคัญและเร่งด่วน

3. กินกล้วยชิ้นเล็ก เหมือนชนะเล็ก ๆ ก่อนชนะใหญ่ ๆ

4. ไม่รับลิงตัวนี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แทนที่นายจะเป็นนาย นายกลายเป็นลูกน้อง แล้วลูกน้องวิ่งมาหา ในสถานการณ์บางอย่างถ้าไม่เกิด Productivity ของคนขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง

1.การใช้พลังงานของเรา

2. การใช้ Brain ของเรา

3. ต้องเป็นคนที่มีพลังความเชื่อทั้งข้างนอกและข้างใน ถ้าพลังงานเสียไป Brain ก็จะลดลงไป

กลุ่มที่ 2 Manage your Energy ,Not your time การบริหารจัดการเรื่อง Energy อย่างไรในกรณีที่มีเวลาจำกัดหรือมีเวลาน้อย

ในกลุ่มใช้หลักของ Adam Smith คือการแบ่งงานกันทำ มีการมองว่างานแต่ละงานใครเหมาะสมที่สุด

เมื่อคนหมดพลังจะมีวิธีการเสริมอย่างไร

1. การที่เราทำงานมากไม่ใช่คำตอบหรือข้ออ้างที่ว่าเราหมดพลัง การทำงาน Overtime เพิ่มมากขึ้น ไม่ได้สะท้อนถึงผลผลิตที่เกิดขึ้น แต่อาจเป็นการทำที่ Stupid เวลาไม่ได้สะท้อนถึงประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลมากกว่า บางคนทำงานน้อยอาจได้ประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลมากกว่า

2. การจัดงานพลัง มีแนวคิด 4 มิติคือ พลังงานด้านกายภาพ พลังงานเรื่องของอารมณ์ พลังงานของจิตใจ และพลังงานเรื่องจิตวิญญาณ ใน 4 ขั้นตอนเป็นพลังงานที่อยู่ในตัวบุคคล

พลังงานกายภาพ – ทำอย่างไรให้มีพลังงาน ต้องมีการผักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกาย เบรก และพักเป็นระยะ ๆ

ต้องมีอาหารที่ถูกสุขลักษณะ มีการออกกำลังกายเพื่อเติมเต็มให้ร่างกายแข็งแรง มีการ Renew มีการผักผ่อนเพียงพอ เพื่อมีกำลังกายให้สามารถทำงานได้

การออกกำลังกาย- บางคนมีข้ออ้างว่าทำงานมากไม่มีเวลาออกกำลังกาย หรือครอบครัวไม่มีการ Support ให้ออกกำลังกายได้ หรือไม่มีคุณลักษณะที่ดีในการออกกำลังกายได้เป็นข้ออ้างที่เราสามารถทำลายกำแพงนี้ได้ ทุกคนมีเวลาเท่ากัน แต่จะจัดการอย่างไรให้มีความพร้อมในการทำงานต่อไป

แต่ละคนต้องมีช่วงเวลาพักผ่อนให้เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายฟื้น เช่น 35 – 49 อาจใช้เวลา 7 ชั่วโมงครึ่ง เป็นการสร้างการพักผ่อนที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายฟื้นและมีพลังต่อไป

การเติมพลังแต่ละวัน ในแต่ละวันอาจมีการพักบ้างเพื่อ Refill ตัวเอง เช่น สเปนในช่วงพักเที่ยงมีนโยบายให้พักผ่อนได้เป็นการเติมพลังในการทำงาน

การปลูกฝังการอ่าน ทำให้เรามีพลังและมีแนวทาง จุดมุ่งหมายในการดำรงชีวิตอย่างไร หรือมีการพัฒนาสื่อเพื่อเสริมพลังในการทำงานของเราได้

การกินอาหารแต่ละมื้อควรกินน้อย ๆ และควรมีช่วงเวลากินทุก 3 ชั่วโมง และมีวิธีลดความเครียดของตัวเอง มีจุดพักผ่อนเพื่อลดความเครียด มีการเบรกในแต่ละช่วงเวลาเพื่อลดความเครียดของตัวเองได้

พลังงานอารมณ์ – ความมีจิตใจที่รักในการทำงานคือมีความรู้สึกอยากทำงานให้เกิดมาได้เป็นตัวขับเคลื่อนให้ทำงานประสบความสำเร็จ

แต่ละคนมีอารมณ์ที่หงุดหงิดหรือเป็นอารมณ์ที่ไม่สบอารมณ์ ต้องมีวิธีการบริหารจัดการเพื่อ Relax หรือพักผ่อนเพื่อกลับฟื้นสู่ภาวะปกติในการทำงานได้

พลังงานทางจิตใจ – คือเราชอบในการทำงานและรักในการทำงานนั้นหรือไม่เกิดจากความรู้สึก

บางครั้งในการทำงานมีช่วงที่ Interrupt เราจะมีช่วงที่ Concentrate งานของเรา และมีวิธีการจัดการคนที่มา Interrupt ทางe-mailอย่างไร เช่นเปิดช่วงเวลาเช้าหรือกลางวัน เพราะสิ่งนี้เป็นตัวบั่นทอนการทำงาน ต้องมีหลักการบริหารจัดการในส่วนนี้

พลังงานทางจิตวิญญาณ – บางคนทำงานหนักมีเป้าหมายในชีวิตคือการทำงานที่เกิดจากความรัก เกิดจากการขับเคลื่อนภายในเป็นตัวเสริมให้เกิดการทำงานที่ประสบความสำเร็จได้

แต่ละคนมีเป้าหมายในชีวิต Sweet Spot เพื่อให้เราทำงานไปสู่เป้าหมายหรือบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ต้องมีเป้าหมายและมีการทบทวนเป้าหมาย

ประเด็น TSU มีแนวทางในการสนับสนุนให้บุคลากรมีพลังงานออกมาได้หรือไม่

1. มีห้องสำหรับพักผ่อนหรือ Relax สำหรับบุคลากรหรือไม่

2. มีแหล่งนันทนาการหรือไม่ เช่น ชมรม Club ต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนต่าง ๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

3. มีกฎไม่รับโทรศัพท์ระหว่างทำงานหรือประชุมหรือไม่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล่าวถึงพลังต่าง ๆ ทั้ง 4 ส่วน ควรจะแยกแยะให้ดี น่าสนใจมาก ได้ยกตัวอย่าง Jack Welch พูดสิ่งที่น่าสนใจคือการมีความคิดสร้างสรรค์ และนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ก็จะสำเร็จ แต่ถ้ามีความเครียด ความคิดสร้างสรรค์ก็จะหายไป วิธีการคือปล่อยวางให้ได้ อย่างความคิดสร้างสรรค์ เวลาเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในห้องจะมีประเด็นใหม่ ๆ เข้ามาที่เรียกว่าโป๊ะเช๊ะ จะทำให้เกิดพลังได้ การที่เราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยไม่ได้ตั้งใจจะเป็นประโยชน์

บทความทั้งหลายเป็นหลักการจัดการตัวเองก่อนที่จะไปจัดการคนอื่น

กลุ่มที่ 3 Be a better leader, Have a Richer life

มีความสมดุลทั้ง 4 ด้าน คล้ายกลุ่มที่ 2

การเป็นผู้นำที่ดีได้นอกจากการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราแล้วคนรอบข้างต้องเปลี่ยนแปลงด้วย

1. การทำอะไรก็ตาม สำคัญหรือไม่

2. เคารพคนอื่นหรือไม่

3. มีความคิดสร้างสรรค์หรือไม่

4. ทำได้หรือไม่

โดยมีจุดมุ่งหมายว่าถ้าเป็นบ้านและชุมชนจะสร้างความสัมพันธ์ และทำเพื่อชุมชนมากน้อยแค่ไหน ทางด้านจิตใจเราต้องหาความหมายชีวิตและพัฒนาจิตใจให้ได้

การออกแบบให้เข้ากับการทำงานของเรา เช่น มีเจ้านาย และต้องทำงานที่บ้านมีคนที่ต้องดูแลอยู่ที่บ้านอาจทำงานที่บ้านโดยมองว่าทำงานที่บ้านและส่งงานให้เมื่อไหร่

การออกกำลังกาย อาจมีการออกกำลังกาย แล้วคอยบอกคนข้าง ๆ ให้ช่วยเตือนเรา

การทำกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับคนรอบข้าง เช่นสโมสรอาจารย์ คล้าย ๆ กับสโมสรนิสิตที่มีอยู่ ถ้ามีสโมสรอาจช่วยให้เกิดการทำกิจกรรมที่ยั่งยืน

การใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ

1. ผู้นำที่ดีต้องให้โอกาสกับลูกน้องและผู้ใต้บังคับบัญชาให้เปิดโอกาสให้เขาทำอย่างจริงจัง โอกาสจะนำไปสู่เป้าหมาย แต่ถ้าโอกาสปิด ๆ เปิด ๆ จะทำให้โอกาสนั้นยาก ต้องทำให้เดินไปสู่เป้าหมายได้

2. ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ที่ต้องไปพลิกฟื้นฟู สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นเสมอ

3. ต้องให้ความสำคัญกับครอบครัว ชีวิตความสำคัญที่บ้านต้องเข้าใจในเรื่องงานด้วย ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้ได้

4. คนที่เป็นผู้นำหรือมหาวิทยาลัย สภาพจิตใจมีการตรวจสอบหรือไม่สภาพมีความเป็นอย่างไร บางครั้งเขาแค่ต้องการความสุข ความเป็นจริงจูงใจด้วยวิธีใดทำให้เขารักและผูกพันกับมหาวิทยาลัยหรือไม่

5. สร้าง Spirit ที่สร้างมากขึ้นเพื่อ Drive ไปสู่ Goal ของมหาวิทยาลัย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล่าวถึง Work life Balance , Family ไม่พอ ต้องไปดูที่ Community และตัวเองด้วย การทำงานต้องมีความสุข แต่ถ้าไม่มีความหมายก็ไม่รู้มีไปทำไม ชีวิตที่สมดุลหรือ Trend ของ Human Capital มาในเรื่อง Spiritual , Mental ทุกอย่างต้องมีความสมดุลกัน

กลุ่มที่ 4 Moments of Greatness “Entering the Fundamental state of leadership”

สิ่งที่เจอในบทความเหมือนที่ดร.จีระสอนและให้ตลอดว่าลักษณะผู้นำที่ดีเป็นอย่างไรและควรให้อะไรบ้าง อยากให้ Moment แบบนี้มาเรื่อย ๆ เพื่อไปสู่ความสำเร็จ หลายคนเรียนรู้จากต้นแบบของผู้นำที่ประสบความสำเร็จและปฏิบัติตามเขา แต่อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถ Copy ใครได้หมด เราต้องมีวิถีของตัวเองต้องมีการผสมกลมกลืนกัน เวลาเป็นผู้นำเดินบนท้องถนนอาจไม่รู้ว่าใครเป็นผู้นำ แต่พอมีสถานการณ์เร่งเร้าผู้นำจำมาขับเคลื่อนให้องค์กรสามารถก้าวหน้าต่อไป

ผู้นำ เช่น ท่านพุทธทาส มีแนวคิดเป็นของตัวเอง เมื่อท่านประสบความสำเร็จท่านก็เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้นำจะฉายแสงด้วยตัวเอง

ในส่วนความเป็นผู้นำ เราจะรู้ได้หรือยังว่าเราเป็นผู้นำ ก่อนอื่นต้องดูว่าเราย้ายออกจาก Comfort zone แล้วหรือยัง ถ้าเราอยู่นิ่งหมายถึงเราไม่ยอมแก้ไขปัญหา เราต้องมีการ Move ออกจาก Comfort zone เราเน้นผลลัพธ์ส่วนรวมหรือตัวเอง

สิ่งที่เราทำเป็นสิ่งมาจากภายนอกหรือภายในตัวเอง

มุ่งเน้นที่ผลประโยชน์ขององค์กร

คุณสมบัติของผู้นำ

1. มองเห็นประโยชน์สำคัญ

2. มีการนำจากภายนอก คิดถึงคนอื่นมาก ๆ

การเตรียมตัวเป็นผู้นำ

1. ต้องรู้ก่อนว่าเราคือใครอยู่ตรงไหน

2. เจอสถานการณ์จะแก้ไขอย่างไร

3. วิเคราะห์ตัวตน

4. เน้นผลลัพธ์ บริหารภายใน นึกถึงคนอื่น มีใจเปิดกว้างหรือไม่

การประยุกต์ใช้

1. การเป็นผู้นำที่สำเร็จต้องทำให้ลูกน้องและคนอื่นสำเร็จด้วย

2. อดีตเป็นแบบนี้ ปัจจุบันแบบนี้แล้วอนาคตเป็นแบบไหน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล่าวเสริมว่า Leader ที่ดีต้องพร้อมที่ต้องแก้ปัญหา Crisis อย่าง Crisis TSU มี 2 อันคือระยะสั้น และระยะยาว

กลุ่มที่ 5 Primal Leadership : The Hidden Driver of Great Performance

แนวทางรับเรื่องของผู้นำหรือการบริหาร ช่วงแรกเป็นลักษณะการพูดถึงความฉลาดทางอารมณ์ของภาวะผู้นำ

ผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะสามารถนำพาองค์กร ลูกน้อง ผู้ร่วมงานไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จได้ แต่ผู้นำที่ไม่มีความฉลาดทางอารมณ์จะทำให้ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน เกิดความกังวล เกิดความเครียด

ตัวอย่าง ผู้บริหารพูดว่าเราอยู่ในลมหายใจเดียวกัน เป็นการพูดดีทำให้ลูกน้องเกิดความไว้วางใจ ทำให้เกิดการพูดคุยซึ่งกันและกัน

ยิ้มให้โลกแล้วโลกจะยิ้มให้คุณ

เมื่อเจอปัญหาจะแก้ไขอย่างไร ใครเป็นคนช่วยเรา

เราจะจัดการเรื่องนี้ได้อย่างไร

Idea in Practice

ถ้าเป็นผู้นำอยู่ให้หันมาดูตัวเองว่าเป็นอย่างไร

เราอยากเป็นใคร -เวลาทำงานให้ทำอย่างระมัดระวังเพื่อไปสู่เป้าหมาย

เราอยู่ตรงไหน- เป็นการรับฟังจากผู้ร่วมงานว่าผู้ร่วมงาน Comment เราอย่างไร

ทำอย่างไรให้ไปถึงเป้าหมาย – ให้มีการเปรียบเทียบคนที่จะไปดีหรือด้อยกว่าเราตรงไหน แล้วทำอย่างไรให้ไปตรงนั้น

รู้ว่าเราเป็นอย่างไร – ให้มีการวางแผน และมีการทำซ้ำเพื่อไปอยู่ตรงจุดนั้นเรื่อย ๆ

ใครจะช่วยได้บ้าง – เป็นการค้นหาตัวเอง และให้ผู้อื่นช่วยเราจะได้รู้ว่าเราเป็นอย่างไร

สรุปคือ คำถามเมื่อสักครู่เป็นการวิเคราะห์ว่าเราอยู่ตรงไหน และจะไปสู่เป้าหมายอย่างไร เป็นการพูดถึงอารมณ์และภาวะผู้นำที่มีความฉลาดทางอารมณ์

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทั้ง 5 กลุ่มจริง ๆ แล้วก็คือภาวะผู้นำ แต่เป็นวิธีการเพื่อไปสู่ความเป็นผู้นำ

กลุ่มที่ 1 ดร.จีระ มองในเรื่องของลิง เขาไม่แบกลิงมาแล้ว คนรุ่นใหม่คิดเรื่อง Brain และ Energy แต่คนที่เป็นหัวหน้า ต้องคิดด้วย ทำด้วย ยากที่ไม่ต้องแบกลิง ถ้าเราปฏิเสธไม่ได้ว่าจะต้องแบกลิงอยู่ก็จะมีวิธีการว่าจะทำอย่างไร คนรุ่นใหม่ชอบคิดสร้างสรรค์ แต่จะไม่สำเร็จถ้าไม่พึ่งคนที่ทำงาน วิธีการคือเลือกที่จะทำอะไร และไม่ทำอะไร และอะไรที่ไม่สำเร็จก็ฆ่าทิ้ง เพราะได้แล้วไม่คุ้ม ก็เลือกวิธีฆ่าลิงทิ้งไม่แบกต่อ

1.เลือก

2. ความพอดีที่จะเลือก

3. ความพอเพียง อะไรที่เราจะให้เขา

4. Empower ต้องช่วยดูแล

5. ชนะเล็ก ๆ

6. อย่าไปเสียดายลิงที่เป็นปัญหา ฆ่าทิ้ง

กลุ่มที่ 2 สรุปได้ว่าคือทำงานอย่างไรแล้วมีความสุข คือ Happiness at work แต่สุดท้ายคือ การมี Energy คือการมีของใหม่ให้เล่น ต้องใหม่ทุกวัน และเลือกทำสิ่งใหม่ ๆ

ดร.จีระ เสริมว่า ทำอย่างไรให้สร้างสรรค์ Achieve something และเมื่อมีอารมณ์อาจต้องปล่อยวาง ต้องปะทะไปสู่ความสำเร็จ ทุนแห่งความสุขของ ดร.จีระ คือ Purpose and meaning คือ Spiritual คนเราทำงานต้องมีเป้าหมายว่าทำไปเพื่ออะไร นั้นเป็นสิ่งที่มีความหมาย อย่างที่อาจารย์สายพิณทำเป็นการสร้างคุณค่า ไม่หยุดการทำงาน

คุณพิชญ์ภูรีกล่าวต่อว่า Energy เหมือนลูกเทนนิสตอนแรก ๆ จะเด้ง แต่ต่อไปจะหมดพลัง แต่ถ้าจะมีพลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็โยนลูกเทนนิสใหม่ ๆ ไป เช่น อาจคิดเรื่องช่วยชาวบ้าน พัฒนาผลิตภัณฑ์ และงานใหม่ ๆ สร้างงานให้เกิดความสำเร็จ ต้องหาอะไรใหม่ ๆ แล้วหาทางที่เก็บพลังงานนั้นไว้

ดร.จีระ กล่าวถึง Physical Energy คือ Sleep กับออกกำลังกาย

คุณพิชญ์ภูรี

กลุ่มที่ 3 มีเรื่อง Comment น้อยมาก เพราะเป็น How to อันที่อยากจะพูดถึงคือ อยากจะทำ Club ของรุ่นนี้ที่เป็นอะไรเล็ก ๆ ที่เราจะทำอะไรต่อ สิ่งนี้ก็เสมือนเป็น Energy ใหม่ ๆ ที่จะทำกิจกรรมต่อ

กลุ่มที่ 4 Moment of Greatness จะไม่เกิดถ้าไม่ทำอะไรที่ประสบความสำเร็จหรือแก้ปัญหาได้ อย่างเรื่อง Conductor ผู้นำไม่ได้ทำเพื่อตนเองอย่างเดียว คือต้องแก้ Crisis ตัวเองด้วย และต้องแก้ Crisis ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย ดร.จีระ กล่าวเสริมว่าอย่าพอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ และเคยชินให้หลุดออกมา การเปลี่ยนแปลงมีสิ่งที่กดดันที่เราต้องหลุดจาก Comfort zone ต้อง Manage ตัวเองให้หลุดจากความสบาย ดูแลคนอื่นมากกว่าตัวเอง

กลุ่มที่ 5 เป็นลักษณะการค้นหาผู้นำ เป็นลักษณะวิธีการ

ดร.จีระกล่าวว่า ถ้าผู้นำไม่มี Emotional Intelligent ก็ไม่มีความเป็นผู้นำได้ จริง ๆ ในประเทศไทยศาสนาพุทธสอนให้มีสติ และสมาธิ ด้วยเหมือนกัน Primal แปลว่า Emotion ของเรา

ผู้นำที่ดีในสังคมไทยคือคนที่ควบคุมได้ ตัวอย่างที่ดีคือป๋าเปรม

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล กล่าวว่าจริง ๆ ทุกอย่างเป็นสิ่งที่ทุกท่านทำอยู่แล้ว เหมือนเป็นลักษณะ Simple หรือ Common Sense แต่การตีพิมพ์ที่ Harvard เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องจัดการให้ได้ การจะมี Greatness อยู่ที่ตัวเราในการควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้หรือไม่ และสิ่งนี้เกิดได้กับทุกวงการ เราต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้ ถ้าควบคุมไม่ได้แล้ว Greatness อาจไม่เกิดขึ้น

วิชาที่ นำเสนองานกลุ่ม : สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานและแนวทางการปรับใช้ให้เกิดคุณค่าที่มหาวิทยาลัยทักษิณ

บรรยายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาจารย์ทวนทง

บทเรียนที่ไปดูงานจากม.กรุงเทพและ SCG

ม.กรุงเทพ ได้รับบทเรียนหลายแง่มุม ได้เห็นว่า ม.กรุงเทพได้นำขึ้นในข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรม

1. ตราสินค้า หรือแบรนด์ อธิการบดีเป็นคนควบคุมแบรนด์ เน้นการสื่อสารที่ชัดเจนและทันสมัย อย่างล่าสุดเว็บไซด์ ได้รับการปรับปรุง

2. การจัดสรรพื้นที่ จัดสรรพื้นที่รองรับการจัดกิจกรรมของนักศึกษาที่เข้าถึงและใช้ได้จริงสามารถใช้ในทุกพื้นที่ที่เป็นผลประโยชน์ ทุกพื้นที่ใช้ได้จริง อาจารย์ นิสิต นักศึกษาใช้ได้หมด

3. ความเป็นมืออาชีพ ผลิตเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานระดับ Premium และการเกิดขึ้นจริง เปิดโอกาสให้นิสิตอื่นเข้ามาเรียนในรายวิชาด้วย นิสิตที่จบไปแล้วไม่มีปัญหาเพราะได้ทั้งทฤษฎี และปฏิบัติจริง

SCG

1. ตราสินค้าสื่อสารถึงลูกค้าที่ชัดเจน และทันสมัย และเห็นว่าคุณอนุวัฒน์ เห็นความสำคัญของการสร้างแบรนด์มาก สร้าง Internal Branding สร้าง DNA แบรนด์

2. อุดมการร์ ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ ตั้งมั่นต่อสังคม

3. ภาพลักษณ์ได้รับการยอมรับด้านการเป็นบรรษัทธรรมาภิบาลและความยั่งยืน

สรุปการปรับใช้สู่ ม.ทักษิณ

1.ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญต่อตราสินค้า และสื่อสารที่ชัดเจน เราอาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อ แต่สามารถ Re-Branding ได้คล้ายกับ สวนดุสิต Rebrand เปลี่ยนเป็น SDU ส่วนทักษิณ ใช้เป็น TSU

2. การสื่อสารภาพลักษณ์สู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน สิ่งสำคัญของ ม.กรุงเทพคือการรับสมัครเรียน แต่ ม.ทักษิณยังไม่รู้อยู่ตรงไหน ประเด็นคือเพื่อสร้างการสื่อสารองค์กร แต่ต้องมุ่งมั่นสู่ตัวลูกค้าด้วย และถ้าดูในภาคภาษาอังกฤษพบว่า ม.ทักษิณ เขียนไม่ครบ และผิด ดังนั้นการสื่อสารมีรูรั่วเยอะมาก

3. ความเป็นมืออาชีพ มหาวิทยาลัยควรปรับเพื่อตอบสนองต่อตลาดแรงงานและการปฎิบัติจริง เช่นการแพทย์แผนไทยสามารถเชื่อมโยงได้ แต่ก็ไม่เคยตั้งสาธิตได้ แล้ว ม.ทักษิณจะพัฒนาเป็นมืออาชีพได้อย่างไร ถ้าไม่ได้มีการพัฒนาฐานบนปัจจุบัน

อาจารย์สุธี

ที่เน้นเรื่อง Brand Equity ต้องเน้นเรื่องการ Rebrand เช่น SCG

การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ ม.กรุงเทพ

1. ม.กรุงเทพ ที่เข้าไปพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีตรา ม.กรุงเทพ หมด และอยากเสริมเรื่องระบบ IT ที่ตอบสนองต่อการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าเป็นการเรียนการสอน หรือระบบจอต่าง ๆ มีการตรวจสอบ และสร้างความโปร่งใส อยากให้ ม.ทักษิณทำได้บ้าง แต่ถ้ายังทำไม่ได้ทั้งมหาวิทยาลัยอาจทำในลักษณะของคณะก่อน

การสื่อสารพยายามทำทุกช่องทางรับรู้ เรื่องระบบ IT ทางม.กรุงเทพได้ทุ่ม 1,600 ล้านบาท

2. การสำรวจผ่านเว็บไซด์พบว่ามีศิษย์เก่า มีการทำวีดิโอคลิป และรู้สึกเข้ากับ Gen Y ในรุ่นต่อไป ใช้แนวคิดที่วัยรุ่นมาก มีการได้ Story เรื่องราวที่พาชมไปทั่วมหาวิทยาลัย และช่องทางการเรียนการสอนสามารถตามได้ 100 % แต่ม.ทักษิณยังไม่ได้ครบถ้าพัฒนาได้ตรงนี้จะดีมาก

ดร.จีระ กล่าวว่า ที่ม.กรุงเทพ เราน่าจะทำจดหมายขอบคุณแล้วให้ปรึกษาเขาว่าจะร่วมมือกับเขาอย่างไรให้ตัวแทนกลุ่มคิดดู ข้อดีของม.กรุงเทพ กับ TSU คือเป็นเอกชน และราชการ เอกชนจะบ้าคลั่งต้นทุน กำไร แต่ราชการไม่บ้าคลั่งต้นทุน อยากให้มีการแชร์ความเห็นร่วมกัน และทำกิจกรรมร่วมกันต่อไป

3. การบริหารจัดการที่ม.กรุงเทพ บริหารแบบรวมศูนย์ และใช้ข้อมูลเดียวคือศูนย์คอมฯ แต่ TSU ใช้การบริหารแบบคณะใครคณะมัน ทำตามหน้างานทุกครั้งแต่ไม่สามารถดึงข้อมูลจากส่วนกลางเพื่อตอบโจทย์ได้เลย

4. ทุกตารางนิ้วของ ม.กรุงเทพ Serve นักศึกษา แต่ TSU Serve Staff มากกว่านักศึกษา แนวคิดเอกชนมองว่าคนเข้าไปเรียนใน ม.กรุงเทพ จ่ายเงิน การเข้าไปเรียนต้องคุ้มค่ากับสิ่งที่รับ แต่ TSU มองเรื่องได้รับพระราชทานปริญญา แต่ไม่ได้ใช้ความได้เปรียบกับสิ่งที่นักศึกษาควรได้รับ

5. TSU วิทยาเขตสงขลาเรื่องพื้นที่ของนักศึกษามีน้อยมาก TSU น่าจะมีที่ ๆ สวยงาม เพื่อ Support ตรงนี้ ในบางสาขาเสมือนเป็นการลงทุน บางสาขาใช้เงินพอสมควร เช่นภาพยนตร์ ลงทุนสร้างโรงถ่าย แต่ TSU เมื่อคิดสร้างอะไรขึ้นมาสักอย่างต้องดูความพร้อมก่อน ไม่พร้อมไม่ทำ แต่มองที่ ม.กรุงเทพว่าเป็นการลงทุน เมื่อมีชื่อเสียง รายได้ที่กลับไปนั้นคุ้มทุนในภายหลัง ถือว่ามีระบบการบริหารจัดการที่สำคัญ

รองอธิการบดีต้องมีโครงการในการขับเคลื่อน และให้พื้นที่สำหรับนักศึกษา 20 % เพราะอยากให้ใช้บริการในม.กรุงเทพมากกว่าออกไปใช้ข้างนอก

6. เรื่อง Branding จะใช้ตัวย่อหมดเลย แต่ม.ทักษิณ อาจสร้างโลโก้หรือตัวอักษร เช่น N/W เน้นการสร้างโลโก้ที่จำได้และติดตลาดมากขึ้น จะพบว่าคนเรียนมากขึ้น อีกเรื่องคือการสร้างบรรยากาศให้เด็กคิดสร้างสรรค์ ช่วยออกแบบภายใน

7. เราต้องเข้าใจว่าคุณสุรัตน์ เป็นใคร ม.กรุงเทพ มี Spa Advertising เพราะฉะนั้นวิธีคิดเป็นสิ่งสำคัญ เป็นการจัด Space ที่มี Interactive แต่ TSU ไม่คิดตรงนี้ ใช้ความรู้มากกว่าความคิด สิ่งนี้เป็นสิ่งที่อันตราย ดังนั้นวิธีคิดสำคัญ ความรู้มี Smart Phone แต่ความคิดเป็นเรื่องสำคัญมาก เราได้ความรู้อย่างไร แต่เราคิดอย่างไร ความคิดดี ๆ ต้องมาจากการเลือกอย่างมืออาชีพ

ดร.จีระ กล่าวเสริมว่า ระบบ Top Down มีการ Assume Authority ในตำแหน่งต้องเลิกคิดตรงนี้ ต้องช่วยกันคิด ต้องมี Safety ในการดำรงชีวิตที่นี่

8. CLC ทำได้ เคยไปสร้างที่มาเลเซียมาแล้ว และเชื่อว่า TSU ทำได้ แต่สิ่งที่ฝากไว้คือเราต้องใช้มืออาชีพ คนไทยไม่เชื่อมั่นในศาสตร์ของศิลปะ เช่นโลโก้มีศาสตร์ที่ทำอย่างไรให้เขาสนใจ แต่ท้ายที่สุดแล้วมีนโยบายมาจริงหรือไม่ว่าจะเอาอย่างนั้น แต่มั่นใจว่าเราทำได้ และดีใจที่ทุกคนเล็งเห็นคุณค่างานออกแบบและ Space Planning

9. รู้สึกดีใจมากที่จะได้ทำงานร่วมกัน เพราะอาจารย์แต่ละสาขาจะได้มีการช่วยกัน Design ออกแบบในการทำงานร่วมกันในการออกแบบว่าต้องการเป็นแบบไหน

ปัจจัยสำคัญต้องมีการใช้เวลาในการค่อย ๆ คิดแล้วหา Budget ต้องมองเรื่อง Realistic Scale

การร่วมแสดงความคิดเห็นของ SCG

1. ชอบในส่วนของการรับคนเข้ามาตั้งแต่เริ่มต้นและมองคนในทิศทางเดียวกันเป็น SCG แบรนด์ให้ได้ อย่าง TSU มีทั้งที่เป็นศิษย์เก่า และ Staff มุมมองบางคนยังมีแนวคิดไม่เหมือนกัน การที่จะจูนให้คนในองค์กรมีจุดมองร่วมกันเรื่องการเตรียมความพร้อมของคน คิดว่าสำคัญ ถ้าอาจารย์มองทิศทางเดียวกันจะทำให้ถ่ายทอดในทิศทางเดียวกันซึ่งสำคัญมากในการถ่ายทอด

2. การคัดคนเก่ง ถ้ามีวิธีที่ไป Roadshow มีการลงไปสร้างภาพให้เห็นก็จะได้ระดับครีมขึ้นมา อย่าง SCG ใช้เวลาเป็นเดือน อย่าง TSU อาจใช้เป็นอาทิตย์และเพิ่ม CSR

3. SCG ให้ความสำคัญกับสุขภาพ fit for work และ fit for life เป็นอย่างไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพได้

4. ชอบผู้บริหารของ SCG มากเนื่องจากไม่สบายหนักมากแต่เห็นว่า TSU เป็นสถาบันการศึกษาก็พร้อมทุ่มเทอยากให้ผู้บริหารทักษิณมองภาพกว้างและส่วนรวม มีการรักษาคนได้ดี ส่งคนไปต่างประเทศ มีทุนต่าง ๆ มากมาย แต่ TSU ไม่ค่อยได้มีการถามว่าคนออกไปเพื่ออะไรไม่ยื้อคนไว้ หลายคณะเสียไป เหมือนผลิตอาจารย์เก่ง ๆ น่าจะมีกระบวนการรักษาและยื้อคนเก่งไว้ และอีกเรื่อง SCG มีกิจกรรมมากมายที่ทำร่วมกันอย่าง TSU น่าจะมีการคิดกิจกรรมที่ทำร่วมกัน และเน้นเรื่องรักษาคนให้นานที่สุดด้วย

5. SCG สร้างองค์ความรู้จากงานวิจัย ตั้งแต่บ้านแบบไหนใช้ Solar Cell มีการสร้างบ้านสำหรับที่พักคนชรา ประเด็นคือเขาสร้างงานวิจัย ลงทุนงานวิจัย แต่ TSU ไม่ได้มองถึงงานที่จะเกิดขึ้นในข้างหน้า เพราะ Concept ดีแต่บางครั้งลงทุนไม่ทัน

6. ปัญหาของ TSU ไม่ว่าจะเป็น Brand Facility เป้าหมายต่าง ๆ เห็นการเปลี่ยนแปลงทุกคน พบว่าปัญหาเหมือนเดิม เช่นการออกแบบตึก ถูกปัญหา Top down เราไม่รู้ว่าจะออกแบบเป็นอย่างไร เป็นปัญหาที่สะสมมานานตั้งแต่ผู้ใหญ่ทั้งหมด

สรุปอยากให้สิ่งที่สื่อสารนำเสนอไปสู่ผู้บริหารระดับสูงด้วย ข้อมูลในการสื่อสารจะไปถึงผู้บริหารได้อย่างไร สิ่งที่คิดอาจมีการเสนอเป็นโปรเจคที่จะนำเสนอถึงผู้บริหารเป็นต้น


สรุปการบรรยายวันที่ 4 พฤษภาคม 2559

วิชาที่ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

บรรยายโดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

สิ่งที่ควรทำคือปรับระบบการเรียนการสอน จากแต่ก่อนเล่าให้ฟังได้ แต่ปัจจุบัน Google มีหมดเลย สิ่งที่ต้องทำคือปรับระบบคิด

1. ให้เด็กรู้จักตนเองว่า เด็กคืออัจฉริยะในเรื่องในเรื่องหนึ่ง และจะสนุกกับการเรียนมาก สิ่งที่ทำคือทำให้ประเทศเก่ง ตัวอย่างเช่น Mark Zuckerberg , Steve Jobs , Bill gates

2. เวลาสอนหนังสือสิ่งที่เด็กจะได้รับไม่ใช่ความรู้ แต่การเรียนในมหาวิทยาลัยคือการสร้างวิธีการหาความรู้

โลกคือการเปลี่ยน

สิ่งที่ต้องทำคือ การปรับระบบคิด

ได้ยกตัวอย่าง ทฤษฎีเกมส์ Game Theory ต้องเริ่มจากคำนวณ และการเล่นหมากรุก ที่น่าสนใจคือการสอนเรื่องระบบคิด ระบบคิดช่วยอธิบายระบบคิดและอนาคตอย่างไร หัวใจสำคัญไม่ใช่คำตอบ

ยกตัวอย่าง ให้ลองคิดว่าถ้ามีคน 3 แบบ ดังต่อไปนี้ ถามว่าคนไหนมีประสิทธิภาพหรือฉลาดที่สุด

คนที่ 1 มีประเด็น 2 ประเด็น เขียนสีเหมือนกัน

คนที่ 2 มี 2 ประเด็น แต่มีการระบายสี 2 ประเด็นไม่เหมือนกัน

ข้อมูล 2 ตัวนี้ถามได้หรือไม่ว่าใครมีประสิทธิภาพหรือฉลาดมากกว่ากัน

- คนที่ 1 แยกไม่ออกว่าอะไรสำคัญ

- คนที่ 2 แยกออกว่าบางเรื่องสำคัญบางเรื่องไม่สำคัญ โดยทาสีสิ่งที่สำคัญ

เพิ่มคนที่ 3 มีการแยกประเด็นเพิ่มระบายสีเข้มมากขึ้น

- คนที่ 3 ฉลาดกว่าคนที่ 2 เพราะมองว่าสิ่งที่ไม่สำคัญตัดไปเลย และเรื่องที่สำคัญ มีมองว่าสิ่งไหนสำคัญที่สุด สังเกตได้ว่าคนประเภทนี้จะสามารถเลือกได้ว่าสิ่งไหนควรทำ ไม่ควรทำ ภายในระยะเวลาจำกัด จึงขอฝากไว้สำหรับคนที่มีข้อมูลมาก ๆ

อย่ายิ่งเรียน ยิ่งรู้ ยิ่งรู้ ยิ่งลึก ยิ่งลึก ยิ่งโง่ ระวังโรคสำรักข้อมูลความรู้ รู้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องที่ตัวเองต้องรู้

รศ.ดร.สมชายได้ ยกตัวอย่างต้นไม้ 3 ต้น แล้วถามว่าอาจารย์สมชายจะสอนแบบไหนเป็นประโยชน์ต่ออาจารย์ในห้อง

1. ต้นไม้มีเมล็ดพันธ์ ลำต้นและ กิ่งเยอะ เป็นการสอนแบบใช้ตา และหู เป็นการสอนแบบข้อมูล

2. ต้นไม้มีลำต้น และกิ่ง เป็นการทำนายอนาคตระยะสั้น

3. ต้นไม้มีเมล็ดพันธ์ และลำต้น การทำนายอนาคตที่ยาวกว่า มองเห็นอนาคตระยะกลาง แต่ยังขาดยาว

หัวใจสำคัญของ Change Management คือการเห็นอนาคต

4. อาจารย์ให้เมล็ดพันธุ์ อย่างเดียว

คำตอบคือจะสอนแบบบอกเมล็ดพันธ์ เป็นการทำนายต้น และกิ่ง สั้น กลาง ยาว คือต้องการวิสัยทัศน์

ฉลาดแบบมนุษย์ต้องมีความรู้ระดับหนึ่งแล้วขยายสู่หลายระดับ เมล็ดพันธุ์แห่งการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาเป็นระบบเชื่อมโยงไปหมด

ทุกวันนี้เมล็ดพันธุ์นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์

มนุษย์หยุดเร่ร่อน สิ่งที่ตามมาคือ Settlement คือสังคม ที่ดินเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด

เด็กคือสัญชาติญาณสัตว์แต่ประเสริฐได้เพราะมีการเตือนการสอน

วิธีการรับความรู้มี 2 แบบ

1. รู้โดยตรง

2. รู้ทางอ้อม

ในยุคที่ 1 สังคมเกษตร เมื่อมนุษย์ยังมีความเป็นสัตว์และมองว่าที่ดินสำคัญมากจะเกิดการแย่งกัน เกิดอาณาจักรโรมัน เกิดสังคมทาส เกิดการขยายดินแดน

ในยุคที่ 2 สังคมอุตสาหกรรม คนที่เป็นเจ้าของที่ดินใหญ่ที่สุด การค้าอยู่ในมือของพระมหากษัตริย์ เมื่อมนุษย์ฉลาดควรให้คนนั้นมีอิสระเสรี ทำกิจการเอง จึงนำสู่ อดัม สมิท นักเศรษฐศาสตร์

คนพบเมล็ดพันธุ์ เครื่องมือผลิต สู่ยุคอุตสาหกรรม 1 คือเครื่องจักรไอน้ำ มีการขยายล่าอาณานิคมเมื่อ 200 ปีที่แล้ว

เกิด Mass Production

ในยุคที่ 3 สังคมไอที IT (Information Technology) จะประกอบด้วยองค์ประกอบเป็น 2 กิ่ง คือ คอมพิวเตอร์และเทเลคอม

คอมพิวเตอร์สร้างมิติใหม่ในการแข่งขัน 3 มิติ

1. ข้อมูลทั้งหมดอยู่ในคอมพิวเตอร์ เป็นมิติทางลึกในการเก็บข้อมูล มิตินี้กระทบกับสังคมหรือไม่ อาทิ ร้านหนังสือเจ๊ง การศึกษาเปลี่ยนใส่ความรู้ใน IPhone IPad

2. การเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อาทิจากดิจิตอล โกดักเจ๊งเพราะการเปลี่ยนแปลงโลกดิจิตอล ไม่ใช่ภยันตราย

ความรวดเร็ว การศึกษากำลังเปลี่ยนแปลงเยอะมาก ดังนั้นโลกต้องทัน

3. มัลติมีเดีย

เทเลคอม สร้างมิติ

1. Intranet ต้องมี KPI ที่สามารถดูได้ตั้งแต่ลงทะเบียน

2. Extranet ทำให้โชว์ห่วย เจ๊ง ไม่มีสินค้าคงคลัง เป็นระบบ JIT ซึ่ง Supplier บางที่รวยมากบอกว่าจะทำแบบเดียวกันอย่างสหพัฒน์เปิด 108 Shop แต่ยังสู้ไม่ได้ ตอนหลังไปซื้อ Lawson

3. Internet สามารถทำให้เข้าถึงโลกทั้งหมดได้

การประชุมที่ Davos พูดถึงการปฏิรูปอุตสาหกรรมในยุคที่ 4 ที่เป็นการผสมผสานระหว่าง IT , Biotech , Nano หมายถึงกำลังเข้าสู่ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก Robot รถไม่มีคนขับ แบงค์จะเกิดเป็น Digital Banking พนักงานจะลดลงไม่ต่ำกว่า 25-30%

โลกาภิวัตน์เกิดจากการแผ่ข้อมูลไปสู่โลก และจะทำให้สังคมโลกเปลี่ยนแปลง

1945 – 1989 สังคมโลกและสังคมในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลง

1989 เป็นจุดจบของคอมมิวนิสต์ หมายถึงประเทศแตกเป็นเสี่ยง ๆ อย่างสหภาพโซเวียตแตกเป็น 15 ประเทศ คอมมิวนิสต์ล่มสลายมีความหมาย 3 ประการ ประเทศเปลี่ยนในทางเศรษฐศาสตร์เป็นทุนนิยม เปลี่ยนจากเผด็จการเป็นการเลือกตั้ง เริ่มจากโปแลนด์ ขับไล่เช็คโก และทำลายเบอร์ลิน

เป็นไปได้หรือไม่ที่ล่มสลายจากระบบ IT

จาก IT สู่โลกาภิวัตน์ข้อมูล นำสู่โลกหลังสังครามเย็น เหมือนเด็กทารกเกิดใหม่ 1997 ทำให้เกิดการขยายตัวของประเทศเกิดใหม่ ประเทศต่าง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักเราต้องเรียนรู้มากขึ้น อย่าง คอสตาริกา ปานามา กัวเตมาลา นิการากัว เป็นต้น กระทบเรื่องหลักสูตร เกี่ยวข้องกับสิ่งนี้เยอะมาก โลกเปลี่ยนจากความมั่นคงสู่การแข่งขันทางการค้า ถ้าโลกยังอยู่ในยุคสงครามเย็น ทหารจะมีอำนาจแต่ถ้าหลังสงครามเย็นทหารจะหมดอำนาจ เปลี่ยนเป็นทางการค้าเป็นใหญ่ พอทหารหมดอำนาจ นายกฯ นักธุรกิจไม่ดี ก็กลับเป็นทหารใหม่

การเมืองการปกครองแต่ละประเทศเปลี่ยนหมดเลย โลกกาภิวัตน์แผ่ไปทุกจุด โลกาภิวัตน์เป็นโลกาภิวัตน์ทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม คอมมิวนิสต์เหลือเพียง 2 ประเทศคือเกาหลีเหนือกับ จีน อย่างจีน จะพูดว่าห้ามพูดเรื่องเศรษฐกิจในทางไม่ดี

เกิดการขยายตัวของ Human Right ทำให้ธุรกิจพังเช่นเรื่องประมง เรื่องสิทธิมนุษยชน

โลกาภิวัตน์ในทางเศรษฐกิจจะช่วยให้เจริญ อาทิ การซื้อกิจการ H&M Leicester

โลกาภิวัตน์ทางสังคม วัฒนธรรม อาทิ วิถีชีวิตการทานอาหารเปลี่ยน อาหารไทยขายไปสู่ทั่วโลก อาหารญี่ปุ่นขายดีเพราะสุขภาพ แต่อาหารจีนคนกินน้อยลงเพราะไขมันเยอะ เกิดการขยายตัวของตึก รถติด เกิดคนรวยรุ่นใหม่ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์เช่นแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ศุภาลัย เกิดอาหารฟิวชั่น

ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยคือทำให้เกิดหลักสูตรใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเช่น อาหาร อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

โลกาภิวัตน์ทำให้เปิดเสรี การค้า การบริการมีสะดวกมากขึ้น GATT หลัง 1 มกราคม 1993 ต้องกลายเป็น WTO เกี่ยวกับค้าปลีกคือ

สังคมที่โง่คือสังคมเกษตร สังคมฉลาดเป็นสังคมอุตสาหกรรม สังคมฉลาดมากใช้สมองมากคือสังคมบริการ กลายเป็น WTO เกิดปรากฎการณ์ที่กระทบกับไทย ประเทศไทยต้องแก้ข้อกฎหมายที่กระทบกับ WTO ในปี 1993 รัฐบาลต้องฉลาดในการปรับตัวให้ทัน

เมื่อโลกเปิดเสรี แบงค์ชาติปรับตัวไม่ทัน อัตราแลกเปลี่ยนจากเดิมที่เคยอยู่ในระบบตะกร้าผูกพันกับดอลล่าร์คือ 26 บาทเท่ากับ 1 ดอลล่าร์ ได้เปลี่ยนไป ประเด็นสำคัญจึงอยากบอกว่า หัวใจสำคัญอยู่ที่อนาคต เพราะอนาคตเปลี่ยนแปลงมากพยายาม Shift มองอนาคต กับดักอันหนึ่งคือ อย่าเชื่อคนอื่นมาก อีกกับดักคือการมองแต่ตัวเองมากเกินไป

การเปิดเสรีบริการ ตัวอย่าง AIA อาจมีปัญหา แบงค์ที่ปรับตัวไม่ทันจะเจ๊ง เช่น ศรีนคร กรุงเทพพาณิชยการ ส่วนแบงค์ที่อยู่รอดคือแบงค์ที่ร่วมกับต่างประเทศ หรือแบงค์ที่ต้องปรับตัวหนักมากคือไทยพาณิชย์ K-Bank โครงสร้างแบงค์เปลี่ยน ต้องคุยภาษาอังกฤษได้

ดังนั้น ในนามของมหาวิทยาลัยจึงหนีไม่พ้นการมองในเรื่องโลกาภิวัตน์ เพราะต้องผลิตนักศึกษาไปสู่โลก

เปิดเสรี AIA เจ๊ง แบงค์สามารถทำอะไรก็ได้ เป็น Universal Bank แบงค์ทำประกัน ประกันชีวิต ประกันภัยต้องแข่งขันมากขึ้น มีการรวมกันระหว่างแบงค์กับประกันภัย เช่น KBank กับไทยประกับชีวิต

กระทรวงพาณิชย์ต้องการคนจบ Intellectual Property ด้านหนึ่งกว้างอีกด้านต้องลึก

ดังนั้นหลักสูตรเหล่านี้ต้องเตรียมล่วงหน้า และเมื่อโลกเปิดเข้าสู่ยุคเสรี หลังสงครามเย็นอเมริกาไม่มีคู่แข่ง ประเทศใหญ่โตต้องได้ Zero Zum Game ดังนั้นประเทศเล็กจะทำอย่างไรให้ไม่เป็นผู้แพ้ คนฉลาดจะไม่ใช้ Zero Zum Game ยกเว้นคิดว่าจะชนะ แต่จะใช้การร่วมกัน Merger อย่าง AEC เป็นต้น เกิดการรวมตัวแบบ EECทุกอย่างต้องเริ่มต้นที่เขตการค้าเสรี หมายความว่า

อาเซียนรวมตัวตั้งแต่ปี 1967-1992 แต่ยังมีอุปสรรคด้านสินค้าคือเรื่องกำแพงภาษี และโควต้า ในปี 1993 เกิด AFTA ไม่มีเก็บภาษีนำเข้า ดังนั้นถ้าเรามีรัฐบาลที่ดีจะสามารถทำนายได้ว่า อีก 15 ปีหลังจากปี 1993 กำแพงภาษีจะเหลือ 5 % แต่ถ้าคนในเมืองไทยฉลาดจะเก่งกว่ารัฐบาลทั้งนั้น ตัวอย่างมหาเธร์ โมฮัมหมัด มาเลเซีย มีการส่งเสริมการรวมกลุ่ม AFTA ตั้งแต่ไม่ถึงปี 1993 มีการรวมกลุ่มกับจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เรียก EAEC ซึ่งในวันนี้กลายเป็น ASEAN+3 จะลดกำแพงภาษี สัญชาติอาเซียน AFTA ไม่ส่งผลกระทบ และมีข้อดีคือตลาดกลายเป็น 500 กว่าล้านคน ยุทธศาสตร์คือ มาเลเซียเลิกปลูกยางพารา แต่ซึ้อยางพาราจากไทยแทน และประเทศมาเลเซียจะหันมาทำ Zoning น้ำมันปาล์ม หมายถึงสิ่งที่มาเลเซียทำ ในปี 1990 ไทยเพิ่งมาทำเมื่อปี 2015 มาเลเซียทำระดับกลาง สิงคโปร์ทำระดับบน แต่ไทยยังคงทำระดับเดิม

ในปี 2003 ตั้งเป้าหมายว่า ปี 2020 ต้องบรรลุวัตถุประสงค์ ไม่มีจุดหมายปลายทาง ในการประชุมที่เซบู 2017

AEC ให้บริการด้านท่องเที่ยว IT Healthcare สุขภาพ ท่องเที่ยว หลังจากนี้ในปี 2015 จะเป็น Most Flavour Nation คือการปฏิบัติต่อต่างชาติดุจเดียวกัน ตัวอย่างต่างชาติถือหุ้นได้ 49% ถ้าใช้ National Treatment Banking Finance ภาคการศึกษา การบัญชี การท่องเที่ยวมีการเปิดเสรีบริการให้คนในท่องเที่ยวถือได้ 70-100% และอีกหน่อยจะถึงจุดเปิดเสรีแรงงานไม่มีฝีมือ และอีกหน่อยจะเป็นนิตินัย ประเทศไทยจะอยู่ได้อย่างไรถ้าไม่มีแรงงานจากต่างประเทศ

เขตการค้าเสรี ยังมีอุปสรรคจากต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษี ได้แก่ มาตรฐานสินค้า มาตรฐานสุขอนามัย ต้องมีการปรับมาตรฐานสินค้า และต้องขจัดอุปสรรคทางเทคนิค

ทุกแห่งที่มีการรวมกลุ่มแบบเขตการค้าเสรีต้องมีการปรับถนนหนทางและการขนส่ง โครงการนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เป็นสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อันที่ 2 เป็นความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศที่อยู่ติดจะเชื่อมโยง Corridors

1. Corridors ตะวันตก มีเว้ ดานัง สุวรรณเขต มุกดาหาร ขอนแก่น พิษณุโลก แม่สอด พิษณุโลก มะละแหม่ง มะลำไย บังคลาเทศ ศรีลังกา

2. Corridors เหนือ มี ลาว เมียนมา เชียงราย เชียงใหม่ กรุงเทพฯ

3. Corridors ใต้มี ประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน มาเลเซีย

เส้นเหล่านี้เป็นเส้นที่รัฐบาลไม่ว่ายุคไหนที่ต้องทำ มีการทำนายว่าจะมีการทำเส้นทางจากหัวหินไปสู่มาเลเซีย

เส้นที่ 1 กรุงเทพ กัมพูชา ตะรุเตา เวียดนาม

เส้นที่ 2 ตราด เกาะกง ดานัง

ประเทศจีน ก็มีเส้นทางสายไหมจากปักกิ่ง ยูนนาน ไปเชื่อมต่อที่เกาะบิอูส เพราะต้องการพึ่งพาน้ำมันจากซาอุดิอาระเบีย และได้ข่าวว่าจีนอยากได้คลองคลอดกระ เพราะลดเส้นทางขนส่งน้ำมัน

เส้นที่ 3 จากมอสโก ออสเตรีย ไซบีเรีย

พบว่าที่อีสานที่ดินจะขึ้น 30% โดยเฉพาะรอยต่อ เส้นทางเหล่านี้ทำให้เกิดเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เกิดการค้าชายแดนมหาศาล เช่นแม่สอด เมียวดี มุกดาหาร สะเดา อรัญประเทศ เกาะกง

ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นนายกฯ คนใดก็ตามก็ต้องทำเส้นทางเหล่านี้ให้เกิดขึ้น

จีนได้หนองคาย มาบตาพุด แก่งคอย กรุงเทพฯ แต่ยังตกลงไม่เสร็จเรื่องดอกเบี้ย และผลประโยชน์

รัฐบาลญี่ปุ่นกับไทย ทำเป็น 3 Phase

เส้นทางการเชื่อมโยง กรุงเทพฯ ลพบุรี นครสวรรค์

ได้ข่าวว่าประเทศไทยจะร่วมกับญี่ปุ่นพัฒนาเส้นทางที่ทวายและไปจบแหลมฉบัง

สรุปคือโครงการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศ แต่ที่สร้างช้าเพราะจีนมีปัญหา ไทยสามารถขับรถจากสิงคโปร์มาเลเซีย ไทย ลาว ยูนนาน ปักกิ่ง ยุโรปตะวันออก มอสตาริโก

คาดว่าอีก 20 ปีข้างหน้าโลกจะมาลงทุนมากขึ้น

ASEAN+6 มีการตกลงทำเขตการค้าเสรีกับ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย นิวซีแลนด์ ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของ RCEP (อาเซียน อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ที่ต้องจบภายในปี 2016 และอีก 10 ปีข้างหน้าจะได้ยินคำว่าประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก และจะไปสู่ APEC และ TPP (Trans-Pacific Partnership) ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐ และเวียดนาม

APEC มีการรวมตัวที่เข้มข้นมาก ใน 21 ประเทศมี 12 ประเทศจัดตั้ง TPP ซึ่งไม่มีไทย และเมื่อ TPP ผ่านไทยจะมีปัญหา เพราะ TPP เป็นเครื่องมือของอเมริกาในการถ่วงดุลจีน ซึ่งจะมีเรื่องการจัดซื้อโดยรัฐ และถ่วงดุล

สินค้าจีนส่งไปอเมริกาเสียภาษี แต่สินค้าจีนส่งที่ญี่ปุ่นไม่เสียเพราะเป็น RCEP สินค้าจีนส่งไปที่ญี่ปุ่นในฐานะ RCEP มาตรฐานของ TPP สูงสุดจะไม่รับจีนเพราะไม่มีมาตรฐานเทียบเท่า สินค้าไทยส่งไปอเมริกาเสียภาษีมากกว่าเวียดนาม ทำให้การลงทุนสินค้าไทยมีปัญหาคือส่งไปอเมริกา นิวซีแลนด์ เม็กซิโก เสียภาษี ญี่ปุ่นไม่เสียภาษี แต่ต่อไประเทศญี่ปุ่นอาจจะไม่รับสินค้าไทยเพราะไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นเวลาลงทุนด้านการผลิตสินค้าในอนาคตประเทศอื่นอาจเลือกที่จะไปลงทุนที่เวียดนาม หรือมาเลเซียแทนที่จะมาตั้งฐานการผลิตที่ประเทศไทย

สรุปคือ โลกเปลี่ยน และกระทบกับทุกคนเยอะมาก

1. ลูกค้าอื่นเข้ามามาก ลูกค้าเป้าหมายมาจากทั่วโลก

2. การแข่งขันแบบนี้ มีมหาวิทยาลัยดี ๆ แข่งกัน

3. หลักสูตรเปลี่ยนมาก

สิ่งที่ตามมาคือกฎหมายต่าง ๆ มีการใช้เรื่องของสาร เรื่องกฎหมายต่าง ๆ เรื่องก่อการร้าย ทางด้านวัฒนธรรมมีการรองรับหลักสูตรเหล่านี้หรือไม่ สินค้าส่งออกมีการรวมกลุ่มเยอะมาก เป็นตลาดร่วม ประชาคมยุโรปรวมกับนอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ ….. สวิสเซอร์แลนด์ และกำลังมีการทำข้อตกลงระหว่างอเมริกันกับประเทศทางฝั่งยุโรป เป็นต้น

การต่อต้านโลกาภิวัตน์กลายเป็นการก่อการร้าย และต้นเหตุก่อการร้ายคือการปะทะกันทางอารยธรรม

โลกาภิวัตน์คือการแผ่ทุนนิยม เป็นทุนนิยมสามาลย์ มีการต่อต้านทุนนิยม ต่อต้านคอรัปชั่น มีการต่อสู้เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน การต่อต้านของคนแก่ เกิดกระแสความเป็นโบราณ เช่นกาแฟโบราณ มีการดัดแปลงผสมผสานระหว่างโบราณกับโลกาภิวัตน์ เกิดการขยายตัวของชาตินิยม เกิด หนังเรื่องแดจังกึมทำให้คนนิยมในวัฒนธรรมเกาหลี เกิดความนิยมในอาหารไทยไปทั่วโลก เกิดอาหารผสม Fusion และเกิดดนตรีผสม เป็นต้น

สรุปคือ โลกมีประเทศเกิดใหม่มากขึ้น เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในโลกมากขึ้น น้ำในขั้วโลกเหนือละลาย ความร้อนสูงขึ้น ส่งผลอันตราย และจะทำให้คนไม่มีที่อยู่ในอนาคต น้ำท่วมโลกแน่นอน เปลือกโลกเปลี่ยนแปลง มนุษย์จะใกล้สัตว์มากขึ้น ดังนั้นในส่วนของมหาวิทยาลัยควรปรับให้มีหลักสูตรใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น วิถีชีวิตคนจะเริ่มเปลี่ยนไปมากขึ้น มีการกีดกันโลกร้อน การปรับเปลี่ยนการใช้แอร์ลดลง ใช้รถยนต์ลดลง เป็นต้น

วิชาที่ Case Studies and Intensive Management Workshop : TSU and Change Management

Workshop

แต่ละกลุ่มกำหนดยุทธศาสตร์ของ TSU เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ได้เรียนรู้ไปเมื่อเช้านี้

- บุคลากร (ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน)

- หลักสูตร

- การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน

- นิสิต

- การบริการวิชาการ

- การวิจัย

- อื่น ๆ

กลุ่มที่ 1 ยุทธศาสตร์ของ TSU เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

ด้านบุคลากร คิดว่าการพัฒนาบุคลากรทางภาษา อังกฤษ จีน มาเลเซีย

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

New Global Trend ความต้องการของโลกไปถึงไหนแล้ว ทั้งฝ่ายสนับสนุนและอาจารย์ที่ทุกคนควรเป็นภาพเป็น Big Picture

การผลิตนักศึกษา พัฒนาผู้เรียน พัฒนาหลักสูตร Online Learning English Porgram มีการถามและค้นคว้า มีการศึกษาแบบ Visual IT ,Electr0nic Library การวิจัยและบริการน่าจะเป็นการบูรณาการแหล่งความรู้ บางส่วนได้จากชุมชน และภาครัฐควรสนับสนุนเพื่อนำผลวิจัยไปต่อยอด

การจัด International Conference

มีการสร้างหลักสูตรเพื่อสนองคน และอบรมคน

การบริการทางวิชาการควรมีการพัฒนาทาง IT

Good Governance ทุกอย่างน่าโปร่งใส

พยายาม ปรับ Happy workplace

การ Empowerment และ Decentralize

การมองผลลัพธ์ และ Productive และ

การทำ KM

กลุ่มที่ 2

ไม่ว่ายุทธศาสตร์จะเป็นอย่างไร เราจะมุ่งมั่นไปที่บัณฑิต คือต้องการให้บัณฑิตมีลักษณะอย่างไร ก็สร้างขึ้นมา เช่น Innovative สร้างสรรค์

เราจะมีอะไรมา Support คือ น่าจะเป็นหลักสูตรสหวิทยามากขึ้น มีการผสมระหว่าง Science และ Social Science

มีการข้ามคณะมากขึ้น เป็นลักษณะของ Platform อาจารย์แต่ละท่านถนัดหลักสูตรไม่เหมือนกัน

เป็น Active Learning มากขึ้น

การบริการทางวิชาการทุกอย่างต้อง Serve ร่วมกัน

งานวิจัย ต้อง Innovate Creative และทำงานร่วมกัน ผสานกัน

กลุ่มที่ 3

1. ทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นคือเรื่องภาษา และ IT ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยห้ความสำคัญด้านนี้แล้ว

2. หลักสูตรต้องตอบสนอง เป็นสหวิทยาการ และเป็นสองภาษา

3. การจัดการหลักสูตร ผู้บริหารต้องเปิดใจและมองเห็น เปิดตา เปลี่ยนวิสัยทัศน์ ฟังผู้ใต้บังคับบัญชา

4. ครูต้องช่วยอำนวยความสะดวกกับนิสิต ให้คำปรึกษา และเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนรียนเอง และเด็กต้องมีการเรียนรู้มากขึ้น ปฏิบัติมากขึ้น เน้น IT Based เน้นการช่วยเหลือมากขึ้น ความหลากหลายมากขึ้น มีผู้สูงอายุมาเรียนกับเราเป็นต้น

5. การฝึกอบรม เช่นมีโครงการทำอย่างไร ช่วยเหลือชาวนา เกษตรกร ต้องมีหลักสูตรที่หลากหลาย สามารถเรียน Online หรืออะไรได้

6. การวิจัยต้องตอบสนองแนวโน้มโลก พหุวิทยากร สังคมและเป็น Big Impact เท่านั้น เช่นในอนาคตถ้าเจอสภาพแวดล้อมแห้งแล้งเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ทุกคนต้องช่วยกันคิด

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ในตอนเช้าได้เรียนว่า บางเรื่องสำคัญ บางเรื่องไม่สำคัญ บางเรื่องโคตรสำคัญ

การบริหารยุทธศาสตร์ต้องดูภายในด้วย

Change เปลี่ยนแปลง เมื่อโครงสร้างประชากรเปลี่ยน คนแก่จะเพิ่มมากขึ้น รายได้จะหายไปมากขึ้น จะทำอย่างไร รัฐบาลต้องเสียภาษี และออกนอกระบบ แต่ละคนต้องช่วยตัวเอง จะหาเงินจากไหน

2. ต้องมองตัวเองว่ามีงบประมาณเท่าไหร่ มีจุดอ่อน จุดแข็งอะไร รู้ว่าตัวเราชอบอะไร

3. มหาวิทยาลัยต้องสร้างแบรนด์ แบรนด์จะติดตลาดได้อย่างไร

Branding คือ

1. Brand Awareness คือรู้จักว่าเป็น ม.ทักษิณ

2. Brand Image คือ ดี หรือเลว เป็นไปได้หรือไม่ที่รัก ม.ทักษิณแต่ไม่มาเรียน อาจเพราะรักคนอื่นมากกว่า ม.ทักษิณ เป็นต้น

ดังนั้นวิธีการสร้างต้องรู้จัก Brand Equity คือ สินทรัพย์ของแบรนด์ หรือเนื้อหาของแบรนด์ เช่นร้านอาหารดีอย่างไร สุภาพเรียบร้อย สะอาด สถานที่ดีมาก อร่อย เราต้องรู้ว่ามีบางเรื่องสำคัญกว่าบางเรื่อง อร่อย ต้องอร่อยสำหรับลูกค้า และลูกค้าระดับไหน ล่าง กลาง บน เช่นเดียวกับ ม.ทักษิณ ลูกศิษย์เป็นระดับไหน ดังนั้น Brand Equity แต่ละที่ไม่เหมือนกัน

ดังนั้นคนจะรักต้องเทียบกับ Benchmark กับคู่แข่ง ไม่จำเป็นต้องเหนือทุกเรื่อง แต่เหนือบางเรื่อง และต้องปรับปรุงตลอด เช่น อาหารคงเส้นคงวา แต่ปรากฏมีคู่แข่งมาอร่อยกว่า ดังนั้นเราต้องปรับ หรือบางทีอาหารอร่อยเท่าเรา แต่ราคาถูกกว่า เราต้องปรับหรือไม่ หรือบางทีคนเปลี่ยนพฤติกรรมการกินไม่กินเนื้อแต่เราทำเนื้ออร่อย เราอาจเพิ่มหมูเป็นต้น

ตัวอย่างการสร้างแบรนด์ ของ Shell Esso PTT มีการสร้าง ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้องน้ำ และพัฒนาด้านอื่น ๆ เป็นต้น

สรุปคือ การสร้างแบรนด์คือมีหลายคณะ แต่ต้องดูว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งอะไรบ้าง เช่น จุฬา กับธรรมศาสตร์ไม่เหมือนกัน ที่ฮาวาย เก่งอะไร ดังนั้นวิธีการสร้างแบรนด์คือจุดแข็งเรามีด้านไหนและทุ่มไปด้านนั้นเพื่อสร้างแบรนด์

เช่น ดร. สมชายเก่งทางด้านการสร้างแบรนด์ส่วนตัว เก่งทางด้านวิเคราะห์อนาคต เศรษฐกิจการเมือง

หรืออย่างม.ทักษิณ ต้องคิดเรื่องการสร้างแบรนด์ในใจให้ได้

ม.กรุงเทพ เก่งเรื่องโรคหัวใจ จะมีคนมารักษาโรคหัวใจ แต่ต่อมาจะมารักษาโรคอื่น ๆ ด้วยเป็นต้น

การปรับตัวของมหาวิทยาลัย

1. สิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงคือลูกค้า การเปิดมหาวิทยาลัยต้องคำนึงถึงนิสิต เปิดมหาวิทยาลัยต้องเอาคนมาเรียนหรือไม่ ถามว่านิสิตจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ คำตอบคือ ไม่เพิ่มคือ เกิดลดลง แต่ที่เพิ่มขึ้นคือเกิดการเปลี่ยนแปลงจากอาเซียนและโลกาภิวัตน์จะมีนักศึกษาจากต่างประเทศมาเรียนเยอะ ดังนั้นกลุ่มนี้คือกลุ่มเป้าหมายของเรา

2. พัฒนาหลักสูตร คือการพัฒนาโครงสร้างของมหาวิทยาลัยคือเราสามารถดึงระดับมหาวิทยาลัยขึ้นมาข้างบน เราอาจสร้างคณะใดคณะหนึ่งขึ้นมา หลักสูตรต้อง Practical

ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเอกชน จำนวนนักศึกษาลดลง เพราะมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นมาก ทำอย่างไรถึงดึงนิสิต นักศึกษาเข้ามา ทำอย่างไรให้อยากมาเรียนและได้ความรู้

- ต้องเริ่มที่หลักสูตรก่อน เป็นหลักสูตรเดิมสำหรับหนุ่มสาว หลักสูตร Inter หลักสูตรสองภาษา

- เนื้อหาหลักสูตรเป็นประโยชน์ โลกกำลังแข่งขันเรื่องประสิทธิภาพ ดังนั้นหลักสูตรเดิมมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนในเรื่องหลักสูตร เรียนภาษาอังกฤษใช้ได้ หลักสูตรต้องลึกและกว้าง ต้องมีกลยุทธ์ใหม่ ๆ หลักสูตรต้องมีหลายโครงการ และแต่ละโครงการต้องมีการปรับ Inter Discipline เช่นเรียนตรีควบโท เช่น อ็อกฟอร์ด ดังนั้นคุณภาพการเรียนการสอนต้องลึก

- หลักสูตรต้องเป็นหลักสูตรใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับความร่วมมือ หลักสูตรที่ทำได้อยู่ตรงไหน

- ทำไมคนถึงไปเรียนในมหาวิทยาลัยอเมริกา เพราะสอน Mindset สอนเรื่องระบบคิด ไม่ต้องเก่งทุกเรื่อง

กระบวนการเรียนการสอน เป้าหมายคือปรับ Mindset คือมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ การศึกษาที่ดีนักเรียนต้องฉลาดกว่าอาจารย์ วัฒนธรรมการยอมรับความแตกต่าง ลูกศิษย์เก่งกว่าอาจารย์ วัฒนธรรมเหล่านี้จะทำให้โลกเจริญ ให้เขาสามารถเลือกอาชีพที่ตัวเองต้องการ อาจารย์ต้องไม่โกรธ อาจารย์เป็นเพียง Mentoring เท่านั้น

- การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ต้อง 1. IT Literacy 2. Language Literacy (เริ่มจากการจับคำศัพท์ เปิดดิกชันนารี และค่อยไปที่ไวยกรณ์ อ่านหนังสือภาษาอังกฤษเยอะ ๆ เน้นการนำไปใช้ติดดิน)

กฎการเรียนรู้คือ

- Learning

- Understanding

- Realizing

- Process

- Practice นำมาปฏิบัติได้ ยกตัวอย่างเช่น Game Theory

กฎพาเรโต 20 : 80 คือการลงทุนน้อยและได้ผลลัพธ์มาก 1. เลือกทำส่วน 20 2. มองเฉพาะเรื่องที่สำคัญ 3. คนที่ฉลาดจะเห็นสิ่งที่ไม่เหมือนกัน 4.เป็นการสอนให้ไปหาประสิทธิภาพที่ดีกว่า คือให้วิเคราะห์แล้วมาขยายผลให้ได้

3. เมื่อได้หลักสูตรค่อยมาพัฒนาคุณภาพอาจารย์ แต่หลายส่วนที่ผ่านมาเน้นพัฒนาอาจารย์ก่อน ต้องการอาจารย์แบบไหน พัฒนาแบบใด หลักสูตรต้อง Practical ดังนั้นนอกจาก IT และภาษาต้องสร้างให้เกิด Mindset และ Innovative อย่างเช่นอยู่ในศิลปะศาสตร์อย่างน้อยต้องรู้ภาษาบาฮาซา

สิ่งที่น่าเศร้าสำหรับประเทศไทยคือ ทุกประเทศรู้เรื่องของประเทศไทยมากกว่าประเทศไทยรู้เรื่องประเทศอื่น

สรุปคือ ต้องคิด Global Mindset และเตรียมที่จะไปสู่นาโน และเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น ให้หยิบเฉพาะส่วนที่สำคัญที่สุด

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

เลือกให้ถูก และมาดูแล้วว่าอะไรสำคัญ และโคตรสำคัญ สิ่งที่สำคัญคือทุกท่านมาร่วมคิดร่วมกัน และถ้ามองว่าสิ่งใดที่จะนำมาใช้ในโครงการได้ก็ดึงมาเลย

รศ.ดร.สมชายภคภาสน์วิวัฒน์

ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม เช่นทำเรื่อง Management ให้ยก Case Study มาทำและวิเคราะห์เลย

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. หน่วยงานในอนาคต ถ้าเราไปยึดโยงรัฐบาล และรัฐบาลเปลี่ยนบ่อย เพราะหน่วยงานรัฐปรับช้า แต่เอกชนเริ่มปรับไปแล้ว

เอกชนไทยไม่ฉลาด เพียงแค่รวยมากและเดินทางไปทั่วโลกและเห็นประสบการณ์มาก สิ่งที่ควรทำคือเราต้องพัฒนาการศึกษาให้ดี สิ่งที่สำคัญ ที่รัฐบาลเปลี่ยนบ่อยเพราะรัฐบาลห่วย สิ่งที่ทำคือเราต้องปรับให้ทัน ตัวอย่างสภาพัฒน์ ต้องปรับให้เป็นนักวางกลยุทธ์ แต่สภาพัฒน์ไม่ได้มองอย่างนั้น

ที่พบว่าคือนักวางกลยุทธ์ในประเทศไทยมีน้อยมาก

เราต้องท่องไว้ว่าเราเป็นเพชร สร้างเพชรให้มีค่าทุกวัน สร้างเพิ่มทุกวัน แต่ภายนอกเราไม่สามารถ Control ได้ เราจะไปได้ไกล จึงขอฝากให้ทุกคนเห็นคุณค่าของตนเอง ตัวอย่างเช่น สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง

หมายเหตุ : ส่ง Draft งานกลุ่มส่งวันที่ 15 พ.ค. 59ส่งงานเดี่ยววันที่ 28 มิ.ย. 59 ก่อนปิดโครงการฯ

หมายเลขบันทึก: 605820เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2016 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

1. สรุปการเรียนวันที่ 3-4 พ.ค. 59 ทำให้ได้เพิ่มความรู้เรื่องการสร้างแบรนด์และการรีแบรนดิง โดยต้องศึกษาว่า

มหาวิทยาลัยของเรามี brand หรือยัง มันติดตลาดหรือไม่ หรือการส่งเสริมความรักใน brand มีหรือยัง การที่จะทำเรื่องเหล่านี้ได้ต้องช่วยกันทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรฝ่ายสนับสนุน ฝ่ายวิชาการ ที่ต้องประสานกันเพื่อให้การทำงานราบรื่น อย่าทำงานแยกส่วน เพื่อให้ผู้ที่จะมาใช้ brand ( นิสิต) เกิดความรับรู้และบอกต่อ โดยส่วนตัวคิดว่าหากได้แรงสนับสนุนจากศิษย์เก่าและสถานประกอบการที่รับนิสิตม.ทักษิณเข้าทำงาน จะทำให้เกิดแรงกระเพื่อม นักเรียนม.6 จะอยากมาเรียนกับเรามากขึ้นหากเห็นบัณฑิตที่จบจากที่นี่ประสบความสำเร็จ และสถานประกอบการให้การยอมรับและอยากให้บัณฑิตที่นี่ไปทำงานด้วย สมาคมศิษย์เก่าที่เข้มแข็งจะทำให้แบรนด์เข้มแข็งมากขึ้น

-----------------------

2. สรุปการเรียนรู้จากการดูงานมหาวิทยาลัยกรุงเทพ & บริษัท SCG ( 7-8 เมย. 59)

2.1 การดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทำให้ได้เห็นการทำงานของมหาวิทยาลัยเอกชน ที่พัฒนาตนเองอย่างก้าวกระโดด ทุกอย่าง ทุกพื้นที่ มุ่งเน้นประโยชน์ของนิสิต ทำให้นิสิตรู้สึกว่ามหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น Learning Space, Studio, ห้องสมุด ที่มีพื้นที่กว้างขวาง ให้ความรู้สึกสะดวกสบาย ไม่อึดอัด นิสิตจะเลือกทานอาหาร นอน หรือเล่นสนุ๊กเกอร์ก็ได้ ทำให้นิสิตไม่รู้สึกว่าจะต้องออกจากมหาวิทยาลัยในตอนกลางวันเพื่อไปหาความบันเทิงหรือของกินข้างนอก ซึ่งน่าจะทำให้นิสิตเกิดความรักกับสถาบันมากขึ้น)

นอกจากนี้ระบบการทำงานที่นี่ยังเน้นความโปร่งใส ด้วยการให้การจัดซื้อจัดจ้างทำในระบบออนไลน์ ไม่มีใครเป็นผู้ถือเงิน ทำให้ตัดปัญหาการคอรัปชั่น หรือเล่นพรรคเล่นพวก น่านำมาเป็นตัวอย่าง best practice ในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนการประเมินการเรียนการสอนของอาจารย์ นิสิตมีส่วนร่วม 100% เพราะมีการติดตามไปถึงรายบุคคล สิ่งนี้จะทำให้อาจารย์ผู้สอนได้ประเมินตนเอง และนำความคิดเห็นมาปรับปรุง แก้ไข ในเทอมการศึกษาหน้าต่อไป

2.2 การดูงานที่ บ.SCG ทำให้เห็นการทำงานที่เน้นการดูแลบุคลากรในองค์กรอย่างใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นการที่พนักงานสามารถโยกย้ายสาขางานได้ ทำให้องค์กรไม่สูญเสียบุคลากรให้กับหน่วยงานอื่น นอกจากนี้ยังส่งเสริมความสัมพันธ์ในองค์กร ด้วยการที่บุคลากรใหม่จะมีพี่เลี้ยงวัยไล่เลี่ยกันที่คอยแนะนำการทำงาน ทำให้ไม่เกิดช่องว่างระหว่างวัยมากนัก และน่าจะสอนงานได้เร็ว ที่นี่ยังพัฒนาบุคลากรใหม่โดยใช้เวลาอบรมเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้เรียนรู้งานของฝ่ายอื่นๆ ทำให้ได้เชื่อมสัมพันธ์กับบุคลากรจากหน่วยงานอื่น และการประสานงานที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าเป็นไปด้วยความราบรื่น

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูงานทั้ง 2 ที่ ทำให้ได้เปิดกระบวนการคิดและตระหนักว่าในฐานะบุคลากรของมหาวิทยาลัยทักษิณ ยังต้องมีการพัฒนาตนเอง และร่วมมือในการพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป โดยนำความรู้ที่ได้จาก 2 แห่งมาปรับใช้

สรุปการเรียนรู้ วันที่ 4-5 ก.พ.59

การที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ประกอบด้วย IQ, EQ, MQ, SQ จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ ก่อนเรียน ดิฉันไม่เคยรู้ว่าจะต้องมี SQ (Survival Quotient) ด้วย คิดว่าแค่ 3 อย่างข้างต้นก็น่าจะพอ ตอนนี้ได้เข้าใจว่านอกเหนือจากทักษะทางสติปัญญา อารมณ์ ศีลธรรมแล้ว ทักษะการเอาตัวรอด และอยู่ให้ได้ในสังคมอย่างมีความสุขก็มีความสำคัญมาก การมีเพื่อนร่วมงานที่ดีก็มีความสำคัญในแง่ของการทำงานที่มีความสุขและอยากมาทำงานทุกวัน ( Happiness at Work)

ดิฉันชอบกิจกรรมที่ให้เพื่อนๆเขียนข้อดีของเรา มันทำให้ได้ย้อนมองตัวเองว่าเรามีข้อดีอะไรที่คนอื่นมองเห็น (ซึ่งบางครั้งเราไม่ได้มอง) และเมื่อต้องเขียนข้อดีของเพื่อนก็จะทำให้เราได้ฝึกการมองคนอื่นในแง่บวก นำไปสู่การเป็นเพื่อนที่ดี และปฏิบัติดีต่อคนอื่น เพราะเห็นว่าคนอื่นนั้นเห็นคุณค่าของเรา

นอกจากนี้ การได้เรียนรู้เรื่อง "สามก๊ก" ทำให้ได้เห็นกลยุทธในการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดของผู้นำ นี่น่าจะเป็นเหตุผลที่เรื่องนี้ถูกหยิบยกมาพูดกันจนปัจจุบันนี้

จิดาภา สุวรรณฤกษ์

ดิฉันชอบคำถาม ท่านอาจารย์มากค่ะ.ใน 10 ปีข้างหน้า กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิด Positioning ใหม่ให้ TSU มีกลุ่มใดบ้าง ที่ควรจะพัฒนาโดยใช้แบบ Blue Ocean เป็นหลัก ทั้งการสอน งานวิจัย งานบริการทางวิชาการ

  • จุดแข็งของ TSU ในอนาคตคืออะไร เสนอโครงการเหล่านั้น เน้นความต้องการของผู้เรียน
  • New Positioning TSU สร้าง Brand Awareness ให้ผู้สนใจ เพื่อสร้าง brand Positioning อย่างไร
  • ในยุค Social media ที่มา จะใช้ Social media
  • พัฒนา Positioning ของ TSU อย่างไร
  • อุปสรรคที่ไม่สามารถไปสู่ Positioning ที่สูงขึ้น ของ TSU คืออะไร อธิบายและต้องแก้ปัญหาอย่างไรและทำ 3 ต. ได้อย่างไร
  • ทำให้ต้องคิดว่า จะทำให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร ... จากสิ่งที่เราคิดค่ะ

    สรุปความรู้และการนำไปปรับใช้ (3-4 พฤษภาคม 2559)


    การเรียนวันนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เปิดมุมมองในด้าน การตลาด เศรษฐกิจ และการเมือง ซึ่งเดิมมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงกลับใกล้มาก โดยเฉพาะในวงการการศึกษา ซึ่งจะต้องใช้ในการมองอนาคตของหลักสูตร การพัฒาบัณฑิตให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต

    สิ่งที่ท้าทายในการเรียนครั้งนี้คือ วิทยากรเชื่อมโยงส่วนที่เป็นทฤษฎีเข้าสู่แนวปฏิบัติที่มหาวิทยาลัยทักษิณ สามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยฝากประเด็นคิดที่สำคัญ ๆ โดยเฉพาะ ส่วนของการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร จากการกำหนด positioning ของมหาวิทยาลัยหรือคณะของตนเอง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเทียบกับคู่แข่ง เพื่อหาความเด่น ความเหมือน และข้อแตกต่าง ๆ ที่ดีกว่า ความรู้เหล่านี้จะนำไปใช้ในการออกแบบหลักสูตรที่กำลังพัฒนาว่า ควรจะเดินไปทางไหน โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่และข้อมูลรอบข้าง (เมล็ดพันธุ์) เพื่อพยากรณ์อนาคต ขอบคุณสำหรับการสอนวิธีคิด และวิธีการเชื่อมโยงเนื้อหา เพื่อให้เห็นประเด็น ถ้าผู้สอนทุกคนสามารถประยุกต์แนวทางนี้ การเรียนการสอนจะสนุกและน่าสนใจมากขึ้น

    กรณีศึกษาเรื่อง positioning ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ทางผู้บริหารน่าจะใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างจุดเด่นให้กับมหาวิทยาลัย ภายใต้ความร่วมมือของบุคลากรทุกคณะ ซึ่งจะสร้างความเข้มแข้ง และความมีชื่อเสียงในการดึงดูดให้มีนิสิตเพิ่มมากขึ้น โดยมองลูกค้าจากประชาคมอาเซียนที่เชี่ยวชาญศาสตร์วิชาการ และสนใจกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับศิลปะและวัฒนธรรม


    การทบทวนความรู้จากช่วงที่ 1 (22-23 มกราคม 2559) ** เพิ่มเติม

    ความรู้ที่ได้จากการเรียนครั้งแรก (ศึกษาจาก blog เนื่องจากช่วงเวลานั้นลาราชการ) เป็นการทำความเข้าใจกับทฤษฎีที่จะใช้ในการเรียนรู้ ทำความรู้จักกับตนเอง การวางเป้าหมาย และหาหนทางที่จะนำไปสู้เป้าหมาย คุณสมบัติที่ดีของการเป็นผู้นำ ทฤษฎีพื้นฐานของการพัฒนามนุษย์

    ได้รับทราบมุมมองของวิทยากรที่มีต่อมหาวิทยาลัย ในประเด็นของ ความเป็นมา แบรนด์ สภาพปัจจุบัน จุดเด่น รวมถึง ความท้าทายในอนาคต มุมมองบางประเด็นทำให้มองเห็นถึงปัญหาที่ตัวเองไม่เคยได้ตระหนักมาก่อน ซึ่งทำให้ต้องนำไปสร้างความเข้าใจ และความชัดเจนในเรื่องของทิศทาง การวางเป้าหมาย การจัดการความเสี่ยง ในระดับของคณะ

    สิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ได้คือ การเพิ่มยอดจำนวนนิสิต และการสร้างคุณภาพให้กับบัณฑิต นั่นคือ การสร้างความสามารถของการเป็นผู้ประกอบการให้กับนิสิต และการเพิ่มจำนวนนิสิตในการออกสหกิจศึกษา เพราะจะเป็นการรับประกันการมีงานทำของบัณฑิต และสร้างแรงดึงดูดในการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้อีกทาง


    การจัดกิจกรรม CSR ณ อำเภอตะโหมด (1 เมษายน 2559) ** เพิ่มเติม

    ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีส่วนร่วมในกิจกรรม มัคคุเทศน์ (น้อย) ซึ่งทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุและเยาวชนประมาณ 20 คน

    รูปแบบกิจกรรม เป็นการฝึกให้ผู้เข้าร่วมสามารถ พูดทักทาย แนะนำตนเอง กล่าวขอบคุณ และเรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษที่สามารถนำไปแนะนำนักท่องเที่ยว คำศัพท์ที่ฝึกจะขึ้นอยู่กับสถานที่ท่องเที่ยว เช่น สถานที่ประกอบพิธีกรรม น้ำตก ลานรวมพล สวนป่า เป็นต้น

    การเข้าร่วมครั้งนี้ทำให้ได้เห็นความกระตือรือร้นในการเป็นเจ้าภาพแหล่งท่องเที่ยว และความสนุกสนานจากการทำกิจกรรม ชุมชนสามารถปรับตัว และรับมือกับการพัฒนาชุมชนของตนเองให้เป็นแหล่งท่องเที่บว น่าเสียดายที่แต่ละคนจะต้องเลือกทำกิจกรรมได้เพียงหนึ่งเรือง ทำให้ไม่ได้สัมผัสกิจกรรมแบบอื่น ๆ จากรูปแบบกิจกรรมที่ทำ

    การปรับใช้ การเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ได้ออกแบบวิธีการเรียนการสอน การพัฒนาจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด และการเสียสละของนิสิต โดยจะนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา และจัดโครงการกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อฝึกให้นิสิตนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด ฝึกฝนให้นิสิตมีจิตสำนึกของการบริการชุมชน เพื่อในอนาคตจะได้นำไปพัฒนาชุมชนของตัวเอง


    สรุปความรู้และการนำไปปรับใช้ (3-4 พฤษภาคม 2559)

    การเรียนวันนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เปิดมุมมองในด้าน การตลาด เศรษฐกิจ และการเมือง ซึ่งเดิมมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงกลับใกล้มาก โดยเฉพาะในวงการการศึกษา ซึ่งจะต้องใช้ในการมองอนาคตของหลักสูตร การพัฒาบัณฑิตให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต

    สิ่งที่ท้าทายในการเรียนครั้งนี้คือ วิทยากรเชื่อมโยงส่วนที่เป็นทฤษฎีเข้าสู่แนวปฏิบัติที่มหาวิทยาลัยทักษิณ สามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยฝากประเด็นคิดที่สำคัญ ๆ โดยเฉพาะ ส่วนของการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร จากการกำหนด positioning ของมหาวิทยาลัยหรือคณะของตนเอง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเทียบกับคู่แข่ง เพื่อหาความเด่น ความเหมือน และข้อแตกต่าง ๆ ที่ดีกว่า ความรู้เหล่านี้จะนำไปใช้ในการออกแบบหลักสูตรที่กำลังพัฒนาว่า ควรจะเดินไปทางไหน โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่และข้อมูลรอบข้าง (เมล็ดพันธุ์) เพื่อพยากรณ์อนาคต ขอบคุณสำหรับการสอนวิธีคิด และวิธีการเชื่อมโยงเนื้อหา เพื่อให้เห็นประเด็น ถ้าผู้สอนทุกคนสามารถประยุกต์แนวทางนี้ การเรียนการสอนจะสนุกและน่าสนใจมากขึ้น

    กรณีศึกษาเรื่อง positioning ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ทางผู้บริหารน่าจะใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างจุดเด่นให้กับมหาวิทยาลัย ภายใต้ความร่วมมือของบุคลากรทุกคณะ ซึ่งจะสร้างความเข้มแข้ง และความมีชื่อเสียงในการดึงดูดให้มีนิสิตเพิ่มมากขึ้น โดยมองลูกค้าจากประชาคมอาเซียนที่เชี่ยวชาญศาสตร์วิชาการ และสนใจกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับศิลปะและวัฒนธรรม

    ======================================================

    การทบทวนความรู้จากช่วงที่ 1 (22-23 มกราคม 2559) ** เพิ่มเติม

    ความรู้ที่ได้จากการเรียนครั้งแรก (ศึกษาจาก blog เนื่องจากช่วงเวลานั้นลาราชการ) เป็นการทำความเข้าใจกับทฤษฎีที่จะใช้ในการเรียนรู้ ทำความรู้จักกับตนเอง การวางเป้าหมาย และหาหนทางที่จะนำไปสู้เป้าหมาย คุณสมบัติที่ดีของการเป็นผู้นำ ทฤษฎีพื้นฐานของการพัฒนามนุษย์

    ได้รับทราบมุมมองของวิทยากรที่มีต่อมหาวิทยาลัย ในประเด็นของ ความเป็นมา แบรนด์ สภาพปัจจุบัน จุดเด่น รวมถึง ความท้าทายในอนาคต มุมมองบางประเด็นทำให้มองเห็นถึงปัญหาที่ตัวเองไม่เคยได้ตระหนักมาก่อน ซึ่งทำให้ต้องนำไปสร้างความเข้าใจ และความชัดเจนในเรื่องของทิศทาง การวางเป้าหมาย การจัดการความเสี่ยง ในระดับของคณะ

    สิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ได้คือ การเพิ่มยอดจำนวนนิสิต และการสร้างคุณภาพให้กับบัณฑิต นั่นคือ การสร้างความสามารถของการเป็นผู้ประกอบการให้กับนิสิต และการเพิ่มจำนวนนิสิตในการออกสหกิจศึกษา เพราะจะเป็นการรับประกันการมีงานทำของบัณฑิต และสร้างแรงดึงดูดในการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้อีกทาง

    ==========================================
    การจัดกิจกรรม CSR ณ อำเภอตะโหมด (1 เมษายน 2559) ** เพิ่มเติม

    ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีส่วนร่วมในกิจกรรม มัคคุเทศน์ (น้อย) ซึ่งทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุและเยาวชนประมาณ 20 คน

    รูปแบบกิจกรรม เป็นการฝึกให้ผู้เข้าร่วมสามารถ พูดทักทาย แนะนำตนเอง กล่าวขอบคุณ และเรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษที่สามารถนำไปแนะนำนักท่องเที่ยว คำศัพท์ที่ฝึกจะขึ้นอยู่กับสถานที่ท่องเที่ยว เช่น สถานที่ประกอบพิธีกรรม น้ำตก ลานรวมพล สวนป่า เป็นต้น

    การเข้าร่วมครั้งนี้ทำให้ได้เห็นความกระตือรือร้นในการเป็นเจ้าภาพแหล่งท่องเที่ยว และความสนุกสนานจากการทำกิจกรรม ชุมชนสามารถปรับตัว และรับมือกับการพัฒนาชุมชนของตนเองให้เป็นแหล่งท่องเที่บว น่าเสียดายที่แต่ละคนจะต้องเลือกทำกิจกรรมได้เพียงหนึ่งเรือง ทำให้ไม่ได้สัมผัสกิจกรรมแบบอื่น ๆ จากรูปแบบกิจกรรมที่ทำ

    การปรับใช้ การเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ได้ออกแบบวิธีการเรียนการสอน การพัฒนาจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด และการเสียสละของนิสิต โดยจะนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา และจัดโครงการกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อฝึกให้นิสิตนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด ฝึกฝนให้นิสิตมีจิตสำนึกของการบริการชุมชน เพื่อในอนาคตจะได้นำไปพัฒนาชุมชนของตัวเอง

    โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559)นั้น กระผมมีความประทับใจและได้องค์ความรู้เป็นอย่างมากและหลากหลายด้านหลากหลายมิติ แต่ที่ประทับใจมากที่สุดคือเรื่องการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน เรื่องWorld Economic Forum เกี่ยวกับKnowledge Society การสร้างโลกยุคใหม่เป็นโลกแห่งการเรียนรู้ Innovation /Imagination ,Urbanization ,Climate Change ซึ่งถือเป็น Global Trend ที่เกิดขึ้น เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ , Health and Safety Concerns , Aging Society ,International Mobility ,Connectivity , Cultural Heritage และ Good Governance และในประเด็นของความท้ายทายและองคความรู้ทางด้านเศรษฐกิจ

    สรุปผลการเรียนรู้ (3-4 พฤษภาคม 2559)

    วิธีการเรียนรู้ : อ่านบทสรุปจากเวบไซต์

    เนื้อหาที่สรุปได้ :

    การก้าวไปข้างหน้าของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ทันสมัยและมีความอยู่รอดในยุคของการแข่งขัน จะต้องมีการกำหนดจุดยืนของมหาวิทยาลัยที่ชัดเจน โดยการที่จะกำหนดเป้าหมายร่วมกันได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัย หากมีความร่วมมือร่วมใจกันในการกำหนดเป้าหมายแล้ว มหาวิทยาลัยจะเข้มแข็ง มีจุดเด่น เป็นที่สนใจของนิสิตให้เข้าเรียน อีกทั้งการพัฒนาหลักสูตรที่จะมาถึงคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมองให้ครบทุกด้าน ทั้งการตลาด เศรษฐกิจ และการเมือง หากทำได้บัณฑิตของมหาวิทยาลัยทักษิณจะเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด

    วีณา ลีลาประเสริฐศิลป์

    ช่วงการเรียนรูู้ วันที่ 3-4 พฤษภาคม ทำให้ได้ความคิดถึงเรื่องการมองตัวเอง การทบทวนตนเอง มหาวิทยาลัยทักษิณจะต้องมี Positioning ที่ชัดเจนว่าจะเดินไปอย่างไร โดยการใช้ความได้เปรียบจากรากฐานของความเป็นครูที่เป็นที่ยอมรับ กระจายไปสุ่งานด้านบริการวิชาการ งานวิจัยโดยการมองบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก เรียนรู้ในการปรับเปลี่ยน สร้าง brand ให้ชัดเจน สื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ รวมทั้งจะต้องมีความรอบรู้ในประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงโลกในแต่ละยุคสมัยที่จะนำความคิดมาสู่การปรับตัวในปัจจุบันรวมทั้งการวางแผนในอนาคต ที่สอดประสานกับการเมืองของโลก มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นเพียงจิ๊กซอร์ตัวเล็กของของส่วนที่ประกอบเป็นโลก ผู้นำจึงต้องคิดว่าจะทำอย่างไรและใช้กลยุทธ์ใดที่ทำให้ทุกภาคส่วน win win

    ระวีวัฒน์ ไทยเจริญ

    สังคมโลกปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร โลกไร้พรมแดน การเข้าถึงของข้อมูลได้ไม่จำกัด และสามารถเข้าถึงได้ทุกเวลา เป็นยุคของการเปิดเสรีทางการค้าของภูมิภาคของโลก รวมถึงการรวมกลุ่มกันเพื่อการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เรามองว่าต่อไปลูกค้าหรือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอาจลดลงในบางหลักสูตร มหาวิทยาลัยต้องมีการเปิดหลักสูตรใหม่ที่ทันสมัยที่เป็นการบูรณาการกันระหว่างสาขาในมหาวิทยาลัย หรือเป็นหลักสูตรที่เป็นที่ต้องการของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น จนถึงในอาเซียน โดยไม่ลืมรากเหง้าของตนเองที่ต้องส่งเสริมด้านภูมิปัญญา วัฒนธรรมควบคู่ไปเพื่อให้มหาวิทยาลัยเติบโตอย่างมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

    การส่งเสริมสาขาที่รองรับการขยายตัวและการเคลื่อนย้ายประชากร เช่น สาขาที่เกี่ยวกับอาหารฮาลาล สาขาที่เป็นอาชีพที่สามารถไปทำงานในอาเซียน เช่น วิศวกร สถาปัตยกรรม พยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้มหาวิทยาลัยควรมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีรวมถึงการพัฒนาด้านภาษาเพื่อรองรับการเข้ามาศึกษาของนักศึกษาต่างชาติในอนาคต

    ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม

    สรุปบทเรียนช่วงที่ 3 เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทย

    ได้รับรู้เส้นทางและภาพของเศรษฐกิจ ทั้งระดับโลก และระดับภูมิภาค โดยเฉพาะของประเทศไทยจากวิทยากร คุณกรณ์ จาติกวณิช รู้สภาพปัจจุบัน ปัญหา ของประเทศ ภูมิภาคและโลก วิเคราะห์เชื่อมโยงถึงการปรับตัวของมหาวิทยาลัยทักษิณในอนาคตได้อย่างชัดเจน โจทย์วันนี้ ทำให้ทุกคนมีความพร้อมที่จะได้เตรียมตัวเผชิญความเปลี่ยนแปลง โลกาภิวัตน์

    เกิดความกังวลกับสภาพที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่คุณกรณ์กล่าวว่าความได้เปรียบไม่เหลือแล้ว ทรัพยากรธรรมชาติกำลังจะหมดไป แรงงานเป็นปัญหา คือ ค่าแรงสูงขึ้น ปริมาณแรงงานลดลง พึ่งแรงงานต่างด้าว 3-4 ล้านคน ในอนาคตไทยจะแย่ลง เพราะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กลายเป็นวิกฤติ รัฐบาลก็จะต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุ และคนไทยวัยทำงานไทยปัจจุบันที่หลักประกันน้อยมาก ซึ่งมีแค่ 10 ล้านคนเป็นสมาชิกประกันสังคมและข้าราชการ แต่ 25 ล้านคนไม่มีหลักประกัน ในอดีตคิดพึ่งลูกหลาน แต่ลูกหลานก็ไม่มีความสามารถในการสร้างรายได้ดูแลผู้สูงอายุซึ่งมีอายุยืนขึ้น ซึ่งไทยยังไม่มีการเตรียมการเรื่องนี้

    ประเทศไทย ทุกภาคส่วนต้องมีการปรับตัว มียุทธศาสตร์เสริมความได้เปรียบ ต้องมีการปรับยุทธศาสตร์วิธีคิด การผลิตสินค้าและการให้บริการเป็นเรื่องสำคัญ สินค้าต่างๆต้องคำนึงถึงคุณภาพและPackaging และความรู้ ยุทธศาสตร์การปรับตัวสำคัญมาก ประเด็นสำคัญได้แก่

    1)English for all คนไทยต้องพูดได้อย่างน้อย 2 ภาษา คนไทยทุกคนต้องพูดภาษาอังกฤษได้

    2)โครงการเกษตรเข้มแข็ง คนไทยจะแข่งขันได้ แม้เกษตรคิดเป็น 10% ของ GDP แต่ประชากรในภาคเกษตรมีมาก ภาคเกษตรเป็นอุตสาหกรรมในอนาคต ต้องมีการปรับความคิด เกษตรกรต้องมองตนเป็นผู้ผลิตอาหารโลก ยกตัวอย่าง เช่น ต้องมียุทธศาสตร์ชัดคือยกระดับข้าวไทย ไทยส่งออกข้าว 10 ล้านตัน จาก 70 ล้านตันทั่วโลก

    3)ยกระดับคุณภาพการบริการและการท่องเที่ยว ดึงนักท่องเที่ยวจีนให้มากขึ้น เวลาคนจีนขึ้นมาชั้นกลาง ก็ออกมาเที่ยว ใส่ใจคุณภาพสินค้าสินค้าอาหารเป็นที่ยอมรับของจีนและภูมิภาคนี้อยู่แล้ว ควรเน้นคุณภาพ

    4)ไทยควรผลิตสินค้าและบริการคุณภาพระดับพรีเมี่ยมทุกชนิด

    5)ทุกอุตสาหกรรมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น ไทยจะมีบทบาทอย่างไรในการผลิตรถยนต์ชนิดใหม่

    สิ่งสำคัญต้องมียุทธศาสตร์ชัดต้องมีการยกระดับทุกอย่าง ต้องผลิตสินค้าคุณภาพพรีเมี่ยม เท่านั้น แล้วกลับไปดูว่าจะไปจุดนั้นได้อย่างไร คือใช้การศึกษาพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน

    ในช่วงการบรรยายของคุณสมบัติ ศานติจารี และคุณจันทนา สุขุมานนท์ ได้แง่คิด ว่า CEO คือ คนสำคัญ ต้องเป็นตัวอย่าง ยึดหลักธรรมาภิบาล ใช้กระบวนมีส่วนร่วม รับฟัง ให้เกียรติ ซึ่งสูตรสำเร็จที่วิทยากรกล่าวถึงไว้ดีมากคือ

    - ต้องมีวิสัยทัศน์ ทำได้โดย

    -ถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ลงทุน ชุมชน พันธมิตร พนักงาน

    -รู้ว่าจะไปที่ไหน Distinct Needs คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มต้องการอะไร

    -Value Proposition ไปเสนออะไร เช่น ลูกค้าต้องการให้แก้ปัญหา

    - นำทุกข้อข้างต้นมาทำเป็นยุทธศาสตร์

    - ต้อง serve want ไม่ใช่ need ต้องยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางว่าต้องการอะไร แล้วทำยุทธศาสตร์ว่าต้องการเป็นอะไร

    - วิสัยทัศน์คือตอบสนองทุกความต้องการ

    - คนที่เหมาะสม the right people เป็นคนที่องค์กรที่ต้องการ

    - Organization capability ต้องรู้ว่าพนักงานแต่ละคนเก่งเรื่องอะไร มีจุดอ่อนอะไร

    - กำหนดค่านิยมหลัก เป็นสิ่งที่คนต้องรู้ ต้องมีไม่เกิน 4 คำ

    - ทำสิ่งที่ถูกต้อง

    - กล้าคิด กล้าทำ

    - ห่วงใยใส่ใจอนาคต

    - คนที่เป็น CEO ต้องมีวิสัยทัศน์ มองภาพรวม บอกและกำกับทุกคนว่าจะทำอะไร ไม่จำเป็นต้องลงมาทำเอง

    - ต้องบริหารวิธีการคิด เปลี่ยนที่ตนเอง ต้องเรียนรู้ทุกวัน

    - คนจะประสบความสำเร็จได้ แต่ละคนสามารถเลือกชีวิตตนเองได้ ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นเลือกให้ การศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญ ต้องเรียนรู้ด้วยตนเองด้วย ชีวิตคือการเรียนรู้

    - ทุกคนมี 24 ชั่วโมง ต้องบริหารเวลาให้ดี ทำงานหนัก ทำให้ดีที่สุด

    และได้รับฟังแนวคิด CEO จากคุณพรหมโชติ ไตรเวช ที่กล่าวว่า การเป็น CEO ต้องมองว่าตนอยู่ระดับใด แม้จะเป็นผู้บริหารระดับสูง แต่ก็ยังมีคนที่เหนือกว่า ในโลกมนุษย์ ก็คือ เวลา ถ้ามีเวลากำหนด ก็ต้องปฏิบัติตามเวลา เหนือกว่ามนุษย์ ก็ยังมีธรรมชาติและอีกหลายสิ่ง และสิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือว่า ทำอย่างไรให้นโยบาย หรือการบริหารของผู้บริหารนำไปสู่การปฏิบัติได้ แต่ละคนเป็นคณบดี นักบริหาร หรือตำแหน่งอื่นๆ เมื่อได้รับโจทย์มา ก็เสนอแนวความคิด จะทำอย่างไร ถ้าแต่ละคนเป็นนักบริหาร แต่ต้องใช้นโยบายจากผู้บริหารระดับสูงให้เกิดผลจะทำอย่างไร

    ซึ่งข้างต้นเป็นแนวคิดต่างๆ เป็นแนวคิดที่ดีมาก และคิดว่าสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยทักษิณได้ ผลจากการทำ workshop สมาชิทุกกลุ่ม ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำความรู้ที่ได้เรียนรู้สู่การวางแผนปฏิบัติในมหาวิทยาลัยทักษิณ สิ่งที่สำคัญคือ เปิดโลกทัศน์ ของสมาชิกของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    ส่วนแนวคิด การนำเทตโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดย รศ. ยืน ภู่วรวรรณ รศ .ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน ดร.สร้อยสนธ์ นิยมวาณิช รวมถึงวิทยากรประธานหอการค้า และจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เกิดแนวคิดการปรับตัวด้านเทคโนโลยีที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้

    • โลกของ Cloud มาแรง ต้องเข้าใจก่อนสื่อใหม่เป็น POWER LAW
    • ความรู้เข้าถึงได้ง่ายและเร็ว อาจารย์ต้องเปิดใจกว้าง
    • การบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
    • ความคิดสร้างสรรค์จำเป็นสำหรับคนยุคใหม่
    • การนำเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่ม
    • มหาวิทยาลัยต้องคิดแบบ Proactive คิดเป็น Chain
      • มหาวิทยาลัยต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคม
      • บุคลากรทุกคนให้ความสำคัญ
      • ร่วมแรงร่วมใจ วางแผนกับชุมชนทำเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน
      • มหาวิทยาลัยต้องลงทุนเพื่อชุมชน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินแต่เพียงอย่างเดียว
      • มหาวิทยาลัยสร้างแบรนด์จากการทำ CSR ได้

    สรุปบทเรียนช่วงที่ 4 CEO – HR – Non HR – Stakeholders for 3V’s, Case Studies and Intensive Management Workshop: TSU and Human Resource Strategies, แรงบันดาลใจ เส้นทาง และประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเพื่อสังคม University – Research and Innovation Forum Managing Self Performance เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    จากการเรียนรู้ พบว่าเรื่องนี้มี 3 เรื่อง ใหญ่ๆ คือ 1)Transfer Knowledge 2) Process how to learn สร้างภาวะผู้นำ และ 3) ไปสู่ความเป็นเลิศ สร้าง Network แต่ต้องทำต่อเนื่อง อย่างมหาวิทยาลัยทักษิณต้องสร้างผู้นำด้วย ทำอย่างไรให้ลูกศิษย์มีความภูมิใจในตัวเอง คือ การมี Honor Dignity Respect คนอื่น และให้คนอื่น Respect เรา สิ่งที่อยากฝากไว้ในการพัฒนาคนคือเรื่องการค้นหาตัวเอง ประเด็นคือการนำไปใช้และสร้างมูลค่าเพิ่มและเอาชนะอุปสรรคหรือไม่ How to get there ? สำคัญกว่า Successful ประเด็นคืออยากให้ทุกคนบ้าคลั่งและผนึกกำลังกัน เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกันและต้องร่วมมือกับชุมชนรอบรั้วมหาวิทยาลัย และสิ่งที่เป็นข้อคิด คือ

    1. การลงไปในชุมชน ต้องเพิ่มความเป็นผู้ประกอบการ ให้คิดและต่อยอดขึ้นมา

    2. การปลดปล่อยเรื่องรากหญ้า ก็คือสิ่งที่ ม.ทักษิณทำอยู่แล้ว แต่เราจะทำอย่างไรให้ดึงมาเป็น Alibaba ได้

    3. ช่วยพัฒนาองค์กร ม.ทักษิณทำอยู่แล้วเช่นพัทลุง ลุ่มน้ำสงขลา ทำอย่างไรให้คนชื่นชม อาจเปลี่ยนชื่อให้คนชื่นชม การทำ Urbanization คือการกระจายความเจริญไป เป็นลักษณะการชนะเล็ก ๆ ก่อนชนะใหญ่ ๆ

    4. การหาช่องอย่างทีมฟุตบอลเรสเตอร์ คือพยายามหาพื้นที่เล่น เพราะมีโอกาสเสมอ แต่ต้องมีทีมเวอร์กช่วย เราไม่ต้องสร้างใหม่ตลอดเวลา แต่สร้างจากสิ่งที่มีให้งอกงามได้ตลอดเวลา

    ซึ่งน่าสนใจมาก ทุกอย่างต้องทำแล้วเกิดประโยชน์ มีมูลค่าเพิ่ม และจากการอ่านและเรียนรู้ ALIBABA ได้แง่คิด คือ

    จากภาพทั้งหมดได้ลองเปรียบเทียบ Alibaba ในมุมมองของกลุ่ม คืออยากเปรียบเทียบ Alibaba ว่า E=MCC

    E คือ ผู้ประกอบการที่มีพลังมาก และทำธุรกิจบนความเสี่ยง

    M คือ Micro เริ่มจากผู้ประกอบการที่มีความเก่งในเรื่องที่ตัวเองทำ เป็นลักษณะเล็ก ๆ คือทำ Inovation ให้เป็น Routine

    C คือ Customer Centre คือความไว้วางใจ และเชื่อมั่นต่อผู้สื่อสินค้า

    C คือ China หมายถึงการมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการพัฒนาของจีน และการเติบโตของสังคม

    โดยสรุปคือ Alibaba มีความอยาก ความหิวกระหายจึงทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

    อีกประเด็นหลักที่น่าสนใจคือ

    1.ความท้าทายในการพัฒนาคน

    2. มีกลยุทธ์แบบใด

    3. ทำอย่างไรให้องค์กรประสบความสำเร็จ

    และปัจจัยในการขับเคลื่อนที่เราสามารถปรับจากธุรกิจ ที่น่าสนใจ คือ

    1. Faster

    2. Better

    3. Cheaper

    ความรู้เป็นกลไกสำคัญในศตวรรษที่ 21

    ส่วน Impact ในการพัฒนาคน คือ Innovation การเชื่อมโยงคน Competency of Growth องค์กรที่มีความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลง Life Style ของคน

    ถ้าองค์กรไม่รู้ว่า Business Model คืออะไร จะทำธุรกิจไม่ได้ เป็นตัวกำหนดทิศทางการเจริญเติบโต เริ่มตั้งแต่เป็นตัว ODM คือการรับจ้างผลิต เราเลยพัฒนาเป็น

    • ODM คือ Development and Science

    การ Transform จาก ODM เข้าสู่ Global Supply Chain ต้องมีพนักงานที่มีศักยภาพสูงมากในการทำงาน และกลยุทธ์ในการพัฒนาคนในยุคดิจิตอล คือ ต้องดูก่อนว่าอะไรคือHuman Value และ Business Value ที่สำคัญ เช่น องค์ความรู้ เรื่อง R&I ยิ่งมีตัวนี้เยอะมากเท่าไหร่จะทำให้การขายสู่ลูกค้าได้เร็ว ต้องอาศัยความสามารถของคนในการทำ ต้องดู 1) Business Value เป็นตัวตั้ง 2) Value แบ่งเป็น Value Added, Value Creation, Value Diversity คนจะแข่งขันได้ต้องสร้างไปสู่มูลค่าที่หลากหลายและตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุดเป็น Flagmentation เช่นถ้ารับได้วันละ 100 ชิ้นได้ ต่อไปก็จะทำได้

    ได้แนวคิดในการนำความรู้มาปรับใช้ในมหาวิทยาลัยทักษิณคือ ต้อง Push people before strategy ที่สามารถนำมา Apply ในองค์กร Culture Change สำคัญมาก อย่างแจ็กมาร์เป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ดีและใช้ประสบการณ์ตรงนี้พัฒนาคนขายของทาง Digitalization เป็นลักษณะ Fast forward moving มีเรื่อง Integrity ความซื่อสัตย์ โดยจะ Change Culture และดึงศักยภาพคนในองค์กรมาใช้ได้อย่างไร แต่เรื่อง Fast forward เป็นการมองนอกกรอบ แต่ต้อง Take risk ต้องมองว่าถ้าทำให้ได้เราจะกำจัด Risk อย่างไร ผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณน่าจะได้คิดถึงเรื่องราวเหล่านี้ด้วย ซึ่งมีประโยชน์มาก การเรียนรู้เรื่องนี้ทำให้เราได้มีมิติการมองที่กว้าง และวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ เพื่อการปรับมหาวิทยาลัยของเราค่ะ

    สรุปบทเรียนช่วงที่ 5 การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต

    ได้แนวคิดจากการอ่านหนังสือ Lesson learned – Share and Care: บทเรียนจากบทเรียนจากหนังสือ The Four Mindsets ซึ่งดีมาก

    Mindset เป็นความคิด ความเชื่อที่กำหนดพฤติกรรมและทัศนคติ

    การพัฒนา สร้าง Growth Mindset เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะ Mindset ของผู้นำมีอิทธิพลอย่างสูงต่อพนักงาน

    Mindset ของคนหนึ่งสามารถมีอิทธิพลต่อคนรอบข้าง

    อิทธิพลของ Mindset คือ Mindset Loop ถ้ามีการปลูกฝัง Mindset ไว้อย่างไรก็จะนำไปสู่ Attitude ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรม เป็น action และผลลัพธ์ ในที่สุดก็กลายเป็น Performance

    Mindset หลักที่สำคัญ 4 ข้อ เพื่อทำให้เกิด Growth Mindset กับทีม

    Emotional Intelligence Mindset มีความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึงพฤติกรรมที่ทำให้ทีมมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ แล้วจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในระดับองค์กร และนำไปสู่การแสดงความสามารถในการทำงานของพนักงาน ถ้าผู้นำมี Emotional Intelligence Mindset จะนำไปสู่ Performance โดยเฉพาะเรื่องของ Loyalty และความเชื่อมั่นในองค์กร

    Connection Mindset หมายความว่า ผู้นำต้องสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และสิ่งที่องค์กรคาดหวังไปสู่พนักงานเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจเป้าหมายและทำให้ Connection ไม่ใช่ Communication คำว่า Connect มีความลึกซึ้งมากกว่าการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร แต่รวมถึง Emotion ผู้นำต้องสร้างความรู้สึกพร้อมถ่ายทอดเป้าหมายต่างๆ

    Growth Mindset ผู้นำควรมี Growth Mindset และต้องทำหน้าที่เป็น Mentor เป็นโค้ชเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันกับทีม ตอนหลังองค์กรเน้น Self-coaching เป็นการสร้าง Growth Mindset ตรงไปยังตัวพนักงาน

    Performance Mindset สร้าง Performance ให้กับเพื่อนร่วมทีม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

    ส่วน Connection Mindset มีรายละเอียดคือ

    ในการผลักดันองค์กรไปสู่ความคาดหวังร่วมกัน สิ่งสำคัญคือ Mindset

    การเหนี่ยวไกปืนเป็น Mindset

    Mindset ในเล่มนี้เป็นปลายทางวกกลับมาอีกเป็น Loop

    Mindset มีจุดตั้งต้นที่คน ทุกคนต้องปรับ Mindset ให้รู้จักตนเอง ทำงานเป็นทีม

    ทุกคนต้องรู้จักตนเอง จัดการตัวเองให้ได้

    Skill และ Behavior บังคับ Mindset ได้ ถ้ามีทักษะดีจะทำให้ทีมสำเร็จ

    รู้ซึ้งมาก่อนรู้แจ้ง แล้วก็จะประทับใจทีมทำให้ทีมแข็งขึ้น

    การทำให้คนเกิดความผูกพันองค์กร ผู้นำต้องทำ 2 ระดับ

    สื่อสารให้เข้าใจว่าทำอะไรขาย บุคลากรทุกระดับเข้าใจบทบาทหน้าที่องค์กรตรงกัน ต้องมีการสื่อสารระหว่างบุคคล และกำจัดอุปสรรค สื่อสารให้คนเคารพกฎระเบียบ ต้องคิดต่างในเงื่อนไขที่เหมาะสม ต้องมีการวัดผลเป็นระยะ

    ทำให้บุคลากรรู้ว่า ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ ทำให้บุคลากรตระหนักความสำคัญของตนต่อองค์กรและเข้าใจคนอื่น ต้องทำให้ตระหนักว่า คนต้องเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา คนในองค์กรต้องไม่ด่วนสรุป ต้องสร้างศรัทธา บุคลากรต้องเชื่อมั่นในเพื่อนร่วมงาน ผู้บริหารและองค์กรด้วย ต้องนำแรงบันดาลใจทำให้นำไปสู่เป้าหมาย ผู้บริหารต้องมีความเสมอต้นเสมอปลายเพราะเป็นความไว้เนื้อเชื่อใจ

    oRank Response คนที่มีความรู้จะสามารถแสดงความรู้ให้เห็นได้

    oการตัดสินใจคัดเลือกคนว่า เป็นคนที่เหมาะสมที่จะคัดเลือกเข้าทีม

    และตัวดิฉันเองนำเสนอ Performance Mindset

    หนังสือได้พูดถึงการคัดเลือกคนเข้าทีมเป็นสิ่งสำคัญที่จะวางคนให้เหมาะกับตำแหน่ง และต้องมี Mindset เหมาะสมกับองค์กร

    มีการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม ตัวตนของคนที่สมัครงาน มีขั้นตอน

    1.วิเคราะห์งาน ต้องดู Competence ในงานเป็นหลัก

    2.พัฒนาโครงสร้างคำถามสัมภาษณ์

    2.1 หลักการความรู้ที่ผู้สมัครมี

    2.2 พฤติกรรม คำถามเชิงจิตวิทยา

    2.3 คำถาม Leading Question สถานการณ์ในอนาคตว่าจะทำอย่างไร

    มีการใช้ STAR Technique

    S=Situation

    T=Time

    A=Action

    R=Result

    เมื่อคัดคนเข้ามาร่วมทีม จะทำให้เป็นทีมเข้มแข็งโดย Attachment and Alignment

    ระดับองค์กร

    ระดับบทบาท สมาชิกทีมต้องรู้สถานะ ค่าตอบแทนสอดคล้องกับงานหรือไม่ งานที่รับผิดชอบ กิจกรรม โอกาสก้าวหน้า อนาคต

    ระดับ Line manager มีทักษะในการเป็นพี่เลี้ยงและสอนงาน

    ปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของทีม

    Orientation

    ข้อมูลสำคัญที่ให้แก่สมาชิกทีม คือข้อมูลที่เกี่ยวกับงาน

    การหมุนเวียนตำแหน่ง ทำให้รู้จักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

    การเรียนรู้ Incremental Learning เป็นการพัฒนาสมรรถนะในงาน

    การให้ Feedback ให้มีแรงบันดาลใจในการพัฒนา

    มีการนำเสนอ The core 90-day drivers (to prepare new employees for success ) กล่าวถึง

    Recruitment Process

    Introduction process

    Role Process

    Coach and Mentor Support

    Management and Leadership

    Peer and Stakeholder Interaction ในความเป็นจริง connection ไม่ใช่ communication แต่มีความลึกกว่า communication เพราะฉะนั้นการมี Interaction ในลักษณะ Peer and Stakeholder ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เกิดความสุขในการทำงานมากขึ้นสำหรับพนักงานใหม่

    Culture and Value

    Work Environment

    Policy and Procedure

    Resources and Availability

    เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อาจจะมองข้าม

    และได้เรียนรู้ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศและการบริหารการเปลี่ยนแปลง

    สะท้อนให้เห็นว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนด core value ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    Value ส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรมที่คนในองค์กรต้องพัฒนาให้มี เพราะสะท้อนแบรนด์ของมหาวิทยาลัย

    Core Competency ต้องดูว่ามีความสามารถหลักอะไรบ้าง ในความสามารถเหล่านั้น ถ้าต้องการโดดเด่น คนขององค์กรต้องมี Core Competency อะไรบ้าง

    Core Value เป็นพฤติกรรม

    Core Competency ต้องมี Skill และ Knowledge

    หลายองค์กรกลับมาดูว่า แม้ประเมิน Core Competency ใน PMS ไม่ได้ผล จึงมีแนวโน้มว่า รัฐวิสาหกิจนำ Core Value มาประเมินแทนเพราะเป็นพฤติกรรม จึงต้องมีการแจกแจง

    เวลาทำ Core Value แล้วสื่อสารออกไป ทำไมยังไปไม่ถึงคนระดับล่างหรือคนไม่เข้าใจ

    Mindset ต่างกันทำให้การสื่อสารเข้าใจไม่ตรงกัน

    การนำค่านิยมไปสู่การปฏิบัติ

    ค่านิยมนั้นหมายความว่าอย่างไร เช่น ความเร็วและแม่นยำหมายความว่าอย่างไรในบริบทองค์กร

    ทำไมค่านิยมนั้นจึงสำคัญต่อองค์กร เช่น เป็นค่านิยมที่มีทุกคณะ แสดงว่ามีความถี่มาก ต้องตอบคำถามให้ได้ ตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจองค์กรหรือไม่

    คิดว่าพฤติกรรมเชิงบวกที่พึงประสงค์เป็นอย่างไร พฤติกรรมลบแบบใดที่ถือเป็นอุปสรรค เช่น ค่านิยม ความเร็วและแม่นยำ ต้องทำไปทดสอบกับระดับล่าง พนักงานก็มองว่าผู้บริหารมีความคาดหวังสูงเกินไป บางค่านิยมขัดแย้งกันเองแต่มีความลงตัว

    การทำ workshop มีประโยชน์มาก ทำให้ทุกคนได้ทบทวน สะท้อนคิดถึง Core Value ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งคนในมหาวิทยาลัยทักษิณทราบแล้วว่า เราเป็นมหาวิทยาลัย รับใช้สังคมโดยทำตามค่านิยมหลัก ควรกลับไปทบทวนแต่ละข้อ ทั้งสามธรรมคือ คารวธรรม สามัคคีธรรม ปัญญาธรรมเป็นรากฐานนำไปสู่ข้อหลังๆ

    อีกเรื่องที่น่าสนใจคือบุคลิกภาพ Personality - Social Skills Development and Table Manners

    โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์ คนจะตัดสินผู้อื่นจากบุคลิกภาพภายนอก 55% จากเสียง 38% จากคำพูด 7% บุคลิกภาพเป็นเรื่องที่ฝึกได้ เช่น การแต่งตัว พูดจาดี มาด อารมณ์ดีและรู้จักกาลเทศะ ผู้บริหารควรแต่งกายให้เหมาะสมกับหน้าที่การงาน ขอให้คิดถึงตอนที่สมัครงานที่ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้รับการตอบรับเข้าทำงาน ผู้บริหารต้องดูแลตัวเองให้ดีเพื่อให้ลูกน้องภูมิใจ

    ผู้บริหารต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) มีความสำคัญมาก สร้างแรงบันดาลใจ ความเชื่อมั่น ยอมรับนับถือ

    ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ตรงไปตรงมา ดูแลเอาใจใส่ อยู่กับความเป็นจริง จริงใจ มีปฏิภาณ

    ไหวพริบ คิดบวก ช่วยเหลือคนอื่นด้วยความปรารถนาดี ถือเป็น EQ ของผู้นำ

    ผู้นำต้องเข้าใจทีม ควบคุมอารมณ์ให้ได้ ต้องมีอารมณ์ขันบ้าง ต้องพยายามทำให้เป็นธรรมชาติ มีความรับผิดชอบ หาสิ่งสนับสนุนช่วยทีม คิดบวก นำทีมไปสู่ความสำเร็จเร็วที่สุด ต้องหยุดเพื่อทบทวน

    ผู้บริหารต้องมีความอดทนค่อนข้างสูง ควบคุมสติโดยหายใจลึกๆ แล้วจะเกิดปัญญา รู้จักรักษาสุขภาพ บุคลิกภาพดี

    คนเรามี 2 มือ ข้างหนึ่งช่วยเหลือตนเอง อีกข้างช่วยเพื่อนด้วยความจริงใจ

    การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) คือเมื่อรับรู้ปรากฏการณ์ นำไปประมวลแล้วแสดงออกอย่างถูกต้อง

    ต้องตระหนักรู้ซึ่งอารมณ์ของตนเอง ถ้าโกรธ ก็ต้องผ่อนคลาย วิจัยระบุว่าเป็นทักษะสำคัญของการเป็นผู้นำ

    การบริหารความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset)

    ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Mindset) เป็นพื้นฐานของคน จากงานวิจัย ผู้นำประสบความสำเร็จมาจากปัญญา 7% จากอารมณ์ 93%

    บุคคลโดดเด่นต้องควบคุมตนเองให้มีสติได้ และสามารถฟื้นตัวเองจากสภาวะเลวร้าย

    การทำให้มี self-control

    เข้าใจความเป็นธรรมชาติของโลก

    ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้

    คิดว่าในโลกมีความเป็นเจ้าของสิ่งนั้น ต้องลดอัตตา

    เตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

    การทำให้ฟื้นสู่สภาวะปกติ

    เข้าใจธรรมชาติ

    คิดว่าทุกอย่างต้องมีความหวัง ล้มแล้วลุก

    มีการควบคุม บังคับตนเองได้ มีเป้าหมายชีวิต

    มีความสมดุลในชีวิต มีเวลาทำงานแล้วพักผ่อน กินอาหารให้สุขภาพดี

    อยู่ในที่ที่เหมาะสม

    เข้าใจความทุกข์และสุข

    มีเพื่อนร่วมงานี่ดีและให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน

    ผู้บริหารต้องทำให้บุคลากรเกิดความไว้วางใจ ผู้บริหารต้องมีบุคลิกภาพที่ดีทั้งภายนอกและภายใน มีสมรรถนะ มีคุณธรรม จริยธรรม เรียนสนุกมาก

    สรุปบทเรียนช่วงที่ 6 กิจกรรมรักษ์กาย-รักษ์ใจ

    เรียนเรื่องนี้มีความสุข สนุก ชีวิตมีความสุขมาก ได้มีกิจกรรม ได้เขียนภาพระบายสี เป็นการฝึกสมาธิ ฝึกความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญคือ ฝึกอยู่กับตัวเอง ศิลปะทำให้คนมีสุนทรียะ มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มากขึ้นมหาวิทยาลัยควรมีช่องทางให้บุคลากร นิสิตได้มีประสบการณ์สุนทรียะ เพื่อเติมเต็มความเป็นมนุษย์ ทำให้จิตใจอ่อนโยน สมองได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม ทำให้ทำงานและเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถใช้ศิลปะมาบำบัดจิตใจตนเองได้เมื่อมีปัญหาในการเรียน หรือการใช้ชีวิต

    สรุปความรู้ ช่วงที่ 7 ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต และ SCG รวมถึงการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม

    ได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่สำคัญคือการจัดระบบการบริหารจัดการ การสร้าง Mindset ของคนทุกระดับในมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ค่อยๆเปลี่ยน แต่ที่ชัดเจนคืออธิการบดี ในรอบ 50 ปีมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีจำนวนอธิการบดีไม่มาก ในเรื่องบริหารจัดการ ถือว่ามีความเข้าใจตรงกัน มีการเตรียมผู้สืบทอดตำแหน่งบริหาร (Successor) มีการสื่อสารเรื่อง Change Alignment ตั้งแต่ระดับบน มีฝ่ายสนับสนุนองค์กรที่ทำงานร่วมด้วย สิ่งสำคัญคือต้องสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ถ้าอยากให้มหาวิทยาลัยอยู่อย่างยั่งยืน ต้องร่วมมือกัน ทุกวันจันทร์ ผู้บริหารต้องประชุมกันเรื่องกลยุทธ์ เป็นการประชุมลับ มีการบันทึกเป็น KM ในผลการตัดสินใจ ระดับผู้อำนวยการและรองอธิการบดีก็รับเรื่องลงมาถ่ายทอดไปที่คณบดี ต้องมีการติดตามไปดูการดำเนินกิจกรรม แล้วนำมาประชุมเพื่อหารือว่าจะจัดอย่างไรให้ดีขึ้นในปีถัดไป

    อีกเรื่อง คือการบริหารงบประมาณ ทุกอย่าง ทุกพื้ที่ในมหาวิทยาลัยต้องมีมูลค่าหมด รายได้จากวิจัยและวิชาการ ไม่ใช่รายได้หลัก หลักการคือต้องคุ้มค่า หอพักจะรับนักศึกษาเข้ามา 1 มิถุนายน 2559 ตอนนี้ ยอดจองเต็มแล้ว หอพักช่วยเรื่องการตลาดได้ เมื่อนักศึกษามาสมัคร มักร้องเรียนว่า ไม่มีหอพัก ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพเคยส่งกรรมการไปตรวจดูสภาพหอพักบริเวณใกล้คียงแต่ก็ทำได้ไม่มาก ต้องมีหอพักให้ผู้ปกครองสบายใจ ต้องมีประกันยอด นำไปสู่การสร้างรายได้ส่วนร้านค้า มีที่ให้เช่า ราคาไม่แพงมาก บริหารจัดการโดยฝ่ายบริหารการกระจายงบประมาณ ขึ้นอยู่กับได้เงินเท่าไร มียอดประมาณการณ์ ภายใต้งบแต่ละปี มีสัดส่วนว่าเข้ากองทุนเท่าไร ตึกสร้างด้วยราคาแพง เพราะมีดีไซน์มาก ใช้บริษัทเดียวกันสร้างทั้งหมด จึงสอดคล้องกัน เงินมี 2 ส่วนคือ

    1. Routine เช่นเงินเดือน

    2. กลยุทธ์ ทุกหน่วยต้องเสนอโครงการ ทุกโครงการต้องคุ้มทุน

    การบรรยายพิเศษเรื่อง มหาวิทยาลัยทักษิณกับการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม

    โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

    อยากจะบอกว่ายอดเยี่ยมมาก เราคนไทย และโดยเฉพาะอยู่ในวงการศึกษาต้องตระหนักมากๆ แต่ก้อไม่ควรตระหนก เพราะไทยกำลังลดอัตลักษณ์ไทยลง 10 ปีที่ผ่านมา ไทยมีปัญหา ทำให้สูญหายไปจากโลก แต่ก่อน เวลาไปต่างประเทศ ข้าวหอมมะลิเป็นอันดับ 1 ของโลก ตอนนี้ ตกอันดับ

    ในฐานะครูบา อาจารย์ต้องสร้างนักเรียนให้มีจิตสำนึก มีInnovation Different Enterprise (IDE) ต้องมีในทุกชั้น ต้องผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำที่

    1.มีแรงบันดาลใจเพราะโลกโหยหาผู้นำสร้างแรงบันดาลใจ เราไม่สามารถบริหารคนได้ แต่สร้างแรงบันดาลใจให้ได้ อาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาท

    2.มีความกล้าหาญทางจริยธรรมคือยอดแห่งความกล้าหาญ สังคมไทยมีทั้งคนดีและคนเก่ง แต่ขาดคนกล้าชี้ทางออก บอกทางถูก เพราะสังคมไทยเป็นสังคมอุปถัมภ์ กลัวเสียเพื่อนจึงไม่กล้า ถ้าสิ่งใดที่ไม่กล้าบอกให้คนอื่นทำ ถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี ปัญหาคน ผู้นำทำผิด แต่ไม่มีใครทักท้วง ก็ทำผิดไปตามกัน อาจารย์ต้องปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนมีจิตสำนึกละอายต่อการทำผิด ปัญหาคือสำรวจคนอายุ 29 ปีลงมา คือยอมรับการทุจริตได้ถ้าตนได้ประโยชน์

    และความเป็นครูจะหมายถึงอะไรในอนาคต ถ้าเป็นครูผู้เรียนรู้ เด็กจะอยากเรียนมาก ครูจะเรียนรู้จากเด็กเมื่อให้เด็กเล่น role play เด็กเปลี่ยนไป เรียนรู้เร็วมาก ไปไกล และนักเรียนมี 3 โรคที่น่าเป็นห่วง

    1.โรคความรักตีบตัน ขาดความรักจากครอบครัว ครอบครัวแตกแยก แล้วมาหาความรักนอกบ้าน เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

    2.โรคศักดิ์ศรีบกพร่อง เพราะความรักตีบตัน ความนับถือตนเองน้อย การสอนของโรงเรียนจิตรลดา ทำให้เด็กตอบคำถามยากได้ ครูต้องชมความพยายามไม่ใช่ผลลัพธ์การกระทำ

    3.โรคสำลักเสรีภาพ

    จะแก้ปัญหาได้โดยครูต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเรียนศรัทธา เป็นการปลูกฝังนิสัย เป็นแง่คิดที่ดีมาก

    ครูอาจจะสอนให้สร้างความรู้ด้วยตนเองก็ได้ (Research-based Learning) ปี 2552 คุณดนัยเปิดตัวหนังสือ White Ocean รณรงค์ปราบปรามคอรัปชั่น ปี 2554 เริ่มทำโครงการทูตความดีแห่งประเทศไทย แต่รุ่นสุดท้ายจะจัดในปีนี้ พบว่า เด็กที่ไม่อยู่ระบบการศึกษา มีความเป็นผู้นำสูง ความคิดริเริ่มดี ปีแรก แก้ปัญหาคอรัปชั่น แก้ปัญหาท้องวัยเรียนและแก้ปัญหายาเสพติด ก็นำเด็กไปเยี่ยมนักโทษ นำเด็กไปเยี่ยมแม่ที่ท้องในวัยเรียน เด็กสะเทือนใจไม่อยากเห็นแม่ร้องไห้ ทำให้เด็กเป็นเจ้าภาพในแก้ปัญหา ก็นำเด็กที่เป็นแฟนกันมาทดลองเลี้ยงเด็ก แล้วก็จะรู้ตัวเองว่าไม่พร้อม เด็กที่ทำโครงการแล้วชนะทำเรื่องการแก้ปัญหาคอรัปชั่นปีแรก โดยเน้นให้เป็นแบบ Imagine Thailand ให้งบประมาณทีมละ 20,000 บาทสำหรับทีมที่ชนะ เด็กภาคใต้บอกว่า ประเทศไทยดีที่สุดในโลก แต่ต้องเปลี่ยนนิสัยคนไทย เด็กอีสานบอกว่า คนดีหายหัว คนชั่วลอยนวล คุณดนัยประทับใจที่สุดคือเด็กตาบอดเรียนการศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จบแล้วจะเป็นครู บอกว่า การโกงกินเป็นหายนะของสังคม ผู้ใหญ่สอนอย่าง ทำอีกอย่าง เด็กกลุ่มนี้ชูรูปในหลวง ได้ยินเรื่องเกี่ยวกับในหลวง และฝันว่าในชาตินี้จะเห็นในหลวง แต่ใช้หัวใจสัมผัสทราบว่าในหลวงเป็นคนดี เขาจะเป็นข้าราชการที่ดี

    ฟังแล้วซาบซึ้ง และต้องตั้งสติเพื่อช่วยหาทางออกให้กับประเทศ โดยเริ่มจากตัวเรา ครอบครัวเรา งานเรา มหาวิทยาลัยของเรา

    และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัดกิจกรรม CSR / การแลกเปลี่ยนประสบการณ์สิ่งที่ประทับใจที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานที่มหาวิทยาลัยฯ มีดังนี้

    ศึกษาดูงาน ณ SCG หัวข้อ กรณีศึกษาการบริหารจัดการองค์กรเเละการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ SCG ได้แง่คิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่น่าสนใจและดี สามารถนำสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยทักษิณด้วย

    ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ SCG ยืนยงมาได้มี 3 อย่างคือ

    1.บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) คือ รับผิดชอบ โปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ เป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บนพื้นฐานของความสมดุลและยั่งยืน (Sustainable Development)

    2.จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ SCG ทำเป็นเล่มแจกพนักงานตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานเพราะต้องปลูกฝังตั้งแต่แรกเข้า ตอนที่คัดคนเข้าทำงานก็ต้องค้นหาคนที่มีจรรยาบรรณแบบนี้เข้ามา

    2.1 ปฏิบัติต่อกันภายใต้สิทธิเสรีภาพ คือ ไม่ว่าจะเป็นคนชาติหรือศาสนาใดก็ถือว่าเท่าเทียม

    2.2 ต้องมีการดูแลสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย

    2.3 การให้หรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด

    2.4 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

    2.5 การจัดหา ต้องโปร่งใส มีหน่วยงานจัดหามามีส่วนร่วมในการประกวดราคาทุกครั้ง

    2.6 การทำธุรกรรมกับรัฐ ไม่มีเงินใต้โต๊ะ

    2.7 การปฏิบัติต่อข้อมูลและทรัพย์สิน

    2.8 การเปิดเผยข้อมูลและการสื่อสาร เนื่องจากเป็นข้อมูลและทรัพย์สินของบริษัทจึงไม่ควรนำไปเปิดเผย ถ้ามีการเปิดเผย ก็จะกระทบต่อราคาหุ้น ไม่ควรใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์กับตัวเองหรือครอบครัว

    2.9 การทำธุรกรรม ต้องตรงไปตรงมา

    2.10 การประกอบธุรกิจในต่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศ ต้องดูกฎหมายต่างประเทศเพื่อไม่ให้เป็นการเลี่ยงภาษี

    2.11 การแข่งขันทางการค้า ควรเป็นการค้าที่เป็นธรรม ไม่มีการลดราคาแข่งกัน

    2.12 ป้องกันการฟอกเงิน

    เป็นแนวคิดที่ดีมาก ระดับชาติก็ควรจะเป็นเช่นนี้

    สรุปบทเรียนช่วงที่ 8จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    บรรยายโดย คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน

    ได้เรียนรู้เรื่องราวที่ไม่รู้มากมาย ซึ่งมหาวิทยาลัยปัจจุบันต้องรู้เรื่องนี้ด้วย เพราะการตลาด ไม่ใช่แค่การซื้อของ แต่เป็นการเข้าใจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคหรือ Stakeholder รวมไปถึงผู้ถือหุ้น และ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องกับสังคม คือทำให้ชุมชนในพื้นที่หรือที่ทำธุรกิจได้รับประโยชน์ด้วย

    มหาวิทยาลัยเป็นลักษณะการให้ความรู้กับนักเรียน นักศึกษาให้เป็นคนมีความรู้ ความสามารถ ตอบสนองต่อการพัฒนาอาชีพได้ แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีบทบาทมากกว่านั้น อาทิ บทบาทในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งในส่วนของภาคธุรกิจ สังคม การพัฒนาชุมชน และมหาวิทยาลัยชั้นสูงจะมีเอกลักษณ์ในแต่ละพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป

    ภาพใหญ่ สิ่งที่คิดว่ามีความสำคัญที่ช่วยในการ Transform หรือเปลี่ยนสังคมไทยยุคใหม่ในตลาดโลกในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มี 5 เรื่อง

    1. New Global Trend – เป็นการเปลี่ยนในปัจจุบันและ Life style คนรุ่นใหม่ ในอนาคตอันใกล้ คน Generation x หรือ Young PhD. หรือรุ่นปลาย ๆ

    2. Creative Economy – เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม อาจเป็นรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์หรือภูมิปัญญาสมัยใหม่

    3. 5C’s Model

    4. New Society / New DNA เป็น Global Village สังคมยุคใหม่เป็นยุคทางอินเตอร์เน็ต มีทีมของตัวเอง เป็นเรื่องที่คนยุคใหม่ไม่จำกัดที่ต้องอยู่ในโลกแคบเหมือนสมัยก่อน เป็นลักษณะ DNA หรือที่เป็น Character ของคน สำหรับคนยุคใหม่ มีความท้าทายกับคนไทยยุคใหม่ การปรับเปลี่ยนทัศนคติเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเติบโตไปด้วยได้ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดี

    5. New Organization Culture สามารถนำมาใช้ได้ในมหาวิทยาลัย

    มหาวิทยาลัยทักษิณ มีข้อได้เปรียบอะไรที่สามารถใช้ต่อยอดและเป็นจุดขายให้กับนักเรียน นักศึกษาและพ่อแม่ผู้ปกครอง และการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม จะต่อยอดกันอย่างไร

    ต้องเข้าใจว่าเด็กรุ่นใหม่มี Community แบบไหน ติดต่อกันอย่างไร จะทำให้พูดกับคนยุคใหม่ที่ใช้สังคมออนไลน์ได้อย่างดี เช่นการถ่ายรูปก่อนทานอาหารเป็นลักษณะของสังคมยุคใหม่ เป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ทำหลายอย่าง เป็นลักษณะ Multi Tasking เช่นห้องสมุดยุคใหม่ต้องสามารถคุยได้ ทำงาน กินขนมได้ เป็นต้น

    Case Studies and Intensive Management Workshop TSU Positioning in Thailand and ASEAN+6

    มหาวิทยาลัยทักษิณ ต้องรู้ Positioning ของตัวเอง และต้องเป็นมหาวิทยาลัยของท้องถิ่นที่มีคุณภาพ ให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตและด้านสร้างความเจริญให้แก่ชุมชน

    แง่คิดที่ได้ พบว่า ด้านวิชาการน่าจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

    1. Positioning in Marketing ได้เห็น Demand side ซึ่งมหาวิทยาลัยทักษิณค่อนข้างจะอ่อน ไม่ใช่มหาวิทยาลัยมีลูกค้า ทำอะไรก็ตามถ้าคนที่รับบริการไม่เห็นด้วยเราก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำคือเราต้องเข้าใจ Customer ต้องมีคนชื่นชมในบริการของมหาวิทยาลัย และอีกประเด็นที่สำคัญคือ ไม่ว่ามหาวิทยาลัยจะทำอะไรก็ตาม จะไม่มีความสำคัญเลยถ้าไม่ Keep improving ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงตามบริบทที่เปลี่ยนไป TSU สำคัญอย่างไรบ้าง ลูกค้าไม่ได้จำกัดแค่ภาคใต้เท่านั้น ต้องมองในต่างประเทศมากขึ้น และน่าจะเป็นความพยายามที่ยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้า ต้องมอง Perspective ที่กว้างขึ้น ต้องปรับพฤติกรรมหรือ Mindset ที่จัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้

    2. Strategic Positioning ต้องดูว่าเรามีจุดแข็งอะไร เก่งอะไร ต้องดูไปที่ Customer

    ถ้าเราเข้มแข็ง เราจะไม่เหมือนคนอื่น ถ้ามีอันอื่นที่ทดแทนได้แสดงว่าเราไม่เก่งจริง อะไรคือความแตกต่าง ซึ่งถ้าบวก Demand side จะเป็น Keyword ในการเตรียมงานในอนาคตนอกจากนี้เราต้องมี Uniqueness หรือความเป็นเฉพาะทางเอา 2 Concept มารวมกันต้องวิเคราะห์ที่มาของมหาวิทยาลัย การก่อตั้ง ผลงานปัจจุบันและอนาคต และบวกกับ Chira way เพื่อจะเป็นการขับเคลื่อนงานของมหาวิทยาลัย และเน้นการมอง Futuristic ให้ดี Concept ต่าง ๆ ในโลกต้อง Deep Dive

    น่าจะเป็นประเด็นที่ผู้บริหารต้องพิเคราะห์ พิจารณาและทำด่วน และประทับใจที่ ศ ดร.จิระกล่าวว่าอุปสรรคที่เป็นห่วงคือ คนในห้องนี้สอบผ่านทุกคนแต่เวลาไปทำโปรเจคจริง ๆ

    การบริหารที่ล้าสมัย

    การปรับ Mindset ได้ช้า

    การขาดการบริหารการเปลี่ยนแปลง

    การใช้ Social Medias ไม่ทันกับคนรุ่นใหม่

    การทำงานแบบ Top – Down หรือ Bureaucracy (Routine) มากไป

    การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ล้าสมัย

    ขาดการทำงานข้ามคณะ แบบทลาย Silo

    ขาดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

    มี Committee มากเกินไป ประชุมบ่อยเกินไป

    ขาดการทำงานที่รวดเร็ว (Agility)

    การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า อย่าดาวกระจายเรื่อง Customer ต้องดูให้ดีว่ากลุ่มไหน
    ดร.จีระ เสนอต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่อยากเสนอคือ อินโดนีเซีย และการวิจัยต้องมี Impact มากขึ้น ต้องแน่ใจว่างานเหล่านี้มีประโยชน์ และถ้าจะมองในอนาคตให้ดู Target Customer กับ Segmentationให้ดี คิดว่า Positioning อาจเป็นจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัย ต้องไปคิดต่อ

    บทเรียนที่ไปดูงานของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ SCG

    มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับบทเรียนสำคัญดังนี้

    1. ตราสินค้าหรือแบรนด์ ที่มีผู้บริหารสูงสุดคืออธิการบดีเป็นผู้ควบคุมแบรนด์ เน้นการสื่อสารที่ชัดเจน เข้าถึง ทันสมัย และเป็นจริง

    2. การจัดสรรพื้นที่ ซึ่งเป็นการจัดสรรพื้นที่ที่รองรับการจัดกิจกรรมของนักศึกษาที่เข้าถึงและใช้ได้จริงสามารถใช้ในทุกพื้นที่ที่เป็นผลประโยชน์ ทุกพื้นที่ใช้ได้จริง ทั้งอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรใช้ได้หมด

    3. ความเป็นมืออาชีพ ที่ผลิตเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานระดับ Premium และการเกิดขึ้นจริง เช่น ธุรกิจการบิน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาหลักสูตรอื่นเข้ามาเรียนในบางรายวิชาด้วย ทำให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ประสบปัญหา เพราะมีองค์ความรู้เชิงทฤษฎีและมีทักษะการปฏิบัติจริง

    SCG

    1. ตราสินค้าสื่อสารถึงลูกค้าที่ชัดเจน และทันสมัย ซึ่งเห็นได้จากมุมมองของคุณอนุวัฒน์ ที่เห็นความสำคัญของการสร้างแบรนด์มาก สร้าง Internal Branding สร้าง DNA แบรนด์

    2. อุดมการณ์ที่ตั้งมั่นอยู่บนความเป็นธรรม มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ และตั้งมั่นต่อสังคม

    3. ภาพลักษณ์ได้รับการยอมรับด้านการเป็นบรรษัทธรรมาภิบาลและความยั่งยืน

    สรุปการปรับใช้สู่ มหาวิทยาลัยทักษิณ

    1. ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญต่อตราสินค้า และสื่อสารองค์กรที่ชัดเจน โดยมหาวิทยาลัยทักษิณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อ แต่สามารถ Re-Branding ได้คล้ายกับ ม.สวนดุสิต ที่พยายาม Re-Branding เป็น "SDU" ในขณะที่มหาวิทยาลัยทักษิณก็น่าชูแบรนด์เป็น "TSU"

    2. การสื่อสารภาพลักษณ์สู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น website สิ่งสำคัญของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คือ การรับสมัครเรียน แต่มหาวิทยาลัยทักษิณยังไม่รู้อยู่ตรงไหน ประเด็นคือ การสื่อสารองค์กรต้องมุ่งเน้นที่ตัวลูกค้าเป็นสำคัญ และถ้าพิจารณาในภาคภาษาอังกฤษ พบว่า มหาวิทยาลัยทักษิณให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ดังนั้นการสื่อสารองค์กรของมหาวิทยาลัยทักษิณมีรูรั่วเยอะมาก

    3. ความเป็นมืออาชีพ มหาวิทยาลัยควรปรับเพื่อตอบสนองต่อตลาดแรงงานและการปฎิบัติจริง ขอยกตัวอย่าง การแพทย์แผนไทยสามารถเชื่อมโยงไปสู่ความเป็นมืออาชีพอื่นๆ เช่น ฟาร์มสมุนไพร (สาขาเกษตร) การผลิตยาสมุนไพร (สาขาวิทยาศาสตร์) การเปิดธุรกิจสปา (สาขาบริหารธุรกิจ) หรือแม้แต่ความเป็นรากการศึกษาของภาคใต้ที่ถือว่าเป็นรากแก้ว แต่ทว่ากว่า 20 ปี (2539-2559) ของการเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตไม่สามารถก่อร่างสร้างตัวขึ้นได้ ดังนั้นมหาวิทยาลัยทักษิณจะพัฒนาเป็นมืออาชีพได้อย่างไร ถ้าไม่พัฒนาบนฐานความเป็นรากแก้วแห่งการศึกษา

    สำหรับการเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559)นั้น กระผมมีควมประทับใจในประเด็น New Global Trend ซึ่งเป็นการเปลี่ยนในปัจจุบันและ Life style คนรุ่นใหม่ ในอนาคตอันใกล้ Creative Economy – เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม อาจเป็นรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์หรือภูมิปัญญาสมัยใหม่ New Society / New DNA เป็น Global Village สังคมยุคใหม่เป็นยุคทางอินเตอร์เน็ต มีทีมของตัวเอง เป็นเรื่องที่คนยุคใหม่ไม่จำกัดที่ต้องอยู่ในโลกแคบเหมือนสมัยก่อน เป็นลักษณะ DNA หรือที่เป็น Character ของคน สำหรับคนยุคใหม่ มีความท้าทายกับคนไทยยุคใหม่ การปรับเปลี่ยนทัศนคติเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเติบโตไปด้วยได้ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดี และ New Organization Culture สามารถนำมาใช้ได้ในมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยทักษิณ มีข้อได้เปรียบอะไรที่สามารถใช้ต่อยอดและเป็นจุดขายให้กับนักเรียน นักศึกษาและพ่อแม่ผู้ปกครอง และการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม แต่ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และนโบายในการบริหารมหาวิทยาลัยด้วย

    สำหรับมหาวิทยาลัยทักษิณนั้นจำเป็นจะต้องรู้ ถึงPositioning ของมหาวิทยาลัยเอง และต้องเป็นมหาวิทยาลัยของท้องถิ่นที่มีคุณภาพในระดับสากล โดยให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตและด้านสร้างความเจริญให้แก่ชุมชน ทั้งนี้หากมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนสู่ความสมบูรณ์แบบของมหาวิทยาลัยในความเป็นท้องถิ่นแต่ความมีคุณภาพในระดับสากล ถือเป็นการเปลี่ยนโฉมและสร้างความเป็นตัวตนที่แท้จริงของมหาวิทยาลัย

    การกล่าวถึง Positioning ของมหาวิทยลัยทักษิณในปัจจุบันและในอนาคต การมองอนาคตที่ท้าทายเพื่อให้เป็นจุดเด่นและยั่งยืนในอนาคต การวิเคราะห์จุดด้อยของมหาวิทยาลัย การมองจุดแข็ง การนำเทคโนโลยี สื่อสังคมออนไลน์เข้ามาช่วยให้ก้าวไปถึงจุดหมายอย่างง่ายดายขึ้น

    คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ท่านได้มาบรรยายถึงทิศทางและองค์ประกอบที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในสังคมอนาคต

    1. New Global Trend – เน้นการเปลี่ยนสไตน์การใช้ชีวิตของคนในอนาคต

    2. Creative Economy – การหันมาให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือภูมิปัญญาสมัยใหม่

    3. New Society / New DNA เป็นสังคมยุคอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดที่ต้องอยู่ในโลกแคบ

    5. New Organization Culture

    ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม

    สรุปบทเรียนช่วงที่ 8จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    บรรยายโดย คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน

    ได้เรียนรู้เรื่องราวที่ไม่รู้มากมาย ซึ่งมหาวิทยาลัยปัจจุบันต้องรู้เรื่องนี้ด้วย เพราะการตลาด ไม่ใช่แค่การซื้อของ แต่เป็นการเข้าใจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคหรือ Stakeholder รวมไปถึงผู้ถือหุ้น และ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องกับสังคม คือทำให้ชุมชนในพื้นที่หรือที่ทำธุรกิจได้รับประโยชน์ด้วย

    มหาวิทยาลัยเป็นลักษณะการให้ความรู้กับนักเรียน นักศึกษาให้เป็นคนมีความรู้ ความสามารถ ตอบสนองต่อการพัฒนาอาชีพได้ แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีบทบาทมากกว่านั้น อาทิ บทบาทในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งในส่วนของภาคธุรกิจ สังคม การพัฒนาชุมชน และมหาวิทยาลัยชั้นสูงจะมีเอกลักษณ์ในแต่ละพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป

    ภาพใหญ่ สิ่งที่คิดว่ามีความสำคัญที่ช่วยในการ Transform หรือเปลี่ยนสังคมไทยยุคใหม่ในตลาดโลกในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มี 5 เรื่อง

    1. New Global Trend – เป็นการเปลี่ยนในปัจจุบันและ Life style คนรุ่นใหม่ ในอนาคตอันใกล้ คน Generation x หรือ Young PhD. หรือรุ่นปลาย ๆ

    2. Creative Economy – เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม อาจเป็นรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์หรือภูมิปัญญาสมัยใหม่

    3. 5C’s Model

    4. New Society / New DNA เป็น Global Village สังคมยุคใหม่เป็นยุคทางอินเตอร์เน็ต มีทีมของตัวเอง เป็นเรื่องที่คนยุคใหม่ไม่จำกัดที่ต้องอยู่ในโลกแคบเหมือนสมัยก่อน เป็นลักษณะ DNA หรือที่เป็น Character ของคน สำหรับคนยุคใหม่ มีความท้าทายกับคนไทยยุคใหม่ การปรับเปลี่ยนทัศนคติเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเติบโตไปด้วยได้ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดี

    5. New Organization Culture สามารถนำมาใช้ได้ในมหาวิทยาลัย

    มหาวิทยาลัยทักษิณ มีข้อได้เปรียบอะไรที่สามารถใช้ต่อยอดและเป็นจุดขายให้กับนักเรียน นักศึกษาและพ่อแม่ผู้ปกครอง และการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม จะต่อยอดกันอย่างไร

    ต้องเข้าใจว่าเด็กรุ่นใหม่มี Community แบบไหน ติดต่อกันอย่างไร จะทำให้พูดกับคนยุคใหม่ที่ใช้สังคมออนไลน์ได้อย่างดี เช่นการถ่ายรูปก่อนทานอาหารเป็นลักษณะของสังคมยุคใหม่ เป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ทำหลายอย่าง เป็นลักษณะ Multi Tasking เช่นห้องสมุดยุคใหม่ต้องสามารถคุยได้ ทำงาน กินขนมได้ เป็นต้น

    Case Studies and Intensive Management Workshop TSU Positioning in Thailand and ASEAN+6

    มหาวิทยาลัยทักษิณ ต้องรู้ Positioning ของตัวเอง และต้องเป็นมหาวิทยาลัยของท้องถิ่นที่มีคุณภาพ ให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตและด้านสร้างความเจริญให้แก่ชุมชน

    แง่คิดที่ได้ พบว่า ด้านวิชาการน่าจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

    1. Positioning in Marketing ได้เห็น Demand side ซึ่งมหาวิทยาลัยทักษิณค่อนข้างจะอ่อน ไม่ใช่มหาวิทยาลัยมีลูกค้า ทำอะไรก็ตามถ้าคนที่รับบริการไม่เห็นด้วยเราก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้นสิ่งแรกที่เราต้องทำคือเราต้องเข้าใจ Customer ต้องมีคนชื่นชมในบริการของมหาวิทยาลัย และอีกประเด็นที่สำคัญคือ ไม่ว่ามหาวิทยาลัยจะทำอะไรก็ตาม จะไม่มีความสำคัญเลยถ้าไม่ Keep improving ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงตามบริบทที่เปลี่ยนไป TSU สำคัญอย่างไรบ้าง ลูกค้าไม่ได้จำกัดแค่ภาคใต้เท่านั้น ต้องมองในต่างประเทศมากขึ้น และน่าจะเป็นความพยายามที่ยิ่งใหญ่ในภายภาคหน้า ต้องมอง Perspective ที่กว้างขึ้น ต้องปรับพฤติกรรมหรือ Mindset ที่จัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้

    2. Strategic Positioning ต้องดูว่าเรามีจุดแข็งอะไร เก่งอะไร ต้องดูไปที่ Customer

    ถ้าเราเข้มแข็ง เราจะไม่เหมือนคนอื่น ถ้ามีอันอื่นที่ทดแทนได้แสดงว่าเราไม่เก่งจริง อะไรคือความแตกต่าง ซึ่งถ้าบวก Demand side จะเป็น Keyword ในการเตรียมงานในอนาคตนอกจากนี้เราต้องมี Uniqueness หรือความเป็นเฉพาะทางเอา 2 Concept มารวมกันต้องวิเคราะห์ที่มาของมหาวิทยาลัย การก่อตั้ง ผลงานปัจจุบันและอนาคต และบวกกับ Chira way เพื่อจะเป็นการขับเคลื่อนงานของมหาวิทยาลัย และเน้นการมอง Futuristic ให้ดี Concept ต่าง ๆ ในโลกต้อง Deep Dive

    น่าจะเป็นประเด็นที่ผู้บริหารต้องพิเคราะห์ พิจารณาและทำด่วน และประทับใจที่ ศ ดร.จิระกล่าวว่าอุปสรรคที่เป็นห่วงคือ คนในห้องนี้สอบผ่านทุกคนแต่เวลาไปทำโปรเจคจริง ๆ

    การบริหารที่ล้าสมัย

    การปรับ Mindset ได้ช้า

    การขาดการบริหารการเปลี่ยนแปลง

    การใช้ Social Medias ไม่ทันกับคนรุ่นใหม่

    การทำงานแบบ Top – Down หรือ Bureaucracy (Routine) มากไป

    การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ล้าสมัย

    ขาดการทำงานข้ามคณะ แบบทลาย Silo

    ขาดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

    มี Committee มากเกินไป ประชุมบ่อยเกินไป

    ขาดการทำงานที่รวดเร็ว (Agility)

    การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า อย่าดาวกระจายเรื่อง Customer ต้องดูให้ดีว่ากลุ่มไหน
    ดร.จีระ เสนอต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่อยากเสนอคือ อินโดนีเซีย และการวิจัยต้องมี Impact มากขึ้น ต้องแน่ใจว่างานเหล่านี้มีประโยชน์ และถ้าจะมองในอนาคตให้ดู Target Customer กับ Segmentationให้ดี คิดว่า Positioning อาจเป็นจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัย ต้องไปคิดต่อ

    การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสังคมไทยที่ต้องคำนึงถึง มี 5 เรื่อง สำคัญ คือ

    1. New Global Trend

    2. Creative Economy

    3. 5C’s Model

    4. New Society / New DNA เป็น Global Village

    5. New Organization Culture

    ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวให้เท่ากันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคตทั้งในด้านการออกแบบหลักสูตร การบริหารจัดการองค์กร การบริคนในองค์กร ฯลฯ


    การบ้านวันที่ 22-23 มค. 59

    ประเด็นเด่นที่ท้าทายตนเอง และมหาวิทยาลัยทักษิณ คือ

  • การทำงานต้องต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ตอนระหว่างเรียนเป็นช่วงที่เรารู้จักกันซึ่งเราเรียกว่า Networking คือในห้อง และ Informal Networking บางครั้งอาจพา ม.ทักษิณไป Network กับที่อื่นก็ได้ ควรปรับเจตคติที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และการทำงานได้หรือไม่ << ปัจจุบันเรามีภาระงานเข้ามาเยอะมาก จนขาดความต่อเนื่องในงานใดงานหนึ่ง ก็เลยด้อยในเรื่องของความชำนาญ ทั้งนี้หากเราส่งเสริมความต่อเนื่อง เราก็จะสามารถสร้างจุดเด่นให้ตัวเองได้ ส่วนเรื่อง networking นั้นก็เห็นว่าสำคัญมาก การได้มาอบรม ก็ถือเป็นการสร้าง network ที่ดีทำให้ได้รู้จักสมาชิกจากต่างคณะ ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะได้รู้จักกันมากนัก
  • ทฤษฎี 3 V คือ Value Added, Value Creation, Value Diversity เช่น Value Creation มหาวิทยาลัยถ้าไม่มี Idea ใหม่ ๆ เกิดขึ้น มหาวิทยาลัยจะไม่สามารถ Lift Forward ได้ เป้าหมายของม.ทักษิณ อาจหาเงินจากภาคเอกชน ภาคราชการ ไม่ต้องรอสำนักงบประมาณอย่างเดียว และ Value Diversity ควรเป็น Diversity ที่ข้ามคณะ << อยากให้ม.ทักษิณนำทฤษฎี 3 V นี้มาทำให้เป็นรูปธรรมจะเกิดประโยชน์อย่างมากค่ะ
  • การเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559) วิชาที่ จากแนวคิดทางการตลาดสู่การปรับใช้กับการทำงานของมหาวิทยาลัยทักษิณโดย คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน

    แนวคิดทางการตลาดที่ได้รับความรู้จากท่านอภิรักษ์ โกษะโยธิน สามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนางานในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ โดยหลักคิดที่ว่าการตลาดบางครั้งอาจเข้าใจว่าเกี่ยวกับสาขาการบริหารธุรกิจ แต่จริง ๆ แล้วเป็นการเข้าใจและตอบสนองความต้องการทั้งของผู้บริโภคและ Stakeholder การตลาด ไม่ใช่แค่การซื้อของ แต่เป็นการเข้าใจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคหรือ Stakeholder รวมไปถึงผู้ถือหุ้น และ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องกับสังคม คือทำให้ชุมชนในพื้นที่หรือที่ทำธุรกิจได้รับประโยชน์ด้วย ถ้าผู้ที่ต้องการพัฒนาหลักสูตร คิดบนพื้นฐานเช่นนี้ หลักสูตรก็จะมีนักเรียนเข้ามาเรียน เพราะเป็นสิ่งที่ตรงกับความต้องการของชุมชนและสังคม เป็นต้น

    Urbanization เป็นนโยบายการกระจายความเจริญไปสู่จังหวัด มีการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ต้องมีการ Empower หรือ Decentralize อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถฝืนกระแสโลกที่เป็น Global Trend ได้คือ Urbanization และ Trend ทั่วโลก การเป็น Mega City คือเป็นศูนย์รวมของโอกาสการทำงาน การพัฒนาในด้านต่าง ๆ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ทีจะเกิด Urbanization การพัฒนาให้เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่ด้วย แต่อาจจะไม่ใช่เฉพาะแค่พื้นที่นั้นอย่างเดียว ต้องมองโดยรอบด้วย เช่น ในหาดใหญ่ อาจมีคนในจังหวัดใกล้เคียงที่ส่งคนมาทำงาน มาเรียนด้วย และถ้ากว้างกว่านั้นคือเป็น Global Citizen ที่ต้องรวมถึงนักท่องเที่ยว กรณีภาคใต้ สงขลาหรือหาดใหญ่ต้องทันสมัย สิ่งที่คนให้ Value มากคือ Cultural Heritage คือเป็นสิ่งที่มองในเรื่อง Activity มาก วัฒนธรรมแตกต่างของภูมิภาค น่าจะนำมาต่อยอด ซึ่งเป็น Trend ที่คนรุ่นใหม่สนใจ

    (ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2559) ได้เรียนรู้เรื่องการทำงานเป็น teamwork ซึ่งทุกคนควรรู้จักหน้าที่ของตน ผู้นำถูกคาดหวังว่าจะต้องมีเทคนิควิธีการใหม่ๆ หรือมีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกมหาวทิยาลัย ที่สามารถนำไปใช้บริหารทรัพยากรบุคคลได้ ซึ่งในการทำงานร่วมกันเป็นทีมให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องตั้งคุณค่าร่วมกันซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้นำมองเห็นและสิ่งที่เขาเป็น เมื่อมีคุณค่าที่ดีก็จะเกิดแรงบันดาลใจ เกิดการพัฒนาร่วมกัน เราต้องมองเห็นคุณค่าและยอมรับซึ่งกันและกัน สิ่งสำคัญคือต้องทำอย่างต่อเนื่อง ๆๆๆและผู้นำที่จะประสบความสำเร็จควรมีลักษณะสองอย่างคือ มีมนุษยสัมพันธ์ และ มีความคิดสร้างสรรค์ การมีมนุษยสัมพันธ์ทำให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทำงานเป็นทีมได้ ส่วนการมีความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดที่คิดต่างจากคนอื่น แยกยอดเป็นความคิดอื่นได้ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์นี้ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้

    (ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2559) ได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดการบริหารของ CEO ในองค์กรใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งทั้งสององค์กรนี้มีการดูแลทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างดีเพราะเชื่อว่าบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง CEO ต้องมีวิสัยทัศน์ มีความรับผิดชอบ มีความเป็นธรรม ธรรมาภิบาล มีการสื่อสารเพื่อให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ TEAM WORK--แนวคิดที่ได้เรียนในช่วงนี้สามารถไปนำใช้ในการทำงานได้คือ ต้องมีการสื่อสารกันและกันให้มากขึ้น เพื่อให้ทุกคนเข้าใจร่วมกันเพื่อนำไปสู่การพัฒนา

    (ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559) ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีคิดของแจ็คมาร์ ผู้ก่อตั้ง Alibaba ในการทำงาน แจ็คมาร์ใช้นวัตกรรมในการทำงาน และมองหาโอกาสทางธุรกิจอยู่เสมอๆ เขาสร้างTeamwork โดยการดึงคนเก่งเข้ามาร่วมงานด้วย มีรูปแบบการจ้างงาน ในลักษณะ Grassroot Idea from bottom และรับฟังความคิดเห็นจากคนรากหญ้า และได้แนวคิดเรื่อง ปัจจัยในการขับเคลื่อนธุรกิจที่ต้อง Faster Better Cheaper อีกทั้งยังได้Trends เช่น trends ที่เกี่ยวกับการเติบโตของผู้สูงอายุ (Aging Population). ,Health and wellness ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้ เช่น -การวางแผนการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต –มองหาโอกาสในการเพิ่มจำนวนนิสิตให้มากขึ้น –ผลิตบัณฑิตได้ตรงกับความต้องการของตลาดให้มากขึ้น

    (ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2559) ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Mindset ว่าเป็นสิ่งสร้างและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อยู่ภายใต้ Conscious และ Sub-conscious ผู้นำควรมี Growth Mindset และต้องทำหน้าที่เป็น Mentor เรียนรู้ร่วมกันกับทีม ซึ่ง 4 Mindsets ได้แก่ Emotional Intelligence Mindset, Connection Mindset เป็นการพัฒนาทีม Growth Mindset , Performance Mindset ผู้นำมาเชื่อมโยงกันให้เกิดมูลค่า โดยทำทุกวันเพื่อให้เป็น Best Practice และได้เรียนรู้เรื่อง Personality - Social Skills Development and Table Manners ซึ่งเป็นสิ่งที่นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ได้เรียนรู้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าใจหลักการทรงงานของพระองค์ท่านอย่างแท้จริง ไม่ได้เกิดจากการตีความของตนเอง ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้หลักการในชีวิตประจำวันและการทำงานได้จริง

    (ช่วงที่ 6 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-1 เมษายน 2559) กิจกรรมรักษ์กาย-รักษ์ใจ เรียนรู้วิธีผ่อนคลายทางด้านร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกายโดยการบริหารร่างกายการพูดออกเสียงพร้อมกับทำท่าทางประกอบ และเรียนรู้วิธีผ่อนคลายด้วยศิลปะเพื่อบำบัดซึ่งในการวาดภาพสีน้ำนั้นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการวาด ต้องวางแผนการวาด องค์ประกอบภาพ ต้องรู้จักรอคอยจังหวะ(สีเปียก สีแห้ง) ต้องรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ชนิดของกระดาษ ชนิดของสี ขนาดของแปรง

    (ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2559) สิ่งทีได้จากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้เห็นถึงระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งมีวิธีการทำงานที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยของรัฐ ด้านในการบริหารจัดการ มีการสื่อสารเรื่องนี้ไปยังบุคลากรทุกระดับเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงาน ภายใต้แนวคิด มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์” (Creative University) มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีหลักสูตรไม่มาก แต่มีนักศึกษาจำนวนมาก โดยเฉพาะหลักสูตรนิเทศศาสตร์ มีการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม มีการออกแบบและสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ มีการใช้เทคโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการเรียนการสอนและการทำงานของฝ่ายต่างๆ เช่น ระบบการเรียนออนไลน์ ระบบการประเมินการสอน ระบบงานทะเบียน ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นต้น ส่วนที่ SCG นั้น มีการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล มีจรรยาบรรณและอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจ มุ่งเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรม มีการทำ CSR หลายโครงการ (เด่นมากเรื่อง CSR) มีการดูแลทรัพยากรบุคคลของบริษัทที่ดีมาก เช่น มีระบบ Careerclick แต่ก็มีระบบการคัดคนเข้าทำงานอย่างเข้มข้นโดยพิจารณาจากความสามารถและทัศนคติ(ที่ดี)

    (ช่วงที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559) ได้แนวคิดดังนี้ การตลาด ไม่ใช่แค่การซื้อของแต่เป็นการเข้าใจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคหรือ Stakeholder และสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมไทย มี 5 เรื่องคือ 1.New Global Trend 2.Creative Economy 3. 5C’s Model .4. New Society / New DNA5. New Organization Culture ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของตลาด และจากการทำ workshop ทำให้ได้แนวคิดเรื่อง Positioning in Marketing (เราต้องเข้าใจ Customer) และ Strategic Positioning - ที่สำคัญที่สุด มหาวิทยาลัยต้องมีการปรับตัว มีการพัฒนาหลักสูตร พัฒนาคุณภาพอาจารย์

    ในการเรียนรู้ช่วงที่ 8 นี้ประทับใจในเรื่อง New Global Trend ซึ่งเป็นการเปลี่ยนในปัจจุบันและ Life style คนรุ่นใหม่ ซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลงและรู้ให้เท่าทัน เรื่อง Creative Economy ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม อาจเป็นรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์หรือภูมิปัญญาสมัยใหม่ ซึ่งควรจะมีการเชื่อมโยงเรื่องราวอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง New Society / New DNA เป็น Global Village สังคมยุคใหม่เป็นยุคทางอินเตอร์เน็ต มีทีมของตัวเอง เป็นเรื่องที่คนยุคใหม่ไม่จำกัดที่ต้องอยู่ในโลกแคบเหมือนสมัยก่อน เป็นลักษณะ DNA หรือที่เป็น Character ของคน สำหรับคนยุคใหม่ มีความท้าทายกับคนไทยยุคใหม่ การปรับเปลี่ยนทัศนคติเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเติบโตไปด้วยได้ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดี และ New Organization Culture สามารถนำมาใช้ได้ในมหาวิทยาลัย นั่นคือต้องเตรียมตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากข้อได้เปรียบของมหาวิทยาลัยที่สามารถใช้ต่อยอดและเป็นจุดขายให้กับลูกค้าผู้รับบริการ คือ นิสิต ตลอดจนพ่อแม่ ผู้ปกครอง และการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม ให้เท่าทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะสามารถดำรงตนอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืน

    และจากการฝึกปฏิบัติการทำให้เรารู้จักการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์สถานภาพตนเอง และการตัดสินใจในการบริหารอย่างมีกลยุทธ์ ตลอดจนมีทิศทางที่ชัดเจน คิดบูรณาการอย่างหลากหลายและรอบด้าน จึงจะทำให้งานประสบความสำเร็จ หากมีข้อผิดพลาดก็สามารถแก้ไขได้ทันต่อเหตุการณ์

    บทเรียนในช่วงที่ 8 หลักคิดสำคัญที่ได้รับคือการให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกซึ่งผู้นำจะต้องเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคใหม่ และตั้งรับ เพื่อการปรับตัวให้สามารถอยู่รอดได้ในอนาคต สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางตำแหน่ง หรือ positioning องค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะ...

    1. New Global Trend – เป็นการเปลี่ยนในปัจจุบันและ Life style คนรุ่นใหม่

    2. Creative Economy – เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม อาจเป็นรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์หรือภูมิปัญญาสมัยใหม่

    3. 5C’s Model

    4. New Society / New DNA เป็น Global Village สังคมยุคใหม่เป็นยุคของอินเตอร์เน็ต เป็นลักษณะ DNA หรือเป็น Character ของคน สำหรับคนยุคใหม่ มีความท้าทายกับคนไทยยุคใหม่ การปรับเปลี่ยนทัศนคติเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเติบโตไปด้วยได้

    5. New Organization Culture วัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ในมหาวิทยาลัย

    ได้เรียนรู้แนวคิดทางการตลาดที่สามารถปรับใช้กับองค์กรรัฐ

    การบ้านครั้งที่ 2 ช่วงที่ 2 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559-วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

    วิชาที่ 5 TEAMWORK ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    -การสร้างนวัตกรรมภายใต้วัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า ต้องเริ่มจากตัวเรา คือการเพาะใจ การเพาะกาย และการเพาะสมอง

    -การนำ Wisdom for life Management ไปใช้ ต้องมองเห็นคุณค่าคนอื่น ต้องสามารถค้นหาแยกแยะสิ่งที่ดีในสิ่งที่ไม่ดีและสิ่งที่ไม่ดีในสิ่งที่ดีของแต่ละบุคคล แล้วต้องสร้างการยอมรับนับถือซึ่งกันและกันโดยต้องอยู่กับความเป็นจริงที่มีเหตุผลเชิงตรรกะ เพื่อหาวิธีการทำงานที่ดีเพื่ออนาคตที่ดีของทุกคนโดยต้องเป็นผู้ที่รู้จักการให้แบ่งปัน เป็นผู้รู้จักกล่าวคำขอบคุณเมื่อเป็นผู้รับและได้รับการช่วยเหลือ เป็นผู้รู้จักกล่าวคำขอโทษเมื่อได้กระทำสิ่งที่ผิดพลาดไม่ถูกต้อง เป็นผู้รู้จักการให้อภัยในสิ่งที่ผู้อื่นได้กล่าวคำขอโทษในการกระทำของเขาที่ได้เกิดความผิดพลาด

    -การสร้าง TEAMWORK ที่มีประสิทธิภาพ

    1.การจูงใจให้สมาชิกในทีมเห็นประโยชน์ร่วมกันที่จะได้รับภายในสมาชิกของทีม(win-win)

    2.การเป็นผู้ให้ที่ถูกต้องตามสถานการณ์ทั้งในด้านคน เวลา สถานที่ บรรยากาศ

    3.การมีกฎกติกา ข้อตกลงร่วมกันที่อยู่ร่วมกันปฏิบัติต่อกันอย่างมีธรรมาภิบาล ยุติธรรม

    4.การลดฐิทิ ลดความเป็นอัตตาในแต่ละบุคคล เปิดใจกว้าง ยอมรับฟังซึ่งกันและกัน

    5.การมุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพราะในระยะยาวประโยชน์ส่วนรวมก็

    จะมีผลเชิงบวกในประโยชน์ส่วนตนของสมาชิกแต่ละคนภายในทีม

    วิชาที่ 6 Creative Leadership by Coaching & Business Games

    - Creative thinking จากความหลากหลายความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่ Creative Leadership ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่สำคัญมาก ทั้งนี้ต้องมีความโดดเด่นและโน้มน้าวให้สมาชิกเห็นด้วยคล้อยตาม แล้วจะนำไปสู่ Creative System เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นเชิงระบบของแต่ละหน่วยงานแต่ละแผนก แล้วจะนำไปสู่ Creative Organization ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ระดับองค์กร ทำให้เกิดนวัตกรรมองค์กรที่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

    - ส่าเหตุของการขาดความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร

    1. ขาดเมล็ดพันธ์(ขาดนักคิดสร้างสรรค์)

    2. มีเมล็ดพันธ์ แต่ปล่อยให้ตาย(มีนักคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่เปิดโอกาสให้แสดงความคิด)

    3. มีเมล็ดพันธ์ มีต้นไม้ แต่ไม่มีดอกผล (ให้แสดงความคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่ได้นำไปใช้)

    -การคิดติดกรอบ ไม่กล้าคิดใหม่ ไม่กล้าคิดแตกต่าง เพราะ ตัวเอง ระบบ องค์กร และสังคม

    -วิธีการคิดคร่อมกรอบ

    1.ชื่นชม idea ของเราคิดถึงข้อดีของ idea เรา

    2.มองเชิงบวกเชื่อว่าจะเกิดสิ่งที่ดีขึ้นในอนาคตจาก idea ของเรา

    3.ลดความกังวลใจ กับ คำว่า ติด...แต่.....ไม่ได้..... เพราะคำเหล่านี้จะทำให้ติดกรอบทางความคิด

    4.ลดภาวการณ์ติดกรอบด้วยการชักชวนทั้งเราและทีมงานให้คิดกันต่อไป

    5.ถีบความคิดของเราให้ลูกน้องได้แสดง หรือแสดงร่วมกับเรา

    6.สร้างโอกาสให้เข้ากรอบ หลบ... เลี่ยง.... ทะลุ....ที่ทำให้ติดกรอบแต่ไม่ผิดในกฎระเบียบต่างๆ

    วิชาที่ 7 บทเรียนจากหนังสือ เรื่อง Stand out 2.0

    ได้เรียนรู้และตระหนักว่าบทบาทของผู้นำต้องมี 9 บทบาทที่สำคัญ คือ

    1.Advisor 2.Connector 3.Creator 4.Equalizer 5.Influencer

    6.Pioneer 7.Provider 8.Stimulator 9.Teacher

    โดยทั้งนี้ ผู้นำต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝน จัดการบริหารตนเองในวิธีการเล่นบทบาทต่างๆตามสถานการณ์

    วิชาที่ 8 ถอดรหัสสามก๊ก: บทเรียนสำหรับนักบริหาร

    ได้เรียนรู้ การวิเคราะห์ ทัศนคติ ความเชื่อ บุคลิกภาพ ภาวะผู้นำของตัวละครในสามก๊ก เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับผู้บริหารในหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้สามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ว่าผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ตลอดถึงเครือข่ายพันธมิตร

    การบ้านครั้งที่ 3 ช่วงที่ 3 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559-วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559

    วิชาที่ 9 Group Assignment & Presentation และ วิชาที่ 10 เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบ การปรับตัวและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    ได้ฝึกวิเคราะห์ตั้งแต่ระดับMacroที่จะส่งผลกระทบต่อระดับ Micro โดยใช้ความสามารถทางความคิดระดับโลก(Global Competency) มาทำการคิดวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจระดับโลกในปัจจุบันและทำการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และจะส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยทักษิณอย่างไรบ้าง ทางมหาวิทยาลัยทักษิณต้องมีการปรับตัวเตรียมพร้อมในเรื่องใดบ้างภายใต้สภาพแวดล้อมยุค Digital Economy ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตรอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยต้องให้ความสำคัญต่อ 3 V ที่เน้นในการสร้างมูลค่าเพิ่ม คุณค่าใหม่ และคุณค่าที่มีความหลากหลายที่สอดคล้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้มหาวิทยาลัยทักษิณ

    วิชาที่ 11 CEO Forum

    - การบริหารองค์กรรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ต้องใช้หลักการบริหารบุคคลด้วยความเห็นอกเห็นใจ มีความเกรงใจกัน นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญกับชุมชนสัมพันธ์ที่ กฟผ.ไปตั้งโรงงานอยู่

    - การบริหารในองค์กรเอกชน บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง CEO ต้องมีความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์ ด้วยการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กำหนดกลยุทธ์แล้วนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั้งนี้ต้องตระหนักถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย

    -ได้เรียนรู้จาก ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ในกฎ 10ข้อ CEO มหาวิทยาลัย ซึ่งต้องสร้าง Impact ต่อทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ที่สำคัญมากผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องมีความสามารถในการบริหารและนักวิชาการ ต้องสร้างการยอมรับในวงการวิชาชีพเดียวกัน Academic Creditials ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องมี Global Competency มีความเข้าใจในเรื่องุรกิจที่มีความเหมาะสมกับมหาวิทยาลัย และที่สำคัญต้องสร้างจิตสำนึก CEO ให้บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยทุกระดับ

    วิชาที่ 12 TSU-Networking Development and Management

    ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เข้าอบรมและวิทยากร ในวิธีการสร้างและการเพิ่มเครือข่าย การบริหารเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทักษิณให้มีประสิทธิภาพที่มากยิ่งขึ้นและอย่างยั่งยืน

    วิชาที่ 13 เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    ได้เรียนรู้ ผลกระทบของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคเศรษฐกิจดิจิตอลที่จะส่งผลต่อวงการศึกษาทั่วโลก กลุ่มผู้เรียนรุ่นใหม่ในปัจจุบันและกลุ่มผู้เรียนในอนาคตที่มีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตลอดถึงการแข่งขันของมหาวิทยาลัยต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและได้มีการสลายขอบเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยอย่างไร้พรมแดนด้วยการเทคโนโลยีการสื่อสารที่ล้ำสมัย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยทักษิณต้องมีการปรับตัวทั้งในการบริหาร การดำเนินงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในภารกิจต่างๆ เช่น การเรียนการสอน ระบบทะเบียน ระบบการเงินการคลังการติดต่อสื่อสาร ประสานงานระหว่างบุคคล หน่วยงานต่างๆ เป็นต้น

    วิชาที่ 14 Networking Development and Management Forum

    ได้เรียนรู้ แนวคิดและวิธีการสร้างและการบริหารเครือข่าย ของผู้นำชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น และประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา และได้สะท้อนถึงแนวทางการสร้างความร่วมมือกันในการพัฒนาด้านต่างๆที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณกับชุมชนต่างๆ หน่วยงานองค์กรต่างๆในระดับท้องถิ่นที่มีที่ตำแหน่งตั้งไม่ห่างไกลกับมหาวิทยาลัยทักษิณ

    การบ้านครั้งที่ 4 ช่วงที่ 4 วันที่ 3 มีนาคม 2559-วันที่ 4 มีนาคม 2559

    วิชาที่ 15 บทเรียนจากหนังสือเล่มที่ 2 THE ALIBABA WAY

    ได้เรียนรู้ จากการนำเสนอ การดำเนินธุรกิจของแจ๊คหม่า ที่ได้ใช้ความคิด ความสามารถ ความกล้าเสี่ยง ในการประกอบธุรกิจออนไลน์ที่พยายามหาช่องว่างและจุดอ่อนของผู้ประกอบธุรกิจที่เริ่มดำเนินธุรกิจก่อน ALIBABA และธุรกิจของเขาสามารถประสบความสำเร็จมีส่วนครองตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในฐานะเป็นคนกลางผู้จัดหาสินค้าบริการที่ไม่ใช่ของตนเองให้แก่ผู้บริโภคทั่วโลก

    วิชาที่ 16 CEO-HR-Non HR –Stakeholders for 3V’s

    - การบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากใช้ศาสตร์วิชาความรู้ทาง HRM แล้ว จะต้องสร้างให้ตัวเองเป็น HR marketer ใช้หลักวิชาของ HRM กับ Marketing เข้าด้วยกันในการบริหารคน โดย CEO-HR-Non HR จะต้อง (1) เป็น Strategic partner ที่มีความสามารถประสานงานกับทุกคนทุกฝ่ายให้เกิดความร่วมในการทำงานและเชื่อมโยงกลยุทธ์หน้าที่อื่นๆ (2)เป็น Change Agent ที่มีความสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้บุคลากรในการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม (3)เป็น Employee Champion ที่มีความสามารถในการบริหารคนที่เป็นเลิศ ลูกน้องมีความภาคภูมิใจเชื่อมั่นรักศรัทธาในการเป็นหัวหน้า (4) Admin Expert มีความสามารถในการบริหารอย่างมืออาชีพมีมาตรฐานในการบริหารบุคลากรเป็นสากล อย่างมีธรรมาภิบาล และผมคิดว่าจะต้องเป็น HR Financer ด้วย

    วิชาที่ 17 Case Studies and Intensive Management Workshop

    ได้เรียนรู้จากกรณีศึกษา ความท้าทาย CEO โดยจะต้องใช้บทบาท CEO-HR-Non HR ในการแก้ปัญหาการขาดบุคลากรที่เป็นบุคคลสำคัญอย่างมากของหน่วยงาน การเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาระบบกลไกการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต

    วิชาที่ 18 แรงบันดาลใจ เส้นทาง และประสบการณ์ข้าพเจ้าในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเพื่อสังคม

    ได้เรียนรู้จาก ประสบการณ์ของวิทยากรในการแก้ไขปัญหาต่างๆของการทำวิจัย ตลอดถึงระบบกลไกการขออนุมัติงบประมาณสิ่งสนับสนุนในการทำวิจัย และการนำผลงานการวิจัยไปใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาในเชิงเพิ่มมูลค่าให้แก่ชุมชนและสังคม

    วิชาที่ 19University-Research and Innovation Forum

    ได้เรียนรู้ แนวคิดและวิธีการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมกระบวนการทำงาน จากวิทยากร ตลอดถึงวิธีการหาพันธมิตรเครือข่ายเพื่อสร้างความร่วมมือในการสร้างนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าผู้บริโภคและมีความพึงพอใจมากที่สุด นอกจากนี้ได้รับคำแนะนำวิธีการหาแหล่งทุนสนับสนุนในการสร้างนวัตกรรม

    วิชาที่ 20 Managing Self Performance

    การมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ เป็นความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุวัตถุเป้าหมายและได้มาตรฐานตามที่ได้กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงผลงานและคุณภาพเป็นสำคัญตลอดจนการรักษาไว้ซึ่งผลปฏิบัติงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้กฎ การรับผิดชอบชีวิตคุณ100 % และใช้กฎ การเข้าใจให้ชัดว่าทำไมคุณถึงอยู่ตรงนี้ โดยต้องมีการใช้ชีวิตที่มีความสุขและเกิดความสมดุลทั้งในงาน ส่วนตัว ครอบครัวและสังคม และมีการวางแผนทางการเงินในการยังชีพตลอดชั่วอายุขัยอย่างดี

    การบ้านครั้งที่ 5 ช่วงที่ 5 วันที่ 17 มีนาคม 2559-วันที่ 18 มีนาคม 2559

    วิชาที่ 21 บทเรียนจากหนังสือเล่มที่ 3 THE FOUR MINDSETS

    ได้เรียนรู้และวิธีการสร้างทีมงานด้วยการใช้ บารมีอิทธิพล การจูงใจ และการเพิ่มผลลัพธ์ของทีมงานให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรมีการเพิ่มผลผลิตและผลการดำเนินงานซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มรายได้ขององค์ที่มากยิ่งขึ้น โดยทั้งนี้หนังสือนี้แนะนำผู้นำองค์กรต้องเก่งในการติดต่อประสานงาน การมุ่งเน้นให้ความสำคัญของทีมงาน การมอบหมายงาน การสอนงานและการกระตุ้นสร้างขวัญกำลังใจให้ทีมงาน การร่วมค้นหาวิธีการที่ง่ายและรวดเร็วที่สุดที่จะเพิ่มผลผลิต ผลการดำเนินงานและรายได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนขององค์กรอย่างมีประสิทธิผล

    วิชาที่ 22 การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศและการบริหารการเปลี่ยนแปลง

    - ได้เรียนรู้การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่ความเป็นเลิศต้องทำให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยทักษิณเกิด ความเชื่อร่วมกันต่ออนาคตและความสามารถขององค์กร โดยผู้บริหารต้องมีจิตสำนึก (Mindset) และสร้างให้ทุกคนมีจิตสำนึกร่วมกัน โดยการสร้างความเชื่อ (Beliefs) ขึ้นมาจากพื้นฐานขององค์กร จากนั้นแปรเปลี่ยนให้เป็นค่านิยม (Values) ตลอดจนมีการนำไปปฏิบัติทั่วทั้งมหาวิทยาลัยฯ จนเป็นพฤติกรรม (Behaviour) และในที่สุดเกิดเป็นวัฒนธรรมที่เข้มแข็งของมหาวิทยาลัยฯ (Organization Culture) ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ

    วิชาที่ 23 Personality –Social Skills Development and Table Managers

    ได้เรียนรู้และนำมาใช้การพัฒนาและการปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง ทั้งในเรื่องการแต่งกาย การดูแลรูปร่างสุขภาพของตนเอง การใช้คำภาษาในการสื่อสาร การเคลื่อนไหวร่างกาย การแสดงอิริยาบถต่างๆ การนั่งในตำแหน่งต่างๆในที่ประชุม เก้าอี้รับแขก ภายในห้องผู้โดยสารของรถยนต์ รวมถึงอิริยาบถมารยาทในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น การเข้าถึงตำแหน่งที่นั่งการใช้อุปกรณ์ต่างๆในการรับประทานอาหาร

    วิชาที่ 24 หลักการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ และการปรับใช้กับการทำงานในอนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    ได้เรียนรู้หลักการทรงงานของพระองค์ โดยพระองค์ทรงใช้

    • หลักการครองตนโดยยึดมั่นในจริยธรรม การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน การไม่หลงมัวเมาในโลกิยารมณ์ และการมีความอดทนอดกลั้น
    • หลักการครองคน โดยมีความเมตตาต่อประชาชน มีความสุภาพอ่อนน้อม
    • หลักการครองงาน โดยมีความซื่อสัตย์ สุจริต ตัดสินความด้วยเหตุผล ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา บริหารงานด้วยความยุติธรรมและดำเนินงานตามระเบียบแบบแผน

    นอกจากนี้ได้เรียนรู้การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    จากการเรียนรู้หลักการทรงงานของพระองค์และการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาปรับใช้ในมหาวิทยาลัยทักษิณได้ทุกด้านซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยฯเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลและมีการทำงานที่มีประสิทธิผลสูงมาก

    วิชาที่ 25 การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต

    ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในการทำงานภายใต้บริบทสภาพแวดล้อมต่างๆที่มีการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเอาชนะจุดอ่อนและอุปสรรคที่มีผลต่อการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยทักษิณในอนาคต ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯจะต้องมีการปรับตัวทั้งในด้าน การจัดการความรู้ การจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา การสร้างและพัฒนาหลักสูตรเนื้อหาการเรียนการสอนที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตในอนาคต การจัดการสมัยใหม่ภายในหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยฯให้มีความทันสมัย คล่องตัว รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ตลอดถึงการสร้างและเพิ่มรายได้ การบริหารต้นทุนและการบริหารทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในอนาคต ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยฯอยู่รอด มีความมั่นคงและเติบโตในอนาคต

    วิชาที่ 26 กรณีศึกษา TSU กับแนวทางการพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในอนาคต

    ฝึกการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร โดยทำการประเมินการให้ค่าน้ำหนักในความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆและเครือข่ายต่างๆที่มีต่อมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งมีการเสริมสร้างประโยชน์ร่วมกันกับมหาวิทยาลัยฯ ตลอดถึงการจัดสรรทรัพยากรให้แก่แต่ละภาคส่วน ในภาวะปัจจุบัน หลังจากนั้นให้คาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยทำการประเมินการให้ค่าน้ำหนักในความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆและเครือข่ายต่างๆที่มีต่อมหาวิทยาลัยทักษิณ ในแง่ประเด็นว่า ทางมหาวิทยาลัยทักษิณจะให้ความสำคัญต่อในแต่ละภาคส่วนว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงทั้งในแง่การเสริมสร้างประโยชน์ร่วมกัน และการจัดสรรทรัพยากรให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

    การบ้านครั้งที่ 6 ช่วงที่ 6 วันที่ 31 มีนาคม 2559 -วันที่ 1 เมษายน 2559

    วิชาที่ 27 ศิลปะ

    ได้เรียนรู้ถึง

    -การมีศิลปะจะช่วยจรรโลงความคิดที่มีจินตนาการ

    -การบริหารที่มีประสิทธิภาพต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์

    -การสร้างความคิดในการแก้ไขปัญหาต่างๆจะต้องมีทั้งเชิงวิทยาศาสตร์และศิลปะ

    วิชาที่ 28 กิจกรรม CSR ณ.อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

    มีด้วยกัน 4 กิจกรรม

    1.กิจกรรมสำรวจเส้นทางของน้ำและการกำหนดตำแหน่งสร้างฝาย

    2.กิจกรรมสร้างคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนในชุมชน

    3.กิจกรรมมังคุดเทศน์น้อย

    4.กิจกรรมพัฒนาธุรกิจโรตีกรอบในชุมชน

    สิ่งที่ได้และนำไปปรับใช้ในการทำงาน

    - การมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยทักษิณที่ต้องสร้างร่วมมือกับชุมชนต่างๆในบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาปสงขลาและในภาคใต้ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นร่วมกันในมิติต่างๆอย่างยั่งยืน โดยทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยทักษิณอาศัยทรัพยากรความสามารถที่มีอยู่เข้าไปช่วยเหลือ ให้การสนับสนุนแก่ชุมชนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตลอดถึงการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมต่างๆของชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

    - ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการเรียนรู้จากชุมชน ทั้งในวิถีของชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาของท้องถิ่น ปัญหาต่างๆของชุมชนที่ต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งจะทำให้มีการต่อยอดในการพัฒนาชุมชนในระยะยาวได้อีกหลายกิจกรรม

    -ผู้เข้ารับการอบรม ได้ฝีกฝนการมีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน การทำงานเป็นทีม การพัฒนาทีมงาน การมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกของชุมชน การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน

    การบ้านครั้งที่ 7 ช่วงที่ 7 วันที่ 7 เมษายน 2559 -วันที่ 8 เมษายน 2559

    วิชาที่ 29 ศึกษาดูงาน ณ.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต

    ได้เรียนรู้และการนำมาปรับใช้

    -การบริหารการจัดการและการพัฒนาองค์กร ที่มุ่งเน้นในการทำงานที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึง cost-benefit การใช้ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารพื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด การสื่อสารภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา เน้น Brand Equity

    -การจัดการเรียนการสอนและเทคโนโลยีในด้านการเรียนการสอน ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพเน้นการเรียนที่สร้าง Creativity ตลอดเวลาจึงสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ตลอด 24 ชั่วโมง มีการจัดวางผังอาคารต่างๆให้มีสีสันที่จะช่วยเสริมสร้างการมีจินตนาการ มีอาคารและห้องพักสำหรับนักศึกษาเพื่อทำกิจกรรมหรือสังสรรค์ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่มหาวิทยาลัยและมีการใช้วัสดุตกแต่งโทนสีที่ช่วยกระตุ้นการแสดงความคิดเห็น ผลลัพธ์ที่ได้พบว่า นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างมากมายจากบรรยากาศของห้อง Creative

    วิชาที่ 30 มหาวิทยาลัยทักษิณกับการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม

    ได้เรียนรู้และการนำไปปรับใช้

    - การเรียนการสอนต้องปรับเปลี่ยนจากสอนให้จำ สอนให้เชื่อ เป็นสอนให้คิดเป็น ปฏิบัติได้จริงในอาชีพการงาน

    - สิ่งที่ขาดแคลนในสังคมไทย คือความกล้าหาญทางจริยธรรม ต้องช่วยกันสร้างสิ่งนี้ในวงการศึกษาไทย

    - สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดในการสร้างทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมต้องกระทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ทำบ่อยๆและเป็นประจำ ผู้เรียนจะเรียนรู้ซึมซับและเข้าใจได้ง่ายอย่างชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้อย่างดี

    วิชาที่ 31 กิจกรรมสัมพันธ์ “คืนแห่งไมตรี”

    การแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการบริหารงานในมหาวิทยาลัยทักษิณ จากการจัดกิจกรรม CSR ในวิชาที่ 28 และสิ่งประทับใจในการทำงานร่วมกันของผู้เข้ารับการอบรม การได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน การเข้าใจในสิ่งที่แต่ละคนชอบจากงานสังสรรค์

    วิชาที่ 32 การศึกษาดูงาน ณ. SCG บางซื่อ

    ได้เรียนรู้และการนำไปปรับใช้ใน

    -กระบวนการของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ

    -นโยบายขององค์กรต้องผลักดันให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรเป็นลำดับต้นๆ

    -แนวโน้มการคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมต่อองค์กร ไม่ใช่ผลการเรียนที่สูงอีกต่อไป ขึ้นกับ

    ความสามารถด้านอื่น เช่น ผลงานและความสำเร็จในอดีต Soft skill

    -การสัมภาษณ์คัดเลือก จะต้องใช้ผู้สัมภาษณ์ที่เชี่ยวชาญมีความสามารถสูงกว่าผู้ถูกสัมภาษณ์

    และต้องใช้ระยะเวลาสัมภาษณ์ที่มากพอและอาจหลายครั้ง

    -การสร้างวัฒนธรรมองค์กรของ SCG ให้แก่เพื่อนร่วมงานใหม่เป็นสิ่งที่ให้ความสำคัญมาก ตลอด

    ถึงทุกคนทุกตำแหน่งในองค์กร เพื่อการทำงานขององค์กรอย่างมีบรรษัทภิบาล ให้เป็นที่ยอมรับ

    และมีความเชื่อถือไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

    -การ Coaching มีระบบพี่เลี้ยงสอนงานที่ดี

    -การพัฒนาบุคลากรมีอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้มีทุนมนุษย์ที่มีมูลค่าสูงขึ้นใน 8 K ทุกด้าน

    การบ้านครั้งที่ 8 ช่วงที่ 8 วันที่ 3 พฤษภาคม 2559 -วันที่ 4 พฤษภาคม 2559

    วิชาที่ 33 จากแนวคิดทางการตลาด..สู่การปรับใช้กับการทำงานของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    ได้เรียนรู้และการนำมาปรับใช้

    -ต้องเข้าใจสถานการณ์การแข่งขันของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ตลอดถึงสภาพแวดล้อมต่างๆที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ที่ต้องการศึกษา

    -หาตำแหน่งของมหาวิทยาลัยทักษิณ Brand ของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร ต้องมีการพัฒนา Brand หรือไม่ คู่แข่งขันที่สำคัญคือใคร หลักสูตรตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตได้หรือไม่ พฤติกรรมของผู้เรียนเป็นอย่างไร

    -นำความรู้การตลาดบริการ กลยุทธ์ 8P มาใช้ในการทำงาน เพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา และหาแนวทางการสร้างตลาดใหม่ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่นอกจากการเรียนการสอนอย่าเดียว เช่นการวิจัย บริการวิชาการ การสร้างรายได้อื่นๆ เน้นการสร้างเครือข่ายมากขึ้น

    วิชาที่ 34 กรณีศึกษา TSU Positioning in Thailand and ASEAN+6

    ได้เรียนรู้และการนำไปปรับใช้

    - การหาตำแหน่งการแข่งขันของมหาวิทยาลัยฯในปัจจุบันและการพัฒนาตำแหน่งการแข่งขันใหม่ของมหาวิทยาลัยฯในอนาคต

    - การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิม การสร้างลูกค้ากลุ่มใหม่ การเพิ่มจำนวนลูกค้าในอนาคต

    วิชาที่ 35 บทเรียนจากหนังสือ เรื่อง HBR’S 10 MUST READS On Management Yourself

    ได้เรียนรู้และการนำไปปรับใช้ ในวิธีการการบริหารตนเองให้มีประสิทธิภาพและสร้างความสมดุลในชีวิตของตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านการบริหารลูกน้อง การบริหารงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง การแบ่งเวลาให้การทำงาน ครอบครัว ส่วนตัวและสังคม การดูแลสุขภาพ การสร้างความสุขในการทำงาน ฯลฯ

    วิชาที่ 36 “เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC และเศรษฐกิจไทย.. ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ(2)

    ได้เรียนรู้และการนำไปปรับใช้ในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ระดับ MACRO สู่ระดับ MICRO การปฏิวัติอุตสาหกรรมนำสู่การเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของมวลมนุษยชาติครั้งใหญ่ ทั้งเศรษฐกิจสังคม รวมถึงการศึกษา เทคโนโลยีในปัจจุบันและในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมาก เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างจากเดิมอย่างมาก ความต้องการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก การแข่งขันในรูปแบบใหม่มาแทนที่การแข่งขันเดิมๆ มหาวิทยาลัยทักษิณต้องมีการปรับตัวอย่างมาก

    วิชาที่ 37 กรณีศึกษา TSU and Change Management

    ขาดการอบรม

    โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2559)

    สรุปประเด็น

    ผู้นำองค์กรที่ดีควรอยู่กับ ความจริงขององค์และยอมรับสภาพความจริงนั้นๆ โดยใช้หลักคิด 2R คือ Reality และ Relevance มองตัวเองอย่างถูกต้องตามความจริง ตั้งเป้าหมาย มุ่งไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจนโดยอาศัยเครื่องมือบริหารความเสี่ยง S-Curve มาเป็นตัวช่วย นอกจากนี้ยังใช้ความเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์ ช่วยเสริม ทำให้เห็นผลมั่นคงและรวดเร็ว

    โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2559)

    สรุปประเด็น
    การเข้าอบรมในช่วงนี้ ทำให้ได้รับความรู้วิธีคิดนอกกรอบ ที่มีการยกตัวอย่างหลายท่านที่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตามการที่จะทำความคิดนอกกรอบให้ประสบความสำเร็จนั้น ก็ต้องอยู่ภายใต้ความเป็นจริง นอกจากนี้ เกี่ยวกับ บุคลิกคนแบบต่างๆ และการใช้คนให้ถูกต้อง ตรงตามบุคลิกและความสามารถ โดยมี ท่าน ศ.เจริญ วรรธนะสิน ได้ บรรยายเรื่อง สามก๊ก ที่ยกตัวอย่าง เรื่องการใช้คนให้เป็น ข้อเสียขอคนประเภทต่างๆ ได้อย่างชัดเจน

    โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559

    สรุปประเด็น
    คุณกรณ์ จาติกวานิช ได้กล่าว ถึงเศษฐิกิจภาพรวมชองโลกและอาเซียน โดยเน้นการใช้ภาษาอังกฤษ และได้ มีการยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบใหม่ ที่ใช้การตลอดนำ นอกจากนี้ ในช่วงท้าย รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี Cloud และ Iot ที่จะเข้ามาแทนที่ทุกอย่าง ๆอีกทั้งวิธีการเรียนการสอน ในยุคนี้จะใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเดิมไม่ได้ เนื่องจาก ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป โดยสิ้นเชิง อาจารย์ไม่สามารถสอนแบบอ่านท่องตามหนังสือได้ แล้ว แต่จะเน้นแนว กระตุ้นให้นักเรียน หรือนิสิต เกิดความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่ โดยมหาวิทยาลัยควรปรับตัวจากการเปลี่ยนดังกล่าวให้ทัน

    โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559)

    สรุปประเด็น
    ได้ศึกษาหนังสือ Alibaba ทั้งศึกษาแนวทางในการทำธุรกิจ ความผิดพลาด และหนทางการแก้ไขข้อผิดพลาด ดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสำเร็จ โดยเน้นความสำคัญ ในการปรับปัญหาใหญ่ๆ ต่างๆให้ดูเหมือนเล็กลงเพื่อเกิดแรงบันดาลใจมากพอ ที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ง่าย และการเป็นผู้นำบางครั้งการพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นที่มีความสามารถด้านนั้น ได้ ก้าวขึ้นมาทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

    โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2559)

    สรุปประเด็น
    การปรับบุคลิกภาพที่เหมาะสมขอการเป็นผู้นำ การวางตัวและ มารยาทต่างๆในสังคม รวมถึงการแต่งกาย การ การเดิน การตอบรับการไหว้ การใส่เครื่องประดับที่เหมาะสม จะส่งผลต่อความต่อ ความน่าเชื่อถือ และความเป็นผู้นำขององค์กร ในช่วงท้าย การบรรยายของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล สอนให้เข้าใจวิธีการทำงาน การครองใจคน โดยเน้นเอาคำสอนของพระพุทธศาสนามาปรับใช้กับการทำงานอย่างเหมาะสม

    โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 6 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-1 เมษายน 2559)

    สรุปประเด็น
    การเป็นผู้นำขององค์กร ไม่ได้ใช้ทั้งหลักการทางเหตุผลแค่อย่างเดียว แต่บางครั้งก็ต้องมีศิลปะ ด้วย ซึ่งผู้บรรยายได้ ฝึกให้มีฝึกวาดรูปด้วยสีน้ำ ซึ่งการฝึกดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความใจเย็น และความมีสมาธิอย่างมาก ก็เปรียบเสมือน การเป็นผู้นำ ที่บริหารองค์กร ที่ต้องใช้ความใจเย็น คล้ายกับการวาดรูป หลายอย่างที่หากใช้เหตุผลอย่างเดียวก็อาจจะแก้ปัญหาหรือครองใจใต้บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ต้องมีศิลปะ ที่เหมาะสมกับ องค์กรณ์นั้นๆ

    โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2559)

    สรุปประเด็น
    การศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับแนวคิดการบริหารเพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆในมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นระบบสารสนเทศ การใช้ ห้องประชุมต่างๆ รวมถึงการ ตกแต่งห้องเรียน ห้อกิจกรรมต่างๆของนิสิต โดยเพื่อสีสัน ที่สดใส รวม ถึงรูปร่างที่แปลกๆลงไป ในห้องการเรียนการสอน หรือ ห้องกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้น ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้น

    การศึกษาดูงานที่ SCG ซึ่งเป็นองค์ที่บริหารแบบ มีธรรมมาภิบาลอย่างยอดเยี่ยม การบริหารงานเกี่ยวกับ บุคคล การทำอย่างไร ให้บุคลากรภายใน SCG ทำงานอย่างมีความสุข โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การไปทำกิจกรรมนอกสถานที่ การมีไปดูหนัง ซึ่งทำให้ บุคลากร ทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งเมื่อบุคลากรมีความสุข การทำงาน ก็จะมีประสิทธิภาพสูง รวมถึงการลาออกก็จะน้อยลงเช่นกัน

    โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559)

    สรุปประเด็น
    การกล่าวถึง positioning ของมหาวิทยาลัยทักษิณในปัจจุบันและอนาคต โดยหาจุดแข็งของมหาวิทยาลัยทักษิณที่เป็นตัวบอกตัวตนและจุดแข็งในอดีต เพื่อนำจุดแข็งดังกล่าวมาพัฒนา การก้าวไปในอนาคตของมหาวิทยาลัย ว่าควรจะไปทางด้านใด

    คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้มาบรรยายเกี่ยวกับ ทิศทางและองค์ประกอบสำคัญ ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมในปัจจุบันและอนาคต การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จากการยกตัวอย่าง การผลิตเกลือที่ จ.สมุทรสาคร ที่ขายได้ราคาต่ำ แต่ เมื่อ นำเกลือดังกล่าวไป เปลี่ยน เป็น แบรน ก็สามารถเพิ่มมูลค่าได้ หลายเท่าตัว ดังนั้น การที่จะบริหารองค์ให้ประกอบความสำเร็จ จะต้องรู้ด้วย ว่าสังคมและทิศทางของโลกในอนาคตเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนสไตน์ของการใช้ชีวิตของคนปัจจุบันและในอนาคต การให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและการนำมาเพิ่มมูลค่า

    สรุปประเด็นที่ได้เรียนรู้จากการอบรม เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจร่วมกันถึงวัตถุประสงค์ของการจัดอบรมในครั้งนี้ และได้มีการวิเคราะห์ถึงเนื้อหาและกิจกรรมที่จะจัดให้มีในหลักสูตร ทำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ และคาดหวังสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าอบรม เป็นการสร้างความเข้าใจและข้อตกลงร่วมกันที่ดีมากๆ ความรู้ที่ได้รับ จะเริ่มจากการ ให้วิเคราะห์สภาพของมหาวิทยาลัยในมุมมองของเราเอง จากนั้นก็มีวิทยากรมาร่วมวิเคราะห์และเสนอแนะไอเดีย ถึงทิศทางของมหาวิทยาลัยในอนาคต การได้รับฟังมุมมองที่หลากหลายและกว้าง ทำให้เกิดความคิดเชิงบูรณาการและมองเห็นมุมที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น หลักสูตรผู้ประกอบการวัฒนธรรมท่องเที่ยว จากนั้นเริ่มทำให้มองเห็นบุคคลิกของผู้นำแบบต่างๆ ผ่านบทวิจารณ์ สามก๊ก ซึ่งเป็นการทำให้เห็นภาพของคนในแบบต่างๆ ได้อย่างชัดเจน และเติมด้วยการวิเคราะห์ บุคลิกภาพของตัวเอง รวมทั้งหนังสือผู้นำเก้าแบบ ทำให้เข้าใจในความแตกต่าง ของคนที่อยู่ร่วมกันมากขึ้น เกิดความเข้าใจและยอมรับในความแตกต่าง และยิ่งได้รับการพูดถึงเรื่อง teamwork ว่ามีความสำคัญ ในการขับเคลื่อนองค์กร เรียนรู้จาก CEO ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งแม้นจะมีการทำงานที่แตกต่าง แต่หัวใจสำคัญ คือ การเรียนรู้สมาชิกในทีม เข้าใจในสมาชิก และพัฒนาศักยภาพของสมาชิก จนสามารถขับเคลื่อนองค์กรไปได้อย่างสวยงาม แนวคิด CEO บนความคิดสร้างสรรค์ หนังสือ Alibaba ตอบโจทย์ข้อนี้ได้ชัดเจนมาก เมื่อถึงจุดนี้ หลักสูตรก็เติมความรู้ในเรื่องของ mindset เหมือนจะให้เราวิเคราะห์ตัวตนอีกครั้ง ว่าถ้าคิดจะเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการพัฒนา เราต้องปรับวิธีคิดของตัวเองก่อน กิจกรรมรักษ์กาย-รักษ์ใจ ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่ทำให้ สมาชิกเรียนรู้กันมากขึ้นผ่านกิจกรรม รวมทั้งการวาดภาพสีน้ำ ที่ทำให้รู้ว่า การมีสมาธิ จะทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น เหมือนตอนนี้มีความรู้ เริ่มเข้าใจบทบาทการเป็นผู้นำ เข้าใจในบริบทของคนร่วมงาน แต่การจะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ต้องรับรู้การเปลี่ยนแปลง การได้ไปศึกษาดูงาน ที่ ม.กรุงเทพ และ SCG เป็นการทำให้เห็นภาพ ของนโยบาย ที่เปลี่ยนเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน จนมาถึงเนื้อหา เกี่ยวกับแนวคิดทางการตลาด การ positioning ถือว่า ขมวดปมจนถึงจุดจริงๆ ว่า มหาวิทยาลัยทักษิณจะปรับตัวบนความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ....

    อาจารย์ ดร. ณัฐนันท์ ทองมาก

    ความเห็นเกี่ยวกับบทเรียนวันที่ 3-4 พ.ค. 2559

    พอถึงบทเรียนนี้หลายๆท่านอาจจะมีความเห็นว่าเราต้อง positioning มหาวิทยาลัยทักษิณใหม่หรือให้ชัดเจน ณ จุดนี้คิดว่ามหาวิทยาลัยทักษิณก็ได้ positioning ตัวเองแล้นั่นคือการเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นสอน แต่เมื่อสังคมและโลกเปลี่ยนไป เราคงต้องมาถามอีกว่าในสิ่งที่เราทำกันอยู่แล้วนั้นทำอย่างไรให้โดดเด่นหรือมีความพิเศษมากกว่าคนอื่นอย่างไร มหาวิทยาลัยของเราได้ปรับเปลี่ยนตาม New global trends แล้วยัง และรูปแบบการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยของเราควรเป็นไปอย่างไรเราคงต้องวิ่งตามกระแสของการเปลี่ยนแปลงของโลก

    สรุปประเด็น โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2559)


    ผู้นำองค์กรที่ดี ต้องยอมรับความจริงขององค์ มององค์กรอย่างถูกต้องตามความจริง มีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างระวัง การพัฒนาองค์กรต้องใช้เครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2559)

    การเข้าอบรมในช่วงนี้ ทำให้ได้รับความรู้วิธีคิดนอกกรอบ การสร้างความคิดนอกกรอบและการพัฒนาความคิดนอกกรอบไปสู่การใช้งานได้จริง อย่างไรก็ตาม ความคิดนอกกรอบนั้นก็ต้องอยู่ภายใต้ความเป็นจริงที่เป็นไปได้

    ท่าน ศ.เจริญ วรรธนะสิน ได้ บรรยายเรื่อง สามก๊ก ที่ยกตัวอย่าง เรื่องการใช้คนให้เป็น ข้อดี-ข้อเสียของตัวละครสำคัญในเรื่อง และการใช้คนประเภทต่างๆ ที่ทั้งสำเร็จและล้มเหลว

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559


    คุณกรณ์ จาติกวานิช ได้กล่าว ถึงเศษฐกิจภาพรวมชองโลกและอาเซียนที่เปลียนไปจากการเป็นสังคมผู้สูงอายุ และการแข่งขันที่มากขึ้นการปรับตัวของมหาวิทยาลัยทักษิณในอนาคตจะต้องเน้นการผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์ของสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น ทรัพยากรธรรมชาติที่น้อยลง ค่าแรงสูงขึ้นการพึ่งแรงงานต่างด้าว เป็นต้นการผลิตสินค้าต้องเน้นที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก สินค้าต้องมีคุณภาพสูง และPackaging ที่สวยงาม มีเรื่องราวของสินค้า

    รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี Cloud และ Iot ที่จะเข้ามาแทนที่ทุกอย่างๆ วิธีการเรียนการสอนในยุคนี้จะใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเดิมไม่ได้ เนื่องจาก นักศึกษาสามารถหาความรู้ได้เองจาก Internet ดังนั้นอาจารย์จึงเป็นเพียง ผู้แนะนำ กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่ โดยมหาวิทยาลัยควรปรับตัวจากการเปลี่ยนดังกล่าวให้ทัน

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559)

    หนังสือ Alibaba เสนอแนวคิดในการทำธุรกิจ ความผิดพลาด และหนทางการแก้ไขข้อผิดพลาด ดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสำเร็จ การ เปลี่ยนผ่านจาก จาก ODM เข้าสู่ Global Supply Chain ต้องมีพนักงานที่มีศักยภาพสูงมากในการทำงาน และกลยุทธ์ในการพัฒนาคนในยุคดิจิตอล กาแข่งขันได้ต้องสร้างไปสู่มูลค่าที่หลากหลายและตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุด

    สรุปประเด็น โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2559)

    การสร้าง Mindset คือเป็นความคิด ความเชื่อที่กำหนดพฤติกรรมและทัศนคติ การพัฒนาและ สร้าง Growth Mindset เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะ Mindset ของผู้นำมีอิทธิพลอย่างสูงต่อพนักงาน Mindset ของคนหนึ่งสามารถมีอิทธิพลต่อคนรอบข้าง คือ ถ้ามีการปลูกฝัง Mindset ไว้อย่างไรก็จะนำไปสู่ Attitude ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรม เป็น action และผลลัพธ์ ในที่สุดก็กลายเป็น Performance
    การปรับบุคลิกภาพที่เหมาะสมขอการเป็นผู้นำ การวางตัวและ มารยาทต่างๆในสังคม รวมถึงการแต่งกาย การ การเดิน การตอบรับการไหว้ การใส่เครื่องประดับที่เหมาะสม จะส่งผลต่อความต่อ ความน่าเชื่อถือ และความเป็นผู้นำขององค์กร ในช่วงท้าย การบรรยายของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล สอนให้เข้าใจวิธีการทำงาน การครองใจคน โดยเน้นเอาคำสอนของพระพุทธศาสนามาปรับใช้กับการทำงานอย่างเหมาะสม

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 6 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-1 เมษายน 2559)

    การเป็นผู้นำขององค์กร เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ นั่นคือ ผู้นำต้องมีหลักเหตุผลที่ดี และต้องมีศิลปะในการสื่อสารที่ดี เพื่อให้การบริหารองค์กรสำเร็จ ต้องใช้ความใจเย็น คล้ายกับการวาดรูป หลายอย่างที่หากใช้เหตุผลอย่างเดียวก็อาจจะแก้ปัญหาหรือครองใจใต้บังคับบัญชาไม่ได้

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2559)


    การศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับแนวคิดการบริหารเพื่อให้ทรัพยากรต่างๆในมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการ ตกแต่งห้องเรียน ห้องกิจกรรมต่างๆของนิสิต โดยเพื่อสีสัน ที่สดใส รวม ถึงรูปร่างที่แปลกๆลงไป ในห้องการเรียนการสอน หรือ ห้องกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้น ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้น การศึกษาดูงานที่ SCG ซึ่งเป็นองค์ที่บริหารแบบ มีธรรมมาภิบาลอย่างยอดเยี่ยม การบริหารงานเกี่ยวกับ บุคคล การทำอย่างไร ให้บุคลากรภายใน SCG ทำงานอย่างมีความสุข

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559)


    การกล่าวถึง positioning ของมหาวิทยาลัยทักษิณในปัจจุบันและอนาคต การวิเคราะห์จากผู้มีส่วนได้ขเสียให้ครบทุกด้าน รวมทั้งปัจจัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำจุดแข็งดังกล่าวมาพัฒนา การก้าวไปในอนาคตของมหาวิทยาลัยว่าควรจะไปทางด้านใด และผลิดบัณฑิตที่จะตองสนองกลุ่มเป้าหมายใดให้ชัดเจน

    สิ่งที่ได้เรียนรู้และประทับใจในบทเรียนแต่ละช่วง

    ช่วงที่ 4: (1) เราและองค์กรคงหลีกหนี ดิจิตัล ไม่ได้แล้ว (2) ทรัพยากรมนุษย์เป็นทุนที่สำคัญขององค์กร ฉะนั้นถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงด้าน HR ก็จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจใน HR โดยเฉพาะผู้บริหาร และ (3) นวัตกรรมเป็นสิ่งที่องค์กรและสมาชิกในองค์กรต้องสร้างและพัฒนา เพื่อเป็นทรัพยากรที่มีค่าย่ิ่งและทำเงินให้กับองค์กร

    ช่วงที่ 5: - ผู้นำควรมี Mindset ดังนี้ (1) มีความฉลากทางอารมณ์ (2) มีความสามารถในการเชือ่มโยง ประสานสัมพันธ์ สร้าง network (3) มีแนวคิดเจริญเติบโต coaching & teamwork และ (4) เน้นผลการปฏิบัติงาน

    - หลักการทรงงาน (1) หลักการครองตน (2) หลักการครองคน และ (3) หลักการครองงาน

    - สภาพแวดล้อมเปลี่ยนองค์กรต้องปรับตัว

    - การดำเนินการใดใดต้องใส่ใจทรัพยากร และผู้มีส่วนได้เสีย

    ช่วงที่ 6: ศิลปะ ทำให้ผ่อนคลาย เกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ผู้นำควรมีทั้งศาสตร์และศิลป์

    ช่วงที่ 7: ศึกษาดูงาน

    มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: อัตลักษณ์ที่ชัดเจน ทำให้สมาชิกในองค์กรมีแนวทางในการปฎิบัติที่ชัดเจน และมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจน

    SCG: สิ่งที่องค์กรชั้นนำต้องมี ได้แก่ แบรนด์ ความสัมพันธ์ นวัตกรรม และความสามารถ

    ความรับผิดชอบต่อสังคมเริ่มจากความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลในองค์กร

    ช่วงที่ 8: มีการบรรยายถึง Trend ต่างๆ แต่ดิฉันคิดว่า Trend เป็นส่ิ่งที่เราต้องทำได้หรือน่าจะทำในช่วงนี้ แต่การที่จะกำหนด Positioning หรือกลยุทธ์นั้น ต้องมองไปยังอนาคตที่ไกลกว่า Trend ดังกล่าว

    ครั้งที่ 8

    สรุปประเด็นโดนใจและการนำไปปรับใช้ในการทำงาน

    จากการเข้ารับการอบรม

    "โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1"

    (Tsu Executives and Leader Development Program for The Future)

    ช่วงที่ 8

    ได้รับความรู้เรื่องการตลาด ไม่ใช่แค่การซื้อของ แต่เป็นการเข้าใจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคหรือ Stakeholder รวมไปถึงผู้ถือหุ้น และ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องกับสังคม คือทำให้ชุมชนในพื้นที่หรือที่ทำธุรกิจได้รับประโยชน์ด้วยมหาวิทยาลัยเป็นลักษณะการให้ความรู้กับนักเรียน นักศึกษาให้เป็นคนมีความรู้ ความสามารถ ตอบสนองต่อการพัฒนาอาชีพได้ แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีบทบาทมากกว่านั้น อาทิ บทบาทในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งในส่วนของภาคธุรกิจ สังคม การพัฒนาชุมชน และมหาวิทยาลัยชั้นสูงจะมีเอกลักษณ์ในแต่ละพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปและมีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจในตลาดโลกในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปใน 5 ประเด็นสำคัญ 1. New Global Trend 2. Creative Economy 3. 5C’s Model 4. New Society / New DNA เป็น Global Village 5. New Organization Culture

    โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1

    สรุปประเด็น (ช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2559)

    การเป็นผู้นำที่ดีต้องวิเคราะห์องค์กรให้ตรงกับความจริงและมีการตั้งเป้าหมายขององค์กรไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน เตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตลอดจนพัฒนาให้องค์กรมีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก เพื่อการให้องค์กรก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

    โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

    สรุปประเด็น (ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2559)

    ความสำเร็จของการทำงานเป็นทีม

    • ตั้งคุณค่าร่วม
    • คุณค่าที่ปรากฏ (จะมีสิ่งที่เราเห็น และสิ่งที่เขาเป็น)

    เมื่อมีคุณค่าที่ดีจะทำให้เกิดแรงบันดาลใจ เกิดฝัน เกิดการพัฒนาร่วมกัน

    เรื่อง สามก๊ก ท่าน ศ.เจริญ วรรธนะสิน ได้วิเคราะห์ให้เห็นถึง ข้อดี-ข้อเสียของตัวละครสำคัญตลอดจนการใช้คนแต่ละประเภทที่ประสบความสำเร็จ และล้มเหลว ทำให้เรารู้วิธีการใช้งานให้ประสบความสำเร็จ

    โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

    สรุปประเด็น (ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559)

    สถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง รวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เราต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ต้องเตรียมคน ให้พร้อม เราต้องเพิ่มมูลค่าทรัพยากรต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว สินค้าต่างๆให้มีมาตรฐานส่งขายต่างประเทศได้ ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวยอมรับสินค้าของประเทศไทย โดยต้องกำหนดยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน เน้นคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณ และอีกประการสำคัญที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลง คือ การศึกษา โดยอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ

    โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

    สรุปประเด็น (ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559)

    Alibaba way คือ การเปลี่ยนวัฒนธรรมของผู้ประกอบการ เป็นลักษณะการให้รากหญ้ามาทำธุรกิจ Alibaba มีวิธีการดูแลและพัฒนาคน ที่ควรนำมาเป็นต้นแบบในองค์การต่างๆ คือการดูแลคนของ Alibaba เลี้ยงคนด้วยหัวใจ ด้วยความหวัง ด้วยความศรัทธา เป็นลักษณะการสอนให้คนตกปลาได้ สิ่งแรกที่ Alibaba ทำคือความหวัง สร้าง Sense ขึ้นมาต่างจากที่คนอื่นสร้าง เป็นมากกว่าความเป็นเจ้าขององค์กร คุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจของคุณเอง แต่ละบริษัทจะยืนด้วยตนเอง แต่ก็สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกัน

    โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

    สรุปประเด็น (ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2559)

    Mindset หลักที่สำคัญ 4 ข้อ

    1.Emotional Intelligence Mindset มีความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึงพฤติกรรมที่ทำให้ทีมมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ แล้วจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในระดับองค์กร และนำไปสู่การแสดงความสามารถในการทำงานของพนักงาน ถ้าผู้นำมี Emotional Intelligence Mindset จะนำไปสู่ Performance โดยเฉพาะเรื่องของ Loyalty และความเชื่อมั่นในองค์กร

    2.Connection Mindset หมายความว่า ผู้นำต้องสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และสิ่งที่องค์กรคาดหวังไปสู่พนักงานเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจเป้าหมายและทำให้ Connection ไม่ใช่ Communication คำว่า Connect มีความลึกซึ้งมากกว่าการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร แต่รวมถึง Emotion ผู้นำต้องสร้างความรู้สึกพร้อมถ่ายทอดเป้าหมายต่างๆ

    3.Growth Mindset ผู้นำควรมี Growth Mindset และต้องทำหน้าที่เป็น Mentor เป็นโค้ชเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันกับทีม ตอนหลังองค์กรเน้น Self-coaching เป็นการสร้าง Growth Mindset ตรงไปยังตัวพนักงาน

    4.Performance Mindset สร้าง Performance ให้กับเพื่อนร่วมทีม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

    โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

    สรุปประเด็น (ช่วงที่ 6 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-1 เมษายน 2559)

    การสร้างสรรค์งานศิลปะมีกระบวนการที่เป็นขั้นตอน มีการวางแผน ต้องใช้ทักษะและสมาธิจึงจะได้ชิ้นงานที่สวยงาม เช่นเดียวกับการทำงานในด้านการบริหารที่เราต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีการวางแผนที่ดี และลงมือทำ เพื่อให้งานนั้นสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

    โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    สรุปประเด็น (ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2559)

    การศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับแนวความคิดของการบริหารจัดการองค์กร การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทุกอย่างให้เกิดมูลค่ามากที่สุด โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการทำงานการผลิตนักศึกษาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ทำให้ทุกอย่างออกมามีเอกลักษณ์ มีความโดดเด่นเฉพาะ มีการใส่จิตวิญญาณของผู้ประกอบการให้การนักศึกษาก็เป็นส่วนที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

    โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

    (ช่วงที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559)

    แนวคิดทางการตลาดที่ได้รับความรู้จากท่านอภิรักษ์ โกษะโยธิน สามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนางานในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ โดยหลักคิดที่ว่าการตลาดบางครั้งอาจเข้าใจว่าเกี่ยวกับสาขาการบริหารธุรกิจ แต่จริง ๆ แล้วเป็นการเข้าใจและตอบสนองความต้องการทั้งของผู้บริโภคและ Stakeholder การตลาด ไม่ใช่แค่การซื้อของ แต่เป็นการเข้าใจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคหรือ Stakeholder รวมไปถึงผู้ถือหุ้น และ Stakeholder ที่เกี่ยวข้องกับสังคม คือทำให้ชุมชนในพื้นที่หรือที่ทำธุรกิจได้รับประโยชน์ด้วย

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

    (ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2559)

    การเข้าอบรมในช่วงนี้ ทำให้ได้รับความรู้วิธีคิดนอกกรอบ การสร้างความคิดนอกกรอบและการพัฒนาความคิดนอกกรอบไปสู่การใช้งานได้จริง อย่างไรก็ตาม ความคิดนอกกรอบนั้นก็ต้องอยู่ภายใต้ความเป็นจริงที่เป็นไปได้ ซึ่ง ศ.เจริญ วรรธนะสิน ได้บรรยายเรื่อง สามก๊ก ที่ยกตัวอย่างการใช้คนให้เป็น ข้อดี-ข้อเสียของตัวละครสำคัญในเรื่อง และการใช้คนประเภทต่างๆ ที่ทั้งสำเร็จและล้มเหลว

    ทั้งนี้ การเข้าอบรมในช่วงนี้ ทำให้ได้รับความรู้วิธีคิดนอกกรอบ ที่มีการยกตัวอย่างหลายท่านที่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตามการที่จะทำความคิดนอกกรอบให้ประสบความสำเร็จนั้น ก็ต้องอยู่ภายใต้ความเป็นจริง นอกจากนี้ เกี่ยวกับ บุคลิกคนแบบต่างๆ และการใช้คนให้ถูกต้อง ตรงตามบุคลิกและความสามารถ โดยมี ท่าน ศ.เจริญ วรรธนะสิน ได้ บรรยายเรื่อง สามก๊ก ที่ยกตัวอย่าง เรื่องการใช้คนให้เป็น ข้อเสียขอคนประเภทต่างๆ ได้อย่างชัดเจน

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

    (ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559
    กรณ์ จาติกวานิช ได้กล่าว ถึงเศรษฐกิจภาพรวมชองโลกและอาเซียนที่เปลี่ยนไปจากการเป็นสังคมผู้สูงอายุ และการแข่งขันที่มากขึ้นการปรับตัวของมหาวิทยาลัยทักษิณในอนาคตจะต้องเน้นการผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์ของสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น ทรัพยากรธรรมชาติที่น้อยลง ค่าแรงสูงขึ้นการพึ่งแรงงานต่างด้าว เป็นต้นการผลิตสินค้าต้องเน้นที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก สินค้าต้องมีคุณภาพสูง และPackaging ที่สวยงาม มีเรื่องราวของสินค้า กรณ์ จาติกวานิช เน้นการใช้ภาษาอังกฤษ และได้ มีการยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบใหม่ ที่ใช้การตลอดนำ

    นอกจากนี้ ในช่วงท้าย รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี Cloud และ Iot ที่จะเข้ามาแทนที่ทุกอย่าง ๆอีกทั้งวิธีการเรียนการสอน ในยุคนี้จะใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเดิมไม่ได้ เนื่องจาก ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป โดยสิ้นเชิง อาจารย์ไม่สามารถสอนแบบอ่านท่องตามหนังสือได้ แล้ว แต่จะเน้นแนว กระตุ้นให้นักเรียน หรือนิสิต เกิดความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่ โดยมหาวิทยาลัยควรปรับตัวจากการเปลี่ยนดังกล่าวให้ทัน

    รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี Cloud และ Iot ที่จะเข้ามาแทนที่ทุกอย่างๆ วิธีการเรียนการสอนในยุคนี้จะใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเดิมไม่ได้ เนื่องจาก นักศึกษาสามารถหาความรู้ได้เองจาก Internet ดังนั้นอาจารย์จึงเป็นเพียง ผู้แนะนำ กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์แบบใหม่ โดยมหาวิทยาลัยควรปรับตัวจากการเปลี่ยนดังกล่าวให้ทัน

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559)

    หนังสือ Alibaba เสนอแนวคิดในการทำธุรกิจ ความผิดพลาด และหนทางการแก้ไขข้อผิดพลาด ดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสำเร็จ การ เปลี่ยนผ่านจาก จาก ODM เข้าสู่ Global Supply Chain ต้องมีพนักงานที่มีศักยภาพสูงมากในการทำงาน และกลยุทธ์ในการพัฒนาคนในยุคดิจิตอล กาแข่งขันได้ต้องสร้างไปสู่มูลค่าที่หลากหลายและตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุด Alibaba ศึกษาความผิดพลาด และหนทางการแก้ไขข้อผิดพลาด ดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสำเร็จ โดยเน้นความสำคัญ ในการปรับปัญหาใหญ่ๆ ต่างๆให้ดูเหมือนเล็กลงเพื่อเกิดแรงบันดาลใจมากพอ ที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ง่าย และการเป็นผู้นำบางครั้งการพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นที่มีความสามารถด้านนั้น ได้ ก้าวขึ้นมาทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

    สรุปประเด็น โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2559)

    การสร้าง Mindset คือเป็นความคิด ความเชื่อที่กำหนดพฤติกรรมและทัศนคติ การพัฒนาและ สร้าง Growth Mindset เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะ Mindset ของผู้นำมีอิทธิพลอย่างสูงต่อพนักงาน Mindset ของคนหนึ่งสามารถมีอิทธิพลต่อคนรอบข้าง คือ ถ้ามีการปลูกฝัง Mindset ไว้อย่างไรก็จะนำไปสู่ Attitude ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรม เป็น action และผลลัพธ์ ในที่สุดก็กลายเป็น Performance
    การปรับบุคลิกภาพที่เหมาะสมขอการเป็นผู้นำ การวางตัวและ มารยาทต่างๆในสังคม รวมถึงการแต่งกาย การ การเดิน การตอบรับการไหว้ การใส่เครื่องประดับที่เหมาะสม จะส่งผลต่อความต่อ ความน่าเชื่อถือ และความเป็นผู้นำขององค์กร ในช่วงท้าย การบรรยายของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล สอนให้เข้าใจวิธีการทำงาน การครองใจคน โดยเน้นเอาคำสอนของพระพุทธศาสนามาปรับใช้กับการทำงานอย่างเหมาะสม

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 6 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-1 เมษายน 2559)

    การเป็นผู้นำขององค์กร เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ นั่นคือ ผู้นำต้องมีหลักเหตุผลที่ดี และต้องมีศิลปะในการสื่อสารที่ดี เพื่อให้การบริหารองค์กรสำเร็จ ต้องใช้ความใจเย็น คล้ายกับการวาดรูป หลายอย่างที่หากใช้เหตุผลอย่างเดียวก็อาจจะแก้ปัญหาหรือครองใจใต้บังคับบัญชาไม่ได้
    การเป็นผู้นำขององค์กร ไม่ได้ใช้ทั้งหลักการทางเหตุผลแค่อย่างเดียว แต่บางครั้งก็ต้องมีศิลปะ ด้วย ซึ่งผู้บรรยายได้ ฝึกให้มีฝึกวาดรูปด้วยสีน้ำ ซึ่งการฝึกดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความใจเย็น และความมีสมาธิอย่างมาก ก็เปรียบเสมือน การเป็นผู้นำ ที่บริหารองค์กร ที่ต้องใช้ความใจเย็น คล้ายกับการวาดรูป หลายอย่างที่หากใช้เหตุผลอย่างเดียวก็อาจจะแก้ปัญหาหรือครองใจใต้บังคับบัญชาไม่ได้ แต่ต้องมีศิลปะ ที่เหมาะสมกับ องค์กรนั้นๆ

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2559)


    การศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับแนวคิดการบริหารเพื่อให้ทรัพยากรต่างๆในมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการ ตกแต่งห้องเรียน ห้องกิจกรรมต่างๆของนิสิต โดยเพื่อสีสัน ที่สดใส รวม ถึงรูปร่างที่แปลกๆลงไป ในห้องการเรียนการสอน หรือ ห้องกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้น ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้น การศึกษาดูงานที่ SCG ซึ่งเป็นองค์ที่บริหารแบบ มีธรรมมาภิบาลอย่างยอดเยี่ยม การบริหารงานเกี่ยวกับ บุคคล การทำอย่างไร ให้บุคลากรภายใน SCG ทำงานอย่างมีความสุข

    การศึกษาดูงานที่ SCG ซึ่งเป็นองค์ที่บริหารแบบ มีธรรมมาภิบาลอย่างยอดเยี่ยม การบริหารงานเกี่ยวกับ บุคคล การทำอย่างไร ให้บุคลากรภายใน SCG ทำงานอย่างมีความสุข โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การไปทำกิจกรรมนอกสถานที่ การมีไปดูหนัง ซึ่งทำให้ บุคลากร ทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งเมื่อบุคลากรมีความสุข การทำงาน ก็จะมีประสิทธิภาพสูง รวมถึงการลาออกก็จะน้อยลงเช่นกัน

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559)

    การกล่าวถึง positioning ของมหาวิทยาลัยทักษิณในปัจจุบันและอนาคต โดยหาจุดแข็งของมหาวิทยาลัยทักษิณที่เป็นตัวบอกตัวตนและจุดแข็งในอดีต เพื่อนำจุดแข็งดังกล่าวมาพัฒนา การก้าวไปในอนาคตของมหาวิทยาลัย ว่าควรจะไปทางด้านใด

    คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้มาบรรยายเกี่ยวกับ ทิศทางและองค์ประกอบสำคัญ ที่จะเกิดขึ้นกับสังคมในปัจจุบันและอนาคต การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จากการยกตัวอย่าง การผลิตเกลือที่ จ.สมุทรสาคร ที่ขายได้ราคาต่ำ แต่ เมื่อ นำเกลือดังกล่าวไป เปลี่ยน เป็น แบรน ก็สามารถเพิ่มมูลค่าได้ หลายเท่าตัว ดังนั้น การที่จะบริหารองค์ให้ประกอบความสำเร็จ จะต้องรู้ด้วย ว่าสังคมและทิศทางของโลกในอนาคตเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนสไตล์ของการใช้ชีวิตของคนปัจจุบันและในอนาคต การให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและการนำมาเพิ่มมูลค่า

    ได้เรียนรูเรื่องการตลาดเพื่อทำให้เข้าใจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคหรือ ผู้มีส่วนได้เสีบ รวมไปถึงผู้ถือหุ้น ที่เกี่ยวข้องกับสังคมทำให้ชุมชนในพื้นที่หรือที่ทำธุรกิจได้รับประโยชน์ด้วยเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งในส่วนของภาคธุรกิจ สังคม การพัฒนาชุมชน และมหาวิทยาลัยจะมีเอกลักษณ์ในแต่ละพื้นที่และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป

    สุธาสินี บุญญาพิทักษ์

    ดร.สุธาสินี บุญญาพิทักษ์

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

    (ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2559)

    สิ่งที่ได้รับจากการอบรมคือ ได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีคิดนอกกรอบ คือ “ถ้าต้องการเห็นผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิมต้องคิดต่างจากเดิม” นั่นคือการเพาะพันธุ์ความคิดให้เกิดในองค์กรและนำไปสู่การลงมือทำ การคิดที่ดีต้องเป็นไปได้ สร้างจากแรงจูงใจภายในของบุคคลโดยขจัดความกลัวและไม่ติดกับภาพลักษณ์ตนเอง และจากการอ่านหนังสือstand out ได้ข้อคิดว่า คนที่ประสบความสำเร็จต้องมีโอกาสทำสิ่งที่เก่งทุกวัน ค้นหาจุดแข็งแล้วเปลี่ยนเป็น performance นอกจากนี้ ศ.เจริญ วรรธนะสิน ได้วิเคราะห์ตัวละครจากหนังสือเรื่อง สามก๊ก สะท้อนให้เห็นถึงภาวะผู้นำประเภทต่างๆที่เป็นรูปธรรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

    (ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559
    วิทยากรคือ คุณกรณ์ จาติกวานิช ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจไทย การปรับตัวและกลยุทธ์การปรับตัว จุดอ่อนของประเทศไทยในอนาคตคือเป็นสังคมผู้สูงอายุ ที่จะมีสัดส่วนคนทำงานและผู้สูงอายุจะเป็น 2 : 1 กล่าวคือคนทำงานจะรับภาระหนักขึ้นและมีการแข่งขันที่มากขึ้นคนไทยจะขาดความมั่นคงในการดูแลตนเองเมื่อสูงอายุ ผลกระทบกับมหาวิทยาลัยทักษิณคือ ต้องปรับตัวโดยมีมีวิธีการ วิธีคิด กลยุทธ์เพื่อผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์ของสังคมอนาคตส่วนวิทยากร รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยี ที่มีผลกระทบต่อการปรับวิธีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ควรนำมุมมองของเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่ม

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559)

    จากการอ่านหนังสือ Alibaba ได้นำเสนอแนวคิดสำคัญในการทำธุรกิจ ความผิดพลาด และหนทางการแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสำเร็จ โดยเน้นความสำคัญ ในการปรับปัญหาเล็กลงเพื่อเกิดให้เกิดแรงบันดาลใจในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

    สรุปประเด็น โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2559)

    Mindset คือ ความเชื่อที่เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมและทัศนคติ เป็นสิ่งที่ทำให้คนเข้าใจและเรียนรู้จากภายในตนเอง ผู้นำต้องทำให้ผู้ตามเกิด Mindset ที่ตรงกันเจตคติ ผู้นำควรทำความเข้าใจ Mindset เพื่อให้เข้าใจมุมมองของผู้อื่น มีแนวทางที่จะทำให้ Mindset ของทีมเกิดเป็นperformance และเชื่อมโยงไปสู่ผลลัพธ์องค์กร เป็นรากฐานสำคัญต่อการสร้างทีมและเครือข่าย เพื่อให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการบรรยายของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้ให้ข้อคิดว่า การเปลี่ยนทัศนคติคนต้องใช้กระบวนการ นอกจากนี้ต้องมีการวางแผนชีวิตและการทำงาน ใช้หลักการครองคน ครองงาน หลักทศพิศราชธรรม หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับการทำงาน

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 6 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-1 เมษายน 2559)

    ได้เรียนรู้อีกบทบาทของการเป็นผู้นำต้องมีทั้งศาสตร์และศิลปะ การใช้ทั้งหลักการทางเหตุผลร่วมกับการศิลปะอาจจะแก้ปัญหาองค์กรได้เหมาะสม

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2559)


    การศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้แนวคิดที่ดี คือ กลยุทธ์มีความสำคัญมากในการสร้างอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย มีการใช้หลักการบริหารแบบ win win ให้ความสำคัญกับพื้นที่การเรียนรู้ของนักศึกษา มี การบริหารจัดการแบบรวมศูนย์บนระบบฐานข้อมูลเดียวกันเพื่อให้การใช้ทรัพยากรต่างๆในมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศในมหาวิทยาลัย สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ส่วนการศึกษาดูงานที่ SCG ซึ่งเป็นองค์กรบริหารวัฒนธรรมองค์กรแบบมีธรรมมาภิบาลอย่างยอดเยี่ยม เพื่อให้บุคลากรภายใน SCG ทำงานอย่างมีความสุข ให้ความสำคัญนับตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกคน ระบบพี่เลี้ยง ระบบประเมินที่เป็นธรรมทั้งด้านการปฏิบัติและศักยภาพ สร้างความผูกพันของคนกับองค์กร และจากการฟังวิทยากร อ.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ได้แนวคิดผู้นำที่ต้องในอนาคต คือ ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ และผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม

    สรุปประเด็นโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559)

    คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้ให้แนวคิดทางการตลาดที่ควรนำมาปรับใช้กับมหาวิทยาลัย โดยการที่จะบริหารองค์ให้ประกอบความสำเร็จ จะต้องรู้ด้วยว่าสังคมและทิศทางของโลกในอนาคตเป็นอย่างไร เช่นคำนึงถึงการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ต้องนำมาปรับใช้เป็นนโยบายมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนักศึกษาและมหาวิทยาลัย เป็นต้น การนำภูมิปัญญามาต่อยอดนวัตกรรม ให้คุณค่าวัฒนธรรม ให้ความสำคัญกับทุนของมหาวิทยาลัยคือ Human capital ,cultural capital ,social capital, institute capital ,creative capital และนำมาต่อยอด เชื่อมโยงกับ positioning ของมหาวิทยาลัยทักษิณในปัจจุบันและอนาคต โดยหาจุดแข็งของมหาวิทยาลัยทักษิณที่เป็นตัวบอกตัวตนและจุดแข็งในอดีต เพื่อนำจุดแข็งดังกล่าวมาพัฒนา การก้าวไปในอนาคตของมหาวิทยาลัย ว่าควรมีทิศทางพัฒนาอย่างไร

    ศาสดา วิริยานุพงศ์

    คน : ทุนสำคัญในการพัฒนาองค์การช่วงที่ 1 (22-23 มกราคม 2559)

    5 K’s ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์

    Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ

    Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

    Knowledge Capital ทุนทางความรู้

    Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

    Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

    Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

    ผู้นำ : คนสำคัญในการพัฒนาองค์การช่วงที่ 2 (4-5 กุมภาพันธ์ 2559)

    ลักษณะของผู้นำในอุดมคติ Ideal Leadership

    ความรอบรู้ ความอัจริยะของ ขงเบ้ง

    ความอ่อมน้อมถ่อมตน ยึดมั่นในคุณธรรม มนุษยสัมพันธ์ดี อดทน รู้จักระงับอารมณ์ของ เล่าปี่

    ความสัตย์ซื่อ มีความตั้งใจสูงของ กวนอู

    เข้มแข็งในวินัย จัดระเบียบเข้มงวด ใจกว้างใจนักเลง รู้จักเลี้ยงคน รักคนเก่งมีฝีมืออย่าง โจโฉ

    รู้จักมอบหมายงาน สร้างคนใหม่ขึ้นมาทดแทนอย่าง ซุนกวน

    ความชัดเจนในภารกิจของ เตียวจูล่ง สุภาพบุรุษจากเสียงสาน

    ความเป็นมืออาชีพของ ตันหลิม กับ หมอเทวดาฮัวโต๋

    เสนาธิการสายตายาวไกลสูงด้วยจิตวิทยาอย่าง ซุนฮก กุยแก

    รักชาติยิ่งชีพเยี่ยง จิวยี่ ฮองตง อองลุย ตันสี เตียวเสี้ยน

    อึด อดทน บากบั่น มานะ พากเพียร ของ ตระกูลสุมาอี้ จนรวบรวมแผ่นดินจีนเป็นเอกภาพได้สำเร็จ


    CEO: ผู้นำในการพัฒนาองค์การช่วงที่ 3 (18-19 กุมภาพันธ์ 2559)

    CEO ที่ดี ต้องอย่ามองตัวเอง มอง CUSTOMERS คือ นักศึกษา พ่อแม่ ผู้ปกครอง ลูกน้อง และผู้เกี่ยวข้องว่าเขาต้องการอะไรจึงมาที่ TSU ถ้ามีหลักสูตรระยะสั้น เขาได้อะไร? มีงานวิจัย.. เขาได้อะไร? ได้คุณค่าอะไร คุ้มกับ 4 ปีหรือไม่?

    CEO ในยุคใหม่จะต้องมี Diversity และมีความเข้าใจในการบริหารการเปลี่ยนแปลง หรือ Change


    ผู้สร้าง : CEO ที่แท้จริงในการพัฒนาองค์การช่วงที่ 4 (3-4 มีนาคม 2559)

    การสร้างมูลค่าเพิ่มได้ต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถ

    การสร้างคุณค่าใหม่ต้องสร้างจากความหลากหลาย


    ในหลวง : ผู้สร้างที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาองค์การ ช่วงที่ 5 (17-18 มีนาคม 2559)

    หลักการทรงงาน ได้จากการประมวลของดร.สุเมธ 16 ข้อและศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย 4 ข้อมีดังนี้

    1. ทำงานอย่างผู้รู้จริง ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ในหลวงทรงนั่งพับเพียบทำงานที่พื้นเพราะวางแผนที่สะดวก ห้องทรงงานในหลวงจะมีแต่ของที่มีประโยชน์ที่ต้องใช้จริงในการทำงานเท่านั้น

    2. อดทน มุ่งมั่น ยึดธรรมะ ความถูกต้อง

    3. อ่อนน้อม ถ่อมตน

    4. ซื่อสัตย์

    5. ตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร

    6. รับฟังความเห็นของผู้อื่น เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง

    7. มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่เป็นหลัก

    8. เน้นความต้องการของประชาชน ระเบิดจากข้างใน

    9.พึ่งตนเอง ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง

    10. การมีส่วนร่วมประชา

    11. ทำตามลำดับขั้น แก้ปัญหาที่จุดเล็ก (คิด Macro ทำ Micro มีภาพรวมก่อน แล้วค่อยเริ่มที่จุดเล็ก)

    12. บริการที่จุดเดียว

    13. เน้นธรรมชาติและภูมิสังคม

    14. ยึดหลักรู้ รัก สามัคคี (อย่าเก่งคนเดียว ต้องทำงานเป็นเครือข่าย)

    15. เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

    16. ไม่ติดตำรา ทำให้ง่าย Simplicity

    17. ทำงานแบบองค์รวม

    18. ขาดทุนคือกำไร

    19. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด

    20. เศรษฐกิจพอเพียง


    วิทย์และศิลป์ : ในหลวง’s way ในการพัฒนาองค์การ ช่วงที่ 6 (31 มีนาคม -1 เมษายน 2559)

    การใช้ภาวะผู้นำมีความจำเป็นในการต้องใช้หัวสมองฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ผู้นำต้องมีความจำเป็นที่ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์คือใช้สมองซีกซ้ายในการบริหาร และใช้สมองซีกขวาในการครองใจคน


    ยุค New Economy : วิทย์และศิลป์ในการพัฒนาองค์การช่วงที่ 7 (7-8 เมษายน 2559)

    แบรนด์ ชื่อเสียงจะเป็นตัวที่นำซึ่งหลายสิ่ง

    Relationship ปัจจุบันนี้จะอยู่คนเดียวไม่ได้ เกิด AEC, EU ดังนั้นเรื่อง Network สำคัญมาก หลายแห่งก็ใช้จุดแข็งที่อื่นมาเสริมเป็นเครือข่าย

    ความรู้ตอนนี้ต้องเป็นนวัตกรรมที่สามารถจดทรัพย์สินทางปัญญาได้ และต้องทำให้บริษัทแตกต่างจากที่อื่น

    Capability องค์กรก็ต้องมีคนเก่ง มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ก็จับต้องไม่ได้จนกว่าจะผลิตออกมาแล้ว


    Change: ยุค New Economy ในการพัฒนาองค์การ ช่วงที่ 8 (3-4 พฤษภาคม 2559)

    มหาวิทยาลัยควรปรับให้มีหลักสูตรใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น วิถีชีวิตคนจะเริ่มเปลี่ยนไปมากขึ้น


    สรุป

    การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จและคนโดยเฉพาะคนในองค์การนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การพัฒนาคนในองค์กรจึงเปรียบเสมือนเป็นการพัฒนาองค์การไปด้วยเช่นกัน
    เยาวลักษณ์ สุวรรณแข

    ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2559

    การทำงานเป็นทีมนับเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและสามารถแข่งขันได้ ทีมงานที่ดีนั้นสมาชิกที่ดีของทีมจะมีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน มีกลยุทธ์ มีความปรารถนาอย่างเดียวกันที่จะนำพาองค์กรองค์กรไปสู่ความสำเร็จ สมาชิกแต่ของทีมจะทราบหน้าที่และบทบาท มีการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ

    ในทัศนะส่วนตัว ทุกคนในองค์กรสามารถเป็นผู้นำขององค์กรได้ เพราะบุคลากรแต่ละคนมีความสามารถเฉพาะอย่างที่เป็นประโยชน์กับองค์กร โดยผู้นำจะต้องเป็นผู้มีใจเปิดกว้าง ในการพิจารณาค้นหาผู้มีความสามารถเหมาะสมกับงาน มอบหมายภาระงานจากการพิจารณาบุคลิกภาพของบุคลากรที่สำคัญ เช่น นักทฤษฎี นักปฏิบัติ นักผจญภัย นักกิจกรรม เป็นต้น เมื่อบุคลากรได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ จะทำให้บุคลากรรู้สึกว่าตนเองได้รับความสำคัญ และความไว้วางใจจากหัวหน้างานก็จะส่งผลให้เกิดความร่วมมือภายในองค์กร ความพยายามในการทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ในทางตรงข้ามหากหัวหน้างานไม่สามารถค้นพบศักยภาพในตัวตนของบุคลากร ก็จะทำให้องค์กรขาดโอกาสแห่งความสำเร็จ และเป็นการบั่นทอนความสามารถที่อยู่ในตัวของบุคลากร

    ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์เป็นคุณลักษณะหนึ่งของผู้นำที่จะนำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงและความสำเร็จ โดยผู้นำองค์กรจะต้องเป็นผู้วิเคราะห์ว่าบุคลากรมีความถนัดในการคิดสร้างสรรค์แบบไหน สนับสนุนส่งเสริมการทำงานแบบสร้างสรรค์ในองค์ เช่น การอนุญาตให้พนักงานได้ใช้แนวทางในการคิดสร้างสรรค์ การประกวดแข่งขัน การให้รางวัล เป็นต้น

    หนังสือแนะนำ

    Help the Helper: Building a Culture of Extreme Teamwork, by Kevin Pritchard and John Eliot, 2012

    ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18 - 19 กุมภาพันธ์ 2559

    บทเรียนจากการถ่ายทอดประสบการณ์ของ CEO จะได้ข้อสรุปที่สำคัญคือ การให้ความสำคัญกับบุคลากร การสื่อสารกับบุคลากรอย่างให้เกียรติและอย่างไม่เป็นทางจะมีประสิทธิภาพมากเพราะนอกจากจะได้แสดงออกถึงความเอาใจใส่และห่วงใยแบบเครือญาติในรูปแบบของคนไทยยังจะทำให้ได้ทราบปัญหาและอุปสรรคจากการทำงานข้อคิดที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการใช้ชีวิตที่สมดุลย์ของผู้บริหารมีความสำคัญ กล่าวคือ นอกเหนือจากงานแล้วชีวิตยังมีสิ่งอื่นๆที่สำคัญอื่นๆที่จะต้องได้รับการดูแลและเตรียมการคือ ครอบครัว การดูแลสุขภาพ และการวางแผนชีวิตหลังเกษียณ เป็นต้น

    CEO หลายท่านนอกเหนือจาก สตีฟ จอบส์ มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ยังมีประวัติของCEOที่น่าศึกษาและควรเรียนรู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยของความสำเร็จ ประกอบด้วย

    1.เศรษฐีติดอันดับที่ 26 ของโลก เจฟฟ์ เบโซส์ (Jeff Bezos) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอเว็บไซต์ขายของออนไลน์ Amazon.com

    2.วอร์เร็น เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์ (Warren Edward Buffett) นักลงทุน, นักธุรกิจที่มีความสำเร็จมากที่สุดในโลก ซีอีโอของบริษัทเบิร์กเชียร์

    3. โฮวาร์ด ชูลท์ส (Howard Schultz) ประธานกรรมการ ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสตาร์บัคส์

    4. เม็ก วิตแมน (Margaret Mac Whitman) CEO และ ประธานบริษัท Ebay

    5. มาร์ค เบนิออฟ (Marc Benioff) ผู้ก่อตั้งบริษัท Saleforce

    การได้ทบทวนกฎ 10 ประการของ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้ได้พิจารณาว่ากฏดังกล่าวเป็นคำสอนที่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นผู้บริหารที่มีชั้นเชิง อย่างไรก็ตาม แนะนำในเรื่องของการคิดนอกรอบ เช่น การหา Resources จากภายนอกนับว่ามีความท้าทาย เพราะเป็นการชี้แนะให้ข้ามผ่านนวิธีคิดที่จะต้องใช้เงินงบประมาณเป็นหลักซึ่งบ้างครั้งไม่ได้มีความสอดคล้องกับความต้องการ ศักยภาพ และผลที่จะได้รับที่มีประโยชน์และส่งผลสะเทือนถึงองค์กร สังคม และประเทศชาติ

    คุณลักษณะของผู้นำมหาวิทยาลัยที่คาดหวัง ควรเป็นผู้มีคุณลักษณะดังนี้: คนดี, มีทักษะชีวิต

    มีความคิดเชิงธุรกิจ, กล้าหาญ

    หนังสือแนะนำที่ เจฟฟ์ เบโซส์ แนะว่าควรได้อ่าน

    The Effective Executive: The Definitive Guide to Getting the Right Things Done/ by Peter Drucker

    The Innovator’s Dilemma: When New Technologies Cause Great Firms to Fail by Clayton Christensen

    ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559

    Managing self-performance

    ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จเป็นคุณสมบัติบุคลากรในองค์กรควรได้รับการกระตุ้นให้เกิดขึ้นในตนเองเพราะเป็นกุญแจดอกสำคัญของความเจริญก้าวหน้าขององค์กรและเป็นการสร้างความภาคภูมิใจแก่ตนเอง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความม่งมั่นทำงานให้สำเร็จได้แก่ ความรับผิดชอบต่อชีวิตตนเอง การเข้าใจว่าตัวตนเป็นคนแบบไหน เหตุผลสำคัญในการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จินตภาพของตนเองต่อการแสดงออกต่อคนอื่น หลักสำคัญ 5 ประการของความสำเร็จได้แก่ รู้ผลลัพธ์ที่จะได้รับจากการกระทำการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง มีความชัดเจน มีความยึดหยุ่น ทำงานอย่างด้วยความทุ่มเทด้วยกายใจ

    หนังสือที่แนะนำ

    The art of Happiness Dalai Lama (สามารถดาวน์โหลด Electronic Book ได้ฟรี)

    คู่มือมนุษย์ ของท่านพุทธทาสภิกขุ

    ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2559

    Mindset ประกอบด้วย Emotion Intelligence, Connection mindset, Growth mindset และperformance mindset. กรอบวิธีคิดและทัศนคติของผู้นำนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ความฉลาดทางอารมณ์ ความสามารถในการประสานเชื่อมโยง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และการเน้นที่ผลของการปฏิบัติงาน

    หลักทศพิธราชธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวปฏิบัติที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการทำงานได้อย่างดี

    สารสนเทศแนะนำ

    เรียนธรรมะจากพระเจ้าอยู่หัวกับ ท่าน ว.วชิรเมธี (สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี)

    ช่วงที่ 6 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-1 เมษายน 2559

    การเรียนรู้เรื่องการระบายสีน้ำ เป็นเรียนรู้การใช้ชีวิตที่สมดุล ของผู้น้ำและนักบริหาร เพราะการใช้ชีวิตและร่างกายแบบตึงเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เมื่อสุขภาพไม่ดีก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพการระบายสีน้ำเป็นวิธีการในอีกหลายวิธีเช่น การออกกำลังกาย การทำสวน การนั่งสมาธิ ที่ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปประยุกต์ได้ในครอบครัว เช่น การระบายสีน้ำของพ่อ แม่ลูกในวันหยุด การจัดกิจกรรมระบายสีน้ำของคนในองค์กรที่ช่วยให้เกิดความสนุกสนานเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน

    ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2559

    สิ่งทีได้จากการไปศึกษาดูงาน

    ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งใช้แนวคิด มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ ทำให้ได้เห็นถึงระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย การกลยุทธ์การตลาดในท่ามกลางการแข่งขัน มีหลักสูตรที่รองรับการความต้องการของตลาดเช่นหลักสูตรสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานในสายการบิน หลักสูตรนิเทศศาสตร์ มีการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ มีการใช้เทคโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการเรียนการสอนและการทำงานของฝ่ายต่างๆ เช่น ระบบการเรียนออนไลน์ ระบบการประเมินการสอน ระบบงานทะเบียน ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นต้น

    ณ SCG

    เป็นตัวอย่างของการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลมีจรรยาบรรณและอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจ มุ่งเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรม มีการทำ CSR หลายโครงการ มีการดูแลทรัพยากรบุคคลของบริษัทที่ดีมาก เช่น มีระบบการคัดคนเข้าทำงานอย่างเข้มข้นโดยพิจารณาจากความสามารถและทัศนคติ(ที่ดี)

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท