​ประสบการณ์หนึ่งของนักอารักขาพืชหน้าใหม่ในแปลงนา


เกษตรกรเจ้าของแปลงนา จะต้องลงไปตรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน มากเกินไป เพราะว่าหากใส่มากจะทำให้ต้นข้าวงอกงามทางใบ ลำต้นอ่อน เป็นโรคง่าย หากพบอาการในระยะเริ่มต้น เกษตรกรควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า มาผสมน้ำฉีดพ่น ในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น

          

          

      

               ประสบการณ์หนึ่งของนักอารักขาพืชหน้าใหม่ในแปลงนา ในห้วงระยะเวลานี้ อากาศทางภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดลำปางจะเริ่มหนาวเย็น มีหมอกลงจัดในบางพื้นที่ซึ่งเอื้อต่อการระบาดของเชื้อราที่มักจะเกิดกับต้นข้าวในเกษตรกรชาวนาในเขตอำเภอห้างฉัตร ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนชาวนาและเยี่ยมนักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบพื้นที่ ได้พบต้นข้าวที่ได้รับความเสียหายจาก โรคไหม้ของข้าว ซึ่งเกิดจากเชื้อรา จะทำลายต้นข้าวอยู่ในระยะกำลังโผล่รวง ต้นข้าวในบริเวณที่เกิดโรคไหม้ระบาด ใบจะมีลักษณะแห้งสีน้ำตาล คล้ายถูกไฟไหม้ ตายเป็นหย่อมๆ บางจุดก็จะพบว่าใบและกาบใบที่เกิดโรค เริ่มมีจุดสีเทาช้ำๆจุดนี้จะขยายไปอย่างรวดเร็วและรอบๆจุดจะมีสีน้ำตาล ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าวแห้ง หากมีการขยายลุกลามจะทำให้ใบแห้งตายได้ โรคไหม้ของข้าวส่วนใหญ่จะแพร่เชื้อทางอากาศโดยลมพัดพาไป


               การระบาดของโรคไหม้ของข้าวนี้ จากการศึกษาเราพบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อยู่ ๔ ประการด้วยกันคือ (๑) ฟ้าอากาศ สภาพฟ้าอากาศที่มีความชื้นในอากาศสูง จะเป็นการช่วยส่งเสริมให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย (๒) พืชอาศัยของโรค พบว่ามีหญ้าวัชพืชอยู่หลายชนิดด้วยกันที่เป็นพืชอาศัยของโรคนี้ และการแพร่ขยายเชื้อโรคนี้ ติดต่อระบาดทำลายต้นข้าวในฤดูการต่อไปได้ (๓) การปฏิบัติของเกษตรกรชาวนาเองเมื่อพบว่าต้นข้าวของตนเองมีอาการใบไหม้ แล้วโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปซื้อปุ๋ยยูเรียมาหว่านให้แก่ต้นข้าวซึ่งหวังว่าจะให้ต้นข้าวที่เป็นโรคมีสีเขียวขึ้นมา แต่กลับทำให้การระบาดของโรคได้เร็วขึ้น (๔) ที่นาบางแปลงมีธาตุอาหารคือ ไนโตรเจนสูง จะเป็นการส่งเสริมให้โรคระบาดติดต่อ ทำลายต้นข้าวได้กว้างขวางมาก ประกอบกับเกษตรกรนำพันธุ์ข้าวที่ไม่ต้านทานต่อเชื้อรามาปลูก

      

      

                 สำหรับการป้องกันกำจัดโรคไหม้ และโรคที่เกิดจากเชื้อรา เกษตรกรเจ้าของแปลงนา จะต้องลงไปตรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน มากเกินไป เพราะว่าหากใส่มากจะทำให้ต้นข้าวงอกงามทางใบ ลำต้นอ่อน เป็นโรคง่าย หากพบอาการในระยะเริ่มต้น เกษตรกรควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า มาผสมน้ำฉีดพ่น ในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น ที่ไม่มีแสงแดด โดยพ่นอย่างต่อเนื่องจะสามารถป้องกันได้ แนวทางที่ทางกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ได้สร้างความเข้าใจกับเกษตรกร ผู้นำชุมชน อปท.และนักส่งเสริมการเกษตร ในเขตพื้นที่ที่เกิดโรคไหม้ระบาดของข้าว ได้ร่วมกันจัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เน้นผลิตสารชีวภัณฑ์ไว้ใช้ในกลุ่ม เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานนั่นเองครับ  .ในฤดูการเพาะปลูกปีต่อไป เกษตรกรต้องหาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานมาปลูก โดยหามาจากแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีความเชื่อถือ



เขียวมรกต

๑๙ ตค.๕๗


หมายเลขบันทึก: 579005เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2014 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2014 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ชอบมากเลยครับ
  • โดยเฉพาะการวิเคราะห์สภาปัญหา ปัจจัยปัญหา  ซึ่งสื่อให้เห็นถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเกษตรกร...จนนำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่  ...

    ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณครับท่านแผ่นดินที่กรุณาแวะมาทักทายและแลกเปลี่ยนกันนะครับ

ขอบคุณ ทพญ.ธิรัมภา ที่กรุณาแวะมาให้กำลัใจเสมอมาครับ

ขอบคุณ คุณครูtuknarak ที่แวะมาให้กำลังใจนะครับ

-สวัสดีครับหัวหน้า..

-สบายดีนะครับ?

-ดีใจกับพี่น้องเกษตรกรชาวลำปาง..บ้านเกิด.ของผม..ที่ได้หัวหน้าไปดูแล

-ทีมงานเข้มแข็งดีนะครับ?

-ด้วยความระลึกถึงครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท