พ่ออยู่ ๆ ก็วูบ


รู้สึกกังวลจัง เมื่อทราบว่า พ่ออยู่ ๆ ก็วูบ จะใช่ หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือเปล่านะ

เหตุเกิดเมื่อวันก่อน ผู้เขียนลาพักผ่อน วันที่ 13 สิงหาคม 2551 ถูกตามไปทำข้อมูลประเมินผลการปฏิบัติงานและข้อมูลการเลื่อนขั้นเงินเดือนของบุคลากรที่ทำงาน

ประมาณ  14.00 น.  น้องสาวได้โทรมาบอกพ่อวูบ ล้มศีรษะ และเข่ามีแผลถลอก ให้ลงไปดูพ่อด้วย  ตอนนี้เธอไปตลาดอยู่นอกบ้าน 

ผู้เขียนรีบโทรถึงแม่ สอบถามอาการพ่อ เผื่อจะพารถกู้ชีพไปรับพ่อมาโรงพยาบาล  แม่บอกพ่อรู้สึกตัวแล้ว  พ่อบอกหายแล้ว ไม่ไปโรงพยาบาลหรอก  แม่พูดยังไง ก็ไม่ยอมไปโรงพยาบาล 

เสร็จภารกิจของแผนก ฯ  ประมาณ  16.00 น  จึงได้กลับบ้านพัก  พบพ่อกับแม่  แม่รีบรายงาน ตอนนั้นแม่ไม่ค่อยสบาย เป็นไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนซมอยู่หน้าบ้าน  ส่วนพ่ออยู่หลังบ้านคนเดียว  พ่อบอกพ่อกำลังนั่งยอง ๆ จะเก็บน้ำแข็ง  และรีบยกขึ้นไปจากท่านั่งยอง ๆ ไปยืน  ระหว่างจะลุกขึ้นยืน อยู่ ๆ ความรู้สึกก็ดำวูบขึ้นมา และหมดสติไป ตอนนั้นไม่มีคนอยู่ด้วย  พ่อบอก พ่อหลับไปได้ประมาณ 5 นาที  ก็ฟื้น ดีหน่อยจำความได้หมด ผู้เขียนสังเกต พ่อหัวโนเท่าไข่ไก่ มีแผลถลอกที่เข่าขวา  ชวนไปหาหมออีกแต่ท่านก็ไม่ไป  ก็จนใจ

 2 - 3 วันมานี้ พ่อบ่นแน่นท้องด้านขวา ได้ยาที่แพทย์สั่งให้ อาการทุเลาลงบ้าง 

วันนี้ วันที่ 15 สิงหาคม 2551  พ่อกับแม่ ลากลับไปพักผ่อนที่บ้านที่อุดร  และต้องไปเซ็นชื่อรับเงินผู้สูงอายุ  จะกลับมาขอนแก่นก็ประมาณวันอาทิตย์ 

หน้าที่ลูก ๆ ต้องทำ คือ

  • ห้ามไม่ให้ทำงานหนัก

  • ทานยาตามแพทย์สั่ง

  • โทรถามอาการทุกวัน 

วันนี้สอบถามแล้ว OK

และต้องเฝ้าระวังอาการกันต่อไปค่ะ

 เพราะเรื่องนี้ หรือเปล่านะ ที่ทำให้พ่อวูบ 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้เขียนค้นแหล่งข้อมูลนี้มาจาก 

http://www.bangkokhealth.com/heart_htdoc/heart_health_detail.asp?Number=9631

ลองอ่านดูหน่อยแล้วกันนะคะ

imageโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเป็นชนิดที่เกิดจากหัวใจห้องบนเรียกว่า atrial fibrillation (AF) ซึ่งโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดนี้พบได้ในผู้ป่วยโรคปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด ความดันโลหิตสูง และพบบ่อยในผู้สูงอายุในผู้ป่วยที่มีหัวใจเต้นผิดปกติชนิดนี้บางราย อาจเกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ขึ้นภายในหัวใจ ลิ่มเลือดเล็กๆ เหล่านี้อาจหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดเลี้ยงสมองและเป็นต้นเหตุของการเกิดอัมพฤกษ์-อัมพาตขึ้นได้

โดยทั่วไปแล้ว โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะถือเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่งเกิดจากมีจุดหรือตำแหน่งบางตำแหน่งในหัวใจที่กำเนิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีจุดวงจรลัดไฟฟ้าเล็กๆ ภายในหัวใจ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวมีขนาดเล็กจึงไม่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งแตกต่างจากโรคหัวใจชนิดอื่นที่มักจะมีพยาธิสภาพขนาดใหญ่ เช่น ที่ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจ และพบร่วมกับการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ

image

สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ มักไม่ทราบสาเหตุเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งเกิดจากมีจุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติที่หัวใจ หรือมีวงจรลัดไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งมักเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่โดยทั่วไปจะแสดงอาการเมื่ออายุ 20-40 ปีขึ้นไป มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะกำเริบ เช่น การออกกำลังกาย แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ยาบางชนิด ความเครียด ความวิตกกังวล กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น บางครั้งผู้ป่วยไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนั้นแนะนำให้สงสัยในกรณีที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น และควรพบแพทย์เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดในกรณีมีอาการวูบ เป็นลม หมดสติ มีอาการใจสั่นอย่างรุนแรง หรือเหนื่อยมาก โดยขณะที่มีอาการควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า ECG หรือ electrocardiogramเป็นหลักสำคัญ อย่างไรก็ตามการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะพบความผิดปกติเมื่อผู้ป่วยมีอาการขณะตรวจ ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการขณะตรวจ อาจไม่พบความผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในกรณีเช่นนี้อาจใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า Holter monitoring ซึ่งเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดหนึ่ง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคและภาวะผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น เช่น การเต้นของหัวใจ ผิดจังหวะ ภาวะหัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว ขนาดและผนังหัวใจที่โตผิดปกติ เป็นต้น คลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือกราฟหัวใจ เป็นการตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่ออกมาจากหัวใจ หัวใจคนเราเป็นอวัยวะที่ประกอบไปด้วยส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจที่แข็งแรงทำงานตลอดเวลา การที่กล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานบีบตัวได้นั้น จะต้องอาศัยไฟฟ้ากระตุ้นไฟฟ้านี้ก็มาจากหัวใจเอง โดยจะปล่อยไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ จากหัวใจห้องบนขวาลงมายังหัวใจห้องล่าง ขณะที่ไฟฟ้าผ่านกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจจะเกิดการหดตัวและตามมาด้วยการคลายตัว หัวใจจึงบีบตัวไล่เลือดจากห้องบนมายังห้องล่างอย่างสัมพันธ์กัน เมื่อนำเอาตัวจับสัญญาณไฟฟ้ามาวางไว้ที่หน้าอกใกล้หัวใจ ก็สามารถบันทึกไฟฟ้าที่ออกจากหัวใจนี้ได้

imageส่วนการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง เป็นการบันทึกสภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจ เต้นผิดจังหวะ และหาสาเหตุของอาการใจเต้นใจสั่น อาการวูบ การตรวจวิเคราะห์หัวใจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. ทำโดยติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมงไว้กับตัว โดยผู้ป่วยสามารถกลับไปพักที่บ้าน หรือทำงานได้ตามปกติ ไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล และเมื่อครบกำหนด 24 ชั่วโมงแล้ว จึงกลับมาถอดเครื่องและรอรับทราบผลการตรวจวิเคราะห์จากแพทย์ การตรวจวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม อยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติเป็นประจำ แต่บางครั้งขณะมาพบแพทย์อาการดังกล่าวก็ไม่ปรากฎ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ณ เวลาที่ไม่มีอาการก็ปกติ ทำให้ไม่ทราบว่าอาการใจสั่นเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่

ผู้สูงอายุบางรายพบว่า หัวใจเกิดการเต้นผิดจังหวะขึ้น โดยที่บางครั้งก็ไม่มีสาเหตุหรือปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้อง นอกจากเรื่องของอายุ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่พบบ่อยคือ จากห้องบน หรือที่เรียกว่า atrial fibrillation (AF) ชนิดนี้พบได้ในผู้ป่วยโรคปอด โรคหัวใจ ขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด ความดันโลหิตสูง และพบบ่อยในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยที่มีหัวใจเต้นผิดปกติชนิดนี้ อาจเกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ขึ้นภายในหัวใจ ลิ่มเลือดเล็กๆ เหล่านี้อาจหลุดลอย ไปอุดหลอดเลือดเลี้ยงสมองได้ เป็นต้น เหตุของการเกิด อัมพฤกษ์ อัมพาต ขึ้น การรักษาอาจแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ รักษาโดยเปลี่ยนให้หัวใจกลับมาเต้นอย่างปกติ อาจด้วยยา รักษาด้วยไฟฟ้า หรือรักษาโดยใช้คลื่นวิทยุ นอกจากนี้อาจพิจารณารักษาด้วยยาเพียงคุมไม่ให้หัวใจเต้นเร็วเกินไปเท่านั้น บางรายจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือดร่วมด้วย ทั้งนี้ การรักษาในแต่ละรายจะขึ้นกับลักษณะของผู้ป่วยและแพทย์ผู้รักษาด้วย

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะส่วนใหญ่มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปถ้าไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องรักษา แต่พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ความเครียด ยาบางชนิด ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ เป็นต้น ถ้ามีอาการพอสมควร อาจพิจารณารักษาด้วยการรับประทานยา ในกรณีหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ เกิดจากทางลัดวงจรไฟฟ้าในปัจจุบันมีวิธีจะรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 95 โดยจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าผ่านสายสวนหัวใจ การรักษาดังกล่าวสามารถทำได้ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในประเทศไทย

ยากระตุ้นหัวใจที่ควรรู้จักชนิดหนึ่งคือดิจิตาลิส Digitalis กลุ่มยา จัดเป็นยากระตุ้นหัวใจ ชื่อสามัญคือ ดิจิทัลลิส Digitalis ดิจ็อกซิน Digoxin ชื่อการค้าคือ ลาน็อกซิน Lanoxin ลานิท็อป Lanitop โทล็อกซิน Toloxin กลไกการออกฤทธิ์ โดยกระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจให้แรงขึ้น ลดอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด ยานี้ยังอาจนำไปใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวน้อยได้ นอกเหนือจากใช้รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ระดับยาเกินขนาด อาจทำให้เป็นพิษถึงกับเสียชีวิตได้ ยากลุ่มนี้มีใช้กว่า 100 ปี แต่เพิ่งมีการศึกษาในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวว่าไม่ได้ช่วยลดอัตราตาย แต่ช่วยให้อาการดีขึ้นบ้าง ปัจจุบันนิยมใช้น้อยลง แต่ยังจำเป็นในกรณีที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย ยานี้เป็นพิษง่าย ควรตรวจดูปริมาณยาในเลือดเป็นครั้งคราว

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ ที่นี่

 

ปล. 

ยังไง ถ้าพ่อกลับมา จะต้องพาท่านไปพบแพทย์และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจดูให้แน่ใจอีกครั้งค่ะ

กัญญา

บทความที่เกี่ยวข้อง

หมายเลขบันทึก: 201224เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

-ขอให้คุณพ่อหายเร็วไวนะคะ น้องไก่

สวัสดีค่ะ อ.ไก่

ขอบคุณที่นำความรู้มาให้ แต่ตัวเล็กจัง

ขออย่าให้คุณพ่อเป็นอะไรมากเลยนะคะ(มีได้รับเงิน ผู้สูงอายุด้วยหรอคะ เหมือนเมืองนอกเลยรึป่าวเนี่ย)

ลูกก็รักษาสุขภาพด้วยนะจ๊ะ

 

ขอบคุณค่ะพี่แก้ว และ ป้าแดง

  • ต้องขอปรึกษาหน่อยนะคะ ว่าพูดอย่างไร พ่อจึงจะยอมไปโรงพยาบาล พ่อไม่ค่อยทำตามที่บอกเลยค่ะ
  • ไม่ให้ทำงานพ่อก็ไม่เชื่อ  วันก่อนไปบ้านใหม่ พ่อก็ไปตัดต้นไม้ข้างรั้วบ้าน งานคงหนักเกินไป ตากฝนด้วย
  • พ่อวูบครั้งนี้  รู้สึกผิดจังค่ะ ที่ดูแลท่านไม่ดีเท่าที่ควร  

สวัสดีค่ะ

* มาเป็นกำลังใจให้ค่ะ

* ขอให้คุณพ่อคุณแม่ของคุณกัญญามีความสุขมากๆ นะคะ

* อย่าลืมรักษาสุขภาพตนเองด้วยนะคะ

ขอบคุณอาจารย์พรรณา ผิวเผือกมากค่ะ ที่เป็นห่วงและมาให้กำลังใจ 

สวัสดีค่ะ

พ่อก็เคยเป็น นั่งคุยกันอยู่ พอท่านลุกขึ้นยืน ท่านก็หงายล้มทั้งยืน ปัสสาวะไหลออกมาและไม่รู้สึกตัว เราเป็นลูกผู้หญิงอยู่กับแม่สูงอายุ ก็รับตัวท่านไว้ และทำการปั้มหัวใจทันทีจากที่เรียนรู้แบบงู ๆ ปลา ๆ มา พอท่านรู้สึกตัว รีบพาไปหาหมอที่คลินิก หมอรีบตรวจเลือดและอื่น ๆ ผลเลือดออกมา หมอเรียกไปพบและบอกว่ารีบพาพ่อไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพราะผลการตรวจเลือด พ่อไม่มีเลือดอยู่ในตัวเลย เราตกใจมากรีบพาพ่อไปโรงพยาบาล หมอตรวจอีกครั้ง ผลเหมือนที่ตรวจตอนแรก พ่อจึงต้องนอนโรงพยาบาล หมอให้เลือดติดต่อกันหลายถุงจนดีขึ้น แต่พ่อก็เข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลอยู่ประมาณ 6 เดือน ก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด เราเสียใจมากเพราะคิดว่าเรามีเวลาดูแลพ่อน้อยเกินไป....ใครที่โชคดีคุณพ่อคุณแม่ยังแข็งแรง ดูแลท่านให้ดีที่สุดนะคะ ก่อนที่ท่านจะไม่อยู่ให้เราได้ดูแล....

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ จะพยายามดูแลท่านให้ดีที่สุดค่ะ

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้ว คิดถึงคุณพ่อคุณแม่เลยค่ะ

ขอให้คุณพ่อหายเร็วๆ  สุขภาพดีดีนะคะ

สวัสดีครับพี่ไก่

  • แวะมาเยี่ยมครับ
  • มาให้กำลังใจคุณพ่อครับ
  • ขอให้หายไว ๆ ครับ
  • มารับความรู้เรื่องโรคหัวใจด้วยนะครับ
  • ขอบคุณมาก ๆ

สวัสดีค่ะพี่ไก่ มาให้กำลังใจพี่ไก่และคุณพ่อค่ะ บุญรักษานะคะ

  • วันนี้พ่อกับแม่กลับมาถึงบ้านพักของพี่เรียบร้อยแล้วค่ะ
  • อาการท่าน OK ค่ะ แต่ท่านลืมฟันปลอม จะต้องกลับไปเอาพรุ่งนี้ค่ะ ดีนะที่ช่วงนี้ไปรถไฟฟรี
  • แต่ก่อนไปพรุ่งนี้ นัดพ่อว่าจะพาไปตรวจตามแผนที่กำหนดไว้ค่ะ 
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะน้องพอลล่า

มาส่งกำลังใจค่ะ

วันนี้ กล่อมพ่อไปหาหมอได้แล้วใช่ไหมคะ

                คุณพ่อหายป่วยเร็วๆ   นะคะ   พี่ไก่

                        

สวัสดีค่ะ พี่ใบบุญ

  • ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจ
  • ที่สุดพ่อก็ไมยอมไปค่ะ เลือกกลับไปเอาฟันปลอมที่บ้านอุดรแทนค่ะ กลับมาทันเวลาที่กำหนด ไปกลับรถไฟฟรีค่ะ
  • ประเมินอาการยังคงที่ค่ะ ไม่มีอาการวูบ
  • ขอบคุณสำหรับขนมเทียนนะคะ ได้ทานแล้ว อร่อยมากค่ะ  

ขอบคุณน้องสายธารมากสำหรับกำลังใจและภาพดอกไม้สวย ๆ ค่ะ

คุณพ่อ คุณแม่ ก็ไม่สู้ดีค่ะ กลัว ท่านเดิน หลงบ้านและไม่กลับมา  กลัวจริงๆค่ะ

ขอนำความกลัว มาช่วยกันทำลาย นะคะ

  • ขอบคุณคุณครูอ้อยมากค่ะที่มา ลปรร
  • ช่วยป้องกันความเสี่ยงกับ คุณพ่อ คุณแม่ ของพวกเราด้วยกันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท