ประภาคารเกื้อกูล “รู้จักนำ ทำงานให้สนุก” บทเรียนจาก KM แห่งชาติครั้งที่ ๕


เรื่องเล่าที่เกิดขึ้นบนเวทีน่าสนใจทีเดียวครับ แต่พอจับประเด็นได้ว่า KM ที่นำไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรนั้น เป็นการ “ประยุกต์ใช้” ให้เนียนไปกับวัฒนธรรมองค์กรจนประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งด้วย “ทุน” ขององค์กรที่มีทีมงานที่เข้มแข็งอยู่เดิม รวมไปถึงวิธีการ เครื่องมือการพัฒนาที่ได้เรียนรู้และได้ปฏิบัติมาก่อนหน้านี้แล้ว พอได้ KM เข้ามา ทุกอย่างก็ถูกดึงศักยภาพขึ้นมาให้เห็นภาพของความสำเร็จ

งานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๕ (KM Inside – Lively Learning Land) ณ บางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ในวันที่สองซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงาน ยังมี session ที่น่าสนใจอีกมากมาย หลายห้องทีเดียวที่ผู้เข้าร่วมงานให้ความสนใจ และเข้าไปเรียนรู้กันจนล้น ผมคิดว่ารูปแบบของงานที่คิด Theme งานให้ดูสนุก น่าตื่นเต้น ดึงความเป็นเด็กของทุกคนให้ออกมาผ่านการผจญภัยในดินแดนสุขสันต์ มหัศจรรย์ KM ทั้ง ๙ โซน ซึ่งได้แก่ หาดฝึกกระบวนท่า,ทะเล Tacit,ชนเผ่าจับเข่าคุย,เทือกเขาปันปัน,สะพานเชื่อมใจ,ศาลาศิราณี,เกาะสุขสันต์,ประภาคารเกื้อกูล,บึงบูรณาการ แต่ละโซนก็มีแนวคิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่างกันไป เรียกได้ว่าครบทุกอรรถรสของความรู้กันเลยทีเดียว

ผมขอตัดมาที่ โซนประภาคารเกื้อกูล ที่ผมรับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการใน Session ที่ ๖  ซึ่งพูดคุยกันในประเด็น “รู้จักนำ ทำงานให้สนุก ทุกเสียงต้องรับฟัง เติมพลังด้วยรางวัล” โดยนายแพทย์สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สปสช.เขต ๑๓ กทม. นอกจากนี้ผมยังมี "คุณฝัน" ปิยรัตน์ ตรีประพิณ สาวสวยที่ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการคู่กันกับผม

ผมกับคุณฝันเราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่ทาง สคส.จัดให้คู่กันสำหรับ Session นี้ ข้อได้เปรียบของคุณฝันก็คือ เธอเคยเป็นเพื่อนร่วมงานของคุณหมอสุรเดช วลีอิทธิกุล มาก่อน ดังนั้นเธอจึงคุ้ยเคยและทราบบริบทของคุณหมอค่อนข้างดี ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในส่วนของบริบทก่อนที่จะเริ่มการเสวนา ก็มีค่อนข้างพร้อม

คุณหมอสุรเดช วลีอิทธิกุล ปัจจุบันท่านได้ ดำรงตำแหน่งประกันสังคมจังหวัดเพชรบุรี ได้ย้ายจาก สป.สช.เขต ๑๓ กทม.ไปได้เพียง ๑ เดือน และกระบวนการทำงาน สำเร็จด้วย KM ที่ท่านเล่า จึงเป็นบริบทความสำเร็จจากที่ทำงานเดิม คือ สป.สช.เขต ๑๓ กทม.นั่นเอง

เราเริ่มต้นเปิดตัวพิธีกร และ เปิดตัววิทยากรในเวลา ๑๓.๓๐ น. ที่ประภาคารเกื้อกูล มีผู้สนใจเข้ามากันอย่างหนาตา แสงไฟจากประภาคารจำลองมองเห็นเด่นชัด  มีนัยยะถึง “เป้าหมาย” การงานใดๆ ย่อมมีเป้าหมาย เปรียบเสมือนเรือที่เดินทะเล ย่อมต้องรู้ทิศทาง ประภาคารจะช่วยส่องแสงให้เรารู้เป้าหมายปลายทางของเราว่าอยู่ตรงจุดใด? ดังนั้นในโซนนี้ จึงคุยเจาะลึกเกี่ยวกับ “คุณเอื้อ” ไม่ว่าจะเป็นคุณเอื้อระดับใดๆก็ตาม จะมาเผยเทคนิคที่จะทำให้คนทำงานใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่จนสามารถไปสู่เป้าหมายได้

บรรยากาศบนเวทีเป็นบรรยากาศที่มีความเป็นกันเอง เหมือนเรานั่งบนห้องรับแขกที่บ้าน ดังนั้นการพูดคุยจึงออกรสแบบง่ายๆสบายๆ เป็นการพูดคุย เล่าเรื่องความสำเร็ภายใต้บริบทของ สป.สช. เขต ๑๓ กทม. ผ่านคุณหมอสุรเดช ส่วนใหญ่คำถามจะถามว่า คิดอย่างไร ทำอย่างไร และ ได้อะไร ถอดบทเรียนแล้ว ปัจจัยความสำเร็จคืออะไร ถือว่าเป็นคำถามที่เป็นรูปแบบปกติไล่เรียงให้เห็นภาพของกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใต้การใช้ “KM” เป็นเครื่องมือ

เรื่องเล่าที่เกิดขึ้นบนเวทีน่าสนใจทีเดียวครับ แต่ผมพอจับประเด็นได้ว่า KM ที่นำไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรนั้น เป็นการ “ประยุกต์ใช้” ให้เนียนไปกับวัฒนธรรมองค์กรจนประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งด้วย “ทุน” ขององค์กรที่มีทีมงานที่เข้มแข็งอยู่เดิม รวมไปถึงวิธีการ เครื่องมือการพัฒนาที่ได้เรียนรู้และได้ปฏิบัติมาก่อนหน้านี้แล้ว พอได้ KM เข้ามา ทุกอย่างก็ถูกดึงศักยภาพขึ้นมาให้เห็นภาพของความสำเร็จได้อย่างไม่ยากนัก

ใช้ ความรู้ เเละ ความรัก ในการค้นหา มรรค ร่วมกัน

โดยสรุป ผมมองว่าที่ สป.สช.เขต ๑๓ กทม. ประสบความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรภายในระยะเพียง ๖ เดือน ด้วย KM ที่เป็น "ธรรมชาติ" และเน้นบรรยากาศที่ "สนุกสนาน"

  • จัดการความอารมณ์ รู้สึก + จัดการบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
  • สร้างกระบวนการการเรียนรู้ สร้างเเละพัฒนาบุคคลเรียนรู้ ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร
  • เปิดพื้นที่หลากหลาย เพื่อการเรียนรู้
  • ใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการสร้างความรู้ เช่น SST. (Success Story Telling)หรือ การเล่าเรื่องความสำเร็จ,การใช้สุนทรียสนทนา เป็นต้น

และในฐานะคุณเอื้อ ของคุณหมอสุรเดช วลีอิทธิกุล จุดแข็งของคุณหมอจากที่ผมมองผ่านสายตาของคนนอก และรับฟังเรื่องราวจากบนเวทีครั้งนี้ ผมคิดว่า ด้วยบุคลิกที่เป็นกันเอง ใจดี ของคุณหมอเป็นเรื่องเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่สามารถมัดใจคนทำงานได้ไม่ยากนัก

คุณหมอสุรเดช ได้ฝากก่อนที่จะจบ Session นี้ว่า

“หากต้องการทำอะไรอย่ากลัวว่าจะไม่สำเร็จ ให้ลงมือทำในทันที

“อย่าลืมสรุปบทเรียนทุกครั้งเวลาทำงาน ทำให้เป็นวัฒนธรรม”

“ฟัง ฟัง และ ฟัง ใช้ สุนทรียสนทนา (Dialouge)เป็นเครื่องมือสำคัญในองค์กรที่มีคนหลากหลาย”

เรียนรู้จากการทำงาน(Learning by doing)สรุปบทเรียน แล้ว เดินหน้าต่อ”

 

 

บรรยากาศการพูดคุยเป็นไปด้วยความสนุกสนาน ปิดท้ายด้วยคำถามจากผู้ฟัง และ ข้อคิด บทสรุปที่เกิดขึ้นจากการพูดคุยในช่วงเวลาสั้นๆ ผมคิดว่า ไม่ว่าผมและผู้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ...น่าจะได้แรงบันดาลใจไปต่อยอดงานที่ทำไม่มากก็น้อย

 

 


 

รายงานจาก โซนประภาคารเกื้อกูล

Session ที่ ๖ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๔.๔๕ น.

วันที่ ๒๓ พย.๕๓

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

หมายเลขบันทึก: 410122เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010 18:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (68)

..ขอบคุณค่ะน้องเอก..พี่ใหญ่ได้เรียนรู้สิ่งดีๆจากงานนี้มากมาย..โซนนี้ไม่ได้เข้า..เสียดายจัง น้องเอก สรุปไว้ดีมากค่ะ..

.. พี่ใหญ่ดีใจมากที่ได้คุยอย่างมีความสุขกับพวกเรานะคะ..หวังว่าจะได้พบกันอีก

               

                            ภาพจากล้องน้องอุ้มบุญ

สวัสดีครับน้องเอก ตั้งใจไว้ว่าจะมางานนี้ แต่ต้องติดประชุมสมาคมลูกจ้างในวันที่ 27 ขึ้นกทม. สองครั้งในสับดาห์เดียว เกรงใจ

พรุ่งนี้เข้ากทม. (ภาพของคุณนงนาท ยังขาดคนนั่งอยู่หนึ่งที่)

ขอบพระคุณพี่ใหญ่ นงนาท (นาง นงนาท สนธิสุวรรณ) มากครับ...

พี่ใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่ใจดี และสัมผัสได้ ผมรู้สึกโชคดีมากครับที่ได้เจอเเละได้พูดคุย อีกผมยังรบกวนพี่ใหญ่เลี้ยงอาหารญี่ปุ่นผมมื้อใหญ่เลยทีเดียว

โซนนี้ผมเป็นผู้ดำเนินรายการครับ...เเละบันทึกนี้ก็ถือว่าช่วย สคส. AAR เรื่องราวของบทเรียนที่ได้รับ...

ขอบคุณ สคส.ด้วยครับ สำหรับ พื้นที่เเละโอกาส สำหรับผม

สวัสดีค่ะ

เสียดาย ไม่งั้นซื้อเสื้อผ้าเปลี่ยนก็ยังได้ นอนค้างสักคืนก็ดีนา  ขอภาพในกล้องมั่งดิ

บังนเรศวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--ครับ

งานนี้มี concept การจัดที่น่าสนใจมากเลยครับ ทำให้เรื่องของ KM กลายเป็นเรื่องที่สนุกไปเลย เเม้ว่าเราจำกัดเรื่องสถานที่ เเละบางเรื่อง เเต่ สคส.เเละ ภาคีก็ทำได้ดีมาก...งานจึงสำเร็จไปด้วยดี

รูปที่ถ่ายในข้อคิดเห็นของพี่ใหญ่ ที่ขาดหนึ่งที่ คือ หนุ่มปากพะยูน ครับ เขาเป็นคนที่เสียสละเป็นช่างถ่ายภาพ :)

พี่ครูคิมยายคิมครับ

กิจกรรมในวันที่ ๒ (๒๓ พย.๕๓) น่าสนใจไม่เเพ้วันเเรกครับ ผมเองก็เหนื่อยมากเหมือนกัน (ไม่รู้ว่าเหนื่อยอะไร) เสร็จงานก็หลับไปในรถเลยครับ...

ภาพในกล้องผม ส่วนใหญ่ผมไม่ได้ถ่ายภาพครับ มีเพื่อนถ่ายให้ ภาพเลยไม่เยอะครับผม

ดีใจที่มีโอกาสได้เจอพี่ครูคิม เเละ น้องออโต้(ที่น่ารัก) ที่ กทม.นะครับ

สวัสดีค่ะน้องเอก

  • เห็นด้วยกับท่านพี่วอญ่านะคะว่า
  • ภาพนี้ของพี่ใหญ่ยังขาดคนนั่งอยู่หนึ่งที่ (ลุ้นแย่แล้ว) อิ...อิ..อิ...
  • ขอบคุณน้องเอกนะคะที่นำบรรยากาศมาเล่าสู่กันฟัง
  • ขอบคุณ บทสรุปตอนท้าย ของคุณหมอสุรเดชค่ะ

ดิเรกถ่ายภาพพี่คิมกับคุณหมอวิจารณ์ กล้องใครหละ

สวัสดีค่ะน้องอิงจันทร์

รอลุ้นอ่านบันทึก....หลังสุดสำหรับงานนี้จากพี่คิมดีกว่า...รับรอง ๆ ๆ ๆ ๆ  เหลือสาระอีก ๒ บันทึก ต่อจากนั้นพี่คิมจะเผยเปิดคนกันค่ะ....ฮา ๆ ๆ ๆ

พี่อิงจันทร์ครับ

ได้เฉลยไปเเล้ว ทุกคนเลยอดลุ้น...เลยใช่ไหมครับ?

อย่างที่บอกไปบ้างเเล้วครับว่าเป็น AAR จากเวทีใน session นี้ครับ เพื่อมอบให้ สคส.ในการสรุปงานต่อไป..

ขอบคุณครูที่ช่วยลุ้นเเละเป็นกำลังใจครับ(โอกาสหน้าลุ้นใหม่นะครับ)

พี่ ยายคิมครับ

ภาพที่พี่ถ่ายภาพกับคุณหมอวิจารณ์นั้น ผมจะลองดู File ในกล้องก่อนนะครับ หากมีเเล้วผมจะส่งไปครับ :)

พี่คิมคะ

  • จะรออ่านด้วยใจระทึกค่ะ  5555555+

พี่เอกคะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ ที่ได้มาร่วมแบ่งปันเรื่องเล่าจากงานในครั้งนี้ ถึงไม่ได้ก็มาติดตามอ่านจากบันทึกของพี่ๆ นี่ล่ะค่ะ (แอบเสียดายที่ไม่ได้ไปอ่ะค่ะ ^_^)

แอบลุ้นเหมือนกันครับ ว่าพี่ครูคิม จะเเฉอะไร?

น้องมะปราง.มะปรางเปรี้ยว..

ผมบันทึก ประเด็นนี้ก่อนครับ(ประภาคารเกื้อกูล) เเละบันทึกต่อไป จะเขียนถึง "ปัน ปัน" ครับ ที่โซน ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ มีเรื่องราวที่น่าประทับใจมากมายเลยทีเดียว..

ผมอ่านบันทึกท่านอื่นไปก่อน..

ตอนนี้... คุณเอกเป็นวิทยากรคนดังไปแล้วนะคะ

ยินดีด้วยจริงๆๆค่ะ

เสียดายไม่ได้ไปร่วมงานนี้

พี่  แก้ว..อุบล จ๋วงพานิชครับ

ไม่หรอกครับ ไม่ใช่คนดังอะไรครับ ผมไปทำงานในฐานะคนคุ้นเคยของทาง สคส. เเละตั้งใจทำงานให้กับ หมอวิจารณ์- ดร.ประพนธ์ ทุกท่านล้วนเเต่เป็นผู้ให้โอกาสผมนะครับ มีอะไรก็ช่วยเหลือกันได้ตามศักยภาพของผม ผมยินดีเสมอ

งานนี้ได้เจอ blogger มากมายครับ ทั้งที่เคยเจอเเล้ว เเละไม่เคยเจอ อีกหลายท่านผมยังไม่เคยเจอก็มาทักทาย ด้วยมิตรไมตรี...มีความสุขมากครับผม

มาลงชื่อรออ่านกิจกรรมของเทือกเขาปันปันค่ะ

อยากอ่านบันทึกในมุมมองของพี่เอกค่ะ

ขอบคุณมากๆ นะคะ :)

อ.วิรัตน์ คะ

ชอบประโยคใน comment อาจารย์มากๆ ค่ะเลย

"เยี่ยมจริงๆ เลยเพ่ !"

^___^

มะปรางเปรี้ยวครับ

ผมขอเวลา บ่มอารมณ์อีกนิด มีภาพสวยๆอีกเยอะที่เพื่อนผมถ่ายให้ ประกอบ ส่วนหนึ่งก็คือ ผมประทับใจวิทยากรทุกท่านมาก ครุหยุยเองก็ Busy ครับเเต่ก็มาร่วมเฮฮา ได้สาระ พูดกันแบบเปิดใจ พี่ชิวก็สนุกสนานแฝงสาระน่าสนใจมาก อ.วิรัตน์ ท่านพูดได้น่าฟัง อ.JJ ก็มีสไตล์ที่เป็นแบบเฉพาะ เเต่ละท่านล้วนแล้วเเต่มีสิ่งดีๆมาฝากในวันนั้น

ผมนั่งอยู่บนเวทีเห็น ดวงตาผู้เข้าร่วมเวที ตาเป็นประกายทุกคนครับ :)

สวัสดีครับ

แวะมาเรียนรู้กระบวนการทำงานอย่างสนุกด้วยคนครับ

ขอบคุณรูปภาพที่อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์วาดนะครับ

เยี่ยมจริงๆเลยครับ อาจารย์!!!

สวัสดีครับ คุณครูบินหลาดง

ติดตามได้จากบันทึกของ blogger หลายท่านนะครับ ด้วย tag >>> nkm5  ครับผม

ขอบพระคุณ รายงานจากโซนประภาคารครับ

ขอบพระคุณสำหรับบทเรียนที่นำมา share นะครับ...

  • มาติดตามเหตุการณ์ และหาความรู้เรื่อง KM เช่นเคย..
  • บรรยากาศพี่น้องในg2kแห่งนี้ ดูอบอุ่นมากๆเลยนะครับ
  • ชื่นชมคุณเอกครับ

ขอบคุณ น้องพรพล Phornphonเช่นกันครับ...

บันทึกนี้เป็น KM5 ในวันที่สองของงาน (๒๓ พย.) ครับ เเละผมจะต้องเขียน "เรื่องเล่าจากเทือกเขา ปัน ปัน" อีก รอติดตามอ่านนะครับผม

น้องเอกเขียนครั้งใดคนอ่านสุขมากๆๆๆๆเหมือนได้อยู่เหตุการณ์นั้นๆ  แต้ๆหนา ฮิๆๆๆๆๆ

ครู ธนิตย์ สุวรรณเจริญ ครับ

ด้วยความยินดีครับ...มีหนังสือเล่มใหม่ที่ออกมาในงาน KM5 นี้ ในบูธของจิตตปัญญา ชื่อหนังสือ "ครูเพื่อศิษย์ เติมหัวใจให้การศึกษา" ของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้เขียนชื่นชมครูไว้ด้วยในหน้า ๒๙๓ ครับ ผมอ่านเเล้วภาคภูมิใจเเทนครับ :)

*** หนังสือเล่มนี้จะใช้ในงาน จิตปัญญาศึกษา ต้น เดือน ธค.นี้ ที่ โรงเเรมรามาการ์เด้นท์ กทม.ครับ

พี่ท้องฟ้า

คนเขียนมีความสุข คนอ่านเลยได้รับความสุขนั้นด้วยครับผม

  • แค่รู้เท่านี้ก็ดีใจมากๆแล้วครับ..
  • ขอบคุณอีกครั้งครับ

ครู ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ให้กำลังใจครูเพื่อศิษย์

ผมจะพูดคุยประเด็นการขับเคลื่อนครูเพื่อศิษย์ในงานประชุมวิชาการของคณะสังคมศาสตร์เเละมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล  ในกลางเดือน ธค.ที่จะถึงนี้ครับ อาจต้องเก็บข้อมูลจาก Blog ส่วนหนึ่ง เเละ อาจขออนุญาตเอาเรื่องราวของครูส่วนหนึ่งไปเผยเเพร่ด้วยครับ

 

อ่านแล้วได้แง่คิด ความรู้และวิธีการนำไปใช้ในการทำงานที่ดีเพิ่มขึ้นค่ะ โดยเฉพาะคำฝากก่อนจบของ คุณหมอสุรเดช...

กศน.ตำบลกุดเค้า ขอบคุณมากครับ :)

ในโอกาสนี้ขอชื่นชม นพ.สุรเดช กับ ชาว สป.สช.เขต ๑๓ กทม. ด้วยครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • น่าสนใจทีเดียว แต่เสียดายไม่ได้เข้าฟัง แต่ดีที่ได้อ่านบันทึก อาจารย์เอก
  • จะลองนำ ข้อแนะนำ ไปใช้ดูค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ยินดีและเป็นเกียรติมากๆๆเลยครับคุณเอก..

pa_daeng ขอบคุณครับ 

มีหลายห้อง เเละเเต่ละห้องน่าสนใจทั้งนั้น ผมเลยทำหน้าที่พิธีการเเละสรุปมาให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ

ในส่วนเรื่องเล่าของชาว สปสช. เขต ๑๓ ก็เป็นกรณีศึกษาหนึ่ง หากเราดึงเเนวคิดออกไปใช้ให้เหมาะกับบริบทองค์กร ผมก็เชื่อว่าน่าจะเป็นการนำไปใช้ที่ถูกต้อง โดยหลักๆ มีคำสำคัญของคำที่จับประเด็นได้คือ "ธรรมชาติ" เเละ "สนุกสนาน"ครับ

right view,right concept >>> right action  ครับ

 

ขอบคุณ Tacit Knowledge ที่ ครูธนิตย์ สุวรรณเจริญ   ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นบันทึกครับ ผมคิดว่าตรงนี้หละครับ คือ "ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ" เป็น การให้ทานทางปัญญา ลดความเหลื่อมล้ำครับ

ให้กำลังใจครูครับ :)

  • สวัสดีครับน้องเอก   จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
  • แวะมาเรียนรู้ครับ
  • เสียดายที่ไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมนี้
  • ได้แต่คอยเก็บเกี่ยวความรู้จากบันทึกหลายๆ ท่าน
  • ขอบคุณมากๆ ครับ ที่นำมาแบ่งปัน
  • ด้วยจำกัดที่เวลาจึงไม่ได้เข้าเรียนรู้ในห้องนี้
  • อ่านบันทึกนี้มีคุณค่าอย่างมากมาย
  • เสมือนว่าได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ในห้องเลยค่ะ
  • สมแล้วที่เป็นนักถอดบทเรียน การถอดบทเรียนนี้ที่พี่อยากจะเรียนรู้เพื่อพัฒนางานค่ะ
  • อยากบอกว่าบันทึกนี้เยี่ยมจริงๆ
  • ดีใจค่ะที่ได้พบกัน

ขอบพระคุณพี่คิมที่เชื่อมใจให้เรามาพบกัน

ขอบคุณ G2K ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ให้เราได้สนทนากันและพื้นที่ในบันทึกให้แบ่งปันความรู้ค่ะ

พี่เอกค่ะ

ขอบคุณสำหรับการร่วมแบ่งปันพลังของการให้ร่วมกันนะคะ ดีใจที่ได้พบกันค่ะ

ขอบคุณมากครับ พี่สิงห์ป่าสัก วีรยุทธ

ถือว่าเป็นโอกาสสำหรับผมครับที่ได้เข้าร่วมเวทีดีๆ ได้พัฒนาตนเองไปด้วย เจอกัลยาณมิตรไปด้วย

เเลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

พี่สมหญิง(อุ้มบุญ)

ดีใจที่ได้เจอพี่ในงาน KM5 ครับ มิตรภาพใน gotoknow นั้น ทำให้เราสนิทชิดเชื้อกันอย่างรวดเร็ว

มีโอกาสเราคงได้เเลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกนะครับ

เวที SHA ในเดือน ธค. ที่จะถึงนี้ :)

ด้วยความยินดี เเละ ขอบคุณ น้องอาร์มแห่ง Gotoknow.org  ครับ

ติดตามมาชม กิจกรรม และความรู้ดี ๆ ครับ

ขอบคุณมากครับ

ยินดีครับ คุณ ต้นกล้าครับ ยินดีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

"อาจารย์เอก"

ขอบคุณมากสำหรับ KM โซนประภาคารเกื้อกูล

รออ่านอีก ๘ โซนค่ะ

สงสัย KM แห่งชาติครั้งที่ ๖ ต้องขอเข้าร่วมด้วยแล้วล่ะ

 

ขอบคุณมากคะคุณเอก ได้แนวคิดที่ดีคะ สรุปง่าย เข้าใจ นำไปปฏิบัติได้ทันที

หากต้องการทำอะไรอย่ากลัวว่าจะไม่สำเร็จ ให้ลงมือทำในทันที”

“อย่าลืมสรุปบทเรียนทุกครั้งเวลาทำงาน ทำให้เป็นวัฒนธรรม”

“ฟัง ฟัง และ ฟัง ใช้ สุนทรียสนทนา (Dialouge)เป็นเครื่องมือสำคัญในองค์กรที่มีคนหลากหลาย”

“เรียนรู้จากการทำงาน(Learning by doing)สรุปบทเรียน แล้ว เดินหน้าต่อ”

สวัสดีครับคุณระพี

บันทึกต่อไปจะบันทึกถึงเทือกเขาปันปันครับ บรรยากาศของการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ"ที่มีความสุข เเละน่าประทับใจ

ติดตามต่อนะครับ

พี่ ประกาย~natachoei ที่~natadee

นั่งไปด้วยสรุปไปด้วย เพื่อรวบยอดความคิดให้กับผู้ฟังในวันนั้นครับ

ขอสัมภาษณ์พิธีกรสาวสวยหน่อยครับ ;)...

รูปพิธีกรสาวสวยไม่ชัดเจน เปลี่ยน ว2

สวัสดีค่ะ

ชอบประโยคนี้จัง

"ใช้ ความรู้ เเละ ความรัก ในการค้นหา มรรค ร่วมกัน"

อ.Wasawat Deemarn สามารถติดตามภาพบรรยากาศโดยรวมใน Facebook ของผมครับผม

พี่ ณัฐรดา

จัดการความรู้น่าจะเป็นประเด็นท้ายๆ หากเราไม่จัดการความรักก่อนครับ KM อย่างไรก็ไปได้ไม่ค่อยราบรื่น หากขาดการจัดการความรู้สึก :)

"ใช้ ความรู้ เเละ ความรัก ในการค้นหา มรรค ร่วมกัน"

สวัสดีตอนเช้าครับ คุณ ต้นกล้า

ผมเห็นอ้อยแดงเเเบบนี้ทำให้ผมคิดถึง ความทรงจำในวัยเยาว์ครับ คิดถึงตัว "กว่าง" ขึ้นมาทันที

จากภาพนี้หากไม่มีความรู้พื้นฐานว่า กระบวนการทั้งหมดเขาทำอะไร? เป็นภาพที่ดึงดูดความสนใจอยากรู้อยากเห็นมากๆครับ :)

ขอแลกเปลี่ยนด้วยคนค่ะ ในฐานะลูกน้องอจ.สุรเดช ในวันนั้นได้พอได้ฟังอาจารย์พูดคำว่า "ไว้วางใจ" ก็เลยขอสรุปบุคลิกของ

อจ.สุรเดชเพิ่มเติม คือ "ด้วยบุคลิกที่เป็นกันเอง ใจดี และการให้โอกาสแก่ลูกน้องซึ่งแสดงถึงความไว้วางใจ ของคุณหมอเป็นเรื่องเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่สามารถมัดใจคนทำงานได้ไม่ยาก”

ตอนทำงานด้วยกัน อจ.สุรเดช จะเป็นคุณเอื้อที่ให้โอกาสลูกน้องจริงๆ จะทำอะไรไม่เคยขัด มีแต่ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมทุกครั้ง

นี่เองที่เรียกว่า “ความไว้วางใจ”

อ้อ สปสช.เขต 13 กทม.

บุษกร สุรรังสรร >  ขอบคุณครับคุณบุษกร 

มายืนยันถึงบุคลิกเเละการนำของ นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ในฐานะคนทำงานด้วย ผมเลยสรุปออกมาได้ถึง ความเชื่อมั่นในศักยภาพมนุษย์ของ นพ.สุรเดช รวมถึง บุคลิกส่วนตัวที่ทุกคนเข้าถึงได้

ขอบคุณครับคุณบุษกร

ผมขอมอบบันทึกนี้ให้ชาว สปสช.๑๓ กทม ครับ

เอาเรื่องราวมา เเบ่งปัน เพิ่มเติม ครับ

การจัดการเรียนรู้ในเเปลงนา เพื่อการพัฒนาประเทศ"

ประเทศไทย ทุกคนเติบโตกันมาด้วยข้าว แต่เด็กรุ่นใหม่ ทำนาไม่ได้ เลอะขี้โคลน ไม่เป็น แต่กินเป็น กินเเบบไม่รู้คุณค่า  

ไร้ระเบียบกันตั้งแต่เเปลงนา โตขึ้นมา จะมาจัดระเบียบก็ไม่ทัน ครับ มันสายเกินไป

อย่าปล่อยให้ "การปลูกข้าว" เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ชาวนาไทยครับ

เรามีพื้นที่การเรียนรู้ ในนาข้าว "ถึง 60 ล้านไร่" เรามาสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กๆ ร่วมกันดี มั๊ย ครับ ดีกว่าสร้างให้ เด็กโตมาในตำรา

 แต่ปลูกข้าวไม่ได้ เข้าแถวไม่เป็น

 

"สร้างเด็กรุ่นใหม่มีระเบียบวินัย

 พร้อมกับสร้างคุณค่าข้าวไทยควบคู่กัน"

 

 

คุณต้นกล้าครับ

พักหลังนั่งอ่านบันทึกของคุณต้นกล้าที่กรุณา link มาให้ผมได้รับรู้ความเคลื่อนไหวบ่อยๆ รู้สึกว่าได้เปิดมุมมองผมทางด้านการเกษตรมากเลยครับ บันทึกที่มีสีสัน รวมถึง คงวามตั้งใจของผู้เขียน

สิ่งหนึ่งที่ผมเป็นห่วงเช่นเดียวกับคุณต้นกล้าคือ คนรุ่นใหม่เราละทิ้งอาชีพเกษตรกรไปเป็นส่นใหญ่ เเล้วในอนาคตเราจะอยู่กันอย่างไร เมื่อเมืองอู่ข้าว อู่น้ำเช่นเมืองไทย ต้องไปพึ่งพาอาหารจากแหล่งอื่น..

สวัสดีค่ะน้องเอก

  • แวะมาเก็บรายละเอียดอีกรอบหนึ่งค่ะ
  • หลังจากแวะไปเพลิดเพลินที่บ้านพี่คิม และ บ้านน้องหนานเกียรติ อยู่พักนึง
  • หายเหนื่อยแล้วยังคะ  ถึงเหนื่อยก็คงมีความสุขเนาะ
  • แต่ยังไงก็ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ  เหนื่อยนักก็พักบ้าง สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ
  • มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ
  • เย้....ได้อยู่หน้า 3 แน่เลย

ขอบคุณครับพี่ครูอิงจันทร์...ครุก็ดูเเลสุขภาพด้วยเช่นกันครับ ผมเป็นกำลังใจให้

น่าสนใจมากค่ะ แต่เสียดายที่ไม่ได้ไปร่วมงาน

ขอให้เล่าต่อไปอีกนะคะ

นี่แหละค่ะ กรุงศรีอยุธยา ไม่สิ้นคนดี ส่งกลิ่นหอมทั่วแผ่นดินไทย ขอให้เจริญยิ่งขึ้น

เป็นเรื่องที่ดีมาก

ดีในด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท