เปิดความคิดกิจกรรมบำบัดเฉพาะทาง


ข้อมูลอ่านเพิ่มเติมใน Higgs J, Jones MA, Loftus S, Christensen N. Clinical reasoning in the health professions. 3rd ed. Elsevier Health Sciences; 2008.

ที่มา: Clinical Reasoning in Occupational Therapy โดย Chris Chapparo & Judy Ranka

การให้เหตุผลทางคลินิกในกิจกรรมบำบัด

หลายคนยังไม่เข้าใจว่า นักกิจกรรมบำบัดทำอะไรกันแน่? นักจิตสังคมบำบัด นักบำบัดผู้บกพร่องทางร่างกาย นักบำบัดการกลืนอาหาร นักบำบัดการใช้มือ หรือ นักบำบัดการประสมประสานการรับความรู้สึก

ผมอยากให้นักกิจกรรมบำบัดทุกท่านทบทวนบทบาทและกระบวนการคิดที่สะท้อนการให้บริการทางวิชาชีพกิจกรรมบำบัดที่ชัดเจน (เข้าใจหลักการกิจกรรมบำบัดพื้นฐานและความรู้เชิงเทคนิคจากสหวิชาชีพสู่การประยุกต์ใช้ตามปรัชญากิจกรรมบำบัด)

นักกิจกรรมบำบัดบางท่านยังไม่เข้าใจ "แก่นแท้" ของการประเมินและการบำบัดฟื้นฟูตามกรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัด และใช้สื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัดที่หลากหลาย ได้แก่ Therapeutic Use of Self, Occupations and Activities; Occupation-Based Activity (Environmental Modification), Purposeful Activity (Activity Synthesis & Analysis), Preparatory Methods, Consultation Process (Family & Client Relationship), Educationa Process (Teaching & Learning Process)

นักกิจกรรมบำบัดควรมีความรู้ความเข้าใจว่า "กิจกรรมจะบำบัดอย่างไร กิจกรรมบำบัดจะพัฒนาทักษะชีวิต (Life Skills) ของผู้รับบริการได้อย่างไร" โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของศักยภาพในบทบาทการดำเนินชีวิต (Role Competence) การปรับตัวในการดำเนินชีวิต (Occupational Adaptation) ความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupational Performance) และคุณภาพชีวิต (Quality of Life)

นักกิจกรรมบำบัดควรลำดับความคิดตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดและตั้งเป้าหมาย คือ

1. Health Promotion: Promote, Create (increase occupational performance in natural contexts)

2. Remediation/Restoration: Establish, Restore (improve skills/ability that has not yet developed after impairment)

3. Maintain performance/capacities along the treatments needed by therapists: if not, performance and quality of life will be decreased.

4. Modify (compensation/adaptation)

5. Prevent (disability prevention via activity and context of client)

นักกิจกรรมบำบัดพึงระลึกถึงแหล่งความรู้และแรงจูงใจในการตัดสินใจทางคลินิกจาก

1. บริบทในการบำบัด เช่น คุณค่าของการให้บริการ นโยบายที่มีคุณค่าของหน่วยงาน การจัดการความขัดแย้งในการให้บริการ

2. ทำความเข้าใจบริบทของผู้รับบริการและการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ

3. ทฤษฏีและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโรค การทำหน้าที่ของร่างกายมนุษย์ และการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์

3. ความเชื่อส่วนตัวในฐานะผู้บำบัดที่กำลังมีประสบการณ์ 

4. ทัศนคติ ความคาดหวังต่อการกระทำ และการให้เหตุผลทางคลินิกของผู้บำบัด

5. ความเข้าใจกรอบอ้างอิงที่คิดและฝังลึกภายในตัวผู้บำบัด

นักกิจกรรมบำบัดพึงฝึกฝนการให้เหตุผลทางคลินิกที่หลากหลาย ซึ่งผมคิดว่า เป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องคิดก่อนให้บริการผ่านสื่อกิจกรรมบำบัดอย่างเป็นระบบ ได้แก่

1. Scientific Reasoning: Diagnostic & Procedural Reasoning นักกิจกรรมบำบัดที่มีประสบการณ์ควรตั้งสมมติฐานที่เหมาะสมไม่เกิน 4 ข้อ และสะท้อนความคิดเชิงวิเคราะห์ถึงสมมติฐานที่ดีที่สุดในการประเมินและการบำบัดฟื้นฟู

2. Narrative Reasoning: Meanng schemes (related and habitual expectations) & Meaning prespectives (structural assumptions and beliefs within interpretation of new experience) นักกิจกรรมบำบัดทำความเข้าใจความหมายของปัญหาของผู้รับบริการ ณ ปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนมุมมอง/ความคิดของผู้รับบริการด้วย

3. Conditional Reasoning: Circular process of flexible therapy program (to be changed, to be related the existing problem, to be determined for level of participation) นักกิจกรรมบำบัดคิดถึงอนาคตของผู้รับบริการที่กำลังทำกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางกิจกรรมบำบัด

4. Pragmatic Reasoning (Three-track mind) นักกิจกรรมบำบัดให้เหตุผลของการวินิจฉัยผู้รับบริการ ประเมินผู้รับบริการให้เป็นภาพรวมของคนหนึ่งคน เข้าใจการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมของผู้รับบริการในหลายๆมิติและมองไปข้างหน้า ซึ่งอาจใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง การทดสอบ การใช้แบบสอบถาม การใช้ความรู้สึก และการกระทำที่มีเป้าหมาย

5. Ethical Reasoning นักกิจกรรมบำบัดควรเข้าใจปัญหาทางคลินิกและสภาวะผู้รับบริการที่อาจตัดสินใจเองไม่ได้ ควรรักษาสิทธิของผู้รับบริการ และให้การบริการที่ผู้รับบริการพึงได้อย่างสูงสุดและเหมาะสมกับจรรยาบรรณวิชาชีพและบริบทต่างๆ  

 

หมายเลขบันทึก: 341519เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2010 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณครับ เห็นด้วยที่ปัจจุบัน นักกิจกรรมบำบัดน้อยคนสามารถเข้าถึงแก่นแท้อย่างจริงจัง อาจจะเพราะหลงลืม คุณค่าและหลักการของ วิชาชีพ แต่ก็พอเข้าใจนะครับ ว่างานในปัจจุบัน ที่มิใช่การให้บริการอย่างเดียว มีส่วนอื่นต้องทำร่วม ทำให้เราติดกับดัก ของคำว่า ROUTINE ทำทุกอย่างกลายเป็นงานประจำ ก็เคยทำแบบนี้ จนในที่สุด กลายเป็นกลัวการเปลี่ยนแปลง นับเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก ดังนั้น เราในฐานะนักวิชาชีพ จะต้องระวังกันหน่อย แต่จะทำอย่างไร คงต้องแล้วแต่หน่วยงาน จะพยายามกันต่อไป พี่เองก็ยังพยายามทำอยู่ แม้จะไม่สมบูรณ์ครบถ้วน และจะพยายามต่อไป

(ไม่รู้ว่าจะตรงตามประเด็น ที่อาจารย์ป๊อบนำเสนอหรือเปล่า) 555

ขอบคุณมากครับคุณไม่แสดงตน

อยากส่งกำลังใจให้ทุกท่านมีความมุ่งมั่นในการแสดงศักยภาพทางวิชาชีพกิจกรรมบำบัดเพื่อสังคมไทยครับ

เป็นประเด็นที่ผมก็กลัวว่า พี่น้องวิชาชีพจะไม่กล้าเปลี่ยนแปลง แต่อยากจุดประกายความคิดให้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเพื่อความสุขในการทำงานเพื่อชีวิต ชีวิตคืองาน บันดาลสุขครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท