คุณภาพโรงเรียนไทย ตกต่ำอย่างที่รู้กัน


ศึกษานิเทศก์หลายคนปลีกเวลาไปเรียนต่อปริญญาโท ปริญญาเอก แล้วจะเอาเวลาที่ไหนไปดูแลงานวิชาการของโรงเรียนละครับ

Another mail to ThaiPost I'd like to share
[การศึกษาจะดีขึ้น....ถ้า.....]( http://www.thaipost.net/news/051112/64689 )
  ถูกทุกข้อ 5 November 2555 - 00:00

เรียน คุณอัตถ์ อัตนัย ที่นับถือ
  ในฐานะที่อยู่ในวงการศึกษามาตลอดชีวิต รับราชการเป็น "ครู" มาตั้งแต่ "หัวเกรียน" จนขณะนี้ "หัวโกร๋น" เป็นนกตะกรุมแล้ว ผมว่าถ้าจะให้คุณภาพการศึกษาไทยดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ละก็ ขออนุญาตเสนอแนะดังนี้ครับ
  ๑.กิจกรรมต่างๆ ที่เบื้องบนส่งลงไปให้โรงเรียนดำเนินการ ควรจะลดลงครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าครึ่งจากที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน ครูจะได้มีเวลาจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ทุกวันนี้ครูทำงานหนักหลายอย่าง ยกเว้นเรื่องการสอนเด็กที่ไม่ค่อยมีเวลาได้ทำ ยังจำประโยคนี้ได้ไหม นั่นคือ "สี่กระทรวงหลัก แต่มันหนักกระทรวงเดียว" เพราะครูต้องทำงาน "ฝาก" ให้อีกหลายกระทรวงจนอ่วมอรทัย
  ๒.ต้องเสริมความรู้ความเข้าใจ และความสามารถด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ ให้ผู้บริหารโรงเรียนหันมาสนใจคุณภาพงานวิชาการเป็นอันดับหนึ่ง และเป็นที่พึ่งให้แก่ครูในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี เช่น หมั่นนิเทศภายใน แก้ไขเด็กเรียนอ่อน อบรมเด็ก เอาใจใส่นักเรียนประจำ ติดตามการทำงานของครูและเด็ก แก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนให้สูงขึ้น เป็นต้น
  ๓.พัฒนาครูผู้สอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือวิชาต่างๆ ให้เข้มข้นกว่าที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการก็รู้ดีว่าครูสอนไม่ตรงกับวิชาเอกที่เรียนมาเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ก็น่าจะเสริมหรือพัฒนาให้ครูมีวิธีการสอนเด็กให้สนุกสนาน เร้าใจ ง่ายต่อการเข้าใจ มิใช่ปล่อยให้ครูสอนตามบุญตามกรรม สอนตามมีตามเกิด อย่างนี้ก็ไม่ไหว ควรเพิ่มเติมเทคนิคการสอน มี "กลเม็ด" หรือ "ไม้เด็ด" สำหรับครูทุกคน
  ๔.ปรับปรุงการประเมินวิทยฐานะ หรือเงินประจำตำแหน่งของผู้บริหารโรงเรียนและครูสายผู้สอนเสียใหม่ โดยยึดหลัก "คุณภาพนักเรียน" สำคัญที่สุด เลิกการทำผลงานหรืองานวิจัยเสียเถอะครับ ทั่วประเทศมีโรงเรียนขนาดเล็กเป็นหมื่นโรง ครูก็มีโรงเรียนละ ๒-๓ คนบ้าง โรงเรียนละ ๓-๔ คนบ้าง แค่เอาตัวรอดในการสอนไปวันๆ ก็เหลือกำลังลากแล้วหละครับ ท่านเจ้าคุณทั้งหลายรู้ไหมครับ มีครูบาดเจ็บล้มตายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต เพราะทุ่มเทกับการทำผลงานจนไม่ได้กินไม่ได้นอนไม่รู้เท่าไหร่แล้ว มิหนำซ้ำยังเป็นที่ติฉินนินทาว่าครูไม่ได้ทำผลงานเอง มีคนรับจ้างทำเยอะแยะยุบยับไปหมด ไม่เห็นว่าจะมีหน่วยงานใดจัดการสิ่งเหล่านี้ได้
  ๕.เปลี่ยนการประเมินวิทยฐานะของศึกษานิเทศก์ที่อยู่ตามเขตพื้นที่การศึกษาเสียใหม่เถิด ทุกวันนี้ศึกษานิเทศก์ไม่มีเวลาออกเยี่ยมเยียนโรงเรียน อันเนื่องมาจากตัวศึกษานิเทศก์ต้องไปช่วยงานกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ช่วยงานกลุ่มนโยบายและแผน ช่วยงานกลุ่มอำนวยการ ช่วยหน่วยงานอื่นอีก ไหนจะต้องเอาเวลามาทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะให้ตนเอง ศึกษานิเทศก์หลายคนปลีกเวลาไปเรียนต่อปริญญาโท ปริญญาเอก แล้วจะเอาเวลาที่ไหนไปดูแลงานวิชาการของโรงเรียนละครับท่านสารวัตร ที่จริงศึกษานิเทศก์ต้องไปใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่โรงเรียน ไปทำโครงการ แผนงาน ไปคิดนวัตกรรมใหม่ๆ หรือคิดหาวิธีการช่วยครูในโรงเรียนที่ตัวเองรับผิดชอบให้มีคุณภาพดี ทำให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและนักเรียนมีคุณภาพแจ่มแจ๋ว หากทำได้ละก็สมควรได้วิทยฐานะสูงขึ้น มิใช่เอาเวลาที่จะไปนิเทศโรงเรียนมานั่งทำผลงานอยู่นั่นแหละ โรงเรียนเลยไม่มีใคร "โผล่" ไปเยี่ยมเยียนบ้างเลย คุณภาพโรงเรียนก็เลยตกต่ำอย่างที่รู้กัน
  ๖.โรงเรียนขนาดเล็กควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง มิใช่พูดกันคนละทีสองทีแล้วก็เงียบหายเข้านามสกุลผมเสียหมด ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาควรลงไปแก้ไขปัญหาด้วยตนเองบ้าง จะมีโครงการล้ม เลิก รวม จะยุบ จะแยกโรงเรียน หรือจะย้ายเด็กที่เหลือไม่กี่คนไปอยู่อีกโรงเรียนหนึ่ง ก็ควรให้ชัดเจนมิใช่ปล่อยไปเรื่อยเปื่อย เป็นหนามยอกอกกระทรวงศึกษาธิการมาหลายสิบปีแล้ว
  ๗.กิจกรรมต่างๆ หากหลีกเลี่ยงได้ เช่น การอบรม ประชุม สัมมนา การจัดนิทรรศการต่างๆ หรือกีฬา ควรจะใช้วันหยุดราชการ หรือวันปิดภาคเรียนในเดือนตุลาคมและเดือนมีนาคม-เมษายน-พฤษภาคมทำกิจกรรมซะ จะได้ไม่เสียเวลาเรียนของเด็ก ครูก็จะได้มีเวลาคลุกคลีอยู่กับนักเรียนมากขึ้น หลายคนมีความเห็นตรงกันว่า ถ้าครูมีเวลาสอนเด็กมากในแต่ละวัน ไม่มีทางที่เด็กจะมีคุณภาพต่ำหรอก ครับ
  หรือท่านว่าไงครับ.....
  จันโททัย กลีบเมฆ


  สมัยเด็กๆ เรียน ป.๓, ป.๔ จำได้ว่าคุณครูท่านเดียวสอนกัน ๓-๔ วิชา ผมไม่แน่ใจว่าปัจจุบันคุณครูโรงเรียนภูธรยังต้องทำงานหนักแบบนี้อยู่หรือเปล่า
  ที่จริงอาชีพครูควรจะเป็นอาชีพที่รัฐบาลต้องให้ผลตอบแทนเยอะๆ ดึงดูดคนที่มีความสามารถมาเป็นครู ไม่ใช่ปล่อยกันตามมีตามเกิด เพราะรู้ๆ กันอยู่ครูเป็นเบ้าหลอมสำคัญของสังคม ถ้าเบ้าหลอมกินอิ่ม นอนหลับ ทำงานแข็งแรง สังคมก็แข็งแรงตามไปด้วย แต่ถ้าเบ้าหลอมยังอยู่ในสภาพหมาล่าเนื้อ มันก็จบเห่ซิครับ!
  ก็ไม่รู้จะแนะนำใครครับ เพราะรัฐบาลก็รู้อยู่แล้วว่า หากจะสร้างชาติต้องทุ่มให้การศึกษา แต่ก็ยังเห็นละเลงอยู่กับนโยบายประชานิยมสร้างฐานคะแนนให้ตัวเอง ชาติเอาไว้ทีหลัง ขอข้ามีอำนาจก่อน ปลงครับ!

I don't share all his view, but I would sit and listen and think deeper what is really being said here. It is clear from his mail that that teachers spend lot of time on gaining better qualifications or irrelevant (to teaching duties) activities and hardly have time to prepare lessons and to teach. Furthermore, contents of teaching in schools is not related culture or ways of live in community.

What say you?

หมายเลขบันทึก: 510507เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2012 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2013 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เขียนได้ดีจริงๆ เป็นภาพเชิงประจักษ์ทุกประเด็น อยากจะบอกว่าเห็นด้วยอย่างยิ่ง และ

ถูกต้องนะครับ

เป็นปัญหาที่เห็นชัดมากๆจากทุกมุมมอง แต่ก็ยังไม่เห็นมีใครแก้ได้จริงจังสักทีนะคะ ระบบมันมาไกลและคนจัดระบบก็เปลี่ยนไปตามการเมืองจนไม่รู้ว่ามันพัวพันยุ่งเหยิง คนที่รู้ปัญหาก็พ้นอำนาจหน้าที่ไปเรื่อยๆ คนเข้ามาใหม่ก็สนุกสนานกับตำแหน่ง ไม่ทันคิดจะแก้ปัญหา คิดออกก็พ้นอำนาจอีก...เฮ้อ...

ที่ผมเห็นด้วยที่สุด คือ ข้อ ๒ ครับ ผู้บริหาร ต้องเป็นผู้นำวิชาการ

  เท่าที่ผ่านมา   ผมยังไม่ค่อยเคยพบเลยนะครับ ที่ผู้บริหารจะเก่งวิชาการ

ในประเทศอังกฤษ เขาไม่มีเอกบริหารครับ คนเป็นผู้บริหาร มาจากครูที่สอนหนังสือเก่ง

 ของเราผู้บริหาร  มาจากคนที่ไม่ชอบสอนหนังสือครับ

ผมเคยถามครูที่สอนหนังสือเก่งๆ บอกว่า ไม่คิดไปเป็นผู้บริหารบ้างหรือ เขาว่าสอนหนังสือเป็นสุขดีอยู่แล้ว

TDRIชำแหละต้นตอศึกษาไทยตกต่ำ รมว.ศธ.ยัน ผอ.รร.ไม่เคยออกหน้ารับผิด/จี้จัดสอบวัดมาตรฐานเด็กทุกชั้นปี
http://www.thaipost.net/news/171212/66707
  การศึกษา-สาธารณสุข 17 December 2555

  ทีดีอาร์ไอชำแหละคุณภาพการศึกษาไทย พบต้นตอตกต่ำ เพราะ รมว.ศธ.ไปจนถึง ผอ.โรงเรียนขาดความรับผิดชอบ ไม่รู้ร้อนรู้หนาวอะไรทั้งสิ้น แม้มีผลวิจัยคะแนนสอบ TIMSS 2011 สอบวิชาคณิต-วิทย์ที่ผลออกมาเด็กไทยแย่...
...ทีดีอาร์ไอมีข้อเสนอให้การปฏิรูปการศึกษามีคุณภาพคือ การให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมกำกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างเข้มข้น รวมถึงการกระจายอำนาจบริหารจัดการไปยังโรงเรียน พร้อมกำหนดมาตรการการรับผิดชอบ การสร้างแรงจูงใจให้ครูด้วยการเชื่อมโยงผลสัมฤทธิ์การสอบมาตรฐาน กับการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือน และการปรับระบบจัดสรรงบฯ ให้โรงเรียนทุกสังกัดอย่างเท่าเทียม เพื่อสามารถแข่งขันกันได้”...
...ข้อเสนอทางนโยบายของทีดีอาร์ไอ ได้แก่ 1.อยากให้มีนโยบายการจัดสอบมาตรฐานทุกชั้นเรียนหรือทุกช่วงชั้น และให้มีผลต่อการเลื่อนขึ้นชั้น เพราะอย่างระบบปัจจุบันเมื่อเด็กสอบตก โรงเรียนก็จัดสอบซ่อมใหม่จนผ่าน สุดท้ายคือการส่งเด็กไม่พร้อมไปสู่ชั้นเรียนที่สูงขึ้น 2.ควรมีการเปิดเผยผลการสอบข้อสอบมาตรฐานของโรงเรียน เทียบกับโรงเรียนใกล้เคียง โรงเรียนระดับจังหวัดและประเทศให้ผู้ปกครองได้รับทราบ เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน 3.เสนอให้ลดการประเมินคุณภาพภายนอกแบบเดิมของ สมศ. เพราะใช้ต้นทุนการประเมินสูง แต่ผลลัพธ์กลับสวนทางความจริงที่เป็นอยู่ และควรใช้ผลการสอบมาตรฐานของนักเรียนมาประเมินครูและโรงเรียน อีกทั้งนำมาเชื่อมโยงกับการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนครู โดยดูจากพัฒนาการของคะแนนสอบ เพื่อลดความได้เปรียบ-เสียเปรียบ ความสูงต่ำของคะแนนสอบ จากความต่างทางบริบทของโรงเรียน.

 ผล TIMSS ของประเทศไทย ในภาษานักเรียน คือ สอบตก

1) การศึกษา » Norsorpor.com 7 Jan 2556

  - เตรียมผลักดันไทยให้เป็น ฮับด้านการศึกษานานาชาติ [เดลินิวส์]
  - เปิดม่านการศึกษา : 8ม.ค.56 [คมชัดลึก]
  - เฉลยคำตอบทำไมการศึกษาป่วยขั้นเทพ [คมชัดลึก]
  - "เจ้าคุณธงชัย"ชี้เด็กไทยอ่อนอังกฤษ [คมชัดลึก]

 

2) ...คณะวิทย์จุฬาฯนำร่องปฏิรูปเรียน-สอน ชี้ยุคใหม่อจ.ต้องสอนน้อย แบ่งเวลาให้นศ.วิจารณ์หวังผลกระตุ้นคิดนอกกรอบ... ( http://www.thaipost.net/news/090113/67769 ) 9 January 2556 - 00:00

We may learn something more from above news. One thing is clear, we have a lot of crabs running around in the tray. None of them know where they or the other crabs are going.

ทีดีอาร์ไอชี้เด็กไทยยิ่งเรียนยิ่งโง่ [ไทยรัฐ]
http://www.thairath.co.th/content/edu/333771
ทีดีอาร์ไอชี้เด็กไทยยิ่งเรียนยิ่งโง่ ชี้หลักสูตร ตำรา วิธีการสอนของไทย ล้าสมัย แนะสร้างระบบความรับผิดชอบเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ...


นักวิชาการจี้ปฏิรูปการศึกษาไทยทั้งระบบเพราะมีปัญหาทุกจุด
http://www.dailynews.co.th/education/199640
วันพุธที่ 24 เมษายน 2556 เวลา 17:38 น.

...นักวิชาการเผยผลวิจัยระบบการศึกษาไทยขั้นพื้นฐาน พบมีปัญหาทุกจุด แนะแก้ไขทั้งระบบ และดึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันทำ เชื่อศธ.ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานคงไม่สำเร็จเหมือนเดิม...

ครูพละ ครูดนตรียังมีน้อย:จะทำอย่างไรดี?  โดย จันโททัย กลีบเมฆ (http://thaipost.net/news/040513/73052)
...ปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังครูตามโรงเรียนต่างๆ ในต่างจังหวัดยังพอมีให้เห็นมิใช่น้อยๆ โดยเฉพาะโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือที่เรียกย่อๆ ว่า "สพฐ." พูดไปแล้วก็เหมือนกับการโกหกตอแหล แต่เป็นเรื่องจริงที่ว่าโรงเรียนมากมายหลายแห่งที่สอนตั้งแต่อนุบาลจนถึงชั้น ป.๖ มีทั้งหมด ๘ ชั้น ๘ ห้อง ทว่ามีครูสอนอยู่เพียง ๒-๓ คน ก็ยังมีอยู่เต็มไปหมด
  น่าดีใจที่ทาง สพฐ.หาทางแก้ไขการขาดแคลนครู โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า ๑๒๐ คน จะให้เปิดสอนเป็นช่วงชั้นไป เช่น ให้โรงเรียนนี้สอนเฉพาะชั้น ป.๑-๒ อีกโรงเรียนเปิดสอนเฉพาะ ป.๓-๔ และอีกโรงเรียนสอนเฉพาะ ป.๕-๖ เป็นต้น ก็คงจะพอแก้ปัญหาไปได้บ้าง แต่คุณภาพการศึกษาของนักเรียนจะดีขึ้นหรือไม่ ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ...


If you have been reading my posts on Thailand's Education (see a short list below), you would have a fair ideas of what are not quite right with our education system.

This report in Thai Post makes me wonder if we really ever learn anything at all.

วางเป้าการศึกษาไทยหลุด"ติดหล่ม"ใน5ปี

http://www.thaipost.net/?q=วางเป้าการศึกษาไทยหลุดติดหล่มใน5ปี

...สกศ.ระดมความเห็นวางแผนการศึกษาแห่งชาติ "ดาว์พงษ์" ย้ำต้องหาจุดที่การศึกษาไทย "ติดหล่ม" ให้เจอ และหาทางออกจากหล่มนี้ให้ได้ภายใน 5 ปี หรืออย่างน้อยใช้เวลาในช่วง 2 ปีออกจากหล่มให้มากที่สุดถึงจะปฏิรูปสำเร็จ ... สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่อง "ทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574"...

Once again we see MOE go back to square 1 to reboot our eduacation machine. Another trial-and-error run? One step forward - two steps back? Zero-memory mechanism? Non-learning organization (of several thousands staff)? A truely non-deterministic random (no purpose) machine? Many questions emerge in our head. How can we trust the future of our children, our country, and ourselves (in our old age as burden of society) in education system?

You have your questions. Let ask them publically. Let help them stop this 'yo-yo-ing' - because we are not going anywhere if we stop to check our faults while we are in a race.

If you like some of these links below may help:

Boot - in English Boot Camp https://www.gotoknow.org/posts/603104
Learning Motion https://www.gotoknow.org/posts/598471
OTPC tablets (NEXT) https://www.gotoknow.org/posts/597590
ครูตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ? https://www.gotoknow.org/posts/588568
ญาณ: ความรู้ A View for Modern World https://www.gotoknow.org/posts/582647
Right Teaching for Right Reading : วิธีสอนการอ่านที่ถูกต้องแก่เยาวชน https://www.gotoknow.org/posts/580525
Linking up...to Learn https://www.gotoknow.org/posts/562848
ชวนราชบัณฑิตขึ้นแท็บเล็ตสอนเด็ก(อีก) https://www.gotoknow.org/posts/561305
พจนานุกรมไทย อีกครั้ง https://www.gotoknow.org/posts/555500
โครงการอาหารกลางวัน ช่วยหรือทำร้าย เด็ก https://www.gotoknow.org/posts/547260
เด็กเรียนก่อนเกิด https://www.gotoknow.org/posts/547662
โรงเรียนนานาวัฒนธรรม (Multi-cultural schools) https://www.gotoknow.org/posts/546496
Learning Monkeys http://www.gotoknow.org/posts/545531
โฆษณาชวนเชื่อ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน https://www.gotoknow.org/posts/535856

ปฏิวัติเงียบ!ยึดอำนาจเข้าศธ. http://thaipost.net/?q=ปฏิวัติเงียบยึดอำนาจเข้าศธ
...งัด ม.44 ยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ตั้งคณะกรรมการศึกษาจังหวัด มีผู้ว่าฯ เป็นประธานทำหน้าที่แทนทั้งหมด "นายกฯ" เผยระบบ 5 แท่งเดิมทำให้การทำงานไม่มีเอกภาพ การปฏิรูปไม่ขยับ "ดาว์พงษ์" ยอมรับการกระจายอำนาจยังไม่พร้อม เผยเล็งใส่ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ถ้าผลลัพธ์ออกมาดี ด้าน "สมพงษ์ จิตระดับ" เตือนอันตราย ควรใช้แค่ระยะเปลี่ยนผ่านเท่านั้น ถ้าปล่อยไว้จะเปิดช่องนักการเมืองหาประโยชน์ และระบบจะกลับเข้าสู่อีหรอบเดิม ...
...เหตุผลของคำสั่ง คสช.ดังกล่าวมี 4 ข้อ คือ
1.บูรณาการในระดับภูมิภาค ที่ผ่านมาแม้ทุกฝ่ายจะรับนโยบายจาก ศธ.ลงไปปฏิบัติ แต่ยังเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ แต่จากนี้จะขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ.ในภูมิภาคกำกับดูแลภาพรวม ระดับภูมิภาคจะมีการศึกษาจังหวัด (กศจ.) ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ดูแล
2.ลดช่องว่างการบังคับบัญชา ที่ผ่านมาสายการบังคับบัญชากว้างเกินไป เลขาฯ กพฐ.1 คนจะต้องดูแลเขตพื้นที่ฯ 225 เขต แต่จากนี้ช่องว่างจะลดลง กระชับมากขึ้นตามลำดับ
3.ความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา โดยจากนี้ทุกองค์กรหลัก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดจะต้องร่วมกันวางแผนพัฒนาการศึกษา และ
4.ความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล เนื่องจากที่ผ่านมา ศธ.พบปัญหาการบริหารบุคลากร เช่น การเกลี่ยครู การบรรจุครูใหม่ การคัดเลือกผู้อำนวยการ และการดำเนินการทางวินัย ...

###

ปชป.จวกคำสั่งม.44 เรื่องปฏิรูปการศึกษาไม่ตอบโจทย์ [เดลินิวส์] http://dailynews.co.th/politics/387221

###
UNESCO Institutes for Statistics (UIS app.bronto.com) releases:

The global flow of cultural goods in the digital age
A new report from the UIS sheds light on the international trade in cultural goods, which remains robust despite a massive shift toward web-based services.

16 million girls will never start school
Released for International Women’s Day, the new UNESCO eAtlas of Gender Inequality in Education reveals that girls are twice as likely to be excluded from schooling as boys. The new eAtlas provides the latest data, along with maps and charts illustrating how girls are still the first to be denied the right to education.

Can we afford to not measure learning outcomes?
A new UIS paper shows that the costs associated with learning assessments are marginal compared to the benefits arising for students, education systems and societies at large.

Educational attainment data release
The UIS has released new national data on educational attainment and mean years of schooling for the population aged 25 years and older.


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท