วิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐอเมริกา พ.ศ.2551


ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ช่วยกันกระตุ้นเศรษฐกิจ จะฝ่าวิกฤตไปได้

วิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐอเมริกา พ.ศ.2551

วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ (อังกฤษ: subprime mortgage crisis) หรือ วิกฤติซับไพรม์ และยังรู้จักกันในชื่อ วิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ในประเทศไทยอาจเรียกว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์) เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นชัดในช่วงปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551 จุดเด่นของวิกฤตินี้คือการที่ความคล่องตัวของตลาดสินเชื่อทั่วโลกและระบบธนาคารลดลง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา การกู้ยืมและการให้กู้ยืมที่มีความเสี่ยงสูง และระดับหนี้สินของบริษัทและบุคคลที่สูงเกินไป วิกฤติครั้งนี้มีผลหลายขั้นและค่อย ๆ เผยให้เห็นความอ่อนแอในระบบการเงินและระบบการควบคุมทั่วโลก

สาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจ

วิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา เริ่มเกิดขึ้นกลางปี 2007 และเห็นผลรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในปี 2008 บางครั้งเรียกว่า วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) เนื่องจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเริ่มเกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทั่วโลก บางครั้งเรียกว่าวิกฤตซับไพรม์หรือวิกฤตหนี้ด้อยคุณภาพ (Sub-Prime Crisis) เนื่องจากเกิดปัญหาการบริหารจัดการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Sub-Prime Mortgage) ผิดพลาด และผลของการกำกับดูแลกลุ่มวาณิชธนกิจ (Investment Banking) ไม่รัดกุม จนทำให้เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องและคุกคามความมั่นคงของสถาบันการเงิน ปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้

1. การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

2. การบริหารจัดการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำและการเกิดหนี้สูญ

3. การเก็งกำไรของกลุ่มวาณิชธนกิจหรือบรรษัทเงินทุนในสหรัฐอเมริกา

แนวทางในการแก้ไขปัญหา

- ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) ใช้นโยบายการเงิน (Monetary Policy) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds rate) อย่างรวดเร็ว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จนอัตราดอกเบี้ยลดลงเข้าใกล้ร้อยละ 0 (0.25%) แต่ก็ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จึงต้องใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณ มาตรการ Unconventional monetary policy หรือเรียกว่า Quantitative Easing(QE) โดยธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาทำการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงินเพื่อรักษาความเชื่อมั่นและสร้างสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อไปได้ในภาวะไม่ปกติได้แก่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ในการใช้มาตรการ QE ครั้งแรกหรือ QE1 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2008 - เดือนมีนาคม2010 ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล และเข้าซื้อตราสารหนี้ที่หนุนหลังโดยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (Mortgage backed securities :MBS) จากสถาบันการเงิน ผ่านโครงการ Term Asset-Backed Securities Loan Facilities: TALF) เพื่อให้สถาบันการเงินที่มีปัญหามีสภาพคล่องสามารถปล่อยเงินกู้ได้และให้เงินกู้ระยะสั้นแก่สถาบันการเงินผ่านTerm Auction facilities ผลจาก QE1 ช่วยให้ตลาดการเงินทำงานเป็นปกติมากขึ้นในระดับหนึ่ง แต่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องจึงนำมาตรการQEมาใช้อีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ QE2 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2010 - เดือนมิถุนายน 2011โดยดำเนินนโยบายรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อกระตุ้นการลงทุน การบริโภคและธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาทยอยซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ได้รับค้ำประกันโดยหน่วยงานของรัฐ (Agency Mortgaged - back securities) ที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาถืออยู่โดยจะทยอยซื้อในแต่ละเดือน (เดือนละ35,000ล้านดอลลาร์) เป้าหมายของQE2เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มสภาพคล่อง ต่างจาก QE1 เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ลดการผันผวนในตลาดการเงินซึ่งผลของQE2 สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่งเท่านั้น จึงนำมาตรการQEมาใช้อีกเป็นครั้งที่ 3 หรือ QE3 เมื่อวันที่ 13กันยายน 2012 โดยครั้งนี้ไม่กำหนดช่วงเวลาโดยจะทยอยซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ในแต่ละเดือนจนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับคืนมาอย่างต่อเนื่อง

- การกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้นโยบายการคลัง ภาครัฐมีนโยบายใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทางด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ช่วยเหลือการว่างงานและการลดภาษี เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนให้มีการบริโภค การลงทุนและการจ้างงาน และ การฟื้นฟูสถาบันการเงิน ช่วยเหลือบริษัทอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหา การจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่ซื้อหนี้เสียจาก สถาบันการเงิน แต่ทั้งนี้สหรัฐอเมริกากำลังจะประสบปัญหาหน้าผาทางการคลัง (Fiscal Cliff) เนื่องจากมาตรการด้านการคลังชั่วคราวในการกระตุ้นเศรษฐกิจกำลังจะสิ้นสุดและรัฐมีหนี้สาธารณะในสัดส่วนที่สูงและขาดดุลงบประมาณสูงมาก ในปี2011ขาดดุลงบประมาณ สัดส่วนร้อยละ9.5ของGDP ทำให้รัฐต้องตัดงบประมาณแบบอัตโนมัติ (Sequestration) โดยรัฐจะต้องตัดงบประมาณรายจ่ายลง100พันล้านดอลลาร์ต่อปีเป็นเวลา 10ปีโดยเริ่มตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐตั้งแต่ต้นปี2013 ดังนั้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการคลังคงจะทำได้ยาก

แหล่งที่มา :http://napatldee.blogspot.com/

http://hamburgercrisis93721.blogspot.com/

http://econandhistory.weebly.com/blog/1

หมายเลขบันทึก: 605815เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2016 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2016 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท