ตำบลแห่งการเรียนรู้


ครูกศน.เกาะคาลงสู่สนามจัดสร้างตำบลแห่งการเรียนรู้ในพื้นที่ตำบลที่รับผิดชอบหลังจากได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงมาเป็นเวลา 1 ปีในตำบลนำร่อง(ใหม่พัฒนา)
  • วันที่ 5 ตุลาคม  2549 ศบอ. เกาะคา ได้วางแผนการปฏิบัติงานตามนโยบายการดำเนินงานกศน. 2550 ร่วมกับครูกศน.ทุกตำบล ในปี งบประมาณ 2550 นี้ ได้มอบหมายให้ครูทุกคนอยู่ประจำศูนย์การเรียนชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในตำบลให้เป็นตำบลแห่งการเรียนรู้ พัฒนารื้อฟื้นศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และขยายแหล่งเรียนรู้ในชุมชนอย่างน้อย 4 แห่งในแต่ละตำบล โดยใช้ประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงที่ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ในตำบลนำร่องมาประยุกต์ใช้ในการทำงานศูนย์การเรียนชุมชนของตนเอง และนำแนวคิดการดำเนินงานครูกศน. แนวใหม่มาใช้ ภายใต้ Logo กศน. เพื่อนเรียนรู้
  • จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้กระบวนการทำงานดังนี้
    • การยกระดับประชากรวัยแรงงาน ครู จะดำเนินการตามยุทธศาตร์ที่ 1 ลุยถึงที่ทุกหมู่บ้าน โดยนำแบบสำรวจที่ได้ดำเนินการสำรวจปีที่ผ่านมามาสำรวจใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้วิธีเคาะประตูบ้าน, พบผู้นำ แกนนำในหมู่บ้าน ประธานกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน โดยแนะแนวในเรื่องการศึกษาต่อพร้อมทั้งด้านการพัฒนาอาชีพควบคู่กันไป การศึกษาต่อมีทางเลือกหลากหลาย 7 แบบได้แก่
      • 1.เทียบโอนประสบการณ์ สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ผ่านการอบรมด้านต่างๆ รวมทั้งการศึกษาดูงาน แล้วนำมาสะสมไว้ในสมุดสะสมความรู้ เพื่อทำการเทียบโอนในหมวดวิชาที่สามารถเทียบโอนได้ หมวดวิชาที่เหลือที่ไม่สามารถเทียบโอนได้ให้จัดลงทะเบียนเรียนต่อไป
      • 2.การเรียนรู้รายบุคคล สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาว่าง ไม่สามารถมาพบกลุ่มได้ วิธีการเรียนเหมือนกับการพบกลุ่มตามปกติ แต่มาพบครูเป็นรายตัวต่อตัว ในช่วงเวลาที่ครูกับผู้เรียนว่างตรงกัน โดยวางแผนการเรียนรู้ด้วยกันไว้ตลอดทั้งภาคเรียน และครูจัดทำแฟ้มสะสมงานรายบุคคลไว้
      • 3.การเรียนรู้ด้วยตนเอง คือผู้เรียนมาสอบสะสมในสาระที่ตนเองมีความพร้อมได้โดยไม่ต้องมีการเรียนการสอน แต่ครูกับผู้เรียนมีการวางแผนร่วมกันในการสอบเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน และมีการติดต่อสิ่อสารกันทั้ง 2 ทาง โดยทางศบอ.จะเป็นผู้จัดทำเครื่องมือในการสอบเทียบสะสมความรู้
      • 4.การเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิต โดยใช้ชุมชนเป็น ฐาน โดยใช้รูปแบบทุ่งขามโมเดล จัดเป็นหน่วยการเรียนรู้ ตามความต้องการของผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายนี้เน้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านอาชีพ พัฒนาชุมชนสังคม สุขภาพอนามัย นำเอาความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง การเรียนการสอนวิธีนี้ก็จะนำไปบูรณาการในการจัดกิจกรรม ทักษะชีวิต พัฒนาชุมชนและสังคม พัฒนาอาชีพ แก้ปัญหาความยากจนรายบุคคล พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
      • 5.การพบกลุ่มตามปกติ คือมาพบทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิตแบบหมวดวิชา ซึ่งนำไปสู่การบูรณาการในการจัดกิจกรรม ทักษะชีวิต พัฒนาชุมชนและสังคม พัฒนาอาชีพ แก้ปัญหาความยากจนรายบุคคล พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ด้วยเช่นเดียวกันกับวิธีการเรียนการสอบแบบบูรณาการวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้: สะสมหน่วยกิต โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
      • 6.การเทียบระดับการศึกษา สมัครได้ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำปาง ผู้เรียนที่มีประสบการณ์ จัดทำแฟ้มสะสมงาน ทำโครงงานและสอบในสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษ และสอบวัดความรู้
      • 7.วิธีเรียนทางไกล สมัครได้ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลำปาง ไม่ต้องมีการเรียนการสอน สอบปลายภาคครั้งเดียว
  • การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 7 วิธี ภายใต้Logo กศน. เพื่อนเรียนรู้ ก็จะนำไปสู่ตำบลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นเป้าหมายที่พวกเราชาวกศน.เกาะคาจะดำเนินการในปีงบประมาณ 2550

ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ

5 ตุลาคม 2549

 

หมายเลขบันทึก: 53529เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2006 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
จะนำความรู้ที่ไปใช้กับตำบลของตนเองและจะพยายามทำให้ได้และให้ดีที่สุดเพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงานให้ได้
หลังจากที่ท่านผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา ได้ให้ความรู้ในเรื่องตำบลแห่งการเรียนรู้กับครูและเจ้าหน้าที่ ของศบอ.เกาะคา แล้วนั้น ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้รับจากท่าน ผอ. ไปใช้ในตำบลที่ตนเองรับผิดชอบ และจะพยายามทำให้ดีที่สุดค่ะ
เมื่อได้รับความรู้แล้ว ข้าพเจ้า จะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้กับการดำเนินงานของตำบลที่รับผิดชอบค่ะ
 จากการอ่านเรื่อง ตำบลแห่งการเรียนรู้ และจากการสอบถามเพื่อนๆ ถึงแนวทางในการวางแผนในภาคเรียนนี้ สำหรับตำบลท่าผา คือ ช่วงที่ผมเข้าไปรับสมัครนักศึกษาในพื้นที่ ผมจะนำเอาข้อมูลสำรวจประชากรวัยแรงงาน 15 - 59 ปี ที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ แต่จะเลือกผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 15 – 39 ปี โดยเข้าไปประสานกับผู้นำหมู่บ้านเพื่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นว่ายังอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือไม่ แล้วจะเข้าไปสอบถามตามที่อยู่แต่ละบ้านเพื่อสอบถาม ความต้องการด้านการศึกษา ด้านอาชีพ หรือข้อมูลการขึ้นทะเบียน สย.8 และจะพยามหากลุ่มที่จะจัดการเรียนบูรณาการวิถีชีวิต ตามแบบของบ้านทุ่งขาม เพื่อให้ครอบคลุมกิจกรรมที่จะจัด ในตำบลท่าผา ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาสังคมและชุมชน ทักษะชีวิต สายสามัญ แล้วจะนำผลที่ได้จากการไปสำรวจนำไปวางแผนซึ่งอาจจะได้จากการ เข้าร่วมประชุม หรือจัดเวทีประชาคม เพื่อนำข้อมูลมาจัดกิจกรรมต่อไป ส่วนการรับสมัครนักศึกษาในภาคเรียนนี้ จะทำการแนะแนววิธีเรียน หรือแยกจำนวนในแต่ละวิธีเรียนว่าแต่ละวิธีมีจำนวนเท่าไร แยกเป็นวิธีเพื่อสะดวกในการจัดทำแผน และจะนำประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงที่ได้จัดกระบวนการเรียนรู้จากบ้านทุ่งขามมาประยุกต์ใช้ในการทำงานศูนย์การเรียนชุมชนตำบลท่าผาให้ดียิ่งขึ้น
      
     
หลังจากที่ได้เรียนรู้ความหมายและเนื้อหาสาระของตำบลแห่งการเรียนรู้แล้ว ดิฉันคิดว่าเป็นกระบวนการในการปฏิบัติที่ดีแล้วช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีทางเลือกที่จะศึกษาได้หลากหลายวิธี ที่สะดวกค่ะ อรวรรณ
เมื่อวันที่ 5 ตค.49ที่ผ่านมาผอ.ได้มอบนโยบายและวิธีการแนะแนวการศึกษาต่อทั้ง 7 วิธีแล้ว วันนี้พวกเราได้ทบทวนวิธีการเรียนต่าง ๆ อีกครั้งเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะเข้าพื้นที่ ทางกลุ่มงานจัดฯได้สำรวจความต้องการในการใช้แบบสำรวจฯ  ใบสมัคร ใบลงทะเบียน และใบสมัครสมาชิกห้องสมุด และดำเนินการจัดให้ตามความต้องการ และได้ทบทวนอีกครั้ง จากการที่ได้อ่านจาก blog นี้
จากการที่ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการ เรื่อง ตำบลแห่งการเรียนรู้นั้น  ความรู้ที่ได้รับในวันนี้มีหลายเรื่อง เป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่เคยรู้ก็มี  และจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในตำบลของตนเอง  เพื่อให้เป็นตำบลแห่งการเรียนรู้ให้ได้ ภายในปี 2550  
พนาวัลย์ ชัยเรืองเดช
หลังจากที่ได้เข้าร่วมประชุมในเรื่องตำบลแห่งการเรียนรู้นั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใหม่มากและยังไม่เคยทราบมาก่อน และดิฉันคิดว่าเป็นกระบวนการที่ดีค่ะ และจะนำสิ่งเหล่านี้ไปศึกษาต่อไปค่ะ
จากการเข้าร่วมประชุมเรื่องตำบลแห่งการเรียนรู้ทำให้ได้รับความรู้ในการจัดการเรียนการสอนทั้ง6รูปแบบและจะนำความรู้ที่ได้จากการที่เข้าประชุมไปใช้ในการปฎิบัติงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบต่อไป

จากการได้เข้าร่วมประชุมในวันที่  5  ตุลาคมและได้อ่านจากข้อความของท่าน  ผอ แล้วผมคิดว่าจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการวางแผนเพื่อเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ตำบลไหล่หินตามลำดับที่ได้คิดไว้ดังนี้

1.  จัดทำแบบสำรวจความต้องการของชุมชน

2.  จัดทำแผนเพื่อเข้าพื้นที่เป็นหมู่บ้านตามลำดับเพื่อความไม่สับสน

3.  รวบรวมข้อมูลความต้องการออกเป็นหมวดหมู่

4..เลือกพื้นที่และประชาคมกลุ่มเป้าหมายตามความต้องการ

5.  จัดทำแผนการปฏิบัติงานต่างตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

ยอดเยี่ยมครับ  เป็นตัวอย่างที่ดีของชาว กศน.ทั่วประเทศ  ขอเป็นกำลังใจต่อไปครับ
ถึง คุณรัฐเขต ขอบคุณมากค่ะ ที่ให้กำลังใจค่ะ กศน.เกาะคาพร้อมที่จะลุยเดินหน้าต่อไปค่ะ ณราวัลย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท