๒๐.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โบร๊าน.โบราณ


                      ย้อนอดีตไปสักนิด  คุณสุวรรณา มาปลิว สังข์ศิริ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ประจำตำบลนครชุม ซึ่งปัจจุบันย้ายไปรับราชการอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ แนะนำผม ให้เรียนรู้ งานทำบุญกลางนา ของชาวบ้านนครชุม เลยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ไปไม่ไกลนัก

                        งานบุญเล็กๆของชุมชนนี้ จัดประมาณช่วงเดือน ๖ ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำนากัน  กิจกรรมหลักๆของงานบุญนี้ สรุปโดยย่อๆ ได้ดังนี้คือ

                       ๑.เป็นพิธีทางศาสนา จัดในทุ่งนา

                                      ภาพจาก phibun.com

                       ๒.นิมนต์พระ มาเจริญพระพุทธมนต์ โดยชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะร่วมกัน จัดอาหารหวานคาว มาร่วมเหมือนกับไปทำบุญในวันพระปกติ...และ.....

๓..ชาวบ้านจะนำพันธุ์ข้าวปลูก พันธุ์พืชต่างๆ เครื่องมือที่ใช้ในการทำนา เช่น แอก ไถ คราด เข้ามาร่วมพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคลทั้งหมด เครื่องมือของใครชำรุด ก็ต้องซ่อมแซมก่อนจะนำเข้าพิธี

                        ๔.บ้านใด ที่พี่น้องอยู่ห่างไกล ต้องให้มาร่วมและรวมตัว ร่วมงานบุญนี้ เพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจและความเป็นสิริมงคลก่อนการทำนา ที่สำคัญ เตรียมลงแขกทำนา

                        ๕.พันธุ์ข้าว พันธุ์พืชอื่น ๆ หลังจากได้เข้าพิธีและประพรมน้ำพระพุทธมนต์แล้ว ชาวบ้านจะมีการแบ่งปัน  แลกเปลี่ยน อุดหนุนเกื้อกูลกัน ให้กับรายที่ขาด เพื่อนำไปใช้เป็นพันธุ์ปลูกต่อไป

                     

                                                 ภาพจาก phibun.com

                        ๖.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปรึกษาหารือและหาข้อตกลงร่วม ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากิน  ก่อนที่จะจบด้วยการรับประทานอาหารร่วมกัน

                        ที่ผมหยิบยกเรื่องนี้ มาบันทึกไว้ ก็เพราะด้วยเหตุ ๒-๓  ประการ คือ

                        ประการแรก.งานบุญนี้  ปรากฏว่า เป็นเพียงอดีต  สุญหายไปพร้อมกับผู้คนรุ่นลายคราม

                        ประการที่ ๒ ผมภูมิใจในภูมิปัญญาที่เนียน นุ่ม แยบยล ของบรรพบุรุษที่ใช้กิจกรรม “ งานบุญ” มาเป็นตัวนำและขับเคลื่อนอย่างบูรณาการเกี่ยวกับ  (๑)การระดมพล มาเป็นแรงงานทำนา  (๒)การเตรียม/คัดพันธุ์ข้าวปลูก เพราะก่อนที่จะนำมาเข้าพิธี ทุกคนจะต้องคัด ทำความสะอาดให้เรียบร้อย.. (๓)เห็นการแบ่งปัน  การเกื้อกูลเมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์พืช ทั้งก่อนและหลังเข้าพิธี   (๔) เห็นความรัก ความเมตตา ความสมัครสมานสามัคคีกลมเกลียว ไปพร้อมๆกับ ได้เห็น(๕) เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ชนิดเข่าชิดติดกัน ด้านการทำมาหากิน ด้วยความโอบอ้อมอารี แย้มแย้มแจ่มใส เป็นธรรมชาติยิ่งนัก..(๖)การเสริมสร้างกำลังใจ กำลังขวัญ ให้ฮึกเหิม มั่นคงมั่นใจก่อนลงมือทำนาและที่ผมภาคภูมิใจสุดท้าย..ก็คือ (๗)การบ่มเพาะ ปลูกฝังให้เห็นความสำคัญ และความกตัญญู..โดยหยิบเอาข้าว.. เป็นตัวนำ และบอกใบ้ลึกๆ ลงไปกว่านั้น ว่า.. อย่ากินทิ้งกินขว้าง..ข้าวทุกเม็ดมีค่า..อะไร.ประมาณนั้น

                ประการที่ ๓ เห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นความแตกต่างของเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในอดีตกับปัจจุบัน  โดยเฉพาะระดับชาวบ้าน  จากเวทีที่เกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ซึ่งให้ผลลัพท์จนแทรกเข้าไปในจิตวิญญาณถึง ๖-๗ อย่างผสมผสานกัน  เหมือนกับผืนผ้าที่ถูกถักทอ ด้วยเส้นไหมที่เล็ก ละเอียด เนียน นุ่มเนื้อ สวมใส่เกิดความ ปลอดโปร่ง ร่มเย็น เป็นสุข... ..      

              นี่แหละครับ...ภูมิปัญญาของบรรพชน ซีกโลกตะวันออก..ที่ผู้คนมักลืมเลือน ??????..

              

                                                          สามสัก

                                                     ๒๙ ก.ย.๒๕๕๒

 

คำสำคัญ (Tags): #การพัฒนา
หมายเลขบันทึก: 301912เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (54)

ผมเป็นคนหลงรักบรรยากาศท้องทุ่งเสมอมา
เห็นภาพเขียนเหล่านี้ ยิ่งหวนคิดถึงความทรงจำอันงดงามของชีวิตขึ้นเท่าตัว

ในอดีต..พระที่หมู่บ้าน ยังเคยลงแขกเกี่ยวข้าวในแปลงนาของผมและชาวบ้านอื่นๆ เหมือนกัน...

ขอบคุณครับ

เข้ามาอ่านเห็นคำว่าโบร๊าน โบราณ เลยอยากรู้ว่าจะโบราณเท่าป้าหรือป่าว ปรากฎว่าโบราณกว่า ป้าไม่เคยร่วมงานบุญที่ไหนสักที่เลย ...แต่เห็นสิ่งที่คุณสามสักเล่ามาก็รู้สึกอบอุ่นดี คนโบราณผูกพันธ์อยู่กับความเชื่อความศรัทธา ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าเลือนหายไปตามกาลเวลาไม่ใช่สิ่งเหล่านี้ไม่ดี แต่ความต้องการของคนมันเพิ่มขึ้นวิธีการผลิตเปลี่ยนไปตัวใครตัวมันมือใครยาวสาวได้สาวเอา เกษตรตัวจริงไม่มีที่ทำนา ที่เห็นๆมีไร่มีนาส่วนใหญ่ เป็นนายทุนที่ไม่ต้องใช้ไสยศาสตร์ช่วยไม่ต้องเรียกขวัญเป็นมงคลอะไรแล้ว ผลิตตามคำสั่งตลาดเป็นใช้ได้ ใส่สารเร่งเข้าไป แรงงานไม่ต้องง้อ เพราะมีเครื่องจักร ส่วนชาวบ้านภูมิปัญญาก็ทิ่งที่ทิ้งทางไปทำงานโรงงาน ไปเป็นลูกจ้าง ไปทำอาชีพอื่นที่คิดว่าจะได้ไม่ต้องยากจน ให้ได้อาย หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน เกษตรกรยากจน คำเนี่ยมันเสียดแทง กี่ยุคกี่สมัย ยังไม่รู้จักคำว่า"เกษตรกรรมยั่งยีน"....ตอนเนี่ยเรากำลังร่วมกันที่จะเรียกสิ่งเก่าๆให้กลับมา บางที่ก็มีทางเป็นไปได้ บางที่ก็ค่อนข้างต้องใช้เวลา.. ป้าว่าเราอย่าเพิ่งท้อดีกว่า ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เป็นวันของเรา วันที่ฟ้าสดใส...เกษตรกรก้าวไกล ประเทศไทยยั่งยืน สโลแกนปลุกใจ

สวัสดีค่ะ...ชอบค่ะ...เห็นบรรยากาศเลยค่ะ...ภาพสวยมากนึกถึงบ้านไร่ท้องนาเลยค่ะ...แต่เดี๋ยวนี้แปลสภาพไปหมดแล้ว...ไม่เหลือร่องรอยของความโบร้าน โบราน อีกแล้วค่ะ...ความเจริญเข้ามาแทนที่...การแลกเปลี่ยนกันแบบเข่าชิดติดกันหาชมดูค่อนข้างอยากเสียแล้วค่ะ...อ่านบันทึกแล้วชอบเป็นพิเศษค่ะ...ขอบพระคุณมากค่ะ

นุชเป็นคน คนนึงที่ชอบเรื่องราว เรื่องเล่าเมื่อในอดีตเพราะได้ฟังที่ไร ก็อดจิตนการไม่ได้

อยากไปอยู่ ยุคสมัยนั้น แต่ก็ได้แต่นึกคิด เท่านั้น ไม่สามารถไปอยู่ในบรรยากาศนั้นได้แล้ว

ขอสนับสนุนการรื้อฟื้น เรื่อง โบร๊าณ โบราณ ด้วยคนนะค่ะ

สวัสดีค่ะ

นุช

สวัสดีครับ คุณแผ่นดิน P

  • ขอบคุณครับที่มาแวะทักทาย

สวัสดียามเช้าๆ ครับป้าเหมียว

  • อยากรู้ว่าจะโบราณเท่าป้าหรือป่าว
  • แหม! ป้าถ่อมตัวจัง...
  •  ขอบพระคุณป้าเหมียวมากครับ ที่เม้นข้อคิดดีๆเพิ่มเติมให้ไว้

 

การได้มารวมกลุ่มกัน ในแบบทำบุญแบบนี้

ไม่มีให้เห็นอีกแล้ว

มีแต่รวมกลุ่มและแบ่งสี....แล้วทะเลาะกัน

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์Vij P

  • ดีใจครับที่ชอบ..และ
  • ขอบคุณมากครับ ที่กรุณาแวะมาทักทาย

 

สวัสดีครับ คุณนุช

  • ยินดีครับ ที่ได้รู้จัก
  • ขอบคุณมากครับ ที่กรุณาแวะเข้ามาทักทาย
  • โอกาหน้าเชิญใหม่น๊ะครับ

สวัสดีครับ คุณครู ป.๑

  • เป็นอย่างไรบ้างครับ..เที่ยวสนุกไหมครับ
  • คงผ่อนคลาย..ได้มาก
  • สนองนโยบาย..เที่ยวในไทยและทั่วไทย
  • ขอคุณท่านอาจารย์มากน๊ะครับ ที่แวะเยี่ยมเยียน

สวัสดีค่ะ

  • วันที่ ๒ และวันที่ ๕-๗ ตุลาคม เป็นการเรียนรู้เรื่องท้องถิ่นและภูมิปัญญาในชุมชนของนักเรียน
  • วันนี้จะแนะนำให้นักเรียนมาอ่านบันทึกนี้ก่อนที่จะวางแผนไปนอกโรงเรียน
  • ภูมิปัญญา...มีคุณค่าที่หลายคนเมินนะคะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณ สามสัก ภูมิปัญญา ทุกอย่างมีนัย ในการเอื้ออิง ร้อย รัด มัด ห่อ สังคมให้อยู่ร่วมกัน ฬดยกตอกา พันธสัญญาทางใจกัน ครับ

สวัสดีครับ คุณครูคิม

  • ผมดีใจและปลื้มใจจริงๆ ที่คุณครู กรุณาบ่มเพาะ ปลูกฝังให้เยาวชนได้รู้ ได้ตระหนักและบังเกิดความภาคภูมิใจ ที่เกิดมาเป้นคนไท  และ..............
  • เห็นความสำคัญ ในภูมิปัญญาไทย ที่ส่วนใหญ่มักถูกละเลย....ไม่จริงจัง
  • ขอบพระคุณมากจริงๆครับ

สวัสดีครับคุณวอญ่า

  • ผมชอบแวะไปอ่านบันทึกท่าน..เสมอๆ
  • แต่..ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยได้เม้นไว้
  • ชอบตรงที่สอดแทรกข้อคิด ปรัชญา มุขสนุกสนานแทรกให้สนุก
  • การเม้นของท่าน ก็แตกต่าง..ให้ข้อคิด สะกิดใจอยู่เป็นเนื่องนิจดีครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาทักทาย และเม้นให้ไว้ เป็นประโยชน์ดีครับ

ตามมาเยี่ยม บรรยากาศลูกทุ่ง ครูอ้อยชอบอยู่ข้างๆๆคนลูกทุ่ง

  • ขอบพระคุณ คุณครูอ้อยครับ P

ขอเรียกว่า "ภูมิปัญญาบูรณาการ" เป็นสุดยอดแห่งภูมิปัญญาไทยเลยละครับ

เป็นภูมิปัญญา โบร๊าณ โบราณ ที่นักวิชาการสมัยใหม่เพิ่งมาเริมฮิต ว่า LO และ KM

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภูมิปัญญา โบร๊าณ โบราณ ด้วยคน
  • สังคมชนบท ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้าง แต่กำลังจะสูญหาย ถ้าลูก ๆ หลาน ๆ รุ่นหลัง ๆ ละเลยไป
  • ขอบพระคุณท่านSmall man P มากครับ ที่กรุณาคอมเม้นเพิ่มเติมให้ไว้
  • สวัสดีครับ คุณบุษรา P
  • คงต้องช่วยกัน ปลูกฝังเยาวชน ให้ตระหนักและเห็นความสำคัญอย่างเป็นตรรกะ
  • มิเช่นนั้น..สุญหายหมดอย่างที่คุณว่า..ครับ

สวัสดีค่ะสามสัก

***แวะมาชมการเขียนที่ใช้ภาษาสละสลวยของนักวิชาการเกษตรค่ะ

*** ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่มีให้

  • ขอบคุณคุณกิติยาP มากครับ ที่แวะทักทาย

แวะมาท้กทายค่ะ

อ่านแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่นดี (ไม่รู้ดิฉันเป็นคนโบร๊าน โบราณหรือป่าว?)

ประเพณีบุญคล้ายอย่างนี้ทางภาคอีสานยังพอมีให้เห็นบ้าง แต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว คล้ายๆกับประเพณีแรกนาขวัญ ก่อนที่จะเริ่มทำนา ก็จะมีการทำบุญ ประกอบพิธีพราหมณ์ ไหว้ผีปู่ย่า เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนค่ะ (เคยได้ยินมาแต่ก็ไม่ทราบรายละเอียดมากนัก)

ประเพณีดีๆ ที่สูญหายไป น่าจะมีการฟื้นฟูนะคะ

  • ขอขอบคุณคุณBlue Star Pมากครับ ที่เม้นเสริมบันทึกนี้ไว้
  • เห็นด้วยกับการฟื้นฟู..ครับ

พี่สามสักครับ

ชาวปกาเกอะญอบางพื้นที่ยังมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับไร่นาอยู่มาก

ผมคิดว่าน่าจะเป็นกุศโลบายเดียวกันกับที่กล่าวถึงครับ

  • คุณหนานเกียรติ ครับ
  • จริงๆ น่าจะรวบรวมและควรให้สืบสานไว้บ้าง คงดีไม่น้อยน๊ะครับ
  • ขอบคุณที่แวะทักทาย

มาดูเวที ลปรร ระดับชาวบ้าน

ที่ทำด้วยใจ  ทำด้วยธรรม

เพื่อให้เกิดความสานสามัคคี

ด้วยแนวคิดที่เนียนไปด้วยธรรม

สวัสดีครับคุณสามสัก  ช่วยกันครับ รักษาสิ่งดีงามเอาไว้ให้ลูกหลานเราครับ  ขอบคุณครับ

 

 

ท่านอาจารย์สามสัก (ขอเรียกท่านอาจารย์นะคะเพราะมาขอคำแนะนำ)

ขอถามที่ไม่เกี่ยวกับบันทึกหน่อยค่ะ เวลาที่เราตอบข้อคิดเห็นแล้วมีรูปคนที่เราตอบเป็นกรอบเล็กๆ เนี่ย...เค้าทำยังไงคะ ถึงได้มีรูปขึ้น? ทำไมเป็นค่ะ ขอความกรุณาด้วยนะคะ...ตอนนี้กำลังฝึกใช้งาน G2K อยู่ (ดาวเป็นพวก low tech น่ะค่ะ)

ขอบพระคุณค่า ^-^

  • คุณสามสักครับ มาชื่นชมท่านที่นำเสนอภูมิปัญญา
  • คุณก้ามกุ้งก็เสนอแนวทางภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ดั้งเดิมสังคมไทยถ้านำเอามาประยุกต์ใช้ยังมีคุณค่าอยู่
  • ขอบคุณ คุณหมอ มนัญญา P ที่เม้นข้อคิดทิ้งไว้ให้ครับ

พิธีกรรม ภูมิปัญญา คำสอนสมัยก่อน

ล้วนเป็นกุศโลบายที่แยบยล ให้คนน้อมหาธรรมะ อย่างเป็นธรรมชาติ

อ่านแล้วชอบ ตอบโจทย์ปัญหาสังคม ต้องบ่มเพาะด้วยธรรม ขอบคุณค่ะ

  • ช่วยกันครับ รักษาสิ่งดีงามเอาไว้ให้ลูกหลานเรา
  • ครับ อาจารย์ก้ามกุ้ง
  • เราจำเป็นต้องรักษาไว้
  • เพราะ สิ่งดีๆ กำลังสุญหาย ถูกมองข้ามไป
  • คุณดาว(Blue Star) P ครับ
  • ผมส่งทางE-mail มาให้แล้วครับ
  • ค่อยๆ ฝึกฝนไปเดี๋ยวก็เก่ง
  • ขอให้กำลังใจด้วยครับ
  • มีปัญหา ส่งทางEmail ก็ได้ครับ ไม่ต้องเกรงใจ
  • มวลมิตร..ยินดีเสมอ
  • อ้อ..อย่าเรียกอาจารย์เลย..ครับ  ปรื๋อๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะ

  • น่าเสียดายนะคะ
  • ที่บ้านนอกของครูอิงก็เช่นกันค่ะ
  • จำได้ว่าตอนเด็ก ๆ จะมีการทำบุญที่เรียกว่า "ทำบุญกลางบ้าน"
  • คือแต่ละหมู่บ้านจะมีสถานที่ สำหรับทำบุญร่วมกัน ส่วนมากจะใช้ใต้ต้นไม่ใหญ่ ๆ
  • ซึ่งแต่ก่อนต้นไม้ใหญ่ ๆ มีมากมาย  อย่างที่หมู่บ้านครูอิง จะทำบุญกลางบ้านที่ใต้ต้นมะขามใหญ่  ใหญ่มากจริง ๆ ค่ะ ประมาณ 3 คนโอบ ได้ละมังคะ มีผ้าสีคาดลำต้นเป็นกุศโลบายในการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่
  • แต่ก็ไม่รอดค่ะ  ตอนนี้ไม่มีแล้วค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะสำหรับบันทึกที่ทำให้ได้ระลึกถึงวันวานที่ผ่านไป

สวัสดีค่ะ

ความทรงจำที่งดงามจังค่ะ

ชอบภาพทำบุญกลางทุ่งนามากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะท่านอาจารย์....เอ้ย คุณสามสัก ^v^

  • สวัสดีครับคุณเหรียญชัย
  • ผมชอบประโยคนี้ ดั้งเดิมสังคมไทยถ้านำเอามาประยุกต์ใช้ ยังมีคุณค่าอยู่
  • ผมนึกถึงดนตรี  ที่ซึกตะวันตกยังนำเอาดนตรีไทย มาประยุกต์กับดนตรีสากล..น่าฟังไม่น้อย
  • ของไทยดั้งเดิม หากนำมาปรับปรุงเพิ่มเติม ให้เป็นเชิงระบบ สักนิด
  • ผมว่า มันเหมาะสำหรับซีกตะวันออกอย่างเรา
  • ผมอยากเห็นผู้เกี่ยวข้อง ผู้รู้ทั้งหลาย ได้นำเอาสิ่งดีๆ ของไทยไปประยุกต์ใช้
  • มากกว่า ..จะเดินตามกระแส..จนบางครั้งลืมว่า ก้นครัว มีอะไรบ้าง 

ตามท่านสส.มาดูภูมิปัญญาคคนบุราณขอรับ..

คล้ายที่ถิ่นกำเนิดธรรมฐิตเลย

เพราะตอนเด็กๆเวลาเก็บเกี่ยวข้าวในไร่ก็จะมีพิธีคล้ายๆอย่างนี้แหละ..

บรรพบุรุษของเราไม้ได้เล่าเรียนทางวิชาการในรั้วมหาลัยไม่มีใบปริญญา

แต่จะสอนสิ่งต่างๆไว้ในประเพณีหรืพีธีกรรมต่างๆอย่างลุ่มลึก

แต่ลูกหลานพอเรียนวิชาการมีกระดาษสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าใบปริญญา

กลับหาว่าพิธีเหล่านั้นไร้สาระ

เพราะไม่รู้จักหาสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในนั้น 

น่าเสียดายแทนขอรับ..

  • นอกจากคุณเหรียญชัย ที่ผมชอบ..แล้ว
  • นี่ก็อีกเช่นกัน ของคุณ POO กุศโลบายที่แยบยล ให้คนน้อมหาธรรมะ อย่างเป็นธรรมชาติ
  • เม้นเพิ่มเติมให้ข้อคิดไว้ดีทีเดียวครับ
  • ปัจจุบันส่วนใหญ่ เรียกร้องหาธรรมชาติ
  • แต่บางครั้ง กลับเดินหนี ไม่ใส่ใจและทำลายธรรมชาติเสียด้วยซ้ำไป
  • คงต้องช่วยๆกัน ทั้งทางตรงและอ้อม อย่างนี้แหละ...
  • มากบ้าง น้อยบ้าง ดีกว่ามองผ่านๆไป
  • ขอบพระคุณ คุณPOO มากครับ
  • สวัสดีครับท่านสามสัก
  • ของดีๆ ถูกลบหายไปจากบ้านเราเกือบหมดแล้วนะครับ
  • เมื่อก่อนชุมชนจะเป็นคนคิดคนทำและสืบทอด
  • แต่ปัจจุบันต่างคนต่างเอาตัวรอด
  • เสียดายของดีๆ นะครับ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์อิงจันทร์

  • ขอบพระคุณท่านมากครับ ที่กรุณาแวะมาทักทาย
  • เท่าที่ผมสัมผัสได้กับกัลยาณมิตร ชาวGotoknow
  • ส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาไทย
  • ในสายการศึกษา บางท่าน ได้ทราบว่า นำไปเพาะบ่มต่อ..ให้ลูกหลานตระหนัก สำนึกและเห็นความสำคัญ...
  • สิ่งที่ผมอยากเห็นต่อ ก็คือ ผู้รู้..ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย ..นำไปปรับปรุง ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นเพของเรา..
  • ผมไม่ใช่พวกคลั่งชาติ..เคยอยู่กับญี่ปุ่นมาพักหนึ่ง  เห็นเขาปลูกฝัง บ่มเพาะคนของเขา..ให้ตระหนัก เห็นความสำคัญความเป็นชาติพันธุ์ของเขา แม้กระทั่งข้าวที่กิน อยู่ในไทย ยังกินข้าวญี่ปุ่นที่จะเป็นข้าวเหนียวก็ไม่ใช่ ข้าวเจ้าก็ไม่เชิง..ด้วยซ้ำไป
  • ของดีๆ ของเราก็มีไม่น้อย อาจจะมากกว่าเขาด้วยซ้ำไป...แต่มันสูญหาย ละเลยไป..
  • ผมเสียดายครับ
  • อ้อ..มือเร็วไปครับ กดบันทึกไปเสียแล้ว เลยต้องมาเม้นต่อ คือ..
  • ความเป็นครูบาอาจารย์...ความเป็นกัลยาณมิตร ที่แท้จริงนั้น
  • ทำให้เห็นว่า ยามใดที่ทุกข์ เกินไป ขาดไป ...
  • ผมมักจะได้รับการปลอบ ให้กำลังใจ สะกิด..การกล่อมเกลา จากครู..กัลยาณมิตรเหล่านั้นอยู่เสมอ
  • ครับ คบพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล...จริงๆน๊อ

                   บอดเสียบ้างบางคราวน๊ะเจ้าน๊ะ

                  หนวกเสียบ้างบางวาระนะเจ้าหนา

                 ใบ้เสียบ้างบางวันอย่าจรรจา

                  หลับเสียบ้างบางเวลาอย่ารู้ตัว

  • ครับ ผมจะน้อมนำที่ท่านอาจารย์อิงจันทร์ให้ไว้ นำไปปฏิบัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้..ครับผม
  • สวัสดีครับ คุณณัฐรดา กัลยาณมิตรผู้ไฝ่ธรรมะ
  • ขอขอบคุณที่แวะเข้ามาทักทาย
  • นมัสการครับ พระคุณเจ้า
  • ของดีๆ ในแผ่นดินนี้มีมากจริงๆ อย่างที่พระคุณเจ้าว่า..ครับ
  • ถ้าเปรียบกับการใช้ปุ๋ย
  • แผ่นดินนี้...มักถูกใส่/ชะโลมด้วยปุ๋ยเคมี (ขอเขกกะบาลตัวเองซักที) มันง่าย สะดวก ไม่ต้องคิดมาก เหนื่อยมาก...
  • ขอเพียงรักษา/ใช้/ใส่ปุ๋ยธรรมชาติในบ้านเราลงในแผ่นดินนี้บ้าง ควบคู่กับการประยุกต์ใช้ปุ๋ยเคมีจากต่างชาติบ้าง ประยุกต์ผสมผสานกันไปให้พอเหมาะ...
  • ก็เพียงพอ..พอเพียงแล้ว สำหรับผม...
  • แต่ที่เห็น...ใส่ปุ๋ยเคมีล้วนๆ ใส่อย่างยิ้มแย้มแจ่มใส  ของดีๆ ในบ้าน ในแผ่นดินนี้กลับเผาไฟ...มันน่าช้ำใจน๊ะครับพระคุณเจ้า

สวัสดีครับ คุณสิงห์ป่าสัก

  • ช่วยกันเถอะครับ..หาก
  • ทุกๆคน ยังเห็นว่า สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งดีๆ  ..เป็นสิ่งน่าเสียดาย
  • เราอิง..เรานิยมบริโภควัตถุกันมาก...สุดโต่งเกินไป..ผลจึงเป็นเช่นนี้
  • อย่างไรก็ตาม เราก็ทำในสิ่งที่เรา พอคิดว่า จะทำได้เท่านั้น ครับคุณสิงห์....
  • ขอบคุณ คุณเกด P มากครับ ที่แวะเข้ามาทักทาย

สาธุครับ เราจะฟื้นคืนวิถีชีวิตแบบนี้ขึ้นมาอีกครั้งครับ

...

ส่งเทียบเชิญมาถึงคุณสามสัก 

และกัลยาณมิตรทุกท่าน 

ขอเชิญร่วมชมนิทรรศการ โครงงานคุณธรรม 

ในงาน"พลังเยาวชน พลังสังคม" ครั้งที่ 1 
"ร่วมสร้างประเทศไทย...ด้วยการให้"

และร่วมเวทีเสวนา


วันเสาร์ที่ 10 ต.ค. : ถอดองค์ความรู้โครงงาน สร้างเป็นบทภาพยนต์โทรทัศน์ 
เวลา10.00-16.30น. ณ หอประชุมชั้น5 หอศิลป์ฯ กทมฯ

วันอาทิตย์ที่ 11ต.ค. : ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ 
เวลา13.00-18.00น. ณ หอประชุมชั้น5 หอศิลป์ฯ กทมฯ



ผมก็ถือโอกาสใช้เวทีเสวนาที่สยามกัมมาจลเป็นเจ้าภาพงาน จัดระดมความคิด หัวข้อ ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ ขึ้น

ยังไงก็เรียนเชิญ กัลยาณมิตร ผู้รักแผ่นดินทุกท่าน ร่วม work shop ระดมความคิดในเวทีเสวนาได้นะครับ

 

 

สวัสดีครับ สามสัก

  • บันทึกได้ดีมาก
  • ภาพประกอบดี
  • ขนาดตัวหนังสือและสีสรรเยี่ยม
  • ถูกใจคนอายุเหลือน้อยแบบผม....อิอิ.อิ
  • เนื้อหาน่าอ่านก็ถูกใจอีกแหละ
  • ผมชอบแบบโบราณ
  • สงสัยจะเป็นคนโบราณด้วยเปล่าเอ่ย
  • เป็นบรรยากาศที่น่าจะมีความสุข มากๆ
  • ขอบพระคุณ

มีเรื่องในทางเอเซียดีๆๆหลายเรื่อง แต่เรามักมองไม่เห็น บางอย่างเราเชื่อฝรั่งทางตะวันตกมากเกินไปครับ...

สวัสดีครับ ท่าน ผอ.ประจักษ์

  • ดีใจครับ ที่ท่านชอบ..และกรุณาแวะมาทักทาย
  • ขอขอบพระคุณท่านมาก ในพรที่ท่านเม้นท์และทิ้งไว้ให้
  • ขอขอบพระคุณท่านอีกครั้งครับ

สวัสดีครับ ท่าน ดร.ขจิต

  • จริงๆ ผมอยากจะเห็นการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับภูมิภาค และ
  • ไม่ลืมเลือนสิ่งดีๆ บนผืนแผ่นดินนี้ เท่านั้นครับ
  • ขอขอบคุณท่านมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท