หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

มองมุมอย่างชาวบ้าน "การส่งเสริมอาชีพ"



บันทึกต่อจาก http://www.gotoknow.org/posts/531640

ขอบคุณที่มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนั้น จึงนำสรุปเรื่องราวมาบันทึกไว้ที่นี่ 


การไปร่วมกิจกรรมได้อะไรบ้าง

  • ได้มีโอกาสได้พบปะ และรู้จักกับ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ที่ให้การสนับสนุน กิจกรรมการส่งเสริมอาชีพแก่ชาวบ้านฯ

ได้เรียนรู้การถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับการฝึกอบรมอาชีพให้ชาวบ้าน

  •  ที่มองว่า คนที่จะสอนต้องมีประสบการณ์จริง ความรู้จริง จึงจะสามารถถ่ายทอดออกมาได้ดี  

วันนั้นไม่ได้เป็นวิทยากรเอง เพียงไปช่วยและสังเกตุการณ์ 

ขั้นตอนการสอนสาธิต
1. ก่อนเริ่มสอนควรมีการเกริ่นนำเนื้อหา พอสังเขป 
กรณีวันนี้ สอนทำกล้วยหินฉาบ  ... กล่าวถึงกล้วยชนิดนี้ สักเล็กน้อย  แม้ว่า ทุกคนรู้จักแล้วก็ตาม
2.แนะนำอุปกรณ์ บอกให้ผู้เรียนได้ทราบว่า อุปกรณ์แต่ละชนิดใช้อย่างไร  
3.การสอนสาธิต  ควรเริ่มจาก 
  • แจกเอกสาร ที่ควรจะตรงกับสิ่งที่จะสอน ผู้เรียนจะได้ไม่สับสน 
  • แนะนำวัตถุดิบการเลือก เลือกอย่างไร ถึงจะทำให้ผลิต แล้วออกมาดีมีคุณภาพ
  • เริ่มทำ ทีละขั้นตอน หากต้องการรวมรัด ควรมีตัวอย่างให้ดู พร้อมคำอธิบาย
  • เมื่อสาธิต พร้อม อธิบายเสร็จ   จนขั้นตอนสุดท้าย 
4.ให้ลงมือปฎิบัติเอง 
  • ให้ผู้เรียน ลงมือทำเอง แบบเป็นขั้นเป็นตอน 
5.สรุปผล จากผลงานที่ได้ลงมือทำ 



แผนตามโครงการนั้นดี แต่ในระยะเวลาสั้น ๆ ชาวบ้านไม่อาจจะทำได้ทั้งหมด ต้องมีการต่อยอด ต่อเนื่องจึงจะแก้ปัญหาได้ ด้วยหลายปัจจัย ที่จะให้ได้ความยั่งยืนกับการฝึกอบรมดังกล่าว 



สิ่งที่(น่าจะ)ควรคำนึงถึง เมื่อจะคิดโจทย์ว่าจะสอนอะไร ให้กับชาวบ้าน
  • วัตถุดิบในท้องถิ่นนั้นๆมีอะไร?  ( ที่มีมาก /ที่ราคาขายสดไม่ดี )
  • แปรรูปแล้ว เพิ่มมูลค่าได้ไหม? (คุ้มค่า คุ้มทุน ไหม)
  • แปรรูปแล้วยืดอายุการเก็บได้นานเท่าไหร่ ที่คุณภาพยังดีเหมือนเดิม (ไม่เสื่อมเสียง่าย)
  • ทำแล้วไปขายที่ไหน ?
  • การตลาดต้องทำอย่างไร ?



มองมุมอย่างชาวบ้านคนหนึ่ง ที่มองว่าสิ่งเหล่านี้ ชาวบ้านธรรมดาๆ ยังไม่สามารถต่อยอดได้ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ออกมาจากพื้นที่  สิ่งเหล่านี้มันต้องใช้เวลา ความร่วมมือจากผู้เรียนด้วย กับความตั้งใจจริง   



สรุปเนื้อหาที่ฉันได้แบ่งปันแก่กลุ่มสตรีวันนั้น
เกริ่นนำ 
กล้วยหิน และความเป็นมาของกล้วยหิน
  • กล้วยหิน มีถิ่นกำเนิด ตามริมฝั่งแม่น้ำปัตตานี เป็นกล้วยป่าที่งอกงามได้ที่แม้ในที่ๆมาพื้นดินที่เป็นก้อนหินมากมาย คนแรกที่พบเจอจึงตั้งชื่อว่ากล้วยหิน
  • กล้วยหินนั้นเป็นกล้วยที่นกกรงหัวจุกชอบกิน ระยะหลังมานี้ มีผู้เลี้ยงนกชนิดนี้ มากขึ้น กล้วยหินจึงมีราคาดี  การเลี้ยงนกกรงหัวจุก เพื่อกิจกรรมการแข่งขันนกกรงหัวจุก ชิงรางวัลมากมาย
  • กล้วยหินฉาบ นั้นมีชื่อเสียง เป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดยะลา ที่ใครๆรู้จัก จึงไม่ต้องแนะนำตลาดมากนัก เพียงทำให้มีคุณภาพ สม่ำเสมอ (คงคุณภาพดีไว้ ) รสชาติอร่อย ๆ โอกาสขายได้ดีทีเดียว
เมื่อมีผู้สอบถามต่อ เรื่องการเก็บผลกล้วยหิน ดูอย่างไรว่า แก่จัดและเหมาะที่จะนำมาทำกล้วยหินฉาบ 
  • ประเด็นนี้ ตามฉบับแบบชาวสวน จะสังเกตุใบเลี้ยงที่ติดกับเครือกล้วย จะเปลี่ยนเป็นใบแห้ง  ก็เก็บได้ หรือไม่ก็ใช้วิธีเก็บผลมาผ่าดู หากด้านในสีเหลืองเนื้อแน่น กล้วยลักษณะนี้จะเลือกมาทำกล้วยฉาบแล้วจะได้คุณภาพกล้วยฉาบที่ดี อร่อย ชิ้นไม่แตกง่าย ไส้กล้วยไม่กลวง
สรุป...ปิดท้าย ก่อนแยกย้าย
  • การฝึกทำวันนี้ ไม่ใช่ว่าจะนำไปทำเพื่อขายได้ทันที ยังต้องใช้เวลาในการฝึกฝนเรียนรู้ต่ออีก เพราะวันนี้ เราเพียงเริ่มต้นการเรียนรู้ ผู้สอนไม่สามารถจะบอกผู้เรียนได้ทั้งหมด สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เพิ่มเติม ด้วยประสบการณ์จริงของผู้เรียนเอง
  • เมื่อทำได้แล้ว เราต้อง คิดต้นทุนด้วย ให้ทำบันทึกไว้  เช่น วันนี้ใช้  - วัตถุดิบอะไรไปเท่าไร? เช่น กล้วย น้ำมัน น้ำตาล แก็ส ฯ คนทำกี่คน เวลาในการทำกี่ชั่วโมง ...และเมื่อทำแล้วได้ ผลผลิตเท่าไหร่?  เพื่อจะได้นำมาคิดเป็นต้นทุน ...จะทราบว่าทำแล้วจะคุ้มทุนหรือไม่ ?
  • ทำแล้ว จะขายที่ไหน อย่างไร?  ... เมื่อทำแล้วมั่นใจว่ามีคุณภาพ ก็เริ่มขายน้อย โดยเริ่มจากตลาดใกล้บ้าน คนรู้จักก่อน ค่อยทำไปเรื่อย ๆ เน้นย้ำ คือ คุณภาพ ต้องสม่ำเสมอ คุณภาพต้องมาก่อน



ขอขอบคุณที่มีโอกาสได้พบปะพุดคุยและได้แนะนำตัวเอง และแนะนำ Gotoknow .org
ขอขอบคุณสิ่งดีที่ได้พบกัน ขอบคุณค่ะ 


ปิดบันทึกด้วยคำขอบคุณ 

•ขอขอบคุณทุกๆท่านที่ติดตามอ่านบันทึกนะคะ

 .... สวัสดีค่ะ  :)


นารี ชูเรืองสุข 

8 เมษายน 2556



หมายเลขบันทึก: 532456เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2013 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2013 08:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับ   โชคดีที่ได้อ่านสาระเรื่องกล้วยหินครับ   เพราะที่บ้านนำมาปลูกกำลังออกปลี  ทีแรกคิดว่านำมาปลูกหลังบ้านมันน่าจะไม่ขึ้น หรือไม่ออกปลี   ไม่ออกผล   แต่ความเป็นจริงมันกลับสมบูรณ์กว่ากล้วยพันธ์ุุอื่น ๆเสียอีกครับ

สิ่งที่ผมเห็นและมีประโยชน์จากบันทึกนี้ คือ การเตรียมตัวอย่างดีของผู้ให้ความรู้  การทบทวนตนเองและบริบท และการวิเคราะห์ใช้ในอนาคต...ผมว่า เยี่ยมยอดมากครับ...เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้แม้กระทั่งเรืองเล็กๆ อย่างกล้วยหินฉาบ...แต่เป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่มากครับ...ชื่นชมพี่หนูรีจังครับ

สวัสดค่ะ อาจารย์Ico48 

กล้วยหินทำอาหารขนมได้หลากหลาย กล้วยดิบทำแกงได้ กล้วยสุก ต้ม เชื่อม บวชชี ปิ้งย่าง ทอด ก็อร่อย

แต่ต้องรอให้ผลแก่จัดนะคะ คือใบเลี้ยง เปลี่ยนเป็นใบแห้งคือ เก็บผลได้ ค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบันทึกค่ะ 


เป็นกิจกรรมที่น่าชื่นชมยิ่ง

บางครั้งแค่ได้อ่านบันทึก ยังต่อยอดได้เลยครับ...

การสอนและวางแผนงานได้เยี่ยมจริงๆค่ะ 

เป็นตัวอย่างการจัดการความรู้ที่ดีมากเลยค่ะ น้องรี อย่างนี้เรียกว่ามี After Action Review ด้วย 

-สวัสดีครับศิษย์พี่...

-ขอบคุณสำหรับแนงทางการส่งเสริม..

-เป็นแนวทางและวิธีที่ใช้ได้จริง ๆ ครับ

-เย้ ๆ ๆสุขสันต์วันสงกรานต์นะครับ..

-มีกล้วยไข่มาแลกกล้วยหิน..5555


สวัสดีค่ะน้องหนูรี

  • คุณยายหิวแล้ว วันนี้มีอะไรกินมั่งคะ

น่าสนใจมาก มีการวางแผนด้วย 

สวัสดีปีใหม่ไทยครับ

ขอขอบคุณกำลังใจจากทุกๆท่านนะคะ 

อาจารย์อ.นุ
พี่โอ๋โอ๋-อโณ
อาจารย์ขจิต ฝอยทอง
คุณหมอป.
บังวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
ศิษย์น้องเพชรน้ำหนึ่ง
อาจารย์พี่ชายชยพร แอคะรัจน์
พี่สาวkrutoom
พี่ใหญ่นาง นงนาท สนธิสุวรรณ
น้องทิมดาบ
คุณพ.แจ่มจำรัส
อาจารย์นาย ธนา นนทพุทธ
คุณยายคนสวยมนัสดา
คุณtuknarak
คุณT@_noi

 อาาจารย์ขจิตค่ะ 

การจัดวางแผนเป็นผลงานของ เจ้าหน้าที่ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ค่ะ พี่เพียงไปช่วยเล็กๆน้อยๆ ในส่วนของการสอนสาธิตเท่านั้น 

ขอบคุณค่ะ 


ร่วมสรงน้ำพระ และอำนวยพรความสุขปีใหม่ตลอดปีและตลอดไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท