ทฤษฎีหลักการปกครองในระบบรัฐสภา: ศึกษากรณี ความไม่สอดคล้องของข้อบังคับการประชุมรัฐสภา


หลักการปกครองในระบบรัฐสภา ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา และ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา

การวิเคราะห์ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา และ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา หมายเหตุ บทความนี้นำเสนอ รศ.พัฒนะ เรือนใจดี วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองชั้นสูง LW 741 นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ ๗ กันยายน ๒๕๕๓

ผู้เขียนได้อาศัยข้อมูลดิบจากสื่อประเภทต่าง ๆ รวมทั้งความคิดเห็นส่วนตัว ประกอบกับประสบการณ์บางประการจากประสบการณ์ตรงจาก “สภาท้องถิ่น” และ “การเลือกตั้งท้องถิ่น” มาวิเคราะห์ความเห็น 

(เอกสารนี้เขียนขึ้นก่อนที่ “ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๓” จะใช้บังคับหลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ , ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๓, หน้า ๑๑ - ๓๑

http://library2.parliament.go.th/library/content_law/3.pdf )


การวิเคราะห์ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา และ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 

            ประเทศไทย ได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และ เป็นการปกครองที่ให้โอกาสประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเลือกผู้นำในการบริหารบ้านเมือง โดยประเทศไทยนั้นเป็นการปกครอบแบบระบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบที่มีรัฐสภาเป็นตัวกลางในการทำหน้าที่ในการบริหารบ้านเมือง โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้มีการใช้อำนาจในการบริหารบ้านเมืองไว้ 3 อำนาจด้วยกัน คือ อำนาจบริหาร ซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นฝ่ายที่ออกกฎหมาย และอำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นองค์กรศาล ซึ่งอำนาจทั้งสามอำนาจ จะเป็นการถวงดุลซึ่งกันและกันในการบริหารบ้านเมืองให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย

            ในการปกครองระบบรัฐสภานี้ รัฐสภามีอำนาจมากกว่ารัฐบาล แต่ในความเป็นจริงพบว่า หากรัฐบาลมีความมั่นคงก็จะสามารถควบคุมรัฐสภาได้จากการที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมาจากแหล่งเดียวกัน คือรัฐสภา ด้วยเหตุนี้ในการปฏิบัติงานของรัฐบาลจึงมักดำ เนินไปได้อย่างราบรื่น เช่นรัฐบาลของประเทศไทยในปัจจุบันคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ดังนั้น รัฐสภาจึงมีบทบาทสำคัญในการบริหารบ้านเมือง

            อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้

            ในการดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมสภาของไทยก็เช่นกัน ยังมีสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร อันเกิดจากบทบัญญัติในข้อบังคับการประชุมสภาที่ไม่ยังเอื้ออำนวยต่อการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งในด้านการดำเนินการประชุมสภา ในด้านกระบวนการนิติบัญญัติ และในด้านการควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ ปัญหาอันเกิดจากสถานะในทางกฎหมายและสภาพบังคับของข้อบังคับการประชุมสภาที่เป็นเพียงกฎข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับภายในองค์กรของฝ่ายนิติบัญญัติ  จึงไม่สามารถกำหนดบทลงโทษหรือสภาพบังคับใดๆ ต่อบุคคลและองค์กรภายนอกไว้ในข้อบังคับการประชุมสภาได้ ซึ่งทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ปัญหาความไม่ชัดเจนในเรื่องของการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของข้อบังคับการประชุมสภาภายหลังการประกาศใช้ว่าจะมีช่องทางในการควบคุมตรวจสอบได้หรือไม่ อย่างไร ปัญหาเกี่ยวกับภาวะผู้นำของประธานสภาและความมีวินัยของสมาชิก ปัญหาเกี่ยวกับความไม่สันทัดและไม่ใส่ใจในการศึกษาข้อบังคับการประชุมสภาของสมาชิก ปัญหาการใช้อิทธิพลและการแย่งชิงต่อรองกันในทางการเมืองที่มีอิทธิพลเหนือข้อบังคับการประชุมสภาและกระบวนการในทางรัฐสภา

            นอกจากนั้นยังมีสภาพปัญหาและอุปสรรคในด้านการดำเนินการประชุมสภาทั้งในเรื่องของระยะเวลาในการประชุมสภาที่มีไม่เพียงพอต่อการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสภาทำให้มีร่างกฎหมาย กระทู้ถาม และญัตติค้างพิจารณาอยู่เป็นจำนวนมาก ปัญหาความล่าช้าของการประชุมสภาและการขาดองค์ประชุมของสมาชิก ปัญหาเรื่องการประท้วงและการขอให้นับองค์ประชุมที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองบ่อยครั้งในสภา ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการประชุมสภาเป็นอย่างมาก ปัญหาด้านการอภิปรายของสมาชิกที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภา ปัญหาด้านการจัดระเบียบวาระการประชุมสภาที่ไม่เป็นไปตามลำดับความสำคัญ และอำนาจวินิจฉัยสั่งการของประธานสภาในการบรรจุเรื่องต่างๆเข้าระเบียบวาระการประชุมที่อาจก่อให้เกิดความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เป็นกลางของประธานสภา ปัญหาการดำเนินการประชุมที่ไม่ได้เป็นไปตามระเบียบวาระการประชุมโดยมีการขอเปลี่ยนแปลงระเบียบวาระการประชุมบ่อยครั้งทำให้ระเบียบวาระการประชุมขาดความแน่นอนและไม่มีความชัดเจนว่าสภาจะพิจารณาเรื่องใดตามลำดับก่อนหลัง ปัญหาความล่าช้าของกระบวนการนิติบัญญัติในแต่ละขั้นตอน และการขาดกลไกที่สนับสนุนงานด้านนิติบัญญัติของสมาชิก ปัญหาเกี่ยวกับระบบการทำงานของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาที่มีจำนวนมากเกินไปและมีอำนาจหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการถามตอบกระทู้ถามในที่ประชุมสภา และการถามตอบกระทู้ถามสดที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและทฤษฎีการปกครองรูปแบบรัฐสภา

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 

 

            1. เพื่อศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีของการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย

            2. เพื่อศึกษาถึงการปกครองแบบระบบรัฐสภา ตลอดถึงการมีส่วนร่วมและการประชุมของรัฐสภาของประเทศไทย

            3. เพื่อศึกษาถึงข้องบังคับของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และข้อบังคับวุฒิสภา

คำย่อ

          เนื่องจากต้องใช้คำเหมือนกันเป็นจำนวนมาก จึงกำหนดคำย่อไว้เป็นการเฉพาะ ดังนี้

          รธน.    หมายถึง         รัฐธรรมนูญ ตามด้วยปีพ.ศ. หากไม่มีการระบุปีพ.ศ. ให้หมายถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐

ม.       หมายถึง         มาตรา

สส.     หมายถึง         สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สว.     หมายถึง         สมาชิกวุฒิสภา

สร.     หมายถึง         สมาชิกรัฐสภา

ปธ.     หมายถึง         ประธานสภา

ข้อบังคับฯ หมายถึง     ข้อบังคับการประชุม

ขสส.   หมายถึง         ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑

ขวส.    หมายถึง         ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๑

ขรส.    หมายถึง         ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.๒๕๔๔

          ในการวิเคราะห์คณะผู้ทำรายงานได้กำหนดกรอบในการวิเคราะห์วิจารณ์ ออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ค่อนข้างจะแยกอิสระจากกัน เนื่องจากมีประเด็นต่าง ๆ ในการพิจารณามาก บางหัวข้อจึงไม่ได้นำเสนอแยกประเด็นไว้ต่างหาก และยังเกี่ยวข้องกับข้อบังคับการประชุมถึง ๓ ฉบับ (แต่ข้อเท็จจริงใช้เพียง ๒ ฉบับ คือ ข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร และ ข้อบังคับของวุฒิสภา) จึงเรียงหัวข้อวิเคราะห์สำคัญตามลำดับ ดังนี้

ความนำ

๑.บททั่วไป

๒.ประเด็นสำคัญของบทบัญญัติของข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑ ที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องต่อการปกครองในระบอบรัฐสภา

๓. ปัญหาการนำข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.๒๕๔๔ มาใช้ในการประชุมรัฐสภา (ประชุมร่วมกัน)

๔. บทนิยาม

๕. หมวดว่าด้วยการเลือกประธาน และรองประธานสภา

๖. หมวดว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา และ เลขาธิการ

๗. วิเคราะห์ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๑

๘. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ

๙. การประท้วงการประชุม

๑๐. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔

๑๑. การควบคุมจริยธรรมสมาชิกรัฐสภา

๑๒. หมวดว่าด้วย การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย

๑๓. หมวดว่าด้วยคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา

๑๔. หมวดว่าด้วย การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง ตาม ม.๒๗๐

๑๕. ปัญหาการควบคุมรัฐบาลโดยการตั้งกระทู้ถาม

 

ความนำ 

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๓๔ บัญญัติว่า

สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด การปฏิบัติหน้าที่และองค์ประชุมของคณะกรรมาธิการ วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย การลงมติ การบันทึกการลงมติ การเปิดเผยการลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และการอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับประมวลจริยธรรมของสมาชิกและกรรมาธิการ และกิจการอื่นเพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”

และ มาตรา ๑๓๗ บัญญัติว่า

“ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ใช้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยอนุโลมไปพลางก่อน 

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ให้นำบทที่ใช้แก่สภาทั้งสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการ กรรมาธิการซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกของแต่ละสภาจะต้องมีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภา”

          ในการดำเนินการของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ต้องมีการดำเนินการประชุมเพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญตามอำนาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย (ม. ๘๘ ม.๑๒๒ รธน.๕๐)  ซึ่งอาจมีการประชุมในแต่ละสภา หรืออาจมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา จึงต้องมีระเบียบข้อบังคับการประชุมฯไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ (ม.๑๓๔, ม.๑๓๗ รธน.๕๐)  และเป็นที่สังเกตว่า ประเทศอังกฤษ (สภาสามัญ) สหรัฐอเมริกา และ ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแม่แบบของ “การปกครอง” จะไม่มีการประชุม “ร่วมของสภา” แต่อย่างใด กล่าวคือ การประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องแยกกันเสมอ ยกเว้น กรณีของฝรั่งเศส ประชุมร่วมเฉพาะการแก้ไขเพิ่มเติม รธน.เท่านั้น

          เนื่องจากประเทศไทยเป็น “ราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว” (รูปแบบรัฐ “เดี่ยว”) (ม.๑) มีการปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ม.๒) และ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจทาง “รัฐสภา” “คณะรัฐมนตรี” และ “ศาล” (ม.๓)

          หมายความว่า ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในระบบ “รัฐสภา”โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ซึ่งเป็น “ระบอบ” และ “ระบบ” การปกครองอันเป็นสากลใช้กันทั่วโลก  ฉะนั้น  ในระบบการปกครอง “แบบรัฐสภา” จึงเป็นหัวใจของการเมืองประเทศไทย  การนำระบบรัฐสภามาเป็นระบบในการปกครองประเทศต้องนำหลักการและทฤษฎีของ “ระบบรัฐสภา” มาใช้ให้ถูกต้อง

          การวิเคราะห์ ข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และ รัฐสภา) จะต้องมีความสอดคล้องกับการปกครองใน “ระบบรัฐสภา” ซึ่งประเทศไทยใช้เป็นแม่แบบในการปกครองประเทศ  ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้การปกครอง มีมาตรการเสริมสร้าง “ระบบรัฐสภา” (สภานิติบัญญัติ) ที่มีประสิทธิภาพ

          สภาผู้แทนราษฎรได้ออกข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ วุฒิสภาได้ออกข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๑ แต่ รัฐสภาไม่ได้ออกข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (การประชุมร่วมกันของรัฐสภา) ตาม ม.๑๓๗ รธน.๕๐ ตรวจสอบในเว็บไซต์ของรัฐสภาไทย พบว่า ได้นำข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ซึ่งออกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ มาแสดงไว้ ซึ่งจากการวิเคราะห์รายงานการประชุมรัฐสภา(ประชุมร่วมกัน) ครั้งหลัง ๆ และครั้งล่าสุด พบว่า มีการนำ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ มาใช้ในการประชุม “รัฐสภา” โดยอนุโลม

          ในการประชุมของแต่ละสภา หรือ การประชุมร่วมกันของทั้งสองสภา มีเรื่อง หรือ ประเด็นในการประชุมแตกต่างกันไป เช่น การประชุมของรัฐสภา (การประชุมร่วมกันของทั้งสองสภา) ก็เป็นเรื่องตามที่บัญญัติใน ม.๑๓๖ รธน.๕๐ (ม.๑๙๓ รธน.๔๐) ซึ่งมีบทบัญญัติว่าด้วยหมวดต่าง ๆ ในข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ได้แก่

๑.     หมวด ๔ การให้ความเห็นชอบ รธน.ตามม. ๑๔๕ (ม.๑๗๓ รธน. ๔๐) ข้อ ๗๗ - ๘๑

๒.     หมวด ๕ การให้ความเห็นชอบ รธน.ตามม. ๑๕๓ (ม.๑๗๘ รธน. ๔๐) ข้อ ๘๒ – ๘๓ 

๓.     หมวด ๖ การเสนอและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ม.๒๙๑ รธน. ๕๐ (ม.๓๑๓ รธน.๔๐) ข้อ ๘๔ – ๑๐๑  

๔.     หมวด ๗ การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ม.๑๗๖ รธน.๕๐ (ม.๒๑๑ รธน. ๔๐)  ข้อ ๑๐๒ ๑๐๕ 

๕.     หมวด ๘ การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภา ม.๑๗๙ รธน.๕๐ (ม.๒๑๓ รธน.๔๐) ข้อ ๑๐๖ ๑๐๗ 

มีข้อสังเกตว่า  ในบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของสภานั้น ๆ ดำเนินการหรือมีหน้าที่ แต่ไม่ปรากฏว่าได้บัญญัติหมวดว่าด้วยการนั้น ๆ ไว้ในข้อบังคับการประชุมสภา ได้แก่ การพิจารณาพระราชกำหนดของคณะรัฐมนตรี ตาม มาตรา ๑๘๔ ซึ่งบัญญัติว่า

“ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้

การตราพระราชกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้

ในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไป ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดโดยเร็ว ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ หรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติและสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น…

การพิจารณาพระราชกำหนดของสภาผู้แทนราษฎรและของวุฒิสภาในกรณียืนยันการอนุมัติพระราชกำหนด จะต้องกระทำในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภานั้น ๆ

          จะเห็นได้ว่า คณะรัฐมนตรีจะต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา) แต่ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีบทบัญญัตินี้ไว้  มีเฉพาะในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาเท่านั้น  ทำให้วินิจฉัยได้ว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณายืนยันการอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวไม่มีขั้นตอนใด หรือ ไม่มีพิธีการใด ๆ ที่ยุ่งยาก เพราะเพียงแค่อภิปราย และ พิจารณายืนยันการอนุมัติในโอกาสแรกที่มีการประชุมสภาฯ เท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องบัญญัติไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่อย่างใด

สรุป หัวข้อของข้อบังคับการประชุมฯ                                                     หมายเหตุ   
๑. ชื่อ วันใช้บังคับ   
๒. บทนิยาม    วุฒิไม่มี
๓. หมวดว่าด้วย การเลือกประธาน และรองประธานสภา    ประชุมร่วมไม่มี
๔. หมวดว่าด้วย อำนาจหน้าที่ของประธาน รองประธาน เลขาธิการ    มีทั้ง๓ฉบับ
๕. หมวดว่าด้วย การประชุม  ส่วน วิธีการประชุม    มีทั้ง๓ฉบับ
๖. ส่วน การเสนอญัตติ    มีทั้ง๓ฉบับ
๗. ส่วน การอภิปราย    มีทั้ง๓ฉบับ
๘. ส่วน การลงมติ    มีทั้ง๓ฉบับ
๙. หมวดว่าด้วย กรรมาธิการ    มีทั้ง๓ฉบับ
๑๐. หมวดว่าด้วย การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ    สส.เท่านั้น
๑๑. หมวดว่าด้วย การให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญ
(ม.๑๔๕ปี๕๐)    ประชุมร่วมเท่านั้น
๑๒. หมวดว่าด้วย การให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญ
(ม.๑๕๓ปี๕๐)    ประชุมร่วมเท่านั้น
๑๓. หมวดว่าด้วย การเสนอและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข
(ม.๒๙๑ปี๕๐)    ประชุมร่วมเท่านั้น
๑๔. หมวดว่าด้วย การแถลงนโยบาย (ครม.)    ประชุมร่วมเท่านั้น
๑๕. หมวดว่าด้วย การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อฟังความคิดเห็นของสมาชิก    ประชุมร่วมเท่านั้น
๑๖. หมวดว่าด้วย การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ    สส.เท่านั้น
๑๗. หมวดว่าด้วย การพิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๑๒๑ ของรัฐธรรมนูญ    วุฒิเท่านั้น
๑๘. หมวดว่าด้วย การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญ    วุฒิเท่านั้น
๑๙. หมวดว่าด้วย การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ร่างระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด    วุฒิเท่านั้น
๒๐. หมวดว่าด้วย การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ    ประชุมร่วมไม่มี
๒๑. ส่วน การพิจารณาพระราชกำหนด    วุฒิเท่านั้น
๒๒. หมวดว่าด้วย กระทู้ถาม  ส่วน บททั่วไป     ประชุมร่วมไม่มี
๒๓. ส่วน กระทู้ถามสด    สส.เท่านั้น
๒๔. ส่วน กระทู้ถามทั่วไป    สส.เท่านั้น
๒๕. หมวดว่าด้วย การพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี    สส.เท่านั้น
๒๖. หมวดว่าด้วย การเปิดอภิปรายทั่วไป    ประชุมร่วมไม่มี
๒๗. หมวดว่าด้วย การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย    มีทั้ง๓ฉบับ
๒๘. หมวดว่าด้วย บทสุดท้าย    มีทั้ง๓ฉบับ
๒๙. บทเฉพาะกาล    ประชุมร่วมไม่มี
๓๐. วันที่ประกาศ ผู้ลงนาม   
๓๑. วันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา

๑.บททั่วไป

ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑

ประกาศลงนามวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โดยนายสมศักดิ์  เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง รักษาราชการแทน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๗๙ ง ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป

 

ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๑

ประกาศลงนามวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๑ โดยนายประสพสุข  บุญเดช ประธานวุฒิสภา ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๗๖ ง ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๑ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป

 

ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.๒๕๔๔

ประกาศลงนามวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔ โดยนายอุทัย  พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา  ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๔๔ ง ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นไป

แต่จากการตรวจสอบบันทึกการประชุม พบว่า ยังมีการนำ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ มาใช้ในการประชุม “รัฐสภา” โดยอนุโลม ตาม รธน.๕๐ ม.๑๓๗

ประเด็นพิจารณา

๑.     ใช้บังคับกับการประชุมใดบ้าง

ใช้บังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  การประชุมวุฒิสภา และ การประชุมรัฐสภา

๒.     กรณีมีการโต้แย้งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับฯ

๒.๑ ไม่มีการบัญญัติไว้ กรณีมีการโต้แย้งเกี่ยวกับข้อบังคับฯนี้ (กรณีเขียนไม่ชัดเจน)  ฉะนั้น จึงเป็นอำนาจของปธ.ผู้รักษาการตามข้อบังคับฯนี้ และมีอำนาจออก(วาง)ระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับฯนี้

๒.๒ ประเด็นปัญหาอาจเกิดขึ้นมาว่า การวินิจฉัย หรือการดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมของ ปธ.มิชอบ หรือ ไม่ถูกต้อง สมาชิกสภา หรือประชาชน หรือองค์กรใดจะสามารถโต้แย้งหรือคัดค้านได้หรือไม่  เนื่องจากพิจารณาได้ว่า “ข้อบังคับการประชุม” เป็นระเบียบปฏิบัติของ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตาม “รัฐธรรมนูญ” มีผลโดยตรงต่อการปกครองหรือการบริหารราชการของประเทศ  วิธีการแก้ไขปัญหานี้ควรจะ “ออกเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” เพื่อให้สามารถควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องชอบธรรมได้

๒.๓ ข้อบังคับการประชุมถือเป็น “กฎหมายภายใน” หรือ “กฎหมายของรัฐสภา” ซึ่งมีค่าเท่ากับรัฐธรรมนูญ และที่มีค่าเท่ากับกฎหมายทั่วไป

๒.๔ ประเด็นปัญหาการใช้อำนาจตีความ วินิจฉัยปัญหา และกำหนดวิธีปฏิบัติ เพื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมฯ ต้องเป็นกรณีมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบ เนื่องจากระเบียบกำหนดไว้ไม่ชัดเจน หรือกรณีที่ระเบียบไม่ได้กำหนดไว้ หรือเป็นกรณีที่ต้องใช้ หรือ อาจใช้ “ดุลพินิจ” ได้ตามข้อบังคับฯ  อย่างไรก็ตาม มีบทบัญญัติตาม รธน.ปี ๒๕๕๐ ม. ๗ บัญญัติไว้ว่า

“ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไป

ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

ฉะนั้น ประธานสภาต้องมีการใช้ดุลพินิจ โดยมีเหตุผลรองรับ และต้องจดบันทึกไว้ในรายงานการประชุมด้วย  มีข้อสังเกตว่า ข้อบังคับฯที่เปิดโอกาสให้ประธานสภาฯใช้ดุลพินิจได้มาก เห็นว่า ขัดแย้งต่อระบบรัฐสภา ที่มุ่งให้มีการตรวจสอบฝ่ายบริหารจากฝ่ายนิติบัญญัติให้มากที่สุด  แม้ว่า ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ จะต้องมี “ความเป็นกลาง” ก็ตาม

 

๒.ประเด็นสำคัญของบทบัญญัติของข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑ ที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องต่อการปกครองในระบอบรัฐสภา

 

๑.การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ควรมีการแสดงวิสัยทัศน์ของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อก่อนออกเสียงลงคะแนนหรือไม่ซึ่งในข้อบังคับข้อ ๕ และข้อ ๖ ไม่ระบุเรื่องการแสดงวิสัยทัศน์เอาไว้ ทำให้ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นประธานสภาและรองประธานสภาไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ต่อที่ประชุมสภาเพื่อประกอบการพิจารณาของที่ประชุม ทำให้ประชาชนไม่สามารถทราบแนวคิดของผู้ได้รับเสนอชื่อที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมาก ไม่เปิดแนวคิดใหม่ให้ประชาชน ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภาที่จะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม

๒.การถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตามข้อบังคับข้อ ๑๑ เป็นการบังคับประธานสภาที่จะต้องจัดให้มีการถ่ายทอดสดการประชุม ทั้งสองทาง ในกรณีที่ประธานสภาไม่สามารถจัดให้มีการถ่ายทอดสดได้ ก็ให้นำเทปการประชุมมาเผยแพร่ผ่านสื่อที่เหมาะสม เพื่อครอบคลุมไปยังประชาชนอย่างทั่วถึงและเข้าถึงได้อย่างสะดวก ซึ่งในข้อนี้เป็นการสนับสนุนการปกครองในระบอบรัฐสภา

๓. การจัดระเบียบวาระการประชุมควรเปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ เช่นกรณีมีปัญหาเรื่องความเดือดร้อนของประชาชน ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เสนอเรื่องหารือต่อที่ประชุมได้ทุกครั้ง ในข้อบังคับ ข้อ ๑๗ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า “ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ประธานสภาอาจอนุญาตให้สมาชิกปรึกษาหารือปัญหาที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนหรือปัญหาอื่นใดได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ประธานสภากําหนด และให้ประธานสภาส่งเรื่องดังกล่าวให้รัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องชี้แจงภายในสามสิบวัน และแจ้งให้สมาชิกทราบ” ซึ่งเป็นการสอดคล้องกับการปกครองในระบบรัฐสภาตามหลักการมีส่วนร่วม

๔.ได้มีการขยายระยะเวลาในข้อบังคับข้อ ๓๒ จาก ๖๐ วันเป็นสามเดือน เพื่อให้สอดคล้องกับอายุความคดีอาญา “ในกรณีที่สมาชิกกล่าวใช้ถ้อยคําในที่ประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ อันอาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่รัฐมนตรี หรือสมาชิกได้รับความเสียหายบุคคลนั้นมีสิทธิร้องขอต่อประธานสภาภายในกําหนดเวลาสามเดือน” นับว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะให้โอกาสแก่ผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องในระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น

๕.ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีการกำหนดภารกิจของรัฐ ในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน การพิจารณาการศึกษากฎหมายต่างๆ การที่มีการตั้งคณะกรรมาธิการในข้อบังคับข้อ ๘๒ อนุ(๑) “ คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน  มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมาย การยุติธรรม สิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองสิทธิชุมชนในกระบวนการยุติธรรม”

นับว่าเป็นการเพิ่มข้อบังคับให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนจำนวนกรรมมาธิการจำนวน ๑๕ คนเห็นว่ายังน้อยไปและควรกำหนดคุณสมบัติไว้ด้วย

๖.การกำหนดหลักเกณฑ์การตั้งกระทู้ถามในข้อบังคับหมวดที่ ๘ นับว่าเหมาะสมไม่ควรไประบุในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายหมายแม่บท

๗ ข้อบังคับข้อ ๑๗๒ ในการอภิปรายและการลงมติไม่ไว้วางใจ สมาชิกมีอิสระจากพรรคการเมือง เป็นการร่างข้อบังคับเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เป็นการทำลายระบอบพรรคการเมืองเพราะให้อำนาจแก่สมาชิกสามารถในการอภิปรายและการลงมติไม่ไว้วางใจสวนมติพรรคได้ทำให้พรรคอ่อนแอลง ทำลายระบบรัฐสภา

๘.คณะกรรมาธ

หมายเลขบันทึก: 449416เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2011 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

๘.คณะกรรมาธิการตามข้อบังคับการประชุมข้อ ๘๙ สามารถการเรียกเอกสารจากบุคคลใด ๆ หรือเรียกบุคคลใด ๆ มาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่ ให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อประธานคณะกรรมาธิการหรือรองประธานคณะกรรมาธิการผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการ ได้อยู่แล้วแต่การเชิญบุคคลมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น ต่อกรรมาธิการ เป็นการแสดงความคิดเห็นในวงจำกัดไม่สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ควรมีการรับฟังข้อมูลสาธารณะ (Pubic Hearing)ด้วย

๓. ปัญหาการนำข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.๒๕๔๔ มาใช้ในการประชุมรัฐสภา (ประชุมร่วมกัน)

พบว่า มีการนำ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ มาใช้ในการประชุม “รัฐสภา” โดยอนุโลม แต่ข้อมูลในเวบไซท์ของรัฐสภาไทย ได้แสดง ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.๒๕๔๔ ไว้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ไม่ได้ศึกษา เข้าใจสับสนได้ว่า การประชุมร่วมของรัฐสภา ใช้ข้อบังคับการประชุมฯใด

ตาม รธน.๕๐ ม.๑๓๗ บัญญัติให้ “...ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยอนุโลมไปพลางก่อน...” ในทางปฏิบัติรัฐสภาได้นำ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.๒๕๔๔ มาใช้ ซึ่งเป็นข้อบังคับฯที่ออกตาม รธน.๔๐ ฉะนั้นจึงมีการอ้างมาตราตาม รธน.๔๐ อยู่ทั้งหมด หลายมาตรา เรียงตามลำดับ ดังนี้

มาตรา ๑๕๗ วรรคสาม มาตรา ๑๖๓ มาตรา ๑๖๘ (๑) มาตรา ๑๗๓ มาตรา ๑๗๔ มาตรา ๑๗๘ มาตรา ๑๘๘ มาตรา ๑๙๓ มาตรา ๑๙๓ (๑๑) มาตรา ๑๙๔ มาตรา ๒๑๑ มาตรา ๒๑๓ มาตรา ๓๑๓ มาตรา ๓๑๓ (๑) มาตรา ๓๑๖

โดยพบว่า บางมาตราใน รธน.๔๐ ไม่มีปรากฏใน รธน.๕๐ ได้แก่ ม.๓๑๖ ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลของ รธน.๔๐ นอกนั้น เป็นมาตราที่ปรากฏใน รธน.๕๐ จึงสามารถนำมาใช้ได้โดยอนุโลม

จากการสุ่มตรวจสอบการประชุมร่วมว่า ที่ประชุมได้ใช้(อ้าง)ข้อบังคับการประชุมฯ ฉบับใด รวมจำนวน ๒ ครั้ง พบว่า มีการใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑โดยอนุโลม คือ

๑. การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยวิสามัญ) วันอังคารที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุมวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีเรื่องด่วน คือ การแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เริ่มประชุมเวลา ๑๑.๑๕ น. นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร(ประธานรัฐสภา) เป็นประธานที่ประชุม เลิกประชุมเวลา ๑๓.๑๖ น.รายงานการประชุมร่วม ๕๙ หน้า

ในการแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรีใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงเต็ม มีสมาชิกรัฐสภา(วุฒิสภา)อภิปรายเพียง ๓ คน มีวุฒิสมาชิกเข้าร่วมประชุม ๑๐๓ คน สส. ๒๒๗ คน รวม ๓๓๐ คน เกินกึ่งหนึ่งคือ ๒๙๒ คน อยู่ ๔๒ คน นับเป็นการประชุมนอกสถานที่ทำการของรัฐสภา แบบ “สัญจร” มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบธรรม เนื่องจากกลุ่มต่อต้านรัฐบาล นปช.ปิดกั้นทางเข้าที่ทำการรัฐสภา สมาชิก และนายกรัฐมนตรีไม่สามารถเข้าไปประชุมได้

๒. การประชุมของรัฐสภา ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ ตึกรัฐสภา ซึ่งเป็นการประชุมร่วมของรัฐสภา มีการพิจารณาเรื่อง กรอบการเจรจาร่างพิธีสารว่าด้วยการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ผิดกฎหมาย คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๔ นาฬิกา นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร(ประธานรัฐสภา) เป็นประธานที่ประชุม เลิกประชุมเวลา ๑๙.๒๐ นาฬิกา รายงานการประชุมร่วม ๒๕๔ หน้า

เทียบมาตราตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐

ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.๒๕๔๔ เรียงตามมาตราในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐

ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ … รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ หมายเหตุ

ข้อ ๑๑๔ ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายประสงค์จะให้มีการโฆษณาคำชี้แจงตาม มาตรา ๑๕๗ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ให้บุคคลนั้นยื่นคำร้องขอต่อประธานรัฐสภาตามแบบที่กำหนด มาตรา ๑๕๗ วรรคสาม มาตรา ๑๓๐

เอกสิทธิ์ สส. สว. กรณีที่กล่าวถ้อยคำใดที่อาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเสียหาย ปธ.สภาจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจงตามที่บุคคลนั้นร้องขอ

ข้อ ๑๑ ในกรณีที่สมาชิกรัฐสภาเข้าชื่อร้องขอให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราช โองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาตามมาตรา ๑๖๓ ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภานำความกราบบังคมทูลภายในสามวันของวันทำการนับแต่วันที่ได้ รับคำร้องขอ มาตรา ๑๖๓

มาตรา ๑๒๗ สมัยสามัญของรัฐสภามี ๑๒๐ วัน การปิดสมัยก่อนครบกำหนดโดยความเห็นชอบรัฐสภา

ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ คำว่า

"รัฐสภา" หมายถึง รัฐสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และให้หมายความรวมถึงวุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้น อายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบตามมาตรา ๑๖๘ (๑) ของรัฐธรรมนูญด้วย มาตรา ๑๖๘ (๑)

มาตรา ๑๓๒ (๑) ในระหว่างสภาผู้แทนฯสิ้นสุดหรือถูกยุบจะประชุมวุฒิสภามิได้ เว้นแต่การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภา

ข้อ ๗๗ เมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอให้รัฐสภามีมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน มาตรา ๑๗๓

มาตรา ๑๔๕ ร่างพรบ.ที่ครม.แถลงตกไป แต่เห็นว่าจำเป็น ขอให้รัฐสภาประชุมร่วมเพื่อมีมติอีกครั้งหนึ่ง

ข้อ ๘๓ เมื่อรัฐสภามีมติเห็นชอบตามข้อ ๘๒ แล้ว ให้รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต่อไปตามที่กำหนด ไว้ในรัฐธรรมนูญและข้อบังคับของแต่ละสภา เว้นแต่การนับระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภาตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญ ให้เริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่รัฐสภามีมติเห็นชอบ มาตรา ๑๗๔

มาตรา ๑๔๖ เมื่อสภาผู้แทนฯเห็นชอบร่างพรบ.(รวมร่างพรบ.ประกอบ)ให้เสนอต่อวุฒิสภาภายใน ๖๐ วัน ถ้าเป็นร่างฯการเงิน ภายใน ๓๐ วัน

ข้อ ๘๒ เมื่อคณะรัฐมนตรีร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต่อไปตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน มาตรา ๑๗๘

มาตรา ๑๕๓ ภายหลังเลือกตั้งทั่วไป ร่าง รธน. ร่าง พรบ. ที่รัฐสภายังมิได้เห็นชอบ ถ้า ครม.ร้องขอภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก

ข้อ ๓๐ ญัตติตามมาตรา ๑๘๘ และมาตรา ๓๑๓ ของรัฐธรรมนูญ และญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอไม่ต้องมีผู้รับรอง มาตรา ๑๘๘

มาตรา ๑๓๓ การประชุมสภา สส.,สว.และประชุมร่วมกันฯ ย่อมเป็นการเปิดเผย ครม.หรือสมาชิกสภา ๑ ใน ๔ ร้องขอให้ประชุมลับ

มาตรา ๑๙๓

มาตรา ๑๓๖

กรณีรัฐสภาประชุมร่วมกัน

อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๑๙๓ (๑๑) มาตรา ๑๙๔ และมาตรา ๓๑๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐสภาจึงตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑๙๓ (๑๑)

มาตรา ๑๓๖(๘) การตราข้อบังคับการประชุม

อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๑๙๓ (๑๑) มาตรา ๑๙๔ และมาตรา ๓๑๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐสภาจึงตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑๙๔

มาตรา ๑๓๗ การประชุมร่วมกันของรัฐสภา

ข้อ ๑๐๒ เมื่อคณะรัฐมนตรีขอแถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามมาตรา ๒๑๑ ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน มาตรา ๒๑๑

มาตรา ๑๗๖ ครม.แถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยไม่มีการลงมติภายใน ๑๕ วันนับแต่วันเข้ารับหน้าที่

ข้อ ๑๐๖ เมื่อนายกรัฐมนตรีขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภาตามมาตรา ๒๑๓ ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน มาตรา ๒๑๓

มาตรา ๑๗๙ กรณีมีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ครม.เห็นสมควรฟังความคิดเห็นของ สส.,สว.ขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วม ไม่ลงมติ

ข้อ ๓๐ ญัตติตามมาตรา ๑๘๘ และมาตรา ๓๑๓ ของรัฐธรรมนูญ และญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอไม่ต้องมีผู้รับรอง มาตรา ๓๑๓

มาตรา ๒๙๑ การแก้ไขรธน.

ข้อ ๘๖ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่สมาชิกรัฐสภาเสนอตามมาตรา ๓๑๓ (๑) ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภาทำการตรวจสอบและหากมีข้อบกพร่องให้ประธานรัฐสภาแจ้งผู้เสนอ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง มาตรา ๓๑๓ (๑)

มาตรา ๒๙๑(๑) ญัตติขอแก้ไขรธน.

อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๑๙๓ (๑๑) มาตรา ๑๙๔ และมาตรา ๓๑๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐสภาจึงตราข้อบังคับการประชุมรัฐสภาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ มาตรา ๓๑๖

ไม่มี รธน.ปี ๕๐ ไม่มี เป็นบทเฉพาะกาลให้ปธ.สภา สส.,รองปธ.สส.และผู้นำฝ่ายค้าน

ปธ.สว.,รองปธ.สว. และ คณะกรรมาธิการซึ่งปฎิบัติหน้าที่อยู่ก่อนในประกาศ รธน. คงอยู่

จากการตรวจสอบพบว่าปธ.สภาผู้แทนราษฎร และ สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจ ดังกล่าว ตามที่บัญญัติในข้อบังคับฯ เฉพาะที่สำคัญ ดังนี้

อำนาจ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร หมายเหตุ

๑.ออกระเบียบ ๑.ออกระเบียบให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุม(ข้อ๑๑)

๒.ออกระเบียบการลงชื่อมาประชุมของสมาชิกฯ(ข้อ๑๘)

๓.ออกระเบียบตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ นักวิชาการ และเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ ด้วยความเห็นชอบของที่ประชุมร่วมกันของปธ.คณะกรรมาธิการสามัญ(ข้อ๘๗)

๔.ออกระเบียบรักษาระเบียบและความสงบฯเกี่ยวกับบุคคลภายนอกที่จะเข้ามาฯหรือเข้าฟังการประชุมของสภาฯ และการโฆษณาข้อความเกี่ยวด้วยการประชุม(ข้อ ๑๗๕)

๒.ออกหลักเกณฑ์ วิธีการ ข้อกำหนด ๑.การจัดส่งเอกสารลับ(ข้อ๑๕)

๒.การอนุญาตให้สมาชิกปรึกษาหารือปัญหาเกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนฯก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม(ข้อ๑๗)

๓.กำหนดวิธีการปฏิบัติใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนโดยเปิดเผย และกำหนดวิธีการปฏิบัติออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยเป็นรายคน(ข้อ๗๕(๑)(๒))

๔.กำหนดวิธีการเปิดเผยร่างพรบ.ประกอบ รธน.ที่เสนอต่อสภาให้ประชาชนทราบและสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยสะดวก(ข้อ๑๐๒)

๕.กำหนดการแต่งกายของที่ประชุมสภา รวมทั้งการแต่งกายของสมาชิก(ข้อ๑๗๓)

๓.ออกคำสั่ง ๑. สั่งงดการประชุม(ข้อ๑๒)

๒.สั่งให้เปลี่ยนแปลงคำถามของกระทู้ถามสดที่วินิจฉัยแล้วว่าต้องห้ามตามข้อ ๑๔๓(ข้อ๑๕๗)

๓.อาจสั่งให้นำกระทู้ถามที่พิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปออกจากรอบรรจุระเบียบวาระการประชุม(ข้อ๑๕๐)

๔.อาจสั่งให้นำระเบียบวาระประชุมด่วนออกกรณีที่สภาต้องพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการจับหรือคุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกฯ หรือให้มีการพิจารณาในคดีอาญาในระหว่างสมัยประชุม (ม.๑๓๑ว.๑,ว.๓) เมื่อเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปออกจากระเบียบวาระการประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (ข้อ๑๗๙)

๔.ดุลพินิจสำคัญ ๑. เห็นสมควรเรียกประชุมเป็นพิเศษ(ข้อ๑๒)

๒. เห็นสมควรบรรจุเรื่องเพิ่มเติมในระเบียบวาระการประชุม(ข้อ๑๔)

๓.จัดให้มีการโฆษณาปิดประกาศคำชี้แจงกรณีมีบุคคลอื่นร้องว่าได้รับความเสียหายจากการกล่าวถ้อยคำในการประชุมถ่ายทอดทางวิทยุตามที่เห็นสมควร(ข้อ๓๔)

๔.เห็นสมควรเฉพาะกรณีในการกำหนดวิธีการปฏิบัติอื่นใดในการออกเสียงลงคะแนนเปิดเผย(ข้อ๗๕(๓)

๕.อนุญาต ๑.อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุมลับ

๒.อนุญาตให้รัฐมนตรีขอแถลงหรือชี้แจงต่อที่ประชุม(ข้อ๒๓)

๓.อนุญาตให้ผู้แทนศาล องค์กรตาม รธน.หรือหน่วยงานอื่นฯ เข้าแถลงหรือชี้แจงต่อที่ประชุม (ข้อ๒๔)

๔.อนุญาตให้เสนอญัตติไม่ล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ(ข้อ๔๖(๕))

๕.อนุญาตให้ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อนได้เพียงคนเดียว กรณีผู้เสนอหรือผู้แปรญัตติมีหลายคน(ข้อ๕๘)

๖.อนุญาตให้ผู้อภิปรายนำวัตถุใดๆมาแสดงในที่ประชุม(ข้อ๖๑)

๗.อนุญาตให้ขยายเวลา(ตามที่เห็นสมควร แล้วแจ้งสภาทราบภายหลัง)คณะกรรมาธิการกรณีพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาไม่เสร็จตามกำหนด(ข้อ๙๘ว.๒)

๖.วินิจฉัย ๑.วินิจฉัยคำร้องของบุคคลอื่นที่อ้างว่าได้รับความเสียหายจากการกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุฯ(ข้อ๓๒)

๒.วินิจฉัยว่าญัตติใดเป็นญัตติด่วน(ข้อ๔๓)

๓.วินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงหรือไม่(ข้อ๖๓)

๔.วินิจฉัยว่าคำถามของกระทู้ถามสดต้องห้ามตามข้อ ๑๔๓(ข้อ๑๕๗)

๗.อื่น ๆ สำคัญ ๑.จัดให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมทางวิทยุฯ(ข้อ๑๑)

๒.จัดให้มีการเผยแพร่บันทึกเทปการประชุมผ่านสื่อฯ กรณีไม่สามารถถ่ายทอดสด(ข้อ๑๑)

๓.มีอำนาจปรึกษาหารือที่ประชุม กำหนดวิธีการตรวจสอบองค์ประชุม สั่งพักการประชุม เลื่อนการประชุม หรือเลิกการประชุม(ข้อ๒๕)

๔.มีอำนาจเตือน ห้ามปราม ให้ถอนคำพูด ห้ามพูดฯ ให้กล่าวขอขมาฯ หรือ สั่งให้ออกไปจากที่ประชุม(ข้อ๑๗๔)

อำนาจของสภาผู้แทนราษฎรตามที่บัญญัติในข้อบังคับฯ

อำนาจ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร หมายเหตุ

๑.วินิจฉัย ๑.การขอแก้ไขเพิ่มเติมรายงานการประชุมกรณีกรรมาธิการไม่ยอมแก้ไขฯ(ข้อ๒๖)

๒.ลงมติ ๑.การไม่พิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระการประชุมตามลำดับ(ข้อ๒๑)

๒.ไม่ให้จดรายงานการประชุมลับ(ข้อ๒๙)

๓.การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ(ข้อ๓๐)

๔.ห้ามโฆษณาข้อความเกี่ยวกับความปลอดภัยฯที่ได้กล่าวฯในการประชุม(ข้อ๓๑)

๓.อนุญาต ๑.พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการจับหรือคุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกฯ หรือให้มีการพิจารณาในคดีอาญาในระหว่างสมัยประชุม (ม.๑๓๑ว.๑,ว.๓) (ข้อ๑๗๙)

๔.ให้ความยินยอม ๑.ยินยอมให้ถอนญัตติที่บรรจุเข้าระเบียบวาระแล้ว(ข้อ๕๓)

๕.ตั้งกรรมาธิการ ๑.ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ๓๕ คณะ(ข้อ๘๒)

๒.อำนาจของรองประธานสภาผู้แทนราษฎร

ขสส.ข้อ ๙ “รองประธานสภามีอำนาจและหน้าที่ช่วยประธานสภาในกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานสภา หรือปฏิบัติการตามที่ประธานสภามอบหมาย

เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภา หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ในกรณีที่มีรองประธานสภาสองคน ให้รองประธานสภาคนที่หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาถ้ารองประธานสภาคนที่หนึ่งไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาคนที่สองเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภา”

การปฏิบัติหน้าที่ของรองประธานสภา มี ๒ ลักษณะ คือ

๑. กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปธ.สภา หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

๒. กรณีที่ประธานสภามอบหมายเป็นประธานในที่ประชุม(กรณีมีรองปธ.๒คน)

ปัญหาในทางปฏิบัติอาจมีกรณีที่รองปธ.ปฏิบัติหน้าที่แทนปธ.สภา และได้ใช้อำนาจประธานสภา โดยการใช้ดุลพินิจต่าง ๆ ซึ่งเป็นดุลพินิจที่อาจมองว่า “ไม่เป็นกลาง” หรือ “ไม่ถูกต้อง” ได้ และอาจถูกประท้วงการประชุมจากสมาชิกว่า “ไม่เป็นกลาง” หรือ “ไม่ถูกต้อง” ได้

การเลือกรองประธานสภาแทนตำแหน่งที่ว่าง ไม่ระบุระยะเวลาไว้ ว่าจะดำเนินการเมื่อใด มีข้อสังเกตว่า หากมีการกำหนดระยะเวลาไว้ อาจเกิดประเด็นปัญหา เช่น กำหนดให้เลือกรองปธ.สภาแทนตำแหน่งที่ว่าง ภายใน ๑๕ วัน แต่ปรากฏว่าเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา ๑๕ วันแล้วยังไม่ได้ดำเนินการ และจะดำเนินการได้หรือไม่ ฉะนั้น การไม่กำหนดระยะเวลาไว้ จะเป็นผลดีกว่า เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาระดับชาติที่ต้องมีมาตรฐานน่าเชื่อถือ

ปัญหาโต้แย้งเรื่องอำนาจของประธานสภา (รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ปธ.ของรองปธ.ด้วย) หากกระทำโดยมิชอบ อาจส่งผลถึงความสมบูรณ์ของการกระทำ (อนุมัติ อนุญาต เห็นชอบ) ด้วย ซึ่งอาจมีประเด็นไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญได้

กรณีที่ไม่มีรองปธ.สภา หรือ หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไม่มีข้อบังคับฯให้แต่งตั้ง “ประธานสภาชั่วคราว” ไว้ เหมือนเช่น สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกาซึ่งปธ.มีอำนาจแต่งตั้งปธ.สภาชั่วคราวได้

๓. หน้าที่ของเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นฝ่ายประจำ มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชุม รักษาเอกสาร ข้อมูล ปฏิบัติการอื่นตามที่ปธ.สภามอบหมาย (ขสส.ข้อ ๑๐)

นอกจากนี้ ในข้อบังคับฯ ยังกำหนดให้เลขาธิการต้องดำเนินการพิเศษอื่น ที่นอกเหนือจากปกติ ได้แก่

๑. เมื่อเลือกประธานสภาและรองประธานสภาได้แล้ว ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อนำความกราบบังคมทูล (ข้อ ๗ ว.แรก)

๒. เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาแล้ว ให้เลขาธิการส่งสำเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบด้วย (ข้อ ๗ ว.สอง)

๓. รายงานการประชุมที่ได้รับรองแล้ว แต่ประธานสภายังมิได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานหรือรายงานการประชุมที่ยังมิได้มีการรับรองเพราะเหตุที่อายุของสภาสิ้นสุดลง ให้เลขาธิการบันทึกเหตุนั้นไว้ และเป็นผู้รับรองความถูกต้องของรายงานการประชุม (ข้อ ๒๘)

๔. เลขาธิการเป็นผู้พิมพ์และโฆษณารายงานการประชุม ทั้งนี้ นอกจากรายงานการประชุมลับที่สภามีมติไม่ให้เปิดเผย (ข้อ ๓๖)

๕. เลขาธิการจัดทำบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคนและปิดประกาศบันทึกดังกล่าวไว้ ณ บริเวณสภาที่ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่การออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับตามข้อ ๗๖ (ข้อ ๘๑)

๖. เลขาธิการประกาศกำหนดการประชุมคณะกรรมาธิการไว้ ณ บริเวณสภาและมีหนังสือนัดผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติมาชี้แจงประกอบญัตติหรือคำแปรญัตติ แล้วแต่กรณีล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน หากเรื่องใดจะก่อให้เกิดผลใช้บังคับเป็นกฎหมายหรือเกี่ยวกับการบริหาร

ราชการแผ่นดิน ให้แจ้งคณะรัฐมนตรีทราบด้วย (ข้อ ๙๒)

๗. ร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอ ให้เลขาธิการจัดทำรายงานผลการดำเนินการร่างพระราชบัญญัตินั้นเพื่อให้สภาทราบด้วย (ข้อ ๑๑๐)

๘. เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ คณะกรรมาธิการอาจขอให้เลขาธิการแต่งตั้งข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็น

ผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมาธิการก็ได้ (ข้อ ๑๒๒)

๔. การออกระเบียบ หลักเกณฑ์ของสภาผู้แทนราษฎร

จากการตรวจสอบข้อมูลการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ ต่าง ๆ ของสภาผู้แทนราษฎร จากเวบไซท์ของรัฐสภาไทย พบว่ามีอยู่น้อยมาก ยังไม่ครบประเด็นอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับฯ แต่อย่างใด ดังนี้

๑. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการตั้งผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๗ ลงนามโดย ศจ.มารุต บุนนาค ประธานสภาฯ

๒. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ลงนามโดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ

๓. ระเบียบสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วย การตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ นักวิชาการ และเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๔๔ ลงวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๔ ลงนามโดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาฯ

๔. ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ.๒๕๔๒ ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๒ ลงนามโดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ

๕. ระเบียบสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วย กำหนดเวลาการยื่นกระทู้ถามสด พ.ศ.๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๓ ลงนามโดยนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ

๖. ระเบียบสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วย การลงชื่อมาประชุมและการลาการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ลงนามโดยนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ (รจ.เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๙๒ ง วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑)

๗. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการตั้งคณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๓๘ ลงนามโดย ศจ.มารุต บุนนาค ประธานสภาฯ

๘. ระเบียบสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยการคัดเลือก และการเสนอชื่อผู้แทนองค์การเอกชนให้สภาเลือกตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก สตรี และคนชรา หรือผู้พิการ หรือ ผู้ทุพพลภาพ พ.ศ.๒๕๔๑

๙. ระเบียบสภาผู้แทนราษฎรว่าด้วยการจัดกระทู้ถามสดเข้าระเบียบวาระการประชุม การถาม การชี้แจง หรือการตอบกระทู้ถามสด พ.ศ.๒๕๔๑

หมายเหตุ ลำดับที่ ๑ ถึง ๗ ปรากฏในเวบไซท์ สำหรับลำดับที่ ๘ และ ๙ จากการค้นคว้า (คาดว่ายังคงบังคับใช้อยู่)

http://www.parliament.go.th/main01.php

๕. การออกระเบียบ หลักเกณฑ์ของวุฒิสภา

จากการตรวจสอบข้อมูลการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ ต่าง ๆ ของวุฒิสภา จากเวบไซท์ของรัฐสภาไทย พบว่ามีอยู่น้อยมาก มีเพียง ๒ เรื่อง ดังนี้

๑. ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ.๒๕๕๓ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ ลงนามโดยนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา

๒. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ลงนามโดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ (วุฒิสภานำมาใช้โดยอนุโลม)

๗. วิเคราะห์ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๑

เมื่ออำนาจหน้าที่ของวุฒิสภามีมากมายจึงต้องมีข้อบังคับการประชุมสภาที่สามารถบังคับได้จริงและข้อบังคับนั้นต้องบัญญัติขึ้นให้สอดคล้องกับระบบรัฐสภา เพื่อจะทำให้ระบบการเมืองในระบบรัฐสภาของไทยที่ใช้หลักการแบ่งแยกอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ มีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้หลักการของระบบรัฐสภา

หลักการสำคัญของการปกครองระบบรัฐสภา คือ

๑. รัฐบาลจะบริหารงานอยู่ได้ตราบเท่าที่รัฐสภาให้ความไว้วางใจ

๒. สมาชิกรัฐบาลมาจากสมาชิกรัฐสภา (สส.)

๓. รัฐบาลและรัฐสภาต้องตอบโต้ซึ่งกันและกันได้ (Collective Responsibility)

๔. รัฐบาลและรัฐสภาร่วมกันกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ

๕. รัฐบาล หัวหน้ารัฐบาลมาจากเสียงข้างมากในรัฐสภา

ซึ่งจากหลักทั้งห้าประการข้างต้นข้อบังคับการปะชุมวุฒิสภาบ้างข้อไม่เกื้อหนุนระบบรัฐสภา เช่น ตามข้อ ๓ ที่ว่า รัฐบาลและรัฐสภาต้องตอบโต้ซึ่งกันและกันได้ (Collective Responsibility) ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะมีเครื่องมือสำหรับในการโต้ตอบซึ่งกันและกันคือ

ฝ่ายนิติบัญญัติ

- การตั้งกระทู้

- ญัตติ

- กรรมาธิการ

- อภิปรายไม่ไว้วางใจ

- ถอดถอน

ฝ่ายบริหาร

- การยุบสภา

- การตราพระราชกำหนด

เพื่อให้กลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจของทั้งสองฝ่ายมีประสิทธิภาพข้อบังคับการประชุมสภาก็ต้องบัญญัติให้รองรับอำนาจและกลไกนี้โดยข้อบังคับการประชุมสภานั้นต้องไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป ไม่ให้อำนาจประธานวุฒิสภาจนเกินไป

ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาที่ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภา ได้แก่

- ข้อ ๑๘ การจัดระเบียบวาระการประชุมให้เป็นอำนาจของประธานวุฒิสภาแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้พิจารณาว่าเรื่องใดจะนำเข้าประชุมก่อนหลัง

- ข้อ ๓๕ การเสนอญัตติที่กำหนดว่า ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานวุฒิสภา และต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน เป็นการสร้างเงื่อนไขให้การเสนอญัตติทำได้ยาก ไม่สอดคล้องกับระบบรัฐสภาที่ต้องการให้กลไกในการควบคุ้มตรวจสอบใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพ

- ข้อ ๕๖ ที่ว่าถ้าประธานของที่ประชุมเห็นว่าผู้ใดได้อภิปรายพอสมควรแล้ว ประธานของที่ประชุมจะให้ผู้นั้นยุติการอภิปรายก็ได้แม้จะมิได้ฝ่าฝืนข้อ ๕๕ ก็ตาม เห็นว่าเป็นอำนาจของประธานโดยตรงและไม่มีขอบการพิจารณาว่าอย่างไร คือ พอสมควรแล้ว โดยหากประธานเห็นว่าพอสมควรผู้อภิปรายคนนั้นก็ต้องหยุด ไม่ว่าการอภิปรายของตนจะอยู่ในช่วงใด ทางแก้ คือควรจะให้ที่ประชุมพิจารณาร่วมกันว่าในประเด็นนั้นพอสมควรแล้วหรือไม่จะเป็นการยุติธรรมกว่า

- ข้อ ๑๑๑ การให้อำนาจวุฒิสภาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง ตามมาตรา ๒๗๐ ของร่างรัฐธรรมนูญ “ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุดหรืออัยการสูงสุด ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติส่อไปทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจนใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้

แต่ในปัจจุบันนี้วุฒิสมาชิกมี ๒ อย่างคือแต่งตั้งกับเลือกตั้ง เมื่อดูเกี่ยวกับการสรรหาเห็นว่าไม่ควรที่ที่มาของสมาชิกสภานิติบัญญัติของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะมาจากการแต่งตั้ง ฐานของการใช้อำนาจอธิปไตยต้องมีฐานมาจากประชาชน สภานิติบัญญัติจึงไม่ควรที่จะมาจากการแต่งตั้งและไม่ควรให้ผู้ที่มาจากการแต่งตั้งนั้นมีอำนาจเหมือนผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง

สมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากการเลือกตั้งก็ดีแล้วแต่ต้องไม่ใช่จังหวัดละคน ถ้าจังหวัดละคนก็เหมือนเดิมอีก สมาชิกวุฒิสภา มีมากมีน้อยต้องสะท้อนตามความหนาแน่นของประชากรเพราะเราเป็นรัฐเดี่ยว จังหวัดไหนมีคนมากก็มี สมาชิกวุฒิสภามาก จังหวัดไหนมีคนน้อยก็มีสมาชิกวุฒิสภาน้อย รูปแบบของรัฐมีผลต่อการจัดการเลือกตั้ง ส่วนการลงคะแนนเสียงก็หนึ่งคนหนึ่งเสียง ดังนั้นสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่ควรมีสิทธิถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากการเลือกตั้งตามหลักการที่ว่า ที่มาผูกพันกับอำนาจซึ่งทางแก้ไขก็คือ ต้องให้สมาชิกวุฒิสภาทุกคนมาจากการเลือกตั้ง

ข้อเสนอแนะ

การที่จะทำให้ข้อบังคับการประชุมสภามีความศักดิ์สิทธิ์และบังคับใช้ได้อย่างสอดคล้องกับระบบรัฐสภาก็ต้องบัญญัติข้อบังคับการประชุมสภา โดยไม่ให้อำนาจประธานวุฒิสภามากเกินไปอีกทั้งต้องคำนึงถึงนิติวิธีเกี่ยวกับการประชุมสภา เพราะว่าประธานวุฒิสภาถือเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการจัดการประชุม ดังนั้นบุคคลที่จะมาเป็นประธานวุฒิสภาต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมืองและจะต้องเป็นบุคคลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อีกทั้งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติและข้อบังคับต่างๆในการประชุมสภา อีกทั้งต้องมีความเด็จขาดในการแสดงความคิดเห็นการวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องต่างๆที่สำคัญเช่น การวินิจฉัยการประท้วง แนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ต้องอยู่บนหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญและข้อบังคับในการประชุมสภา โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกวุฒิสภาทุกคนตรวจสอบการทำงานได้ อีกทั้งสมาชิกวุฒิสภาทุกคนต้องเข้าใจอำนาจหน้าที่ของตนและระเบียบข้อบังคับในการประชุมสภาอย่างถ่องแท้ และจะต้องมีจิตสำนึกที่จะปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ในฐานะที่สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากประชาชนให้มาปรึกษาหารือกันบริหารประเทศให้การปกครองดำเนินไปตามวิถีทางประชาธิปไตย และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชาติบ้านเมือง

๘. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ

กล่าวนำ

ความจริงเรื่องเอกสิทธิ์และคุ้มกันเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ ในศตวรรษที่ ๑๔ และ๑๕ จากแนวคิดนี้ เพื่อต้องการให้สมาชิกสามัญ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนปฏิบัติหน้าที่ของตนในสภาผู้แทนราษฎรโดยไม่หวั่นเกรงหรือเกรงกลัวว่าจะถูกผู้ใดนำไปเป็นเหตุฟ้องร้อง กล่าวโทษ ซึ่งในยุคนั้นมีสมาชิกสภาสามัญจำนวนมากถูกจับกุมถูกฟ้องร้องโดยพระมหากษัตริย์เพราะเหตุจากการปฏิบัติหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ตัวอย่างคดีฮักซี่ส์ (Haxey) ในสมัยพระเจ้าริชาร์ดที่ ๒ ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่านายฮักซี่ส์ สมาชิกสภาคนหนึ่งได้เสนอกฎหมายเกี่ยวกับการปรับลดค่าใช้จ่ายในสำนักของพระเจ้าริชาร์ด ที่ ๒ ซึ่งในเวลาต่อมานายฮักซี่ส์ ได้ถวายฎีกาต่อพระเจ้าเฮนรี่ ที่ ๔ ว่าตนเองได้รับเอกสิทธิ์

ในประเทศอังกฤษ หลักเรื่องเอกสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองเป็นลายลักอักษรใน ปี ค.ศ.๑๖๘๙ มาตรา ๙ ของ Bill of Rights มีข้อความว่า การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หรืออภิปรายหรือดำเนินการในรัฐสภา ไม่ควรเป็นเหตุให้ต้องถูกกล่าวหาโทษ หรือถูกต้องเป็นประเด็นสอบถาม ในศาล หรือ ณ สถานที่ใด ๆ นอกรัฐสภา

รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ฉบับแรกของโลกยุคใหม่ ก็มีบทบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์ ในหมวด ๑ มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง มีข้อความว่า สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีเอกสิทธิ์ที่จะไม่ถูกไต่สอบสวนในเรื่องที่สมาชิกอภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นในสภา

รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ฉบับปี ๑๙๕๘ มีบทบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์ ในมามาตรา ๒๖ มีข้อความว่า สมาชิกรัฐสภาไม่อาจถูกฟ้องร้อง ติดตาม จับกุม คุมขังหรือพิจารณาพิพากษา คดีอันเนื่องมาจากการแสดงความผิดเห็น หรือการออกเสียงลงคะแนนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน

รัฐธรรมนูญไทย

มีหลักการดังกล่าวมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๔๗๕ โดยมีบทบัญญัติเรื่องนี้ในมาตรา ๒๔ บัญญัติว่า สมาชิกไม่ต้องรับผิดในถ้อยคำใด ๆ ที่ได้กล่าวหรือแสดงเป็นความเห็น หรือในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุม ผู้หนึ่งผู้ใดจะว่ากล่าวฟ้องร้อง เพราะเหตุนั้นหาได้ไม่

สำหรับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐ มีหลักการเช่นเดียวกันรัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๔๐ โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ มีบทบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์ใน มาตรา ๑๓๐ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ซึ่งแยกเอกสิทธิ์ออกเป็น ๒ ลักษณะ คือเอกสิทธิ์ยังไม่มีการถ่ายทอดวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ และเอกสิทธิที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์

ประเด็นพิจารณา

๑. เอกสิทธิในกรณีที่ไม่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ รัฐธรรมนูญ ฉบับปี ๒๕๕๐ มาตรา ๑๓๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมวุฒสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความผิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวหาสมาชิดคนใดมิได้ และมีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

ก. บุคคลที่ได้รับเอกสิทธิ์ โดยหลักคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา นอกจากนี้ยังมีบุคคลอีกบางกลุ่มที่ได้รับเอกสิทธิ์ด้วย

ข. การกระทำที่ให้ได้รับเอกสิทธิ์ ได้แก่การกล่าวถ้อยคำในทางแถลงข้อเท็จจริง การแสดงความคิดเห็น และการออกเสียงลงคะแนน

การกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมสภาที่จะได้รับเอกสิทธิ์ ต้องเป็นการกล่าวโดยถูกต้องตามข้อบังคับการประชุม และได้รับอนุญาตจากประธานสภาด้วย หากกล่าวผิดข้อบังคับการประชุม หรือโดยประธานสภาไม่อนุญาต เช่น สั่งให้หยุดพูดแล้ว แต่สมาชิกผู้นั้นไม่ยอมหยุดพูด เขาย่อมไม่ได้รับเอกสิทธิ์

๒. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑

ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการและการอภิปราย ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เช่น

ข้อ ๒๒ “ผู้ใดประสงค์จะกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุม ให้ยกมือขึ้นพ้นศีรษะเมื่อประธานอนุญาตแล้ว จึงยืนขึ้นกล่าวได้ และต้องเป็นการกล่าวกับประธานเท่านั้น” จะไปบอกต่อผู้ถูกอภิปราย หรือถูกพาดพิงไม่ได้ และหากประธานไม่อนุญาตผู้กล่าวในสภาจะลุกขึ้นพูดไม่ได้ แต่ว่าปัจจุบันที่เห็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาเวลาที่กล่าวหาพาดพิงถึงสมาชิกผู้อื่น ก็จะมีผู้ยกมือประท้วง และประธานก็จะบอกให้ถอนคำพูดบ้าง หรือถ้าไม่ยอมถอนคำพูดประธานก็จะเชิญออกไปจากห้องประชุมสภา แต่สมาชิกผู้นั้นก็ยังได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองอยู่ ความจริงแล้วหากประธานที่ทำหน้าที่เชิญออกนอกห้องประชุมไป ผู้นั้นไม่ควรได้รับเอกสิทธิ์ เหตุผลเพราะว่าความประพฤติไม่ดี ผิดจรรยาบรรณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ข้อ ๓๒ “ในกรณีที่สมาชิกกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ อันอาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกได้รับความเสียหายบุคคลนั้นมีสิทธิร้องขอต่อประธานสภาภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่มีการประชุมครั้งนั้น เพื่อให้มีการโฆษณาคำชี้แจง

การยื่นคำร้องต้องทำเป็นหนังสือพร้อมคำชี้แจงประกอบข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนและอยู่ในประเด็นที่ผู้ร้องอ้างว่าก่อให้เกิดความเสียหายเท่านั้น”

ข้อ ๖๑ การอภิปรายต้องอยู่ในประเด็น หรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังปรึกษากันอยู่ ต้องไม่ฟุ่มเฟือย หรือซ้ำกับผู้อื่นและห้ามไม่ให้นำเอกสารใด ๆ มาอ่านให้ที่ประชุมฟังโดยไม่จำเป็น และห้ามไม่ให้นำวัตถุใด ๆ เข้ามาแสดงในที่ประชุม เว้นแต่ประธานจะอนุญาต ซึ่งหากผู้อภิปรายไม่เกี่ยวกับประเด็น พูดซ้ำซาก ไปกระทบสิทธิ์ของบุคคลอื่น หรือนำเอเอกสารมาอ่าน หรือเอกสารที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น มาอภิปรายโดยที่ประธานไม่ได้อนุญาตแล้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้อภิปรายนั้น จะไมได้รับเอกสิทธิ์ คุ้มกันเลย

ห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยาแสดงกิริยา หรือใช้วาจาไม่สุภาพ ใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ หรือออำชื่อสมาชิกหรือบุคคลใดโดยไม่จำเป็น

ข้อ ๖๒ ถ้าประธานเห็นว่าผู้ใดใช้เวลาในการอภิปรายมากพอสมควรแล้ว ประธาน จะสั่งให้ผู้นั้นหยุดอภิปรายถ้าผู้อภิปรายไม่หยุดหรือถูกเพื่อนสมาชิกที่อยู่ทีในที่ประชุมประท้วงแล้ว ประธานก็จะเชิญผู้นั้นออกจากห้องประชุมไป โดยไม่มีการได้รับเอกสิทธิ์ในกรณีที่ไม่หยุดอภิปราย ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการได้รับเอกสิทธิ์ ในการจับกุม คุมขัง

ข้อ ๖๓ ถ้าสมาชิกผู้ใดต้องการที่จะประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับ ให้ยืนขั้นและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ โดยประธานต้องให้โอกาสนั้นชี้แจง แล้วให้ประธานวินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนตามที่มีผู้ประท้วง หรือไม่ ซึ่งคำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด หากการประท้วงเป็นผลก็จะทำให้ผู้อภิปรายหยุดการอภิปราย ถ้าการประท้วงไม่เป็นผล ผู้นั้นก็จะได้อภิปรายต่อไป

ให้นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น

ข้อ ๖๔ เมื่อผู้ประท้วงตามข้อ ๖๓ ผู้อภิปรายอาจถอนคำพูดของตน หรือตามคำวินิจฉัยของประธานได้

ถ้าผู้อภิปรายออกไปห้องประชุมสภาโดยไม่ถอนคำพูดของตนตามคำวินิจฉัยของประธาน ให้ประธานบันทึกการไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุม

๓. สถานที่ที่จะได้รับเอกสิทธิ์ ได้แก่ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ประชุมวุฒิสภา และที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา

เอกสิทธิ์จะให้ความคุ้มครองเฉพาะการกล่าวถ้อยคำ ในที่ประชุม เท่านั้น หากเป็นการกล่าวในที่ที่ ไม่ใช่ห้องประชุม แม้จะอยู่ในบริเวณรัฐสภา เช่น อยู่ในห้องแถลงข่าวห้องโถง หรือ ห้องอาหาร หรือบริเวณจอดรถของรัฐสภา ฯ กรณีอย่างนี้จะไม่ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มกัน

นอกจากนี้แม้เป็นการกล่าวในห้องประชุม หากไม่ได้กล่าว ในขณะที่มีการประชุมสภา ฯ ตัวอย่างเช่น กล่าวก่อน หรือหลังการประชุม หรือขณะพักการประชุม หรือซุบซิบกันเองในหมู่สมาชิกด้วยกัน กรณีนี้จะไม่ได้รับเอกสิทธิ์

๔. ผลของเอกสิทธิ์ เป็นเอกสิทธิ์เด็ดขาด (absolute) ผู้ใดจะนำไปเป็นฟ้องร้อง ว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้น ในทางใดมิได้ ซึ่งหมายถึงในทางอาญา เช่น ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๓๖ , ๓๒๖ , ๓๒๗ , ๓๒๙ และในทางแพ่ง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๔๐ , ๔๒๑ และ มาตรา ๔๒๓ ดังนั้นการคุ้มสมาชิกในสภาย่อมเป็นเอกสิทธิ์ โดยเด็ดขาดในการกล่าวถ้อยคำแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น และออกเสียงลงคะแนน ได้อย่างอิสระผู้ใดจะนำไปฟ้องร้องมิได้ ซึ่งการคุ้มครองนี้ จะคุ้มครองสมาชิกจากรัฐสภาจากการดำเนินคดีทุกกรณี ทั้งทางแพ่ง และทางอาญา

๕. การคุ้มครองนี้ จำกัดเฉพาะ การกล่าวถ้อยคำ การแถลงข้อเท็จจริง การแสดงความคิดเห็นและการออกเสียงลงคะแนน ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ประชุม วุฒิสภา และที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เท่านั้น มีรวมถึงการที่สมาชิกกระทำความผิดในกรณีอื่น เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น

ในกรณีมีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ แล้วถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณสภา และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษะนั้นเป็นความผิดทางอาญา

ส่วนเอกสิทธิ์ในกรณีที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๓๐ วรรคสอง บัญญัติว่า เอกสิทธิ์ไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไป ปรากฏนอกบริเวณสภา และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญา หรือละเมิดสิทธิ์ในทางแพ่ง ต่อบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น

เอกสิทธิ์ในกรณีที่มีการถ่ายทอดแตกต่างจากเอกสิทธิ์ ในกรณีที่ไม่มีการถ่ายทอด หมายความว่า หากผู้ได้รับความเสียหายเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่รัฐมนตรี หรือสมาชิกแห่งสภานั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาผู้กล่าวถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเสียหายจะไม่ได้รับเอกสิทธิ์ แต่หากว่าผู้ได้รับความเสียหายเป็นรัฐมนตรี และสมาชิกสภาแห่งนั้น ผู้กล่าวถ้อยคำย่อมได้รับเอกสิทธิ์

ตัวอย่าง เช่น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจาณาญัตติเกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลในการประมูลงานก่อสร้างของกระทรวงหนึ่ง ซึ่งไม่มีการถ่ายทอดทั้งทางวิทยุกระจาย เสียงและวิทยุโทรทัศน์ นายแดง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคฝ่ายค้านกล่าวในที่ประชุม โดยไม่ได้อนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนมีหลักฐานว่า นายดำ รัฐมนตรีรับเงินจาก บริษัทที่ชนะการประมูลงานก่อสร้างในกระทรวงแห่งนั้น โดยนายดำ ให้นางเขียว ภริยานายดำ เดินทางไปรับเงินด้วยตนเองที่ฮ่องกง ต่อมานายดำและนางเขียวเป็นโจทก์ฟ้องนายแดง เป็นคดีอาญา ข้อหา หมิ่นประมาท และฟ้องนายแดงเป็นคดีแพ่ง เรียกค่าเสียหาย เพาะเหตุทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงของตน

กรณีนี้จะเห็นได้ว่า ไม่มีการถ่อยทอดสดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เมื่อนายแดง กล่าวถ้อยคำในทางแถลงข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร และเป็นเรื่องในวาระที่กำลังประชุมกัน จึงเป็นการกล่าวโดยถูกต้อง ต้องตามข้อบังคับ นายแดง ย่อมได้รับเอกสิทธิ์เด็ดขาด ทั้งนายดำ และนางเขียวจะฟ้องนายแดง เป็น คดีอาญาเป็นคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทไม่ได้ หรือจะฟ้องนายแดงเป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงของตนไม่ได้

คดีที่มีการอ้างเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภา ความคุ้มกันของสมาชิกรัฐสภา ( immunity ) หมายถึง ความคุ้มกันที่รัฐธรรมนูญให้แก่สมาชิกรัฐสภาที่จะไปประชุมรัฐสภาตามหน้าที่โดยไม่ถูกจับ คุมขัง หรือดำเนินคดีใด ๆ ในลักษณะที่จะขัดขวางต่อการมาประชุมเมื่อพ้นเวลาที่จะต้องไปประชุมแล้ว ความคุ้มกันจะหมดไป

รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันคือ ฉบับ ๒๕๕๐ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองของสมาชิกรัฐสภา มาตรา ๑๓๑ แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ

๑. ความคุ้มกันที่จะไม่ถูกจับกุม คุมขัง หรือหมายเรียกตัวไปสอบสวนในฐานะที่เป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาระหว่างสมัยประชุม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๓๑ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง บัญญัติว่า ในระหว่างสมัยประชุมห้ามมิให้จับกุม คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทน หรือสมาชิกวุฒิสภาไปทำการสอบสวน ในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือจับในขณะกระทำผิด

๒. ในกรณีที่มีการจับกุมตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ในขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกโดยพลัน ประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้

สาระสำคัญใน มาตรา ๑๓๑

๑. ลักษณะของการคุ้มกัน คือห้ามจับกุม คุมขัง หรือหมายเรียกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาไปทำการสอบสวน ในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา

๒. บุคคลที่ได้รับการคุ้มครอง คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ไม่ขยายไปถึงบุคคลภายนอก จึงแตกต่างไปจากเอกสิทธิ์ที่ขยายความคุ้มครองไปยังบุคคลอื่น คือรัฐมนตรี หรือกรรมาธิการ รวมทั้งผู้พิมพ์ ผู้โฆษณารายงานการประชุม ตลอดจนผู้ถ่ายทอดการประชุมด้วย ช่วงที่ได้รับการคุ้มครอง คือระหว่างสมัยการประชุมเท่านั้น

ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกรัฐสภาในคดีอาญาไม่ว่าจะฟ้องใน หรือนอกสมัยการประชุม ศาลจะพิจารณาคดีระหว่างสมัยประชุมมิได้ ( ฟ้องร้องได้ แต่จะพิจารณาคดีไม่ได้ )

การคุ้มกันจะคุ้มครองเฉพาะคดีอาญาเท่านั้นไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติหน้าที่สมาชิกรัฐสภาหรือไม่ แต่จะไม่ให้คุ้มครองในคดีแพ่ง

การคุ้มครองดังกล่าวเป็นการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างสมัยประชุมเท่านั้น เมื่อพ้นสมัยการประชุมการคุ้มครองจะหมดไปด้วย ต่างจากเอกสิทธิ์ ซึ่งคุ้มครองถาวร และเด็ดขาด เช่น สมาชิกสภาผู้ราษฎรพรรคเพื่อไทย ที่ถูกกล่าวว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ๒ คน แต่ก็ไม่ถูกควบคุม เพราะว่ารับเอกสิทธิ์คุ้มครอง เหตุผลเพราะเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

๙. การประท้วงการประชุม

จากการสุ่มตรวจรายงานการประชุมของรัฐสภา(ประชุมร่วม) พบข้อมูลเกี่ยวกับการประท้วงการประชุมอยู่เสมอ เนื่องจากสมาชิกหรือประธานสภาฯกระทำผิดข้อบังคับฯ หรือดำเนินการบกพร่อง ไม่ถูกต้อง ฯลฯ เป็นต้น

ในการประชุมของรัฐสภา ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ ตึกรัฐสภา พบตัวอย่างข้อมูลการประท้วงจากรายงานการประชุม น.๖ – น.๔๘ (จากทั้งหมด ๒๕๔ หน้า) ดังนี้

๑. นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ชัยภูมิ) :ท่านประธานครับ ผมขอประท้วงท่านประธาน มีการอภิปรายเสียดสี ใส่ร้าย น.๖

๒. นายขยัน วิพรหมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ลำพูน) : ท่านประธานครับ

ขออนุญาตประท้วงครับ ท่านผู้กำลังอภิปรายครับ พูดเสียดสีไม่สุภาพ น.๑๘

๓. นายวรงค์ เดชกิจวิกรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พิษณุโลก) ให้ประธานช่วยควบคุมกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ น.๒๙

๔. นายสถาพร มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ลำพูน) ประท้วง ตามข้อบังคับการประชุม ข้อ ๑๙ กำหนดไว้ว่า เมื่อพ้นกำหนดการประชุม ๓๐ นาที จำนวนสมาชิกยังไม่ครบองค์ประชุม ประธานจะสั่งให้เลื่อนการประชุมไปก็ได้ สงสัยว่าองค์ประชุมครบหรือยัง ให้ท่านประธานวินิจฉัย น.๓๐

๕. นายสุนัย จุลพงศธร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (แบบสัดส่วน) ประท้วง การเสนอที่ท่านประธานให้มีการพิจารณารวมกัน ๔ ญัตติ โดยให้รัฐมนตรีทำการแถลงเลย ๔ ท่าน ทั้ง ๔ ญัตติญัตติไม่ชอบด้วยข้อบังคับ ข้อ ๔๗ เพราะเป็นการเสนอญัตติซ้อนญัตติ โดยให้รัฐมนตรีทำการแถลง ตาม รธน.๕๐ มาตรา ๑๗๗ น.๓๕

๖. นายวรงค์ เดชกิจวิกรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (พิษณุโลก) ประธานทำถูกตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔๗ (๔) เราไม่ได้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔๗ (๒) เนื่องจากว่าข้อ ๔๗ (๒) นั้นจะต้องเป็นเรื่องทำนองเดียวกัน เนื่องจากว่าขณะนี้เรากำลังพิจารณาอยู่ในกรอบ มาตรา ๑๙๐ ซึ่งกรอบมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญเป็นกรอบใหญ่แล้วก็มีประเด็นอยู่หลายประเด็นที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นข้อ ๔๗ (๔) ก็เปิดให้พวกเราได้มาพิจารณารวม น.๓๗

๗. นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (แบบสัดส่วน) : ไม่ครับ เมื่อท่านประธานได้วินิจฉัยแล้วก็ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดนะครับ น.๔๕

๘. นายสมคิด บาลไธสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (หนองคาย) : ผมอยากจะขอเดินตรวจว่ากดให้กันไหมนะครับ ได้ไหม น.๔๘

๑๐. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔

ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔ สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ (ครม.เป็นผู้เสนอ) เมื่อ ๒๖ - ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ และตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน ๖๓ คน

จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔ ได้ผ่านการพิจารณาทั้งสามวาระแล้ว ด้วยคะแนน ๒๕๓ ต่อ ๑๗๘ งดออกเสียง ๑๔ ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นการพิจารณาของวุฒิสภา ตาม รธน.๕๐ ม.๑๖๘ ซึ่งได้นัดประชุมในวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ นี้

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการตั้งงบประมาณโดยรวมเห็นว่ายังไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔) เพราะยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างตรงจุด กอปรกับมีความเป็นไปได้ที่จะมีการกำหนดนโยบาย โครงการที่ส่อเค้าเกิดปัญหาการทุจริต (นักวิชาการเคยประมาณว่าการทุจริตโครงการในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมาของงบลงทุนของรัฐบาลมีประมาณ ๓๐% คิดเป็นเงินประมาณ ๙ แสนล้านบาท) และความไม่คุ้มค่าต่องบประมาณในอนาคต งบประมาณหน่วยความมั่นคงยังคงสูง เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณด้านอื่น ๆ จำนวนงบประมาณมหาศาลที่ตั้งไว้ ๒.๐๗ ล้านล้านบาท(ค่าใช้จ่ายส่วนราชการ ๒,๐๓๙,๖๕๓,๙๓๗,๖๐๐ บาท และ เพื่อชดใช้เงินคงคลัง ๓๐,๓๔๖,๐๖๒,๔๐๐ บาท) ถือว่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เป็นการตั้งงบแบบขาดดุล ๔.๒ แสนล้านบาท ในขณะเดียวกันมีหนี้สาธารณะอยู่รวม ๔.๕ ล้านล้านบาท ฉะนั้น การพิจารณางบประมาณจึงจำเป็นต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วน ความคุ้มค่าของงบประมาณ ซึ่งสวนทางกับนโยบาย “ประชานิยม” ที่ลดแลกแจกแถมเอาใจประชาชน ซึ่งไม่ตรงปัญหาที่แท้จริง สวนทางกับการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน

ดังนั้น หากรัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศโดยพยายามมุ่งเน้น “ความมีวินัยทางการคลัง” และ ความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนอย่างแท้จริง ปราศจากการแอบแฝง นัยทางการเมือง ก็จะส่งผลให้ประเทศชาติต้องผูกติดกับปัญหาหนี้สาธารณะต่อไป

ในการพิจารณากฎหมายของสภานิติบัญญัติที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาทางการเมืองและสังคมที่เรื้อรังมาโดยตลอด จนส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองและความไม่ชอบธรรมในสังคมไทย อย่างน้อยก็มีผลจากภารกิจของฝ่ายนิติบัญญัติ คือการพัฒนากฎหมายที่เสนอผ่านการพิจารณา กฎหมายบางฉบับต้องค้างการพิจารณา ล่าช้า หรือตกไป มีหลายฉบับที่ผ่านการพิจารณาจนประกาศใช้บังคับเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

ปัญหาด้านการเมืองและสังคม อันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งต่าง ๆ ในสังคม รวมทั้งความเหลื่อมล้ำของสังคม อาทิ การขัดแย้งด้านแนวคิดของกลุ่มเสื้อแดง เสื้อเหลือง การชุมนุมต่อต้านทักษิณ การชุมนุมต่อต้านรัฐบาล การปฏิวัติรัฐประหารปี ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา การยุบพรรคการเมืองต่าง ๆ การดำเนินคดีแก่นักการเมือง การสลายการชุมนุมสี่แยกราชประสงค์เมื่อเมษายน ๒๕๕๓ ฯลฯ เป็นต้น ล้วนส่งผลกระทบต่อความมีเสถียรภาพของการทำหน้าที่สภานิติบัญญัติ จึงจำเป็นต้องมีการปรองดองกัน เพื่อแสวงหาจุดร่วมในการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ความสงบสุขต่อไป

๑๑. การควบคุมจริยธรรมสมาชิกรัฐสภา

ตามรธน.ม.๒๗๙ บัญญัติว่า

“มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือ

เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น

มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ…”

บทบัญญัติดังกล่าวบังคับให้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรราชการ ต้องจัดทำประมวลจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญ โดยมีผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้คอยติดตามตรวจสอบ

สส. มี ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ.๒๕๔๒ ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๒ ลงนามโดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ

สว. มี ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ.๒๕๕๓ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๓ ลงนามโดยนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา

ปํญหาที่เกิดก็คือ สมาชิกสภาไม่รู้จักบทบาทของตนเอง เป็นเรื่องของสำนึกความรับผิดชอบ บทบัญญัติของประมวลจริยธรรมส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความประพฤติหรือพฤติกรรมที่นำมาซึ่งผลประโยชน์ทับซ้อน หรือ “การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม” (Interest of Conflict)

สำหรับมาตรการในการลงโทษนั้น มีการระบุไว้ด้วยในประมวลจริยธรรม คือ

ตามข้อบังคับประมวลจริยธรรมของวุฒิสภา ข้อ ๓๘ “ในกรณีที่วุฒิสภาเห็นว่ามีหลักฐานและข้อเท็จจริงอันควรเชื่อได้ว่า สมาชิกหรือกรรมาธิการผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับ ให้วุฒิสภามีมติว่ากล่าวตักเตือน หรือตำหนิ หรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์...”

ข้อ ๔๐ “ในกรณีที่วุฒิสภามีมติ โดยมีหลักฐานและข้อเท็จจริงอันควรเชื่อได้ว่า สมาชิกผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามมาตรา ๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน...”

ตามข้อบังคับประมวลจริยธรรมของ สส. ข้อ ๓๒ (ข้อสุดท้าย) “ในกรณีที่คณะกรรมการจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎรมีคำวินิจฉัยว่า สมาชิกหรือกรรมาธิการผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมข้อใด คระกรรมการมีอำนาจที่จะลงโทษสมาชิกหรือกรรมาธิการผู้นั้น โดยการตำหนิหรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์และรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทราบ”

เห็นถึงความเหมือนกันของข้อบังคับประมวลจริยธรรมทั้งสองฉบับคือ มี “การตำหนิหรือประณามให้เป็นที่ประจักษ์” แต่สำหรับข้อบังคับของวุฒิสภา มีมาตรการส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดินด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก ข้อบังคับของวุฒิสภาเป็นฉบับใหม่ที่ออกตาม รธน. ๕๐

๑๒. หมวดว่าด้วย การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย

ข้อบังคับการประชุมทั้งสามสภามีบทบัญญัติว่าด้วยการรักษาระเบียบและความเรียบร้อย ซึ่งหมายถึงการรักษาระเบียบการประชุม โดยเฉพาะกรณีให้บุคคลภายนอกเข้ามาฟังการประชุม ไม่ว่าการแต่งกาย เครื่องแบบ การรบกวนการประชุม เป็นต้น

โดยเฉพาะการควบคุมการประชุม มิให้เกิดความไม่สงบ ดังเช่นต่างประเทศเกิดอยู่เนือง ๆ เช่น รัฐสภาไต้หวัน รัฐสภาเกาหลีใต้ เป็นต้น แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่ปรากฏจนถึงขั้น “สภาอลเวง” คือ การเกิดเหตุวุ่นวายขึ้นในสภา แต่มีปรากฏว่า ประธานสภาเชิญสมาชิกให้ออกนอกห้องประชุมเมื่อมีการดื้อดึง ไม่เชื่อฟัง ฝ่าฝืน

๑๓. หมวดว่าด้วยคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา

ทั้งสภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา ต่างก็มีคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา คือ สส.มี ๓๕ ชุด สว.มี ๒๒ ชุด ซึ่งถือว่ามีจำนวนมาก และ บางกรณีมีการซ้ำซ้อนกันในภารกิจ ต้องมีการประชุมร่วมในคณะกรรมาธิการที่ซ้ำซ้อนนั้น ๆ

มีปัญหาสถานะทางกฎหมายและสภาพบังคับของข้อบังคับฯ ทำให้อำนาจของกรรมาธิการที่จะสั่งข้าราชการ เพื่อการสอบสวน ขอข้อมูล รวมถึงการไต่สวนต่าง ๆ ว่า มักจะไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ หรือองค์กรภายนอกเพราะ ไม่มีบทคุ้มครองและการลงโทษ เนื่องจากข้อบังคับการประชุมสภาเป็นเพียงระเบียบภายในของหน่วยงานรัฐสภา ยังไม่ถือเป็นกฎหมาย

๑๔. หมวดว่าด้วย การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง ตาม ม.๒๗๐

ปรากฏอยู่ในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.๒๕๕๑ หมวด ๖ การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๗๐ ของรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ ข้อ ๑๑๑ ถึง ข้อ ๑๒๘

มูลเหตุที่จะถอดถอนมีอยู่ ๕ เหตุ ตามมาตรา ๒๗๐

เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ กับรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ ได้กำหนดกระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่งไว้ในมาตรา ๓๐๔ ถึงมาตรา ๓๐๗ โดยกำหนดให้บุคคลที่มีสิทธิร้องขอให้ถอดถอนบุคคลตามตำแหน่งดังกล่าวได้ กล่าวคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนมีสิทธิเข้าชื่อ ร้องขอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเป็นข้อๆ ให้ชัดเจน

นอกจากนั้น ได้ให้สิทธิสมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่า ที่มีอยู่ มีสิทธิร้องขอต่อประธานวุฒิสภา ให้ถอดถอนสมาชิกออกจากตำแหน่งได้

ต่อมารัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ ได้ตราบทบัญญัติในเรื่องนี้ไว้ในมาตรา ๒๗๐ ถึง ๒๗๔ โดยได้เพิ่มฐานความผิดในเรื่อง “ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง” และลดจำนวนประชาชนที่มีสิทธิเข้าชื่อกล่าวหาเพื่อถอดถอนลงเหลือ ๒๐,๐๐๐ คน รวมทั้งบันทึกเจตนารมณ์ได้อธิบายว่า “ส่อ” มีความหมายที่เปิดกว้างกว่าคำว่า “จงใจหรือเจตนา” เพื่อให้ครอบคลุมได้อย่างกว้างขวาง

สิ่งที่น่าสังเกตในบัญญัติของรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับในเรื่องนี้ คือ ให้ดำเนินการถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยวุฒิสภา ควบคู่ไปกับการดำเนินคดีอาญาผ่านกระบวนการยุติธรรม ทำให้อาจพิจารณาได้ว่า การถอดถอนออกจากตำแหน่ง เป็นการลงโทษต่อข้าราชการของรัฐเพิ่มเติม

บทสรุป

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.๒๕๕๐) ได้วางกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไว้หลายกระบวนการ โดยแต่ละกระบวนการก็เป็นกระบวนการที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจอาจนำไปสู่กระบวนการถอดถอนและถูกลงโทษทางอาญาโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ เป็นต้น กระบวนการถอดถอนข้าราชการของรัฐออกจากตำแหน่งโดยวุฒิสภา เป็นภารกิจสำคัญที่รัฐธรรมนูญมอบให้สมาชิกวุฒิสภาดำเนินการไต่สวนลงโทษข้าราชการของรัฐระดับสูงที่ใช้อำนาจโดยมิชอบจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน และทุจริตต่อหน้าที่ทำให้ราชการเสียหาย จะช่วยให้สมาชิกวุฒิสภาทุกคนจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ด้วย ความมั่นใจ ก่อให้เกิดประโยชน์สุขกับประชาชนและความมั่นคงมั่งคั่งของประเทศในภาพรวมมากขึ้น การให้อำนาจ “วุฒิสภา” มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการของรัฐระดับสูงได้ จะต้องปรับเปลี่ยน “ที่มา” ของวุฒิสภา โดยให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจึงจะชอบด้วยหลักการ

๑๕. ปัญหาการควบคุมรัฐบาลโดยการตั้งกระทู้ถาม

เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในการควบคุมฝ่ายบริหาร ก็คือ “การตั้งกระทู้ถาม” และ การเสนอ “ญัตติ” คณะผู้ทำรายงานจึงได้หยิบการศึกษาเรื่อง “กระทู้ถาม” มาพิจารณาพอสังเขป โดยพิจารณาจากข้อบังคับการประชุมฯ

ประเทศที่มีการปกครองระบบรัฐสภา นั้นหน้าที่สำคัญคือการออกกฎหมายและควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหาร การตั้งกระทู้ถามสมาชิกต่อรัฐสภา เป็นการควบคุมโดยตรง

ปัญหาสมาชิกได้ให้ความสนใจต่อการตั้งกระทู้ถามมาก แต่ฝ่ายบริหารหรือรัฐมนตรีกลับมีเวลาตอบน้อยปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของกฎหมาย และค่านิยมทางสังคมเป็นอุปสรรค์ต่อการตั้งกระทู้ถาม

ก่อนที่จะวิเคราะห์ปัญหาจำต้องทราบความหมายของกระทู้ก่อนซึ่งตามพจนานุกรม “ข้อที่ตั้งถามในสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่คำถามที่สมาชิกคนใดคนหนึ่งตั้งถามสมาชิกคนใดคนหนึ่งตั้งถามรัฐมนตรีในข้อความใดๆจะเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อนโยบายก็ดี อันเกี่ยวกับงานหน้าที่ของรัฐมนตรี” เมื่อหันมาพิจารณาถึงกระทู้ถามของรัฐสภาไทย มีอยู่ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. ๒๕๕๑ หมวด ๘ กระทู้ถามส่วนที่ ๑ บททั่วไปตั้งแต่ข้อบังคับข้อ ๑๔๑ ถึงข้อ ๑๕๑ และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อหมวด ๘ การตั้งกระทู้ถาม ข้อ ๑๕๙ ถึง ข้อ ๑๗๓

การควบคุมฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติโดยวิธีตั้งกระทู้ถามมีปัญหาดังนี้

๑.โครงสร้างทางฝ่ายนิติบัญญัติ ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกระทู้ถามได้แก่ โครงสร้างทางด้านกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ ปัญหาด้านโครงสร้างแยกเป็น ๒ กรณี ลักษณะโครงสร้างที่เป็นทางการ ถูก กำหนดโดยกฎหมาย กฎข้อบังคับและลักษณะโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ ปัญหาในโครงสร้างที่เป็นทางการหน้าที่โดยทั่วไปของส.ส. ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมส.ส. คือการตั้งกระทู้ถามเพื่อควบคุมการบริหารคนของฝ่ายรัฐบาล

การตั้งกระทู้ถามต่อรัฐมนตรี ในคณะรัฐบาลของสมาชิกรัฐสภา อยู่ที่ว่าสมาชิกรัฐสภาสามารถที่จะตั้งกระทู้ถามในเรื่องปัญหาเรื่องใดๆก็ได้ ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือเรื่องที่เกี่ยวกับสาธารณะชนทั่วไป (ข้อเท็จจริง) และเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลในการบริหารงานประเทศ ซึ่งสมาชิกรัฐสภาไม่เข้าใจ ข้องใจหรือได้รับการร้องเรียนจากประชาชนหรือบุคคลต่างๆเพื่อให้การบริหารงานของรัฐบาลเป็นไปตามเจตนารมณ์และครรลองของกฎหมาย การตั้งกระทู้ถามตามโครงสร้างเป็นทางการรัฐสภา มีขั้นตอนมาก และในแต่ละขั้นตอนยังมีวิธีปฏิบัติที่มีรายละเอียดของข้อบังคับอีกด้วยซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนไม่ผิดข้อบังคับ ความผิดพลาดหรือเนื่องจากไม่รู้หรือไม่เข้าใจในระเบียบข้อบังคับ ส.ส.ไม่ควรมีเลย

สรุปปัญหาที่ทำลายระบบรัฐสภาเกิดจาก

(สุรวุฒิ ปัดไธสง “ปัญหาการควบคุมรัฐบาลโดยการตั้งกระทู้ถาม” วารสารรัฐสภา ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๖ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๑ issn ๐๑๒๕-๐๙๕๗ หน้า ๔๗)

๑.ส.ส.ไม่เข้าใจต่อเนื้อหาของปัญหาที่ต้องตั้งกระทู้ถาม

๒.ปัญหาความสลับซับซ้อนหลายขั้นตอนของกระบวนการตั้งกระทู้ถามตามระเบียบข้อบังคับต่างๆ

๓.การยื่นกระทู้แม้จะบอกให้ยื่นต่อสภาแต่ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้าราชการประจำและต้องชี้ขาดว่ากระทู้ตามที่ยื่นมาถูกต้องตามข้อบังคับการประชุมหรือไม่ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจบังคับอำนาจการควบคุมฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติ

๔.ประธานสภาต้องมาจากผู้ที่มีความเป็นกลางเพราะ กระทบฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ถ้าประธานเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองฝ่ายบริหารจะบรรจุกระทู้ถามถึงปัญหาการบริหารที่มีอันตรายหรือเป็นกระทู้ที่อาจเปิดเผยความจริงถึงขั้นความล้มเหลวของฝ่ายบริหาร จนถึงขนาดนำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ประธานสภาอาจต่อรองกับเจ้าของกระทู้ได้

๕.ขั้นตอนที่มีการส่งกระทู้ถามรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง ประธานมิได้ระบุหรือกำหนดลงไปเลยว่าจะให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตอบกลับมาเมื่อใด ทำให้มีการหน่วงเหนี่ยวการตอบออกไปให้นานที่สุด

๖.การประชุมครั้งหนึ่งๆให้บรรจุกระทู้ถามไม่เกินห้ากระทู้ แต่หากกรณีเร่งด่วน ประธานสภาจะบรรจุกระทู้ถามเกินห้ากระทู้ได้ ประกอบสมัยประชุมก็สั้น กับการประชุมก็น้อยประชุมกันจริงๆก็มีการเริ่มช้า ในการประชุมช่วงแรกๆสำหรับผู้ที่ไม่ได้ถามก็ไม่มีความสนใจเข้าร่วมประชุม ทำให้สมาชิกไม่ครบองค์ประชุม ผลทำให้การตอบกระทู้ช้า ทำให้สภาเสียหาย

๗.ข้อบังคับการประชุมและรัฐธรรมนูญให้อำนาจรัฐมนตรีไว้มากที่ไม่ตอบข้อกระทู้ถาม

๘.กรณีมีการตอบกระทู้ตามเรื่องที่ถามก็เป็นเรื่องที่ช้าล่าสมัยไปเสียแล้ว

๙.ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๑๔๒ การตั้งกระทู้ถาม ให้ผู้ตั้งกระทู้ถามมีอิสระจากมติพรรคการเมือง หลักการนี้เป็นอุปสรรคต่อการเมืองในระบอบรัฐสภาเนื่องจากในรัฐสภา พรรคการเมืองและแนวคิดร่วมกันของสมาชิกพรรคการเมืองจะต้องเป็นใหญ่ การที่ให้สมาชิกของพรรคการเมืองเป็นใหญ่กว่าพรรคการเมืองทำให้ทำลายแนวคิดของพรรคการเมือง

๑๐.ลักษณะโครงสร้างที่ไม่เป็นทางการ ถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์ด้านต่างๆ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านส่วนตัว ของส.ส.เอง เป็นพื้นฐานหรือเงื่อนไขของการร่วมมือของส.ส.กับรัฐมนตรีในอันที่จะไม่ตั้งคำถาม ปัญหาสำคัญ เฉพาะอาจเกิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ความสัมพันธ์เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนตัว ความใกล้ชิด ความเป็นพวกเดียวกัน

๑๑.ในข้อบังคับฯไม่มีบทลงโทษใด ๆ สำหรับการตอบที่ล่าช้า ข้อเท็จจริงที่ผ่านมาก็คือ ไม่มีกระทู้ถามใดที่ขอให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา สามารถตอบได้ทันภายใน ๓๐ วัน ตาม ขสส. ข้อ ๑๖๑ ว.๑ นอกจากนั้น ยังพบว่ามักมีกระทู้ถามที่ค้างตอบเป็นจำนวนมาก ซึ่งหมายความว่า การกระตุ้นเตือนการทำงานของรัฐมนตรี หรือ การวัดความรู้(วัดกึ๋น)ของรัฐมนตรีโดยการตั้งกระทู้ถาม เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งทำให้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากสาเหตุต่าง ๆ ที่เป็นกระทู้ที่ค้างตอบ ไม่ได้รับการแก้ไข

จากการรวบรวมกระทู้ และญัตติ ของ สส. และ สว. ล่าสุด ย้อนหลังจากปัจจุบัน(๒ กันยายน ๒๕๕๓)ไปจนถึงประมาณ เดือน ตุลาคม ๒๕๕๒ พบว่า มี กระทู้ และ ญัตติที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ ปัญหาความเดือดร้อนในปัจจุบันมากมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท