ความสัมพันธ์ครอบครัว...Common Sense Psychology


สัปดาห์ที่ 9 นี้นับรวมเป็นกรณีศึกษาน้อง ป. กับครอบครัวที่เข้าโรงเรียนการจัดการความสุขกับอ.แอนและดร.ป๊อป

พี่น้อง GotoKnow.Org สามารถทบทวนกรณีศึกษานี้ในการสร้างพลังใจจากสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่องในโครงการ "กิจกรรมบำบัดจัดการความสุข ในแนวคิด โรงเรียนการจัดการความสุขแบบ Parent/Peer Partnership Programming หรือ PPP"

โปรแกรมสัปดาห์ที่ 1 
โปรแกรมสัปดาห์ที่ 2 
โปรแกรมสัปดาห์ที่ 3 
โปรแกรมสัปดาห์ที่ 4 
โปรแกรมสัปดาห์ที่ 5 
โปรแกรมสัปดาห์ที่ 6 
โปรแกรมสัปดาห์ที่ 7                                                            

โปรแกรมสัปดาห์ที่ 8 

หัวข้อในการเรียนรู้ในวันนี้คือ "ความสัมพันธ์" ที่ผสมผสานศาสตร์และศิลป์ทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคมกับ Neuro-Linguistic Programming (NLP) โดยเริ่มจากการปล่อยให้น้องป.กับคุณพ่อคุณแม่ทำกิจกรรมต่อหอคอยให้สูงที่สุดและตั้งใจให้ทำอย่างมีสมาธิไม่ให้หอคอยพังลงมา ต่อด้วยการหยิบหนังสือที่ชอบมาคนละ 1 เล่ม แล้วเล่าให้แต่ละท่านฟังว่า "หนังสือนี้เราชอบอ่านเพราะ...และมีประเด็นอะไรที่เรานำมาใช้ในชีวิตได้ดี" เมื่อเล่าสู่กันฟังทั้ง 3 ท่าน ก็ให้แต่ละท่านพูดเป็นภาษาของตนเองว่า "ฟังแต่ละท่านเล่าแล้วเราได้พลังใจอะไรบ้าง..." แต่น้องป.ก็คอยพูดว่า "ไม่รู้ [นิ่งเงียบ]" เม่ื่อคุณพ่อบอกว่า "อย่าลอกคำพูดของพ่อนะ คิดเอง อย่าบอกไม่รู้ๆ" น้องป.ก็ตอบโต้ว่า "ที่บอกไม่รู้เพราะพยายามคิดอยู่ [แล้วหันเหความสนใจไปเล่นรูบิท-หาวบ่อยครั้ง]" 

ดร.ป๊อป เลยชี้ให้ทั้ง 3 ท่านสังเกตและเรียนรู้ว่า "บางครั้งเราไม่รู้ว่า คนๆหนึ่งกำลังคิดที่จะสื่อสารอะไร เราต้องใช้ใจในการสื่อสารด้วยการสังเกตภาษาท่าทาง รอยยิ้ม ความรู้สึก การเคลื่อนไหว การหายใจ และความตั้งใจฝึกฝนสมองในระบบการมอง การฟัง และการสัมผัส (มีอารมณ์ที่ปล่อยวางและไม่ปล่อยวางมาเกี่ยวข้อง)...วันนี้เราจะมาฝึกฝนกันในแต่ละระบบ แล้วจะกลับมาเล่าเรื่องจากหนังสือภายหลัง" จากนั้นให้อ.แอนช่วยใช้ Brain Gym กระตุ้นให้ทั้ง 3 ท่านตื่นตัว ผมเสริมด้วยการสาธิตให้ใช้ Brain Gym ที่ทำให้น้องป.หายหาวนอน แล้วให้น้องป.เป็นผู้นำท่านั้นๆแก่คุณพ่อคุณแม่โดยสื่อสารให้ชัดเจน

เริ่มจากการมองเห็นแต่ละท่านสลับกันเป็นแบบ ท่านที่เหลือมองแบบอย่างละเอียดแล้วหลับตา ท่านที่เป็นแบบให้ตั้งโจทย์ปรับท่าทาง รอยยิ้ม ปรับตำแหน่งเครื่องประดับ-เสื้อผ้า-ทรงผม แล้วให้ท่านที่เหลือลืมตาแล้วทายว่า "มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง"

ต่อด้วยการฟังเสียงปรบมือพร้อมบอกชื่อแล้วสลับตำแหน่ง ให้มี 1 ท่านที่จะทายว่า "เสียงปรบมือ 1 ครั้งจะเป็นของใครจนกว่าจะถูกต้อง"

ต่อด้วยการสัมผัสข้อมือพร้อมบอกชื่อแล้วสลับตำแหน่ง ให้มี 1 ท่านที่จะทายว่า "การสัมผัส 1 ครั้งจะเป็นของใครจนกว่าจะถูกต้อง" ตามด้วยการสื่อสารความคิดผ่านการกอดเป็นคู่ๆ ว่าคิดอะไรถึงคนที่เรากอดแล้วเฉลย

สุดท้ายก็ให้ทดสอบกับการเลือกอ่าน 1 หน้าในหนังสือที่ตนเองชอบ แต่รอบแรกเป็นการหลับตาแล้วฟังสิ่งที่คนหนึ่งอ่าน แล้วฝึกสื่อสารประเด็นที่ได้เรียนรู้ รอบที่สอบเป็นการลืมตาและฟังสิ่งที่คนหนึ่งอ่าน แล้วฝึกสื่อสารประเด็นที่ได้เรียนรู้ และรอบที่สามเป็นการเลือกแต่ละบุคคลว่าจะเลือกฟังหรือเลือกมอง แล้วฝึกสื่อสารประเด็นที่ได้เรียนรู้ สังเกตว่า ยิ่งฝึกยิ่งทำให้ทั้งสามท่านเกิดความสัมพันธ์ที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ คือ มีความคิดเห็นคล้อยตามและมีการสื่อสารภาษากายและภาษาพูดในระดับพลังงานที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งต่างจากการอ่านและการสื่อสารก่อนที่จะฝึกระบบต่างๆ ที่มีความขัดแย้งและมีรูปแบบการสื่อสารเฉพาะบุคคล

อ่านเพิ่มเติมการจัดโปรแกรมสัปดาห์ที่ 10 ซึ่งต้องต่อยอดความรู้สึกข้างต้นในการจัดการควบคุมอารมณ์อย่างเป็นลำดับผ่านกระบวนการรับรู้จิตใต้สำนึก ซึ่งขอบคุณมากๆครับอ.แอน จะเห็นว่า กิจกรรมที่กระตุ้นอารมณ์ผ่านจิตใต้สำนึกแบบ NLP หรือ Neuro Linguistic Programming นี้ต้องฝึกฝนจนผู้บำบัดมั่นใจและต้องแสดงบทบาท "นักกิจกรรมบำบัด" มากกว่า "ครู" ที่สำคัญต้องมีการปรับอารมณ์ที่ผ่อนคลายอย่างเต็มที่และมีการประเมิน "ลำดับของอารมณ์และการเปลี่ยนแปลงทางจิตประสาทสรีรวิทยาที่ชัดเจนและลึกมากขึ้นครับ"

หมายเลขบันทึก: 564891เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2014 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2014 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

... เป็นโชคดี ของน้อง ป. กับครอบครัว นะคะ ได้ Dr.Pop. ช่วย

นะคะ

...ติดตามอ่านกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์นะคะน้องDr. Pop...

ขอบคุณมากครับพี่ดร.เปิ้น พี่ดร.พจนา และคุณ nui

ขอบคุณมากๆครับพี่โอ๋และคุณทิมดาบ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท