ไปกราบ"แม่ฑีตา"ที่บ้านสกลนคร


เชิญชมภาพดีกว่าค่ะ

·        เที่ยวนี้ได้ไปกราบสวัสดี "แม่ฑีตา" คุณแม่ของคุณประไพพรรณ-จิ๋ว

 

·        เก็บภาพ ต้นครามฝักงอ ที่กำลังมีดอก ครามชนิดนี้จะใบใหญ่และหนากว่าครามฝักตรง จึงให้เนื้อครามมากกว่า นิยมใช้ครามฝักงอในการย้อมผ้าครามในปัจจุบัน

·        พืชอีกชนิดคือ ต้นเบือก ที่คนสมัยก่อนใช้คู่กันกับใบครามในกระบวนการย้อม (ภาพซ้ายสุดบน-ล่าง)

·        ยังได้เห็น ต้นหมากเม่า หรือ มะเม่า ออกลูกแดง-ดำ เป็นช่อทั้งต้น ต้นสูงใหญ่มาก ยังได้ไปเด็ดลูกที่แก่สีดำจัดมาชิมสองสามลูก ชุ่มคอดีค่ะ

·        ดอกกระเจียวกำลังงาม และพูดคุยกับช่อตำลึงที่พาดมาหาถึงที่

·        มีผลของต้น ผักหวานบ้าน ซึ่งผู้เขียนเพิ่งเคยเห็น (ภาพขวาล่างสุด)

 

ที่จริงได้เก็บภาพพืชแปลกๆอีกมากมายที่พบที่สกลนครไว้ตั้งแต่มาครั้งก่อนๆ วันหลังจะนำมาให้ชมกันค่ะ

หมายเลขบันทึก: 201228เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ขอกราบคารวะ คุณแม่ฑีตา ด้วยค่ะ

เสื้อผ้าครามแม่ฑีตาก็สวยนะคะ

ต้นไม้ ดอกไม้ก็สวยค่ะ

สวัสดีค่ะ

* ดีใจจังมีคนไปเที่ยวเมืองสกล

* เที่ยวชมให้ทั่วนะคะ

* แวะนมัสการพระธาตุเชิงชุม( ต้องไปไหว้หลังหลวงพ่อองค์แสนนะคะ )

* หน้าฝนพระธาตุภูเพ็กบรรยากาศงามมาก

ฝากภาพกองทัพคนสกลมาเที่ยวอยุธยาค่ะ

 

สวัสดีค่ะพี่นุช

ชอบผ้าครามมากๆค่ะ โห..ดูคุณแม่ฑีตา ท่านยังแข็งแรงนะคะ หมอนยังเข้าชุดกันเลยค่ะ

พี่นุชคะ ดอกครามสวยจังค่ะ เพิ่งเคยเห็น..ขอบคุณค่ะที่นำมาให้รู้จัก..แถมด้วยต้นเบือกอีก..ชื่อก็แปลกๆดีนะคะ  ...เค๊าใช้ทั้งต้นย้อมคราม หรือเฉพาะบางส่วนคะ

สาธุ สาธุ ฝากกราบคุณแม่ด้วยครับ

  • พี่นุชเจ้า..

แม่ฑีตา  จันทร์เพ็งเพ็ญ   นามสกุลมีความหมายที่แยกเป็นคำก็ล้วนแล้วแต่หมายถึง "พระจันทร์" ใช่ไหมคะ?  ^^

 

บันทึก series ผ้าย้อมครามนี้ยอดเยี่ยมอย่างเคยครับ อ่านแล้วได้ทั้งความรู้และได้ชื่นชมศิลปวัฒนธรรม

อยากขอให้เพิ่ม ผ้าย้อมคราม ในคำหลักของบันทึกนี้ด้วยครับ เวลาค้นด้วยคำหลัก ผ้าย้อมคราม จะได้ติดบันทึกนี้ด้วย จะได้ครบชุด

วิจารณ์

บ้านแม่ฑีตา และ บ้านของจิ๋ว อยู่ใกล้ๆกัน แค่ข้ามถนนที่มีคลองชลประทานคั่นค่ะคุณแก้ว P  แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช เป็นครอบครัวที่รักธรรมชาติ มีต้นไม้มากมายค่ะ

คุณแม่ฑีตาสุขภาพแขนไม่ค่อยดี ตอนนี้เลยไม่ได้ลงมือย้อมผ้าครามแล้ว

สวัสดีค่ะคุณP นาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง) ดีใจจังที่เราต่างได้ไปมาเยี่ยมเยียนกันนะคะ เสียดายที่ไม่ได้มีโอกาสพบกัน

โอกาสหน้ามาเที่ยวหรือแวะ หรือผ่านอยุธยาขอให้บอกนะคะ จะพาไปดูวัดสวยแบบโบราณสถานที่นักท่องเที่ยวไม่รู้จักกันเท่าไหร่ค่ะ

ไปสกลนครครั้งนี้จิ๋วพาไปทานข้าวในเมือง ร้านสบันงา ได้ทานแกงหน่อหวาย อร่อยมากค่ะ ยังไม่มีโอกาสเที่ยวชมเมืองสกลนครเท่าไหร่เลยค่ะ

คุณอุ๊P  a l i n_x a n a =) นี่เป็นแฟนผ้าครามตั้งแต่เมื่อไหร่คะเนี่ย ตามอ่านครบทั้งชุดเลย ^__^

คุณแม่ฑีตาและคนบ้านจิ๋วเขาใส่ผ้าครามกันเป็นสิ่งประจำวันค่ะ คุณแม่ฑีตาเคยบอกพี่ว่าผ้าเช็ดตัวนั้นท่านก็ใช้ผ้าฝ้ายย้อมครามนี่แหละ ซับน้ำดี แห้งง่าย ซึ่งใช้ไปนานๆผ้าก็จะนุ่มดี พวกเราคุ้นแต่การใช้ผ้าขนหนูสมัยใหม่นะคะ

ต้นเบือกนั้น จิ๋วบอกว่าเดี๋ยวนี้ไม่มีใครใช้กันแล้วแต่เขาไปหามาปลูก ให้ครบเครื่องเรื่องการทำผ้าคราม คิดว่าเขาน่าจะใช้ใบนะคะ เพราะใบจะใหญ่ค่อนข้างหนา มีโอกาสจะถามจิ๋วให้ค่ะ

ขอบคุณท่านอาจารย์เจเจP  JJ ค่ะที่มาร่วมกราบคนดีด้วยกัน

สวัสดีค่ะ อ.พี่นุช

  • เพิ่งเคยเห็นนครามค่ะ ดอกสวยดี
  • หมากเม่า ก็ดูสวยนะคะ กำลังคิดอยากทำน้ำหมากเม่าเก็บไว้ทานอยู่พอดีค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

เจ้า คุณต้อมP  เนปาลี จันทร์เพ็งเพ็ญ คือ พระจันทร์เดือนเพ็ญ แม่นแล้ว ฟังเหมือนภาษาเหนือนะคะ

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์P  Prof. Vicharn Panich  ได้รับคำชมจากอาจารย์หายเหนื่อยเลยค่ะ และรู้สึกว่าได้ทำประโยชน์ เพราะเรื่องผ้าครามนี้นุชไม่ได้สนใจติดตามด้วยเหตุผลทางวิชาการเลยค่ะ คือทำด้วยความชอบผ้า และ ชื่นชมคนทำ เลยอยากติดตามว่าเขาทำอะไรกันค่ะ

ได้เพิ่มคำหลักตามที่อาจารย์กรุณาแนะนำแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะคุณแดง P pa_daeng [มณีแดง คนสวย แซ่เฮ]  สุขสันต์วันอาทิตย์นะคะ

ดอกครามฝักงอพี่ก็เพิ่งเคยเห็นของจริงชัดๆ ครั้งนี้เช่นกันค่ะ

แล้วพี่จะได้ชิมน้ำหมากเม่าฝีมือคุณแดงมั้ยค่ะ^_^ ที่บ้านมีต้นหรือคะ พี่เคยปลูกต้นหมากเม่าให้โผล่ขึ้นมากลางนอกชาน (คนขายเขาบอกว่าต้นหมากเม่าจริงๆ) ออกแต่ดอก ไม่เคยมีลูกเลย มีคนบอกว่าก็เพราะมันเป็นหมากเม่าตัวผู้ ตอนหลังต้นก็ไม่งามเลยเอาออกไปแล้ว ยังไม่ได้หาต้นไม้อื่นมาลงแทนเลยค่ะ

มาเยี่ยม คุณนายดอกเตอร์

มาชื่นชม และเห็นหมากไม้ที่เคยกินตอนเป็นเด็ก ๆ ที่ว่า..ยังได้เห็น ต้นหมากเม่า หรือ มะเม่า ออกลูกแดง-ดำ

หมู่นี้ได้ตอบผู้มาเยือนช้ามาก ต้องขอโทษอาจารย์ยูมิด้วยค่ะ

ลูกมะเม่านั้น ยกให้เป็นความดีอยู่บ้างของกระแสโอทอปนะคะที่ทำให้คนสมัยนี้ได้ยินและได้ลิ้มรส

สวัสดีครับ

เที่ยวนี้ผมไปเขาวง กาฬสินธุ์ แต่ไม่ได้แวะไปพรรณา คิดถึงงานผ้าอีกแล้ว ;)

  • ผมอยู่เรณูนครครับ
  • นครพนม
  • ไปเยี่ยมอีกรอบ
  • อย่าลืมชวนไปนะครับ
  • อิอิ

ครูโย่งอยู่เรณูนครหรือคะ ครูลี่สอนที่สกลนคร 11 ปี แห่งความหลังเลยค่ะ ลูกสาวครูลี่เคยสอนนักศึกษาที่จะออกไปเป็นครู ,ครู และ พยาบาลที่นครพนมด้วยล่ะ อิอิ เป็นงาย....จ๊ะครูโย่ง ไม่อยากจะเซ็ด .....

ศิริพร จันทร์เพงเพ็ญ

ขอขอบพระคุณกับต้นตระกูล จันทร์เพ็งเพ็ญ ที่ให้หนูมีนามสกุลใช้มาจนทุกวันนี้

ทั้งที่หนูไม่มีสายเลือด จันทร์เพ็งเพ็ญ เลยซักหยด...

ทุกครั้งที่บอกนามสกุล

หรือเวลาที่ต้องออกเสียงเรียก

ส่วนใหญ่อ่านออกเสียงผิด...

หรือไม่ก็ชงัก...ก่อนเรียก

แปลกดีค่ะ...

หนูเลยเป็นจุดเด่น..

เพราะนามสกุล

ใครๆชอบถามว่าทำไมไม่..จันทร์เพ็ญ...หรือ จันทร์เพ็ง...

ทำไมต้องจันทร์เพ็งเพ็ญ ด้วย

และมันแปลว่าอะไร

หนูก็ตอบว่า...วันที่พระจันทร์เต็มดวง 2 วันไง

คือขึ้น 14 ค่ำ และ ขึ้น 15 ค่ำ มั๊ง (หนูคิดเอง)

พ่อหนูเป็นลูกที่ติดท้องคุณย่า...มา...เลยได้ใช้นามสกุล...สามีใหม่ของคุณย่า

หนูอยากรู้ต้นตระกูลอยู่ที่ไหน...

เป็นใคร..

ถ้าใครทราบ...

เมล์มาบอกหนูด้วยนะคะหรือเข้า hi5

[email protected]

หนูมี profile

จักขอบพระคุณยิ่ง

หนูแก้วจ้ะ

ผมปลูกไว้ที่กรุงเทพฯ มะเม่าออกดอก แต่ไม่มีลูกเลยสักเม็ด หรือว่าเป็นต้นตัวผู้

ตันเบือกนั้นเขาจะนำเอาใบของมันมาต้มเอาน้ำ เมื่อต้มเสร็จแล้วน้ำจะเป็นสีเขียวทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นจะเอาน้ำไปเทใส่หม้อครามเก่าที่มีเชื้อครามอยู่แล้วหรือต้องการจะก่อหม้อใหม่ จากนั้นก็ใส่น้ำด่าง ใส่เนื้อคราม หรือตามสูตรของแต่ละคน ซึ่งการใส่น้ำต้มใบเบือกนั้นเป็นตัวเร่งให้เกิดหม้อครามเร็วขึ้น หรือใส่เมื่อเวลาหม้อครามหนี จะทำให้หม้อครามกลับมาเร็วขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท