โครงงาน..ปุ๋ยหมักผักตบชวา


จากการที่ผมศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับผักตบชวา ก็เกิดแนวคิดที่จะให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยจะนำไม้ไผ่เล็กๆไปล้อมรอบต้นกล้วยและต้นมะพร้าวที่เพิ่งเริ่มปลูก จากนั้นจะให้นักเรียนนำก้านผักตบชวาไปขดเป็นวงๆ เป็นรูปคล้ายกระถาง เพื่อห่อหุ้มให้เกิดความชุ่มชื้น จากนั้นไม่นานผักตบก็จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยไปในที่สุด

          สระน้ำของโรงเรียนค่อนข้างกว้างใหญ่ รู้สึกแปลกใจที่ ณ วันนี้ มีน้ำมากเช่นทุกปี แต่ผักตบชวาที่ไม่เคยมีมาก่อน กลับมีมากกว่าครึ่งสระ มองเห็นเป็นกกเป็นกอ เขียวไสวไปหมดทั้งสระ ทั้งที่ปีนี้ฝนตกน้อย มาตกมากเป็นพิเศษตอนท้ายฤดูกาลนี่เอง แต่ก็มากพอที่จะทำให้ผักตบชวาหริอผักป่องที่ชาวสุพรรณเขาเรียกกันแตกลูกแตกหลานอย่างรวดเร็ว

          ผมสอบถามสาเหตุจากเพื่อนครู ก็ได้รับคำสารภาพจากครูท่านหนึ่ง บอกว่า เห็นบ่อหรือถังปูนหลังอาคารที่เลี้ยงปลาดุก และปลาสวยงาม มีผักตบเจริญเติบโตอย่างแน่นหนา เลยให้นักเรียนขนไปทิ้งลงสระบ้าง เรื่องราวก็เป็นเช่นนี้นี่เอง ผลที่สุด.. จากสิ่งที่มองว่าประโยชน์น้อย ต่อจากนี้ จะพบประโยน์มากมาย..วิกฤติจะได้เป็นโอกาสแล้ว

          นำมาซึ่งโครงงานเชิงทดลองของนักเรียนชั้น ป.๕ - ๖ ในภาคเรียนที่ ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๗ โดยผมจะให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินการเอง ปฏิบัติ สังเกต และจดบันทึกกระบวนการขั้นตอน ตลอดจนผลที่ได้รับจากการทำโครงงานฯ โดยมีผมเป็นผู้กำกับ

          ชื่อโครงงาน..ปุ๋ยหมักผักตบชวา..เชื่อว่า ๒ เดือนก็คงเห็นผล เพราะวัสดุอุปกรณ์มีอยู่แล้วครบครัน เริ่มจากคอกสำหรับใส่ผักตบชวา ก็ทำเสร็จแล้ว ขนาดกว้างใหญ่และมีความจุพอสมควร อยู่ไม่ไกลจากขอบสระมากนัก

             ขั้นตอนที่นักเรียนจะต้องทำเองก็ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแค่ไปดึงผักตบชวาที่อยู่ริมสระขึ้นมา ทั้งต้นเล็กต้นใหญ่ ไม่ต้องตัดแต่ง โยนลงไปในคอกสี่เหลี่ยม คนละกอสองกอก็คงพอ จากนั้นก็ใส่ดินปุ๋ยที่โรงเรียนมีอยู่แล้ว หรือจะโรยทับด้วยมูลวัวก็ได้ ครูบางท่านบอกให้โรยด้วยปูนขาวเข้าไปด้วยก็จะดี แต่ถ้าจะให้ดีมากขึ้น ผมจะให้นักเรียนราดรดด้วยน้ำหมักชีวภาพทุกสัปดาห์ รับรองเกิดเป็นปุ๋ยหมักเร็วแน่นอน

           จากการที่ผมศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับผักตบชวา ก็เกิดแนวคิดที่จะให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ โดยจะนำไม้ไผ่เล็กๆไปล้อมรอบต้นกล้วยและต้นมะพร้าวที่เพิ่งเริ่มปลูก จากนั้นจะให้นักเรียนนำก้านผักตบชวาไปขดเป็นวงๆ เป็นรูปคล้ายกระถาง เพื่อห่อหุ้มให้เกิดความชุ่มชื้น จากนั้นไม่นานผักตบก็จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยไปในที่สุด

           ในการนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้คุณค่าของสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ในกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียน และในที่สุด..นักเรียนจะเข้าใจและเข้าถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นเป็นลำดับ

 

                                  ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

                                   ๒๙ ตุลาคม  ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 579446เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2014 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2014 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

โครงงานที่สร้างกระบวนการเรียนรู้แบบครบวงจรโดยยึดสถานศึกษาพอเพียงนะคะเยี่ยมจริงๆ

ทำปุ๋ยแล้ว

ถ้าเหลือเอามาตากแห้งสานทำสิ่งของ แจกัน ที่ใส่ของได้นะครับ

มาเชียร์การทำงานครับ

ทำเป็นโครงงานวิทย์ก็ดีนะจ๊ะ.......โดยให้ทดลองความช้า....เร็ว....ของการย่อยสลายของผักตบชวา  ซึ่งเกิดจากการใช้น้ำหมัก   หรือสารเร่ง  หรือตัวสารย่อยสลายต่างกัน  ก็น่าจะลองทำนะจ๊ะ  นอกจากนี้ ยังสามารถนำผักตบชวาไปใช้ในการเพาะเห็ดฟาง  หรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้อีกนะจ๊ะ  โดยให้เด็ก ๆ คิดเองอ่ะนะ  ลองดู ๆ ๆ ๆ ๆ

กิจกรรมดีดีเช่นนี้  ขอชื่นชมค่ะ ... ที่บ้านชอบผัดบวบมากๆๆค่ะ

ต้องบอกว่าผอ.เป็นผอ.ในฝันสำหรับการศึกษาไทยแล้วล่ะค่ะ เยี่ยมมากๆ

มาเรียนรู้และชื่นชมครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท