แม่ต้องทำงานแต่ลูกยังติดนมแม่...บำบัดได้


กรณีศึกษาวัย 2 เดือนกว่า เดินทางมาพร้อมพ่อ แม่ ย่า และอา จากจ.ปราจีนบุรี มีภาวะไม่ดูดกลืนนมขวด

เมื่อดร.ป๊อป ตรวจและวิเคราะห์สาเหตุ ก็พบว่า ช่วงกรณีศึกษาแรกเกิดต้องให้นมทางสายและให้ออกซิเจนเนื่องจากมีอาการชักกับไม่ดูดนมแม่ นาน 1 เดือน ทำให้เกิดภาวะเครียด ส่งผลให้ลดระบบการสัมผัสถึงอารมณ์ผูกพันกับแม่ พอออกจากรพ.โดยไม่มีการให้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาเน้น "การพัฒนาระบบการสัมผัสถึงอารมณ์ผูกพันกับแม่" กรณีศึกษาปรับตัวตามธรรมชาติคือ ร้องเสียงคงที่ แว้ แว้ แว้ ๆๆๆ (ไม่มีน้ำตา - บ่งชี้อยากได้สัมผัสจากแม่) ทุกครั้งที่คนอื่นๆอุ้มและจะหยุดร้องเมื่อคุณแม่อุ้มกอดและให้นมลูกจากเต้า แต่คุณแม่หยุดได้แค่ 90 วันและจะต้องไปทำงานในตามปกติ จึงลองให้นมจากขวด ซึ่งกรณีศึกษาก็ยังคงร้องและไม่ยอมดูดนมจากขวด คุณอาของกรณีศึกษาอ่านบันทึกผมจาก GotoKnow.Org จึงติดต่อเข้ามานัดหมายที่คลินิกกิจกรรมบำบัด

ผมจึงต้องออกแบบโปรแกรมพร้อมๆกับการตรวจการพัฒนาระบบการดูดกลืนนมของกรณีศึกษา พบว่า ต้องเพิ่มปฏิกิริยาอัตโนมัติที่ควรมี คือ การสัมผัสมุมปากจะทำปากดูดได้ทันที (Rooting reflex) กับ การสัมผัสปลายลิ้นจะใช้ลิ้นดันและดูดได้ทันที (Suck-swallowing reflex) รวมทั้งมีการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กในการเคลื่อนไหวที่ช้าไม่สมวัย คือ ลิ้น ปาก ตา (เหม่อลอย) และมือไม่กำแน่น รวมทั้งร้องไห้มากเกินไปด้วยภาวะการสัมผัสที่น้อยเกินไป (Tactile Defensiveness) และเดิมเมื่อเด็กร้องแบบใดๆ ก็ตามคุณแม่จะให้นมจากเต้าเสมอจนลูกเรียกร้องและติดมากเกินไป

ดังนั้นผมจึงคิดบูรณาการข้อมูลต่างๆ เพื่อออกแบบโปรแกรมฝึกที่บ้านทุกเช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอนได้ดังนี้

  • ช่วงคุณแม่อยู่ก่อนออกไปทำงานเช้า ให้ลูกดื่มนมแม่จนอิ่มในกรณีที่ลูกร้องเสียงขึ้นลง อุ แว้ อุ แว้ ๆๆๆ (ไม่มีน้ำตาหรือมีเล็กน้อย - บ่งชี้ว่าหิว) อย่าให้นมแม่ในกรณีมีเสียงร้องคงที่ แว้ แว้ แว้ ๆๆๆ แต่ให้แม่อุ้มสัก 1 นาที จากนั้นคุณย่านั่งใกล้แม่พร้อมๆค่อยสอดมือสัมผัสกรณีศึกษาอุ้มครึ่งตัว คุณแม่ค่อยๆใช้มือลูบหน้าและปากลูกพร้อมๆ ค่อยอุ้มลูกส่งต่อไปให้คุณย่าอุ้ม อย่าดึงปากลูกออกจากเต้าทันที ค่อยๆแตะปากลูกแบบวนเป็นวงกลมแล้วดันปากลูกออกจากเต้าช้าๆ แม้ว่ากรณีศึกษาจะร้องบ้าง ก็อดทนและให้คุณย่าอุ้มต่อไปพร้อมให้แม่นำขวดนมใส่ปากลูกสัก 1 นาที แล้วเปลี่ยนมือเป็นคุณย่า สัก 1 นาที
  • ต่อด้วยการใช้นิ้วชี้กลางติดกันสัมผัสทีี่หน้าอกซ้ายของกรณีศึกษา กดเบาๆวนรอบหน้าอกเป็นการกระตุ้นสัมผัสที่หัวใจ ผู้กระตุ้นปล่อยใจสบายๆ ว่างเปล่า คิดบวกสื่อสารทางจิตระหว่างผู้กระตุ้นและกรณีศึกษาว่า "ทานนมนะ ๆๆๆ" สักพักจนกรณีศึกษาเบาเสียงร้องลงแล้วอุ้มพาดบ่าเดินช้าๆ จนเสียงร้องลดลงมากขึ้น (อาจหยุดร้องหรือไม่ก็ได้)
  • ต่อด้วยการจับกึ่งนั่งกึ่งนอนบนตักพร้อมประคองศรีษะ โยกตัวกรณีศึกษาจากนอนมานั่งอย่างเร็ว เพื่อกระตุ้นระบบการทรงท่าให้ตื่นตัวจากนั้น แล้วจากนั่งมานอนก็ให้ใช้ประกบปากกรณีศึกษากับขวดนมพร้อมใช้นิ้วชี้กระตุ้นกดบริเวณมุมปากซ้ำๆเบาๆ 10 ครั้ง (สังเกตว่ามีการดูดนมบ้างหรือไม่ ถ้าไม่ดูดก็นำขวดออกแล้วโยกขึ้นลงต่อไป ถ้าดูดก็ค้างไว้ 2 นาที) ทำแบบนี้ 3 รอบ
  • ต่อด้วยการจับนั่งสักพักแล้วกระตุ้นส่องไฟนิ่งเล็กสีแดงอ่อนผ่านตาทั้งสองข้างจนกรณีศึกษานิ่งหยุดร้องก็หยุดกระตุ้น (ได้ให้อุปกรณ์ไปเพราะตรวจไฟสีนีออน สีฟ้า สีเขียว และสีแดง กรณีศึกษาตอบสนองนิ่ง หยุดร้อง กับไฟสีแดง)  
  • ทั้งหมดข้างต้นถือเป็น 1 รอบใหญ่ในแต่ละมื้อ จากนั้นระหว่างไว้ก็ลองให้นมจากขวดเท่าที่เด็กจะดูดเวลาร้องหิวเท่านั้น หากเวลาที่ดูดนมเสร็จ ก็ให้พาดกรณีศึกษาก้มคอและก้มตัวพร้อมใช้มือหนึ่งประคองที่หน้าอก อีกมือทำเป็นอุ้งเคาะที่กลางหลัง (ห่างจากท้ายทอยประมาณ 1 ฝ่ามือ) รวม 3 ครั้ง 

รวมทั้งสาธิตและฝึกซ้อมผู้ดูแลทุกคนถึง 3 รอบจนมั่นใจว่าทำได้แน่นอน พร้อมนัดหมายอีก 2 อาทิตย์ เพื่อให้โปรแกรมได้พัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิผลก่อนกรณีศึกษาครบ 6 เดือน

และนี่คือเสียงสะท้อนจากคุณอาของกรณีศึกษาผ่าน Facebook 

"อาจารย์ ขอบคุณอาจารย์มากๆนะค่ะที่วันนั้นได้ตรวจและประเมินหลานให้ ทำให้ครอบครัวเรามีกำลังใจขึ้นเยอะเลยค่ะ แม่บอกว่า คนที่มหิดลใจดีจริงๆเดินไปที่ไหนก้อมีแต่คนดี พูดเพราะ แม้แต่แม้ค้าในโรงอาหารข้างๆคณะก็ใจดี จัดหาที่เย็นๆให้ได้นั่งทานข้าวกลางวัน เนื่องจากหลานตัวน้อยร้องไห้ไม่หยุด...ขอบคุณจากใจจริงค่ะ"

 

หมายเลขบันทึก: 564884เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2014 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2014 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านแล้วมีความสุข

เห็นด้วยกับคำพูดสุดท้ายครับน้องดร.Pop

คนที่มหิดลใจดี พูดไพเราะมาก

ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆครับ


... อ่านแล้วมีความสุขค่ะ .... แม่-ลูก จะได้ไม่ห่างกันนะคะ ขอบคุณ Dr.Pop ด้วยค่ะ

ขอบคุณมากๆครับพี่ขจิต พี่ดร.เปิ้น และพี่ดร.พจนา

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท