๗๕.เพลงถอดบทเรียน...แบบซึ้งซึ้ง หวานหวาน


เป็นหลักคิดการถอดบทเรียนจากเพลงจริงๆครับ เป็นแนวหาระบบคิดและหลักเหตุผล หรือวิธีถอดบทเรียนเพื่อตอบคำถามแบบ Why .....จริงๆ และของจริงครับ ไม่ได้พูดเล่น ลองพิจารณาดูสิครับ

                     

การพัฒนามุมมอง วิธีมอง และศิลปะของการตั้งคำถาม จัดว่าเป็นหัวใจของการถอดบทเรียน ซึ่งมีอยู่หลายแนว คือ

  • การตั้งคำถามแบบ What ก็จะได้ความรู้และการพรรณาความจริงของบางสิ่งว่าคืออะไร ซึ่งจะเหมาะสำหรับความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจและการรู้จักสิ่งที่ไม่มีความรู้มาก่อน
  • การตั้งคำถามแบบ How ก็จะทำให้ได้ศึกษา ค้นพบ และแสดงองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการ ปัจจัยเชิงสาเหตุ และกระบวนการก่อเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งจะเหมาะกับความรู้เพื่อการปฏิบัติและความรู้ที่อธิบายความสัมพันธ์เชิงระบบกลไก
  • การตั้งคำถามแบบ Why ก็จะทำให้ได้ศึกษาและสร้างความรู้ความเข้าใจระบบคิด ระบบคุณค่า โลกทรรศน์ เหตุผลเบื้องหลัง และความเป็นนามธรรมต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังของปรากฏการณ์ต่างๆ

ในการถอดบทเรียน เราสามารถตอบคำถามแบบเดียวก็ได้ หรือตั้งคำถามเพื่อตอบให้ครอบคลุมทุกมิติก็ได้ ลักษณะของคำถามและจำนวนของคำถาม รวมทั้งปริมาณของข้อมูลที่พรรณา จะไม่เป็นตัวบอกว่าความรู้และข้อมูลแบบใดจะดีกว่ากัน ทว่า วิธีตั้งคำถามได้อย่างสร้างสรรค์กับการตอบคำถามและพรรณาออกมาได้อย่างเหมาะสม คือสาระสำคัญและสิ่งที่จะบอกว่าดีที่สุด

นอกจากตัวอย่างการตั้งคำถามและการพัฒนาระบบวิธีคิดเพื่อวางแนวถอดบทเรียนตามลักษณะคำถามดังตัวอย่างข้างต้นนี้แล้ว อีกวิธีหนึ่งที่อยากแนะนำก็คือการพัฒนาวิธีคิดและวิธีมองสิ่งต่างๆ ๑๐ วิธีด้วยหลักโยนิโสมนสิการ เพื่อคิดให้ตลอดแนวทุกมิติได้ถึง ๑๐ วิธี ตามไปอ่านเพลินๆได้ที่นี่ครับ http://portal.in.th/civil-learning/pages/12486/

แต่หลักคิดการถอดบทเรียนในเพลงนี้เอามาแบ่งปันกันขำๆและให้ได้อารมณ์ผ่อนคลายแต่ได้ความคิดดีๆไปด้วยนะครับ หากใครสอนให้ผมทำคลิปต์เอามาแปะได้ หรืออาจารย์ณัฐพัชร์กับพรรคพวกเขาสอนให้ทำเป็นได้เมื่อไหร่ละก็ รับรองว่าทีมมหิดลศาลายาจะร้องให้ฟังนะครับ ...ผมจะอาสาเป็นคนเล่นดนตรีหรือเล่นกีตาร์ให้ แต่นักร้องนี่ ก็จะต้องเป็นนักร้องกิติมศักดิ์ในมหิดลนะครับ ซึ่งเยอะอยู่แล้ว คือ ว่าที่ดอกเตอร์ทั้งสอง คุณเอกจตุพร คุณดิเรก รวมทั้งหมู่มิตรใกล้ๆกันนี่แหละ เช่น ดอกเตอร์ Pop อาจารย์ณัฐพัชร์ หนานเกียรติ 

หมายเลขบันทึก: 437251เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2011 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

สวัสดีครับอาจารย์

แหะ แหะ นาน ๆ จะเห็นบันทึกเบา ๆ สบาย ๆ ของอาจารย ์สักคร้ังหนึ่ง เลยอ่านวนไปมาเสียหลายรอบเลยครับ

ชอบที่อาจารย์กล่าวถึงศิลปะการต้ังคำถาม

ผมคิดว่าการต้ังคำถามควรจะเป็นหัวใจของการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยซ้ำไป

นักเรียนเดี๋ยวนี้ถามไม่เป็น ไม่สงสัย เพราะวัน ๆ ถูกสอนแต่คำตอบและถูกยักแต่เนื้อหาความรู้

หลายคนก็พูดมาแล้วว่า เด็ก ๆ ที่เกิดมา หัดพูดและเรียนรู้โลก คำถามเยอะแยะมากมาย แต่ทันทีที่เข้าโรงเรียนคำถามหายไปทีละน้อย

ยิ่งเรียนสูงและใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนมากเท่าไรคำถามก็หดหายลงไปเท่านั้น กระทั่งจบปริญญาคำถามหายหมดเลย

ระยะหลังในการทำค่ายฯ กับเด็ก ๆ ผมทำเพียงเรื่องเดียวคือเสริมความสามารถในการสงสัยและตั้งวคำถาม แต่ก็ยากมิใช่เล่นเลยครับ

มาเยี่ยมอาจารย์ด้วยความระลึกถึงครับ...

โอโห อาจารย์อัจฉริยะมาก คิดได้ไงเนี่ย

สวัสดีค่ะ

ชอบเพลงนี้มากค่ะ แต่ไม่เคยใช้สมองซีกซ้ายในการวิเคราะห์เลย ใช้แต่สมองซีกขวา ส่วนที่เกี่ยวกับสุนทรียะเท่านั้น

วัีนนี้อ่านบันทึกนี้เลยได้หัดใช้สมองอีกซีกหนึ่งค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับหนานเกียรติ

จริงอย่างที่หนานเกียรติว่า เด็กๆมีความสามารถตั้งคำถามเยอะแยะไปหมด เมื่อไม่นานมานี้ได้เล่นกับเด็กตัวเล็กๆกำลังพูดเป็น เป็นลูกของน้องที่ร่วมงานกันอยู่ ผมเอาปากกาเมจิกกับกระดาษวาดรูปให้เพื่อจะเล่นวาดรูปด้วยกันและคิดว่าเด็กต้องชอบสีสันกับการวาดรูป กะว่าวาดการ์ตูนให้เห็นต่อหน้าตัวโตๆตัวเดียว ก็คงจะได้ความอัศจรรย์ใจและจมอยู่กับการลากปากกาเล่น จะได้อยู่เล่นกับเรานานๆ ที่ไหนได้ เจ้าหนูวาดนิดหนึ่งก็หยุดถามโน่นถามนี่อยู่ตลอดเวลาจนเกือบเป็นลม ลากเส้นได้นิดเดียวก็ถามเราได้อีกว่านี่ตัวอะไร เคยเห็นผู้รู้หลายท่านกล่าวว่าการเรียนรู้เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิต ซึ่งก็น่าเห็นจริงไปด้วยมากเลยนะครับ 

ขอบคุณดอกไม้และกำลังใจจากอ.นุ หนานเกียรติ คุณคนไม่มีราก คุณเอกจตุพร และอาจารย์ณัฐพัชร์ อย่างยิ่งครับ

สวัสดีครับอาจารย์ดร.ขจิตครับ
เห็นแล้วก็ขำๆดีเหมือนกันนะครับอาจารย์ ชอบร้องเพลงนี้เหมือนกันครับ คอร์ดกีตาร์มันง่ายดี แต่พอลองคิดๆดูก็รู้สึกว่าเอ๊ะ นี่แต่ละท่อนมันเป็นตรรกกะกันมากเลยนะนี่ แล้วก็เล่าเชื่อมโยงกันเป็นเรื่องเป็นราวเชียว กลมกลืนไปกับบรรยากาศกาศของการคุยกันเรื่องการถอดบทเรียนอย่างจ่อกแจ่กจอแจใน GotoKnow อยู่พอดีล่ะสิครับ

สวัสดีครับคุณคนไม่มีรากครับ
ผมก็ชอบครับ รวมทั้งชอบทางเพลงกับลีลาดนตรีคันทรีโฟล์คของภูสมิง หน่อสวรรค์ครับ  อารมณ์คล้ายกับเพลงของ Lobo, Eagle หรือกลุ่มเพลงคันทรีโฟล์ค ที่เสียงร้องกับโทนกีตาร์จะกลืนไปด้วยกันและให้ความรู้สึกพลิ้วลอยลมเหมือนไหลความคิดจิตใจไปสบายๆ

ขอบคุณดอกไม้และกำลังใจจากดร.ภิญโญครับผม

ขอบคุณค่ะ..การตั้งคำถามแบบ why เป็นแนวที่มีมาแต่โบราณ ตั้งแต่ในยุคของ Plato.. ที่ยังใช้ได้ดีจนถึงปัจจุบัน..พี่ใหญ่เองก็ใช้วิธีนี้กับพวกหลานๆเหมือนกัน..และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างมีรสชาดมากๆทุกครั้งที่เราพบกัน..

..เช่น * หลาน .." ประกอบอาชีพอะไร จึงจะร่ำรวย ?"

         * ป้าใหญ่.." เธอถนัดและมีความสุขจะทำอะไร ?..^๐^..

.............................................................................................................

         * หลาน.. "ถ้ามีเงินสักก้อนหนึ่ง ควรลงทุนทางการเงินอย่างไร ? "

        * ป้าใหญ่.."เธอมีนิสัยชอบแบบไหน?..high risk = high return หรือ low risk=low return ..??... ^๐^..

..............................................................................................................

* ในความคิดของพี่ใหญ่..การถอดบทเรียนที่ดี..ยังต้องขึ้นกับกลุ่มบุคคลด้วย (by whom)..ถ้าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีทัศนคติเชิงบวก..มองการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม..ที่ทุกคน ได้ กับ ได้ (win-win )..ลดอัตตาความถือตัวตน..เปิดใจยอมรับความแตกต่างระหว่างกันในทางที่เป็นประโยชน์..คุณค่าของการถอดบทเรียนจึงจะสมวัตถุประสงค์นะคะ..

  ...พี่ใหญ่มี ช่อดอกลีลาวดี จากที่บ้านหลังฝนตกมาฝากค่ะ..

 

สวัสดีครับพี่ใหญ่ครับ
พอนั่งนึกๆ และได้ความคุ้นเคยแล้ว เมื่อเห็นเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งเมื่อเห็นเรื่องราวต่างๆก็จะสามารถทำในทางกลับกันได้อีกคือ เมื่อเห็นเรื่องราวในเชิงพรรณา ก็จะสามารถเข้าใจได้อีกเหมือนกันว่าวิธีเล่ารื่องและพรรณาในลักษณะนี้ เป็นเรื่องเล่าเพื่อตอบคำถามแบบไหน แลเมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ก็จะยิ่งดีมากเข้าไปอีก เพราะจะทำให้เห็นได้ว่าคำถามที่เหลือและยังไม่ได้ถาม จะอยู่ตรงไหน วิธีอย่างนี้ก็จะเป็นการเรียนรู้เพื่อตั้งคำถามเสียใหม่ ซึ่งเดี๋ยวนี้ผมมักได้ยินคนกล่าวว่า การเรียนรู้เพื่อตั้งคำถามใหม่ๆนั้น เป็นวิธีที่ดีกว่าเรียนรู้เพื่อหาคำตอบ อย่างนี้ก็มีเหมือนกันนะครับ

ตอนนี้มองไปทางไหนต้นไม้ดอกไม้แตกดอกออกใบเขียวงดงามไปหมดเลยนะครับ กลายเป็นหน้าฝนไปเลย

ชอบเพลงนี้มากครับ แต่ที่ชอบมากกว่าเพลง คือ การช่างสังเกต ของอาจารย์ครับ

อันที่จริงนั้น แต่เดิมกะว่าจะเขียนกระเซ้าให้อาจารย์ Wasawat Deemarn เพื่อให้มีความกระชุ่มกระชวยสักหน่อย เพราะหมู่นี้เห็นบ่นๆออกไปในทาง 'คนอกหักพักบ้านนี้' ในบล๊อกของแกอยู่เรื่อย แต่ก็เห็นรวมตัวกับหมู่มิตรทำโครงงานดีๆหลายงาน เลยกะว่าจะกระเซ้าให้เป็นกำลังใจ แต่ดูๆแล้วท่าทางจะอกหักจริง เลยไม่กล้าเอาความทุกข์ของผู้อื่นมาเล่น นี่ผมป้องปากพูดแบบลิเกป้องปากนะครับ คนอื่นๆและตัวแกเองจะได้ไม่ได้ยิน 

อ่านบันทึกนี้...แล้วนั่งยิ้ม อยู่นานทีเดียวครับ อาจารย์

...

สมัยเป็นวัยรุ่น ...เคยผ่านการจีบสาว อยู่หลายคนนัก ชอบคนเก่ง และต้องสวยด้วย

นั่งนึกดู..อดขำตัวเอง ครับ จีบติดบ้าง ไม่ติดบ้าง ตามประสาวัยรุ่น

จึงเข้าใจ ความผิดหวัง และสมหวัง มาตลอด

บันทึกนี้ ....อาจารย์ถอดบทเรียน ได้งามนัก ครับ

ชอบสุด ๆ

ครับ อาจารย์

มารับความรู้จากบันทึกรู้สึกผ่อนคลาย...จังนะคะ

สวัสดีครับคุณแสงแห่งความดีครับ
...........................................................................................
...นั่นเห็นไหม เจ้าจงดูบทเรียนของคุณแสงแห่งความดีปะไร  เมื่อมองย้อนกลับไป เธอก็ยังนึกขำตนเองว่าเคยไปหลงชอบคนสวยคนเก่ง แต่ตอนที่กล่าวได้ว่าขำนี้ ก็ต่อเมื่อการณ์ต่างๆได้ผ่านไปนานแล้วดอก หากเป็นเมื่ออยู่ในวัยรุ่นหรือ เธอก็คงหมายเอาคนสวยคนเก่งประหนึ่งเป็นอุดมการณ์แห่งรักเหมือนกับคนหนุ่มคนสาวทั่วไป ครั้นพอเริ่มแก่เฒ่า เห็นแก่นสารของชีวิตทุกแง่ทุกมุมแล้ว จึ่งได้เข้าใจ..........................

"เห็นงามตาอย่าปอง" นี่สุภาษิตพระร่วงก็กล่าวเป็นคติข้อหนึ่งไว้ให้แก่อนุชนสยามมานานนักแล้ว ความข้อนี้ลึกซึ้งหากแต่ทำได้ยาก ข้าจึงอยากจะนำมากล่าวไว้ให้เป็นแง่คิดแก่เจ้า..... ข้าขอหยุดกินน้ำบูดูกับข้าวร้อนๆสักคำหนึ่งก่อนแล้วจะเล่าต่อ !!!

อันว่าของสวยของงามนั้น ใช่เจ้าจะหมายรวมไปด้วยได้ว่าต้องเป็นของดี หรือเป็นสิ่งเดียวกันกับความดี ความจริง ความงาม และความดีงามไปด้วยเสมอไป เจ้าจะมุ่งไปสู่ของสวยงาม หรือเพ่งไปยังความดีงามกันเล่า จางวางหร่ำ ก็ยังได้เคยเขียนจดหมายอบรมสอนสั่งลูกชายแห่งตนเมื่อครั้งแรมทางไกลไปเรียนยุโรปว่า " ถ้าเจ้าเห็นมะม่วงปากกระจาดน่ากิน ก็อย่าคิดว่ามะม่วงก้นกระจาดมันจะไม่เน่า" เจ้าจงเห็นความเป็นจริงแท้ของสรรพสิ่งดังนี้เถิด ทำได้ดังนี้แล้ว เจ้าก็จะมุ่งเข้าถึงคุณค่าที่แท้ แลสามารถเห็นความงดงามและความดีงามอยู่ในทุกสิ่งโดยตัวมันเองนั่นเทียว ......................

                                            คุยถอดบทเรียนเรื่องความรักในวงผู้เฒ่านี่
                                            มันต้องเป็นบรรยากาศแนวพีเรียดอย่างนี้สิเนาะ 

สวัสดีครับคุณอุ้มบุญครับ
เหมือนชวนกันแวะฟังเพลงเลยนะครับ 

สุดยอดแห่งการถอดบทเรียนค่ะอาจารย์ ชอบมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ดร.จันทวรรณครับ
เป็นเพลงที่จุดประกายความคิดได้ดีเหมือนกันนะครับ แล้วก็เพราะดีอีกด้วย

สวัสดีค่ะ

คุณหนานเกียรติ  คงเล่นกีตาร์ไปแล้วนะคะ

นานหลายวันไม่ได้เข้ามาที่นี่   วันนี้ได้ให้โอกาสตัวเองแวะมาบ้าง   เห็นบันทึกนี้ชอบมากค่ะ

ขอบคุณดอกไม้และกำลังใจจากอาจารย์ประทีปและพี่ครูคิมครับ

สวัสดีครับพี่คิมครับ ขำๆน่ะครับ เป็นตัวอย่างสำหรับคุยกันได้ดีเหมือนกันครับ
แต่หากนำไปใช้นี่ก็มีทั้งด้านที่น่าเห็นด้วยกับด้านที่ไม่เห็นด้วย
ที่เห็นด้วยก็คือ เป็นการหันหน้าไปมองปัญหาและความทุกข์ด้วยการใช้ปัญญา แทนที่จะจ่อมจม ทุกข์ใจ ก็หันไปเผชิญความเป็นจริงแล้วทำความเข้าใจ ทำให้ผ่านขั้นตอนชีวิตไปสู่เรื่องอื่นๆได้แบบไม่ต้องค้างคาใจ

แต่ที่ไม่เห็นด้วยก็ตรงบทสรุปนี่สิครับ ตรงบที่ว่า ทุกข์ใจจัง แต่สำรวจตรวจตราตนเองดูแล้วก็พบว่า เอ...เราทำทุกอย่างถูกต้องแล้วนี้ ไม่ได้ผิดหรือบกพร่องตรงไหนนี่.....ตรงนี้ดีครับ แต่พอสรุปต่อไปว่า ถ้าอย่างนั้น ทำดีก็แล้ว ก็ยังต้องมาผิดหวัง อย่ากระนั้นเลย ต่อไปอย่าเต็มร้อยกับใครดีกว่า ต้องกั๊กเอาไว้กันผิดหวัง...!!!! นี่แหละครับ ตรงนี้ไม่เห็นด้วยเลยละครับ

พี่คิมพูดถึงหนานเกียรติ ผมเพิ่งได้ทราบว่าหนานเกียรติเคยบวชเรียนที่ัวัดศรีโสดา เชิงดอยสุเทพ จากการอ่านบันทึกของเขานั่นเอง ครั้งหนึ่ง ผมเคยไปทำกิจกรรมกับเด็กๆชาวเขาที่มาอยู่วัดศรีโสดาเพื่อเตรียมบวชเณร เป็นความประทับใจมาก

สุดยอดมากค่ะ ขออนุญาตชื่นชมค่ะ

คิดว่าจะใช้แนวคิดนี้ไปถอดบทเรียนละคร(บางเรื่อง) น่าจะได้ประโยชน์เยอะมาก ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ดีมากเช่นนี้

สวัสดีครับคุณน้ำเกลือหวานครับ
.....................................................................................................
นี่พ่อหนุ่มทั้งหลาย หากเห็นแล้วก็พึงมองดูรอบๆก่อน
ด้วยว่าน้ำหวานนั้น ก็ทำให้เหล่ามดแมลงเดี้ยงมานักต่อนักมากพอแล้ว
นี่ยังมีความเป็นน้ำเกลืออีกด้วย ทั้งหวานทั้งเค็ม เลยเชียวนะ  
ดังนั้น หากเที่ยวไปวอแวอย่างไม่ดูตาม้าตาเรือแล้วละก็
อาจจะอาการสาหัสระดับต้องหยอดน้ำเกลือเลยทีเดียวขอบอก ฮ่าาา

ขอบคุณที่มาเยือนกันครับ ขอให้มีความสุขกับการฮัมเพลงครับ

สวัสดีครับคุณสิรภัทรครับ
จะนำมาเล่าแบ่งปันกันให้ได้ความรื่นรมย์ใจไปด้วยไหมหนอ

ท่านวิรัตน์คะ

จะหวานบ้าง เค็มบ้างก็ปล่อยให้มันเป็นไปนะคะ เพราะนี่แหละค่ะ รสชาดของชีวิต อิอิอิ

ขอบคุณค่ะ

นี่ให้บทสรุปอารมณ์เดียวกับ 'ผิดหวังบ้าง สมหวังบ้าง' (เป็นปรกติธรรมดาของชีวิต) ของคุณแสงแห่งความดีเลยนะครับเนี่ย อย่างนี้ต้องเรียกว่าหักจนบรรลุธรรมขั้นอุเบกขานะครับ

555 มิบังอาจจริงๆค่ะท่าน อิ..อิ..

มีความสุข และมีไฟทำงานเสมอๆนะครับ

อาจารย์ขออนุญาตแชร์ไปที่facebook นะค่ะ อยากให้เพื่อนได้อ่านแนวการตั้งคำถาม และอะไรอีกมากมายที่น่าสนใจนะค่ะ

ขอความกรุณาท่านอีกสักเพลงค่ะ

ระทมรัก โดย สุภาภรณ์ เทียบเทียม

Dดนตรี 9 Bars..7...8...

9.ระหว่างความรักและความต้องการ

มันคือสายธาร ศีลธรรม ประจำ ใจ

เป็นความชอกช้ำ กล้ำกลืนฝืน ในฤทัย

แต่เหตุไฉน ทำไมจึงต้องเป็นเรา

ใจเฝ้าแต่รักภักดีให้เธอ

ยังคงละเมอ เพ้อไปเมื่อยาม เหงา

ใครเลยจะรู้ หากเป็นเหมือน ใจของเรา

มีแต่อับเฉา รักเราเฝ้าแต่ระทม

โอ้ ความ รัก เอย

สุดเฉลย ใจเอยเหลือจะข่ม

ทั้งเจ็บทั้งช้ำ ปวดร้าวระบม

มีแต่ขื่นขม ระทมเปล่าเปลี่ยววังเวง

สูญสิ้นคนรักแล้วซิหนอเรา

ดูดูแล้วเศร้า ช้ำใจกับตัว เอง

เมื่อคิดถึงเขา ปวดร้าวและเหงาวังเวง

มีแต่บทเพลง เป็นเพื่อนปลอบความระทม

ดนตรี 10 Bars..8...9...

10.โอ้ ความ รัก เอย

สุดเฉลย ใจเอยเหลือจะข่ม

ทั้งเจ็บทั้งช้ำ ปวดร้าวระบม

มีแต่ขื่นขม ระทมเปล่าเปลี่ยววังเวง

สูญสิ้นคนรักแล้วซิหนอเรา

ดูดูแล้วเศร้า ช้ำใจกับตัว เอง

เมื่อคิดถึงเขา ปวดร้าวและเหงาวังเวง

มีแต่บทเพลง เป็นเพื่อนปลอบความระทม...

ดูแลตัวเองด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณครูนกทะเลครับ
ด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับ

โอ้โฮ เพลงนี้มันน่าจะ ๓๐ ปีได้แล้วหรือเปล่านะครับ
จำได้ซาบซึ้งละเอียดละอออย่างนี้นี่ เขาเรียกว่า Retention of learning ดีมากนะครับ คือความคงทนในการจำหรือได้บทเรียนและความทรงจำระยะยาวดีมาก

ภาษาการศึกษาเขาเรียกว่าได้รับประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่เข้มข้นแบบ Concrete experiences ซึ่งหากอธิบายด้วยกรวยประสบการณ์ของเอดการ์เดล หรือ Dale's cone of experiences ก็หมายความว่าได้แหล่งประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ดีครบทั้ง ๓ มิติ ทั้งมิติสมอง ความรับรู้ ความรู้ความเข้าใจ, จิตใจและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด, และทักษะการปฏิบัติที่บูรณาการ ๕ ช่องทางของการรับรู้และการปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ ทั้งหู ตา จมูก ลิ้น สัมผัส ได้เป็นอย่างดี แต่ภาษาของคนอกหักนี่คงเรียกได้สั้นๆว่า 'เศร้า'

                     ".....ระหว่างความรักและความต้องการ   มันคือสายธาร ศีลธรรม ประจำ ใจ
                      เป็นความชอกช้ำ กล้ำกลืนฝืน ในฤทัย   แต่เหตุไฉน ทำไมจึงต้องเป็นเรา...."

จากวรรคข้างบนนี้ ให้บทเรียนได้เป็นอย่างดีนะครับว่าความรู้เชิงทฤษฎีกับความรู้ที่อยู่กับการปฏิบัตินั้น บางทีมันก็ไม่ไปด้วยกันมากอย่างยิ่ง หดังนั้น หากถอดบทเรียนและเล่าออกมาจากจุดยืนของคนที่ได้ประสบการณ์แก่ตนเอง ก็จึงได้ความรู้ที่เจอแก่ตัวเองซึ่งอาจจะต่างจากความรู้เชิงทฤษฎีที่คนอื่นก็รู้ๆกัน ออกมาอย่างนี้นะครับ....

                        ".....ใครเลยจะรู้ หากเป็นเหมือน ใจของเรา 
                        มีแต่อับเฉา รักเราเฝ้าแต่ระทม......."

ซึ่งก็ไม่มีเหตุผลมากอย่างยิ่งเลยละครับ ไม่สามารถใช้หลักเหตุผลทำความเข้าใจ หากใช้เหตุผลจากจุดยืนปรกติของคนนอก เราก็อาจจะบอกว่าธรรมชาติของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตนั้น จะต้องหนีสิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ สิ่งที่ทำให้เดือดร้อนใจ ทว่า วิธีคิดและทฤษฎีที่อยู่นอกบริบทของการปฏิบัติหรือการเจอประสบการณ์ตรง ก็ต้องพับเก็บไปเลย เมื่อมักพบความเป็นจริงไปอีกทางหนึ่งอยู่เสมอว่า.....

                     "......ทั้งเจ็บทั้งช้ำ ปวดร้าวระบม  มีแต่ขื่นขม ระทมเปล่าเปลี่ยววังเวง
                      สูญสิ้นคนรักแล้วซิหนอเรา   ดูดูแล้วเศร้า ช้ำใจกับตัวเอง  
                      เมื่อคิดถึงเขา ปวดร้าวและเหงาวังเวง  มีแต่บทเพลง เป็นเพื่อนปลอบความระทม......."

ดูสิครับ ลองสรุปเป็นบทเรียนออกมานี่ ก็จะออกมาทำนองว่า เพราะเจ็บปวด ขื่นขม และถูกทอดทิ้ง ก็เลยต้องรักและคิดถึง !!!! อ้าว !!!!  ดูสิครับ แทนที่จะเป็นความเจ็บปวดที่ทำให้หนีและเป็นแรงผลัก ก็กลับเป็นแรงดึงดูดให้เดินเข้าไปหา เหตุผลมันไม่ไปด้วยกันเลยนะครับเนี่ย 

งั้นก็คงจะสรุปได้ว่า ...."....โอ้ความรักเอย สุดเฉลย ใจเอยเหลือจะข่ม......."  ความรักกับความอกหักทุกประเภทนี่ นอกจากเป็นความรู้ที่ต้องมีบริบทมากแล้ว ก็เป็น Tacit Knowledge ครับ ....ก็เขาสรุปให้เลยละครับว่า "... สุดเฉลย ใจเอยเหลือจะข่ม..." ต้องให้ได้เจอกับตัวเองเท่านั้นแหละครับถึงจะรู้ ....ว่าแต่ว่า..ทำไมจำเพลงเก๊าเก่าอย่างนี้ได้นานจังเลยละครับ

ท่านวิรัตน์คะ จริงๆแล้วเกิดไม่ทันเพลงนี้ด้วยซ้ำไปค่ะ อิ..อิ...รู้จักเพลงนี้จากข้าราชการอาวุฒิโสท่านหนึ่งค่ะ(ที่มายาวมากค่ะ) อย่าให้เล่าเลยนะคะ ฟังครั้งแรกก็กระแทกอารมณ์ ความรู้สึกค่ะ...ถึงกับทำให้ อาลัยรัก  ไปตามเนื้อเพลงเลยหล่ะค่ะ

ขอบคุณมากมายก่ายกองค่ะ

สุภาภรณ์ เทียบเทียมนี่ต้องคู่กับชัยรัตน์ เทียบเทียมสองพี่น้องของเขานะครับ ยุคนั้น หลังวงชาตรีนี่ ก็มีสุภาภรณ์ เทียบเทียม และชัยรัตน์ เทียบเทียมนี่แหละครับที่ทั้งดังและเป็นของประหลาดในวงการเพลงและสื่อบันเทิง เนื่องจากเขาสามารถจัดแสดงคอนเสิร์ต ๒ คนได้ ซึ่งก่อนหน้านั้นในประเทศไทย ก็ถือว่าไม่เคยมีรูปแบบดนตรีแบบนี้ วงชาตรีนั้นก็มีคน ๓-๔ คน พอๆกับวงดิอิมพอสสิเบิ้ล ที่ถือว่าเป็นวงสี่เตาทองเมืองไทย ก็เล่น ๔ คน พอมีคนถือกีตาร์ ๑ ตัวและคนร้อง ๑ คน เล่นคอนเสิร์ตด้วยกันและเพลงดังมากอีกด้วย ก็เลยยิ่งเป็นของแปลกมากในยุคนั้น เสียงของสุภาภรณ์นั้นพลิ้วหวาน เหมาะสำหรับร้องเพลงแนวนี้กับกีตาร์โฟล์คมากครับ

ท่านวิรัตน์คะ

พึ่งจะรู้จักชื่อศิลปิน ก็ที่อาจารย์เล่านี่แหละค่ะเกิดไม่ทันจริงๆค่ะ ๕๕๕ เพียงแต่ชอบบทเพลงแบบนี้ค่ะเนื้อหามันโดนนนนนน

ขอบคุณและสวัสดีค่ะ

เพลงนี้คนร้องได้เยอะนะครับ เป็นเพลงที่ง่ายๆ แต่ทำนองและลีลาเพลงไพเราะ เบาๆ ไม่อึกกระทึก เหมาะสำหรับนั่งคุยกันแล้วก็ร้องเพื่อพักผ่อนด้วยกัน คนก็เลยจดจำได้เยอะ

เมื่อก่อนนี้ เวลาร้องเพลงในที่ทำงาน หากขึ้นกีตาร์เพลงนี้แล้วละก็จะมีแนวร่วมออกมาเต็มเลยละครับ คนที่ชอบออกมาร้องเพลงด้วยกัน บางทีก็ไม่ใช่เพราะความหมายของเนื้อหาเพลงหรอกครับ อย่างเพลงนี้ที่เป็นเพลงเหงาๆนั้น ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้คนชอบและออกมาร้องด้วยกันอย่างเดียว ทว่า อาจจะอยู่ตรงที่ความทรงจำต่อชีวิตและเรื่องราวเกี่ยวกับสังคม สิ่งแวดล้อม ที่ผ่านเข้ามาบนเส้นทางชีวิตในห้วงที่เพลงนี้ดังนั่นเอง และการใช้ชีวิตนั้น ไม่ว่าจะทุกข์หรือจะสุข เมื่อผ่านไปแล้ว ประสบการณ์รายทางก็มักจะเป็นความหอมหวานของชีวิตที่คนอยากรักษาเป็นความทรงจำด้วยกัน เพลงเก่าๆก็จะมีเสน่ห์ตรงนี้แหละครับ

....."ใครสอนให้ผมทำคลิปต์เอามาแปะได้ หรืออาจารย์ณัฐพัชร์กับพรรคพวกเขาสอนให้ทำเป็นได้เมื่อไหร่ละก็ รับรองว่าทีมมหิดลศาลายาจะร้องให้ฟังนะครับ ...ผมจะอาสาเป็นคนเล่นดนตรีหรือเล่นกีตาร์ให้"

สวัสดี ครับ อาจารย์ ครับ

ผมเคยทำบันทึกนี้เอาไว้

http://gotoknow.org/blog/sangsri11/430544

ผมถ่ายvdo เอง แล้วทำเป็น clip แปะไว้ ที่ youtube ครับ

วันนี้ อยากฟังและอยากดู อาจารย์เล่นกีตาร์และร้องเพลง ผ่าน youtube จังครับ

เป็นบันทึกที่ช่วยให้อาจารย์ เอาclipเล่นกีตาร์ มาไว้ที่ youtube ได้มั้ย ครับ

...

มีความสุขในวันพักผ่อนของชีวิต นะครับ

ด้วยความเคารพและระลึกถึง

  • ลองเข้าไปดูแล้วครับ ดูน่าจะไม่ยากนะครับ ขอบคุณคุณแสงแห่งความดีมากอย่างยิ่งเลยนะครับ
  • เลยเพลินกับการแวะเข้าไปดูเจ้าหนูตัวเล็กๆนั่งร้องเพลง น่ารักน่าเอ็นดูอย่างยิ่งครับ เพลินเลย
  • มีความสุขครับ ด้วยความรำลึกถึงด้วยเช่นกันนะครับ

สวัสดีเที่ยงวันค่ะอาจารย์

ว้าว ขนาดเพลงหวานซึ้งๆ ยังมีถอดบทเรียนได้เด็ดดวงจริงๆ เลยค่ะ

ปูเข็มขัดสั้นเลยนะคะเนี่ย ฟังตามอารมณ์ไปอย่างเดียว ได้ฝึกอีกแยะค่ะ

รบกวนเพลงนี้ด้วยนะคะ เพิ่งสังเกตว่าเป็นเนื้อที่ไม่ซ้ำกันเลยเช่นกัน

http://music.forthai.com/music/lyric/?sid=434

สุขสันต์ อิ่มอร่อยมื้อเที่ยง ขอบพระคุณล่วงหน้าเจ้าค่ะ :)

 

แวะเข้าไปดูแล้วละครับคุณ Poo 
เป็นเพลง 'เพียงคำเดียว' ของสุเทพ วงศ์กำแหง ไปถอดบทเรียนให้เสียเวลาทำไม๊ 
การพูดคำว่า'รัก'นี่ ต้องเป็นความรู้ปฏิบัติ อีกทั้งมีความจำเพาะตนอยู่กับบริบทของคนปฏิบัติ
ให้คนอื่นพูดให้ฟังจะไปได้ผลเท่ากับการปฏิบัติเองดีกว่าได้อย่างไร เดินไปบอกเล๊ยยย ย
รู้เรื่องรู้ราวดีกว่าเยอะ เชื่อสิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท