ถอดบทเรียน สัมมนาหัวข้อพิเศษ "กิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการจิตเวช"


From http://www.gotoknow.org/posts/563904 that i post about seminar in the topic of Occupational Therapy in pediatric field work from Dr. Kannika 

จากบันทึกที่แล้ว http://www.gotoknow.org/posts/563904 ดิฉันได้พูดถึงการถอดบทเรียนจากสัมนาในหัวข้อพิเศษ เรื่อง "กิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการฝ่ายเด็ก" โดย อาจารย์ ดร.กันนิกา  เพิ่มพูนพัฒนา 

 

next, it's time for Occupational Therapy in Mental health field work. the occupational therapist who dedicate to promote OT to the public and has specialize is Dr. Supaluk Khemthong. in this class he want to share his experiences Mental health field work to us.

ต่อไปจึงเป็นคิวของกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการทางจิตเวช และนักกิจกรรมบำบัดที่จะมาร่วมแชร์ประสบการณ์ในวันนี้คือ อาจารย์ดร.ศุภลักษณ์  เข็มทองผู้ซึ่งอุทิศตนให้กับการส่งเสริมให้งานกิจกรรมบำบัดเป็นที่รู้จักมากขึ้นในประเทศไทย และนอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องสุขภาพจิตอีกด้วย

And this is my knowledge translation from that special seminar class.

และต่อจากนี้จะเป็นการถอดบทเรียนจากการสัมมนาในครั้งนี้ค่ะ

 

What is the key mission of the occupational therapist in mental health?

หน้าที่หลักของงานกิจกรรมบำบัดในฝ่ายจิตเวช คืออะไร?

The key mission of mental health is well – being and recovery In Thailand, 5 years ago we start to change the people’s attitude about the mental illness patient that they not harmful they not dangerous they need to go back to the community along with his symptoms. Some cases have team conference before give him back to the community but it’s no go with well-being

หน้าที่หลักของนักกิจกรรมบำบัดคือให้ผู้รับบริการทางด้านสุขภาพจิตมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและได้รับการฟื้นฟู เยียวยา เมื่อห้าปีที่แล้วเริ่มมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนที่มีต่อผู้ป่วยอาการทางจิตว่าพวกเขาไม่ได้น่ากลัว ไม่ได้เป็นอันตรายอย่างที่จินตนาการ พวกเขาต้องกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนด้วยอาการที่มี บางกรณีมีการประชุมทีมก่อนส่งกลับชุมชนแต่ก็ยังไม่ได้มีเป้าหมายไปถึงคุณภาพชีวิตของคนนั้นๆ

 

What are the Thai occupational therapist in mental health’s strengths, weaknesses, threats, and opportunuties?

สิ่งที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน สิ่งที่เป็นภัยและโอกาสของนักกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตในไทยมีอะไรบ้าง?

 

The strength is we develop many assessments tool like interest checklist for Thai people or behavior checklist. The weak point is the OTs know major role know that what we do in mental health but the others not. Especially, nurse. OTs need more education about clinical reasoning to make clear when give intervention to the patient and to another profession

จุดแข็งคือเรามีการพัฒนาเครื่องมือ หรือแบบประเมินอยู่เสมอ เช่น แบบประเมินความสนใจหรือแบบสำรวจพฤติกรรม เป็นต้น ส่วนจุดอ่อนของกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตเวชคือ เรารู้บทบาทของเรา แต่วิชาชีพอื่นไม่รู้ว่านักกิจกรรมบำบัดทำอะไรกับผู้ป่วยทางจิตเวชได้บ้าง เพราะฉะนั้นนักกิจกรรมบำบัดควรมีเหตุผลทางคลินิกในการให้การรักษาแก่ผู้รับบริการทุกครั้ง

 

What do you see in the future as occupational therapist in mental health and how is this lead to success?

ในฐานะนักกิจกรรมบำบัด คุณเห็นอะไรที่เกี่ยวกับกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตเวชในอนาคตบ้างและจะไปสู่ความสำเร็จนั้นได้อย่างไร?

I see 10 million people get mental illness in Thailand. But there are only 1 million that get intervention. OTs have imbalance to take care of the left. Occupational therapists need more take part in mental health prevention and promotion.

ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยทางจิตกว่า 10 ล้านคนแต่จะมีเพียง 1ล้านคนเท่านั้นที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องที่โรงพยาบาล เนื่องจากจำนวนนักกิจกรรมบำบัดที่ทำงานทางด้านสุขภาพจิตมีน้อยไม่เพียงพอต่อผู้รับบริการ และยังอยากเห็นนักกิจกรรมบำบัดมีส่วนร่วมในการป้องกันและส่งเสริมเกี่ยวกับสุขภาพจิตมากกว่านี้

 

In 2015, Thailand as a member of Asean community, what do you think that AEC is positive or negative impacts for Thai occupational therapist in mental health?

ในปี 2015 ประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คุณคิดว่าเป็นผลดีหรือผลเสียต่อนักกิจกรรมบำบัดด้านจิตเวชในไทย?

the other country in Asean will competitive us because we weakness of mental health service. But the developed countries They got many specialized aspect occupational therapists in mental healththan us.  A lack of knowledge about recovery & well-being , which is a principle that will encourage patient  to return to the lifestyle .we should learn more and more.

จะเกิดการแข่งขันมากขึ้นในประเทศ และประเทศไทยจะเสียเปรียบเนื่องจากไม่มีนักกิจกรรมบำบัดผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของสุขภาพจิตมากเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว และการขาดความรู้เกี่ยวกับ recovery & well-being ที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยก็เป็นส่วนที่สำคัญเช่นกัน ดังนั้นเราควรเรียนรู้เพิ่มเติมให้มากขึ้น

 

 

thanks to Dr. Supaluk for sharing his experiences that have many good profit to us.

ขอขอบคุณประสบการณ์ดีๆจากอาจารย์ ดร.ศุภลักษณ์ ในครั้งนี้เป็นอย่างมากค่ะ ความรู้ดีๆครั้งนี้เป็นประโยชน์ให้กับเรา เหล่านักศึกษาที่กำลังจะจบมาเป็นนักกิจกรรมบำบัดในอนาคตอันไม่ไกลมากๆเลยค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 563911เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2014 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2014 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท