Learning Motion


Learning Motion

We are trending importance of 'motion in learning'. As we can see (for examples) from:

แคมเปญ "ออกมาเล่น 60นาที" สติปัญญาฉับไว
http://thaipost.net/?q=แคมเปญ-ออกมาเล่น-60นาที-สติปัญญาฉับไว
...พ่อแม่รู้หรือไม่ว่าการอบรมเคี่ยวเข็ญให้เด็กมุ่งแต่เรียนหามรุ่งหามค่ำ ต่อด้วยเสาร์อาทิตย์ต้องไปเรียนกวดวิชา ส่วนเวลาว่างก็ให้แต่อ่านหนังสือ หรือผ่อนคลายด้วยการเล่นเกม ดูโทรทัศน์ เพื่อหวังให้พวกเขาเติบโตมีการงานที่ดี การดำเนินชีวิตแบบนี้อาจจะส่งผลร้ายแก่บุตรหลานในเรื่องพัฒนาการ ร่างกายและจิตใจ ทักษะชีวิต ที่ไม่สามารถทัดเทียมเด็กคนอื่นๆ รวมทั้งปัญหาสุขภาพ ที่ขาดกิจกรรมทางกายอย่างเหมาะสม ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคในกลุ่ม NCDs เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

ความกังวลต่อสถานการณ์ของเด็กไทยที่มีแนวโน้มจะเป็นเด็กเนิร์ดกันมากขึ้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงออกแคมเปญสำคัญและชวนให้มา “ออกมาเล่น” (Active Play) วันละ 60 นาที เพื่อลดปัญหาข้างต้น...
สำหรับประโยชน์ที่ได้รับ(จากการเล่น)แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ประการแรก ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) หรือเรียกว่า พัฒนาการทางสติปัญญา เกิดจากการทำงานของสมองในขณะที่เด็กเล่น โดยทำหน้าที่สั่งการให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเคลื่อนไหวอย่างประสานสัมพันธ์กัน การที่สมองของเด็กได้รับการกระตุ้นให้ทำงานบ่อยๆ ผ่านการเล่น จะทำให้สมองสั่งการอย่างฉับไว ส่งผลต่อการพัฒนาสติปัญญาเด็กในการเรียนรู้สาระวิชาการด้านอื่นๆ อีกด้วย
ประการที่ 2 ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) คือเรียนรู้เพื่อพัฒนาการทางเจตคติ คุณธรรม จริยธรรม ประสบการณ์ที่มีคุณค่าด้านเจตคติของเด็กที่มีต่อตนเองและผู้อื่น เด็กจะยอมรับกฎระเบียบและถือปฏิบัติตาม พร้อมเห็นคุณค่าของการเคารพกติกาในการเล่น เกิดทักษะสังคม และเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่นผ่านการเล่น
และประการที่ 3 ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือเรียนรู้พัฒนาทักษะทางกาย โดยเด็กจะสามารถเลียนแบบท่าทางจากการเล่น รู้จักพัฒนาการควบคุมบังคับการเคลื่อนไหว และเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย หรือสรุปง่ายๆ ว่า Active Play เป็นกิจกรรมที่มีศักยภาพเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้งมิติกาย สมอง และสังคม
ในทางกลับกัน หากเด็กที่ไม่ออกมาเล่นก็เสี่ยงปัญหาสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง มีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงกว่า และมีโอกาสเป็นผู้ใหญ่ที่มีภาวะเฉื่อยชา เนือยนิ่งสูงต่อไป รวมทั้งพัฒนาการจะล่าช้ากว่า...

and this:

จากคลิป อ.จัน ถึง หนังสือ Brain-Based Learning ของ สพฐ. องค์ความรู้ และรูปธรรม ที่มีพร้อม รอแค่การหยิบไปใช้จริงเพื่อสร้างอัจฉริยะตัวน้อยให้ประเทศไทย https://www.gotoknow.org/posts/597712

and this

นั่งเรียนนานแล้ว - ขอยืนเรียนได้ไหม https://www.gotoknow.org/posts/545819

The trend has underlining currents that motion is fundamental to brain development --in human development-- which is not the same as 'knowledge development' (learning facts is mostly a passive activity). Motion encourages multiple-sensory perception, enhances physical abilities and mental agility (think quick, decide quick, learn quick), and surprisingly promotes "true and honest" interactions in society (it is a claim right now until some social scientists come to write review papers on the topic).

For us --plain ordinary people-- doing physical activities helps to keep our body healthy, our brain active, and our family and friends happy. We have better memory, better skills to do and learn new things, better ways to talk and more stories to tell.

Let us learn motion so we can put motion into our life long learning.

Yoyo (a sulphur crest cockatoo) is enjoying a feast of sunflower seeds while a male king parrot looks on. This is a learning by (copying) motion.

Here (a few days later) the position is switched. Learning target is reached. The trainer (me!) has also learned a great deal.

(Note the claws -one on arm, another on base of thumb, both are felt 'deeply' but 'controlled' to achieve the goal.)

คำสำคัญ (Tags): #motion#learning#brain#body
หมายเลขบันทึก: 598471เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2015 04:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2015 01:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Hi ยายธี: I haven't really finished my writing yet when you looked in. You missed a couple pictures of me and 2 native Australian birds. How are you?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท