กระบวนการฟื้นพลังชีวิตวัยรุ่นซึมเศร้า


ขอบคุณกรณีศึกษาที่มีประสบการณ์โรคซึมเศร้ามานาน 1 ปี และผู้ปกครองที่มีความมุ่งมั่นช่วยเหลือลูก ซึ่งประกอบด้วยสองครอบครัวที่มีความหวังคล้ายคลึงกัน คือ อยากให้ลูกเรียนจบมหาวิทยาลัยเอกชน (เพราะต้องลาพักการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐ) และอยากให้ลูกทำงานเลี้ยงชีพได้ (กรณีท่านหนึ่งกำลังเรียนฝึกอาชีพด้วย เช่น ทำขนมเค้ก ตัดเย็บเสื้อผ้า)

ดร.ป๊อป เลยออกแบบกระบวนการฟื้นพลังชีวิตและการบำบัดด้วยกิจกรรม แต่ใช้การประเมินทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคมก่อนและหลังใน 3 เดือน โดยนัดหมายที่คลินิกกิจกรรมบำบัดในครั้งที่ 1 และ 3 แต่ครั้งที่ 2 ไปที่บ้านของครอบครัวหนึ่ง แต่ละครั้งนัดหมายห่างกัน1 เดือน และใช้เวลา 2-4 ชม. ในแต่ละครั้ง

ครั้งที่ 1: การสร้างพลังชีวิต (สัมพันธภาพ แรงบันดาลใจ และความหวัง)

สถานที่: ห้องฝึกปฏิบัติการทางคลิินิกกิจกรรมบำบัด ตึกคณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล

เวลาที่ใช้: 13.00-17.00 น. 

กิจกรรมที่ใช้: การทำสมาธิและกลั่นกรองความคิดผ่านกระดาษสีและสีเทียน การวาดรูปความคิดความเข้าใจในตัวเองและผู้อื่น การสำรวจและผ่อนคลายในสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย การเปิดใจภายในครอบครัว การปั้นดินร่วมกันทั้งครอบครัว และการให้การบ้านปรับรูปแบบการปั้นดินร่วมกันทั้งครอบครัวใน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แล้วถ่ายรูปเก็บไว้เพื่อตรวจสอบ

ผลการประเมินพลังชีวิต (0-10) กรณีศึกษา ป. คือ 6 กรณีัศึกษา ซ. คือ 8

ครั้งที่ 2:  การฝึกทักษะชีวิต (สังเคราะห์และวิเคราะห์ความสามารถในการทำครัว การรับประทานอาหาร และการใช้เวลาว่าง)

สถานที่: บ้านของกรณีศึกษา ป.

เวลาที่ใช้: 11.00-14.00 น. 

กิจกรรมที่ใช้: การฝึกทำอาหารสองจานโดยกระตุ้นให้กรณีศึกษา ป. และซ. ทำร่วมกัน (สังเคราะห์เมนูอาหารเอง) มีนักกิจกรรมบำบัด นักศึกษาป.โททางสังคมศาสตร์และสุขภาพ และผู้ปกครองคอยช่วยเหลือให้น้อยที่สุด จากนั้นการฝึกจัดโต๊ะอาหาร การฝึกรับประทานอาหารร่วมกันเชิงจิตสังคม (วิเคราะห์ความสามารถของตนเองสู่การต่อยอดในทักษะชีวิตอื่นๆ) และการค้นหาทักษะการใช้เวลาว่างทำกิจกรรม เช่น การใช้ชีวิตที่บ้าน ความรับผิดชอบต่องานบ้าน การแสดงบทบาทนักศึกษา การริเริ่มสัมพันธภาพกับผู้อื่น การเล่นเปียโน การเล่นกีฬา สุดท้ายการทำความสะอาดอุปกรณ์ครัว ฯลฯ 

ผลการประเมินพลังชีวิต (0-10) กรณีศึกษา ป. คือ 7 กรณีศึกษา ซ. คือ 9

ครั้งที่ 3: การฝึกทักษะชีวิตในบริบทวัด (เพิ่มความท้าทายของกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุผลลัพธ์ที่มีความหมายในชีวิต)

สถานที่: วัดแห่งหนึ่งใน จ. นครปฐม

เวลาที่ใช้: 10.30-14.30 น. 

กิจกรรมที่ใช้: การฝึกจ่ายตลาดด้วยงบประมาณ 200 บาท พร้อมให้ผู้ปกครองช่วยเหลือในการทำกับข้าว 1 อย่าง โดยพยายามคิดเมนูเอง แล้วทำกับข้าวด้วยตนเอง จากนั้นเดินทางมาที่วัด ช่วงก่อนเพล เพื่อถวายกับข้าวพร้อมกับผู้มีจิตศรัทธาอื่นๆ แล้วนั่งสวดมนต์ ฟังธรรม และทานอาหารที่ได้ถวายพระมานั่งทานร่วมกัน แล้วเดินทางไปสรุปบทเรียนในการวางแผนทำกิจกรรมเพื่อทักษะชีวิตและพลังชีวิตในอนาคต โดยส่งต่อให้ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการบำบัดเชิงความคิดและพฤติกรรมช่วยสร้างกระบวนการคิดให้กับกรณีศึกษาและครอบครัวเพิ่มเติม

ผลการประเมินพลังชีวิต (0-10) กรณีศึกษา ป. คือ 9 กรณีศึกษา ซ. คือ 10 

นี่คือของขวัญที่มีความหมายต่อชีวิตของกรณีศึกษาและครอบครัวร่วมทั้งดร.ป๊อป ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 519143เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2013 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2013 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณมากครับสำหรับดอกไม้จาก อ.ดร.จันทวรรณ คุณครูทิพย์ และคุณจารุวรรณ

Dr. Pop

จากที่ได้อ่าน บันทึก กระบวนการฟื้นพลังชีวิตวัยรุ่นซึมเศร้า ของอาจารย์ป๊อปแล้ว..

ดิฉันสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในอนาคตอันใกล้ ก็คือ การฝึกงานและอนาคตของการทำงาน

โดยเริ่มตั้งแต่การประเมินกิจกรรมบำบัดจิตสังคมทั้งก่อนและหลัง เพื่อให้สามารถตรวจสอบถึงผลของการบำบัดฟื้นฟูได้ ถ้าการประเมินพลังชีวิตในแต่ละครั้งเพิ่มขึ้น แสดงว่ากิจกรรมที่เราใช้เป็นสื่อในการรักษานั้นได้ผลดีต่อตัวผู้รับบริการ แต่ถ้าการประเมินนั้นลดลง เราควรคิดวิเคราะห์กิจกรรมใหม่เพื่อใช้เป็นสื่อในการรักษาต่อไป

ต่อมาเป็นการคิดออกแบบกิจกรรมที่ใช้ในการรักษาในผู้รับบริการที่มีภาวะซึมเศร้า หรือผู้รับบริการอื่น เรื่องของสัมพันธภาพทั้งระหว่างผู้รับบริการกับผู้บำบัด,ผู้รับบริการกับครอบครัวหรือผู้รับบริการด้วยกัน (ในกรณีที่จัดเป็นกิจกรรมกลุ่ม) เป็นเรื่องที่สำคัญอันดับแรก เพราะถ้าสัมพันธภาพไม่ดี ก็จะเป็นอุปสรรคหนึ่งในการรักษา ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินการรักษาเป็นไปได้ช้าขึ้น

ต่อมาเรื่องของแรงจูงใจ หรือ แรงบันดาลใจและความหวังก็สำคัญไม่แพ้กัน เหมือนกับคนเราทั่วไป ถ้าเรามีแรงบันดาลใจหรือความหวังให้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งนั้นก็จะมีโอกาสสำเร็จได้เร็วขึ้น

ต่อมาเป็นกิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อฝึกทักษะการดำเนินชีวิตให้ผู้รับบริการ เพื่อที่จะสามารถดูแลตนเอง ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด (Independent)

การทำกิจกรรมบำบัด จะต้องท้าทายความสามารถของผู้รับบริการขึ้นเรื่อยๆ ในกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ถึงเป้าหมายของการรักษา

ที่สำคัญและดิฉันชอบมากก็คือ การบำบัดฟื้นฟู ไม่จำเป็นต้องทำแต่ในคลีนิก หรือในโรงพยาบาล ยิ่งเราให้ผู้รับบริการได้ทำในสถานที่จริง สถานการณ์จริง ความเป็นไปได้ที่เขาจะกลับไปดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเองยิ่งมีมากขึ้น

ขอบคุณอ.ป๊อปสำหรับกระบวนการฟื้นพลังชีวิตที่ดิฉันสามารถนำไปใช้ในการเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดและการเป็นนักกิจกรรมบำบัดได้ตลอด และสามารถใช้ได้กับผู้รับบริการทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายเด็ก ฝ่ายกาย ฝ่ายผู้สูงอายุและฝ่ายจิต ^^

การได้บทเรียนจากนอกห้องเรียน การได้ศึกษาเคสจริง จากกรณีศึกษาของอาจารณ์ทำให้สามารถมองปัญหาของผู้รับบริการได้หลากหลายบริบทมากขึ้น ซึ่งจากเดิมมักมอกว่าหากเป็นนักศึกษามักต้องเป็นการเรียน มหาวิทยาลัยเท่านั้น เป็นการเปิดกรอบทางความคิดให้กว้างขึ้น และกิจกรรมที่เลือกใช้เหมาะกับผู้รับบริการมีความท้าทายของกิจกรรมขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการติดตามผลเป็นระยะ มีการถ่ายภาพเป็นหลักฐาน ซึ่งนี่เป็นอีกเรื่องที่ไม่มีในห้องเรียน เป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท