เราจะเพิ่มจำนวน blogger ได้อย่างไร ? (คำถามที่ยังรอคำตอบ)


ได้รับคำถามมาว่า "เราจะเพิ่มจำนวน blogger ได้อย่างไร"    แต่ตอบไม่ได้     คิดแล้วแล้วคิดอีก...และยังต้องคิดต่อไปเรื่อยๆ

แต่ถ้าจะตอบแบบกว้างๆ     ก็มีแนวทางอยู่ 2 ข้อ

1. มีวิธีกระตุ้นที่เหมาะสม     (และกระตุ้นให้ถูกคน)

2. กระตุ้นให้ถูกคน     (ด้วยวิธีที่เหมาะสม)

จะเริ่มที่คน   หรือจะเริ่มที่งาน  ?

เริ่มที่งาน.....น่าจะดี       มีชิ้นงานหรือหัวข้อที่กำหนด    แล้วเลือกคน  กลุ่มคนที่พอจะเขียนได้     เป็นคนเขียน      พอมีงานให้เขียน   คนเหล่านี้ก็จะได้เข้ามาอ่าน  มาสัมผัสกับโลกของ gotoknow     เข้ามาแล้วจะชอบหรือไม่ชอบ      ต้องรอดูต่อไป

เริ่มที่คน.....ก็น่าจะดี     มองหาคนที่มีแวว    เขียนเก่ง   เล่าเรื่องได้ (เป็นตุเป็นตะ)     ชอบแสดงความคิดเห็น   ใช้คอมพิวเตอร์เป็นพอประมาณ   เมื่อได้คนมาแล้ว      เราค่อยหาวิธีกระตุ้นที่เหมาะกับคนนั้นๆ   เป็นคนๆ ไป

ดูๆ  แล้ว    เหมือนๆ ว่าใช้มาแล้วทั้งสองวิธี     แต่ได้ผลในระยะสั้นๆ   ทำอย่างไรจะให้ผลนั้นยืนยาว........................................................

คำสำคัญ (Tags): #วิธีเพิ่มblogger#blogger
หมายเลขบันทึก: 56868เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ดีมากเลยครับ

พรุ่งนี้ผมมีหน่วยงานหนึ่งที่นัดหมายจะเข้ามาเรียนรู้เรื่อง blog     2-3 คน  ที่  สคส.     เปลี่ยนจากเดิมที่เขาติดต่อให้  สคส. ไปบรรยายที่หน่วยงานเขา     เพื่อให้ 2-3 คนที่มาเนี่ยกลับไปสอนคนในหน่วยงานแทน

แต่ทั้งหมดทั้งปวง  อาจารย์วิจารณ์แนะนำว่า   เขาต้องเรียนรู้เพิ่มอีกในเรื่อง      ทักษะการเขียน  และการกระตุ้นให้คนเขียน    จะแนะนำให้ติดต่อภาคี  blogger Gotoknow  ของเราเพื่อจะได้เรียนรู้ความรู้ปฏิบัติจริงๆ    

พรุ่งนี้ผมก็จะมีเฉพาะ  แนะนำด้าน IT technique  แค่นั้นเอง   

 

ขอบคุณค่ะ พี่กำลังครุ่นคิดเรื่องนี้อยู่มากที่เดียว

เห็นด้วยกับคุณนิดหน่อยค่ะ แต่อีกอย่างที่สำคัญคื ผู้นำต้องทำตัวเป็นตัวอย่างด้วยค่ะ ถ้าไม่มีเวลาเขียนก็ให้เลขาเขียนให้ก็ได้ค่ะ

นอกจากนี้ ก็คงต้องดูเรื่องรางวัลที่เนียนเข้ากับเนื้องานค่ะ เช่น เขียน กระบวนวิธีการปฏิบัติงาน เขียนเทคนิคการปฏิบัติงาน สามารถใช้เพิ่ม KPI ได้ เป็นต้นค่ะ

ผมเคยนั่งคิด นอนคิด ตะแครงคิด เรื่องนี้มาพอสมควร แล้วดูตัวอย่างจากความพยายามของชุมชน Smartpath ในการเพิ่มปริมาณ blogger สุดท้ายผมได้คำตอบกับตัวเอง ดังนี้ (นี่ไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้าย เพียงแต่อาจเป็นประเด็นที่คุยกันต่อไปได้)
  • การเพิ่มปริมาณ โดยการกระตุ้นให้คนสนใจ เหมือนจะเป็นเรื่องไฟไหม้ฟางครับ คือคนจะสนใจสิ่งใหม่ อยากรู้ อยากเห็น อยากเข้าอบรม อยากเล่นด้วย ช่วงนั้นเมื่อฝึกอบรมเสร็จจะรู้สึกคึกคัก น่าสนุก แต่สุดท้ายก็โรยราครับ เมื่อเขารู้จักว่าเป็นอย่างไร เข้ามารู้แล้ว เข้ามาเห็นแล้ว อาจมีบันทึกบ้างเล็กน้อย แล้วก็หายไป คนเหล่านี้ บางคนอาจจะยังอ่านอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ค่อยเขียนบันทึก....เพราะฉะนั้นการกระตุ้นให้คนสนใจ จัดอบรมทุกคนที่สนใจ เหนื่อยครับ และได้ผลอาจจะไม่คุ้มค่านัก
  • ผมสังเกตุจากบล็อกเกอร์ในชุมชนต่างๆ ที่เขียนบันทึกมาเป็นเวลานาน พบว่าส่วนใหญ่เป็นคนที่ชอบเขียนบันทึกอยู่แล้ว หรือชอบที่จะเขียน แม้อาจจะไม่มีบันทึกเป็นของตนเอง....ประเด็นนี้ ผมว่าน่าสนใจ หากเรามองหาคนที่มีแววว่าจะเป็นคุณลิขิต แล้วส่งมาอบรมการใช้ g2k น่าจะถูกจริตกว่า และตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่า รวมถึงน่าจะได้ผลในระยะยาว
  • การสร้าง community ในชุมชน ให้มีความรู้สึกเป็นกลุ่มก้อน เป็นพวกเดียวกัน มี social network เริ่มจาก b2b แล้วค่อยขยายผลเป็น f2f สุดท้ายเราจะได้เพื่อน ได้พวก ได้คนรู้ใจ ได้....จุดนี้เป็นหนึ่งในเสน่ห์ของ g2k ที่สร้างความยั่งยืนได้ มากกว่าการเน้นการบันทึกความรู้เพียงอย่างเดียว
  • ในความเห็นส่วนตัวนะครับ
     - ถ้าเรามีทรัพยากรไม่จำกัดและไม่ห่วงเรื่องความสิ้นเปลือง ....การให้ทุกคนในองค์กรได้รู้จัก g2k ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ แม้จะไม่บันทึก แต่การเข้ามาอ่านและทำความรู้จักไว้ สักวันหนึ่งอาจจะต้องกลับมาค้นหาความรู้จากแหล่งนี้....เป็นเรื่องที่ดีครับ
     - ถ้าเรามีข้อจำกัดทางทรัพยากรในด้านต่างๆ อยู่ คนกลุ่มแรกที่น่าจะเข้ามารู้จักและเขียนบันทึกให้เป็น คือ คนที่มีศักยภาพในการเป็นคุณลิขิตครับ หากหน่วยงานต่างๆ สามารถค้นหาคุณลิขิตประจำหน่วยงาน แล้วส่งคุณลิขิตเหล่านี้เข้ามาฝึกอบรม g2k น่าจะเป็นการอบรมที่คุ้มค่าที่สุดครับ โดยที่คุณลิขิตที่อบรมแล้วเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะต้องไปค้นหาความรู้ฝังลึกจากคุณกิจต่างๆ มาเขียนบันทึกไว้
     - สนับสนุนการสร้าง social network ของสังคม g2k ของบุคคลากรในหน่วยงาน หรือสถาบันเดียวกันครับ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง CoP จัดให้ได้มีโอกาส f2f กัน
     - ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่เราพูดกันมาข้างต้นนั้น เหมือนจะเป็นเรื่องเฉพาะจุด ไม่สามารถผลักดันในภาพรวมได้ หาก ผู้บริหารของหน่วยงานนั้นๆ ไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำควบคู่กัน คือ การฝึกอบรมให้ผู้บริหารของหน่วยงานต่างๆ ได้รู้จัก g2k และ มองภาพให้ออกว่า g2k จะเป็นแขนขาในการพัฒนาหน่วยงานได้อย่างไร นี่เรายังไม่ได้พูดถึงเรื่องการจัดการความรู้ภาคทฤษฎีสำหรับคนกลุ่มนี้กันเลยนะครับ
เป็นบทสรุปที่เยี่ยมยอดค่ะคุณไมโต ขออนุญาตนำไปบอกต่อค่ะ :)
  • เข้ามาเสพและชื่นชมผู้เขียน
  • ได้ความรู้เพิ่มจากผู้ให้ความเห็นด้วยค่ะ

ขอบคุณ คุณไมโต ค่ะ ขออีกนิดนะคะ คุณสมบัติของคุณลิขิต ที่จะนำมาเข้าอบรม....ผลักดันให้เขียน...ควรมีอะไรบ้างเช่น คนที่มีลักษณะชอบบันทึก เขียน รายงานเก่งๆ หรือคนที่มีอารมณ์ศิลปิน สายลมแสงแดด  หัวหน้างาน.....พอจะได้ไอเดีย...ดิฉันกำลังลุ้น
communicatiom plathfrom ที่กำลังจะนำลงใน มอ.อีกในไม่ช้า....เราจะลงทุน ประมาณ 200000 บาท up
ดิฉัน มีหน้าที่โดยตรงที่จะสร้าง ส่งเสริมให้คนเข้ามาใช้เพื่อปลูกฝัง วัฒนธรรมการเขียนค่ะ

คุณเมตตาครับ
  • ผมยังไม่เข้าใจคำว่า communication platform ของคุณเมตตาครับว่าจะเข้ามาทำอะไร อย่างไร และแต่ละหน่วยงานจะนำไปใช้อย่างไร คุณเมตตาช่วยอธิบายรายละเอียดให้เห็นภาพมากกว่านี้หน่อยได้ไหมครับ
  • ถ้าเจ้าตัวนี้มีลักษณะคล้าย g2k แต่ apply ไปใช้เฉพาะองค์กร แล้ว ผมคิดว่า เราควรดูแลเหมือน สคส ดูแล g2k ครับ คือไม่ควรปล่อยให้เติบโตเอง แต่ควรมีการกำหนดทิศทางของการเติบโต โดยไม่ใช่การบังคับ อย่างเช่น หากต้องการให้บันทึกที่ออกมามีลักษณะอย่างไร ก็กำหนดไว้ในรูปแบบของการคัดเลือกให้รางวัลบันทึกที่ทำได้ตรงตามลักษณะที่กำหนดไว้ คนทั่วไปก็จะมีแนวโน้มเขียนบันทึกไปในลักษณะที่กำหนดมากขึ้น ซึ่งไม่ได้ออกมาในลักษณะของการบังคับ รูปแบบนี้ที่เห็นกลไกชัดเจนคือการมอบรางวัลให้กับคุณนิดหน่อย โดยหนึ่งในเหตุผลที่มอบให้ คือ คุณนิดหน่อยเขียนบันทึกได้บรรยากาศ สบายๆ และมีการตอบโต้กับผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็น ทำให้รู้สึกเป็นกันเอง และเมื่อผ่านการกระตุ้นในเรื่องนี้ ผลที่ตามมาก็จะพบว่าบล็อกเกอร์ต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับการตอบความคิดเห็นมากขึ้นครับ โดยวิธีการนี้ ผมคิดว่าเจ้า Com Plat ตัวนี้ก็ควรมี หางเสือกำกับไว้เช่นเดียวกับ g2k ครับ เอาไว้คอยกำหนดทิศทางว่าทางมหาวิทยาลัยต้องการให้ออกมาในรูปแบบไหน แต่ถ้ากำหนดในลักษณะของการบังคับ ผมไม่คิดว่าจะยั่งยืนในระยะยาวครับ

คุณ nidnoi เปิดประเด็นได้น่าสนใจทีเดียวค่ะ เนื่องจากตัวเองยังไม่มีประสบการณ์ด้านนี้เท่าไหร่ จึงขออนุญาตเป็นผู้เก็บเกี่ยวข้อแนะนำดี ๆ จากบันทึกนี้นะคะ แต่ถ้าจะถามว่าตัวเองเข้ามาเป็น blogger ใน go to know ได้อย่างไร ประเด็นแรกคือ สนใจ และรู้จัก g2k ด้วยความบังเอิญ โดยไม่มีใครแนะนำ หลังจากวนเวียนให้ความเห็น ในบางบันทึกที่ตัวเองสนใจ และในบันทึกที่มองแล้วว่า เจ้าของบันทึกมีความน่าสนใจเป็นพิเศษ จึงได้พบเห็นว่า ใน g2k เป็นแหล่งความรู้ที่วิเศษสุด ที่ให้ความรู้ได้ดีทั้งในเรื่องงาน เรื่องเรียน และเรื่องครอบครัว จนสุดท้าย ได้เพื่อน ทั้ง ๆ ที่ ยังไม่มีโอกาส f2f กันสักครั้ง

      สำหรับตัวเองแล้วสิ่งที่เป็นความกล้าให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ blogger ใน g2k เพระเรามีความเชื่อมั่นในสิ่งที่เรานำเสนอ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้องานที่เรารับผิดชอบ เชื่อว่าหลายคนที่ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ทั้ง ๆ ที่เขาเหล่านั้นมีความรู้ฝังลึกอยู่มาก เป็นเพราะกังวลในรูปแบบที่จะนำเสนอ มากกว่ากังวลในเนื้อหา  ถ้าเราสามารถทำให้เขาหลุดพ้นจากความกังวลตรงนี้ เชื่อว่า เราจะได้ blogger ที่ดี เพิ่มขึ้นอีกหลายคนเลยค่ะ

เห็นด้วยกับความคิดเห็นจากหลายๆ ท่าน    และขอคิดเพิ่มเติมค่ะ
.
ในประเด็นของคน
  1. ถ้าคนที่มีความสามารถด้านการเขียน   แต่มีความรู้ด้านการใช้โปรแกรมค่อนข้างน้อย   และพิมพ์ดีดไม่เก่ง     จะพัฒนาไปเป็น blogger ประจำค่อนข้างยาก    เพราะกว่าจะบันทึกได้แต่ละเรื่องใช้เวลามาก   จนเจ้าตัวหมดความอดทน  -   อย่างนี้ต้องอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ก่อน (หรือเปล่า ?)
  2. ในกรณีที่มีความสามารถทั้งสองอย่างข้างต้น    แต่ไม่เขียน    อาจจะขาดทักษะการนำเสนอ   อย่างที่คุณธวัชและคุณรัตติยาบอก      เพราะมีหลายๆๆๆๆๆ   ที่มักจะบ่นว่า    ไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไร   ทั้งที่จริงมีเรื่องที่เขียนได้กองอยู่ตรงหน้าแล้ว    แต่....เป็นความกังวลว่า    เรื่องนี้ๆไม่ควรเขียน    เพราะเป็นเรื่องภายในของหน่วยงาน   เรื่องนั้นไม่ควรเขียน    เพราะจะกระทบกับคนหลายๆ คน       อันที่จริงมันมีวิธีการนำเสนอ    ซึ่งคงต้องมีการฝึกอบรมเรื่องทักษะการเขียนและการมองประเด็น
  3. คนที่มีความสามารถพร้อมทุกอย่าง     แต่ไม่เขียน    อาจเป็นเพราะว่า  " ไม่ถูกจริต"   กับ gotoknow   
คนในข้อที่สามมีเยอะพอสมควรค่ะ    มีวิธีกระตุ้นคนเหล่านี้อย่างไร ??
  • บางครั้งชอบเขียนอยู่แล้ว
  • ฝึกทักษะทางคอมพวเตอร์ให้เล็กน้อย
  • ใช้การเสริมแรง
  • การให้กำลังใจ จะทำให้เขียนออกมาได้
  • เช่น รออ่านบันทึกใหม่อยู่ครับ
  • อันนี้ใช้บ่อยครับผม
ต่ออีกนิดค่ะ
ในเรื่องของรางวัล      อาจจะมีส่วนช่วยในการกำหนด trend ว่าจะไปทางไหน    อย่างที่พี่ไมโต  บอกไว้  แต่จะมีส่วนกระตุ้นให้คนมาเขียน   หรือเขียนให้มากขึ้นหรือเปล่า   อันนี้ไม่แน่ใจ     ดูเหมือนว่าคนที่เขียนบันทึกส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่แล้ว    อาจจะไม่ใช่วัยล่ารางวัล
.
สิ่งที่นักเขียน (อย่างเช่นตัวข้าพเจ้าเอง) อยากได้   คงเป็นคนอ่าน    ถ้าเขียนแล้วรู้ว่ามีคนอ่าน    เท่านั้นก็พอค่ะ
จากความเห็นของคุณเมตตา   เรื่องคุณสมบัติของคุณลิขิต   ว่าน่าจะเป็นคนที่มีลักษณะชอบบันทึก เขียน รายงานเก่งๆ หรือคนที่มีอารมณ์ศิลปิน สายลมแสงแดด 
.
นิดหน่อยเห็นว่า    ถ้าได้สองอย่างนี้มารวมกันแบบ 2 in 1 น่าจะดีเป็นแน่แท้      
  • เพราะคนที่เขียนรายงานเก่งๆ  จะมีความสามารถในการจับประเด็น    และสามารถลำดับเรื่องราวได้ดี    คืออ่านแล้วรู้เรื่องและได้เรื่องได้ราวดี    แต่อาจจะไม่สนุก
  • ส่วนคนประเภทอารมณ์ศิลปิน     จะมีความสามารถในการเสนองานให้น่าอ่าน      คนอ่านไม่เบื่อ     แต่จะได้เนื้อหาครบถ้วนหรือเปล่า..?
  • วิธีการเสริมแรงแบบของคุณขจิต   ใช้ได้ผลค่ะ    กับหลายๆ คน  รวมทั้งตัวดิฉันเอง
  • น่าจะลองรวบรวมสถิติดูนะคะว่า   ได้ผลกี่ %  
  • น่าสนใจดีครับ
  • โดยส่วนตัวแล้วชอบอ่านครับ
  • และชอบจดบันทึกมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมศึกษาแล้วครับ
  • ทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่
ขอบคุณค่ะ
น๊าน...นาน...ที
จะมีคนเอ่ยคำนี้ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท