ค่าธรรมเนียมในการติดคุก (Costs of imprisonment)


การให้นักโทษมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ค่าธรรมเนียมในการติดคุก (Costs of imprisonment) เช่น ค่าเช่าห้องพัก ค่าอาหาร และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติเรือนจำเยอรมัน ............................

ค่าธรรมเนียมในการติดคุก หรือ ค่าใช้จ่ายในการจำคุก (Costs of imprisonment) เป็นแนวคิดที่มีการดำเนินงานในคุกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร เป็นต้น สำหรับบทความเรื่อง ค่าธรรมเนียมในการติดคุก ที่นำเสนอในบทความนี้ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการติดคุกในเรือนจำเยอรมัน ข้อมูลจากงานวิจัย เรื่อง นโยบายทางอาญาและคุกเยอรมัน (German criminal and prison policy) โดย แอ็กเซิล บาวเดอะเช่อ (Axel Boetticher) และ โยฮันเน ฟีท (Johannes Feest) โดยจะเป็นการกล่าวถึง แนวคิด ทฤษฎีที่รองรับ หลักเกณฑ์ และ แนวทางการดำเนินงาน โดยสังเขป ดังนี้



แนวคิดของพระราชบัญญัติเรือนจำเยอรมัน เริ่มต้นจากสมมุติฐานที่ว่านักโทษจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในค่าใช้จ่าย หรือ ค่าธรรมเนียมในการติดคุก เป็นการดำเนินงานโดยมีนโยบายเน้นหนักในการใช้ ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุก (Reduction in immediate costs Theory) และ ทฤษฎีซ่อมแซมชดใช้หนี้ (Restitution or repayment Theory) เป็นแนวทางการดำเนินงาน และ ทางสภานิติบัญญัติได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ รองรับแนวคิด ดังกล่าว เช่น การเพิ่มค่าจ้างแรงงานนักโทษจากร้อยละ ๕ ถึงร้อยละ ๙๐ ของค่าจ้างเฉลี่ยค่าจ้างภายนอกเรือนจำ นอกจากนั้น พระราชบัญญัติเรือนจำ มาตรา ๕๐ ยังได้กำหนดประเภทของค่าธรรมเนียมในการติดคุกที่นักโทษจะต้องมีส่วนร่วมในค่าใช้จ่าย เช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าทำขาเทียม และ ค่าทันตกรรม ฯลฯ และ กรณีนักโทษได้รับอนุญาตในการสวมใส่เสื้อผ้าของตัวเองก็จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาด เป็นต้น สำหรับเงิน หรือ รายได้ของนักโทษที่จะนำมาใช้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมในการติดคุก ส่วนใหญ่นักโทษจะนำเงินค่าจ้างแรงงานนักโทษ ผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ มาเป็นค่าใช้จ่าย ส่วนนักโทษที่มีรายได้ทางอื่นก็สามารถนำมาเป็นค่าธรรมเนียมในการติดคุก เช่นเดียวกัน

โดยสรุป

การให้นักโทษมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ค่าธรรมเนียมในการติดคุก (Costs of imprisonment) เช่น ค่าเช่าห้องพัก ค่าอาหาร และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติเรือนจำเยอรมัน เป็นแนวคิด แนวทางการดำเนินงาน ที่เน้น ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุก ภายใต้สมมุติฐานที่ว่านักโทษจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในค่าใช้จ่าย หรือ ค่าธรรมเนียมในการติดคุก เป็นการดำเนินงานที่คำนึงถึงงบประมาณคุกที่มาจากภาษีอากรของประชาชน และ ทฤษฎีซ่อมแซมชดใช้หนี้ เป็นการนำเงินที่ได้จากค่าจ้างแรงงานนักโทษ ให้เจ้าหนี้สามารถนำไปหักใช้หนี้ได้ นอกเหนือจาก ทฤษฎีแก้แค้นทดแทน (Retributive Theory) ที่ได้มีการใช้แรงงานนักโทษเพื่อเป็นการดัดสันดาน และ ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitative Theory) ที่ได้มีการใช้แรงงานนักโทษเพื่อฝึกนิสัยรักการทำงาน ลดความเกียจคร้าน และ รู้สึกสำนึกในความผิดที่ได้กระทำ ในปัจจุบันยังมีการใช้อยู่ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร เป็นต้น เป็นแนวคิด แนวทางการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในขั้นตอนของการบังคับโทษจำคุกที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง


..................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๒๐ เมษายน ๒๕๕๙


อ้างอิง

ข้อมูลเนื้อหาจาก แอ็กเซิล บาวเดอะเช่อ (Axel Boetticher) และ โยฮันเน ฟีท (Johannes Feest) งานวิจัย เรื่อง นโยบายทางอาญาและคุกเยอรมัน (German criminal and prison policy)

ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://www.motherjones.com/politics/2014/02

/conservatives -prison-reform-right-on-crime



หมายเลขบันทึก: 605183เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2016 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2017 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณอาจารย์ ดร.จันทวรรณ มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผมด้วยดีตลอดมา

Interesting. How much is the fee ? I think the prisoners in Thai prisons indirectly pay the fee by using their labor. They don't stay there for free, do they know ?

จำนวนค่าธรรมเนียมในการติดคุกของแต่ละประเทศ อาจไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายในการบริหารจัดการคุก โดยพระราชบัญญัติเรือนจำเยอรมัน เองก็ไม่ได้ระบุจำนวนที่แน่ชัด แต่ใช้คำว่า ให้นักโทษจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในค่าใช้จ่าย หรือ ค่าธรรมเนียมในการติดคุก และ ท่านอาจารย์ ดร.กัลยา (GD) กรุณาอธิบายเพิ่มเติมว่านักโทษในคุกไทยไม่ได้อยู่ฟรี แต่ได้ใช้แรงงานทำงานต่างๆ ในเรือนจำ เป็นการชำระค่าธรรมเนียมในการติดคุกโดยอ้อมอยู่แล้ว ถูกต้องครับท่านอาจารย์ ดร.กัลยา (GD) ถ้านักโทษในคุกไทยได้ทำงานตามสมควร แต่จากข้อเท็จจริง นักโทษไทยสามารถทำงานเป็นประโยชน์กับทางเศรษฐกิจ คิดเป็นเงินโดยเฉลี่ย วันละประมาณ 2.11 บาท (สองบาทสิบเอ็ดสตางค์) ต่อกำลังผลิตของนักโทษต่อคนต่อวัน เป็นการคิดคำนวณโดยที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย (ดูบทความ เรื่อง นักโทษไทยแรงงานที่สูญเปล่า) ..........ขอขอบคุณ ผศ.ดร. กัลยา ธรรมพงษา (GD) มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตามและให้กำลังใจผมตลอดมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท