สมุนไพร...พอเพียง


ในการนี้ ใช้เวลาหมดไปทั้งสิ้นราว ๓ ชั่วโมง ได้ทั้งวิชาภาษาไทย ศิลปะ การงานอาชีพ(เกษตร) สำคัญที่สุด คือ วิชาทักษะชีวิต..ที่ไม่มีในตำรา แต่เด็กได้เต็มๆ

สี่วันแล้ว ได้สอนชั้น ป.๕ ทุกสาระวิชา รู้สึกว่าวันเวลาจะผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน กลัวเด็กจะอึดอัด จึงคั่นเวลาด้วยเพลงประกอบท่าทางโดยใช้เพลง..แมงมุมลายตัวนั้น ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน วันหนึ่งมันถูกฝน ไหลหล่นจากบนหลังคา......ฯลฯ ให้นักเรียนออกแบบท่าทางเป็นรายบุคคล แล้วออกมานำเสนอ ตามด้วยแสดงท่าทางเป็นกลุ่ม..แค่นี้เด็กก็คิดกันสนั่นหวั่นไหว ใช่ว่า.....การสอนคิดวิเคราะห์จะยากเย็นเข็ญใจ..ก็หาไม่

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ที่เนื้อหามาก มีความจำกัดด้านบุคลากรและสื่อ/อุปกรณ์ การสอนแบบ"บูรณาการ"จะเป็นตัวช่วยที่ดีมีความเหมาะสมมากกว่าวิธีอื่น ผมทดลองมาหลายครั้ง จนมีประสบการณ์ฝังลึกและพร้อมนำออกมาใช้ ให้คุณค่าทางจิตใจในแง่ความสุขที่ได้สอน สังเกตนักเรียนก็มีความพร้อมในการเรียนรู้เช่นเดียวกัน

ศาสตร์แห่งบูรณาการมีความหลากหลาย เท่าที่พบ ครูยังใช้ไม่แพร่หลาย ส่วนหนึ่งเกิดจากครูยังติดอยู่กับ "ห้องเรียน" และ "แผนการเรียนรู้" การจะเริ่มต้นบูรณาการได้ ต้องเริ่มที่ใจ "คิดนอกกรอบ"และหลุดจากพันธนาการเก่าๆ ขณะเดียวกันแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนต้องพร้อมด้วย

วันนี้..ผมจึงพานักเรียนไปที่สวนสมุนไพร ที่มีความสดใสน่าเข้าชม แต่พอเดินไปใกล้ๆก็จะพบต้นโสมขึ้นรกเต็มไปหมด ถามนักเรียนว่า เราจะตกแต่งสวนอย่างไรดี ให้สวนสมุนไพรนี้น่าเที่ยวชม..นักเรียนก็อภิปรายกันยกใหญ่

บทสรุปก็คือ ทุกคนลงความเห็นว่า ขนอิฐบล๊อกเก่าๆ มาวางเรียงต่อกัน ให้มองดูคดเคี้ยวไปมา และตลอดเส้นทางที่ใช้เดิน จะต้องถากหญ้าและดึงต้นโสมออกไปบ้าง จะได้ดูสวยงาม เป็นระเบียบและปลอดภัย

เสร็จสรรพ..ผมก็ให้นักเรียนนำความคิดที่ออกแบบและจัดสวน มาวาดรูปลงในกระดาษ สามารถคิดเพิ่มเติมได้ ว่าอยากเห็นอะไรในสวนสมุนไพร ระบายสีตามใจชอบ.... จนถึงชั่วโมงสุดท้าย ได้เวลาสรุปกันแล้ว

ให้นักเรียนเขียนกลางหน้ากระดาษว่า ...เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง..แหล่งเรียนรู้..สวนสมุนไพร..โดยให้นักเรียนเขียนอธิบายเชื่อมโยง ตรงประเด็น สามห่วง สองเงื่อนไข เท่าที่ประมวลมา...นักเรียนเขียนได้ดังนี้

ความพอประมาณ.....โรงเรียนมีพื้นที่ไม่มาก /สวนสมุนไพรไม่ต้องใหญ่ ปลูกแต่สมุนไพรที่สำคัญ/อนุรักษ์สมุนไพรท้องถิ่นไว้(ย่านาง)

ความมีเหตุผล.....สมุนไพรมีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน /กินได้ ใช้บำรุงร่างกาย ใช้รักษาโรค /ปลูกไว้เพื่อศึกษาหาความรู้

ภูมิคุ้มกัน.....สวนสมุนไพร ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่นเย็นสบาย ลดภาวะโลกร้อน/ไม่ใช่สารเคมี การใช้สมุนไพร ช่วยให้ประหยัด/ บางชนิดจำหน่ายได้

ความรู้....นักเรียนได้ความรู้เกี่ยวกับชนิดและวิธีการปลูกพืชสมุนไพร เข้าใจสรรพคุณ /รู้วิธีการปรุงเป็นอาหาร/การแปรรูป

คุณธรรม.....นักเรียนได้ทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือกัน มีความเสียสละ ทำงานด้วยความอดทน/ทำงานอย่างรอคคอบเป็นระเบียบเรียบร้อย

ในการนี้ ใช้เวลาหมดไปทั้งสิ้นราว ๓ ชั่วโมง ได้ทั้งวิชาภาษาไทย ศิลปะ การงานอาชีพ(เกษตร) สำคัญที่สุด คือ วิชาทักษะชีวิต..ที่ไม่มีในตำรา แต่เด็กได้เต็มๆ

หมายเลขบันทึก: 549389เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2013 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2013 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

-สวัสดีครับ

-การเรียนการสอนแบบนี้นักเรียนคงชอบและได้เรียนรู้พร้อมๆ กับการปฎิบัติ..

-มาเป็นกำลังใจและนำ"ลูกกล้วยเต่า"มาฝากครับ..

 

มาเชียร์วิธีการสอนของอาจารย์ค่ะ

ชอบเส้นทางเดินทางเลยครับ

ปกติผมใช้เพลง ทะเลแสนงาม กับ ดอกลั่นทม 5555

มีความรู้สึกว่านักเรียนชอบกิจกรรม นิสิตที่มหาวิทยาลัย บอกว่านักเรียนที่โรงเรียน ผอ.กล้าตอบ กล้า พูด กล้าถามตลอดเวลา

ขอบคุณครับ

การเรียนรู้ที่มีส่วนร่วมมีคุณค่ามากที่สุดของชีวิตการเรียนรู้

เพราะจะสร้างคุณค่า..ให้กับตัวนักเรียนเอง

เข้าใจอย่างลึกซึ้ง มีความสุข และความภาคภูมิใจ

เป้นวิธีการเรียนที่ยอดเยี่ยมมากค่ะ

ชื่นชมการเรียนรู้ดีๆเช่นนี้มากค่ะ..ตาดู..มือสัมผัส..จดจำด้วยการวาดภาพ..เห็นความใส่ใจจริงๆ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท