EGA
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) สรอ. Electronic Government Agency(Plublic Orgenization)

การศึกษารากฐานของปัญหาการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(มุมมองภาคประชาชน)


รากฐานของปัญหาการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของภาคประชาชน

Phase : 3

ปัารพัารัอิล็นิ์ใมุ

คัดเลือกมาเฉพาะส่วนที่เป็น keyword และข้อเสนอแนะในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จากประเด็นต่างๆ ที่ใช้สัมภาษณ์  ซึ่งข้อมูลในมุมมองของภาคประชาชนได้รับการอนุเคราะห์จาก ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยคะ)

รุ็นำถ

ปัอุพัรัอิล็นิส์

  • เทคโนโลยียังไม่สามารถเข้าถึงประชาชนจำนวน 70-80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศได้
  • Mentality ของภาคราชการ ที่ไม่มีความกระตือรือร้นเนื่องจากราชการไม่ต้องกังวลในเรื่องของความอยู่รอดขององค์กร เมื่อเทียบกับภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก
  • เว็บไซต์ภาครัฐส่วนใหญ่ใช้เพื่อโฆษณาองค์กรและไม่คำนึงถึงผู้ใช้ การโฆษณาบริการต่างๆ ที่เกินจริง การเข้าถึงข้อมูลและบริการของภาครัฐทำได้ยากและช้า

วิธีคิที่นำสู่ำเร็พัรัิเ็กนิส์

  • รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ควรทำทั้ง Supply side และ Demand side โดยงานหลักหรือ Supply side  80-90%  งาน Demand side (creativity) 10-20% หรืออย่างน้อย 5% หากทำแค่ในส่วนของ Supply side จะทำให้มุมมองในการทำงานแคบลง
  • การทำงานต้องเรียนรู้วิธีทำงาน ทำไปเรียนรู้ไป ซึ่งก็คือ กระบวนการของการเรียนรู้ (Learning Process)
  • ลักษณะการปฏิบัติงานควรเป็นแบบไดนามิก การทำงานที่ติดอยู่กับกรอบราชการ แผนปฏิบัติราชการ การทำตามแผนงาน และความกังวลกับการที่จะถูกตรวจประเมิน ทำให้หน่วยงานราชการไม่มีการพัฒนา

ข้

  • ควรระวังไม่ให้ ICT ถูกนำมาใช้เอาเปรียบสังคม เช่น สื่อ (การนำสื่อมาใช้เอาเปรียบสังคม บิดเบือนข้อมูล ไม่รับผิดชอบต่อสังคม การพยายามสร้างเหตุผลเพื่อเข้ามาสร้างสิ่งที่ไร้จริยธรรม)
  • ควรนำ ICT เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อช่วยเพิ่มทักษะ (Skill) และเพิ่มความสามารถ(Competency) ให้กับนักเรียน
  • บริการของภาครัฐควรคิดถึงประชาชนในชนบท ซึ่งมีจำนวน 80-90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศ
  • สิ่งที่กระตุ้นการเรียนรู้ของชาวบ้านคือ การมีคน Facilitate
  • ควรนำ Knowledge Broker มาใช้ในการพัฒนาประชาชนในชนบท ซึ่งมีจำนวน 80-90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศ

***   การจะเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้นั้นไม่เพียงแค่มีเทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ เท่านั้น หากแต่การเข้าใจถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นหัวใจสำคัญ รวมถึงการที่จะต้องบรรลุความสำเร็จตามความคาดหวังของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความคุ้มค่ากับการลงทุน การยกเลิกวิธีปฏิบัติเก่าๆ ที่เป็นอุปสรรค และการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

      ข้อจำกัดและความยากลำบากในการผลักดันหรือดำเนินการในแต่ละส่วนจะมากแค่ไหน เพียงแค่เรามีความตั้งใจ มุ่งมั่นและลงมือทำ ร่วมด้วยช่วยกันอย่างเอาเอาจัง ค่อยๆเป็น ค่อยๆไปดีกว่าไม่ทำอะไรเลย... ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นเรื่องของเราทุกคน.. 

หากพี่ๆ เพื่อนๆ สมาชิก Gotoknow มี ข้อมูลหรือข้อคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว ร่วมแบ่งปันกันนะคะ

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน EGA
หมายเลขบันทึก: 502012เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2012 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ข้อจำกัดและความยากลำบากในการผลักดันหรือดำเนินการ....ใช้แล้วค่ะ....อีกอย่าง...ภาพรวมของในเรื่อง "ความรู้-การศึกษา-ช่วงอายุ" ต่ก การใช้ Electronics Card ในเรื่องนี้ .... ภาพรวมช่วงอายุของคนส่วนใหญ่....ตกอยู่คนช่วนไหนของคนทั้งประเทศประเทศ.... อยู่Generationไหน...(Gen...Baby Booms, Gen.-X , Gen.-Y,  Gen. - Z ) ภาพรวม...ตกอยู่ใน....ช่วงอายุเท่าไหร่? ... ที่จะนำบัตรนี้ไปใช้...หรือ คนกลุ่มเป้าหมายใด (Target Group) ซึ่งจะก่อให้เกิด... "ประสิทธิภาพ + ประสิทธิผล..สูงสุด... ลดจุดอ่อน + ลดจุดด้อย" (ให้น้อยที่สุด) ... เพระาP'Ple ... คิดว่า... ช่วงวัยที่แตกต่าง...น่าจะมีผลที่แตกต่างต่อการใช้...มีผลมาก...ต่อการใช้ Electronics Card ...นอกจาก....ระดับความรู้...การศึกษา...P'Ple คิดว่า ... ช่วงอายุ (ในภาพรวมของประเทศนะคะ)... ก็มีความสำคัญ...ไม่แพ้กับเรื่องอื่นๆๆที่ใครๆ ได้กล่าวมาแล้ว นะคะ....แต่...????ข้อ Hypothesis ของ P'Ple....ก็อาจจะผิดหรือผิดไปเลยก็ได้ นะคะ  

ขอบคุณค่ะ

  • ความคิดที่เป็นอุปสรรคคือ "ความกลัว" มากเกินไป ขององค์กรรัฐ
  • ทำเวบไซต์ แล้วหัวหน้าบอก "อย่าใส่อะไรลงไปมาก" ใส่เฉพาะอะไรที่รู้ๆ กัน เช่นที่อยู่  ชื่อพนักงาน  คนทำก็ทำไป ไม่มีการ empowerment แบบนี้คนทำก็หมดใจพัฒนาเวบคะ

ขอบคุณ คะหมอป.

สำหรับกำลังใจและ ความคิดเห็น

ด้วยกระบวนการในการทำงานมากกว่าคะ จึงทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยง

"ความกลัว" ดังกล่าว และด้วยความกลัวที่หมอ.ปว่านี้ เราจึงพยายามหาช่องทาง หรือวิธีการ ที่จะแก้ไข ปัญหา..เพื่อให้เกิดความสมดุลกันทั้งในส่วนของผู้ให้(ภาครัฐ) และผู้รับ(ภาคประชาชน)

 

ขอบคุณ คะP'Ple

สำหรับกำลังใจและ ความคิดเห็น

เห็นด้วยกับP'Ple ในเรื่องช่วงวัย..ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดที่สำคัญอีกข้อ

แต่ที่สำคัญกว่าคือขาดผู้ถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญคะ

 

 

 

บริการของภาครัฐควรคิดถึงประชาชนในชนบท ซึ่งมีจำนวน 80-90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศ - หากมีการรณรงค์อย่างจริงจัง e-gov จะให้ประโยชน์กับคนกลุ่มนี้มากที่สุดนะคะ เพราะความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเดินทาง ลดงานที่ไม่จำเป็นของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐได้เยอะ เป็นกระบวนการใช้เทคโนโลยีเพื่อ lean ได้ดีทีเดียว

เห็นด้วยค่ะที่ต้องให้ความรู้กับประชาชนคู่ไปกับเทคโนโลยี เมื่อมีความรู้และความมั่นใจในความปลอดภัย คนก็จะใช้กันมาก

จากการวิจัยจากประเทศเพื่อนบ้านเขาบอกว่าจริงๆ แล้วพอมี e-gov ขึ้นมาประชาชนได้ความรู้เกี่ยวกับงานของรัฐมากขึ้น ประชาชนกลับมั่นใจเชื่อใจในภาครัฐมากขึ้นนะคะ ทั้งรัฐเองต้องมีความเชื่อมั่นว่า e-gov มีประโยชน์จริง และเป็นแแบอย่าง ผู้นำในการใช้ชาวบ้านจึงจะเห็นและใช้ตาม

ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีส่วนที่ต้องทำเพื่องานนี้ค่ะ ขาดใครไปก็สำเร็จยาก

เอาใจช่วยนะคะ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/501911

ถ้าจะให้เข้าถึงได้เร็วที่สุดก็คงต้องลงไปทำกับเยาวชนครับ เพราะการเข้าถึงคนส่วนใหญ่อย่างยั่งยืนทำได้ยาก แต่ถ้าลงกับเยาวชนจะเก็นผลได้ภายในสิบปี (เหมือนระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นผลที่ชัดมากของการปฏิรูปเมื่อสิบปีที่แล้ว จนปรับแก้กระบวนกันแทบไม่ทัน)

ขอบคุณทุกกำลังใจ

และทุกข้อเสนอแนะคะ

 

 

 

-สวัสดีครับ..

-แวะมาเยี่ยมและสนับสนุน..."การจะเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้นั้นไม่เพียงแค่มีเทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ เท่านั้น หากแต่การเข้าใจถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นหัวใจสำคัญ รวมถึงการที่จะต้องบรรลุความสำเร็จตามความคาดหวังของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความคุ้มค่ากับการลงทุน การยกเลิกวิธีปฏิบัติเก่าๆ ที่เป็นอุปสรรค และการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น"

-ขอบคุณครับ...

 

  • อยากเห็นการพัฒนาเรื่องเหล่านี้ให้ในชนบทเท่ากับในเมือง

ขอบคุณค่ะ คุณบุญส่ง

ก่อนจะนำ IT มาใช้จริงๆแล้ว ต้องคำนึงถึงความต้องการก่อนคะ

มีให้ใช้แต่ไปไม่ถึง หรือใช้ไม่ได้ก็เหมือนไม่มีนั่นแหละคะ

@ อ.ขจิตคะ อยากเห็นภาพของการเท่าเทียมเช่นกันคะ

เป็นประเด็นที่ต้องเร่งแก้ไข

  • ลักษณะการปฏิบัติงานควรเป็นแบบไดนามิก การทำงานที่ติดอยู่กับกรอบราชการ แผนปฏิบัติราชการ การทำตามแผนงาน และความกังวลกับการที่จะถูกตรวจประเมิน ทำให้หน่วยงานราชการไม่มีการพัฒนา
  • เป็นความจริงจ้ะ  และเห็นด้วยอย่างยิ่ง

ตอนนี้ผมเห็น อบต.หลายที่ใช้ it เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ในชุมชน  มีพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนไปเรียนรู้  หากแต่บางทียังขาดบุคลากรที่สันทัด-ใส่ใจ-กับการสร้างการเรียนรู้ หรือบริการอย่างแท้จริง  พลอยให้หลายครั้งการใช้ it ผิดเป้าที่แท้จริงไป

ชื่นชมครับ

ขอบคุณบันทึกดีๆที่นำมาแบ่งปันกัน และส่งความสุขปีใหม่ ๒๕๕๖ ค่ะ

  ภาพจากสายบริหารงานสื่อสารองค์กร SCB  

บันทีกนี้น่าสนใจ ขอส.ค.ส. ให้มีความสุขมากๆ นะครับผม

 

 

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๖

ขออวยพรให้มีความสุขความเจริญ สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง

ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เบิกบานกายใจ และสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการนะครับ

ตามมาขอบคุณทีมงาน ได้รับของที่ระลึกจากทีมงานแล้วครับ

ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท