Balanced Scorecard


คิดง่าย ๆ และทำง่าย ๆ

                ให้เจ้าหน้าที่ ไปเก็บข้อมูลเกษตรกรที่เรารู้จักว่า เขาเคยทำงานร่วมกับมูลนิธิข้าวขวัญโดยไปดูซิว่า วิธีสอน วิธีการกระตุ้นในการเรียนรู้ของมูลนิธิข้าวขวัญนั้น  เมื่อเขาทำไปแล้วเกิดอะไรขึ้น  ก็เลยบอกให้ไปเก็บข้อมูลว่า...ไปเก็บมาให้ได้ ๔ ราย  เป็นข้อมูลกระบวนการผลิตข้าว  ทั้งหมดกลับมา ปรากฎว่า...เจ้าหน้าที่เราเก็บเข้ามาเขียนตั้งแต่ขั้นตอน  กระบวนการผลิตข้าวตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว จนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว  เก็บมาเสร็จเราก็ถามเด็กว่า  ลองเอา ทั้ง ๔ ราย มาสรุปเป็นสิ่งที่คิดว่า...เป็นประโยชน์กับงานส่งเสริมการเกษตรได้ว่าอย่างไร?               

               สิ่งที่เด็กมองก็คือ  ไปค้นไปเจอไปพบที่เป้าหมายตัวสุดท้ายคือ ...การลด ต้นทุนการผลิต พบว่า  ต้นทุนการผลิตของคน ๔ คนนั้นอยู่ระหว่าง ๑,๒๐๐ - ๑,๓๐๐ บาทต่อไร่  ซึ่งเทียบกับการทำนาในปกติแล้วเท่ากับ ๒,๓๐๐ บาทต่อไร่      ก็จะประหยัดได้ ๑,๐๐๐ บาทต่อไร่  สิ่งที่ประหยัดได้ก็คือ  ประการที่ ๑  ไม่มีการ  ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช  ประการที่ ๒  ลดในเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีลงประมาณ เจ็ดถึงแปดสิบเปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับอัตราปรกติ  ก็ถามเด็กว่า เมื่อพบอย่างนั้นแล้วจะทำอย่างไรต่อ  ซึ่งเด็กก็ไม่เคยฝึกเรื่องงานส่งเสริมการเกษตรมาก่อนก็    นึกว่า...งานชิ้นนี้ก็เป็นงานที่สั่งให้ทำธรรมดา  แต่ไม่ได้บอกว่า...สิ่งนี้มันก็คือ เป็นตัวอย่างในงานส่งเสริมการเกษตร หรือ KM ที่เรียกว่า Best Practices   ได้  ฉะนั้น  ลองวิเคราะห์ ๔ รายดูว่า...มีจุดเด่นอะไรบ้าง? ที่พอจะให้เป็นต้นแบบหรือตัวอย่างในงานส่งเสริมการเกษตรได้มั้ย?  ซึ่งพอเด็กเข้าใจ อ๋อ...นี่คือ แบบตัวอย่าง หรือตัวอย่าง  เขาก็บอกว่า...ถ้าเกิดว่าเขาทำใน ๔ รายก็จะลดต้นทุนเฉลี่ยลดไป ๑,๐๐๐ บาท  ถ้าเกิดเขาทำได้ ๔๐ ราย เขาก็จะทำให้ลดต้นทุนได้ ๔๐,๐๐๐ บาท  ถ้าใน ๔๐ ราย เฉลี่ยด้วยพื้นที่คนละ ๑๐ ไร่ แล้วเขาสามารถลดต้นทุนให้เกษตรกรใน ๔๐ ราย ก็จะได้ ๔๐๐,๐๐๐ บาทต่อหนึ่งฤดูกาล               

               ถ้าความรู้ตรงนี้มันยั่งยืน ปลูกพืชใน ๒ ฤดูกาลต่อปี ก็เท่ากับลดต้นทุน  การผลิตได้ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาท  ซึ่งการสอนที่บอกตรงนี้อย่างนี้ก็หมายถึงว่า  ให้เขารู้จักการทำงานในเชิงของการกำหนดเป้าหมายว่า...โอเคนะ  ฉะนั้น      ในกรอบการคิดที่เขารู้ว่า...วิธีการคิดนี้มันเป็นแบบนี้...วิธีการที่จะทำให้มันไปนั้นมันทำได้... ฉะนั้น ในการวางเป้าหมาย ๔๐ ราย ๆ ละ ๑๐ ไร่ ก็สามารถทำให้เกิดมูลค่ากับลูกค้าได้ ประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ บาทต่อฤดูกาล หรือ ๘๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี               

               ฉะนั้น ถามว่า สิ่งอย่างนี้...มันเป็น Performance มั้ย  มันสามารถที่จะบรรลุผลในการทำงานเพื่อเปรียบเทียบหรือกระทบยอดในเชิงของ Balanced Scorecard ได้มั้ยว่า เขาทำงานแล้วนั้น...ทำให้องค์กรไม่ขาดทุน. 

คำอธิบาย                

               การทำงานดังกล่าวตรงกับ ทฤษฎี SPA (Small Portion Approach)  ซึ่ง Best Practices  คือ  เกษตรกร ๔ ราย  ส่วนการจัดกระบวนการกลุ่มเรียนรู้ คือ การใช้เกษตรกร ๔ ราย เป็นตัวเชื่อมเพื่อหาเกษตรกรเพิ่มขึ้นอีก ๑๐ คน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

               นอกจากนี้ Balanced Scorecard เป็นทฤษฎีที่ใช้มององค์กร ๔ ด้าน ได้แก่  ด้านที่ ๑ Internal  คือ คนในองค์กรมิจิตสำนึกในการทำหน้าที่โดยมองลูกค้าเป็นเป้าหมายสำคัญ  ด้านที่ ๒ External คือ ลูกค้า ๔๐ ราย ประสบผลสำเร็จได้  พึงพอใจได้ก็ผ่านทฤษฎีนี้  ด้านที่ ๓ Technology คือ ลดต้นทุนการผลิตเหลือ ๑,๐๐๐ บาทได้  และ ด้านที่ ๔ Financial คือ ทำแล้วไม่ขาดทุน เช่น เจ้าหน้าที่เงินเดือน ๘,๐๐๐ บาท ใน ๑ ปี ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี  สามารถนำเทคโนโลยีไปให้กับลูกค้าแล้วทำให้ลูกค้ามีรายได้ ๘๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี ก็ถือว่า...ทำแล้วองค์กรไม่ขาดทุน.

หมายเลขบันทึก: 41126เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • หากสามารถกำหนดเป้าหมายได้เองน่าจะสนุกนะครับ
  • เพราะจะเป็นวัฒนธรรมการทำงานที่มีเป้าหมาย และมีการแข่งขันการทำงานเพื่อเจ้านายตัวจริงของเราคือ"เกษตรกร"
  • ได้ความรู้ในเรื่องหลัก/วิธีคิดครับ
  • การจัดการข้อมูลเพื่อหาประโยชน์จากข้อมูลครับ

ท่านเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ขอฃมเฃยจริง ๆ ครับ ที่เอาสิ่งดี ๆ มาฝากน้อง ๆ และเป็นต้วอย่างวที่น่าสรรเสริญ

ก็ดีครับ

แต่ ขอเสริมว่า

น่าจะถาม  "ใจ" เกษตรกร ว่า  รู้สึกอย่างไรด้วย

ถามแบบองค์รวมครับ   เน้น พัฒนาคน  มากกว่า พัฒนาผล    จึงจะเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืนครับ

 

ถามถึง มุข  ที่พวกคุณอำนวยใช้   ในการยั่วให้ เกษตรกร   คึกคักที่จะพัฒนา  ก็จะดีขึ้นไปอีก

จึงเรียนมา เสนอความคิดอันต้อยต่ำ  อย่างกัลยาณมิตรครับ

ขออนุญาต ชื่นชม วิธีการ คิดง่ายๆและทำง่ายๆของท่านเกษตรจังหวัดครับ....

สวัสดีครับหัวหน้า วิธีการของหัวหน้าดีเสมอ ขออนุญาตนำไปใช้นะครับ ชาวกำแพงเพชรนำวิธีการที่หัวหน้ามอบให้ไว้ใช้ได้ผลมาตลอด ขอบคุณครับ.

  • ท่านหายไปไหน  ท่านงานยุ่งหรือคะ ไม่มีเวลาบันทึกให้อ่านเลย ได้ติดตามอ่านโดยเปิดบล็อกของท่านมีแต่บันทึกเดิม ๆ อย่าลืมหากมีเวลาว่างเขียนให้อ่านด้วยนะคะ  ขอบคุณมากคะ
ขอชื่นชมครับ
  • ขออนุญาตนำแนวความคิดวิธีการคิดไปใช้ด้วยครับ   รู้สึกมันง่ายที่จะคิดครับ

ขอบคุณ ท่านมาเลยครับ ผมขออนุญาตนำไปใช้ประโยชน์ นะครับ

แวะมาอ่าน ขอบคุณครับ เยี่ยมจริง ๆ

เรียนหัวหน้าฯ  เพิ่งจะได้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ ขออนุญาตนำไปแบ่งปันให้น้อง ๆ ในหน่วยงานด้วยนะคะ

ขอแสดงความยินดี ที่ท่านหัวหน้า ได้เลื่อนระดับ เป็นระดับ 9 บส. (ทำดี ต้องได้ดี ครับ) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท