โรงเรียนการจัดการความสุข...ครั้งที่ 1


ขอบคุณกรณีศึกษาวัยรุ่นสองท่านนี้กำลังพัฒนาทักษะทางจิตสังคมอาทิตย์ละ 60 นาที เป็นเวลา 6 อาทิตย์ ลองติดตามความก้าวหน้ากันนะครับ

ดร.ป๊อป ได้ออกแบบโปรแกรมการจัดการตนเอง (Self-Management) ผสมผสานกับโปรแกรมการจัดการฟื้นพลังชีวิต (Recovery Management) และความต้องการของกรณีศึกษานี้และผู้ปกครองที่ต้องการลดตราบาปของสังคม (Stigmatization) คือ "การเปลี่ยนคลินิกกิจกรรมบำบัดเป็นโรงเรียนการจัดการความสุข" เพื่อเพิ่มทักษะทางจิตสังคม (Psychosocial Skills) ในวัยรุ่นที่กำลังศึกษาในปีสุดท้ายของม.เอกชนแห่งหนึ่ง (คุณ ซ.) กับวัยรุ่นที่เพิ่งจบการศึกษาจากม.เอกชนอีกแห่งหนึ่ง (คุณ ป.) ภายหลังมีประสบการณ์จากโรคซึมเศร้า (คุณ ซ.) และภาวะซึมเศร้าในโรคจิตเภท (คุณ ป.) ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์และทานยามานานกว่า 12 เดือน และได้รับกิจกรรมบำบัดกับดร.ป๊อปด้วยกระบวนการฟื้นพลังชีวิตเมื่อ 12 เดือนที่แล้ว เนื่องจากดร.ป๊อป ติดงานประจำของอาจารย์ที่ต้องสอน วิจัย และบริหาร ทำให้ลำบากมากที่จะให้กิจกรรมบำบัดอย่างต่อเนื่อง แต่คลินิกกิจกรรมบำบัด ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล ก็พยายามให้อาจารย์ต้องมีภาระงานทางคลินิกอย่างน้อย 30 ชม. ต่อ 6 เดือน อย่างไรก็ตาม ถือเป็นเรื่องท้าทายในการฝึกกรณีศึกษาทั้งสอง ผมจึงยังไม่คิดค่าบำบัดฟื้นฟู แต่อยากศึกษาด้วยโจทย์ "ถ้าใช้โปรแกรมการจัดการตนเองใน 6 อาทิตย์ตามหลักการสากลจะช่วยพัฒนาทักษะทางจิตสังคมได้จริงหรือไม่" ถ้าทำได้จริงจะได้ส่งต่อระบบคลินิกกิจกรรมบำบัดฯ เพื่อคิดค่าบำบัดฟื้นฟูต่อไป 

ครั้งที่ 1 

น้อง ซ. ประเมินทางจิตวิทยาด้วยการวาดภาพ บ้าน-คน-ต้นไม้ พบว่า ยังมีความคิดกังวลต่อคนรอบข้างอยู่บ้าง ชอบอิสระและอยากประสบความสำเร็จในชีวิต แม้ว่าบ้านจะดูอบอุ่นแต่คิดว่าอิทธิผลทางครอบครัวยังบังคับมากเกินไป และประเมินทางกิจกรรมบำบัดด้านทักษะทางจิตสังคม พบว่า ระดับความคิดความเข้าใจอยู่ที่ระดับ 4 จึงต้องกระตุ้นให้มีกระบวนการคิดสำรวจและมั่นใจในศักยภาพของตนเอง (Self-efficacy) มากขึ้น ซึ่งเป็นระดับความคิดความเข้าใจที่ 5 รวมทั้งเมื่อสังเกตการวางแผนให้เล่าเรื่อง "ตนเอง ครอบครัว และความสำเร็จ" ก็ยังทำได้ไม่ดีนักในแง่การลำดับความคิด การคิดเรื่องราว และการนำเสนออย่างมั่นใจ แต่ก็มีความตั้งใจมากขึ้นเมื่อกระตุ้น 1-2 ครั้ง 

จากนั้นใช้สื่อกิจกรรมบำบัดด้าน "ใช้ตัวเรา ตัวผู้รับบริการ (น้อง ซ. และคุณแม่) เป็นต้นแบบ หรือ Therapeutic Use of Self" ในกิจกรรมฝึกทักษะการนำเสนอเรื่องราว "ความสำเร็จในการเรียนจาก F สู่ A ของตนเอง" มีการซ้อมเขียนภาพประกอบเรื่องราวเขียนบทพูด และการซ้อมนำเสนอถึง 5 รอบ และประเมินซ้ำ พบว่า น้อง ซ. ได้เรียนรู้ทักษะการนำเสนองานและมีความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง จาก 5 เป็น 6 (เต็ม 10 คะแนน)

การบ้าน ให้น้อง ซ. และคุณแม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า "น้อง ซ. อยากทำงานอะไรจริงๆ หลังจากจบการศึกษาแล้ว"

น้อง ป. ประเมินทางกิจกรรมบำบัดด้านทักษะทางจิตสังคม พบว่า ระดับความคิดความเข้าใจอยู่ที่ระดับ 3-4 ขึ้นอยู่กับความท้าทายและความยากของกิจกรรมการพับกระดาษตามแบบ ซึ่งตอนแรกพูดก่อนเลยว่า ทำไม่ได้ ไม่เคยทำ แต่เมื่อปล่อยให้อยู่กับตัวเอง (กิจกรรมที่มีรูปแบบ หรือ Structured Activity) ก็สามารถเปิดแบบเพียงเล็กน้อยและทำเสร็จได้ดีมากทุกขั้นตอน ทั้งๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน และยังต้องกระตุ้นมากกว่า 1 ครั้ง ถ้าจะให้ต่อยอดการนำกิจกรรมที่มีรูปแบบไปสู่กิจกรรมการดำเนินชีวิต 

จากนั้นใช้สื่อกิจกรรมบำบัดด้าน "การวิเคราะห์สังเคราะห์กิจกรรม หรือ Activity Analysis & Synthesis" พบว่า ต้องกระตุ้น  3-5 ครั้ง ในการนำกระดาษที่พับไว้มาทำเป็นโมบาย (ซึ่งเกิดจากความต้องการและความคิดของน้อง ป. เอง - กิจกรรมกึ่งมีรูปแบบหรือ Semi-structured Activity) และประเมินซ้ำ พบว่า น้อง ป. มีความรู้สึกมีความสุขและสนุกในกิจกรรมพับกระดาษ จะนำผลงานไปไว้ที่โต๊ะทำงานและมีความมั่นใจในศักยภาพของตนเองจาก 4 เป็น 5 (เต็ม 10 คะแนน)

การบ้าน ให้น้อง ป. และคุณแม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า "น้อง ป. เบื่องานที่ครอบครัวให้หรือไม่ และอยากมีความสุขกับอะไร" 

นัดหมายครั้งที่ 2 ในอีก 1 อาทิตย์

หมายเลขบันทึก: 560777เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

_สวัสดีครับ...

_คงต้องตามผลการประเมินไปเรื่อยๆแล้วล่ะครับ

_น่าสนใจมากๆ

_กิจกรรมบำบัดมีอะไรให้น่าค้นหามากมายจริงๆนะครับ

_ชักสนใจ..ทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมาแล้วสิครับ..55

_ขอบคุณครับ...

แอบไปใช้ลูกชายวัยรุ่นค่ะ

...งานกิจกรรมบำบัด ..... เป็นงานที่ต้องใช้ความอดทน ... มีจิตเมตตาสูงมากๆนะคะ .... .... ขอส่งกำลังใจ มาใ ห้ดร.Pop & ทีมงาน และนักศึกษา นะคะ .... แต่เมื่อทำแต่ละCase ได้สำเร็จ ช่วยเหลือเขาได้ ... เป็นความสุขที่สุดในวิชาชีพ นะคะ .... ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ค่ะ



ขอบคุณมากๆ สำหรับกำลังใจและยินดีอย่างยิ่งที่จะติดตามและนำไปใช้ต่อ...จากคุณเพชรน้ำหนึ่ง คุณ Oraphan พี่ดร.เปิ้น และอ.นุ

ได้ความรู้ทางเชิงแนวคิด และการขับเคลื่อนสู่ผู้ปฏิบัติอย่างมีความสุข เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณศิรินันท์ และคุณศจย.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท