ละครสะกิดใจ...ลดอัตตาอารมณ์


หลังจากได้เข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงในหลักสูตรพื้นฐาน หรือ ตื่นรู้ใจ Drama Communication Concept (I, You & We) ณ วันนี้ผมได้จบหลักสูตรขั้นกลาง หรือ Theater Project & Problem Based Learning และนำไปสู่กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ในหลากหลายวิชาชีพ (Professional Learning Community หรือ PLC) ซึ่งได้ทำความเข้าใจกระบวนการละครเพื่อการสื่อสารพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้จัดกระบวนกรและผู้เรียน โดยสรุปดังนี้

กระบวนการละครสอนการสื่อสารภายในตัวเรา...ให้เกิดสมาธิ ตื่นรู้ความต้องการ ตื่นรู้แรงบันดาลใจ และตืื่นรู้การกระทำ ด้วยความเชื่อมั่นในปัจจุบันขณะ...เมื่อสมองตื่นตัวก็ปรากฏคลื่นสมองเดลต้า...เมื่อสมองตื่นรู้ รู้สึกนิ่งสมาธิ แยกแยะรับรู้เสียง ภาพ จังหวะการเคลื่อนไหว กายสัมผัส ใจสัมผัส โดยไม่ใช้ความคิด ก็ปรากฎคลื่นสมองแอลฟา ส่งผลให้ตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีเยี่ยม สังเกตได้จากการรับส่งบทบาทตามบทสนทนาสั้นๆ ในแต่ละสถานการณ์ได้น่ามหัศจรรย์

กระบวนการละครสอนกิจกรรมเกมส์และการออกกำลังกาย...ให้ตื่นตัวและมีสติพร้อมต่อการสื่อสารภาษากาย ภาษาพูด ภาษาเขียน และส่งสารให้ผู้รับสามารถตีความจากสัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมสู่นามธรรมตามที่ตัวเราตั้งแก่นเรื่องและประเด็นต่างๆได้อย่างลุ่มลึกและเปิดใจมากขึ้น

กระบวนการละครสอนการทำงานเป็นทีมเชิงรุก...ตั้งใจพัฒนาตนเป็นพลเมืองดีผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบแก้ไขปัญหากับสร้างปัญญาเป็นฐานจากโครงการสร้างบทละครสู่กระบวนการสื่อการเรียนรู้ชุมชนได้อย่างธรรมชาติในการสืบรู้เรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในหมู่ชน เช่น ใครเป็นผู้สร้างปัญหา ผู้ได้รับผลกระทบ ใครเป็นภูมิปัญญา แหล่งรวมผู้นำตามธรรมชาติ แหล่งรวมผู้นำตามสถานการณ์ ความเชื่อ เรื่องเล่า ตำนานชุมชนที่ชวนตีความใหม่ให้สั่นสะเทือนใจคนในชุมชนให้เกิดเรียนรู้พัฒนาชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้น

กระบวนการละครสอนให้เราทำงานแสดงบทบาทสมมติ...ให้ทบทวนกระบวนการคิดวางแผนก่อนการลงพื้นที่ชุมชนจริง ทำให้ทุกคนเข้าใจเส้นทางคมนาคม อาณาเขต สถานที่สำคัญ และสรุปประเด็นที่ดีงามกับที่ควรพัฒนาในพื้นที่หลายมิติ พร้อมร้อยเรียงเรื่องราวต่างๆ เป็นภาพนิ่งจากจุดเปิดเรื่อง (สาเหตุ) จุดขัดแย้ง (ปัญหา) จุดจบ (ผลกระทบ) จุดเปลี่ยน (วิธีการ/กิจกรรม) และจุดฝัน (ผลลัพธ์ เป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ วัตถุประสงค์ - ทำจุดนี้ก่อนที่จะสืบค้นหาจุดเปลี่ยนแปลง) ซึ่งเทียบเคียงกับการตีความใหม่จากตำนาน เรื่องเล่า หรือวรรณกรรมภายในชุมชน สรุปสู่กระบวนการสร้างหลักการและเหตุผล (สาเหตุ ปัญหา และผลกระทบ) และหัวข้อต่างๆในการเรียนรู้จัดทำโครงการจนถึงกระบวนการวิจัยแบบปฏิบัติการจริง (Action Research)

ท้ายสุดคือกระบวนการละครสอนความเป็นพลเมืองดี...ให้ทุกเพศวัยมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะ "ทักษะเมตตา" อันสะสมจากการใคร่ครวญตื่นรู้และหมั่นทบทวนใจ (ความรู้สึก) จิต (การรับรู้) กาย (การกระทำ) สังคม (การมีปฏิสัมพันธ์) ด้วยจิตวิญญาณ (ปัญญา) ภายในตัวเอง เช่น ขณะทำงานเป็นทีม เรามีพฤติกรรมอะไรบ้าง - แทรกถาม เปรียบเทียบ เข้าข้างอีกฝ่าย ยุแยง วิเคราะห์ แก้ปัญหา ด่วนปลอบใจ แย่งซีน หรือไม่ เป็นต้น

ขอบพระคุณมากครับพี่ก๋วยและกระบวนกรทีมมะขามป้อมทุกท่าน...ขอบพระคุณผู้จัดจากสสส.ที่เพิ่มโอกาสให้กัลยาณมิตรทุกท่านได้สร้างความดีงามต่อไปในอนาคต...ของพระคุณกัลยาณมิตรที่ผ่านการคัดเลือกร่วมกระบวนการละครครั้งนี้ทำให้ผมเรียนรู้ความรักความผูกผันด้วยความจริงใจมิรู้ลืม

หมายเลขบันทึก: 590912เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2015 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2018 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ลดอัตตาอารมณ์

เด็กกลุ่มนี้สมองตื่นตัว..สมองตื่นรู้ ค่ะ คุณหมอ



กิจกรรมดีจังเลยค่ะ .... ชื่นชมด้วยคนค่ะ

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตามมาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ

-พี่หมอสบายดีนะครับ?

ขอบพระคุณมากครับสำหรับคำชื่นชมและความคิดเห็นจากคุณครูเพ็ญศรี พี่ดร.พจนา พี่ดร.เปิ้น คุณมะเดื่อ พี่นงนาท และคุณเพชรน้ำหนึ่ง

ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจจากพี่ดร.จันทวรรณ และคุณ GD

สวัสดีครับ ได้ติดตามอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับกิจกรรมบำบัดและมาพบกับกระบวนการละครเพื่อจิตตื่นรู้ จึงอยากสอบถามขอคำแนะนำว่าจะสามารถหาทางเรียนรู้เพิ่มเติมได้อย่างไรบ้างครับ

-สวัสดีครับอาจารย์

-วันนี้ตามมาอีกรอบ 55

-นำกิจกรรมบำบัด....กับ"สับปะรด"มาฝากครับ..อิๆ

ขอบพระคุณมากครับคุณกิตติคุณ ถ้าสนใจมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันกับผมที่คณะได้ครับ อีเมล์ [email protected] หรือ มือถือ 0852240707

ขอบพระคุณมากครับและคิดถึงเสมอครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท