ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_22 : ค่ายต้นกล้าแห่งความดี ๕ _ เรียนรู้กระบวนการเรียนรู้


อ่านบันทึกที่ ๑ ที่นี่

อ่านบันทึกที่ ๒ ที่นี่

อ่านบันทึกที่ ๓ ที่นี่

อ่านบันทึกที่ ๔ ที่นี่

บ่ายวันสุดท้ายของการฝึกอบรม (๓๐ พ.ย. ๒๕๕๗) เป็นกิจกรรม "ฝึกทำ" ฝึกให้ครูและนักเรียนได้ทดลองทำแผนที่ "โรงเรียนของฉัน" โดยแบ่งกลุ่มรายโรงเรียน เป้าหมายหลัก ๒ อย่างคือ ๑) ทำให้ครูและนักเรียนที่มาร่วมครั้งนี้ตระหนักว่า ตนเองเป็นหลัก "เป็นแกนนำ" ที่จะทดลองนำกิจกรรที่ได้ทำมาตั้งแต่ต้น ไปขยายผล เปิดโอกาสให้นักเรียนที่ไม่ได้มา "ฝึกคิด" ด้วยกิจกรรมแบบนี้ ๒) เพื่อให้ครูและนักเรียนแกนนำ ได้ "ฝึกทำ" กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านการทำแผนที่สะท้อนความจริง












ข้อค้นพบสำคัญในการทำกิจกรรมนี้ คือ

  • นักเรียนสามารถทำแผนที่โรงเรียนได้อย่างคล่องแคล่ว และสนุกกับการทำ ... เป็นข้อยืนยันว่า วิธีเรียนด้วยกิจกรรมแบบนี้ "มาถูกทาง" แล้ว
  • นักเรียนมองไม่เห็นปัญหาจริงในชีวิตมากนัก มักพบเฉพาะปัญหาที่เห็นแต่ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ เช่น หลายกลุ่มเลือกปัญหาขยะ และเสนอว่าจะรณรงค์ให้ทุกคนเก็บขยะ ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลเป็นผลจากกิจกรรม "ขยะอวกาศ" ในวันแรก เมื่อถามว่า "เรียนที่โรงเรียนสนุกไหมครับ" นักเรียนบอกว่า "สนุกครับ" "มีความสุขไหม" มีความสุขครับ" ต้องการอะไรเพิ่มไหม" นักเรียนบอกว่า "ไม่ครับ" ... แต่เมื่อถามว่า "มีเพื่อนหรือน้องๆ ที่ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ไหม" นักเรียนจะตอบว่า "มีครับ"....แสดงให้เห็นว่าปัญหามี แต่เด็กๆ อาจยังมองไม่เห็น ....
  • เมื่อเปลี่ยนเป็นถามว่า "กิจกรรมอะไรที่ได้ทำและชอบมากๆ ในโรงเรียน" หลายคนตอบไปที่ เพาะเห็ด เลี้ยงปลา ลูกเสือ ชมรม และอื่นๆ เกือบทั้งหมดที่เด็กๆ ชื่นชอบอยู่นอกห้องเรียนทั้งหมด ... จึงเป็นข้อมูลยืนยันอีกอันว่า การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกิจกรรมและลงมือทำ(Active Learning)นี่แหละถูกต้องแล้ว


สุดท้ายทุกคนต้องได้นำเสนอ ต้องได้เล่าเรื่องในสิ่งที่ตนเองได้ทำ กิจกรรมตลาดความรู้ ใช้ได้และเหมาะสมสำหรับสถานการณ์ที่ต้องการบรรลุเป้าหมายนี้ในเวลาที่จำกัด และปัจจัยของความสำเร็จในการนำเสนอคือ "ได้ทดลองนำเสนอก่อน" ดังนั้น การออกแบบกิจกรรมควรคำนึงถึง ๒ สิ่งนี้

  • มอบสติกเกอร์หรือสัญลักษณ์เป็นเหมือนคะแนนให้นักเรียนทุกคนๆ ละ ๒ ชิ้นๆ ละ ๑ คะแนน ให้ครูทุกคนๆ ละ ๓ ชิ้นๆ ละ ๒ คะแนน
  • ให้นักเรียนนำผลงานของตนเองมาวางเรียงเป็นเหมือน "ถนนสองสาย" เหมือนไนท์บาซาร์ ที่คนสามารถเดินไปมาได้ครบรอบ ให้ตัวแทนกลุ่มประจำที่พร้อมนำเสนอก่อน ๑ คน ที่เหลืออีก๒ คน (กลุ่มละ ๓ คน)ไปเดินบนถนน ชอบผลงานและเรื่องราวของโรงเรียนใดก็มอบคะแนนให้.... แน่เป็นการเตรียม ซ้อม ให้นักเรียนได้ลองนำเสนอก่อน ๑ รอบ
  • เมื่อเสียงค่อยๆ เงียบลง ให้ทุกคนกลับประจำที่เดิม เตรียมช่วยกันนำเสนอผลงานให้อาจารย์คุณครูที่จะเข้ามาเป็นผู้เดินถนนแทน รอบนี้คือการนำเสนอจริง ครูจะตั้งคำถามที่นักเรียนต้องช่วยกันตอบ
  • คัดเลือกกลุ่มที่ได้คะแนนมากที่สุด ๓ - ๕ กลุ่ม ออกมานำเสนอหน้าเวทีกลาง ให้คุณครูที่ได้ให้คะแนนแสดงเหตุผล และชื่นชมต่อหน้าเวที









หลักจากการจากลา เรา CADL ทำ AAR กันว่า ค่ายนี้ทำให้เรามีความสุขมาก แม้ว่าจะต้องมีอะไร ๆ ที่ต้องปรับใหม่ โดยเฉพาะกิจกรรมและการสันทนาการให้เด็กๆ คักคักมากขึ้น....


สุดท้ายอยากให้คุณครูและนักเรียนแกนนำทุกคน นำกิจกรรมเหล่านี้ ในส่วนที่ดีๆ ไปทดลองขยายผล ในโรงเรียนของตนเองต่อไป

ขอจบบันทึกไว้เท่านี้ เจอกันใหม่โอกาสหน้าครับ

ขอบพระคุณ พี่ศึกษานิเทศกื เพื่อนครู และนักเรียนแกนนำทุกคนครับ

หมายเลขบันทึก: 581883เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2014 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2014 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท