เมื่อเธอมาหาหมออาสานะ


จงมอบความรักแด่ผู้อื่นเสมือนกับการแสดงความรักต่อตนเอง

วันอาทิตย์นี้ดีมีเธอมาหา...ดร.ป๊อปได้รับการติดต่อจากคุณพ่อของน้อง พ. น้องสาววัย 4 เดือนครึ่ง แล้วขับรถมาจากชลบุรีถึงบ้านรามอินทราของดร.ป๊อป หลังจากได้พบบันทึกหนึ่งของ Go to Know ทำให้วันนี้ดร.ป๊อปได้เปลี่ยนรูปแบบการให้บริการแบบจิตอาสาจากโครงการหมออาสามาหานะเธอ เป็น เธอมาหาหมออาสานะ และครั้งนี้มีความน่าสนใจที่สมองของผมสามารถสร้างสัมพันธภาพได้ดีเยี่ยมหลังจากอบรม Neuro-Linguistic Programming (NLP) ในการสร้างสัมพันธภาพที่มีหลักการมหัศจรรย์ ได้แก่ 

 

 

                ด้านขวา                                                    ด้านซ้าย

ที่มา: http://www.martinfrost.ws/htmlfiles/may2006/nlp1.html

1. การสร้างสัมพันธภาพกับน้องพ.และคุณพ่อ คุณแม่ และพี่เลี้ยงให้เกิดความไว้วางใจ

ดร.ป๊อป พยายามสังเกตและทำความเข้าใจในการกลอกตาที่ NLP มีหลักการว่า "การกลอกตาไปในทิศทางต่างๆ ข้างบนถือเป็นการสื่อสารภาษากายที่เชื่อมโยงกับระบบการทำงานของสมองด้านการรับรู้ที่เด่นแตกต่างกันขณะตั้งคำถามและนึกพูดคำตอบทันที" คือ รับรู้ข้อมูลทางการมองเห็นเพื่อนึกพูดคำตอบในอดีต (จะกลอกตาขึ้นข้างบนซ้าย) ทางการมองเห็นเพื่อนึกพูดคำตอบในอนาคต (จะกลอกตาขึ้นข้างบนขวา) ทางการได้ยินเพื่อนึกพูดคำตอบในอดีต (จะกลอกตาไปด้านข้างซ้าย) ทางการได้ยินเพื่อนึกพูดคำตอบในอนาคต (จะกลอกตาไปด้านข้างขวา) ทางการสัมผัสเพื่อนึกพูดคำตอบในอนาคต (จะกลอกตาลงล่างขวา) และทางการนึกพูดกับตนเองในใจ (จะกลอกตาลงล่างซ้าย) ดังนั้นถ้าดร.ป๊อป ทราบว่า ถ้าใครรับรู้ทางการมองเห็น ก็จะสื่อสารเป็นการเขียนหรือการสาธิตท่าทางช้าๆ ให้ผู้ปกครองน้องพ.สามารถบันทึกภาพหรือวิดีโอหรือเข้าใจเป็นภาพ ถ้าใครรับรู้ทางการได้ยิน ก็จะสื่อสารเป็นภาษาพูดที่สั้น กระชับ ง่าย และซ้ำๆ พร้อมถามตอบผู้ปกครองน้องพ.ให้ระลึกจำขั้นตอนต่างๆ ออกมาได้ถูกต้อง และถ้าใครรับรู้ทางการสัมผัส ก็จะสื่อสารแบบสาธิตทีละขั้นตอน แล้วให้ผู้ปกครองน้องพ.มาสาธิตให้ดร.ป๊อปตรวจสอบความถูกต้องด้วย 

ที่มา: http://peterskeltonnlpcoach.com/rapport-the-foundation-of-good-communication/

2. การสร้างสัมพันธภาพกับครอบครัวน้องพ.ให้เกิดความมั่นใจและแรงบันดาลใจ

ดร.ป๊อป พยายามสังเกตและสื่อสารภาษาพูดกับภาษากาย (การสบตา การหายใจ การใช้เสียง การใช้ท่าทาง การแสดงสีหน้า การใช้คำพูด และการนิ่งฟัง-เห็น-คิด-และกระตืือรือล้น (Proactive)) ด้วยความจริงใจในความเชื่อและคุณค่าต่อความพยายามพัฒนาน้องพ.ด้วยกันในวันนี้ คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ เช่น พยายามตั้งคำถามง่ายๆ เมื่อเห็นคุณพ่อคุณแม่นิ่งเงียบคิดในใจ ว่า "คุณพ่อคุณแม่อยากจะถามผมใช่ไหม เกี่ยวกับอาการเกร็งกระตุกของน้องจะหายได้ไหม" แล้วให้คำตอบไปอย่างมีเหตุผลพร้อมแสดงให้เห็นภาพอย่างชัดเจนโดย ตรวจปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติของน้องที่กระตุกจากแขนแยกจากขา ถ้างอขาลดเกร็งเหยียดก็จะเหลือแขนเกร็งงอ ถ้าจับแขนเหยียดแล้วตั้งลำตัวกึ่งนั่งกึ่งนอนก็จะทำให้หายใจได้ดีขึ้น ถ้าหายใจได้ดีขึ้นก็จะกลืนน้ำลายพร้อมที่จะกระตุ้นการกลืนนมได้โดยค่อยๆสัมผัสจุกนมรอบปาก (ก่อนหน้านั้นให้กระตุ้นตากลอกมาตรงกลางเพื่อไม่ให้ง่วงเนื่องจากสมองมีน้ำน้อยและมีออกซิเจน) ฯลฯ สุดท้ายก็ถามผู้ปกครองน้องพ.ว่า "มั่นใจขึ้นมากน้อยแค่ไหน...พร้อมสร้างแรงบันดาลใจให้สู้ๆ เพื่อพัฒนาน้องพ.ให้สมองมีการเรียนรู้รูปแบบในการหายใจ การกลืน การเคลื่อนไหว และการลดเกร็งกระตุก...ผู้ปกครองต้องมั่นใจ คิดบวก ปล่อยวาง และมีความหวังขณะฝึกน้องพ." ภายหลังจากให้ฝึกปฏิบัติตามที่ดร.ป๊อปสาธิตทีละท่ารวมๆแล้วอย่างค่อยเป็นค่อยไป 10 ท่า พร้อมจดบันทึกไว้บนกระดาษให้ผู้ปกครองอ่านทวนอีกครั้งเพื่อจะได้ตั้งคำถามให้กระจ่าง รวมทั้งหลังให้บริการไปแล้ว 2.30 ชม. ดร.ป๊อปก็ได้รับคำถามของคุณพ่อน้องพ. ว่า "ดร.จะคิดค่าใช้จ่ายยังงัยครับ" ดร.ป๊อปตอบทันทีว่า "อ่อ ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ เป็นจิตอาสาครับ คุณพ่อมาได้ก็ดีมากๆแล้วครับ" ดร.ป๊อปสังเกตสีหน้ายิ้มและการไหว้ขอบคุณของทุกคนแล้ว ผมก็สังเกตรับรู้ความสุขในใจ (หัวใจ) ได้ทันทีเช่นกัน

ขอบคุณมากๆครับสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกกิจกรรมบำบัดและ NLP ในกรณีศึกษาน้องพ.และครอบครัว นับเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมในชีวิตของดร.ป๊อปครับผม นอกจากนี้ขอสื่อสารขอบคุณกำลังใจจากกัลยาณมิตรทุกท่านผ่าน Facebook ที่มอบให้มากมายในวันแห่งความรักของผมครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 561786เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ตามมาเชียร์หมออาสาครับ

ขอให้มีความสุขกับการทำงานครับ

ว้าว อ่านไปมดเริ่มกัดไปแล้วนะคะ อิๆๆ

.... ตามมาให้กำลังใจด้วยคน นะคะ

ผมชอบประโยคที่คุมสีฟ้ามากเลยครับ อ่านแล้วยิ้มตามเลย สู้ครับพี่เป็นกำใจให้ครับ!!

สวัสดึคะ Dr.Pop

เนื่องด้วยทาง GotoKnow มีกำหนดจะจัดประชุมเสวนาทางวิชาการกลุ่มย่อยจำนวนประมาณ 30 ท่าน โดยใช้ชื่องานครั้งนี้ว่า "ปิยวาจา-ปัญญาสร้างสุขในโลกออนไลน์"

ในวันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 9.00-13.00 น. ณ สสส. อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซอยงามดูพลี เขตสาทร กทม. และพบกับวิทยากรนำการเสวนา 2 ท่านคือ คุณ (ศิลา) ภิรัชญา วีระสุโข และ ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์ แห่ง Happy Ba

งานเสวนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายสมาชิก GotoKnow และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางในการสร้างพื้นที่ชุมชนแห่งความสุขในสังคมออนไลน์

ซึ่งจากสภาวะ ณ ปัจจุบันที่สังคมเต็มไปด้วยถ้อยคำรุนแรงและการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่ค่อยๆแทรกซึมเข้าไปอยู่ในกิจกรรมการดำรงชีวิต ชุมชน GotoKnow จะมีส่วนในการช่วยลดความรุนแรงทางคำพูดที่ปรากฎในโลกออนไลน์ลงได้อย่างไรบ้าง โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเสวนาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกชุมชนออนไลน์ค่ะ

ในการนี้ GotoKnow จึงขอเชิญชวนสมาชิกท่านเข้าร่วมงานเสวนาดังกล่าว ทั้งนี้การเสวนาดังกล่าวไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สำหรับข้าราชการ พนักงานของมหาวิทยาลัยและพนักงานอื่นๆ ของรัฐ สามารถเข้าร่วมงานเสวนาได้โดยไม่ถือเป็นวันลาและมีสิทธิ์เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของต้นสังกัด

ท่านสามารถแจ้งความประสงค์ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่อีเมล support (@) gotoknow.org หรือลงทะเบียนในบันทึกของ อจ.จันทวรรณ http://www.gotoknow.org/posts/562228 ภายในวันที่ 28 กพ.นี้

โดยทางทีมงานจะออกหนังสือเชิญเข้าร่วมงานให้กับท่านอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในการนี้ขอเรียนเชิญทุกท่านรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกันและรับของที่ระลึกพิเศษจาก GotoKnow ด้วยนะค

ขอบคุณมากๆครับคุณกล้วยไข่ พี่ดร.เปิ้น น้องศราวุธ และคุณนุชระพี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท