ความตกลงเขตการค้าเสรี(fta)คืออะไร?


หลักการที่สำคัญของความตกลงเขตการค้าเสรี คือการยกเลิกอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศในด้านภาษี ความตกลงเขตการค้าเสรีจึงมีเรื่องการลดภาษีศุลกากร เพื่อให้การค้าของประเทศคู่สัญญาขยายตัวมากขึ้น

ความตกลงเขตการค้าเสรี(FTA)คืออะไร       

 ความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้มีการไหลเวียนของสินค้าระหว่างประเทศได้มากและคล่องตัวขึ้นเพื่อที่จะทำให้สินค้ามีราคาถูกลงอันจะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค  ทั้งนี้เป็นผลมาจากความคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่าหากแต่ละประเทศจะผลิตสินค้าที่ตนมีความถนัด จะทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และมีตนทุนในการผลิตที่ต่ำลงทำให้ประเทศสามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น และในทางกลับกันประเทศจะนำเข้าสินค้าที่ตนไม่มีความถนัดในการผลิตและมีตนทุนในการผลิตที่สูง จะทำให้เกิดการไหลเวียนของสินค้าระหว่างประเทศ และผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์       

 ความตกลงเขตการค้าเสรีนี้มีได้ทั้งที่เป็นความตกลงของหลายประเทศในลักษณะของความตกลงพหุภาคีหรือความตกลงของภูมิภาคประเทศ เช่น ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) และความตกลงระหว่างสองประเทศในลักษณะของความตกลงทวิภาคี ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายประเทศจับคู่และตกลงทำความตกลงเขตการค้าเสรี เช่น ความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศสิงค์โปร์      

นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญในการเจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีในลักษณะทวิภาคี ฉะนั้นประเทศไทยจึงได้เปิดการเจรจาและสามารถลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีไปแล้ว เช่น ประเทศบาห์เรน จีน อินเดีย ออสเตรเลียเป็นต้น      

หลักการที่สำคัญของความตกลงเขตการค้าเสรี คือการยกเลิกอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศทั้งในด้านภาษีและมิใช่ภาษีระหว่างกัน ฉะนั้นในกรอบของความตกลงเขตการค้าเสรีจึงมีเรื่องการลดภาษีศุลกากร (Custom Duties) เพื่อให้การค้าของประเทศคู่สัญญาขยายตัวมากขึ้น โดยประเทศคู่สัญญาจะลดภาษีอากรขาเข้าของตนให้กับสินค้าของประเทศคู่สัญญาซึ่งในทางการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีเรียกว่ามาตรการเข้าสู่ตลาด (Market Access) กำหนดรูปแบบในการลดภาษีอากร (Modality) ซึ่งจะครอบคลุมถึงรายการสินค้าที่จะลดภาษี และอัตราภาษีอากรของสินค้าแต่ละรายการที่จะลด ตลอดจนระยะเวลาที่จะลดภาษีอากร ซึ่งอาจมีการจัดเป็นกลุ่มสินค้าที่จะเร่งรัดในการลดภาษี (Early Harvest Scheme หรือ Fast Track) กลุ่มสินค้าที่จะลดภาษีตามเวลาที่กำหนด (Normal Track) และกลุ่มสินค้าที่แต่ละประเทศยังคงสงวนไว้ หรือยังไม่อาจจะลดภาษีให้ทันที ซึ่งเรียกว่า กลุ่มสินค้าที่อ่อนไหว (Sensitive List)      

ในการที่จะทำให้ความตกลงเขตการค้าเสรีมีผลอย่างจริงจัง การเจรจาก็จะครอบคลุมในเรื่องของแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origins) ที่จะเป็นกฎเกณฑ์ที่จะกำหนดว่าสินค้าใดเป็นของประเทศคู่สัญญา เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีอากรตามความตกลงเขตการค้าเสรี และข้อตกลงที่เกี่ยวกับอุปสรรคทางเทคนิคทางการค้า (Technical Barrier to Trade) ด้วย      

นอกจากนั้นแล้วในบางความตกลงเขตการค้าเสรี อาจจะมีการขยายขอบเขตของความตกลงให้ครอบคลุมมากกว่าการค้าสินค้า (Trade in Goods) เช่นสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรมสินค้าทางเกษตร แต่จะขยายไปสู่การบริการ (Trade in Service) และการลงทุน (Investment) ด้วย       ฉะนั้นภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ขายในกรณีเป็นผู้ส่งออก และผู้ซื้อในกรณีนำเข้า จะต้องติดตามผลของความตกลงเขตการค้าเสรีที่ประเทศไทยได้ตกลงไว้ และที่ประเทศไทยกำลังเจรจาอยู่       ประเด็นหลักที่จะมีผลกระทบต่อการค้าโดยตรงคือ รายการสินค้าที่กำหนดให้มีการลดภาษีลง ซึ่งเป็นรายการสินค้าของประเทศไทยและประเทศคู่สัญญา รายการสินค้านี้ต้องพิจารณาทั้งที่เป็นรายการสินค้าเร่งด่วน รายการสินค้าปกติ และรายการสินค้าอ่อนไหว ระยะเวลาในการลดภาษี และอัตราภาษีที่ลดหรือที่เรียกเก็บ       

 นอกจากนั้นก็ต้องทำความเข้าใจกับหลักแหล่งกำเนิดสินค้าที่ใช้ในแต่ละความตกลงเพราะแต่ละความตกลงอาจจะมีหลักแหล่งสินค้าที่แตกต่างกัน และต้องดูข้อตกลงที่เกี่ยวกับอุปสรรคทางเทคนิคที่การค้าด้วย      

ในกรณีที่ความตกลงเขตการค้าเสรีได้มีการตกลงและนำไปสู่การปฏิบัติแล้ว เช่นความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-จีน ผู้ขาย ผู้ซื้อ หรือ ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ก็ต้องไปดูรายละเอียดอัตราพิกัดศุลกากร ที่ใช้กับเขตการค้าเสรีนั้นๆ โดยควรต้องพิจารณาอัตราภาษีศุลกากรทั้งของประเทศไทยในกรณีที่เป็นผู้นำเข้า และอัตราภาษีศุลกากรของประเทศคู่ค้าในกรณีที่เป็นการส่งออก เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 35338เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2006 01:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ขอบคุณค่ะ  สำหรับข้อมูล

ดีนะ- - เกรียนจริงๆ

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

ขอบคุณนะค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท