เวทีค้นหาปัญหาเพื่อหาโจทย์วิจัยPARอาหารปลอดภัยของตำบลท่าไม้ อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร (1)


ชาวบันเขารับรองกันเองว่าปลอดภัย เพราะเขากินข้าวที่ตนเองปลูกทุกครัวเรือน
          เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ผมและคุณสายัณห์ ได้ไปร่วมในกระบวนการเวทีชุมชน ณ บ้านแม่ระกา หมู่ที่ 3 ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร  วันนี้มีอาจารย์วรพงศ์ หรืออาจารย์ฟี่ จาก Safe Project เดินทางไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย

          ขณะที่ไปถึงขบวนการได้เริ่มต้นไปบ้างแล้ว โดยคุณประสิทธิ์ อุทธา นักส่งเสริมฯ และคุณวาด  วานิช เกษตรอำเภอพรานกระต่าย กำลังดำเนินกระบวนการ ไดยการซักถามและพูดคุยกับเกษตรกรที่มาร่วมในครั้งนี้ 30 กว่าคน  ประเด็นที่กำลังดำเนินอยู่ก็คือการสอบถาม/ทบทวนข้อมูลและสภาพของการประกอบอาชีพหลักในชุมชน ซึ่งก็คือเขากำลังคุยกันในเรื่องของการทำนา

                                              49062202 เวที ณ ศาลากลางบ้าน

          เนื่องจากกิจกรรมในวันนี้ อยู่ในกระบวนการของการดำเนินการเพื่อทำการผลิตข้าวให้ปลอดภัย  ดังนั้นกระบวนการที่ได้ดำเนินการจึงเป็นดังนี้

  • หลังจากการพบปะพูดคุย และสอบถามถึงสภาพการผลิตของชุมชนแล้วจึงเป็นการระดมความคิดเห็นถึงปัญหาหรือความหนักใจของเกษตรกรที่พบ
  • การทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตของเกษตรกรจากอดีตถึงปัจจุบัน ใช้การเล่าและซักถามเพิ่มเติม
  • การทำความเข้าใจเพื่อกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกในการเปลี่ยนระบบการผลิตของชุมชน  ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้าง
  • การสรุปปัญหาในการผลิต ซึ่งพบว่าปัญหาในการผลิตไม่ได้อยู่ที่การใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมี เพราะชุมชนทำนเพียงปีละ 1 ครั้ง แต่พบว่าความหนักใจของคนทำนาที่นี่ คือ คุณภาพของข้าว

          หลังจากนั้น ได้สนทนากันถึงการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม เพราะการผลิตอาหารปลอดภัยของที่นี่ "คนก็ปลอดภัย"  "อาหารก็ปลอดภัย" (ชาวบันเขารับรองกันเองว่าปลอดภัย  เพราะเขากินข้าวที่ตนเองปลูกทุกครัวเรือน)  แต่สิ่งที่กำลังหายไปหรือถูกทำลายกลับเป็นสิ่งแวดล้อม เพราะจากการสนทนาสรุปได้ว่า มีพืช/สัตว์บางอย่างหายไป

          วันนี้เราได้ดำเนินกระับวนการกันได้เพียงเท่านี้ ครั้งต่อไปเราจะมาพัฒนาเพื่อหาโจทย์วิจัยของบ้านแม่ระกากันต่อไปนะครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

วีรยุทธ  สมป่าสัก 7 มิ.ย.49 

หมายเลขบันทึก: 35343เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2006 06:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
พี่วีรยุทธเข้าไปในพื้นที่บ่อยหรือเปล่าครับ ถ้าอย่างไรต้องเข้าไปบ่อย ๆ นะครับ เข้าไปคุยเรื่องราวต่าง ๆ สัพเพเหระ ถ้าไม่ไกลจนเกินไป ผมเคยทำเรื่องข้าวนี้เหมือนกันที่บ้านท่าสัก อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กว่ากิโล ตอนเย็น ๆ ผมก็จะขับรถเข้าไปทานข้าวเข้าไปซื้อข้าวซื้อของ พูดคุยกับเค้าเสมอ ๆ เพื่อที่จะให้เขารู้สึกว่าเราไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมและให้รู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนครับ

เรียน อ.ปภังกร

     ผมลงพื้นที่ส่วนใหญ่จะไปร่วม เมื่อมีการประสานงานจากนักส่งเสริมที่อยู่หน้างานครับ แต่ก็ลงพื้นที่บ่อยเหมือนกันทุกอาทิตย์  เป็นการไปร่วมดำเนินกระบวนการต่างๆ เช่น การหาโจทย์วิจัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น ขณะนี้มี พ.ท.ที่กำลังดำเนินการอยู่ประมาณ 20 กว่าจุด ส่วนใหญ่จะเป็นข้าวครับ

ผมเคยลงชุมชนทำเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารให้ได้มาตรฐายผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผมดีใจมากที่คุณทำเรื่องอาหารปลอดภัย โดยเฉพาะขั้นต้นนำ เพราะงานวิจัยหลายชิ้น เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจะมีสารปนเปื้อนติดมากับวัคถุดิบก่อนการแปรรูป

ผมเคยลงชุมชนจัดทำเวทีเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) หัวใจของเรื่องนี้อยู่ที่ การศึกษาบริบทชุมชน ต่อจากนั้นก็ทำ SWOT analysis กิจกรรมต่อคือ การร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผน การปรับปรุงผลิตภัณฑ์นั้นๆ กิจกรรมสุดท้ายคือการร่วมปฏิบัตติตามแผนที่กำหนด ผลิตภัณฑ์นั้นก็จะได้รับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น อย. มผช. เป็นต้น

ขอเป็นกำลังใจให้คุณสิงห์ป่าสัก ทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ ครับ

ที่แม่ฮ่องสอนเราได้ร่วมกันทำ หลักสูตร "การวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม" เพื่อพัฒนาและยกระดับหมู่บ้านธนาคารอาหารชุมชน (Food Bank)ปี ๒๕๔๙ ขึ้น เนื้อหาน่าสนใจทีเดียวครับ เพราะได้ผ่านการทดลองใช้งานจนพวกเราสรุปกันได้ว่า หลักสูตรที่พวกเราทำขึ้น เหมาะสมกับบริบทที่นี่ และ ใช้ได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้...โดยหลักก็คือ ให้ชาวบ้านเขารู้ตัวเองให้ถ่องแท้ โดยการจัดกระบวนการ วิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม...แบ่งชาวบ้านออกเป็น ๔ กลุ่ม ตั้งแต่ระบบการผลิต พืช สัตว์ สัตว์/ระบบการจัดการดินน้ำป่า/ระบบชุมชน(รู้จักตนเอง)/ระบบบริโภค...พอได้เนื้อหาจากเวทีกลุ่มย่อยเหล่านี้แล้ว ก็นำมาสรุปรวมกันในกลุ่มใหญ่ให้เห็นภาพรวม ของชุมชน ...ภาพที่เกิดขึ้น ณ ตรงนั้นก็คือ ศักยภาพของชุมชน รวมทั้งเห็นเงื่อนไขของปัญหาซ่อนอยู่...พอได้หรือมองเห็นประเด็น ก็จะนำประเด็นปัญหามาถกกัน(กรณีต้องการแก้ไขปัญหา-พัฒนาโจทย์) ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับฐานทุนของชุมชน...กระบวนการแบบนี้อาจจะใช้เวลาบ้างแต่ก็คุ้มค่าเลยทีเดียวครับ เหนื่อยหน่อย แต่ได้ข้อมูลมาวางแผนพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี และมีส่วนร่วมของชุมชนด้วย(ตรงนี้สำคัญ) ส่วน ประเด็นปัญหา ที่น่าสนใจ (เร่งด่วน) ประเด็นนี้ เราจะหาโอกาสมานั่งคุยแบบธรรมชาติกับชาวบ้านอีกที เพื่อระดมข้อคิดเห็นและทางเลือก ตลอดจนกลวิธีการแก้ปัญหา หากน่าสนใจ เราก็จะพัฒนาเป็นโจทย์วิจัย นำเสนอเป็นเอกสารเชิงหลักการ นำเสนอ สกว. เพื่อเข้าสู่ระบบ "การวิจัยเพื่อท้องถิ่น" ต่อไปครับ/// นี่เป็นส่วนหนึ่งของเวทีที่เราทำกันบ่อยๆที่แม่ฮ่องสอน ครับ...นำมาแลกเปลี่ยนประเด็นนี้

เรียน ท่านชอบตรง

  • ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ .และให้กำลังใจในการทำงานครับ

เรียน คุณจตุพร

  • ขอบพระคุณมากครับที่คอยติดตามให้กำลังใจและนำประสบการณ์ในการทำงานมาแลกเปลี่ยน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท