พลังชีวิตระหว่างพ่อ-ลูก-โค้ช


หลังจากดร.ป๊อป และ อ.แอน เริ่มโรงเรียนการจัดการความสุขกับกรณีศึกษาน้อง ซ. กับ น้อง ป. มาได้ 6 สัปดาห์แล้ว ในสัปดาห์นี้เป็นการนำคุณพ่อและน้อง ป. เข้าหลักสูตร "พ่อ/แม่/ผู้ดูแลฝึกปฏิบัติให้เป็นโค้ชหรือผู้ฝึกสอนลูก/ญาติที่ต้องการพัฒนาทักษะชีวิต - Parent Partnership Programming (PPP)" ซึ่งนับเป็นครั้งแรกกับหัวข้อ "การสร้างพลังใจ" ที่เกิดขึ้นในคลินิกกิจกรรมบำบัดราว 2 ชม. โดยคิดค่าบริการ 200 บาทต่อรายต่อ 1 ชม. ให้กับการบริการทางคลินิกกิจกรรมบำบัด ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล     

ใน 1 ชม. แรกเป็นการต่อยอดกิจกรรมการออกแบบคอนโดของน้อง ป. ที่มีการวาดภาพได้อย่างสวยงามและมืออาชีพตามประสบการณ์ที่สนใจและได้เรียนรู้ "นักออกแบบภายใน" ของน้อง ป. คือ วาดจากแบบแผนผังห้องจริงของคอนโด แล้วนำมาวาดเป็นภาพ 3 มิติ และได้มีกระบวนการเพิ่มทักษะการสื่อสารดังนี้

            ให้น้อง ป. ฝึกทักษะการตั้งคำถามและการเขียนสรุปประเด็นระหว่าง "นักออกแบบภายใน" กับ "ลูกค้า (ให้อ.แอน เล่นบทบาทสมมติ)" และมีการเพิ่มเติมว่า แต่ละห้องที่วาดปนกันควรแยกแล้วเพิ่มรายละเอียดของสี พื้นผิวผนัง การตกแต่ง ฯลฯ มีการสาธิตและชักชวนให้น้อง ป. เพิ่มความมั่นใจในการยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า "จะลองทำ/ปรับดูใหม่" แทน การสื่อสารความคิดว่า "ทำไม่ได้ หรือ แค่นี้ก็ได้" โดยดร.ป๊อป พยายามกระตุ้นให้น้องป.มีการสบตา นั่งพูดคุยอย่างสงบ เขียนข้อความบนกระดาน จดข้อความจากกระดานลงสมุดบันทึก พบว่า น้อง ป. ทำได้เป็นตัวของตัวเอง เป็นธรรมชาติ ให้ความร่วมมือในการสื่อสาร (ฟัง พูด อ่าน เขียน) ได้อย่างมีทักษะ และใช้เวลานึกคิดไม่เกิน 5 นาที ในการจดจำและสร้างสรรค์ข้อมูลได้เป็นระบบ รวมทั้งมีการนำเสนอสีที่ใช้ให้ลูกค้าพิจารณาด้วยว่า "ต้องการสีนี้ในห้องหรือจุดใดเพิ่มเติม"

ใน 1 ชม.แรก และ สอง ให้คุณพ่อของน้อง ป. ฝึกสังเกตและฝึกทักษะการตั้งคำถามให้น้อง ป. มีการพิจารณารายละเอียดของแต่ละห้องที่ออกแบบมากขึ้น โดยดร.ป๊อปกระตุ้นให้น้อง ป. ใช้การวาดผังความคิดบนกระดานและค่อยๆ สรุปลงในสมุดบันทึก พร้อมสาธิตให้คุณพ่อสอนน้อง ป. ฝึกสมองผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายในแบบกระตุ้นพลังงานชีวิตและในแบบการผ่อนคลายระหว่างการทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดจนอ่อนล้า สุดท้ายดร.ป๊อป กระตุ้นให้คุณพ่อ น้อง ป. และอ.แอน ร่วมมีการสรุปบทเรียนผ่านการชื่นชมความสามารถของน้องป.ที่เกิดขึ้นในวันนี้ตามด้วยสิ่งที่น้องป.ควรพัฒนาเพิ่มขึ้น แล้วให้น้องป.วางแผนความคิดสุดท้าย ก็พบว่า "น้อง ป. มีความต้องการเป็นนักออกแบบภายในและมีความเข้าใจในการพัฒนาทักษะการสื่อสารมากขึ้น" และใช้เวลาเต็มที่ในการทำการบ้านเพิ่มเติมมาส่งในการนัดหมายครั้งถัดไป

              ทั้งนี้คุณพ่อได้เรียนรู้การเป็นโค้ชหรือผู้ฝึกสอนลูก ใน 5 ประเด็นเพื่อนำไปฝึกฝนเป็นการบ้านก่อนนัดหมายในอาทิตย์หน้า ได้แก่ 

  • ควรตั้งคำถามปลายเปิด "...ทำอะไรต่อไปดี... หรือ ...ทำอย่างไร...ดีไหม" พร้อมให้คำชื่นชมอย่างจริงใจและพอเหมาะเสมอ เช่น "...ดีมาก... หรือ ลูกทำได้ดี... หรือ ลองนึกให้ดีขึ้น..."
  • ไม่ควรตั้งคำถามว่า "...ต้อง... หรือ ...ไม่... หรือ คำถามแบบปลายปิด/สั่งการให้ทำ"
  • ควรมีการนิ่งและเฝ้ามอง "การทบทวนความคิดของน้องป.ซึ่งจะใช้เวลาอย่างน้อย 5 นาที"
  • ควรสาธิตให้น้องป.เห็นก่อนจะชักชวนให้ทำขั้นตอนใดๆ ของกิจกรรม เช่น เขียนบนกระดานให้ดูเป็นตัวอย่าง เสนอไอเดียแบบมีตัวเลือก 2 อย่าง ทำท่าออกกำลังกายให้ดู เคลื่อนไหวอย่างตั้งใจเป็นแบบอย่างเข้าหาน้อง ป. ก่อน เป็นต้น
  • ลองปรับกระบวนการตั้งคำถามไปใช้ต่อในกิจกรรมการดำเนินชีวิตแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป 

ประสบการณ์จาก Neuro-Linguistic Programming (NLP) ที่มาใช้ในงานกิจกรรมบำบัดครั้งนี้ ได้แก่ 

 

ที่มา: http://peterskeltonnlpcoach.com/rapport-the-foundation-of-good-communication/

คลิกอ่านเพิ่มเติมที่ บันทึกเมื่อเธอมาหาหมออาสานะ

การสื่อสารข้อมูลทางบวกแล้วนำสู่การพัฒนาตนเองจะสะท้อนความรู้สึกที่ดีและมีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตให้ก้าวข้ามอุปสรรคและตั้งใจทำให้ประสบความสำเร็จให้จงได้

 

ที่มา: http://excellenceassured.com/2499/how-to-win-a-penalty-shootout

จากผลงานโรงเรียนการจัดการความสุขครับ...ขอบคุณตัวเอง กรณีศึกษาและผู้ปกครอง และอ.แอน ที่ร่วมเรียนรู้จากสัปดาห์ที่ 1-6 รวมครั้งนี้คือสัปดาห์ที่ 7 ก่อนจัดทำหลักสูตรโรงเรียนการจัดการความสุขให้เต็มรูปแบบต่อไป
ขอเชิญกัลยาณมิตรทุกท่านร่วมชื่นชมและให้ข้อเสนอแนะครับผม

ครั้งที่ 1 http://www.gotoknow.org/posts/560777
ครั้งที่ 2 http://www.gotoknow.org/posts/560895
ครั้งที่ 3 http://www.gotoknow.org/posts/561571
ครั้งที่ 4 http://www.gotoknow.org/posts/562295
ครั้งที่ 5 http://www.gotoknow.org/posts/562796
ครั้งที่ 6 http://www.gotoknow.org/posts/563404

หมายเลขบันทึก: 563912เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2014 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2014 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สมาชิกครอบครัว คือ คนสำคัญ ที่จะนำกิจกรรมไปทำที่บ้า่นอย่างต่อเนื่อง นะคะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งและขอบพระคุณพี่หมอธิรัมภามากๆครับผม

ขอบคุณมากๆครับพี่โอ๋ พี่เหมียว และคุณ tuknarak

จากผลงานโรงเรียนการจัดการความสุขครับ...ขอบคุณตัวเอง กรณีศึกษาและผู้ปกครอง และอ.แอน ที่ร่วมเรียนรู้ถึง 7 สัปดาห์ ก่อนจัดทำหลักสูตรโรงเรียนการจัดการความสุขให้เต็มรูปแบบต่อไป

ขอเชิญกัลยาณมิตรทุกท่านร่วมชื่นชมและให้ข้อเสนอแนะครับผม

ครั้งที่ 1 http://www.gotoknow.org/posts/560777
ครั้งที่ 2 http://www.gotoknow.org/posts/560895
ครั้งที่ 3 http://www.gotoknow.org/posts/561571
ครั้งที่ 4 http://www.gotoknow.org/posts/562295
ครั้งที่ 5 http://www.gotoknow.org/posts/562796
ครั้งที่ 6 http://www.gotoknow.org/posts/563404
ครั้งที่ 7 http://www.gotoknow.org/posts/563912

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท