ครูตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ?


I read below and had questions in my mind. We have been through this many times again and again -- in many different names and forms. Perhaps we can discuss this again in 2 parts: teachers role and students role. (It would be good to go into the interactions between teachers and students too, but let us get our 2 parts clear first.)

เทคนิคครูสอนคิด ฝึกครู – เด็ก ตั้งคำถาม 3 ระดับนำสู่การเรียนรู้ที่ไร้กรอบ 6 มย. 2558
http://www.isranews.org/thaireform-other-news/item...

...นักวิชาการแนะเทคนิคครูสอนคิด ชี้ผู้สอนต้องเน้นตั้งคำถามและอภิปรายร่วมกับผู้เรียน ย้ำเป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้มากกว่าข้อมูลหรือเนื้อหา เชื่อเด็กมีศักยภาพมากกว่าท่องจำ...

...การจะเป็นครูสอนคิดได้ต้องมีทักษะที่ดี 3 ด้าน คือ 1.การถามอย่างเป็นระบบ(systematic questioning) สามารถใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดและเชื่อมโยงได้ 2.การสื่อสาร (communication) สามารถสื่อสารให้เด็กเข้าใจได้ง่ายมีทักษะที่ดีในการแสดงความสนใจปฏิกิริยาตอบรับของเด็กและ 3.การกระตุ้นให้มีส่วนร่วม(facilitation) สามารถกระตุ้นให้เด็กแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้...

...เครื่องมือสำคัญคือการใช้คำถามที่มีคุณภาพโดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

1. คำตอบหาได้จากเรื่องหรือตัวบทโดยตรง (text explicit) มีคำตอบที่ถูกต้องชัดเจนเป็นการถามความเข้าใจเบื้องต้นมักจะเป็นคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือความจำ

2.ต้องอนุมานหรือวิเคราะห์คำตอบที่แฝงไว้ในเรื่องหรือตัวบท(text implicit) คำตอบอาจแทรกหรือกระจัดกระจายในที่ต่างๆจึงต้องตัดสินใจเลือกสรุปโดยการจัดระบบหรือเชื่อมโยงความสัมพันธ์จากเนื้อหาที่มี

3.ต้องหาคำตอบที่อยู่นอกเหนือเนื้อเรื่องหรือตัวบทจำเป็นต้องอาศัยความรู้หรือประสบการณ์ของผู้ตอบ (Experience Based) ทำให้คำตอบของแต่ละคนมีความเป็นไปได้ที่หลากหลายไม่มีคำตอบที่ถูกต้องชัดเจนคำตอบเดียว เป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการให้เกิดคือการทำให้เด็กมีความพึงพอใจต่อการคิดสนุกกับการถามและการหาคำตอบด้วยตัวเอง มากกว่าการเชื่อในสิ่งที่คนอื่นบอก...

As we can see this is not 'learning'/'teaching' in our usual classroom style (where teachers 'tell' students 'what to learn'). This is learning how to learn/teach' leaving 'what to learn' to when learning is needed. Your need can be quite different to my need and when you need something I may not need that at the same time. But learn to learn is a handy basic, yes?

Would any one (teachers and all) like to discuss this?

หมายเลขบันทึก: 588568เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2015 05:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2015 05:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ชอบบันทึกนี้ค่ะ

ในความเห็นดิฉัน คำถามมี ๒ ประเภท

คำถามประเภทที่ ๑ เป็นคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ (Conceptualizeก) จากตำรา

คำถามประเภทที่ ๒ สำคัญมากคือ คำถามกระตุ้นให้นำเนื้อหาในตำราไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง (Application / Experiment) เพื่อตกผลึกความรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง

เด็กๆ ของเราจำความรู้ แล้วก็ลืมในเวลาไม่นาน เพราะวงจรเรียนรู้ไม่หมุนจนครบ

ครั้งหนึ่งดิฉันเคยทำ Workshop ให้โรงเรียน พบว่า การออกแบบกิจกรรมที่กระตุ้นให้ประยุกต์ใช้ ยากกว่า ประเภทแรก แต่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้มาก

ขอบคุณค่ะ .... ได้ความรู้อีกแบบ ...ได้นำไปใช้ต่อ

เคยใช้ชีวิต..เป็นครู(ทางศิลปะ)ใน มหาวิทยาลัยแผนก..คิลปะคุรุศาตร์ในเยอรมันอยู่สิบสองปี..ได้ประสพการณ์มาว่า..การเรียนรู้นั้น..ต้องมีความอยาก(ของบุคคลผู้เรียนเป็นที่ตั้ง)..และเมื่อสมประสงค์ของความอยากในบุคคลนั้นๆเมื่อไร..การเรียนรู้จะเกิดได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งคำถามหรือคำตอบที่จะเป็นแค่การประมวลผล..แค่คำตอบเท่านั้น..(เคยทราบมาว่า..การเรียนในฝรั่งเศสไม่เคยมีการวัดผล..จนวันที่ผู้เรียน..อยากจะยุติการเรียนของเขา..และเมื่อนั้นเขาจะต้องเตรียมพร้อมที่จะตอบคำถามทุกคำถามที่ใช้เวลาของเขาเองร่ำเรียนและศึกษามา(ด้วยตน)..ในเยอรมันก็เช่นกัน..เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว..แนวทางการศึกษาของเยอรมัน..เป็นการศึกษาตลอดชีวิต..ผู้เรียนมิได้..ขึ้นกับ..ตำราที่มีไว้ให้อ่านอย่างเดียว..(เดี๋ยวนี้ตำรามีมากมายเปิดกว้างอ่านและจดจำไม่หวาดไม่ไหว..อ้ะะๆๆ..(ในเยอรมันเป็นปัญหา..เรื่องตำราที่เป็นขยะ..อยู่เวลานี้..ป่าไม่มี..ยังเผาตำรา..อิอิ)...

..มีรูปภาพที่เขาทำเป็นฟิลมติดหลังรถ(ในเมืองเชเวรรีนมาฝาก..จ้าาา...)...

Thank you nui : for your valuable insights. May I ask what levels of school you had the workshop and how many teachers were involved in the workshop? And what do you think about 'questions' that are aimed to connect knowledge/concepts in one area to other areas (for example how to calculate area [in math] to finding the area of a leaf of a plant [in biology] to estimating solar energy absorption of a forest [ecological physics])?

Thanks Dr. Ple : That's is uplifting to know that that you can use this. Please let us know your result.

Danke ยายธี : I understand the rationale and think a lot about Q&A, story telling and challenges to arouse curiosity (want to know more).

ดิฉันทำงานกระทรวงสาธารณสุข โปรแกรมของเราจึงเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพในนักเรียนคือ ทักษะชีวิต(Life Skill) เพื่อป้องกันเอดส์ ในสมัยที่เอดส์เข้ามาใหม่ๆ ก็ราว ๒๗-๒๘ ปีโน้น ขอเล่าความเป็นมาสักนิดนะคะ

- โดยแนวคิดเรื่อง Life Skill ไม่สามารถสอนด้วยการบรรยาย เพราะมันคือ Skill ต้องคิด ตรอง และลงมือปฏิบัติได้ในชีวิตจริง และบางครั้งในสถานการณ์เฉพาะหน้า

- ด้วยเนื้อหาเอดส์ (และเพศศึกษา)มากกว่าครึ่งเป็น เจตคติ (Attitude) เราต้องใช้วิธีสอนที่เน้นกระบวนการ คิด วิเคราะห์

- เรานำแนวคิดการมีส่วนร่วมของผู้เรียนที่ประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบ คือ experience - reflect&discussion - concept - application เราออกแบบกิจกรรมที่ครบ ๔ องค์ประกอบ ดิฉันเรียกว่า "วงจรการเรียนรู้"

- conceptualization คือการสรุปบทเรียนโดยผู้เรียน และ application คือการประยุกต์ใช้โดยผู้เรียน

ทำโปรแกรมเสร็จเราไปทำ WS กับครูสุขศึกษา และครูแนะแนว เพื่อให้ครูไปใช้กับนักเรียน เราลงไปในระดับ มัธยม ทั่วประเทศ เรามีวิทยากรหลักอยู่พอสมควร ตัวเลขพวกนี้หายไปหมดแล้ว

หลายๆ โรงเรียนเห็นว่า "กระบวนการเรียนรู้" แบบนี้น่าสนใจ จึงจัด WS สำหรับครูที่ไม่เน้นเนื้อหาสุขภาพ ใน WS ครูจะได้ฝึกสร้างแผนการสอน และวิทยากรช่วยให้ความเห็น

Learning Process มีหลากหลาย แต่ดิฉันชอบวิธีนี้มาก เพราะ สนุกทั้งวิทยากร และ ผู้เรียน สนุกมาก

--------------------

การ connect ความรู้ กับ สถานการณ์/เหตุการณ์จริง ในระดับบุคคลต้องรู้ถ่องแท้ในองค์ความรู้นั้นก่อนค่ะ และถ้าจะเอาไปสร้าง "คำถาม" เพื่อสอน ก็ยิ่งต้องรู้มากกว่า

โจทย์ของคุณจึงยากเกินไปสำหรับดิฉันค่ะ เพราะเป็น area ที่ไม่รู้เลย

ดิฉันคงต้องขอยกตัวอย่างคำถามจากเนื้อหาที่ตัวเองรู้นะคะ เช่น การสอนเรื่องเพศสัมพันธ์ไม่คาดคิด ติดเอดส์ได้ คำถามในการประยุกต์ใช้คือ "นักเรียนคิดว่ามีสถานการณ์อะไรบ้างที่อาจเกิดเพศสัมพันธ์ไม่คาดคิด และ เราจะป้องกันตัวเองไม่ให้ตกอยู่ในสถานการณ์นั้นอย่างไร" ก่อนหน้านี้เด็กๆ จะเรียนรู้ความหมายของเพศสัมพันธ์ไม่คาดคิด และ ผลที่ตามมาจนเข้าใจดี การสอนแบบนี้ครูต้องฟังเด็กเยอะค่ะ และพบว่าเด็กๆ มีวิธีคิดที่น่าสนใจ

--------------------

ขอบคุณอีกครั้งที่บันทึกเปิดประเด็นการแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจค่ะ

May I 'expand' the comments made (above) by nui?

First, let me list her previous posts (for those who widh to know more about "การส่งเสริมสุขภาพในนักเรียนคือ ทักษะชีวิต(Life Skill) เพื่อป้องกันเอดส์" and "วงจรการเรียนรู้":

วงจรการเรียนรู้๑ : ถ้าคิดไม่ครบวงจรความรู้นั้นไม่มีประโยชน์
https://www.gotoknow.org/posts/402656
วงจรการเรียนรู้ ๒ : วงวงจรการเรียนรู้เริ่มต้นจากงานทักษะชีวิต
https://www.gotoknow.org/posts/402816
วงจรการเรียนรู้ ๓ : องค์ประกอบของวงจรการเรียนรู้
https://www.gotoknow.org/posts/402820
วงจรการเรียนรู้ ๔ : การเรียนรู้ต้องครบวงจร
https://www.gotoknow.org/posts/402824

Second, (I think) there is some difficulty 'creating situations' for learners to experience so that they can complete the learning loop. By asking certain questions in certain ways, some learners may be induced to entered mental exercises/analyses using other facts and common concepts to complete their learning. Some audio-visual multimedia may give viewers 'impressions' (artificial experiences) that may be enough to complete the learning. But is this a 'right' way to complete a learning loop? There are moral/ethical issues with use of force, seduction, 'artificial experience',...

In comparison to what mentioned (above in her comment): France and Germany have 'national policies' that encourage "learning by curiosity" (of learners). This can mean "learn what/when as we need" (not as intended by "teachers"). In the case of "aids education" this type of policies would be "reactive" or "after the events" (learners had aids already)!

I invite further discussions on how "teachers, we and our children" should learn/teach.

[I found an article (below) though not directly linked to the topic of our discussion here. It does show the attitude (of the Ministry of Education) toward solving 'our' education problems -- in modern language -- buy a solution! ]

เดินหน้าให้ ม.เคมบริดจ์ยกเครื่องสอนอังกฤษ หวังสร้างเด็กไทยภาษาแข็งแรงระยะยาว
http://www.thaipost.net/?q=เดินหน้าให้-มเคมบริดจ์ยกเครื่องสอนอังกฤษ-หวังสร้างเด็กไทยภาษาแข็งแรงระยะยาว

...ศธ.เดินหน้าให้ ม.เคมบริดจ์ยกเครื่องการเรียนการสอนอังกฤษของไทย "ธีระเกียรติ" ชี้ให้เวลา 10 ปี พัฒนาแผนวางระบบระยะยาว หารือ สพฐ.แก้กิจกรรมให้ตรงกัน หวังสร้างความมั่นใจให้เด็กไทยฟุดฟิดฟอไฟกับต่างชาติ ระบุจะประกาศเป็นภาษาที่สองของชาติต้องรอบคอบ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท