​เกือบลืม“อีโบ๊ะ”ไปแล้ว!


เจ้าตัวน้อยทั้งหลายมีความสุขกับกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะนี้ โดยเฉพาะสื่อที่เป็นของเล่นของพวกเขาเอง แต่เหลือจำนวนไม่มากแล้ว ที่เคยเล่นอย่างจริงๆจังๆ บางส่วนเคยเล่นมาบ้างเท่านั้น ขณะที่ส่วนใหญ่ไม่รู้จักอีโบ๊ะกันแล้ว..

เมื่อหลายปีก่อน เคยบันทึกเรื่อง“อีโบ๊ะ”มาครั้งหนึ่ง อีโบ๊ะเป็นของเล่นในสมัยเด็กๆ ซึ่งตัวเองเกือบจะลืมไปแล้ว จนกระทั่งลูกศิษย์ชั้น ม.1 บางคนเอ่ยถึงขึ้น เพราะถูกครูกำหนดให้นำของเล่นที่บ้านมาเรียนรู้วิธีและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมที่รับผิดชอบมาเนิ่นนานนั้น วันนี้จะใช้อีโบ๊ะ เป็นสื่อในการเรียนรู้

ระบุปัญหาหรือตั้งคำถาม เพื่อนักเรียนจะได้วางแผนจัดเตรียมอุปกรณ์มาเรียนในครั้งหน้า “วันนี้แปลก เพราะครูจะระบุปัญหาพร้อมกัน 2 ประเด็นเลย แล้วแต่พวกเราอยากจะเดาหรือพิสูจน์ปัญหาใด แต่ละกลุ่มเลือกทำเพียงประเด็นเดียวก็พอ ปัญหาแรกคือ อีโบ๊ะแบบใดยิงเสียงดังกว่า อีกปัญหาคือ อีโบ๊ะแบบใดยิงไกลกว่า?”

ตั้งคำถามเสร็จ ทบทวนวิธีการเล็กน้อย ซึ่งในภาคเรียนนี้ ได้ฝึกทำความเข้าใจกันมาแล้ว “เธอต้องตั้งสมมติฐานก่อนใช่มั้ย? จึงจะจัดเตรียมอุปกรณ์หรือจัดทำอีโบ๊ะมาได้ตรงกับคำตอบที่คาดเดากันไว้”

วันนี้นักเรียนเตรียมอีโบ๊ะมาอย่างพร้อมเพรียง อาจเพราะสัปดาห์ก่อนถูกครูลงโทษเรื่องไม่เตรียมพร้อมด้วย(ฮา) แทบทุกกลุ่มคาดการณ์หรือตั้งสมมติฐานในประเด็น “การยิงไกลของอีโบ๊ะ” มีเพียงกลุ่มเดียวที่คิดเตรียมมาในประเด็น“ยิงเสียงดัง” พวกแกเชื่อว่า “การอัดลูกกระสุนให้แน่นจะยิงเสียงดังกว่า”

ส่วนกลุ่มอื่นๆ บางกลุ่มว่าเกี่ยวกับขนาด บ้างก็ว่าขนาดใหญ่น่าจะยิงได้ไกลกว่า บ้างก็ว่าขนาดเล็ก บางกลุ่มว่าความยาวที่ยาวกว่าน่าจะยิงไกลกว่า บางกลุ่มคิดตรงข้ามว่าสั้นต่างหากที่น่าจะยิงได้ไกล บางกลุ่มบอกเกี่ยวกับลูกกระสุน บ้างก็ว่าใช้ลูกปอไกลกว่า บ้างก็ว่าลูกจากกระดาษหนังสือพิมพ์ชุบน้ำ เป็นต้น

ก่อนลงมือ ซักซ้อมทุกกลุ่มเกี่ยวกับตัวแปรตามหรือสิ่งที่ต้องติดตามบันทึกผล ว่าจะมีวิธีการวัดประเมินกันอย่างไร จึงจะทำให้ผลการทดลองออกมาน่าเชื่อถือ ใครรู้ ใครเห็น ก็ไม่อาจโต้แย้งผลสรุปเราได้

“ความดัง! พวกเธอจะวัดกันอย่างไร เครื่องมือไม่มี” “ฟังด้วยหูเราเอง” “ใครจะฟัง แต่ละครั้งเปลี่ยนคนฟัง? คนเดียวฟัง หลายคนช่วยกันฟัง ฟังซ้ำกี่หนดี” ส่วนความไกลไม่น่ายาก เน้นไปที่การใช้เครื่องมือเครื่องไม้อย่างเหมาะสม การทำซ้ำลดความผิดพลาดอันอาจเกิดขึ้น รวมถึงการหาค่าเฉลี่ย อะไรพวกนี้ เป็นต้น


หลังทดลองเสร็จสิ้น ทุกกลุ่มต้องเขียนรายงานผลการทดลองส่ง ควรมีรายละเอียดต่างๆ อาทิ วิธีการ ตัวแปรต่างๆ ผลและสรุป รวมทั้งข้อคิดเห็น มีกลุ่มหนึ่งตั้งสมมติฐานว่า ลูกกระสุนจากกระดาษหนังสือพิมพ์น่าจะยิงได้ไกลกว่าลูกกระสุนจากกระดาษชำระ แต่วิธีการที่เขียนมา แกทำอีโบ๊ะ 2 อัน ลักษณะ ขนาด และความยาวเท่ากัน เพื่อใช้ยิงด้วยลูกกระดาษหนังสือพิมพ์ กับใช้ยิงด้วยลูกกระดาษชำระ

เจอกันครั้งหน้าต้องถาม “ทำไมต้องทำ 2 อันให้เสียเวลา อาจผิดพลาดจากความแตกต่างได้ ทั้งจากลักษณะ ขนาด หรือความยาวของอีโบ๊ะที่ทำ” ปกติใจตัวเองคิดมาตลอด ว่าเด็กๆเข้าใจตัวแปรควบคุมดีกว่าตัวแปรต้น(อิสระ)หรือตัวแปรตาม แต่รายงานผลการทดลองกลุ่มนี้ กลุ่มที่น่าจะเข้าใจการออกแบบการทดลองได้ดีกว่ากลุ่มอื่นๆ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนอยู่ดี แม้แต่ตัวแปรควบคุม

เจ้าตัวน้อยทั้งหลายมีความสุขกับกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะนี้ โดยเฉพาะสื่อที่เป็นของเล่นของพวกเขาเอง แต่เหลือจำนวนไม่มากแล้วที่เคยเล่นอย่างจริงจัง บางส่วนเคยเล่นมาบ้างเท่านั้น ขณะที่ส่วนใหญ่ไม่รู้จักอีโบ๊ะกันแล้ว..

สวัสดีปีใหม่ '2559 ครับ

หมายเลขบันทึก: 598962เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2015 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2015 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ไม่ได้เห็นนานมาก

จำได้ว่าเล่นตอนเด็กๆ

ให้นักเรียนเรียนรู้เรื่องนี้เสียเลย

ได้ประโยชน์หลายฝ่ายเป็นการอนุกรักษืการเล่นไทยได้นะครับ

ลืมบอกพี่ครูไปว่า

ให้นักเรียนบันทึกผลสะท้อนผลว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้ครับ

ดีจังเลยค่ะ เป็นงานทางวิทยาศาสตร์ เป็นการละเล่นด้วยนะคะ ...


"อีโบ๊ะ" ...ทำไม่ ต้องทำ 2 อัน ... ทำไมไม่ใช้อันเดียวกันให้สิ้นเรื่องสิ้นราว” .... เป็นคำถาม....ที่ต้องหาคำตอบนะคะ ......

ขอบคุณค่ะ



  • ลูกศิษย์บางคน ซึ่งจำรายละเอียดเมื่อตอนเป็นเด็กๆได้ดี แกว่า "เล่นอีโบ๊ะ จนเมื่อยกรามเลย" เพราะเคี้ยวกระดาษทำเป็นกระสุนครับ (ฮา)
  • พยายามทำอยู่เหมือนกันครับ ได้อะไร รู้อะไร สะท้อนผล..
  • ขอบคุณอ.ขจิตมากครับ สวัสดีปีใหม่ '2559 ด้วยครับ
  • นำสื่อที่เด็กๆมี มาใช้สอนวิธีและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ครับ
  • สวัสดีปีใหม่ '2559 ด้วยครับDr.Ple มีความสุขกับชีวิต หน้าที่การงาน และตรอบครัว ยิ่งๆขึ้นไปนะครับ
  • เกือบลืมอีโบ๊ะไปแล้วครับ ถ้าวันนั้นเด็กๆไม่พูดถึงกัน..
  • ขอบคุณครับ และสวัสดีปีใหม่'2559ด้วยครับอ.ต้น
  • สวัสดีปีใหม่'2559ครับ มีความสุขยิ่งๆขึ้นไปนะครับ..
  • ขอบคุณความรู้เรืองชื่อ"ฉับโผง"ด้วยครับท่านวอญ่า

น่าสนุกมากค่ะ สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาดูอีโบ๊ะ...

-บ้านผม"เถิน,ลำปาง,เหนือ"เรียกว่า"บะถบ"ครับ..

-จำได้ว่าลูกระสุนนอกจากจะเป็นกระดาษชำระหรือหนังสือพิมพ์แล้วยังสามรถใช้"ลูกอ่อนของงิ้ว"ได้ด้วย..

-อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้ผมได้รำลึกถึงความหลังกับ"บะถบ"อีกครั้ง...

-ขอบคุณครับ..

  • สองฝั่งโขง อ้อยอิ่งด้วยหมอก งดงามเหลือเกินครับ มีความสุขมากๆตลอดปี'2559 และตลอดไปนะครับ
  • ขอบคุณทพญ.ธิรัมภาครับ
  • สวัสดีปีใหม่ '2559 ครับพี่ใหญ่ นงนาท
  • อาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงดลบันดาลให้พี่ใหญ่และครอบครัว มีความสุขยิ่งๆขึ้น มีสุขภาพที่แข็งแรง ตลอดไปเลยครับ..
  • ทางใต้เรียก "ฉับโผง" ทางเหนือเรียก "บะถบ" ขอบคุณความรู้ในเรื่องชื่อตามท้องถิ่นต่างๆ เรามีของเล่นเมื่อสมัยเด็กอย่างเดียวกันนะครับ ร่วมสมัยครับ (ฮา)
  • ขอบคุณคุณเพชรน้ำหนึ่งครับ

สวัสดีปีใหม่ครับพี่ครู

ขอให้มีความสุขมากๆครับ

สวัสดีปีใหม่่จ้ะคุณครู

ของเล่นยอดนิยมสมัยคุณมะเดื่อ

เป็นเด็กน้อยจ้ะ ไล่ยิงกันสนั่นหวั่นไหว

มีการดัดแปลง " กระสุน" จากลูกกระดาษ

เป็น " ลูกหมากเล็กหมากน้อย" ด้วยนะ

ไม่เกี่ยวกับ ยิงไกล หรือ ยิงดัง

แต่..ยิงเจ็บ...จ้าาา ๕๕๕๕๕

  • สวัสดีปีใหม่ '2559 เช่นกันครับอาจารย์..
  • ขอบคุณอ.ขจิตอีกครั้งครับ
  • ยิงเจ็บ! ไม่กล้าตั้งโจทย์นี้ให้เด็กๆครับอาจารย์(ฮา)
  • ขอบคุณอ.มะเดื่อครับ

เคยเล่นตอนเป็นเด็กครับ
สมัยนี้ไม่ได้เห็นแล้ว

ใช้วิธีนี้สอนเด็กก็ดีเหมือนกันนะครับ
เด็กสนุกด้วย
ได้เรียนรู้ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท