ความคม จากองค์ทะไลลามะ


คัดจาก ปาฐกถาของ ซองยาล รินโปเจ อนาคตของพระพุทธศาสนา ทาคินี แปล พิมพ์โดย บริษัท ส่องศยาม จำกัด

"หลายคนมีพระธรรมแต่ปาก แทนที่จะใช้พระธรรมทำลายความคิดเลวร้ายของตน กลับถือตนเป็นเจ้าของพระธรรม" (หน้า 11)

"พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสืบค้นภายใน ต่อการฝึกฝนเพื่อพัฒนาจิตใจ ด้วยมุมมองทางพุทธ การสอนและการศึกษาพระธรรม ไม่ใช่เป็นเพียงการปฏิบัติตามพระสูตร เราศึกษา และสอนพระธรรม เพื่อฝึกจิตใจอันดื้อรั้นของเรา" (หน้า 12)

"ทางตะวันออก หากท่านไม่อยากปฏิบัติ วัฒนธรรมก็ยังชักพาท่านมา ในทางตะวันตก หากท่านต้องการปฏิบัติ วัฒนธรรมก็ดึงท่านออกไป" (หน้า 16)

"วิธีคิดใหม่กลายมาเป็นปัจจัยจำเป็นต่อการมีชีวิต และการกระทำอย่างรับผิดชอบ หากเรายังรักษาคุณค่าและความเชื่อล้าสมัย ที่สติกระจัดกระจาย และจิตใจที่ตนเองเป็นศูนย์กลาง เราก็ยังคงยึดกับเป้าหมายและพฤติกรรมล้าสมัย" (หน้า 20)


(เรื่องราวจากธิเบต แต่ภาพประกอบจากภูฐานค่ะ)
หมายเลขบันทึก: 370655เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2010 07:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2015 05:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

มาชม

คมความงามในศิลป์และศาสตร์แห่งธรรมสายมหายานนะครับ...

  • ขอบคุณคำคมดีดีครับ
  • ปัญญาเกิดจากการเรียนรู้และปฏิบัติ ดั่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้จริงๆ ครับ

ขอบคุณค่ะ..จิต คนเราทั้งดื้อรั้นและคอยแต่จะออกนอกลู่นอกทาง...สติ เท่านั้นที่จะกำกับเข้าสู่วิถีแจ้งได้...

  • แวะเข้าเรียน มารู้
  • ยังระลึกถึงเสมอครับ

สวัสดีค่ะ แวะมาอ่านสิ่งดีๆเป็นอาหารใจอีกเช่นเคยค่ะ

ผู้ฝึกตนดีแล้วย่อมนำสุขมาให้

ตระเวนแวะมาเยี่ยมหมู่มิตรและหิ้วของมาฝากครับคุณณัฐรดา สบายดีนะครับ  

 มิติหนึ่งของคนทำงานและครูชีวิตสุขภาพในชุมชน ให้ความบันดาลใจดีครับครับ  คลิ้กหัวข้อเพื่ออ่านเนื้อหา ๑๒ ตอน

ตอนที่ ๑    ขับเคลื่อนเครือข่ายโรงเรียน อสม.               ตอนที่ ๒   จิตวิญญาณความเป็นครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๓    ความเป็นครูโรงเรียน อสม.                        ตอนที่ ๔   ร่วมกันสร้างกรอบตัวแบบค้นหาครูโรงเรียน อสม.
ตอนที่ ๕    มิติทักษะความเป็นครูของอสม                   ตอนที่ ๖   วิธีค้นหาครูขับเคลื่อนโรงเรียนอสม.ของชุมชน
ตอนที่ ๗    ฐานชีวิตของครูโรงเรียนอสม.                     ตอนที่ ๘   เงื่อนไขสังคมของครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๙    การพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ครูโรงเรียนอสม.   ตอนที่ ๑๐ เครื่องมือ สื่อ เทคโนโลยี สิ่งสนับสนุนครูโรงเรียนอสม.
ตอนที่ ๑๑  การนำเสนอแผนการสอนและสาธิตกระบวนการเรียนรู้ของครูโรงเรียนอสม. 
ตอนที่ ๑๒  เพิ่มลูกเล่นและใส่ศิลปะเพื่อเรียนรู้การนำเสนอให้สร้างสรรค์

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

  คลิ๊กเพื่อเข้าไปดู  เครื่องมือและผลประเมินของเวทีโดยการโหวต   : ความเข้มแข็งและแนวโน้มความยั่งยืนของเครือข่ายครูโรงเรียนอสม. : มิติการพิจารณาความยั่งยืน ๓ องค์ประกอบ ๖ ตัวชี้วัด [Click here]

คุณณัฐรดาครับ ผมอ่านหนังสือท่านทะไลลามะหลายเล่มและมีโอกาสไปธิเบต หลักธรรมของท่านชัดเจนและเข้าใจง่าย ธิเบตก็เรียบง่าย ผู้คนศรัทธาในพระธรรมมาก ทั้งวัฏปฎิบัติและการครองชีวิต

สำหรับภาพประกอบนั้น ตามวัดในธิเบตจะสวยมาก มีหลายขนาด

ขอบคุณครับ มีคุณค่ามาก

มาเก็บหลักธรรมที่คุณณัฐรดา สืบค้นมาเสนอครับ ขอบคุณครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึง สบายดีนะคะ
  • วันนี้บุษราได้นำภาพดอกไม้สวย ๆ มาฝากกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                         

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา มาเยี่ยมอ่านสาระดีๆแบบนี้ทุกครั้งทำให้เรียนรู้ทางด้านธรรมมะกว้างขึ้นมากมายค่ะ.. มาขอขอบพระคุณมากมายวันนี้ไปห้องสมุดเห็นหนังสือวาดภาพฯ.. จำนวน 5 เล่ม จึงอยากเรียนถามว่าจะทำหนังสือขอบคุณไปทางไหนดีค่ะ..สำนักพิมพ์หรือทางคุณณัฐรดาดีค่ะ..ขอบพระคุณผู้ใหญ่ใจดีอีกครั้ง.. ภายในปีนี้คงเห็นฝีมือเด็กๆล่ะคะ

เด็กที่เรียนสาระศิลปะก็จะวาดจากแหล่งเรียนรู้ที่อยู่รอบๆตัวเค้านะคะ..กำลังร่างช่อกล้วยไม้ที่ติดต้นมะม่วงนะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะคุณณัฐรดา เด็กๆอ่านแล้วบอกว่าทำได้ถ้ามีเวลาฝึก..อิอิ..คงจะนัดนอกเวลานะคะ

  • ตามมาทักทายพี่
  • วันนี้สอนทั้งวัน
  • หมดแรง

เข้ามาตามคำแนะนำของครูหยุยค่ะ ขอบคุณสำหรับหลักธรรมดีดีที่ช่วยหล่อเลี้ยงจิตใจจะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท