เพราะความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คือ ชีวิตของคุณ...???


 

จากข้อความใน Logo “ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)” ที่ว่า “It’s your life. Protect it.” ซึ่งเป็นคำเชิญชวนให้ทุกคนช่วยกันคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยเหตุที่มันหมายถึงชีวิตของทุกคน ทำให้ผู้เขียนสนใจศึกษาเรื่อง “ความหลากหลายทางชีวภาพ” อย่างจริงจังมากขึ้น และขอเชิญชวนกัลยาณมิตรทุกท่าน มาร่วมเรียนรู้และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อมกัน เพื่อชีวิตของพวกเราทุกคนและอนุชนคนรุ่นหลัง ตลอดจนเพื่อมนุษยชาติทั้งมวลในโลกใบนี้ ในการเขียนนั้น ได้อาศัยสารสนเทศ (Infornation) ที่สืบค้นออนไลน์จากหลายแหล่ง (ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ) แล้วนำมาสรุปประเด็นโดยขออนุญาตไม่ระบุแหล่งอ้างอิง เพราะไม่ต้องการให้เป็นบทความทางวิชาการ (สำหรับท่านที่มีความรู้ความเข้าใจและ/หรือได้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความหลากหลายทางชีวภาพ” อยู่แล้ว ถ้าจะกรุณาชี้แนะเพิ่มเติม จะเป็นพระคุณยิ่ง) 

 

อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

มนุษยชาติได้ให้ความสำคัญแก่ “ความหลากหลายทางชีวภาพ” มานับ 20 ปี ดังจะเห็นได้จากการจัดทำ “อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity : CBD)” ซึ่งได้รับการลงนามจาก  157 ประเทศ ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development : UNCED) มาตั้งแต่ปี 1992 (พ.ศ. 2535) สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ค่อนข้างช้า คือ หลังจากนั้นประมาณ 12 ปีจึงได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าว และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ในลำดับที่ 188 อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1)  เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2) เพื่อใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และ 3) เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม อนุสัญญาดังกล่าว เป็นที่ยอมรับกันในแวดวงของนักวิทยาศาสตร์ชีวภาพและนักกฎหมายระหว่างประเทศ ว่า เป็นความตกลงระหว่างประเทศฉบับแรก ที่ครอบคลุมทุกแง่มุมของความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งด้านการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ พันธุกรรม (สายพันธุ์) และระบบนิเวศ 

ในปี 2010 (พ.ศ. 2553) ญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมประเทศภาคีฯ 193 ประเทศ (ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สีเขียวในแผนที่ภาพบนกลาง) ดัง Logo การประชุมในภาพบนขวา กิจกรรมหลักของการประชุม คือการร่วมกันกำหนด "แผนยุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพ ปี 2011-2020" ซึ่งจากนั้นสหประชาชาติได้กำหนดให้ ปี 2011-2020 เป็น "ทศวรรษแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ" สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียอาคเนย์ และอาเซียนก็ได้มีการขับเคลื่อนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ดังที่แสดงในภาพล่าง  


 

กิจกรรมหลักของการประชุม คือการร่วมกันกำหนด "แผนยุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพ ปี 2011-2020" ซึ่งจากนั้นสหประชาชาติได้กำหนดให้ ปี 2011-2020 เป็น "ทศวรรษแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ" สำหรับกลุ่มประเทศเอเชียอาคเนย์ และอาเซียนก็ได้มีการขับเคลื่อนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ดังที่แสดงในภาพบน 

 

 ความหมายและระดับของความหลากหลายทางชีวภาพ

คำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ” เป็นศัพท์บัญญัติมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Biodiversity หรือ Biological Diversity” คำว่า “Diversity” หมายถึง มากมายและแตกต่าง คำว่า "Biological” หมายถึง ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต "ความหลากหลายทางชีวภาพ" จึงหมายถึง การมีสิ่งที่มีชีวิตนานาชนิด นานาสายพันธุ์ ในระบบนิเวศน์อันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก ความหลากหลายทางชีวภาพ มีทั้งความแตกต่างหลากหลายด้านชนิดพันธุ์ (Species) ด้านสายพันธุ์ (Genetic, Genes) และด้านระบบนิเวศ (Ecosystem) จากผลการสำรวจความรู้ความเข้าใจของชาวยุโรปในเดือนพฤษภาคม ปี 2010 (พ.ศ. 2553) พบว่า ประชาชน 34 % ตอบว่า ไม่เคยได้ยินคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ” และ 30 % ตอบว่า เคยได้ยินแต่ไม่รู้ความหมาย ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นห่วงว่า เมื่อคน 64 % ไม่มีความรู้แล้ว จะไปคาดหวังให้มีส่วนร่วมอนุรักษ์ “ความหลากหลายทางชีวภาพ” ได้อย่างไร    

ตัวอย่างที่แสดงถึงความหลากหลายทางชีวภาพทั้ง 3 ระดับ

ที่ฟาร์มและบ้าน “ไอดิน-กลิ่นไม้” ของผู้เขียน ที่ หมู่ 12 บ้านหนองฝาง ต.โพธิ์ใหญ่ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งทำเกษตรอินทรีย์แบบพอเพียง และปฏิบัติภารกิจ 5 ประการตามคำขวัญของฟาร์มที่ผู้เขียนกำหนดขึ้น ผู้เขียนเองได้รับผิดชอบภารกิจด้านสิ่งแวดล้อมตามคำขวัญท่อนสุดท้ายที่ว่า “ธำรงไว้สิ่งแวดล้อม” มาตั้งแต่ปี 2548 ที่ได้ตั้งฟาร์มขึ้น แต่ช่วงเวลาที่ยังปฏิบัติราชการ มีเวลาให้กับงานดังกล่าวไม่มากนัก หลังเกษียณอายุราชการและไปใช้ชีวิตที่ฟาร์มในปี 2556 จึงได้ทำจริงจังมากขึ้น “การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ” นั้น เป็นกิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งในภารกิจด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้เขียนได้เสาะแสวงหาและนำพันธุ์ไม้ต่างๆ ทุกประเภทไปปลูกที่ฟาร์ม ได้แก่ ต้นไม้/ดอกไม้ประจำจังหวัดทั่วประเทศ (ปัจจุบันปลูกไปแล้วเกือบ 50 ชนิด) นอกจากนั้น ยังได้รวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์กล้วย กล้วยไม้ ว่าน ลีลาวดี บอนสี (ราชินีแห่งไม้ใบ) โกสน ชวนชม โป๊ยเซียน เฟื่องฟ้า พืชผักสมุนไพร ไม้ป่า ไม้หายาก และไม้จากต่างถิ่น เป็นต้น (เป็นการทำตามความสนใจและอุดมการณ์ส่วนตัว ไม่ได้ทำเป็นธุรกิจ แต่ยินดีแบ่งปันและแลกเปลี่ยนกับทุกท่านที่มีความสนใจและอุดมการณ์ร่วมกัน) ดังตัวอย่างจากภาพประกอบบันทึกเมื่อ 7 เดือนที่ผ่านมาของผู้เขียน เรื่อง “ตามรอย ...พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” 

   

 

 ตัวอย่างระบบนิเวศน์ที่บ้านไอดินฯ ซึ่งประกอบด้วยความหลากหลายของชนิดสัตว์ป่าและชนิดพืช

ข่าวหนังสือพิมพ์คมชัดลึกออนไลน์ วันที่ 21 กรกฎาคม 2555 ซึ่งพาดหัวว่า “ฮือฮา! 'ค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ' ชาวตลาดอ่างทองฮือฮารุมถ่ายรูป 'ค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ' สัตว์แปลกหายากใกล้สูญพันธุ์" และมีสาระสำคัญว่า ในวันดังกล่าว ที่บริเวณตลาดเทศบาลเมืองอ่างทอง ประชาชนที่มาจับจ่ายซื้อของ ต่างยืนดูและถ่ายรูปค้างคาวประหลาด ที่ติดอยู่หน้ารถกระบะ และบอกเกิดมาไม่เคยเห็น ค้างคาวดังกล่าวมีขนาดเล็กมากน้ำหนักไม่เกิน 15 กรัม มีขนคลุมลำตัวยาวและปุย ด้านบนลำตัวสีส้มสด จนถึงสีแดงแกมน้ำตาล ที่ปีกสีส้มคาดดำ มีผู้บอกว่า เกิดมาจนอายุ 60 ปี เพิ่งจะเห็นเป็นครั้งแรก เจ้าของรถบอกว่า เมื่อคืนที่ผ่านมาระหว่างที่ตนขับรถอยู่ ค้างคาวดังกล่าวได้บินตัดหน้ารถ จึงถูกชนและติดอยู่กับกระจังหน้า หลังจากนั้น เจ้าของรถซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวได้ไปค้นหาข้อมูลและพบว่า ค้างคาวดังกล่าวมีชื่อว่า ‘ค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ’ เป็นสัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ส่วนผู้เขียนเองเคยอ่านพบองค์ความรู้ว่า "ที่ใดพบค้างคาวปีกผีเสื้ออยู่อาศัย แสดงว่า ที่นั่นมีระบบนิเวศน์ที่ดี" ที่ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ ก็เป็นที่ๆ พบค้างคาวปีกผีเสื้อ หรือ "ค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ "Painted Bats"  อยู่อาศัย จึงอาจบอกได้ว่า ฟาร์มไอดินฯ เป็นฟาร์มที่มีระบบนิเวศน์ที่ดี (ข้างล่างเป็นส่วนหนึ่งของภาพจากบันทึกที่ได้กล่าวไปแล้ว)

 

 

ความหลากหลายทางชีวภาพด้าน "ชนิดพันธุ์ของไม้ดอก" ที่ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ นำมาให้ดูเป็นตัวอย่าง 7 ชนิด 7 สี ตามสีประจำวันจากอาทิตย์ถึงเสาร์ คือ สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีแสด สีฟ้า และ สีม่วง ตามลำดับ

 

 

 

 

 

สหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 3 มีนาคมของทุกปี เป็น "วันพืช-สัตว์โลก (World Wildlife Day)" และได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวเป็นครั้งแรก โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ฺ"ฺBan Ki-moon" เลขาธิการสหประชาชาติได้ให้โอวาทในวันดังกล่าวว่า "ในการจัดงานวันพืช-สัตว์โลก เป็นครั้งแรกนี้ ขอให้พวกเราร่วมกันทำงานเพื่ออนาคต ที่คนและพืช-สัตว์ป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน และขอให้แต่ละประเทศจงทำธุรกิจด้านการค้าขายและใช้พืช-สัตว์ป่า ให้เกิดความยั่งยืนบนความเท่าเทียม" สำหรับผู้เขียนเอง ก็ได้มีกิจกรรมในวันดังกล่าว ดังที่ระบุในภาพบนและภาพล่าง

 

เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่า "ความหลากหลายทางชีวภาพ คือ ชีวิตของคุณ"

จากชื่อบันทึก "เพราะความหลากหลายทางชีวภาพ คือ ชีวิตของคุณ...???" ที่ว่า มันคือชีวิตของเรา มันเป็นอย่างไร ขอเฉลยแบบง่ายๆ ในตอนปิดท้ายบันทึกว่า ลองดูจากเรื่องใกล้ตัวของเรา คือเรื่อง "อาหารการกิน" ถ้าเรากินอาหารที่มีพืชผักผลไม้น้อยชนิด เราก็จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพน้อยอย่าง แต่ถ้าเรากินอาหารที่มีพืชผักผลไม้หลายชนิด เราก็จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากอย่างเป็นเงาตามตัว ดังเช่น ผัก 6 ชนิด ที่ผู้เขียนได้นำไปทำอาหารเลี้ยงพี่/น้องของตนเองนั้น "ดอกชมจันทร์" ให้ประโยชน์ คือ เป็นยาระบายอ่อนๆ เหมาะกับการควบคุมน้ำหนัก "แครอท" ช่วยบำรุงสายตาและชะลอความชรา "บรอกโคลี่" ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ และต้านมะเร็ง "หอมหัวใหญ" ช่วยลดความดันโลหิต และป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ "คื่นฉ่าย" ลดความดันโลหิตสูง และ "กระเทียม" ลดคอเลสเตอรอลและไขมัน เป็นต้น  

ทุกมื้ออาหารกลางวัน/เย็น ผู้เขียนจะกินผักมากมายหลายชนิด ทั้งผักที่ปลูก/เกิดเองที่ฟาร์ม และผักที่ซื้อจากตลาดในชนิดที่ปลูกเองไม่ได้ ผัก 6 อย่างที่กล่าวถึง นำไปทำอาหารที่เหมาะกับผู้สูงวัย (กว่าผู้เขียน 8-9 ปี คือ ผจก.ฟาร์มไอดินฯ และพี่สาวของผู้เขียน) คือ ทำผัดผักรวมมิตร และแกงจืดหมูสับผักรวม (แต่ทุกคนก็ทานด้วย และบอกอร่อยมาก พี่สาวขอนำผัดผักไปฝากลูกสาวด้วย) ส่วนน้องชายและผู้เขียนเองที่ชอบทานอาหารรสจัด ก็มีส้มตำมะละกอ-แครอท ลาบปลาตองปิ้งใบตอง ยำปลาทูหอม และอบปลาส้ม สำหรับตำฝักนุ่น ไม่ได้ทำเพราะไม่แน่ใจว่าจะมีใครทานเป็นไหม เพราะพี่และน้องเป็นคนเมือง (ภาพตำ 2 จานเป็นภาพเก่า ส่วนภาพผักทั้ง 6 ชนิดนำมาจากการสืบค้นทาง Internet) ผลไม้ก็มี แอปเปิ้ลป่า กล้วยน้ำว้า และส้ม เครื่องดื่มมีน้ำเปล่าและน้ำเม่าหลวง (สินค้า OTOP 4 ดาวของชุมชนใกล้เคียง ที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ปลูกชมจันทร์จำหน่ายดอกด้วย และผู้เขียนติดต่อขอซื้อไปปลูกที่ฟาร์มแล้ว แต่ยังหาโอกาสไปที่สวนไม่ได้) กล้วยก็อย่างที่รู้กัน คือ มีวิตามินเอบำรุงสายตา ส้มมีวิตามินซีที่ช่วยให้ผิวสวยกระจ่างใส และมีคอลลาเจนที่ช่วยให้ผิวยืดหยุ่น ฯลฯ สำหรับเม่าหลวงช่วยขับสารพิษ และเป็นยาอายุวัฒนะ ส่วนลูกแอปเปิ้ลป่า ยังไม่พบข้อมูลสรรพคุณ  ...จากที่กล่าวมา ถึงบอกว่า ความหลากหลายทางชีวภาพ คือ ชีวิต...ยังไงล่ะคะ

   

                                

ขอขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านที่กรุณาเข้ามาอ่าน มอบดอกไม้เป็นกำลังใจ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

หมายเลขบันทึก: 563261เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2014 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2014 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

มาร่วมเรียนรู้...ร่วมขับเคลื่อน “ธำรงไว้สิ่งแวดล้อม”...แม้ในมิติปัจเจกชนวงเล็กๆ...ในชีวิตประจำวัน...ขอบคุณค่ะ


คุณค่าที่แท้จริง... ของธรรมชาติ การศึกษา และสรรพสิ่ง

ล้วนหลากหลาย และงดงามเสมอ นะครับอาจารย์ ^_^

สรรพสิ่งตองพึงพากันนะคะ ... ต้นไม้ใหญ่และต้นหญ้า ...


อจ.แม่ สบายดีนะคะ

-สวัสดีครับอาจารย์แม่ไอดิน

-ตามมาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้ครับ..

-ความหลากหลายทางชีวภาพ""ความหลากหลายทางชีวภาพ"จึงหมายถึง การมีสิ่งที่มีชีวิตนานาชนิด นานาสายพันธุ์ ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก ความหลากหลายทางชีวภาพ มีทั้งความแตกต่างหลากหลายด้านชนิดพันธุ์ (Species) ด้านสายพันธุ์ (Genetic, Genes) และด้านระบบนิเวศ"

-วันนี้มีเม็ดตะกล่ำตาหนูมาฝากครับ

-ถือเป็นไม้ป่าที่หาดูได้ยาก...มีพิษร้ายซะด้วย..

-อาจารย์แม่ไอดินรู้จักไหมครับ?


จากอุดมการณ์ สู่การลงมือทำ จนเป็นรูปธรรมนะคะอาจารย์ ชื่นชมค่ะ

... ชอบดอกไม้สวยมาก ๆ ค่ะ หมากผีพวน ไม่ได้กินนานแล้ว มีอีกหมากนะคะ ได้กินบ่อยกว่า .... หมากน้ำนม

สุดยอดความรู้เลยจ้ะ ขอบคุณจ้ะพี่ไอดิน ฯ

จริงของอาจารย์แม่

บ้านเรามีความหลากหลายมาก

อยากให้ช่วยกันเก็บพันธุ์เก่าๆไว้

หลายพันธุ์หายากและน่าสนใจมาก

เอาหมากผีพวนมาฝากอาจารย์แม่ด้วยครับ

http://www.gotoknow.org/posts/124011

ขอบพระคุณ "พี่ใหญ่" มากนะคะที่มาให้กำลังใจน้อง

พี่ใหญ่บอกว่า "มาร่วมเรียนรู้...ร่วมขับเคลื่อน 'ธำรงไว้สิ่งแวดล้อม' ...แม้ในมิติปัจเจกชนวงเล็กๆ...ในชีวิตประจำวัน..." น้องว่า สิ่งนั้นแหละนะคะ ที่สำคัญที่สุด ขอเพียงทุกคนมีจิตสำนึกที่จะช่วยกัน โดยนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันของตน เมื่อรวมกันหลายคน เป็นชุมชน เป็นเมือง เป็นภาค เป็นประเทศ ก็จะกลายเป็นพลังมหาศาล ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมโดยรวมดีขึ้นได้ นะคะ

ขอบคณมากนะคะ สำหรับดอกไม้กำลังใจจาก "อ.นุ" และขอบคุณแนวคิดที่นำมาแลกเปลี่ยน

"คุณค่าที่แท้จริง... ของธรรมชาติ การศึกษา และสรรพสิ่งล้วนหลากหลาย และงดงามเสมอ"

ขอบคุณดอกไม้กำลังใจจาก "Dr.Ple" รวมทั้งแนวคิดดีๆ พร้อมภาพประกอบ ที่นำมาแลกเปลี่ยนนะคะ ใช่อย่างที่ "Dr.Ple กล่าว ค่ะ "สรรพสิ่งต้องพึ่งพากัน ... " ดังพระราชนิพนธ์ของพระมหาธีรราชเจ้า "เสือพีเพราะป่าปก และป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี"

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับดอกไม้กำลังใจจาก "คุณครู Kanchana Muangyai"

ดีใจค่ะที่คุณครูชอบดอกแก้วมังกร ตอนตี 4-5 คืนเดือนหงาย ช่วงที่แก้วมังกรออกดอกดกมากๆ มองไปจะเห็นดอกแก้วมังกรละลานตาไปหมด สวยงามตื่นตาตื่นใจจริงๆ

ขอบคุณ "คุณเพชรน้ำหนึ่ง" มากนะคะ ที่มาร่วมเรียนรู้เรื่อง "ความหลากหลายทางชีวภาพ" และนำ "เม็ดมะกล่ำตาหนู" มาฝากอาจารย์แม่ไอดินฯ อาจารย์แม่รู้จักดี เพราะเป็นอุปกรณ์สำหรับ "เล่นขายของ" ของอาจารย์แม่ กว่าห้าสิบปีมาแล้ว

อาจารย์แม่ชอบ "ผักสาบ" มากกว่าค่ะ และจะขอนำไปอ้างอิงบันทึกต่อไปของ Blog "Nature Lover" ด้วยนะคะ (ไม่เคยเห็นผักชนิดนี้ค่ะ) จะลองไปสอบถามชาวบ้านค่ะ ว่า รู้จักไหม

เมื่อวาน อาจารย์แม่ขับรถพาผู้เฒ่าผู้แก่ ไปร่วมงานแต่งงานของลูกชายคนบ้านติดกับบ้านไอดินฯ (อายุแค่ 18 ปี) ที่ อ.สว่างวีรวงศ์ ช่วงที่แห่ขันหมาก อาจารย์แม่ไปเจอสมุนไพรที่เจ้าของบ้านบอกว่า ชื่อ "หนวดปลาหมึก" แต่ค้นจาก Internet ไม่เจอค่ะ คุณเพชรฯ รู้จักไหมคะ อีกอย่างที่เป็นลูกแดงๆ เจอที่ถูกตัดทิ้งข้างรั้ว ที่ไม่มีบ้านคนเลยไม่ได้ถามค่ะ ถ้ารู้จักช่วยบอกด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ "ทพญ.ธิรัมภา" มากนะคะ ที่เข้ามามอบปิยวาจา เสริมสร้างพลังใจ... "จากอุดมการณ์ สู่การลงมือทำ จนเป็นรูปธรรมนะคะอาจารย์ ชื่นชมค่ะ... ชอบดอกไม้สวยมาก ๆ ค่ะ หมากผีพวน ไม่ได้กินนานแล้ว มีอีกหมากนะคะ ได้กินบ่อยกว่า .... หมากน้ำนม" ที่บ้านไม้ชายทุ่งของคุณหมอ ดูจะมีความหลากหลายของสัตว์มากกว่าบ้านไอดินฯ อีกนะคะ ดังภาพจากบันทึกเรื่อง "สวนสัตว์บ้านเรา" และเรื่อง "มีความผูกพัน มีความหมาย มีคุณค่า มีความสุข"

ประทับใจข้อความในบันทึกเรื่อง "สวนสัตว์บ้านเรา" ของคุณหมอค่ะ เพราะสามารถอธิบายถึง "ความหลากหลายทางชีวภาพ" และ "ระบบนิเวศน์" ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ "...สัตว์เติบโตตามที่ได้เรียนรู้จากพ่อแม่เผ่าพันธุ์ เกื้อหนุน สัมพันธ์เชื่อมโยงทางหนึ่งทางใดและหลายทาง กับสัตว์ด้วยกัน กับต้นไม้ ใบหญ้า ดิน น้ำ แสงสว่าง ลม ฟ้า อากาศ ความชื้นฯ สัตว์จากป่าเติบโตมาเรียนรู้ไปกับคน เชื่อมสัมพันธ์ เรียนรู้อยู่ด้วยกัน ศึกษากันและกัน ราต่างเป็นส่วนของสวนสัตว์เปิดขนาดใหญ่ ใช้ชีวิตเชื่อมสัมพันธ์นอบน้อมกับสิ่งรอบตัว ยินดีที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ระบบนิเวศน่าอยู่รอบบ้านของเรา"

....บันทึกของคุณพี่ผศ.วิไล ...บอกเล่าเรื่องราว ความผูกพัน มีความหมาย มีคุณค่า ของสิ่งมีชีวิตมีทั้งพืชพันธุ์นานาชนิด และสรรพสัตว์ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ...เป็นบันทึกที่งดงาม อ่านแล้วมีความสุขมากค่ะ...มีต้น American Holly จากเมือง Kelowna มาฝากค่ะ

มาอีกรอบ

เอาผักอีนูนที่ดองมาฝากครับ

พร้อมตารางการทำมะนาวนอกฤดูครับ

ขอบคุณ "น้องมะเดื่อ" มากนะคะ ที่มาให้กำลังใจพี่ไอดินฯ

และขอบคุณที่นำเที่ยวทองผาภูมิพร้อมมีภาพสวยๆ มาฝาก พี่ขอนำภาพและเรื่องราวของเม็ดสะบ้าไปอ้างอิงด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ "ลูกขจิต" มากนะคะ สำหรับน้ำใจที่มีให้อาจารย์แม่มาตลอด

อาจารย์แม่ปริ๊นท์ปฏิทินการทำมะนาวนอกฤดูให้พ่อใหญ่สอแล้วค่ะ

ผักอีนูนดองน่าทานมากนะคะ ไม่ทราบว่าแถวบ้านที่ตั้งฟาร์มจะมีไหม ยังไม่ได้สอบถามจากชาวบ้านค่ะ

ขอบคุณ "น้อง ดร.พจนา" มากนะคะ สำหรับปิยวาจาเสริมสร้างพลังใจ "บันทึกของคุณพี่ผศ.วิไล ...บอกเล่าเรื่องราว ความผูกพัน มีความหมาย มีคุณค่า ของสิ่งมีชีวิตมีทั้งพืชพันธุ์นานาชนิด และสรรพสัตว์ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ...เป็นบันทึกที่งดงาม อ่านแล้วมีความสุขมากค่ะ.." พี่เองก็มีความสุขมากนะคะ ที่ได้เข้าไปชมสวนสัตว์ธรรมชาติจากบันทึกต่างๆ ของน้อง อย่างเช่น เรื่อง "Hooded Merganser เป็ดหุบเขา" (http://www.gotoknow.org/posts/562758)...และขอบคุณสำหรับต้น "American Holly" จากเมือง Kelowna ที่น้องนำมาฝากนะคะ บันทึกต่อไปน่าจะได้นำไปอ้างอิงค่ะ

เป็นเนื้อหาที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า ครูหยินขออนุญาตนำไปใช้เป็นสื่อประกอบการสอนเรื่องความหลากหลายทาง

ชีวภาพและสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ..กำลังจะเปิดในภาคเรียนหน้าค่ะขอขอบพระคุณมากจริง

บ้านครูหยินเรียกว่า กล้วยมูสังค่ะ ปลูกไว้ที่สวนไอดินกลิ่นป่าเหมือนกันค่ะ

ขอบคุณ"ครูหยิน" มากนะคะ ที่มอบดอกไม้เป็นกำลังใจ คุณครูบอกว่า "เป็นเนื้อหาที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า ครูหยินขออนุญาตนำไปใช้เป็นสื่อประกอบการสอนเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ..กำลังจะเปิดในภาคเรียนหน้าค่ะ" ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ ถ้าบันทึกใดๆ ของไอดินฯ จะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา แต่บันทึกนี้ไม่ได้อ้างอิงที่มาเพราะไม่อยากให้เป็นงานเขียนเชิงวิชาการมากไป คุณครูคงต้องสืบค้นเพิ่มเติมสักหน่อยนะคะ (เท่าที่อ่านบันทึกของคุณครูย้อนหลัง เข้าใจว่าคุณครูคยสอนวิชาดังกล่าวมาแล้ว)

ขอบคุณมากนะคะ ที่ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากว่า ชื่อ "บักพิพวน" แถวบ้านคุณครู จะเรียกว่า "กล้วยมูสัง" เคยอ่านเจอชื่อนี้ แต่เพิ่งรู้ว่าเป็นชนิดเดียวกับบักพิพวนของทางอีสาน ต้นที่ฟาร์มไอดินฯ ไม่ได้ปลูกนะคะ เป็นต้นไม้เกิดเอง ช่วงยังไม่เกษียณ มีเวลาอยู่ที่ฟาร์มไม่นานเลยยังไม่ได้สำรวจ พอเกษียณมีเวลาอยู่ที่ฟาร์มตลอด เลยมีโอกาสสำรวจมากขึ้นเลยพบต้นดังกล่าวค่ะ

ไอดินฯ ชอบกิจกรรมและระบบนิเวศน์ที่ "บ้านสวนไอดินกลิ่นป่า" ของคุณครูมาก ดูเหมือนจะมีลำธารด้วยหรือเปล่าคะ และชอบน้ำพริกมะอึกมากค่ะ จะขออนุญาตคุณครูนำภาพข้างล่าง ไปประกอบบันทึกต่อไปด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขอขอบคุณกัลยาณมิตรทั้ง 4 ท่าน ที่กรุณามอบดอกไม้เป็นกำลังใจให้กับไอดินฯ...และขอบคุณภาพพันธุ์ไม้จากบันทึกของท่าน ผอ.ชยันต์ คำถามถึงชื่อพันธุ์ไม่จากครูมะเดื่อ และคำตอบจากคุณเพชรน้ำหนึ่ง ด้วยนะคะ

  • สวัสดีครับ อาจารย์แม่ ที่เคารพ
  • ค่ายอาสา ปี 2557 มีกิจกรรมปลูกป่าด้วยครับ
  • ซึ่งกระผมได้วางแผนกันไว้ว่าจะไปปลูกป่าที่ จ.เพชรบุรี
  • เป็นแนวอนุรักษ์ธรรมชาติ แล้วจะนำภาพกิจกรรมอาสาสมัครญี่ปุ่น - ไทย มาฝากครับ

ขอบคุณ "ว่าที่ครูอาร์ม" มากนะคะ ที่มาให้กำลังใจอาจารย์แม่ เดือนนี้ก็จะสำเร็จการศึกษาแล้วสินะคะ แต่กิจกรรมจิตอาสาก็ยังทำอยู่เหมือนเดิม อาจารย์แม่ชอบโครงการสร้างโรง (เรือน) เพาะชำรวบรวมพันธุ์ไม้ค่ะ (หวังว่าจะไม่ตัดต้นไม้ที่เห็นออกนะคะ) สระบัวก็สดชื่นสวยงามชุ่มเย็นชอบจริงๆ ค่ะ

แล้วจะติดตามกิจกรรมที่ รร.ตลาดเกาะแรต และกิจกรรมปลูกป่าที่เพชรบุรีนะคะ

สวัสดียายไอดินฯ

ป๋าเดหายไปนานมากพึ่งกลับเข้ามาให้กำลังใจยายไอดินนะ.......

แวะมาใหม่...อยากกินบักพีพวนจัง......

กราบสวัสดีครับอาจารย์แม่ หายไปหลายวัน เพราะเริ่มมีงานให้ได้ช่วยเหลือๆ หลายๆ ด้าน ทั้งงานวัด งานด้านสมาคมฌาปนกิจฯ และงานด้านการฟื้นคืนป่าชุมชนต้นน้ำที่จุดกระแสให้เกิดการตื่นตัวของชาวบ้าน...

และตอนนี้ก็เริ่มจะเป็นรูปธรรมขึ้นมาบ้างแล้วในด้านโครงการ เนื้อที่ป่าต้นน้ำ(ประปา) ประมาณ ๑๐ ไร่ ที่มีแนวคิดเหมือนของอ.แม่ที่จะสร้างให้เป็นศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพของหมู่บ้าน ผ่านการเจรจากับเจ้าของที่และผู้บุกรุกได้แล้ว แต่ยังขาดทุนทรัพย์หรือปัจจัยจำนวนมากพอสมควร เหมือนกับการขายคืนให้หมู่บ้านในราคาถูกน่ะครับ...

กำหนดที่จะปลูกป่ากันช่วงเข้าพรรษา ตอนนี้ก็เตรียมขอรับการสนับสนุนโครงการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยทางผมกับเพื่อนที่ปลุกกระแสได้นำแนวทาง ไม้ ๓ อย่างประโยชน์ ๔ ประการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นหลักในการฟื้นคืนป่าในครั้งนี้ อาจารย์แม่มีสิ่งใดที่จะเสนอแนะหรือให้ข้อคิดเห็นบ้างครับ...

ผมยังรอเอกสารการปลูกผักเลี้ยงปลาอยู่เหมือนเดิมนะครับ อิอิ แบบว่าเกรงใจสุดๆ เลย...อีเมลที่ [email protected] ที่อยู่ที่บ้าน 242 หมู่ 7 ต.บ่อทอง อ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิถต์53230 ครับผม...

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่หลากหลายและอีกหลายๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างมากครับผม

I have a theory : "more diversity --> more availability (in quantity and in variety of materials including DNAs, processes (including transportation, transmation and both destruction and creation), and 'driving forces". And in reverse: "more availability --> more diversity (due to more connections in the webs of relationships -- in number and in complexity).

Where I live, I have a small area for cultural practices (ie. farming) and I leave a large area to Nature. I have been gathering data to compare 'my actions' and natural actions. In short term humanistic view, I say I have increased diversity (but if I don't continuously input --work-- into my area --like in the drought in last few months, my little area sufferred a lot more than the larger natural area,) So, I ask myself now 'should I leave everything to Nature?' I don;t have a reasonable answer yet ;-)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท