การเรียน "ธรรมบัญญัติ" จากเล็กไปใหญ่ ง่ายกว่าจากใหญ่ไปเล็ก


ถ้าใครมาถามผมตอนนี้ว่า "การศึกษาธรรมะ" (ระดับธรรมบัญญัติ) เพื่อชีวิต (มิใช่เพื่อการสอบเลื่อนขั้น) นั้น

ควรจะเริ่มตันอย่างไร จึงจะพัฒนาตัวเองได้เร็ว ไม่เสียเวลาย้อนไปย้อนมา มากจนเกินไป

ผมคงตอบว่า...............

ให้เริ่มต้นที่ "องค์ธรรม" ในคัมภีร์ปัฏฐาน

เพราะเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของคัมภีร์อื่นๆทั้งหมด
 
เช่นเดียวกับการเรียนตารางธาตุ (periodic table) ในวิชาเคมี
ที่เป็นฐานให้วิชาเคมีอื่นๆได้ทุกวิชา และยังเป็นฐานให้กับวิชาชีววิทยาอีกทุกแขนงอีกด้วย

แต่ถ้าไปเรียนวิชาเคมี ชีวะต่างๆ โดยยังไม่รู้จักธาตุต่างๆ ผมว่าน่าจะสับสนมึนงงอย่างแน่นอ

ดังนั้นตอนนี้ผมไปศึกษาคัมภีร์ไหน ก็พบว่า......

มีแต่อ้างกลับมาหาองค์ธรรม ที่ผมพอจำได้อยู่แล้ว จึงฟังรอบเดียวก็พอเข้าใจไปเลย

และเรียน "ธรรมบัญญัติ" ต่างๆได้อย่างรวดเร็วมากกว่าที่คิด

ใช้เวลาเดือนกว่าๆ เท่านั้นเอง

ตอนนี้กำลังอยู่ที่ "ปฏิจจสมุปบาท" (ครึ่งทางแล้ว) ที่เชื่อมโยงกับ "กัมมัฏฐาน" (เน้นวิปัสสนา) นิดหน่อย

พร้อมๆกัน ก็ยังแอบไปเปิดดู "วิสุทธิมรรค" และ "วิภังคปกรณ์" แบบอ้างอืง เมื่อมีประเด็นพาดพิง นิดหน่อย

ใครสนใจ แต่ไม่เชื่อ ขอให้ลองดูเลยครับ

ดี และ พัฒนาชีวิตได้ง่ายที่สุดครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ
หมายเลขบันทึก: 549386เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2013 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตอนวัยเด็กไม่มีโอกาสสนใจก็ตอนวัยนี้ล่ะค่ะ

แต่ไม่เป้นไรยังไม่สาย....

แต่ก้อเสียดายที่ไม่ได้ปลูกฝังลูก

เพราะลูกโตเป็นสาวซะแล้ว

แต่ก้อชักจูงและพยายามอยู่ค่ะ

นายฤทธิกร ชอบทำทาน

เริ่มงงครับ แต่ผมขอยึดหลัก ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เอาใว้ก่อนใด้ใหมครับคือหัวช้าครับ ขอบคุณครับ

แสดงว่ายังไปอ่านที่ผมตอบไว้ในเฟส ว่า...............

 

 

มีเพื่อนท่านหนึ่งมาแอบแซวเล่นๆ ว่า............

(การศึกษาธรรมะ) อาจารย์ยังยากแล้วศิษย์จะไปใด้ใหมเนี่ย ขอบคุณครับ

ผมเลยตอบแบบ "จริงๆ" ว่า...........

ก็ผมใช้เวลาคลำหาทางอยู่นาน จนพบและชี้ทางให้แล้ว
คนที่เดินตามก็น่าจะง่ายกว่าเดิม ที่มองทางไม่ออกครับ

(และผมทราบว่าเขาเป็นคน "ชอบทำทาน" จึงแซวกลับไปว่า...)...

ที่สำคัญ
1. ควรพัฒนา ( ลด ละ เลิก)จากการ "ชอบทำทาน" (ที่มักสะสมกิเลส) ไปสู่การ "ทำบุญ" (สละกิเลส) และ
2. การสร้างกุศล มหากุศล (ชำระจิตใจให้แจ่มใส ห่างไกลจากความเข้าใจผิดต่างๆ) แบบใช้สัมมาสติ และปัญญาร่วมด้วยกับการละสิ่งที่เป็นอกุศลต่างๆ

ก็จะพัฒนาตัวเองได้อย่างถูกต้อง

เร็วกว่าผมแน่นอน
(เพราะ "ชอบทำทาน" อยู่แล้ว และตอนนี้ก็รู้แล้วว่าการทำบุญ ดีกว่าการทำทาน และการสร้างกุศล ดีกว่าการทำบุญ ฯลฯ)

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

"การทำบุญ" ที่ตรงตามความหมายจริงๆ ของศาสนาพุทธนั้น
ต้องเกิดมาจากในจิต หรือระบบคิดพื้นฐาน ที่ "มีเจตนาต้องการละจาก" สิ่งที่นำไป "ทำบุญ" เหล่านั้น

มิได้เกิดจากการบีบบังคับ ขอร้อง เกรงใจ ความสงสาร หรือหวังผลตอบแทน สิ่งแลกเปลี่ยน ผลประโยชน์ต่างตอบแทนใดๆทั้งสิ้

และแน่นอน ผลตอบแทนที่ว่านี้ รวมถึง ไม่อยากได้แม้แต่ "บุญ" (ที่มักเข้าใจว่าเป็นสิ่งตอบแทนในระบบจิตใจ) "กุศล" "ชื่อเสียง" หรือ "วาสนา" หรือ "บารมี" ใดๆ

มิเช่นนั้น อาจจะได้แค่การทำทาน (การช่วยอนุเคราะห์ผู้อื่น) หรือ สะสมกิเลสอีกแบบหนึ่ง เท่านั้น

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

Reading the title and seeing the word ธรรมบัญญัติ -- for a moment I had a thought that you had turned to Christian because ธรรมบัญญัติ is used quite often to mean "the 10 Commandments".

Thank you for your advice and some "new vocabulary" for learning Buddhism.

And yes most people think of ทำบุญ as making instalments or paying a bit for (an admission ticket to) heavens. Many people also think that giving to monks (more than they need -- by the Vinaya) will better-ensure that they gain บุญ. (So we have big decorated buildings in wats surrounded by rundown buildings belonging to people who are ready to depart the world and go into heavens.

Sorry! You are talking about learning dhamma by oneself. But I am talking anout learning dhamma "at large" (as in school or in environment). A day will come (or have gone?) when people honestly practice the 5 siila then ทำบุญ -- rather than ทำบุญ so that they can wipe clean any break of the siila.

But what is more important? If ทำบุญ makes us happy ;-) 

ความสุขมีหลายระดับครับ ขึ้นอยู่กับระดับของ "จิต" ของแต่ละคน

ทำทาน ได้ช่วยผู้อื่น (หวังผลบุญ สร้างการยอมรับในสังคม ฯลฯ ที่สะสมกิเลสอย่างหนึ่ง) ก็อาจจะใช่ สำหรับบางคน

ทำบุญ สะสมกิเลสแบบละเอียด บางคนก็คิดว่าใช่

(ที่ทั้งสองแบบกลายเป็น "เหยื่อ" ของระบบการ "สะสมทรัพย์" ให้กับ "ระบบธุรกิจ" ที่ปะปนในวงการศาสนา)

และกำลังกัดกร่อนศรีทธา เกิดความเสื่อมสลายอย่างรุนแรงในวงการศาสนาพุทธ ในปัจจุบัน)

 

ผมจึงพยายามชี้ตรงนี้เป็นเจตนาแฝง ที่ท่านคงจะพออ่านออกนะครับ

ผมจึงพยายาม "แจงประเด็น" หลักพุทธให้ชัด คนจะได้ไม่หลงประเด็น "ของแท้" และ "ของเทียม"

จึงพยายามทำหน้าที่ในฐานะ "พุทธศาสนิกชน" ที่จะชลอความกัดกร่อนตรงนี้ลงครับ

 

ทั้งหมดก็มีประมาณนี้ เท่านั้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท